ทำไมต้องใช้สำเนาทะเบียนบ้าน

ชาวต่างชาติที่แต่งงานกับคนไทยต้องการมีชื่อในทะเบียนบ้านไทย ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง ??

ชาวต่างชาติที่ต้องการมีชื่อในทะเบียนบ้านไทย Wonderfulpackage มีข้อมูลมาแนะนำ กรณีชาวต่างชาติที่จดทะเบียนสมรสต้องการมีมีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของประเทศไทย ต้องใช้เอกสาร และทำไมต้องมีทะเบียนบ้าน

การขอทะเบียนบ้านของชาวต่างชาตินั้น จะไม่สามารถขอเป็นเจ้าบ้านในบ้านหลังนั้นได้ แต่จะขอเป็นผู้อยู่อาศัยได้เท่านั้น ในการขอทะเบียนบ้านของชาวต้างชาติจะต้องเป็นทะเบียนบ้านเล่มเหลือง (ทร.13) เท่านั้น

ทะเบียนบ้านนั้นเป็นเอกสารของทางราชการ ระบุรายการของผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้าน ทะเบียนบ้าน จะบ่งบอกว่าบุคคลใดเป็น เจ้าบ้าน และ บุคคลใดเป็นผู้อาศัย คนไทยใช้ทะเบียนบ้านเพื่อแสดงที่อยู่อาศัย และใช้แสดงเป็นหลักฐานสำคัญเพื่อใช้ในการติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ

ทะเบียนบ้านนั้นมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน

1. ทะเบียนบ้าน แบบ ท.ร.14 (เล่มสีน้ำเงิน) สำหรับบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
2. ทะเบียนบ้าน แบบ ท.ร.13 (เล่มสีเหลือง) สำหรับชาวต่างชาติ

ทะเบียนบ้านเป็นเอกสาร ระบุบุคคลใดเป็นเจ้าบ้านและบุคคลใดเป็นผู้อาศัยในบ้าน ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการทะเบียน
คำร้องที่จะขอมีทะเบียนบ้าน สามารถจดทะเบียนได้ที่สำนักทะเบียน อำเภอหรือเขต ถ้าอยู่ในกรุงเทพมหานคร ค่าใช้จ่ายการขอมีทะเบียนบ้าน ราคาไม่แพงแต่ต้องใช้เวลา

การออกทะเบียนบ้าน ท.ร.13 (เล่มสีเหลือง) ใช้ลงรายการของคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว แต่ละอำเภอจะมีกฎในการจดทะเบียนที่แตกต่างกัน หลักฐานทีเกี่ยวข้อง เช่น เอกสารที่ระบุตัวตน รวมถึงรูปถ่าย สำนักทะเบียนอำเภอบางแห่ง ต้องการหนังสือรับรองจากสถานทูตว่าคุณอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่บางอำเภอก็ไม่ต้องการ ดังนั้น หากจะขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จำเป็นต้องโทรศัพท์ติดต่อสำนักทะเบียนที่ท่านจะยื่นเรื่อง ว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง และจะมีการนัดสอบปากคำพร้อมพยาน

เอกสารที่ใช้ในการทำทะเบียนบ้าน แบบ ท.ร.13

1. เอกสารเจ้าของบ้าน

  • บัตรประชาชน
  • ทะเบียนบ้าน

2. เอกสารของชาวต่างชาติ

  • พาสปอร์ต พร้อมสำเนา
  • หนังสือแจ้งที่พักอาศัยสำหรับคนต่างชาติ ออกโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
  • ทะเบียนสมรส
  • รูปถ่าย 2 นิ้ว 5 รูป
  • สำเนาทะเบียนบ้านไทยที่จะทำการแจ้งให้คนต่างชาติเข้าพักอาศัย
  • พยานบุคคลจำนวน 2 คน พร้อมบัตรประชาชน (พยานควรเป็นคนที่รู้จักกัน)

ยื่นเอกสารทั้งหมดให้สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ ทำการตรวจสอบ และจะมีเจ้าหน้าที่แจ้งวันนัดสัมภาษณ์ ซึ่งการสัมภาษณ์จะเป็นสัมภาษณ์ด้วยภาษาไทย ถ้าชาวต่างชาติที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้จะต้องนำล่ามมาด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก 

  • travelfriend
  • ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • หากคนต่างชาติต้องการมาอยู่ไทยถาวรหลังแต่งงานจะต้องยื่นเอกสารหรือติดต่อที่ไหนบ้างมาดูกันเลย!!

Work Permit & VISA consultancy

Foreigners who married with Thai people want to have a name in the House Registration Book in Thailand??

外国人与泰国人结婚后,希望把自己的名字放在泰国房屋登记簿(户口簿),需要用什么文件?

แชร์ บทความนี้

พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้

เรื่องของ “ทะเบียนบ้าน” เป็นสิ่งที่คนซื้อบ้าน ซื้อคอนโดทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการย้ายทะเบียนบ้าน หรือแม้แต่การแจ้งสมาชิกเข้ามาอยู่บ้าน ซึ่งแน่นอนบางคนอาจกำลังสงสัยความแตกต่างระหว่างเจ้าบ้านและเจ้าของบ้านนั้นมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร รวมไปถึงเรื่องของเอกสาร ขั้นตอนทางกฎหมายที่คนซื้อบ้านจำเป็นต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งสามารถสรุปรายละเอียดความสำคัญของทะเบียนบ้านได้ 5 ข้อดังนี้

เจ้าบ้าน และ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร

หากใครสังเกตในทะเบียนบ้านมักจะมีคำว่า “เจ้าบ้าน” ปรากฎอยู่ แน่นอนว่ายังมีหลายคนที่ไม่เข้าใจหน้าที่ที่แท้จริงของเจ้าบ้านนั้นคืออะไร แตกต่างอย่างไรกับเจ้าของบ้าน โดยสามารถแยกบทบาทและสิทธิทางกฎหมายได้ดังนี้

ความหมายเจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้าน

เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าของ ผู้เช่า และอื่นๆ โดยหากในทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้าน เกิดเสียชีวิต ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านสามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้

เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย

หน้าที่เจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้าน

เจ้าบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 อาทิ แจ้งเกิด-ตาย ย้ายที่อยู่ ขอเลขที่บ้าน หรือเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับบ้าน ซึ่งสามารถสรุปหน้าที่ของเจ้าบ้านได้ดังต่อไปนี้

  • แจ้งคนเกิดในบ้าน
  • แจ้งคนตายในบ้าน
  • แจ้งคนย้ายเข้า-ย้ายออก
  • สร้างบ้านใหม่หรือรื้อถอน
  • ขอเลขที่บ้าน

เจ้าของบ้าน มีหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นผู้มีสิทธิ์ในการขาย โอน บ้านและที่ดินหลังนั้น ทั้งนี้สามารถโอนถ่ายให้ลูกหลานเป็นเจ้าของบ้านได้

ซื้อบ้านหลายหลัง ชื่อในทะเบียนบ้านทำอย่างไร

เรื่องนี้ถือว่าค่อนข้างสำคัญสำหรับคนที่มีบ้านหลายหลัง โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนอสังหาฯ แน่นอนว่าคนเหล่านี้จะมีทะเบียนบ้านหลายฉบับ แต่ทางกฎหมายจำเป็นต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้เพียงฉบับเดียวเท่านั้น โดยสามารถใช้ชื่อฐานะเจ้าบ้านหรือผู้ดูแลบ้านได้ เนื่องจากตามกฎหมายไม่อนุญาตให้บุคคลเดียวกันมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านมากกว่าหนึ่งฉบับในเวลาเดียวกัน เพราะจะกระทบต่อบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ดังนั้นนักลงทุนอสังหาฯ หรือกลุ่มคนทำงานที่ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด สามารถใช้วิธีนำชื่อของญาติ พ่อแม่ พี่น้องมาใส่ในทะเบียนบ้านหลังอื่นๆ ได้

นักลงทุนที่มีบ้านหลายหลัง คอนโดหลายห้อง รู้วิธีการแจ้งชื่อในทะเบียนบ้านแล้ว หากอยากเพิ่มจำนวนห้องชุดให้มากกว่านี้ กับโปรโมชันแสนสิริ ที่มอบให้สำหรับผู้ที่จองผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น

ชื่อในทะเบียนบ้านสามารถปล่อยว่างได้หรือไม่

หลายคนอาจสงสัยว่าจากกรณีข้อที่ 2 หากไม่สามารถหาชื่อญาติ พ่อแม่ พี่น้อง มาใส่ในทะเบียนบ้านได้ สามารถทำให้ชื่อในทะเบียนปล่อยว่างได้หรือไม่ กรณีดังกล่าวสามารถทำได้ แต่ถ้าเกิดวันหนึ่งอยากขายบ้าน ขายคอนโดขึ้นมาและถือครองอสังหาฯ นั้นไม่ถึง 1 ปี จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามที่กฎหมายกำหนด คือ "พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 กำหนดให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยโดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่วันได้มา ดังนั้นหากท่านที่ขายอสังหาฯ ไปโดยไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ"

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ จากกรมสรรพากร 

วิธีแจ้งชื่อย้ายเข้า-ย้ายออกทะเบียนบ้านทำอย่างไร

การย้ายทะเบียนบ้านเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คนที่ซื้อบ้านหรือคอนโดใหม่ และกำลังมีแผนย้ายบ้านต่างตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับขั้นตอน เอกสาร รวมถึงข้อกำหนดทางกฎหมาย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

แจ้งชื่อย้ายออกทะเบียนบ้าน การแจ้งชื่อย้ายออกทะเบียนบ้านจะเป็นหน้าที่ของเจ้าบ้าน ซึ่งจำเป็นต้องย้ายออกภายใน 15 วัน หากเกินตามระยะเวลาที่กำหนด ตามกฎหมายกำหนดให้มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยเจ้าบ้านสามารถยื่นเอกสารกับนายทะเบียนท้องที่ของทะเบียนบ้านเดิม ซึ่งจะผ่านการตรวจสอบเอกสารจากนายทะเบียนก่อนมีการประทับ “ย้าย” หน้าเอกสาร พร้อมมอบเอกสารแจ้งย้ายเข้าต่อไป สำหรับเอกสารที่ใช้ย้ายออกทะเบียนบ้านมีดังนี้

  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง

รู้วิธีการย้ายเข้า ย้ายออกทะเบียนบ้านแล้ว หากใครสนใจอยากย้ายทะเบียนบ้านเข้าโครงการบ้านเดี่ยว บ้านแฝดน่าอยู่ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดโครงการใหม่ อณาสิริ กรุงเทพ-ปทุมธานี และ อณาสิริ ชัยพฤกษ์-วงแหวน ได้

แจ้งชื่อย้ายเข้าทะเบียนบ้าน หลังจากเจ้าบ้านแจ้งเรื่องย้ายออกจากทะเบียนบ้านหลังเดิมแล้ว เจ้าบ้านจำเป็นต้องแจ้งชื่อย้ายเข้าทะเบียนบ้านหลังใหม่ภายใน 15 วัน หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด จะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยต้องยื่นเอกสารให้กับนายทะเบียนท้องที่ที่ย้ายเข้า หลังจากนายทะเบียนตรวจสอบแล้วจะทำการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ซึ่งมีเอกสารสำหรับย้ายเข้าทะเบียนบ้านดังนี้

  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
  • ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร. 6) ตอนที่ 1 และ 2 โดยเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว

ทะเบียนบ้านหายต้องทำอย่างไร

สำหรับกรณีของทะเบียนหาย น่าจะเป็นสถานการณ์ที่พบบ่อยสำหรับนักลงทุนที่มีคอนโดหลายห้อง หรือคนที่ซื้อบ้านไว้ให้เช่าหลายหลัง และถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นสามารถยื่นคำร้องกับฝ่ายทะเบียน พร้อมแนบเอกสารหลักฐานได้ดังต่อไปนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน
  • กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน จะต้องมีบัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย หนังสือผู้มอบหมาย ค่าธรรมเนียมในการออกเล่มใหม่ฉบับละ 20 บาท

แหล่งข้อมูล: bora.dopa.go.th

ได้ความรู้เกี่ยวกับทะเบียนบ้านที่เป็นประโยชน์ต่อคนที่กำลังซื้อบ้านในตอนนี้ไปแล้ว สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจซื้อบ้านในช่วงนี้ แนะนำให้รีบคว้าโครงการเด่นทำเลดังกับแสนสิริโปรโมชันดีๆ อย่างโปรโมชันบ้านและทาวน์โฮมพร้อมอยู่พร้อมพบประสบการณ์ซื้อบ้าน แสน Smoothในทุกขั้นตอน  

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน