เพราะเหตุใดการศึกษาวัตถุท้องฟ้าจึงต้องใช้กล้องโทรทรรศน์หลายชนิด การศึกษาวัตถุท้องฟ้าใช้กล้องโทรทรรศน์ตรวจวัดในช่วงความยาวคลื่นใดบ้าง กล้องโทรทรรศน์ชนิดใดใช้คลื่นวิทยุในการศึกษาวัตถุท้องฟ้า กล้องโทรทรรศน์ช่วงคลื่นวิทยุ ใช้ศึกษาอะไร เฉลยแบบบันทึกกิจกรรม 4.1 กล้องโทรทรรศน์ในช่วงความยาวคลื่นต่างๆ กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ กล้องโทรทรรศน์ช่วงคลื่นวิทยุ กล้องโทรทรรศน์ช่วงคลื่นอินฟราเรด ประโยชน์ กล้องโทรทรรศน์ช่วงคลื่นวิทยุ หลักการทํางาน กล้องโทรทรรศน์ฟาสต์ วัตถุอวกาศที่เหมาะสมในการศึกษา

ทําไมกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ศึกษาวัตถุท้องฟ้าต้องใช้ความยาวคลื่นในช่วงต่าง ๆ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กล้องโทรทรรศน์อวกาศ คืออุปกรณ์สำหรับการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่อยู่ในอวกาศภายนอกในระดับวง โคจรของโลกเพื่อทำการสังเกตการณ์ดาวเคราะห์อันห่างไกล ดาราจักร และวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ ที่ช่วยให้มนุษย์ทำความเข้าใจกับจักรวาลได้ดีขึ้นการสังเกตการณ์ในระดับวงโคจรช่วยแก้ปัญหาทัศนวิสัยในการสังเกตการณ์บนโลกที่ มีอุปสรรคต่าง ๆ เช่น การแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในชั้นบรรยากาศ เป็นต้น นอกจากนี้การถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้ายังสามารถทำได้ที่ความยาวคลื่นต่าง ๆ กัน ซึ่งบางอย่างไม่สามารถทำได้บนผิวโลก

โครงการกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ สำคัญของนาซา คือโครงการหอดูดาวเอก (Great Observatories) ซึ่งประกอบด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ 4 ชุดได้แก่ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กล้องรังสีแกมมาคอมพ์ตัน กล้องรังสีเอกซ์จันทรา และกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ นอกจากนี้ยังมีกล้องโทรทรรศน์อวกาศอื่น ๆ อีกที่อยู่ในวงโคจรแล้ว และกำลังจะขึ้นสู่วงโคจรในอนาคต

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล[แก้]

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล คือ กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำส่งขึ้นสู่วงโคจร เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1990 ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ เอ็ดวิน ฮับเบิล กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลไม่ได้เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวแรกของโลก แต่มันเป็นหนึ่งในเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การ ศึกษาดาราศาสตร์ที่ทำให้นักดาราศาสตร์ค้นพบปรากฏการณ์สำคัญต่าง ๆ อย่างมากมาย กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างองค์การนาซาและองค์การ อวกาศยุโรป

การที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลลอยอยู่นอกชั้นบรรยากาศของโลกทำ ให้มันมีข้อได้เปรียบเหนือกว่ากล้องโทรทรรศน์ที่อยู่บนพื้นโลก นั่นคือภาพไม่ถูกรบกวนจากชั้นบรรยากาศ ไม่มีแสงพื้นหลังท้องฟ้า และสามารถสังเกตการณ์คลื่นอัลตราไวโอเลตได้โดยไม่ถูกรบกวนจากชั้นโอโซนบนโลก ตัวอย่างเช่น ภาพอวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลที่ถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล คือภาพถ่ายวัตถุในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยมีมา

โครงการก่อสร้างกล้องโทรทรรศน์อวกาศเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1923 กล้องฮับเบิลได้รับอนุมัติทุนสร้างในช่วงปี ค.ศ. 1970 แต่เริ่มสร้างได้ในปี ค.ศ. 1983 การสร้างกล้องฮับเบิลเป็นไปอย่างล่าช้าเนื่องด้วยปัญหาด้านงบประมาณ ปัญหาด้านเทคนิค และจากอุบัติเหตุกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ กล้องได้ขึ้นสู่อวกาศในปี ค.ศ. 1990 แต่หลังจากที่มีการส่งกล้องฮับเบิลขึ้นสู่อวกาศไม่นานก็พบว่ากระจกหลักมี ความคลาดทรงกลมอัน เกิดจากปัญหาการควบคุมคุณภาพในการผลิต ทำให้ภาพถ่ายที่ได้สูญเสียคุณภาพไปอย่างมาก ภายหลังจากการซ่อมแซมในปี ค.ศ. 1993 กล้องก็กลับมามีคุณภาพเหมือนดังที่ตั้งใจไว้ และกลายเป็นเครื่องมือในการวิจัยที่สำคัญและเป็นเสมือนฝ่ายประชาสัมพันธ์ ของวงการดาราศาสตร์

กล้องโทรทรรศน์อวกาศคอมพ์ตัน[แก้]

กล้องโทรทรรศน์อวกาศคอมพ์ตัน หรือ กล้องรังสีแกมมาคอมพ์ตัน (Compton Gamma-ray Observatory) เป็นหอสังเกตการณ์ดวงที่สองของนาซาในโครงการหอดูดาวเอกที่ส่งขึ้นสู่อวกาศ หลังจากที่ส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขึ้นไปก่อนหน้านั้น กล้องโทรทรรศน์อวกาศคอมพ์ตันตั้งชื่อตาม ดร. อาร์เทอร์ ฮอลลี คอมพ์ตัน นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลที่สร้างผลงานโดดเด่นด้านฟิสิกส์รังสี แกมมา กล้องคอมพ์ตันสร้างโดยสถาบัน TRW (ปัจจุบันคือสถาบันเทคโนโลยีอวกาศนอร์ทรอพ กรัมแมน) ในแคลิฟอร์เนีย ใช้เวลาสร้างทั้งสิ้น 14 ปี ขึ้นสู่อวกาศโดยกระสวยอวกาศแอตแลนติส เที่ยวบิน STS-37 เมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1991 และได้ทำงานจนกระทั่งปลดระวางในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 2000 กล้องคอมพ์ตันโคจรอยู่ในวงโคจรต่ำของโลกที่ระดับความสูงประมาณ 450 กิโลเมตร เพื่อหลบหลีกผลกระทบจากแถบรังสีแวนอัลเลน นับเป็นเครื่องมือทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่มีน้ำหนักมากที่สุดเท่าที่เคยส่ง ขึ้นสู่อวกาศ ด้วยน้ำหนักถึง 17,000 กิโลกรัม

กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์[แก้]

กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (อังกฤษ: Spitzer Space Telescope) หรือเดิมชื่อ Space Infrared Telescope Facility (SIRTF) เป็นกล้องสังเกตการณ์อวกาศอินฟราเรด เป็นกล้องอันดับที่สี่และสุดท้ายของโครงการหอดูดาวเอกของนาซา ตั้งชื่อตาม ดร. ไลแมน สปิตเซอร์ จูเนียร์ หนึ่งในนักดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นผู้เสนอให้ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ไว้ในอวกาศเป็นคนแรกตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1940 เพื่อขจัดปัญหาการรบกวนของชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนกว่าการตั้งกล้องไว้บนพื้นโลก โดยเขาใช้เวลากว่า 50 ปี จึงสามารถผลักดันแนวคิดนี้ได้สำเร็จ กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 2003 ด้วยจรวดเดลต้า 2 จากแหลมคานาวารัล และได้สิ้นสุดภารกิจแล้วเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2020[1]

กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์

วงโคจรของกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์[แก้]

สปิตเซอร์มีวงโคจรเป็นแบบ Heliocentric ซึ่งโคจรตามโลกไปรอบ ๆ ดวงอาทิตย์ใช้เวลา 1 ปี

ส่วนประกอบของกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์[แก้]

ตัวกล้องของสปิตเซอร์เป็นกระจกขนาด 85 เซนติเมตร ความยาวโฟกัส 10.20 เมตร ทำด้วย beryllium และหล่อเย็นด้วยฮีเลียมเหลวให้มีอุณหภูมิอยู่ที่ 5.5 องศาเคลวินตลอดเวลา ตัวกล้องมีน้ำหนักรวม 960 กิโลกรัม ประกอบด้วยเครื่องมือสำคัญ 3 ชิ้นคือ

กระจกของกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์

1.IRAC (Infrared Array Camera) เป็นชุดของ sensor ย่าน Infrared ใน 4 ความยาวคลื่นคือ 3.6 ไมโครเมตร, 4.5 ไมโครเมตร, 5.8 ไมโครเมตร และ 8 ไมโครเมตร ใช้ sensor ขนาด 256 x 256 pixel โดยมีฮีเลี่ยมเหลวหล่อเย็นที่อุณหภูมิ -250 องศา C 2.IRS (Infrared Spectrograph) เป็นชุดวิเคราะห์ spectrum ย่าน Infrared ความยาวคลื่นระหว่าง 5 - 38 ไมโครเมตร 3.MIPS (Multiband Imaging Photometer for Spitzer) เป็นชุด sensor Infrared ย่านความยาวคลื่น 24 - 160 ไมโครเมตร

ผลงานของกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์[แก้]

ผลงานชิ้นแรกคือภาพที่ส่งมาเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2546 ภาพที่เด่นที่สุดคือ ดาราจักรรูปเกลียว M 81 ซึ่งอยู่ทางเหนือของกลุ่มดาวหมีใหญ่ ไกลจากโลก 12 ล้านปีแสง แสดงความสามารถของกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ในการถ่ายภาพอวกาศที่ถูกปกคลุมด้วยกลุ่มก๊าซที่หนาแน่นซึ่งกล้องโทรทรรศน์แสงไม่สามารถมองเห็นได้ ทำให้เห็นการก่อกำเนิดของดาวฤกษ์และเห็นใจกลางของดาราจักร

เนื่องจาก Spitzer เป็นกล้องที่เน้นสำรวจแหล่งกำเนิดอินฟราเรด ดังนั้น Spitzer จึงมักใช้สำรวจวัตถุอุณหภูมิต่ำเช่น สเปกตรัมของแสงจากวัตถุประเภทดาวเคราะห์ หรือระบบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ตัวอย่างการค้นพบที่สำคัญคือ การค้นพบองค์ประกอบไอน้ำบนดาวเคราะห์ HD 209458 b โดยใช้เครื่องรับรู้อินฟราเรดย่าน 7.5 - 13.2 ไมโครเมตร

กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา[แก้]

กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา หรือ กล้องรังสีเอกซ์จันทรา (Chandra X-ray Observatory) เป็นดาวเทียมของนาซา ที่มี detector ที่สามารถตรวจจับรังสีเอกซ์ได้ จึงเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการศึกษารังสี X-ray ในห้วงอวกาศ ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศโดยยาน STS-93 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1999 และพร้อมปฏิบัติภารกิจในปี ค.ศ. 2014 กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา หรือ กล้องรังสีเอกซ์จันทรา (อังกฤษ: Chandra X-ray Observatory) เป็นดาวเทียมของนาซา ที่มี detector ที่สามารถตรวจจับรังสีเอกซ์ได้ จึงเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการศึกษารังสี X-ray ในห้วงอวกาศ

กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรารายชื่อเก่าประเภทภารกิจผู้ดำเนินการCOSPAR IDSATCAT no.เว็บไซต์ระยะภารกิจข้อมูลยานอวกาศผู้ผลิตมวลขณะส่งยานมวลแห้งขนาดกำลังไฟฟ้าเริ่มต้นภารกิจวันที่ส่งขึ้นจรวดนำส่งฐานส่งลักษณะวงโคจรระบบอ้างอิงระบบวงโคจรกึ่งแกนเอกความเยื้องระยะใกล้สุดระยะไกลสุดอินคลิเนชั่นคาบการโคจรลองจิจูดของจุดโหนดขึ้นระยะมุมจุดใกล้ศูนย์กลางที่สุดอนอมัลลีเฉลี่ยการเคลื่อนไหวเฉลี่ยวันที่ใช้อ้างอิงรอบการโคจรกล้องโทรทรรศน์หลักชนิดเส้นผ่านศูนย์กลางระยะโฟกัสพื่นที่รับแสงความยาวคลื่นความละเอียด

ภาพประกอบของจันทรา

Advanced X-ray Astrophysics Facility (AXAF)
กล้องรังสีเอกซ์
นาซ่า / หอดูดาวฟิสิกส์ดาราศาสตร์สถาบันสมิธโซเนียน / CXC
1999-040B
25867
chandra.harvard.edu
วางแผน: 5 ปี
ผ่านไป: 23 years, 3 months, 26 days
ทีอาร์ดับเบิลยู ออโตโมทีฟ
5,860 กิโลกรัม (12,930 ปอนด์)[2]
4,790 กิโลกรัม (10,560 ปอนด์)[2]
ปรับใช้: 13.8 × 19.5 เมตร (45.3 × 64.0 ฟุต)[3]
เก็บไว้: 11.8 × 4.3 เมตร (38.7 × 14.0 ฟุต)[2]
2,350 W[3]
23 กรกฎาคม 1999, 04:30:59.984 UTC[4]
กระสวยอวกาศ โคลัมเบีย (STS-93)
ศูนย์อวกาศเคนเนดี LC-39B
วงโคจรค้างฟ้า
วงโคจรขั้วโลก
80,795.9 กิโลเมตร (50,204.2 ไมล์)
0.743972
14,307.9 กิโลเมตร (8,890.5 ไมล์)
134,527.6 กิโลเมตร (83,591.6 ไมล์)
76.7156°
3809.3 นาที
305.3107°
267.2574°
0.3010°
0.3780 รอบต่อวัน
4 กันยายน 2015, 04:37:54 UTC[5]
1358
วอลเตอร์ ไทป์ 1[6]
1.2 เมตร (3.9 ฟุต)[3]
10.0 เมตร (32.8 ฟุต)[3]
0.04 ตารางเมตร (0.43 ตารางฟุต)[3]
รังสีเอกซ์: 0.12–12 nm (0.1–10 keV)[7]
0.5 arcsec[3]
เครื่องมือACISHRCHETGLETG
สเปกโทรมิเตอร์ถ่ายภาพอุปกรณ์ถ่ายเทประจุขั้นสูง
กล้องความละเอียดสูง
เกรตติงแบบส่องผ่านพลังงานสูง
เกรตติงแบบส่องผ่านพลังงานต่ำ

โครงการหอดูดาวเอก

← คอมป์ตัน

สปิตเซอร์ →

 

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์[แก้]

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (อังกฤษ: James Webb Space Telescope; JWST) เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์การนาซา องค์การอวกาศยุโรป (ESA) และองค์การอวกาศแคนาดา (CSA) มีเป้าหมายเพื่อสืบทอดภารกิจของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในการเป็นภารกิจฟิสิกส์ดาราศาสตร์หลักของนาซา[6][7] กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 2021 มันสามารถสังเกตภาพในช่วงคลื่นอินฟราเรดด้วยความคมชัดและความไวแสงมากกว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล นอกจากนี้ มันสามารถสังเกตวัตถุและเหตุการณ์ที่ห่างไกลในเอกภพได้ด้วย เช่น การกำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักร และลักษณะชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบ เป็นต้น

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์
James Webb Space Telescopeรายชื่อเก่าประเภทภารกิจผู้ดำเนินการเว็บไซต์ระยะภารกิจข้อมูลยานอวกาศผู้ผลิตมวลขณะส่งยานขนาดกำลังไฟฟ้าเริ่มต้นภารกิจวันที่ส่งขึ้นจรวดนำส่งฐานส่งผู้ดำเนินงานลักษณะวงโคจรระบบอ้างอิงระบบวงโคจรระยะใกล้สุดระยะไกลสุดคาบการโคจรกล้องโทรทรรศน์หลักชนิดเส้นผ่านศูนย์กลางระยะโฟกัสอัตราส่วนโฟกัสพื่นที่รับแสงความยาวคลื่นอุปกรณ์ส่งสัญญาณย่านความถี่แบนด์วิดท์เครื่องมือFGS-NIRISSMIRINIRCamNIRSpecองค์ประกอบ

ภาพจำลองกล้องโทรทัศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์

Next Generation Space Telescope (NGST; 1996–2002)
ดาราศาสตร์
NASA / องค์การอวกาศยุโรป / องค์การอวกาศแคนาดา / สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ[8]
webbtelescope.org
10 ปี (ขั้นต่ำตามแผน)

  • นอร์ทธรอป กรัมแมน
  • บริษัทเทคโนโลยีการบินและอวกาศบอล

6161.4 กิโลกรัม[9]
20.197 × 14.162 m (66.26 × 46.46 ft), ฉากกันแสงอาทิตย์
2 kW
25 ธันวาคม 2021, 12:20 UTC[10]
อารีอาน 5 ECA (VA256)
ศูนย์อวกาศเกียนา, ELA-3
อารีอานสเปซ
จุดลากร็องฌ์ที่ 2 ระหว่างดาวโลก-ดวงอาทิตย์
วงโคจรฮาโล
374,000 km (232,000 mi)[11]
1,500,000 km (930,000 mi)
6 เดือน
ระบบลดความบิดเบือนภาพสามกระจกแบบคอร์ช
6.5 m (21 ft)
131.4 m (431 ft)
f/20.2
25.4 m2 (273 sq ft)[12]
0.6–28.3 μm (ส้มถึงอินฟราเรดช่วงกลาง)

  • S band: โทรมาตร การติดตาม และการควบคุม
  • Ka band: การรับข้อมูล

  • S band ขาขึ้น: 16 kbit/s
  • S band ขาลง: 40 kbit/s
  • Ka band ขาลง: มากถึง 28 Mbit/s

เซ็นเซอร์นำทางความละเอียดสูงและตัวสร้างภาพคลื่นใกล้อินฟราเรดและสเปกโทรกราฟไร้แผ่นบัง
เครื่องมือวัดอินฟราเรดกลาง
กล้องถ่ายคลื่นใกล้อินฟราเรด
สเปกโตรกราฟคลื่นใกล้อินฟราเรด

  • หน่วยรวมเครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • องค์ประกอบกล้องโทรทรรศน์รับแสง
  • ยานอวกาศ (บัส และฉากกันแสงอาทิตย์)


สัญลักษณ์ภารกิจกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์  

องค์ประกอบกล้องโทรทรรศน์รับแสง เป็นกระจกสะท้อนหลักของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ซึ่งประกอบไปด้วยกระจกเบริลเลียมเคลือบทองทรงหกเหลี่ยม 18 ส่วน ซึ่งประกอบกันเพื่อสร้างกระจกเส้นผ่านศูนย์กลาง 6.5 m (21 ft) — ใหญ่กว่ากระจกสะท้อนหลักของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขนาด 2.4 m (7 ft 10 in) เป็นอย่างมาก กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์จะสังเกตการณ์ในช่วงคลื่นแสงที่มองเห็นได้ไปจนถึงคลื่นอินฟราเรดกลาง (0.6 to 28.3 μm) ซึ่งต่างจากฮับเบิลซึ่งสังเกตการณ์ตั้งแต่คลื่นใกล้อัลตราไวโอเลต คลื่นแสงที่มองเห็นได้ และคลื่นใกล้อินฟราเรด (0.1 to 1 μm) การที่เจมส์ เวบบ์สังเกตการณ์ในคลื่นที่ต่ำกว่าจะทำให้มันสามารถเห็นวัตถุที่เลื่อนไปทางแดงอย่างมากซึ่งมีเก่าและไกลเกินกว่าที่ฮับเบิลจะมองเห็นได้[8][9] ตัวกล้องโทรทรรศน์จะต้องถูกรักษาไว้ในสภาพเย็นจัดเพื่อที่จะสามารถสังเกตการณ์เคลื่อนอินฟราเรดได้ด้วยไม่มีการรบกวน มันจึงจะถูกปล่อยไปยังบริเวณจุดลากร็องฌ์ที่ 2 ระหว่างดาวโลก-ดวงอาทิตย์ ประมาณ 1.5 ล้าน กิโลเมตร (930,000 ไมล์) จากโลก (0.01 au – 3.9 เท่าระยะทางจากโลกสู่ดวงจันทร์).[10]ฉากกันแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ผลิตด้วยซิลิคอน และแคปตอนเคลือบอะลูมิเนียมจะช่วยรักษาอุณหภูมิของกระจกรับแสงและเครื่องมือวัดให้ต่ำกว่า 50 K (−223 °C; −370 °F).[11]

ศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ดของนาซาเป็นผู้จัดการการพัฒนากล้องโทรทรรศน์อวกาศ และสถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศจะเป็นผู้ดำเนินการหลังจากการปล่อย[12] ผู้รับเหมาหลักคือนอร์ทธรอป กรัมแมน[13] ตัวกล้องโทรทรรศน์ถูกตั้งชื่อตามเจมส์ อี. เวบบ์[14] ซึ่งเป็นผู้บริหารองค์การนาซาตั้งแต่ปี 1961 ถึง 1968 และเป็นบุคคลสำคัญในโครงการอะพอลโล[15][16]

การพัฒนาเริ่มต้นขึ้นในปี 1996 สำหรับการปล่อยที่แรกเริ่มวางแผนไว้ในปี 2007 และใช้งบประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[17] โครงการนี้เกิดการล่าช้าและค่าใช้จ่ายสูงกว่างบประมาณอยู่หลายครั้ง เช่น การออกแบบใหม่ในปี 2005[18] ฉากกันแสงอาทิตย์ขาดระหว่างการทดสอบการกาง คำแนะนำจากคณะกรรมการตรวจสอบอิสระ การระบาดทั่วของโควิด-19[19][20][21] ปัญหากับจรวดอารีอาน 5[22] ปัญหากับตัวกล้องโทรทรรศน์เอง และปัญหาการสื่อสารระหว่างกล้องโทรทัศน์และจรวด[23] ความกังวลในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการปล่อยและการกางตัวของกล้องโทรทรรศน์ได้ถูกอธิบายเป็นอย่างดี[24][25]

การก่อสร้างเสร็จสิ้นช่วงปลายปี 2016 หลังจากนั้นจึงเริ่มช่วงการทดสอบอย่างครอบคลุม[26][27] กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ถูกปล่อย ณ เวลา 12:20 UTC ในวันที่ 25 ธันวาคม 2021 ด้วยจรวดอารีอาน 5 จาก กูรู, เฟรนช์เกียนา บริเวณหาดทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้

ความสามารถ[แก้]

แผนภาพโดยคร่าวของความโปร่งใสของชั้นบรรยากาศโลกต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่างๆ รวมถึงแสงที่มองเห็นได้

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์มีมวลเพียงครึ่งหนึ่งของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล แต่กระจกสะท้อนหลักของมันซึ่งประกอบไปด้วยกระจกเบริลเลียมเคลือบทองทรงหกเหลี่ยม 18 ชิ้น จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางรวม 6.5 m (21 ft) และมีพื้นที่รับแสง 25.4 m2 (273 sq ft) มากกว่าพื้นที่ของกล้องฮับเบิลถึงหกเท่า[30]

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์นั้นถูกออกแบบมาเพื่อใช้ศึกษาดาราศาสตร์อินฟราเรด แต่ก็ยังสามารถมองเห็นแสงสีส้มและแดง รวมถึงคลื่นอินฟราเรดช่วงกลาง ขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่ใช้ศึกษา การที่การออกแบบเน้นสำหรับการใช้ในคลื่นใกล้อินฟราเรดถึงอินฟราเรดช่วงกลางด้วยสามเหตุผลคือ

แสงที่มองเห็นได้ที่เปล่งออกมาจากวัตถุที่เลื่อนไปทางแดงมาก จะเลื่อนไปอยู่ในช่วงคลื่นอินฟราเรด วัตถุที่เย็นเช่นจานเศษฝุ่นและดาวเคราะห์เปล่งแสงมากที่สุดในคลื่นอินฟราเรด การศึกษาคลื่นนี้จากบนพื้นโลกหรือโดยการใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีอยู่ปัจจุบันเช่น ฮับเบิล นั้นเป็นไปได้ยาก กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินจะต้องสังเกตการณ์ผ่านชั้นบรรยากาศของโลก ถึงบดบังคลื่นอินฟราเรดหลายช่วง และแม้ในช่วงคลื่นที่ชั้นบรรยากาศไม่บดบัง สารเคมีเป้าหมายหลายชนิดเช่น น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทน ก็มีอยู่แล้วในบรรยากาศของโลก ทำให้การวิเคราะห์ผลลับซับซ้อนขึ้นไปมาก กล้องโทรทรรศน์อวกาศที่มีอยู่ในปัจจุบันเช่น ฮับเบิล ก็ไม่สามารถศึกษาคลื่นช่วงนี้ได้ เนื่องจากกระจกของมันถูกรักษาไว้ในอุณหภูมิที่ต่ำไม่พอ (กระจกสะท้อนหลักของฮับเบิลถูกรักษาไว้ที่อุณหภูมิประมาณ 15 °C (288 K; 59 °F)) ตัวกล้องโทรทรรศน์เองจึงเปล่งคลื่นอินฟราเรดอย่างรุนแรง[31]

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์จะทำงานใกล้จุดลากร็องฌ์ที่ 2 ระหว่างโลก-ดวงอาทิตย์ ประมาณ 1,500,000 km (930,000 mi) ห่างจากวงโคจรของโลก เปรียบเทียบกับวงโคจรของฮับเบิลซึ่งอยู่ 550 km (340 mi) เหนือพื้นโลก และดวงจันทร์โคจรอยู่ห่างจากโลกประมาณ 400,000 km (250,000 mi) จากโลก ด้วยระยะทางที่ห่างไกลเท่านี้จะทำให้การซ่อมหลังการปล่อยหรือต่อเติมยกระดับส่วนเครื่องของเจมส์ เวบบ์ แทบจะเป็นไปไม่ได้ ตัวยานอวกาศจึงจะสามารถเข้าถึงได้เฉพาะในช่วงการสร้างและออกแบบเท่านั้น วัตถุที่อยู่ใกล้จุดลากร็องฌ์นี้สามารถโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปพร้อมกับโลก ทำให้ตัวกล้องโทรทรรศน์มีระยะห่างคงที่โดยประมาณ[32] เจมส์ เวบบ์จะหันฉากกันแสงอาทิตย์และบัสเข้าสู่โลกและดวงอาทิตย์เพื่อสะท้อนแสงและความร้อนที่แผ่จากโลกและดวงอาทิตย์ และรักษาการสื่อสาร การเรียงตัวแนวนี้จะรักษาอุณหภูมิของยานอวกาศในอยู่ต่ำกว่า 50 K (−223 °C; −370 °F) ซึ่งจำเป็นจำหรับการสังเกตการณ์คลื่นอินฟราเรด[13][14]

  • ภาพจากมุมบน

  • ภาพจากมุมล่าง (ด้านหันหาดวงอาทิตย์)

  • พิมพ์เขียวของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์

อ้างอิง[แก้]

[15]

  1. Ending in 2020, NASA's Infrared Spitzer Mission Leaves a Gap in Astronomy. Jonathan O'Callaghan. Scientific American. June 4, 2019.
  2. ↑ 2.0 2.1 2.2 "Chandra X-ray Observatory Quick Facts". Marshall Space Flight Center. สืบค้นเมื่อ September 16, 2017.
  3. ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "Chandra Specifications". NASA/Harvard. สืบค้นเมื่อ September 3, 2015.
  4. "International Flight No. 210: STS-93". Spacefacts.de. สืบค้นเมื่อ April 29, 2018.
  5. "Chandra X-Ray Observatory - Orbit". Heavens Above. September 3, 2015. สืบค้นเมื่อ September 3, 2015.
  6. "The Chandra X-ray Observatory: Overview". Chandra X-ray Center. สืบค้นเมื่อ September 3, 2015.
  7. Ridpath, Ian (2012). The Dictionary of Astronomy (2nd ed.). Oxford University Press. p. 82. ISBN 978-0-19-960905-5.
  8. "NASA JWST "Who are the partners in the Webb project?"". NASA. สืบค้นเมื่อ 18 November 2011.
    บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  9. Clark, Stephen [@StephenClark1] (23 December 2021). "The exact launch mass of the James Webb Space Telescope: 6161.4 kilograms. That figure includes 167.5 kg of hydrazine and 132.5 kg of dinitrogen tetroxide for the propulsion system" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ 23 December 2021 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NASA-20211221
  11. "James Webb Space Telescope". ESA eoPortal. สืบค้นเมื่อ 29 June 2015.
  12. "JWST Telescope". James Webb Space Telescope User Documentation. Space Telescope Science Institute. 2019-12-23. สืบค้นเมื่อ 2020-06-11.
    บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  13. "The Sunshield". nasa.gov. NASA. สืบค้นเมื่อ 28 August 2016.
    บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  14. Drake, Nadia (24 April 2015). "Hubble Still Wows At 25, But Wait Till You See What's Next". National Geographic.
  15. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-05. สืบค้นเมื่อ 2016-03-24.

เพราะเหตุใดการศึกษาวัตถุท้องฟ้าจึงต้องใช้กล้องโทรทรรศน์หลายชนิด

กล้องโทรทรรศน์ (Telescope) เป็นกล้องส่องทางไกลซึ่งนักดาราศาสตร์ใช้ศึกษาวัตถุท้องฟ้า มีสมบัติที่สำคัญ 2 ประการ คือ ความสามารถในการรวมแสง - กล้องโทรทรรศน์สามารถรวมแสงได้มากกว่าดวงตาของมนุษย์ ช่วยให้สามารถมองเห็นวัตถุซึ่งมีความสว่างน้อย เช่น เนบิวลา และกาแล็กซี

การศึกษาวัตถุท้องฟ้าใช้กล้องโทรทรรศน์ตรวจวัดในช่วงความยาวคลื่นใดบ้าง

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space telescope) กล้องโทรทรรศน์ที่ใช้สังเกตการณ์ได้ ในหลายช่วงคลื่น เช่น แสงขาวที่มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงระหว่าง 400 ถึง 800 นาโนเมตร อินฟราเรดใกล้ (near infrared) มีความยาวคลื่นตั้งแต่ 800 ถึง 2500 นาโนเมตร และอัลตราไวโอเลตมีความยาวคลื่นตั้งแต่ 100 ถึง 400 นาโนเมตร มีการค้นพบที่ส า ...

กล้องโทรทรรศน์ชนิดใดใช้คลื่นวิทยุในการศึกษาวัตถุท้องฟ้า

กล้องโทรทรรศน์วิทยุ (radio telescope) ส่วนประกอบของกล้องโทรทรรศน์วิทยุมี 4 ส่วน คือ 1) จานสะท้อนจะทำหน้าที่รับคลื่นวิทยุแล้วสะท้อนไปยังจุดโฟกัส 2) ที่จุดโฟกัสมีส่วนรับสัญญาณ ทำหน้าที่รับและรวมสัญญาณแล้วส่งไปส่วนขยายสัญญาณ

กล้องโทรทรรศน์ช่วงคลื่นวิทยุ ใช้ศึกษาอะไร

กล้องโทรทรรศน์วิทยุ เป็นอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ ใช้บันทึกและวัดสัญญาณคลื่นวิทยุจากวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ กล้องโทรทรรศน์วิทยุต่างจากกล้องโทรทรรศน์เชิงแสงตรงที่ปฏิบัติงานในความถี่ของคลื่นวิทยุที่ความยาวคลื่นตั้งแต่ 10 มิลลิเมตร ไปจนถึง 10-20 เมตร โดยทั่วไปจานเสาอากาศของกล้องโทรทรรศน์วิทยุจะมีรูปร่างเป็นพาราโบลา อาจอยู่เดี่ยว ๆ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน