ยกเลิกการหมอบคลาน เพราะอะไร

“แลธรรมเนียมที่หมอบคลานกราบไหว้​ในประเทศสยามนี้ เหนว่าเปนการกดขี่แก่กันแรงนัก ไม่เหนว่ามีประโยชน์แก่บ้านเมืองแต่สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะฉะนั้นจึ่งจะต้องละธรรมเนียมเดิมที่ถือว่าหมอบคลานเปนการเคารพอย่างยิ่งในประเทศสยามนี้เสีย”

- จาก ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่ จ.ศ.1236

วัฒนธรรมการกราบไหว้ ถวายบังคม และหมอบคลานเป็นธรรมเนียมเก่าแก่มาช้านาน จนยากที่จะกล่าวได้ว่ามันเริ่มขึ้นมาจากที่ใดกันแน่ การกราบไหวทำความเคารพเป็นสิ่งที่ไทยเรารับมาจากวัฒนธรรมอินเดียที่เข้ามาพร้อมศาสนาพุทธและพราหมณ์ ในภาษาสันสกฤตเรียกการทำความเคารพกราบไหว้ว่า “ประณาม” โดย Gautam Chatterjee เขียนไว้ใน Sacred Hindu Symbols ว่า การทำความเคารพในสังคมฮินดูมีอยู่ด้วยกัน 6 ท่า คือ 1. อัษฏางคะ 2. ษัษฐางคะ 3.ปัญจางคะ 4. ทัณฑะวัต 5. นมัสการ 6. อภินันทะ ทั้ง 6 ท่านี้ก็มีบางท่าที่เราน่าจะคุ้นเคยกันดี อย่างอัษฏางคะ คือการก้มกราบลงไปโดยให้ส่วนของร่างกายทั้งแปดแตะพื้น ซึ่งผู้กราบจะอยู่ในท่านอนราบลงไปกับพื้น หรือ ปัญจางคะ (เบญจางคประดิษฐ์) ก็เป็นสิ่งที่ชาวพุทธใช้ไว้พระกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ประเพณีเช่นนี้คงจะถูกนำเข้ามาพร้อมกับศาสนาตั้งแต่เมื่อพันกว่าปีก่อนแล้ว และยังคงใช้กันอยู่ถึงปัจจุบัน การทำความเคารพในธรรมเนียมฮินดูจึงมีความหลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละสถานะและชนชั้นวรรณะ หากแต่ก็ไม่ได้มีการบังคับกะเกณฑ์ว่าจะต้องไหว้บุคคลนี้ในท่านี้เท่านั้น แต่จะขึ้นอยู่กับว่าเขาเคารพบุคคลที่ถูกไหว้แค่ไหนต่างหาก

ส่วนธรรมเนียมหมอบคลานที่เมื่อผู้น้อยอยู่กับผู้ใหญ่ต้องคลานหรือต้องหมอบไม่ให้สูงกว่าผู้ใหญ่นั้นก็น่าจะเป็นส่วนที่พัฒนามาจากธรรมเนียมกราบไหว้ของอินเดีย หากแต่เพิ่มความทรมานยิ่งขึ้น เพราะไม่ใช่แค่ก้มลงกราบแล้วจบ หากผู้ใหญ่นั้นเป็นถึงขุนนางหรือกษัตริย์ ผู้น้อยนั้นจะต้องอยู่ในท่าหมอบจนกว่าจะได้รับอนุญาตให้ลุกขึ้นมาพูดคุยกัน หลักฐานในประเทศไทยที่พูดถึงเรื่องธรรมเนียมการเข้าเฝ้าหมอบคลานมีอยู่ในสมัยอยุธยา โดยหนึ่งในนั้นคือจดหมายเหตุของบาทหลวงตาชารด์ได้บันทึกถึงธรรมเนียมการเข้าเฝ้าของราชฑูตในราชสำนักของสมเด็จพระนารายณ์จากประเทศต่างๆ ก่อนหน้านี้ว่า

“อันการรับราชฑูตของพระเจ้ากรุงญวน ตังเกี๋ย กอลกองด์ มลายู กับลาวนั้น ได้กระทำกันในพระลานแห่งหนึ่งในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งปูลาดด้วยพรม ขุนนางผู้ใหญ่แห่งราชอาณาจักรหมอบเฝ้าอยู่ในศาลาสองหลังซึ่งอยู่ทางด้านข้าง ส่วนขุนนางชั้นผู้น้อยหมอบเฝ้าอยู่ในพระลานนั้น ส่วนตัวราชฑูตกับผู้ติดตามนั้นอยู่ในพระลานอีกแห่งหนึ่งห่างออกไป ซึ่งต้องรออยู่จนกว่าจะมีผู้เชิญพระกระแสรับสั่งให้เข้าไปเฝ้าถวายบังคมได้”

และธรรมเนียมนี้คงมีมานานมากแล้ว ด้วยบาทหลวงท่านบันทึกต่อไปว่า พระองค์ทรงเว้นธรรมเนียมเข้าเฝ้าอย่างเก่าในกับคณะราชฑูตฝรั่งเศสเป็นพิเศษ

“พระองค์ทรงเคยประกาศต่อธารกำนัลแล้วว่า ไม่มีพระราชประสงศ์จะใช้ขนบธรรมเนียมอันเก่าแก่ดังที่เคยต้อนรับราชฑูตประเทศโมกุล ประเทศเปอร์เซีย และประเทศจีน…”

จะเห็นได้ว่าธรรมเนียมเช่นนี้น่าจะใช้กันมาในราชสำนักอยุธยามาอย่างยาวนานและอาจจะก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ด้วย จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ธรรมเนียมหมอบคลานนี้ก็ไม่เคยหายไปไหน ดังเช่นบันทึกของอ็องรี มูโอต์ บรรยายถึงสังคมในสมัยร. 4 ไว้ว่า

“…ระหว่างที่พำนักอยู่ในประเทศรัสเซียเป็นเวลา 10 ปี ข้าพเจ้ามีโอกาสพบเห็นความน่าสะพรึงกลัว อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปกครองในระบบกดขี่และระบบทาส เท่าที่ข้าพเจ้าสังเกตดูผลสืบเนื่องดังกล่าวที่ปรากฎให้เห็นในประเทศสยาม ก็มิได้น่าเศร้าสลดใจน้อยไปกว่าในประเทศรัสเซียเลย ผู้ที่ด้อยฐานะแสดงความเคารพด้วยกิริยาอันน่าสังเวช สภาพสังคมโดยทั่วๆ ไป อยู่ในลักษณะที่ต้องหมอบคลานเข้าหากัน”

รัฐบาลและราชสำนักสยามเริ่มมาจัดการจริงจังกับธรรมเนียมหมอบกราบในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้มีประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่ลงในราชกิจจานุเบกษา จุลศักราช 1236 (2417) โดยให้ยกเลิกธรรมเนียมหมอบคลานมาเป็นการทำความเคารพอย่างสากลนิยมแทน นอกจากประกาศแล้วยังตราพระราชบัญญัติในการเข้าเฝ้าของทั้งพระราชวงศ์ ข้าราชการ และประชาชน โดยเน้นย้ำไม่ให้มีการหมอบกราบเป็นอันขาด แม้กระทั้งมีขบวนเสด็จผ่านประชาชนที่อยู่ข้างทางก็ให้ใช้การโค้งคำนับแทน การตรากฎหมายเช่นนี้ดูจะแสดงให้เห็นถึงความจริงจังในการแก้ไขธรรมเนียมหมอบกราบ ซึ่งจากที่เห็นอยู่ในปัจจุบันก็พิจารณาเอาแล้วกันว่าความพยายามของรัชกาลที่ 5 นั้นสูญเปล่าแค่ไหน

อ้างอิง:
Matichonweekly
GQThailand
จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ใน รัชกาลที่ ๕ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ – ปีระกา พ.ศ. ๒๔๑๖

หนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑ วันจันทร์ เดือน ๘ แรม ๑ ค่ำ ปีจอฉศก ๑๒๓๖ แผ่นที่ ๗
จดหมายเหตุการเดินทางสู่สยามประเทศของบาทหลวงตาชารด์
รายงานการวิจัยเรื่อง. "วัฒนธรรมไทยในกรุงเทพฯ จากมุมมอง ของชาวตะวันตก". โดย นางสาวเพ็ญลักษณ์ วงศ์จงใจหาญ

(อยากรู้จริงๆ) ในเมื่อยกเลิกการหมอบคลานเข้าเฝ้าแล้ว ทำไมข่าวในพระราชสำนักยังมีการหมอบคลานเข้าเฝ้าอยู่

ทราบว่ายกเลิกธรรมเนียมการหมอบคลานแล้วตั้งแต่ ร.4 แต่พอดูข่าวในราชสำนัก ทำไมบางโอกาสถึงมีการหมอบคลานอยู่ เพราะบางครั้งไม่เห้นหลักตายตัว เช่น บางครั้งมีการเข้าเฝ้าเจ้านายทรงนั่งเก้าอี้ คนเฝ้าก็นั่งเก้าอี้ แต่บางครั้งคนเฝ้าก็ต้องไปนั่งพับเพียบกับพื้น คือเรื่องนี้สงสัยจริงๆว่ามีหลักเกณฑ์ยังไงในการเข้าเฝ้าบ้างครับ

0

ยกเลิกการหมอบคลาน เพราะอะไร

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ

กระทู้ที่คุณอาจสนใจ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จขึ้นครองราชย์ ในปี พ.ศ. 2411 ขณะเมื่อพระชนมายุ 15 พรรษา ภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยงวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนกระทั่งได้ทรงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2416 ขณะทรงพระชนมายุ 20 พรรษา ภายหลังพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 กฎหมายฉบับแรกที่มาจากพระราชอำนาจในฐานะพระมหากษัตริย์ของในหลวงรัชกาลที่ 5 คือ “ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่”

สาระสำคัญของ “ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่” คือ นับตั้งแต่ประเทศไทยทำสนธิสัญญาเบาว์ริง ในปี พ.ศ. 2398 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 4 ส่งผลให้มีประเทศต่างๆ ทยอยกันเข้ามาขอทำสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีกับไทยอีกหลายสิบประเทศ ทำให้ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ในหลวงรัชกาลที่ 4 จึงทรงให้ชาวต่างชาติเข้าเฝ้าหรือเข้าร่วมพระราชพิธี และทำความเคารพด้วยธรรมเนียมของชาติตนได้ จึงทำให้เกิดการปฏิบัติที่แตกต่างขึ้นระหว่างขุนนางชาวไทยที่เข้าเฝ้าด้วยการหมอบคลาน และชาวต่างชาติที่เข้าเฝ้าด้วยการยืนและแสดงความเคารพด้วยการโค้งศีรษะคำนับ

ดังนั้น เมื่อเข้าสู่รัชสมัยของรัชกาลที่ 5 เพื่อป้องกันไม่ให้ชาวต่างชาติดูถูกประเพณีไทยว่าล้าหลัง พระองค์จึงทรงประกาศให้การเข้าเฝ้าและการแสดงความเคารพ เปลี่ยนมาใช้ตามแบบอย่างค่านิยมตะวันตก

กล่าวกันว่า ภายหลังยกเลิกประเพณีหมอบคลาน ยังมีเจ้านายบางพระองค์ที่ยึดถือค่านิยมแบบเก่า ไม่ยอมยืนถวายคำนับ เช่น พระองค์เจ้าหญิงผ่องประไพ พระราชธิดาของในหลวงรัชกาลที่ 5 ที่ทรงหมอบรับเสด็จขณะที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินผ่าน ทำให้พระองค์ทรงกริ้วเป็นอย่างมาก

การที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมยกเลิกการหมอบคลานนั้น เป็นเรื่องของการยกเลิกกฎหมายที่กดขี่ผู้น้อยให้แสดงความเคารพต่อผู้มีบรรดาศักดิ์ ซึ่งถ้าหากใครไม่ทำก็จะเป็นความผิดตามกฎหมาย และทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้ชาวต่างชาติดูถูกคนไทยว่ามีวัฒนธรรมที่ล้าหลังแตกต่างจากอารยประเทศ จึงทรงให้คนไทยปฏิบัติเช่นเดียวกับชาวต่างชาติ ที่แสดงความเคารพตามวัฒนธรรมของชาติตน

อย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณีการแสดงความเคารพแบบส่วนพระองค์ หรือในพระราชพิธีภายในราชสำนัก สำหรับคนไทยก็ยังคงแสดงความเคารพต่อพระมหากษัตริย์ด้วยการหมอบกราบ หรือการถวายบังคมอยู่ดี และในหลวงรัชกาลที่ 5 ก็ทรงรับการทำความเคารพตามแบบประเพณีของไทยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการที่พระเจ้าลูกเธอหรือข้าราชสำนัก หมอบกราบในโอกาสต่างๆ เว้นเสียแต่ว่ามีการออกพระราชพิธีที่เป็นทางการ ก็จะทรงให้ใช้การแสดงความเคารพแบบสากล ตามธรรมเนียมปฏิบัติของชาวต่างชาติ

สิ่งเหล่านี้ คือแง่มุมหนึ่งของการหมอบกราบที่สะท้อนถึงความแตกต่าง และการแบ่งแยกชั้นวรรณะ ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงต้องการยกเลิกสิ่งเหล่านี้ เพื่อยกระดับของสยามให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ ซึ่งถือเป็นการปรับเปลี่ยนตามบริบทบ้านเมืองในขณะนั้น

แต่การไหว้หรือการกราบนั้น ยังมีอีกแง่มุมหนึ่ง นั่นคือแง่มุมของประเพณีปฏิบัติที่แสดงให้เห็นถึงการให้ความเคารพ หรือการให้เกียรติกันอีกด้วย

การไหว้หรือการกราบ เป็นประเพณีการแสดงความเคารพที่บุคคลหนึ่งแสดงออกต่อบุคคลหนึ่ง ไม่จำกัดเพียงคนไทยเท่านั้น หากแต่เป็นวัฒนธรรมสากลในแถบเอเชียใต้ที่ยึดถือปฏิบัติกันมานมนาน และวิธีการแสดงออกก็มีหลายระดับ ซึ่งแตกต่างไปตามระดับความสัมพันธ์ เช่น การไหว้ระดับอก สำหรับไหว้บุคคลที่สถานะเท่ากันหรือเป็นการที่ผู้ใหญ่รับไหว้ผู้น้อย หรือการไหว้ที่พนมมือขึ้นระดับศีรษะสำหรับไหว้ผู้ใหญ่

แต่ทั้งนี้การไหว้เป็นเพียงการแสดงความเคารพกึ่งทางการเท่านั้น ถ้าหากเป็นการแสดงความเคารพอย่างเป็นทางการ จะเป็นการกราบ ซึ่งเรียกว่าการกราบ “เบญจางคประดิษฐ์” คือการกราบโดยให้อวัยวะ 5 ส่วน อันได้แก่ เข่าทั้งสอง ฝ่ามือทั้งสอง และหน้าผาก จรดลงให้ติดกับพื้น

หรือหากเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด ซึ่งเรียกว่า “อัษฎางคประดิษฐ์” คือ การกราบโดยให้องคาพยพทั้ง 8 ตำแหน่งของร่างกาย อันได้แก่ หน้าผาก 1 หน้าอก (บางแห่งว่าหน้าท้อง) 1 ฝ่ามือทั้ง 2 เข่าทั้ง 2 และปลายเท้าทั้ง 2 สัมผัสธรณี การกราบในลักษณะนี้มักเรียกกันว่า “การกราบแบบธิเบต” แต่อันที่จริงแล้วเป็นท่านมัสการที่แพร่หลายทั่วไปอยู่แล้วในกลุ่มพุทธศาสนิกชนที่นับถือลัทธิ ตันตรยาน หรือ วัชรยาน เช่น ในอินเดีย กัมพูชาสมัยเมืองพระนคร กระทั่งธิเบต เนปาล และภูฏาน ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังทำกันอยู่ และไม่เพียงเท่านั้น ในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ ก็มีการแสดงความเคารพในทำนองเดียวกับอัษฎางคประดิษฐ์เช่นกัน ต่างกันเพียงแค่ไม่มีการพนมมือ

สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน ยังคงมีประเพณีปฏิบัติที่มีการหมอบกราบ อันแสดงถึงความเคารพและการให้เกียรติต่อบุคคลอื่น เช่น พิธีไหว้ครู

สำหรับคนไทยแล้วถือกันว่าวิชาความรู้เป็นทรัพย์ที่ล้ำค่า การที่ใครสักคนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้กับเราจึงถือเสมือนผู้มีพระคุณประดุจบิดามารดา ดังนั้น วัฒนธรรมไทยจึงมีค่านิยมบูชาพระคุณครูบาอาจารย์ ซึ่งนอกจากจะเป็นการแสดงความเคารพและให้เกียรติแล้ว ยังเป็นการสร้างความตระหนักให้เราไม่หลงลืมตัว ฉะนั้น การแสดงความเคารพต่อครูบาอาจารย์ จึงไม่ใช่การแบ่งชนชั้นวรรณะ ไม่เกี่ยวอะไรกับศักดินาเลย หากแต่เป็นเรื่องของการแสดงความเคารพต่อผู้มีพระคุณ และอีกนัยหนึ่งยังเป็นการลดความถือดี ลดการยึดมั่นในตัวตนของเราลงอีกด้วย

ประเทศไทยในยุคปฏิรูปบ้านเมืองสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เริ่มมีการปฏิรูปการศึกษา โดยจัดตั้งโรงเรียนให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงการศึกษาและมีวิชาความรู้ในการหาเลี้ยงชีพ ตามพระนิพนธ์เรื่องประวัติอาจารย์ ของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงเล่าว่า เมื่อทรงพระผนวชที่วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ เมื่อปี พ.ศ. 2435 ทรงเห็นว่าโรงเรียนยังขาดการสอนคติธรรม จึงทรงขอให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ช่วยแต่ง “คำนมัสการคุณานุคุณ” ขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนท่อง

คำนมัสการคุณานุคุณ ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ประกอบไปด้วย บทนมัสการพระพุทธเจ้า (องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธสันดาน) บทนมัสการพระธรรม และบทนมัสการพระสงฆ์ สำหรับให้นักเรียนสวดตอนเช้าก่อนเริ่มเรียน คำบูชาบิดามารดา และคำบูชาคุณครู สำหรับสวดก่อนเริ่มเรียนตอนบ่าย และคำบูชาคุณพระมหากษัตริย์ กับคำขอพรเทวดา สำหรับสวดเมื่อเลิกเรียน

แม้ว่าในปัจจุบัน การสร้างจิตสำนึกที่ดีงามในลักษณะนี้ จะถูกลดรูปเหลือเพียงแค่กิจกรรมการไหว้ครูปีการศึกษาละครั้งเท่านั้น แต่คนไทยและเยาวชนไทยส่วนใหญ่ก็ยังคงรู้สึกถึงจิตสำนึกที่ดีงาม ยังคงสืบสานค่านิยมและวัฒนธรรมอันแสดงให้เห็นถึงการให้เกียรติผู้อื่น สืบต่อไปในอนาคต โดยอยู่บนพื้นฐานของการเคารพในสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า คนส่วนใหญ่ในสังคมแยกแยะออกว่าอะไรเป็นอะไร และไม่หลงเชื่อการอ้างเหตุผลแบบจับแพะชนแกะของคนบางกลุ่ม เพียงเพื่อหวังผลทางการเมือง และสร้างกระแสปลุกปั่นทำลายรากฐานของสังคม