ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 หมายถึงใคร

มาตรา 9 ทหารกองเกินซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์ และยังไม่ถึงสามสิบปีบริบูรณ์เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างที่จะต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ และเมื่อต้องเข้ากองประจำการจะต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการมีกำหนดสองปี  ส่วนผู้ซึ่งมีคุณวุฒิพิเศษหรือเมื่อมีกรณีพิเศษ จะให้รับราชการทหารกองประจำการน้อยกว่าสองปีตามที่กำหนดในกฎกระทรวงก็ได้  แต่สำหรับผู้ซึ่งมีคุณวุฒิพิเศษนั้นจะอ้างสิทธิดังกล่าวได้ต่อเมื่อได้แสดงหลักฐานต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก หรือต่อหน่วยทหารที่ตนร้องขอเข้ารับราชการในวันร้องขอ วันเริ่มเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ให้นับแต่วันขึ้นทะเบียนกองประจำการ ในกรณีที่ทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการแล้ว แต่ยังขึ้นทะเบียนกองประจำการให้ไม่ได้ในวันที่ทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการนั้น   จะขึ้นทะเบียนกองประจำการภายหลังจากวันเข้ารับราชการทหารกองประจำการก็ได้และให้ถือว่าผู้นั้นได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการตั้งแต่วันที่เข้ารับ    ราชการทหารกองประจำการ เมื่ออยู่ในกองประจำการจนครบกำหนดแล้ว ให้ปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 ดังนี้

  • กองหนุนชั้นที่ 1 เจ็ดปี
  • กองหนุนชั้นที่ 2 สิบปี
  • กองหนุนชั้นที่ 3 หกปี

ตามลำดับชั้นไปจนปลดพ้นราชการทหารประเภทที่ 1

บุคคลซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหมกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหารและมีลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง   จะให้รับราชการทหารกองประจำการน้อยกว่าสองปีหรือให้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 โดยมิต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการก็ได้ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่จะอ้างสิทธิดังกล่าวได้ต่อเมื่อได้แสดงหลักฐานต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก หรือต่อหน่วยทหารที่ตนร้องขอเข้ารับราชการในวันร้องขอ หรือต่อหน่วยที่ขึ้นทะเบียนกองประจำการ แล้วแต่กรณี ส่วนที่จะให้อยู่ในกองหนุนชั้นใด และเป็นเวลาเท่าใดนั้นให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการปลดทหารกองเกินที่ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการตามวรรคสอง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด   และสัสดีจังหวัด   ออกหนังสือสำคัญให้แก่ทหารที่ถูกปลดเป็นทหารกองหนุนไว้เป็นหลักฐาน   หากหนังสือสำคัญชำรุดหรือสูญหาย ให้ผู้ถือแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่เพื่อขอรับหนังสือสำคัญใหม่โดยเสียค่าธรรมเนียมฉบับละหนึ่งบาท แต่ถ้าการชำรุดหรือสูญหายนั้นเป็นเพราะเหตุสุดวิสัยก็ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

มาตรา 38 การปลดทหารกองประจำการเป็นทหารกองหนุนชั้นที่ 1 นั้น  ถ้ากระทรวงกลาโหมเห็นว่ามีเหตุจำเป็นจะเลื่อนกำหนดเวลาปลดไป ก็ให้สั่งเลื่อนไปได้ตามความจำเป็น

(อธิบาย ม.38 มาตรานี้ให้อำนาจกระทรวงกลาโหมสั่งเลื่อนกำหนดเวลาปลดทหารกองประจำการเป็นทหารกองหนุนชั้นที่ 1 ออกไปได้ตามความจำเป็น ซึ่งปกติทหารกองประจำการต้องรับราชการในกองประจำการมีกำหนด ๒ ปี ตามมาตรา ๙  แต่ถ้ามีความจำเป็นเช่นเกิดเหตุฉุกเฉินหรือเกิดสงครามกระทรวงกลาโหมอาจสั่งเลื่อนกำหนดเวลาปลดออกไปอีกตามความจำเป็นซึ่งอาจจะเลื่อนออกไปอีกเท่าใดก็ได้ข้อสังเกตมาตรานี้ให้อำนาจกระทรวงกลาโหมสั่งเลื่อนกำหนดเวลาปลดออกไปเท่านั้น แต่จะ    สั่งเลื่อนกำหนดเวลาปลดเข้ามาไม่ได้ แต่ก็มีอำนาจสั่งให้ลาพักรอการปลดโดยถือว่าตัวยังคงรับราชการ    อยู่ในกองประจำการได้เพราะยังไม่ได้ปลด)

มาตรา 40 ทหารกองประจำการ ถ้าต้องจำขังหรือจำคุกครั้งเดียว หรือหลายครั้ง เมื่อมีกำหนดวันที่จะต้องทัณฑ์หรือต้องโทษรวมได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก็ดี หรือทหารกองประจำการผู้ใดซึ่งกระทรวงกลาโหมเห็นว่าจะกระทำให้เสื่อมเสียแก่ราชการทหารด้วยประการใด ๆ ก็ดี จะปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 2 ก็ได้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยสัสดีจังหวัดออกใบสำคัญให้แก่ทหารที่ถูกปลดนี้ไว้เป็นหลักฐาน ใบสำคัญนี้  หากชำรุดหรือสูญหาย ให้ผู้ถือแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่เพื่อรับใหม่ โดยเสียค่าธรรมเนียมฉบับละหนึ่งบาท  แต่ถ้าการชำรุดหรือสูญหายนั้นเป็นเพราะเหตุสุดวิสัยก็ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

(อธิบาย ม. 40 มาตรานี้เป็นบทยกเว้นของมาตรา 9 กล่าวคือ ผู้ที่เข้าเป็นทหารกองประจำการเมื่อรับราชการในกองประจำการครบกำหนดปลดแล้วมาตรา 9 ให้ปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 แต่ตามมาตรา 40 เป็นเรื่องปลดทหารกองประจำการออกเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 2 เหตุที่จะทำให้ทหารกองประจำการต้องถูกปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 2 ได้มี 2 ประการคือ

  • ในระหว่างที่เป็นทหารกองประจำการต้องถูกจำขังหรือจำคุกครั้งเดียวหรือหลายครั้ง และมีกำหนดวันที่จะต้องทัณฑ์หรือต้องลงโทษรวมได้ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
  • ในระหว่างที่เป็นทหารกองประจำการกระทรวงกลาโหมเห็นว่าจะกระทำให้เสื่อมเสียแก่ราชการทหาร

เมื่อมีกรณีเข้าตามข้อ 1 หรือข้อ 2 ข้อหนึ่งข้อใดก็อาจปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 2 ได้ และในทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่นั้นจะปลดให้เป็นทหารกองหนุนชั้นที่ 1 ประเภทที่ 2 ก่อน เมื่ออายุครบ 30 ปีบริบูรณ์แล้วจึงถือตามมาตรา 39 ต่อไปการปลดนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยสัสดีจังหวัด จะออกใบสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน ถ้าใบสำคัญชำรุดสูญหายต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับมาตรา 16)

มาตรา 41 ทหารกองประจำการ ทหารกองเกิน หรือทหารกองหนุน ซึ่งยังไม่ครบกำหนดปลด พ้นราชการทหาร  ถ้าพิการทุพพลภาพ    หรือมีโรคซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้    ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงก็ให้ปลดพ้นราชการทหารประเภทที่ 1 หรือที่ 2 แล้วแต่กรณี ถ้าเป็นนายทหารสัญญาบัตรถูกถอดหรือออกจากยศ ก็ให้ปลดเป็นพ้นราชการทหารประเภทที่ 2  ทั้งนี้   ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยสัสดีจังหวัดออกหนังสือสำคัญหรือใบสำคัญ  ให้แก่ทหารตามประเภทที่ถูกปลดไว้เป็นหลักฐาน

‘เกณฑ์ทหาร’ ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ โดยพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 ให้เฉพาะชายซึ่งมีสัญชาติไทยตามกฎหมาย ต้องเข้ารับราชการทหารทุกคน

นักศึกษาวิชาทหาร คือ บุคคลซึ่งกำลังเข้ารับการฝึกวิชาทหาร ตามการปกครองของกระทรวงกลาโหม โดยมีพระราชบัญญัติส่งเสริมฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503 โดยกลุ่มคนเหล่านี้ คือ กำลังพลสำรองแห่งกองทัพไทย ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน

ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 คืออะไร ?

คือ นักศึกษาวิชาทหาร ที่สำเร็จหลักสูตรทั้งปี 3 , ปี 4 , ปี 5 ที่ขึ้นทะเบียนกองประจำการ พร้อมนำปลดกลายมาเป็นทหารกองหนุนประเภท 1 บุคคลกลุ่มนี้ได้รับข้อยกเว้น ไม่ต้องเข้ารับราชการเพื่อเป็นทหารกองประจำการ ตามหลักพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 แต่ก็ถือว่าเป็นกำลังพลสำรองของกองทัพแล้ว เพราะฉะนั้น ทางราชการจึงมีสิทธิ์เรียกพลอยู่เสมอ เพื่อตรวจสอบสภาพ , บัญชีรายชื่อ หรือ เรียกมาฝึกวิชาทหาร ได้ทุกเวลา โดยถ้ามีการเรียกพล ทางอำเภอก็จะส่งหมายไปยังบ้านของบุคคลนั้น เพื่อนัดวัน , เวลา , สถานที่ ให้เกิดความเข้าใจตรงกัน โดยผู้ถูกเรียกพล ก็จะต้องมารายงานตัวตาม วัน , เวลา , สถานที่ ตามกำหนดการณ์  สำหรับกำหนดเรียกพล คือ หลังจากฝึกวิชาทหารไปแล้ว 10 ปี ตามเงื่อนไขของกำลังพลสำรอง โดยการเรียกจะทำจนกระทั่งบุคคลผู้นั้นมีอายุครบ 29 ปีบริบูรณ์ และถ้าหากทหารกองหนุนบุคคลใด ทำการหลีกเลี่ยงการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร มีโทษ ตาม พ.ร.บ. รับราชการทหาร พ.ศ. 2497

  • มาตรา 46 ทหารกองหนุน ท่านใดหลีกเลี่ยงหรือไม่ยอมเข้ารับราชการทหาร ในช่วงเรียกพลเพื่อนำมาฝึกวิชาทหาร , เพื่อทดลองความพร้อม รวมทั้งเพื่อการระดมพลใดๆก็ตาม
  • มาตรา 36 จำเป็นต้องถูกลงโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน – 4ปี
  • มาตรา 47 ทหารกองหนุน ท่านใดหลีกเลี่ยงไม่ยอมเข้ารับราชการทหาร ในช่วงเรียกพลเพื่อนำมาตรวจสอบตามมาตรา 36 ต้องถูกลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน , ปรับไม่เกิน 300 หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับทหารกองหนุนท่านใดที่กำลังเรียน วิชารักษาดินแดน ชั้นปี 4 – ปี 5 สามารถขอผ่อนผันเพื่อฝึกวิชาทหารได้ ด้วยการนำเอกสาร 2 อย่าง ได้แก่ สด.8 หรือ สมุดประจำตัวทหารกองหนุนประเภทที่ 1 รวมทั้งเอกสารขอผ่อนผันมา มาดำเนินเรื่องที่อำเภอให้เรียบร้อยถูกต้อง และถ้าไม่ปฏิบัติตามที่กล่าวมา ทางกระทรวงกลาโหมจะถือว่าบุคคลผู้นั้น พยายามหลีกเลี่ยงการเข้ารับเพื่อฝึกวิชาทหาร และต้องรับโทษแบบเดียวกับผู้สำเร็จนักศึกษาวิชาทหารชั้นปี 3 ซึ่งไม่ได้ผ่อนผันการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร รวมทั้งพยายามหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามเช่นเดียวกัน

ทหารกองหนุนประเภทที่ 3 คืออะไร

- อายุไม่ถึง 30 ปีบริบูรณ์ เป็นทหารกองหนุนชั้นที่ 1. - อายุ 30 ปีบริบูรณ์แต่ไม่ถึง 40 ปีบริบูรณ์ เป็นทหารกองหนุนชั้นที่ 2. - อายุ 40 ปีบริบูรณ์แต่ไม่ถึง 46 ปีบริบูรณ์ เป็นทหารกองหนุนชั้นที่ 3. - บุคคลที่มีอายุมากกว่า 46 ปีบริบูรณ์ให้ปลดพ้นราชการทหารกองหนุนประเภทที่ 1.

ทหารกองหนุนประเภทที่ 1 กี่ปี

๑.๑ กองหนุนชั้นที่ ๑ เจ็ดปี ๑.๒ กองหนุนชั้นที่ ๒ สิบปี กองหนุนชั้นที่ ๓ หกปี ๑.๓

นายทหารกองหนุน มีกี่ประเภท

มาตรา ๔ นายทหารกองหนุน ข้อ ๑. นายทหารกองหนุน คือนายทหารซึ่งไม่มีตำแหน่ง ราชการประจำในกระทรวงกลาโหม และกระทรวงกลาโหมสั่งให้เป็นนายทหาร ประเภทนี้ซึ่งแบ่งเป็น (๑) นายทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัด (๒) นายทหารกองหนุนไม่มีเบี้ยหวัด

ข้อใด หมายถึง ทหารกองหนุน

ทหารกองหนุน ( ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหาร ชั้นปีที่ ๓ ) หรือ ผู้ที่ปลดจากทหารกองประจำการ เมื่อได้รับทราบประกาศ หรือได้รับหมายเรียกพล / คำสั่งเรียกพล ต้องไปรายงานตัวเพื่อเข้ารับราชการทหารเพื่อตรวจสอบ , เพื่อฝึกวิชาทหาร , เพื่อทดลองความพรั่งพร้อม หรือการระดมพล ตามประกาศ หรือคำสั่งเรียกพล จะต้องไปให้ทันตามกำหนดไม่หลีกเลี่ยง