ข้อใดกล่าวถึงประเทศออสเตรเลียได้ ถูก ต้อง

�ѡɳ�������ʵ��ͧ��ջ��������������������

Show

(1) ��Ҵ ����� ����ҳ�ࢵ

�������ջ�������������������� �繷���駢ͧ�������������� ����ȹ�ǫ��Ź��
��ջ������������Ѻ���ҹ����� ��ջ���
��ǹ�������ừԿԡ����繷���駢ͧ�������� � ������ͧ件֧��ջ�͹���졵ԡ ���¡��� �������� ���¶֧ ���������������Ҥ��ҧ����Ҥ��ͧ�����ط�ừԿԡ ���
�������������ù���� ���ҹ���� ��չ���� ��������� ��ǫ��Ź�� ���������������

�� ��ջ����������繷�ջ����բ�Ҵ��硷���ش��š ���վ�鹷�� 7.6 ��ҹ ��.��. �ջ�Ъҡ�
17.5 ��ҹ�� ����駢ͧ��ջ�������������㹫ա�š������� ������еԨٴ��� 10 ͧ�� 41 �Ժ���� ���֧ 43 ͧ�� 39 �Ժ���� ����ͧ�Ԩٴ 113 ͧ�� 9 �Ժ�ҵ��ѹ-
�͡ �֧ 153 ͧ�� 39 �Ժ�ҵ��ѹ�͡

����˹��

�Դ�Ѻ

����������������¹������ط�ừԿԡ�ش�˹���ش�ͧ
��ջ���������������ժ�ͧ᤺������ʡ�鹨ҡ��й�ǡԹ�

��ȵ��ѹ�͡

�Դ�Ѻ

���Ť������з������ѹ������ط�ừԿԡ �ش��ҹ���ѹ�͡�ش������������͹

�����

�Դ�Ѻ

�����ط��Թ��¨ش���ش��������������ѹ�ժ�ͧ᤺�����
��鹨ҡ����������

��ȵ��ѹ��

�Դ�Ѻ

�����ط��Թ��¨ش���ѹ��
�ش����������ʵտ


�����Ҥ��л���ȵ�ҧ�ͧ��ջ���������
1. ��������� ���� ��������� ��ǫ��Ź��
2. �������������ط�ừԿԡ ���� �һ�ǹ�ǡԹ� �����������͹ �Ԩ� �ҹ��ҵ�
���Ժ�� ����ǵ��ѹ�� �ͧ�� ������ ������ ���ù����

(2) �ѡɳ����Ի���Ȣͧ��ջ��������������������

������ࢵ����٧�ҧ��ҹ���ѹ�͡ �ս����ء����ش�ͧ��ջ ����͡���õ���Ǵԧ ����ҧ
��ҹ ���ѹ�͡ ������ѡɳ����ѹ�ѹ��ӷ���觽���赡ŧ����������Ӹ�� ࢵ����Һ��ӵ͹
��ҧ�� ��鹷���Һ���º �����ӹ���������������������dz��� �������ࢵ����Һ�٧�ҧ��ҹ
���ѹ�� ��͹��ҧ�ͧࢵ����繷��ŷ��� ����dz�ҧ�� ��зҧ���ѹ�͡��§�˹��
����ࢵ����ѵ�������л�١

(3) �ѡɳ������ҡ�Ȣͧ��ջ��������������������

������Ѩ����Ӥѭ��������ջ����������������ҡ�ȵ�ҧ� �ѹ ��� �������������⫹��͹��
��� ͺ����� ����������ШӾѴ��ҹ ���ѡɳ����Ի���� ����ա���ʹ�������С����
��������ż�ҹ ����� �����ҡ�� 6 ࢵᵡ��ҧ�ѹ� �����ࢵ��͹ ͺ��� ���ࢵ˹��

(4) ��Ҿ�ҧ�ѧ�� ���ͪҵ� ���ɰ�Ԩ ��ʹ� ����Ѳ�����

��Ъҡ�
� ���ͪҵ���Ҿѹ���ͧ��������� ��Ǿ�����ͧ�������繾ǡ��Ǵ����¡ �к��ԨԹ�� �繾ǡ���;¾�Ҩҡ�������������ط�ừԿԡ ��ǹ�˭�����ҧ�Ҥ�˹������Ҥ
���ѹ���Ѩ�غѹ�ժ�Ǽ�Ǣ�� �����ǹ�˭�繪���ѧ������������ӹǹ�ҡ�Ѱ�����Ѵ
��������ࢵ����������Է���� �Ѱ��չ��Ź�� ����Ѱ��������µ��ѹ�� �ǡ�������ͧ
�繾ǡ���;¾�������ѧʧ�����š���駷�� 2 ���� ��Ǩչ ����� �ǡ��Ǣ����ǹ�˭�
��繾ǡ���;¾�Ҩҡ������ѧ��� �ա�û�Сͺ�Ҫվ�ҧ��ҹ����ɵ� ���ͻ�١
�ת�������§�ѵ�� ��û���� ����ص��ˡ���

� �

��á�Ш�»�Ъҡ�
�Ѱ�������������չ�º��ʧǹ��鹷���������Ѻ��Ǽ�Ǣ�Ǥ�͹�º����������¢��
�մ�ѹ����¨ӡѴ�ӹǹ���ռ�����蹷��������Ǣ�����仵�駶�蹰ҹ���������º���dz
����Ъҡ����������˹��������Ҥ���ѹ�͡��§�� ����dz����ջ�Ъҡ��Һҧ
���� �͹��ҧ�ͧ��ջ �Ҥ�˹�� ����Ҥ���ѹ��

� �

��ʹ�
�����������¹Ѻ�����ʹҤ��ʵ����¹ԡ�� ���� �ͧ��ԡѹ ���ѹ�ҷ��ԡ ����ᵹ�� ���ҷ�����ҡ ��������ѧ���

� �

��û���ͧ
������¡�ҧ������ͧ ������������к���û���ͧẺ�˾ѹ��Ѱ
��Сͺ�����Ѱ��ҧ���� 6 �Ѱ��дԹᴹ����з������鹡Ѻ�Ѱ���ա 2 ��� ���
1. �Ѱ����ҷ���� ���ͧ��ǧ �Դ����
2. �Ѱ�ԡ������ ���ͧ��ǧ �������
3. �Ѱ��չ��Ź�� ���ͧ��ǧ �����ù
4. �Ѱ����������� ���ͧ��ǧ ����Ŵ
5. �Ѱ��������µ��ѹ�� ���ͧ��ǧ ����
6. �Ѱ������� ���ͧ��ǧ �κ���
�Թᴹ����� 2 ����dz ���� - ����������Է��� ���ͧ��ǧ �����Թ
- ��������� ᤻Ե����Է��� ���ͧ��ǧ ᤹������
����������繻�����͡�Ҫ����ͨѡ����ѧ��� �վ�йҧ�����ԫ�ຸ��� 2 ��
����ҪԹ�����繻���آ�ͧ����� �բ����ǧ�˭��繼��������Ҫ���᷹ ���ͧ��

�Ѵ��û���ͧ�кͺ��ЪҸԻ����ٻẺ �˾ѹ��Ѱ
��û���ͧ�ͧ�����������Ẻ�Ѱ������ ��� ���Ѱ��� 2 �дѺ ����
- �Ѱ��š�ҧ
- �Ѱ��Ţͧ�Ѱ

Ref : http://www2.se-ed.net/nfed/geography/geo01_27.html 13/02/2008

ออสเตรเลีย (อังกฤษ: Australia) หรือ เครือรัฐออสเตรเลีย (Commonwealth of Australia) เป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมดโดยประมาณ 7,706,168 ตารางกิโลเมตร  และเป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มีประเทศเพื่อนบ้านประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินี และติมอร์ตะวันออกทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อ “ออสเตรเลีย” มาจากคำในภาษาละติน ว่า “Australis” ซึ่งมีความหมายว่าทางทิศใต้ มีตำนานที่กล่าวถึง “ดินแดนทางทิศใต้ที่ไม่รู้จัก” (ละติน: Terra Australis Incognita)  ชาวยุโรปเริ่มสำรวจค้นพบออสเตรเลียในพุทธศตวรรษที่ 22 และต่อมาจึงกลายเป็นดินแดนอาณานิคมของบริเตน โดยเริ่มต้นเป็นอาณานิคมนักโทษในนิวเซาท์เวลส์ และจึงมีการตั้งอาณนิคมขึ้นอีกห้าแห่ง อาณานิคมทั้งหกแห่งได้ถูกรวมตัวเป็นสหพันธรัฐในปี พ.ศ. 2444 และออสเตรเลียมีชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่มานานที่ถูกเรียกกันว่า ชาวอะบอริจิน พื้นที่ของประเทศมีทั้งแห้งแล้งและอุดมสมบูรณ์ ประมาณหนึ่งในสามเป็นทะเลทราย แต่พื้นที่แถบชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐออสเตรเลียตะวันตก และรัฐทัสเมเนียมีความอุดมสมบูรณ์มาก ฝนตกชุก ที่นี่มีสัตว์และพืชรวมทั้งดอกไม้ป่าหลายชนิดที่ไม่สามารถพบเห็นได้ในดินแดนอื่น เช่น จิงโจ้ โคอะล่า วอมแบต ดิงโก้ พอสซั่ม ตุ่นปากเป็ด และตัวกินมด

ในบทความนี้ ศูนย์ฯ เดอะเบสท์ ได้รวบรวม ข้อมูลประเทศออสเตรเลีย ที่จำเป็นต้องรู้ ก่อนวางแผนตัดสินใจเรียนต่อออสเตรเลีย สามารถศึกษาต่อได้เลย

ออสเตรเลีย ตั้งอยู่ที่ไหน? ข้อมูลภูมิศาสตร์ Geography

ออสเตรเลียมีลักษณะภูมิประเทศร้อยละ 65 เป็นที่ราบสูง และตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งและทุรกันดาร และมีขนาดทะเลทรายรวมกันใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากทะเลทรายสะฮารา (Sahara) ในทวีปแอฟริกา ชาวออสเตรเลียเรียกดินแดนที่แห้งแล้งและทุรกันดารนี้ว่า “เอาต์แบ็ก” (Outback) ประชากรออสเตรเลียส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกหลังเทือกเขาเกรตดิไวดิง ซึ่งแบ่งแยกชายฝั่งตะวันออกกับเขตเอาต์แบ็ก มีแม่น้ำสายสำคัญ ๆ อยู่ทางภูมิภาคตะวันออก ได้แก่ แม่น้ำดาร์ลิง แม่น้ำเมอร์เรย์ ส่วนตอนกลางของประเทศที่เรียกว่า “เขตเซนทรัลโลว์แลนด์” เป็นเขตแห้งแล้งที่สุด แม่น้ำลำธารต่าง ๆ อาจแห้งสนิทเป็นเวลาหลายปี เนื่องจากทวีป ออสเตรเลียมีสภาพเป็นเกาะ ทำให้มีสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง เนื่องจากสิ่งมีชีวิตพวกนี้ได มีวิวัฒนาการเป็นอิสระจากสิ่งมีชีวิตบนแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้องอย่าง จิงโจ้

ข้อมูลสภาพภูมิอากาศ ประเทศออสเตรเลีย เป็นอย่างไร?

ประเทศออสเตรเลียแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ สภาพอากาศทั่วไปจะเป็นแบบเขตร้อนจนถึงเขตอบอุ่น อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดที่ทัสมาเนีย ประมาณ 0-12 องศาเซลเซียส และร้อนสุดที่มณฑลตอนเหนือประมาณ 33-34 องศาเซลเซียส

  • ฤดูร้อน : เดือนธันวาคม – เดือนกุมภาพันธ์ (อากาศร้อนและแห้งแล้ง บางแห่งร้อนจัด)
  • ฤดูใบไม้ร่วง : เดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม (อากาศเริ่มเย็นลงตามเมืองชายฝั่งทางตอนใต้และเมืองในเขตป่าฝนจะตกชุก)
  • ฤดูหนาว : เดือนมิถุนายน – เดือนสิงหาคม (อากาศเย็นจัด มีหิมะตกบนเขตภูเขาสูงโดยทั่วไป)
  • ฤดูใบไม้ผลิ : เดือนกันยายน – เดือนพฤศจิกายน (อากาศดี ดอกไม้บานสวยงาม)

Time Zone

ประเทศออสเตรเลียมีการแบ่งเวลาตามเส้นแบ่งของโลกออกเป็น 3 เขตเวลา (Time Zone) คือ

  • เวลาฝั่งตะวันออก (Eastern Standard Time-EST) ใช้ในรัฐนิวเซาท์เวลล์ รัฐวิคตอเรีย รัฐทัสเมเนีย รัฐควีนสแลนด์ และเมืองแคนเบอร์ร่า เวลาจะเร็วกว่าประเทศไทย 3 ชั่วโมง
  • เวลาภาคกลาง (Central Standard Time-CST) ใช้ในรัฐเซาท์ออสเตรเลียและมณฑลตอนเหนือ เวลาจะเร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมงครึ่ง
  • เวลาภาคตะวันตก (Western Standard Time-WST) ใช้ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย เวลาเร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง

การเมืองการปกครอง (Politics and Government)

ออสเตรเลียมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภามีรูปแบบรัฐบาลเป็นสหพันธรัฐ และระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ประมุขแห่งรัฐ ของออสเตรเลียคือ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 พระอิสริยยศในออสเตรเลียคือ Elizabeth the Second, by the Grace of God Queen of Australia and Her other Realms and Territories, Head of the Commonwealth ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นผู้แทนพระองค์ในออสเตรเลียของพระประมุขซึ่งประทับอยู่ในสหราชอาณาจักร รัฐธรรมนูญของออสเตรเลียระบุว่า “อำนาจบริหารเป็นของสมเด็จพระราชินี และทรงใช้อำนาจนั้นผ่านผู้สำเร็จราชการในฐานะผู้แทนพระองค์ของสมเด็จพระราชินี”อำนาจของผู้สำเร็จราชการนั้นรวมถึงการแต่งตั้งรัฐมนตรีและผู้พิพากษา การยุบสภา และการลงนามบังคับใช้กฎหมาย ผู้สำเร็จราชการคนปัจจุบันคือพลตรีไมเคิล เจฟเฟอรี ผู้สำเร็จราชการยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย ในทางธรรมเนียมปฏิบัตินั้น ผู้สำเร็จราชการจะใช้อำนาจตามคำแนะนำของรัฐมนตรี สภาบริหารสหพันธรัฐ (Federal Executive Council) เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ผู้สำเร็จราชการ โดยมีผู้สำเร็จราชการเป็นประธานการประชุม และรัฐมนตรีทุกคนมีสมาชิกภาพตลอดชีพ แต่ในทางปฏิบัติจะเรียกประชุมเฉพาะรัฐมนตรีคณะปัจจุบัน รัฐบาลจะมาจากพรรคที่ได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร

ออสเตรเลียมีรัฐสภาเก้าแห่ง หนึ่งสภาของสหพันธ์ หกสภาของแต่ละรัฐ และสองสภาของแต่ละดินแดน รัฐสภาของสหพันธ์ ใช้ระบบสองสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) และวุฒิสภา (Senate) สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 150 คน มาจากการเลือกตั้ง โดยแบ่งเป็นเขตเลือกตั้ง มีผู้แทนเขตละหนึ่งคน วุฒิสภามีสมาชิก 76 คน มาจากแต่ละรัฐ รัฐละ 12 คน และจากดินแดน (เขตเมืองหลวงและนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี) ละสองคน ทั้งสองสภาจัดการเลือกตั้งทุกสามปี สมาชิกวุฒิสภามีวาระ 6 ปี โดยการเลือกตั้งแต่ละครั้งจะเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด ออสเตรเลียมีพรรคการเมืองหลักสามพรรค ได้แก่พรรคแรงงานออสเตรเลีย พรรคเสรีนิยม และพรรคชาติ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2465 รัฐบาลของสหพันธ์มาจากพรรคแรงงานหรือเป็นรัฐบาลผสมของพรรคเสรีนิยมและพรรคชาติ ปัจจุบันนายกรัฐมนตรีจูเลีย กิลลาร์ด มาจากพรรคแรงงาน พรรคอื่น ๆ ที่มีบทบาทได้แก่ออสเตรเลียนเดโมแครต และออสเตรเลียนกรีนส์ โดยมักได้ที่นั่งในวุฒิสภา

ข้อมูลประเทศออสเตรเลีย รัฐและดินแดน (State and Territory)

ประเทศออสเตรเลียแบ่งออกเป็น 6 รัฐ และเขตปกครองตนเอง 2 มณฑล คือ

New South Wales นิวเซาท์เวลส์ เมืองหลวงชื่อซิดนีย์ (Sydney)

รัฐนี้มีประชากรหนาแน่นมากที่สุด เป็นรัฐที่มีชาวไทยและนักศึกษาไทยมากที่สุดด้วย และเป็นรัฐที่พัฒนาทางอุตสาหกรรมมากที่สุดในออสเตรเลีย ซิดนีย์เป็นเมืองที่คึกคัก มีสีสัน มีชีวิตชีวา สัญลักษณ์ของเมืองคือโอเปร่าเฮาส์ (Opera House) และสะพานข้ามอ่าวซิดนีย์ (Sydney Harbour Bridge)

ทำความรู้จักกับเมืองซิดนีย์เพิ่มเติม คลิก

ข้อใดกล่าวถึงประเทศออสเตรเลียได้ ถูก ต้อง

รัฐควีนส์แลนด์ (Queensland) เมืองหลวงคือ เมืองบริสเบน (Brisbane)

เป็นรัฐใหญ่อันดับสอง มีเมืองหลวงคือบริสเบน ( Brisbane ) รัฐนี้ได้ชื่อว่าเป็นรัฐที่มีแสงแดด ( Sunshine State ) มีแนวปะการังที่ยาวที่สุดในโลก ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลกชื่อ Great Barrier Reefs มีป่าดงดิบและป่าชื้นเขตร้อนที่อุดมสมบูรณ์  ซึ่งรัฐควีนส์แลนด์ เป็นรัฐในประเทศออสเตรเลียที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแผ่นดินทวีปติดกับ นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี (Northern Territory) ทางตะวันตกติดกับ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย (South Australia) ทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ และ รัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) ทางทิศใต้ ส่วนทางตะวันตกของรัฐควีนส์แลนด์ เป็นทะเลปะการังและมหาสมุทรแปซิฟิก รัฐควีนส์แลนด์มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจาก รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia) และเป็นรัฐที่มีประชากรมาที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจาก รัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) และรัฐวิกตอเรีย (Victoria) พื้นที่แต่เดิมมีคนพื้นเมืองออสเตรเลียและชาวเกาะทอร์เรสสเตรท (Torres Strait Islanders) อาศัยอยู่ราว 40,000 ถึง 65,000 ปีก่อน ต่อมาเป็นอาณานิคมของอังกฤษและแยกจากนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1859 ถือว่าเป็นวันเฉลิมฉลองประจำปีของรัฐ เรียกว่า วันควีนส์แลนด์ (Queensland Day)

ทำความรู้จักกับเมืองบริสเบนเพิ่มเติม คลิก

ข้อใดกล่าวถึงประเทศออสเตรเลียได้ ถูก ต้อง

รัฐเซาท์ออสเตรเลีย (South Australia) เมืองหลวงชื่อ อะดิเลด ( Adelaide )

ครั้งหนึ่งเมืองนี้ได้ชื่อว่าเป็น “เมืองแห่งเทศกาล” เนื้อที่ส่วนใหญ่แห้งแล้งมีพื้นที่เกษตรกรรมเพียง 10% ภูมิอากาศไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก แต่เป็นแหล่งผลิตเหล้าไวน์ชั้นเยี่ยม ซึ่งรัฐเซาท์ออสเตรเลีย เป็นรัฐของประเทศออสเตรเลีย ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศครอบคลุมพื้นที่แห้งแล้งโดยส่วนใหญ่ของทวีป มีพื้นที่ 983,482 ตร.กม. (379,725 ตร.ไมล์) ถือว่าเป็นพื้นที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ใน 6 รัฐและ 2 ดินแดนของประเทศ รัฐมีพื้นที่ติดกับ รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia) และนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี (Northern Territory) ส่วนด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับ รัฐควีนส์แลนด์ (Queensland) ด้านตะวันออกติดกับรัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) และรัฐวิกตอเรีย (Victoria) และทางทิศใต้ติดกับอ่าวเกรตออสเตรเลียไบท์ (Great Australian Bight) และมหาสมุทรใต้ (Southern Ocean) มีประชากรราว 6 ล้านคน ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่า 10% ของประชากรในออสเตรเลีย เป็นรัฐหรือดินแดนที่มีประชากรอันดับ 5 ของออสเตรเลีย ประชากรส่วนใหญ่อยู่ที่ เมืองแอดิเลด (Adelaide) เมืองหลวงของรัฐ และยังคงเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ทั้งชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้และแม่น้ำเมอร์เรย์

ทำความรู้จักกับเมืองแอดิเลดเพิ่มเติม คลิก

ข้อใดกล่าวถึงประเทศออสเตรเลียได้ ถูก ต้อง

รัฐแทสมาเนีย(Tasmania) เมืองหลวงคือโฮบาร์ต ( Hobart )

แทสมาเนียเป็นรัฐที่เล็กที่สุด ลักษณะเป็นเกาะ ตั้งอยู่ห่างจากรัฐวิคตอเรียแผ่นดินใหญ่ประมาณ  240 กิโลเมตร มีอากาศหนาวที่สุด สภาพภูมิประเทศเป็นหุบเขาและที่ราบสูง ทิวทัศน์สวยงามยิ่ง จนได้รับการขนานนามว่าเป็นสวิตเซอร์แลนด์ของออสเตรเลีย เป็นเมืองสงบเป็นรัฐหนึ่งของประเทศออสเตรเลีย ตั้งอยู่ห่างออกไปราว 240 กม. (150 ไมล์) ทางตอนใต้ของส่วนตะวันออกของทวีปออสเตรเลีย โดยถูกกั้นด้วยช่องแคบบาสส์ (Bass Strait) และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 26 ของโลกแทสเมเนียมีประชากรราว 456,652 คน (จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2001) และมีพื้นที่ 68,332 กม.(26,383 ตารางไมล์) จากการสำรวจเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2003 พบว่าแทสเมเนียมีประชากรที่อยู่อาศัยจริงราว 476,199 คน ชื่อเล่นของแทสเมเนียคือ เกาะแอปเปิล เนื่องจากมีการปลูกแอปเปิ้ลมากและรูปร่างของเกาะที่เหมือนผลแอปเปิ้ล เมืองหลวงและเมืองขนาดใหญ่ที่สุดของเกาะคือ เมืองโฮบาร์ต (Hobart) ซึ่งรวมถึงชุมชนโฮบาร์ต เกลนอร์ชีและแคลเรนซ์เมืองใหญ่ที่มีประชากรจำนวนมากอีกแห่งได้แก่เมืองลอนเซสตัน (Launceston) ทางตอนเหนือ และเดวอนพอร์ต (Devonport) กับเบอร์นี (Burnie) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ ในส่วนของเกาะแมกควารี (Macquarie Island) ซึ่งเป็นเกาะเล็กของทวีปแอนตาร์กติกา (Antarctica) ก็อยู่ในความปกครองของรัฐแทสเมเนีย และแทสเมเนียยังเป็นที่รู้จักในเรื่องของธรรมชาติที่งดงาม มีสัตว์หายากที่พบได้บนเกาะนี้ที่เดียว ได้แก่ แทสเมเนียนเดวิล (Tasmanian Devil)

ข้อใดกล่าวถึงประเทศออสเตรเลียได้ ถูก ต้อง

รัฐวิกตอเรีย (Victoria) รัฐนี้ได้ชื่อว่า Garden State  เนื่องจากมีสวนสาธารณะมากกว่ารัฐอื่น เมืองหลวงคือเมลเบิร์น (Melbourne)  

เป็นเมืองเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองและ เป็นเมืองที่นักศึกษาไทยไปศึกษามากเป็นอันดับสอง ซึ่งรัฐวิกตอเรีย ตั้งอยู่ทางใต้ของรัฐนิวเซาธ์เวลส์ (New South Wales) เป็นรัฐที่เล็กที่สุดเป็นอันดับสองของออสเตรเลีย ขนาด 227,600 ตารางกิโลเมตร แต่มีประชากรหนาแน่นที่สุด มีประชากรอาศัยอยู่ในรัฐนี้คิดเป็นร้อยละ 26 ของชาวออสเตรเลียทั้งหมด นครหลวงเมลเบิร์น (Melbourne) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐวิกตอเรีย และมีประชากรขอรัฐอาศัยอยู่มากที่สุดถึง 70% เป็นศูนย์กลางที่มีชื่อเสียงทางด้านศิลปวัฒนธรรม การเงิน และการคมนาคมเนื่องจากมีท่าอากาศยานนานาชาติ ท่าเรือโดยสารและขนส่ง และทางรถไฟเชื่อมระหว่างรัฐใกล้เคียง

ทำความรู้จักกับเมืองเมลเบิร์นเพิ่มเติม คลิก

ข้อใดกล่าวถึงประเทศออสเตรเลียได้ ถูก ต้อง

รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia) เมืองหลวงคือเพิร์ธ ( Perth )

เป็นรัฐที่มีพื้นที่มากที่สุด อุดมสมบูรณ์ด้วยเหมืองแร่ และแร่ทองคำ มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 12,500 กิโลเมตร อาชีพสำคัญของประชากรในเมืองนี้คือ การทำประมงและทำเหมืองแร่ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งผลิตเพชรได้มากเป็นอันดับสามของโลก ซึ่งเมืองเพิร์ธเป็นเมืองที่สะอาด สวยงามและอยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด ใช้เวลาเดินทางแค่ 6 ชั่วโมงครึ่ง มีเวลาต่างกับประเทศไทยเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งรัฐออสเตรเลียตะวันตกเป็นรัฐในประเทศออสเตรเลียถือเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลียและเป็นเขตกาปกครองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากรัฐอะแลสกา (Alaska) มีประชากร 1 ล้านคน (10% ของประเทศ) มี 85% ของคนที่อาศัยทางมุมใต้-ตะวันตกของรัฐ

ทำความรู้จักกับเมืองเพิร์ทเพิ่มเติม คลิก

ข้อใดกล่าวถึงประเทศออสเตรเลียได้ ถูก ต้อง

นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี (Northern Territory) มณฑลตอนเหนือ มีเมืองดาร์วิน ( Darwin )

เป็นเมืองหลวง เนื้อที่ส่วนใหญ่จะแห้งแล้ง มีพื้นที่เกษตรกรรมเพียง 10% ภูมิอากาศไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก แต่เป็นแหล่งผลิตเหล้าไวน์ชั้นเยี่ยม ซึ่งเป็นดินแดนหนึ่งของประเทศออสเตรเลีย มณฑลแถบนี้เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิมของชาวเผ่าพื้นเมืองอะบอริจิน ตัวเมืองสมัยใหม่และสามารถอำนวยความสะดวกสบายได้เท่าเทียมกับเมืองอื่น ๆ แต่ยังจรรโลงวัฒนธรรมดั้งเดิมแบบอะบอริจินไว้ มีอุทยานแห่งชาติที่สวยงาม กินเนื้อที่ทางตอนเหนือและตอนกลางของทวีป

ทำความรู้จักกับเมืองดาร์วินเพิ่มเติม คลิก

ข้อใดกล่าวถึงประเทศออสเตรเลียได้ ถูก ต้อง

Australian Capital Territory มณฑลนครหลวงของออสเตรเลีย

แคนเบอร์ร่า (Canberra) คือเมืองหลวงของประเทศ เป็นศูนย์กลางการปกครอง ลักษณะตัวเมืองทันสมัย เพราะมีการวางผังเมืองอย่างดีเยี่ยม เป็นที่ตั้งขององค์กรระดับชาติ และหน่วยงานสถานทูตของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งสถานทูตไทย

ข้อใดกล่าวถึงประเทศออสเตรเลียได้ ถูก ต้อง

 สอบถามข้อมูลการบริการเพิ่มเติมติดต่อ
โทร : 090-327 3558, 088-269 5099
Email :[email protected]
Line : @thebestedu หรือคลิกเพิ่มเพื่อนด้านล่างได้เลยค่ะ

ข้อใดกล่าวถึงประเทศออสเตรเลียได้ ถูก ต้อง


ข้อมูลโครงสร้างทางเศรษฐกิจ (Economic Structure) ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลียมีเศรษฐกิจเติบโตอย่างสม่ำเสมอ และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 13 ของโลกถือเป็นประเทศพัฒนาประเทศแรกๆ ที่สามารถฟื้นตัวจากวิกฤตการเงินของสหรัฐและของโลกเมื่อปี 2008 และจากการฟื้นตัวจากอุทกภัยเมื่อปลายปี 2010 และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนในธุรกิจเหมืองแร่และการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ ได้แก่ เหล็ก และเหมืองแร่ ซึ่งส่งเสริมให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศออสเตรเลียขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าการบริการการค้าปลีก (Retail services) อุตสาหกรรมการผลิตและการท่องเที่ยวยังคงกำลังฟื้นตัว

โดยรัฐบาลออสเตรเลียให้ความสนับสนุนในการเจรจาเรื่องความตกลงการค้าเสรี ซึ่งมีความสอดคล้องกับกฎระเบียบของ WTO และส่งเสริมให้เกิดระบบการค้าหลายทางความตกลงการค้าเสรีจะช่วยส่งเสริมให้การค้าระหว่างประเทศมีความแข็งแกร่งมากขึ้น เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกและนักลงทุนขยายกิจการเข้าสู่ตลาดในหลายประเทศได้ ซึ่งทำให้ได้รับผลประโยชน์รวดเร็วกว่าผ่านการค้าแบบภูมิภาค

อาชีพหลัก คือ อาชีพการเกษตร ซึ่งเป็นการเกษตรแบบเทคโนโลยีก้าวหน้ามากที่สุดในโลก ซึ่งการเพาะปลูกจะใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่เพื่อการค้าและที่ราบลุ่มแม่น้ำเมอเรย์-ดาร์ลิง (The Murray and Darling Basin) นั้น จะเป็นการปลูกข้าวสาลีซึ่งเป็นสินค้าส่งออกเป็นจำนวนมากติดอันดับหนึ่ง ส่วนการประมงจะมีคนทำอาชีพนี้น้อยเพราะนอกจากประชากรที่มีน้อยอยู่แล้วและมีค่าแรงสูงมากด้วย

สกุลเงิน

ดอลลาร์ออสเตรเลีย  Australian Dollars (AUD)

เชื้อชาติ (Ancestry and Immigration)

ประเทศออสเตรเลียมีประชากรประมาณ​ 21​ ล้านคน ​ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวยุโรปที่มาตั้งรกรากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปี​พ.ศ. 2543 มีผู้อพยพใหม่เข้ามาถึง 5.9​ ล้านคน​ทำให้ประชากรเกือบสองในเจ็ดของออสเตรเลียเกิดในต่างประเทศ ​หลังจากการเลิกนโยบายออสเตรเลียขาวในปี​ พ.ศ. 2516 รัฐบาลออสเตรเลียได้พยายามส่งเสริมความสามัคคีระหว่างเชื้อสายต่าง ๆ ​บนพื้นฐานของพหุวัฒนธรรมนิยม ในช่วงปี​ พ.ศ. 2548 ถึง 2549 มีผู้อพยพเข้ามากกว่า 131,000 คน ส่วนใหญ่มาจากทวีปเอเชียและโอเชียเนีย ประชากรพื้นเมืองของออสเตรเลียคือ ​ชาวอะบอริจิน (Aboriginal) บนแผ่นดินหลักและ ชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส (Torres Strait Islander) ​ซึ่งมีทั้งหมด 410,003 คนในปีพ.ศ. 2544 (ร้อยละ ​2.2 ​ของประชากร)

ศาสนา (Religion)

ออสเตรเลียไม่มีศาสนาประจำชาติ จากการสำรวจสำมะโนครัวในปี พ.ศ. 2549 ประชากรประมาณ 12.6 ล้านคน (64%) ประกาศตัวเป็นคริสเตียน (Protestant) ในจำนวนนี้ 5.1 ล้านคน (26%) เป็นคาทอลิก (Catholic) และ 3.7 ล้านคน (19%) เป็นแองกลิกัน (Anglican Communion) ประชากร 3.7 ล้านคนถูกจัดอยู่ในกลุ่มไม่นับถือศาสนา (Irreligious) ซึ่งรวมถึงแนวความเชื่อแบบมนุษยนิยม (Humanism) อเทวนิยม (Atheism) อไญยนิยม (Agnosticism) และ เหตุผลนิยม (Rationalism) ประชากรเกือบหนึ่งล้านคน (5%) นับถือศาสนาอื่น ๆ ซึ่งรวมศาสนาพุทธ (Buddhism) ศาสนาอิสลาม (Islam) ศาสนาฮินดู (Hinduism) และศาสนาเชน (Jainism) อย่างไรก็ตามมีประชากรเพียง 1.5 ล้านคน (7.5%) ที่เข้าโบสถ์เป็นประจำทุกสัปดาห์

วัฒนธรรม (Culture)

วัฒนธรรมของชาวพื้นเมืองออสเตรเลีย เป็นวัฒนธรรมต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ประชากรชาวพื้นเมืองของออสเตรเลียได้อาศัยอยู่ที่นี่มาแล้วประมาณ 40,000 ถึง 60,000 ปี วัฒนธรรมของชาวอะบอริจินและชาวเกาะแห่งช่องแคบทอร์เรสนั้นแตกต่างกัน พวกเขาต่างมีภาษา และประเพณีของตัวเอง ตามประวัติศาสตร์แล้ว ชาวอะบอริจินมาจากแผ่นดินใหญ่ในออสเตรเลียและแทสมาเนีย ชาวเกาะช่องแคบทอร์เรสมาจากหมู่เกาะที่อยู่ระหว่างส่วนปลายของรัฐควีนส์แลนด์ กับปาปัวนิวกินี ชาวเกาะช่องแคบทอร์เรสมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของชาวปาปัวนิวกินี และหมู่เกาะแปซิฟิกอื่น ๆ

การคมนาคม

  • เครื่องบิน มีสายการบินระดับชาติ และสายการบินในระดับภูมิภาค ที่เชื่อมต่อเมืองต่าง ๆ  รวมไปถึงเกาะท่องเที่ยวชื่อดัง
  • รถไฟ เป็นการเดินทางที่สะดวกที่สุด มีสถานีครอบคลุมทั่วทุกเมือง ราคาตั๋วแตกต่างกันตามโซนที่ต้องการไป สามารถซื้อได้ที่เคาน์เตอร์ หรือเครื่องหยอดเหรียญ ให้บริการตั้งแต่ราวตี 5 จนถึงเที่ยงคืน
  • รถบัส รสบัสก็เป็นอีกทางเลือกสำหรับการเดินทางข้ามเมือง เครือข่ายรถประจำทางจะครอบคลุมถึงย่านชานเมืองเกือบทุกแห่ง โดยมีต้นสายหลักอยู่ในเมือง ตั๋วโดยสารมีหลากหลายราคาตามระยะทาง ซื้อได้ที่ร้านสะดวกซื้อ หรือจ่ายกับคนขับรถโดยตรง หากสายนั้นเป็น “Prepaid Only”
  • เรือเฟอร์รี่ หรือ เรือข้ามฟากเฟอร์รี่ สำหรับเดินทางไปยังเมืองท่องเที่ยวริมทะเลและเกาะต่าง ๆ ท่าเรือใหญ่ที่สุดของซิดนีย์คือ “เซอร์คูลาร์คีย์” สามารถซื้อตั๋วได้ที่ท่าเรือหรือเครื่องหยอดเหรียญออกตั๋วอัตโนมัติ
  • รถไฟฟ้ารางเบา MLR ให้บริการภายในตัวเมืองซิดนีย์ตลอด 24 ชั่วโมงวิ่งจากสถานี Central ไปสุดสายที่สถานี Dulwich Hill สามารถใช้เดินทางไปยังย่านสำคัญๆ เช่น ย่านไชน่าทาวน์ และย่านดาริ่งฮาเบอร์
  • รถไฟข้ามรัฐ สาย Country link เชื่อมต่อจุดหมายปลายทางหลายแห่งของรัฐนิวเซาท์เวลส์ และยังวิ่งไปตามชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียจนถึงเมลเบิร์น บริสเบน และแคนเบอร์ราสาย V Line จะเชื่อมต่อเมลเบิร์นเข้ากับศูนย์กลางของภูมิภาคในรัฐวิกตอเรียสาย Travel train ครอบคลุมพื้นที่ของรัฐควีนส์แลนด์และสาย Trans WA วิ่งผ่านรัฐเวสเทิร์น
    ออสเตรเลีย
  • รถไฟวิ่งข้ามทวีป สาย Indian-Pacific เชื่อมต่อระหว่างซิดนีย์และเพิร์ท ส่วนสาย Ghan จะเดินทางระหว่างแอดิเลดกับดาร์วิน ผ่าน Red Centre ของประเทศออสเตรเลียและ Top End ซึ่งตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น

ข้อมูลเกี่ยวกับสนามบินสำคัญของประเทศออสเตรเลีย

  1. สนามบินซิดนีย์ หรือ สนามบินคิงส์ฟอร์ดสมิธ (ตัวย่อ IATA: SYD) สนามบินปลายทางสำหรับผู้ที่วางแผนท่องเที่ยวในซิดนีย์ การเดินทางที่สะดวกรวดเร็วที่สุด คือ รถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ ส่วนรถโดยสารสาธารณะอื่นๆ ก็สะดวกเช่นกัน เพราะใช้เวลาเดินทางสู่ตัวเมืองซิดนีย์ประมาณ 30 นาที เท่านั้น
  2. สนามบินเมลเบิร์น หรือ สนามบินทัลลามารีน (ตัวย่อ IATA: MEL) ตั้งอยู่ที่เมืองทัลลามารีน ในรัฐวิกตอเรีย เป็นสนามบินหลักอันดับสองของออสเตรเลีย หากคุณมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่เมลเบิร์นสามารถเลือกลงที่สนามบินนี้ โดยเดินทางจากสนามบินเข้าเมืองด้วยสกายบัสที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ในเพียง 20 นาที
  3. สนามบินเพิร์ท (ตัวย่อ IATA: PER) สนามบินภายในและระหว่างประเทศของเมืองเพิร์ท อีกหนึ่งเมืองท่องเที่ยวหลักของออสเตรเลีย การเดินทางเข้าเมืองที่สะดวกที่สุดคือ รถชัตเตอร์บัสโดยใช้เวลาประมาณ 20 นาที
  4. สนามบินแอดิเลด (ตัวย่อ IATA: ADL) ห่างจากใจกลางเมืองแอดิเลดประมาณ 6 กิโลเมตร มีรถมินิบัส “แอดิเลดแอร์พอร์ตฟลายเออร์” และรถบัส “ซิตี้ลูป” รับส่งทั้งในและนอก อีกทั้งยังมีรถบัสที่ใช้พลังงานโซลาร์ “ทินโด” ให้บริการฟรีระหว่างในเมืองและนอร์ทแอดิเลด อีกด้วย
  5. สนามบินเมืองท่องเที่ยวอื่น ๆ ได้แก่ สนามบินแคร์นส์ (CNS), สนามบินโกลด์โคสต์ (OOL), สนามบินแคนเบอร์รา (CBR), สนามบินดาร์วิน (DRW), สนามบินโฮบาร์ต (HBA)และสนามบินนิวคาสเซิล (NCL)

ระบบน้ำประปา

น้ำประปาของประเทศ ออสเตรเลียมีความสะอาดมาก คุณภาพพอ ๆ กับน้ำดื่มบรรจุขวดที่ขายกันทั่วไปเลยทีเดียว มั่นใจได้เลยว่าสะอาดแน่นอนสามารถดื่มได้ทันที หากต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายควรพกขวดน้ำเปล่าไปด้วย เพื่อกรอกน้ำไว้ดื่มก่อนออกเดินทาง

ระบบไฟฟ้า

ประเทศออสเตรเลียใช้ไฟฟ้าแบบเดียวกับเมืองไทย คือ ไฟฟ้ากระแสสลับ AC 240 – 250 V (50Hz) ดั้งนั้นอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดจากเมืองไทยจึงสามารถนำไปใช้ได้  แต่จะต้องเตรียม Adaptor ไปด้วย เพราะปลั๊กไฟในออสเตรเลียไม่เหมือนกับของบ้านเรา เนื่องจากที่ออสเตรเลียปลั๊กไฟจะมีลักษณะเป็นปลั๊ก 3 ตาแบบแบน หากมีอุปกรณ์ไฟฟ้าจากประเทศไทย จะไปใช้ที่นั่น ควรเตรียม Universal Adapter (หัวแปลงปลั๊กไฟ) ไปด้วย

ข้อใดกล่าวถึงประเทศออสเตรเลียได้ ถูก ต้อง

ภาพจาก : MTHAI

ระบบโทรศัพท์

รหัสทางไกลระหว่างประเทศของออสเตรเลียคือ (+61)

หมายเลยโทรศัพท์ที่สำคัญภายในประเทศออสเตรเลีย

  • เบอร์โทร 000 เป็นหมายเลขสำหรับเรีบก ตำรวจ, ความช่วยเหลือทางแพทย์, และ รถดับเพลิง
  • เบอร์โทร *112 หรือ 000 เป็นหมายเลขที่ใช้โทรจากโทรศัพท์มือถือ ใช้ได้ทั้งสองหมายเลข
  • เบอร์โทร 131 444 ใช้โทรเรียกตำรวจสำหรับเหตุที่ไม่ร้ายแรง
  • เบอร์โทร 1800 333 000 ศูนย์หยุดยั้งอาชญากรรม
  • เบอร์โทร 1800 123 400 ศูนย์ควบคุมและดูแลความมั่นคงของประเทศ

ข้อมูลประเทศออสเตรเลีย การเสียภาษีในประเทศออสเตรเลีย

ประเทศออสเตรเลียนั้นมีหลากหลายช่องทางในการจัดเก็บภาษีอากรที่ถือว่าเป็นรายได้หลักของประเทศ ซึ่งภาษีรายได้เป็นรูปแบบที่สำคัญที่สุดของการจัดเก็บภาษีของประเทศออสเตรเลีย ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บภาษีจากตัวบุคคลและการจัดเก็บภาษีจากบริษัทหรือธุรกิจที่อยู่ในประเทศออสเตรเลียก็ตาม ทั้งหมดนี้ล้วนแต่ต้องเสียภาษีหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมให้แก่รัฐบาลท้องถิ่น และรัฐบาลกลาง เพื่อนำภาษีที่เก็บรวบรวมนั้นไปทำกิจกรรมต่อไปเพื่อเป็นการแจกจ่ายสำหรับการบริการสาธารณประโยชน์แก่ประชาชนในประเทศของตนในเรื่องของสวัสดิการ การให้บริการด้านสุขภาพ การป้องกันประเทศ และโครงสร้างทั่วไป เช่น การคมนาคม เป็นต้น และมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีของประเทศโดยแบ่งหน่วยงานในการจัดเก็บภาษีเป็น 2 หน่วยงาน คือ

  1. หน่วยงาน Common Wealth Government Tax Revenue มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีร้อยละ 70 ของรายได้จากการจัดเก็บภาษี โดยมีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคล ภาษีทางอ้อม และจัดเก็บภาษีอื่น
  2. หน่วยงาน State and local government tax revenue มีรายได้จากการจัดเก็บภาษียานพาหนะขนส่ง ภาษีดอกเบี้ยธนาคาร ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน ภาษีสินค้าและบริการ (Goods and Services หรือ GST)

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บในประเทศออสเตรเลียเป็นภาษีในรูปแบบของภาษีก้าวหน้า เกณฑ์การเสียภาษีในปัจจุบันคือ 18,200$ พลเมืองของประเทศออสเตรเลียทุกคนต้องเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดาเมื่อมีรายได้เกินจำนวนที่กำหนดในแต่ละปีภาษี ซึ่งคิดคำนวณรายได้จากเงินเดือน รายได้จากธุรกิจ และดอกเบี้ยที่ได้รับเงินฝากธนาคารหรือจากการลงทุนอื่น ๆ

ภาษีนิติบุคคล

ธุรกิจและบริษัทต้องจ่ายเงินภาษีให้แก่รัฐบาลโดยเสียภาษีในรูปแบบของการเสียภาษีนิติบุคคลที่ธุรกิจหรือบริษัทได้รับรายได้ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการ ซึ่งแตกต่างจากชนิดของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เก็บภาษีแบบก้าวหน้า เพราะรูปแบบการเก็บภาษีนิติบุคคลนั้น รัฐบาลได้จัดเก็บภาษีในรูปแบบคงที่ ในอัตราร้อยละ30 ของรายได้ที่ได้รับ

ภาษีทางอ้อม

ยกตัวอย่าง เช่น 1.ภาษีสรรพสามิต ซึ่งเป็นภาษีที่เรียกเก็บในสินค้าบางประเภทที่ผลิตในประเทศออสเตรเลีย คือ สินค้าจำพวกผลิตภัณฑ์ยาสูบ น้ำมันปิโตรเลียม เชื้อเพลิงทางเลือก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมไปถึงภาษีที่เรียกเก็บจากการเดินทางของผู้ที่ใช้บริการในการโดยสารด้วยสายการบินและรวมไปถึงการขนส่งทางทะเล 2.ภาษีศุลกากรซึ่งภาษีศุลกากรนี้จะถูกกำหนดไว้ในสินค้านำเข้าจำนวนมาก เช่นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ น้ำหอมและสินค้ารายการอื่น ๆ เป็นต้น

ภาษียานพาหนะขนส่ง

เป็นภาษีที่ผู้โดยสารเที่ยวบินระหว่างประเทศหรือการเดินทางทางทะเลต้องจ่ายให้รัฐบาลออสเตรเลียเพื่อเป็นค่าชดเชยที่รัฐบาลอำนวยความสะดวกให้

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

ออสเตรเลียมีการเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นภาษีประจำปี เก็บจากผู้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ โดยคิดจากมูลค่าที่ดินจากการประเมินของสภาท้องถิ่น

ภาษีสินค้าและบริการ

รัฐบาลเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสินค้าและบริการในอัตรา 10 % ในการซื้อสินค้าและบริการในแต่ละครั้ง โดยภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นจะถูกรวบไปกับสินค้าหรือบริการที่ผู้ซื้อได้ซื้อไปแล้วโดยอัตโนมัติ แต่ยังมีสินค้าและบริการบางอย่างที่รัฐบาลของประเทศออสเตรเลียไม่ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในการซื้อสินค้าและใช้บริการ คือ 1.อาหาร 2.บริการทางการแพทย์ 3.การศึกษา และ4.ค่าใช้จ่ายของรัฐบาลอยู่นอกเหนือภาษีมูลค่าเพิ่ม