ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับละครใน

ละครนอก มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นละครที่แสดงกันนอกราชธานี แต่เดิมคงมาจากการละเล่นพื้นเมือง และร้องแก้กัน แล้วต่อมาภายหลังจับเป็นเรื่องเป็นตอนขึ้น เป็นละครที่ดัดแปลงวิวัฒนาการมาจากละคร "โนห์รา" หรือ "ชาตรี" โดยปรับปรุงวิธีแสดงต่างๆ ตลอดจนเพลงร้อง และดนตรีประกอบให้แปลกออกไป

ผู้แสดง
     ในสมัยโบราณจะใช้ผู้ชายแสดงล้วน ผู้แสดงจะต้องมีความคล่องแคล่วในการรำ และร้อง มีความสามารถที่จะหาคำพูดมาใช้ในการแสดงได้อย่างทันท่วงทีกับเหตุการณ์ เพราะขณะแสดงต้องเจรจาเอง

การแต่งกาย
     ในขั้นแรกตัวละครแต่งตัวอย่างคนธรรมดาสามัญ เป็นเพียงแต่งให้รัดกุมเพื่อแสดงบทบาทได้สะดวก ตัวแสดงบทเป็นตัวนางก็นำเอาผ้าขาวม้ามาห่มสไบเฉียง ให้ผู้ชมละครทราบว่าผู้แสดงคนนั้นกำลังแสดงเป็นตัวนาง ถ้าแสดงบทเป็นตัวยักษ์ก็เขียนหน้าหรือใส่หน้ากาก ต่อมามีการแต่งกายให้ดูงดงามมากขึ้น วิจิตรพิสดารขึ้น เพราะเลียนแบบมาจากละครใน บางครั้งเรียกการแต่งกายลักษณะนี้ว่า "ยืนเครื่อง"

เรื่องที่แสดง
     แสดงได้ทุกเรื่องยกเว้น ๓ เรื่อง คือ อิเหนา อุณรุฑ และรามเกียรติ์ บทละครที่แสดงมีดังนี้ คือ สมัยโบราณ มีบทละครนอกอยู่มากมาย แต่ที่มีหลักฐานปรากฏมีเพียง ๑๔ เรื่อง คือ การะเกด คาวี ไชยทัต พิกุลทอง พิมพ์สวรรค์ พิณสุริยวงศ์ มโนห์รา โม่งป่า มณีพิชัย สังข์ทอง สังข์ศิลป์ชัย สุวรรณศิลป์ สุวรรณหงส์ และโสวัต
สมัยรัตนโกสินทร์ มีบทพระราชนิพนธ์ละครนอกในรัชกาลที่ ๒ อีก ๖ เรื่อง คือ สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ ไกรทอง มณีพิชัย คาวี และสังข์ศิลป์ชัย (สังข์ศิลป์ชัย เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ โดยรัชกาลที่ ๒ ทรงแก้ไข)

การแสดง
     มีความมุ่งหมายในการแสดงเรื่องมากกว่าความประณีตในการร่ายรำ ฉะนั้นในการดำเนินเรื่องจะรวดเร็ว ตลกขบขัน ไม่พิถีพิถันในเรื่องของขนบธรรมเนียมประเพณี การใช้ถ้อยคำของผู้แสดง มักใช้ถ้อยคำ "ตลาด" เป็นละครที่ชาวบ้านเรียกกันเป็นภาษาธรรมดาว่า "ละครตลาด" ทั้งนี้เพื่อให้ทันอกทันใจผู้ชมละคร

ดนตรี
     มักนิยมใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า ก่อนการแสดงละครนอก ปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงโหมโรงเย็น เป็นการเรียกคนดู เพลงโหมโรงเย็นประกอบด้วย เพลงสาธุการ ตระ รัวสามลา เข้าม่าน ปฐม และเพลงลา

เพลงร้อง
     มักเป็นเพลงชั้นเดียว หรือเพลง ๒ ชั้น ที่มีจังหวะรวดเร็ว มักจะมีคำว่า "นอก" ติดกับชื่อเพลง เช่น เพลงช้าปี่นอก โอ้โลมนอก ปีนตลิ่งนอก ขึ้นพลับพลานอก เป็นต้น มีต้นเสียง และลูกคู่ บางทีตัวละครจะร้องเอง โดยมีลูกคู่รับทวน มีคนบอกบทอีก ๑ คน

สถานที่แสดง
     โรงละครเป็นรูปสี่เหลี่ยมดูได้ ๓ ด้าน (เดิม) กั้นฉากผืนเดียวโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามท้องเรื่อง มีประตูเข้าออก ๒ ทาง หน้าฉากตรงกลางตั้งเตียงสำหรับตัวละครนั่ง ด้านหลังฉากเป็นส่วนสำหรับตัวละครพักหรือแต่งตัว

ละครใน ละครในมีหลายชื่อ เช่น ละครใน ละครข้างใน ละครนางใน และละครในพระราชฐาน เป็นต้น สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และรุ่งเรืองมากที่สุดในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ละครในแสดงมาจนถึงสมัยธนบุรี และรัตนโกสินทร์ หลังสมัยรัชกาลที่ ๖ มิได้มีละครในในเมืองหลวงอีก เนื่องจากระยะหลังมีละครสมัยใหม่เข้ามามาก จนต่อมามีผู้คิดฟื้นฟูละครในขึ้นอีก เพื่อแสดงบ้างในบางโอกาส แต่แบบแผน และลักษณะการแสดงเปลี่ยนไปมาก

ผู้แสดง
     เป็นหญิงฝ่ายใน เดิมห้ามบุคคลภายนอกหัดละครใน จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงเลิกข้อห้ามนั้น ต่อมาภายหลังอนุญาตให้ผู้ชายแสดงได้ด้วย ผู้แสดงละครในต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตีบทให้แตก และมีลักษณะทีท้าวทีพญา

การแต่งกาย
     พิถีพิถันตามแบบแผนกษัตริย์จริงๆ เรียกว่า "ยืนเครื่อง" ทั้งตัวพระ และตัวนาง

เรื่องที่แสดง
     มักนิยมแสดงเพียง ๓ เรื่อง คือ อุณรุฑ อิเหนา และรามเกียรติ์

การแสดง
     ละครในมีความมุ่งหมายอยู่ที่ศิลปะของการร่ายรำ ต้องให้แช่มช้อยมีลีลารักษาแบบแผน และจารีตประเพณี

ดนตรี
     ใช้วงปี่พาทย์เหมือนละครนอก แต่เทียบเสียงไม่เหมือนกัน จะต้องบรรเลงให้เหมาะสมกับเสียงของผู้หญิงที่เรียกว่า "ทางใน"

เพลงร้อง
     ปรับปรุงให้มีทำนอง และจังหวะนิ่มนวล สละสลวย ตัวละครไม่ร้องเอง มีต้นเสียง และลูกคู่ มักมีคำว่า "ใน" อยู่ท้ายเพลง เช่น ช้าปี่ใน โอ้โลมใน

สถานที่แสดง
     แต่เดิมแสดงในพระราชฐานเท่านั้น ต่อมาไม่จำกัดสถานที่


1. การแสดงประเภทใดจัดเป็นแนวละครสมจริง ?

ก.โขน
ข.ละครรำ
ค.ละครร้อง
ง.ละครเรื่องคุณหญิงอมราภา 

2. ละครเรื่องมโนห์รา เป็นการแสดงที่ปรากฏครั้งแรกในสมัยใด ?
ก.สมัยก่อนสุโขทัย
ข.สมัยอยุธยา
ค.สมัยกรุงธนบุรี
ง.สมัยรัตนโกสินทร์

3. สมัยอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา มีละครรำประเภทใดเกิดขึ้น ?
ก.มโนห์รา
ข.ละครใน
ค.ละครนอก
ง.ละครชาตรี 

4. ศิลปะโขน ละคร ฟ้อนรำ เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในสมัยรัชกาลใด ?
ก.รัชกาลที่ ๑
ข.รัชกาลที่ ๒
ค.รัชกาลที่ ๓
ง.รัชกาลที่ ๔ 

5. ชาติใดที่มีการแสดงละครที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ?
ก.อิตาลี
ข.อียิปต์
ค.ฝรั่งเศส
ง.กรีก-โรมัน

6. รูปแบบของละครไทยแบ่งออกเป็นกี่ประเภท ?
ก.๒ ประเภท
ข.๓ ประเภท
ค.๔ ประเภท
ง.๕ ประเภท

7. การแสดงประเภทใดที่เป็นต้นแบบของศิลปะการร่ายรำของไทย ?
ก.ละครใน
ข.ละครนอก
ค.ละครชาตรี
ง.ละครร้อง

8. ละครนอกนิยมแสดงเรื่องใด ?
ก.อุณรุท
ข.อิเหนา
ค.รามเกียรติ์
ง.สังข์ศิลป์ไชย

9. ละครที่ปรับปรุงใหม่ประเภทใดได้รับแบบอย่างมาจากละครชาวตะวันตก ?
ก.ละครรำ
ข.ละครเสภา
ค.ละครพันทาง
ง.ละครดึกดำบรรพ์

10. การแสดงละครใดที่แต่งกายตามลักษณะเชื้อชาติ ?
ก.ละครเสภา
ข.ละครพันทาง
ค.ละครดึกดำบรรพ์
ง.ละครหลวงวิจิตรวาทการ

11. ละครปรีดาลัย เป็นชื่อของละครร้องประเภทใด ?
ก.ละครเสภา
ข.ละครร้องล้วนๆ
ค.ละครร้องสลับพูด
ง.ละครพูดสลับลำ

12. ข้อใดไม่ใช่พระนามแฝงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ?
ก.เขียวหวาน
ข.อัศวพาหุ
ค.ศรีอยุธยา
ง.รามราฆพ

13. ละครวิทยุ เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศใด ?
ก.ไทย
ข.อังกฤษ
ค.อิตาลี
ง.สหรัฐอเมริกา

14. ข้อใดจัดเป็นละครพื้นบ้านทุกเรื่อง ?
ก.แก้วหน้าม้า - ปลาบู่ทอง
ข.พิกุลทอง - รามเกียรติ์
ค.อุณรุท - โสนน้อยเรือนงาม
ง.อิเหนา - พระอภัยมณี

15. ตำนานดอกกุหลาบ จัดเป็นละครประเภทใด ?
ก.ละครร้อง
ข.ละครวิทยุ
ค.ละครพูดคำฉันท์
ง.ละครโทรทัศน์

16. การชิมรส เป็นการฝึกใช้ประสาทสัมผัสด้านใด ?
ก.ตา
ข.หู
ค.จมูก
ง.ลิ้น

17. ผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมผู้แสดงให้แสดงตามบทบาทของตัวละครคือใคร ?
ก.ผู้เขียนบท
ข.ผู้กำกับเวที
ค.ผู้กำกับการแสดง
ง.ผู้อำนวยการแสดง

18. ละครสร้างสรรค์จะเน้นเรื่องใดเป็นสำคัญ ?
ก.ขั้นตอนการแสดง
ข.เครื่องแต่งกาย
ค.เวทีและฉากการแสดง
ง.อุปกรณ์ประกอบการแสดง

19. การแสดงบทบาทสมมติเป็นบุคคลในอาชีพต่างๆ จะต้องปฏิบัติอย่างไร จึงจะสามารถเลียนแบบได้ ?
ก.ศึกษาจากสภาพความเป็นจริง
ข.ศึกษารูปภาพ การแต่งกาย
ค.สังเกตกิริยาท่าทาง การแนะนำตัว
ง.ทำความเข้าใจกับเอกลักษณ์เฉพาะตัว

20. การแสดงละครประเภทใดที่ไม่มีการฝึกซ้อมก่อนการแสดงจริง ?
ก.ละครสด
ข.ละครพูด
ค.ละครตลก
ง.ละครพื้นบ้าน

21. บทละครประเภทใดที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมร่วมแสดงความคิดเห็น ?
ก.บทละครที่เป็นแบบฉบับ
ข.บทละครเพื่อการศึกษา
ค.บทละครที่เด็กมีส่วนร่วมแสดง
ง.บทละครจากการรวบรวมข้อมูลและเทคนิคละครสด

22. ตีบทแตก มีความหมายตรงกับข้อใด ?
ก.การร่วมแสดงเป็นตัวประกอบ
ข.รับ-ส่งบทได้ตามเป้าหมายและกลมกลืน
ค.เป็นผู้เขียนบทละครได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน
ง.สวมบทบาทของตัวละครได้อย่างสมจริง

23. ข้อใดไม่จัดเป็นคุณสมบัติของนักแสดงที่ดี ?
ก.มีจิตสำนึกที่ดี
ข.ให้ความบันเทิงแก่ผู้ชม
ค.มองเห็นคุณค่าของศิลปะการแสดง
ง.คำนึงถึงบทเด่นที่ได้รับในการแสดง

24. เพลงประกอบละคร มีความสำคัญในด้านใด ?
ก.ทำให้เห็นภาพชัดเจน
ข.กำหนดอารมณ์ของตัวละคร
ค.เป็นแนวคิดสำคัญของเรื่อง
ง.ทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกคล้อยตาม

25. องค์ประกอบของการแสดงละครในข้อใดเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญในการสร้างอารมณ์ของตัวละคร ?
ก.การสมมติ
ข.จินตนาการ
ค.การสร้างสมาธิ
ง.การสื่อสารสัมพันธ์

26. ขั้นตอนสุดท้ายของการแสดงละครคือข้อใด ?
ก.การจัดฉาก
ข.การฝึกซ้อม
ค.พิจารณาบทละคร
ง.การประเมินผล

27. การแสดงที่เกินความจำเป็น เรียกว่าอะไร ?
ก.ตีบทแตก
ข.แอกชั่น
ค.โอเวอร์แอก
ง.เข้าพระเข้านาง

28. การแปลงบทละครที่เป็นตัวอักษรให้เป็นการแสดง จัดเป็นองค์ประกอบของการแสดงละครด้านใด ?
ก.การสมมติ
ข.จินตนาการ
ค.การสร้างสมาธิ
ง.การสื่อสารสัมพันธ์

29. การปรับเปลี่ยนการแสดงมักได้รับคำแนะนำจากใคร ?
ก.ผู้กำกับเวที
ข.ผู้กำกับการแสดง
ค.ผู้เขียนบทละคร
ง.ผู้ชมการแสดงทุกคน

30. การประเมินผลการแสดงมีประโยชน์ในด้านใดมากที่สุด ?
ก.สามารถให้คะแนนได้
ข.เพื่อคัดเลือกตัวแสดงให้เหมาะสม
ค.เพื่อวัดความนิยมของคนดู
ง.เพื่อปรับปรุงแก้ไขการแสดงในครั้งต่อไป


เฉลยคำตอบ
         ข้อที่ 1.คำตอบคือ  ง                          ข้อที่ 2.คำตอบคือ  ก                       ข้อที่ 3.คำตอบคือ  ข
         ข้อที่ 4.คำตอบคือ  ข                         ข้อที่ 5.คำตอบคือ  ข                        ข้อที่ 6.คำตอบคือ  ข
         ข้อที่ 7.คำตอบคือ  ก                         ข้อที่ 8.คำตอบคือ  ง                         ข้อที่ 9.คำตอบคือ  ง
         ข้อที่ 10.คำตอบคือ  ข                       ข้อที่ 11.คำตอบคือ  ค                       ข้อที่ 12.คำตอบคือ  ง
         ข้อที่ 13.คำตอบคือ  ง                       ข้อที่ 14.คำตอบคือ  ก                        ข้อที่ 15.คำตอบคือ  ค
         ข้อที่ 16.คำตอบคือ  ง                       ข้อที่ 17.คำตอบคือ  ค                        ข้อที่ 18.คำตอบคือ  ก
         ข้อที่ 19.คำตอบคือ  ง                       ข้อที่ 20.คำตอบคือ  ก                        ข้อที่ 21.คำตอบคือ  ข
         ข้อที่ 22.คำตอบคือ  ง                       ข้อที่ 23.คำตอบคือ  ง                        ข้อที่ 24.คำตอบคือ  ข
         ข้อที่ 25.คำตอบคือ  ค                       ข้อที่ 26.คำตอบคือ  ง                       ข้อที่ 27.คำตอบคือ  ค
         ข้อที่ 28.คำตอบคือ  ข                       ข้อที่ 29.คำตอบคือ  ข                       ข้อที่ 30.คำตอบคือ  ง


Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน