ข้อใดเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์

การลงทุนคืออะไร?

          “การลงทุน (Investments)” คือ การที่เรานำเอาทรัพย์สินที่มีอยู่ ซึ่งโดยทั่วไปจะหมายถึงเงินสดไปดำเนินการในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนกลับคืนมาในอนาคต โดยเราเชื่อว่าเงินสดหรือผลตอบแทนส่วนเพิ่มที่จะได้รับกลับคืนมานั้น จะสามารถชดเชยระยะเวลา อัตราเงินเฟ้อ และความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการลงทุนได้อย่างคุ้มค่า หรืออาจกล่าวได้ว่า

          “การลงทุน” หมาย ถึง การออมประเภทหนึ่งเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น แต่ทั้งนี้เราต้องตระหนักว่าในการลงทุนมีความเสี่ยง เพราะนอกจากการได้กำไรจากการลงทุน เราก็อาจขาดทุนได้เช่นกัน ดังนั้น ในการตัดสินใจนำเงินออมมาลงทุน เราจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้ และเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุน การลงทุนโดยไม่มีความรู้ หรือไม่เข้าใจในเรื่องความเสี่ยงและทางเลือกในการลงทุนที่ดีพอ ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด ดังเช่นประโยคที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน”

             “การลงทุน” แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ  การลงทุนในสินทรัพย์ที่มีตัวตนเห็นประโยชน์จากการใช้ได้อย่างชัดเจน (Tangible investment) กับการลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่เห็นประโยชน์จากการใช้ได้โดยชัดเจน (Intangible investment) เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายจะขอยกตัวอย่างดังนี้
              การลงทุนซื้อบ้าน ที่ดิน อาคาร ทองคำ เครื่องประดับของมีค่าต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เราลงทุนเป็นเจ้าของไว้โดยตรงได้อย่างเต็มที่ อย่างนี้จะเรียกว่า Tangible investment
              ส่วนการลงทุนในหุ้น พันธบัตร ตราสารหนี้ หรือกองทุนรวมประเภทต่าง ๆ ซึ่งผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้อง และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการถือกรรมสิทธิ์ในตราสารเหล่านี้ไว้ เรียกว่าเป็นการลงทุนแบบ Intangible investments       

            ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return from investing) : การลงทุนมีความสัมพันธ์กับผลตอบแทน (returns) และความเสี่ยง (risks) การที่เราตัดสินใจลงทุนก็เพราะคาดหวังว่าจะได้รับผลตอบแทนเท่านั้นเท่านี้ แต่บางครั้งผลที่ออกมาก็ไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหมายเอาไว้ ดังนั้นเราจึงต้องเข้าใจและยอมรับถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย ผลตอบแทนจากการลงทุนมีหลายรูปแบบได้แก่

  • รายได้ตามปกติ (current income) เช่น ดอกเบี้ยหรือเงินปันผล สำหรับกรณีที่เราซื้อพันธบัตร ตราสารหนี้ หรือลงทุนในหุ้นต่าง ๆ ซึ่งเมื่อถึงกำหนดเวลาเราก็จะได้รับดอกเบี้ยหรือเงินปันผลตามที่บริษัทระบุไว้
  • กำไรจากการซื้อขายหุ้น (capital gains) เช่น กรณีที่เราลงทุนซื้อหุ้นสามัญเอาไว้  ต่อมาเมื่อหุ้นดังกล่าวมีราคาสูงขึ้น แล้วเราได้ทำการขายออกไป เราก็จะได้กำไรจากผลต่างของราคาหุ้นดังกล่าว
  • ค่าเช่า (rent) ในการลงทุนซื้อทรัพย์สินโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน อพาร์ตเมนท์ ที่อยู่อาศัย เมื่อเรานำไปให้ผู้อื่นเช่า เราก็จะมีรายได้เป็นค่าเช่าจากการให้เช่าทรัพย์สินดังกล่าว
  • ผลตอบแทนอื่น ๆ (others) เช่น เมื่อเราซื้อหุ้นสามัญก็จะมีสิทธิในการออกเสียงเลือกคณะกรรมการของบริษัท และถ้าถือหุ้นไว้มากก็จะมีโอกาสได้รับเลือกเป็นผู้บริหารซึ่งสามารถกำหนดนโยบายของบริษัทได้ หรือมีสิทธิในการซื้อขายหุ้นใหม่ได้ในราคาพิเศษ เป็นต้น

          ในการคำนึงถึงผลตอบแทน เราควรถามตัวเองว่าผลตอบแทนที่ต้องการได้รับจะเป็นซักกี่เปอร์เซ็นต์ดี โดยต้องคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อไว้ด้วย เพราะเงินเฟ้อย่อมมีผลกระทบต่อผลตอบแทนในการลงทุน ดังนั้น เมื่อพูดถึงเรื่องผลตอบแทนเราควรให้ความสนใจในกับ Real rate of return มากกว่า Nominal rate of return โดย  Real rate of return คือ ผลตอบแทนแท้จริงที่จะได้รับ ซึ่งมีการคำนึงถึงเรื่องเงินเฟ้อไว้แล้ว ส่วน Nominal rate of return เป็นผลตอบแทนที่เสนอให้หรือให้ตามที่บริษัทได้ประกาศเอาไว้ สมมติว่า การลงทุนครั้งนี้เสนอให้ผลตอบแทน (Nominal rate of return) 15 % ถ้ามีการคาดคะเนว่าอัตราเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นปีละ 4 % ดังนั้นผลตอบแทนแท้จริงที่ได้รับ จะเป็นแค่ 11 % เท่านั้น

ลงทุนเท่าไหร่... จึงจะเหมาะสม?

            การกำหนดจำนวนเงินลงทุนที่เหมาะสม เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการลงทุน การนำเงินออมหรือเงินสำหรับการใช้จ่ายมาลงทุนมากเกินไป อาจจะทำให้เราประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง กดดันตัวเองมากเกินไป  ในขณะที่การจัดสรรเงินเพื่อการลงทุนที่น้อยเกินไป อาจทำให้เสียโอกาสในการสร้างผลตอบแทนตามที่ควรจะได้รับ ซึ่งการจัดสรรเงินสำหรับการลงทุนในสัดส่วนที่เหมาะสมจะทำให้การลงทุนของเราเป็นไปอย่างสมดุล
            ข้อควรคำนึงในการจัดสรรเงินเพื่อการลงทุน คือ เราควรมีเงินออมและเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินในจำนวนที่เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายประมาณ 3 - 6 เดือน ซึ่งเงินสำหรับการลงทุนควรเป็นเงินส่วนที่เกินจากเงินออมและเงินสำรอง เพราะการลงทุนมีความเสี่ยงที่เราอาจจะสูญเสียเงินลงทุนไป การนำเงินออมหรือเงินสำรองมาลงทุนจึงอาจจะทำให้เราประสบปัญหาได้


ทางเลือกในการลงทุน

 
             ในกรณีที่บุคคลมีรายได้สูงกว่ารายจ่าย ย่อมมีการสะสมเงินออมไว้ ซึ่งจะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดสรรรายจ่าย เพื่อการยังชีพของแต่ละบุคคล และเงินออมจำนวนดังกล่าวนั้น ผู้ออมมักตัดสินใจนำไปลงทุนในการใดการหนึ่งเพื่อให้มีตอบแทนเพิ่มขึ้นมากกว่าที่จะเก็บเงินไว้เฉย ๆ โดยไม่ทำให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้นมา ซึ่งผู้ออมสามารถนำเงินไปลงทุนได้ 2 ลักษณะ คือ
              การลงทุนโดยตรง หมายถึง การที่บุคคลใช้เงินออมหรือเงินรายได้ของตัวเองทำกิจการใดกิจการหนึ่ง โดยมีการดำเนินงานและการตัดสินใจต่าง ๆ ด้วยตัวเองเพื่อให้เกิดผลกำไรตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือสินทรัพย์อื่นๆ
              การลงทุนทางอ้อม หมายถึง การที่บุคคลเอาเงินออมของตัวเองไปลงทุนผ่านสถาบันต่าง ๆ โดยที่สถาบันเหล่านั้นจะเป็นผู้ดำเนินงานและตัดสินปัญหาต่าง ๆ แทนทั้งหมด แต่ถ้าสถาบันดังกล่าวดำเนินการแล้วมีผลกำไรเกิดขึ้น ก็จะต้องนำรายได้เหล่านั้น มาจ่ายเป็นค่าตอบแทนให้แก่ผู้ลงทุนในอัตราต่าง ๆ ตามที่ตกลงกันไว้ เช่น กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคล เป็นต้น

               องค์ประกอบพื้นฐานที่ต้องนำมาพิจารณาในการเลือกการลงทุน ประกอบด้วย 6 ปัจจัย ดังนี้
                      1. อุปนิสัยของผู้ลงทุน                                                                        4. ระดับความเสี่ยงในการลงทุน
                      2. ขนาดของจำนวนเงินที่ลงทุน                                                         5. สภาพคล่องของเงินลงทุน
                      3. ผลตอบแทนจากการลงทุน                                                             6. การกระจายเงินลงทุน

              ในการตัดสินใจลงทุน ผู้ลงทุนจะต้องพิจารณาทั้ง 6 ปัจจัยร่วมกัน โดยมิใช่เป็นเพียงการมุ่งพิจารณาในองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และเมื่อตัดสินใจที่จะลงทุนในรูปแบบใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยตรงหรือการลงทุนโดยทางอ้อม สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาเป็นอันดับแรกคือ การพิจารณาอัตราผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนนั้น ๆ ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์สภาพความเสี่ยงและความสะดวกสบายในการลงทุน ตลอดจนการพิจารณากำหนดวงเงินที่จะลงทุนด้วย
              การเลือกลงทุนในกลุ่มสถาบันการเงินของรัฐบาล จะทำให้ผู้ลงทุนมีรายได้ค่อนข้างต่ำ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงที่ต่ำด้วย ส่วนการลงทุนในกลุ่มสถาบันการเงินของเอกชน ผู้ลงทุนก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นมาอีกเล็กน้อยและความเสี่ยงก็สูงตามขึ้นด้วย ดังนั้น การฝากเงินออมทรัพย์กับสถาบันการเงินของรัฐบาลหรือเอกชน จึงเหมาะสำหรับผู้ลงทุนในเงินออมที่ไม่หวังผลตอบแทนสูงมากนัก กล่าวคือเป็นเพียงการรักษามูลค่าของเงินออมที่มีอยู่ไม่ให้มีอำนาจซื้อเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเงินเฟ้อ จนเป็นผลให้มูลค่าของเงินลดลงและไม่สามารถซื้อสินค้าและบริการได้ในจำนวนเท่าเดิม หรือผู้ลงทุนที่ยังมีความจำเป็นจะต้องใช้เงินออมส่วนนี้อยู่บ้างในกรณีที่เกิดรายจ่ายฉุกเฉินขึ้นและต้องการให้สภาพคล่องของเงินลงทุนอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง สามารถเบิกเงินสดมาใช้จ่ายได้โดยง่ายแล้วส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์และการลงทุนในตลาดเงินนอกระบบ จะให้ผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุนสูงมากโดยมีความเสี่ยงในระดับที่สูงมากเช่นกัน วิธีการนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้เงินออม และสามารถยอมรับกับความเสี่ยงในการลงทุนเพื่อแลกกับการได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นได้
             ตามหลักการลงทุน ผู้ลงทุนควรมีการกระจายความเสี่ยงของเงินลงทุน โดยไม่เลือกลงทุนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพียงอย่างเดียว (Portfolio management) กล่าวคือ ควรเลือกลงทุนผสมกันระหว่างรูปแบบที่มีความเสี่ยงต่ำ ปานกลาง และสูง อย่างไรก็ตามถ้าผู้ลงทุนมีเงินลงทุนจำนวนจำกัด จนไม่สามารถจะกระจายเงินลงทุนไปได้และมีความจำเป็นจะต้องตัดสินใจเลือกลงทุนเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการลงทุนเป็นประการสำคัญ ดังนั้นการเลือกสถาบันการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำและมีสภาพคล่องของเงินลงทุนสูง จึงควรได้รับการพิจารณามากกว่าสถาบันที่มีความเสี่ยงสูงและมีสภาพคล่องของเงินลงทุนต่ำ

 คุณเป็นนักลงทุนแบบไหน?

                งานวิจัยของ Marilyn MacGruder Barnwall แห่ง MacGruder Agency แบ่งประเภทของนักลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่รับได้ ออกเป็น 2 ประเภท คือ

             1) นักลงทุนประเภทรอรับผล (Passive Investor) มักจะหลีกเลี่ยงการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง หรือยอมรับความเสี่ยงได้ค่อนข้างต่ำ ดังนั้น ผู้ลงทุนประเภทรอรับผลจึงมักมอบหมายหน้าที่ในการจัดการลงทุนให้แก่มืออาชีพที่มีนโยบายการลงทุนในโครงการที่มีความเสี่ยงต่ำ และยอมรับอัตราผลตอบแทนในระดับต่ำ มากกว่าที่จะจัดการลงทุนด้วยตนเอง   ผู้ลงทุนประเภทนี้ ได้แก่... ผู้ที่มีเงินทุนโดยไม่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคหรือสร้างด้วยมือตนเอง เช่น ได้รับเงินมรดก หรือขายที่ดินที่มีราคาสูงขึ้นจากการที่ถนนตัดผ่าน ฯลฯ ผู้ที่มีเงินทุนน้อย และกลัวขาดทุน ลูกจ้างที่มีหน้าที่การงานดี (ตำแหน่งสูงๆ) ในบริษัทขนาดใหญ่ แพทย์ เป็นต้น

             2) นักลงทุนประเภทมุ่งหวังผล (Active Investor) มักชื่นชอบความเสี่ยงมากกว่าความมั่นคงของเงินลงทุน โดยมีความเห็นว่าถ้าเงินลงทุนต้องสูญไปก็สามารถสร้างใหม่ได้ และเห็นว่ามีโอกาสในการลงทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนประเภทมุ่งหวังผลจึงมักจัดการลงทุนด้วยตนเอง เพราะมีความมั่นใจในตนเองสูง ผู้ลงทุนประเภทนี้ ได้แก่… ผู้ที่ร่ำรวยโดยสร้างธุรกิจด้วยมือของตนเอง ผู้ที่ทำงานอิสระ ไม่ได้เป็นลูกจ้างในสายอาชีพต่างๆ เช่น ทนายความอิสระ นักบัญชี ฯลฯ ลูกจ้างที่มีหน้าที่การงานดี (ตำแหน่งสูงๆ) ในบริษัทขนาดใหญ่ ศัลยแพทย์มือดี เป็นต้น

            นอกจากนี้ ยังมีบทวิเคราะห์ของ Bailard, Biehl & Kaiser Five-Way Model (BB&K) ที่แบ่งนักลงทุนออกเป็น 5 ประเภท โดยพิจารณาจาก แนวปฏิบัติ ซึ่งสะท้อนออกมาจากความมั่นใจหรือความวิตกกังวล ของแต่ละบุคคล

นักผจญภัย (Adventurer)

ที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ใช้ชีวิตอยู่กับความไม่แน่นอน และตัดสินใจอย่างหุนหันพลันแล่นขาดความรอบคอบจึงลงทุนแบบมุ่งหวังผลพวกเป็นตัวของตัวเอง (Individualist)มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงเช่นเดียวกับนักผจญภัย
แต่จะตัดสินใจอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง โดยพิจารณาอย่างถี่ถ้วน จึงมักลงทุนแบบมุ่งหวังผล ซึ่งจะลงทุนด้วยตนเอง แต่ถ้าไว้ใจให้มืออาชีพจัดการลงทุนให้แล้ว ก็มักจะไม่เข้ามายุ่งเลยดาราคนดัง (Celebrity)

มักขี้กังวล
ชอบตามกระแส กลัวตกข่าว
จึงมักตัดสินใจเร็ว ไม่ค่อยระมัดระวัง
ส่วนใหญ่จึงเป็นลูกค้าของบริษัท นายหน้าค้าหลักทรัพย์มากกว่าจะเป็นลูกค้าของ
ผู้จัดการกองทุนผู้พิทักษ์ (Guardian)

มีความระมัดระวังรอบคอบ ค่อนข้างจู้จี้ มีความวิตกกังวลมาก เป็นคนที่รู้ข้อจำกัดของตัวเอง ไม่ชอบตัดสินใจ จึงมักให้ผู้จัดการกองทุนมืออาชีพช่วยจัด การลงทุน มักลงทุนแบบรอรับผลพวกที่อยู่คาบเส้น (Straight Arrow)ได้แก่ พวกที่ไม่อยู่ในประเภทใดประเภทหนึ่งข้างต้น แต่จะมีลักษณะกลางๆ 

ข้อปฏิบัติในการลงทุน

  • ควรลงทุนอย่างมีความรู้ เพราะความไม่รู้ คือความเสี่ยง ความรู้จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการลงทุน

  • ควรพิจารณา Return และ Risk คู่กันเสมอ เพราะผลตอบแทนและความเสี่ยงจะเกิดขึ้นคู่กันเสมอ ดังคำกล่าวที่ว่า High Return (always come with) High Risk การวิเคราะห์ผลตอบแทนเพียงด้านเดียวโดยไม่สนใจความเสี่ยง จะทำให้เข้าใจผิด หลงไปกับผลตอบแทนสูงที่ดูน่าลงทุน

  • ควรกระจายการลงทุน (Diversification) อย่างเหมาะสม การกระจายการลงทุนไปในหลักทรัพย์หลายประเภทและหลายรายการ ยังคงเป็นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงได้อย่างดีในระดับหนึ่ง เพราะจะลดความเสี่ยงเฉพาะตัวของแต่ละหลักทรัพย์ลงได้

  • ควรจัดองค์ประกอบของหลักทรัพย์ที่ลงทุน (Portfolio) หรือ พอร์ต ให้เหมาะสมกับตัวเอง ทั้งด้านการเงิน lifestyle แผนการในอนาคต การวิเคราะห์และทำความเข้าใจตนเองอย่างรอบด้านเพื่อจัดพอร์ตการลงทุนของตน เองเป็นเรื่องที่สำคัญ ไม่ควรลงทุนตามคนอื่น เพราะแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตัวและมีความต้องการแตกต่างกัน

  • ควรตัดสินใจลงทุนอย่างสมดุล ไม่โลภและไม่ประมาทเกินไป ขณะเดียวกันก็ไม่กลัวจนเกินไป ความโลภและความประมาทมักทำให้เราเสี่ยงมากเกินไป ในขณะที่การกลัวไม่ยอมลงทุนก็อาจทำให้ไม่ได้ผลตอบแทนเพียงพอตามที่ควรจะได้

    ข้อใดคือการลงทุนในหลักทรัพย์

    2. การลงทุนในหลักทรัพย์(Portfolio Investment) หมายถึงธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขาย เปลี่ยนมือตราสารทุน (Equity securities) ตราสารหนี้ (Debt securities) ทั้งในรูปของ พันธบัตร (Bonds) ตั๋วเงิน (Notes) และเครื่องมือทางการเงิน (Money market instruments) ต่าง ๆ ทั้งนี้ยกเว้นตราสารที่จัดเป็นการลงทุนโดยตรงและเงินส ารองระหว่าง ...

    ปัจจัยใดบ้างที่เป็นตัวกําหนดในการลงทุน

    3 ปัจจัยที่คุณต้องพิจารณา ก่อนลงทุน.
    เงินทุน หรือเงินต้นที่ใช้ในการลงทุน.
    อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน.
    ระยะเวลาที่ใช้ในการลงทุน.

    ข้อใดคือการลงทุน

    การลงทุนคือการน ากระแสเงินสดส่วนเกินหรือการน าเงินออมไปลงทุนซื้อสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เพื่อให้มี มูลค่าเพิ่มขึ้นในอนาคต การลงทุนที่ดี อย่างน้อยก็ควรจะให้ได้ผลตอบแทนมากกว่าเงินเฟ้อ การลงทุนส่วนบุคคล สามารถท าได้ในหลายรูปแบบ เช่น การฝากธนาคาร การซื้อพันธบัตรรัฐบาล การซื้อหุ้นกู้ของบริษัทเอกชนหรือของ รัฐวิสาหกิจเพื่อรับ ...

    ตัวกําหนดการลงทุน มีอะไรบ้าง

    องค์ประกอบพื้นฐานที่ต้องนำมาพิจารณาในการเลือกการลงทุน ประกอบด้วย 6 ปัจจัย ดังนี้ 1. อุปนิสัยของผู้ลงทุน 4. ระดับความเสี่ยงในการลงทุน 2. ขนาดของจำนวนเงินที่ลงทุน 5. สภาพคล่องของเงินลงทุน 3. ผลตอบแทนจากการลงทุน 6. การกระจายเงินลงทุน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน