ข้อใดน่าจะเป็นเหตุผลดีที่สุดในการลาออกจากงาน

  • คำถามที่ 1: เหตุผลในการลาออกคืออะไร?
  • คำถามที่ 2: ความสัมพันธ์กับหัวหน้าหรือคนในทีมเป็นยังไง?
  • คำถามที่ 3: สิ่งที่ชอบและไม่ชอบในบริษัทนี้คืออะไร?
  • คำถามที่ 4: คิดว่า 3 สิ่งที่บริษัทควรพัฒนาได้แก่อะไรบ้าง?
  • คำถามที่ 5: เหตุผลที่ทำให้เราเลือกงานที่ใหม่คืออะไร?
  • คำถามที่ 6: คิดว่าบริษัทควรหาคนที่มีทักษะอะไรบ้างมาแทนที่เรา?
  • คำถามที่ 7: เราจะทำยังไงได้บ้างถ้าอยากให้คุณอยู่ที่นี่ต่อ?

การลาออกเป็นเรื่องที่คนทำงานต้องเคยผ่านกันมาแล้ว โดยเหตุผลในการลาออกของแต่ละคนก็แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นเพราะอยากเปลี่ยนสายงาน ที่ใหม่เสนอตำแหน่งและเงินเดือนที่สูงกว่า หรือปัญหาที่มีกับเพื่อนร่วมงานที่เดิม ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม เราในฐานะคนทำงานก็ควรรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับบริษัทเดิมเอาไว้ เพราะไม่แน่วันนึงเราอาจต้องกลับมาร่วมงานกับคนจากบริษัทเก่าอีกครั้งก็ได้

วันนี้ JobThai จึงได้รวบรวมคำถามที่มักถูกถามบ่อย ๆ ใน Exit interview หรือการสัมภาษณ์ปิดฉากก่อนออกจากงาน รวมถึงแนวการตอบคำถามสำหรับคนที่ยังอยาก Keep Connection ที่ดีเอาไว้

คำถามที่ 1: เหตุผลในการลาออกคืออะไร?

คำถามสำคัญที่ต้องตอบเป็นข้อแรก ๆ เพื่อให้บริษัทเข้าใจเหตุผลในการลาออกของเราและนำไปวางแผนแก้ไขปัญหาต่อ เช่น ถ้าเราตัดสินใจลาออกเพราะได้เงินเดือนสวนทางกับปริมาณงานที่ต้องทำ มีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน หรือมีความกดดันในการทำงาน เราก็ควรพูดออกไปตรง ๆ เพื่อให้ทางบริษัทนำคำตอบของเราไปปรับปรุงอุดรอยรั่วเพื่อรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรได้นาน

คำถามที่ 2: ความสัมพันธ์กับหัวหน้าหรือคนในทีมเป็นยังไง?

การถามถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อเพื่อนร่วมทีมและหัวหน้าจะช่วยให้บริษัทเข้าใจว่าบรรยากาศการทำงานในทีมเป็นยังไง ดีหรือแย่แค่ไหน ใช่สาเหตุที่ทำให้พนักงานลาออกรึเปล่า เรามีสิทธิ์ที่จะตอบได้อย่างตรงไปตรงมา ขอแค่พูดอย่างใจเย็น ไม่ใส่อารมณ์ มีเหตุผลและมีข้อเสนอแนะให้พวกเขาได้ปรับปรุงด้วยเช่นกัน

คำถามที่ 3: สิ่งที่ชอบและไม่ชอบในบริษัทนี้คืออะไร?

คำถามกว้าง ๆ แบบนี้จะเปิดโอกาสให้เราพูดถึงปัจจัยที่เราใช้ประกอบการตัดสินใจลาออก เราสามารถบอกเรื่องที่ยังคงประทับใจจากที่ทำงานเดิม เช่น การที่ออฟฟิศมีพื้นที่นั่งพักผ่อนหรือมีบรรยากาศการทำงานที่ดี ส่วนมุมที่คุณรู้สึกไม่ชอบก็อย่าตอบแค่ว่าไม่ชอบอะไรบ้าง แต่ควรพูดให้เหตุผลไปด้วยว่าที่ไม่ชอบเพราะอะไรเพื่อให้คนถามเข้าใจมุมของเรา เช่น ไม่ชอบที่ต้องเอาอุปกรณ์การทำงานส่วนตัว เช่น กล้อง หรือ คอมพิวเตอร์มาใช้ เพราะที่ออฟฟิศไม่มีให้เรายืมใช้

คำถามที่ 4: คิดว่า 3 สิ่งที่บริษัทควรพัฒนาได้แก่อะไรบ้าง?

บริษัทจะถามคำถามนี้กับเราเพื่อนำคำตอบไปปรับปรุงและป้องกันการมีพนักงานลาออกด้วยเหตุผลเดิม ๆ โดยสามารถตอบต่อเนื่องจากข้อที่แล้วได้ เช่น จากประเด็นที่ต้องใช้อุปกรณ์การทำงานที่เป็นของส่วนตัว เราก็เสนอเพิ่มไปได้ว่าบริษัทควรมีอุปกรณ์ในการทำงานให้พนักงานทุกคนยืมใช้ ควรออกค่าเช่าอุปกรณ์ หรือซื้อโปรแกรมพิเศษบางอย่างให้พนักงานที่จำเป็นต้องใช้ อย่างเช่นโปรแกรมตัดต่อภาพและวิดีโอ ถ้าเราตอบได้ บริษัทก็จะได้ไอเดียการพัฒนาองค์กรจากมุมมองคนทำงาน

คำถามที่ 5: เหตุผลที่ทำให้เราเลือกงานที่ใหม่คืออะไร?

บางครั้งเหตุผลในการลาออกอาจเป็นเพราะที่ทำงานใหม่มีข้อเสนอบางอย่างที่เป็นประโยชน์กับเรามากกว่า อย่างเช่น ตำแหน่งงานใหม่ตรงกับความสนใจมากกว่า โครงสร้างเงินเดือนดีกว่า หรือแม้แต่วัฒนธรรมของบริษัทใหม่ที่คิดว่าเข้ากับเราได้มากกว่า เวลาที่ตอบคำถามนี้ไม่ต้องถึงขั้นบลัฟว่าที่ใหม่ดีกว่าเพราะอะไร เน้นเป็นการเล่าให้ฟังจะดีที่สุด เป็นการแชร์ไอเดียว่าอีกที่เขามีอะไรให้พนักงานบ้าง ถ้าเราจริงใจในคำตอบบริษัทก็จะมองว่าเราไม่ใช่คนที่มีอคติกับองค์กร ซึ่งก็เป็นผลดีมากถ้าวันนึงอาจจะได้กลับมาร่วมงานกันอีกครั้ง

คำถามที่ 6: คิดว่าบริษัทควรหาคนที่มีทักษะอะไรบ้างมาแทนที่เรา?

ไม่มีใครรู้ดีไปกว่าเราว่าคนที่จะมาทำตำแหน่งนี้ควรมีทักษะอะไรบ้าง เพราะฉะนั้นก่อนลาออกเราก็ควรช่วยให้คำแนะนำอย่างเต็มที่ว่าถ้าจะประกาศรับสมัครคนมาทำงานแทนเรา บริษัทควรมองหาคนที่มีทักษะด้านไหนเป็นพิเศษ เช่น ถึงประกาศงานจะระบุว่าต้องการคนที่ทำระบบจัดการข้อมูลได้ แต่พอมาลองทำจริง ๆ แล้วเห็นว่างานบางส่วนก็ต้องคอยคุยกับคนนู้นคนนี้เพื่อส่งต่อให้แผนกต่าง ๆ ช่วยทำ หมายความว่าอีกทักษะที่เหมาะกับงานนี้ก็คือทักษะการจัดการงานและการประสานงาน

คำถามที่ 7: เราจะทำยังไงได้บ้างถ้าอยากให้คุณอยู่ที่นี่ต่อ?

ถ้าเราเป็นคนมีความสามารถ บริษัทก็อยากจะรั้งเราไว้ให้อยู่ต่อเป็นธรรมดา บางครั้งอาจมีข้อเสนอที่น่าสนใจมาให้พิจารณาอีกครั้งก่อนเซ็นใบลาออก เช่น การปรับเงินเดือนหรือการเลื่อนตำแหน่ง ก่อนจะตัดสินใจตอบรับหรือบอกปัดเราก็ควรพิจารณาข้อเสนอนั้นให้ดีก่อน ถ้ามั่นใจว่ายังไงก็อยากเปลี่ยนที่ทำงาน เราก็บอกคำตอบออกไปตรง ๆ ได้เลย ยังไงบริษัทก็ต้องเคารพการตัดสินใจของเราอยู่แล้ว

การสัมภาษณ์ก่อนลาออกหรือ Exit interview ไม่ใช่เรื่องน่ากดดันอะไร เพียงแค่คิดว่าเป็นหนึ่งในโอกาสที่จะได้แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับปัญหาที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังการทำงาน เป็นเหมือนการคุยเปิดใจครั้งสุดท้ายก่อนที่เราจะก้าวออกไปทำงานที่ใหม่ ไม่ต้องเครียดหรือเกร็งเพราะบริษัทเองก็ไม่ได้ต้องการจะคาดคั้น แต่เพียงอยากได้ข้อเสนอแนะดี ๆ จากว่าที่อดีตพนักงานเท่านั้นเอง

 
JobThai Official Group
Public group · 400,000 members
 

บทความเดิมได้ถูกเผยแพร่ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2019 และได้รับการอัปเดตโดยทีมงาน JobThai

ที่มา :

themuse.com

cleverism.com

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน