แผนก ใด เป็นผู้ จัด ทำ รายงานภาษีซื้อ

เมื่อผู้ประกอบการที่เป็นผู้ขายและอยู่ในระบบมูลค่าเพิ่ม  เรียกเก็บเงินจากลูกค้าจะต้องบวก ภาษีขาย หรือ VAT  ขาย  และผู้ประกอบการจะต้องนำส่ง ภาษีขาย ให้กรมสรรพากรก่อนวันที่ 15 ของเดือนถัดไป (ใบนำส่งภาษีที่กิจการต้องกรอก  เรียกว่า แบบ ภ.พ.30  หรือ แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม   เมื่อมีการขายสินค้ากิจการจะออกใบกำกับภาษีขายขึ้นซึ่งประกอบด้วย ต้นฉบับ = 1 + สำเนา = 5 รวมเป็น  6  ใบ )   ต้นฉบับใบกำกับภาษี + สำเนา 1 ใบ  ให้ลูกค้า  ส่วนที่เหลือ 4  ใบ  ใบแรกเก็บเข้าแฟ้ม   ใบที่ 2  ทำบัญชีคุมสินค้า   ใบที่ 3  บันทึกบัญชีในสมุดรายวันขาย   ใบที่ 4  ทำรายงานภาษีขาย (เก็บเข้าแฟ้มรอไว้ และสรุปทำรายงานภาษีขายตอนสิ้นเดือน   และ เตรียมเก็บเข้าแฟ้มบัญชี

แฟ้มแรก       เก็บสำเนาใบกำกับภาษีขาย   เป็นรายเดือนโดยเรียงจากวันเริ่มบัญชีถึงวันที่ปัจจุบัน

แฟ้มที่สอง    เก็บบัญชีคุมสินค้า

แฟ้มที่สาม    สมุดรายวันขาย

แฟ้มที่สี่        แฟ้ม ภ.พ.30   (รายงานภาษีขาย)
ขั้นตอนการจัดทำรายงานภาษีขาย

  1. เรียงเลขที่เอกสาร  ตามเลขที่ เดือนที่ออกใบกำกับภาษี  ปี 2013  เดือนมกราคม

ตัวอย่าง   1301001 – 1301050

เดือน 2    1302051 – 1302090

2    ทุกครั้งที่มีการออกใบกำกับภาษี  ให้นำสำเนาใส่แฟ้ม  สิ้นเดือนนำมาสรุปรายงานภาษีขาย

3.    สรุปรายงานภาษีขาย  และพิมพ์แยกประเภท

แผนก ใด เป็นผู้ จัด ทำ รายงานภาษีซื้อ

การจัดทำรายงานภาษีซื้อ

            ในทางกลับกันที่ผู้ขายกลับกลายมาเป็นผู้ซื้อ  กิจการจะต้องจ่าย ภาษีซื้อ ( VAT ซื้อ)  ให้กับผู้ขาย  นอกเหนือไปจากราคาสินค้าหรือบริการ  เมื่อถูกเก็บภาษีไป  กิจการจะสามารถนำ “ภาษีซื้อ”  มาหักจาก “ภาษีขาย”  เพื่อนำ “ภาษีมูลค่าเพิ่มสุทธิ” นำส่งให้แก่กรมสรรพากรหรือเรียกเงินคืนจากกรมสรรพากร (แต่ส่วนใหญ่จะเครดิตไว้หักในงวดถัดไป)  ก่อนวันที่ 15 ของเดือนถัดไป  (ในแบบ ภ.พ.3.0)   ซึ่งปัจจุบันกรมสรรพากรอำนวยความสะดวกโดยสามารถทำเรื่องขอยื่นผ่านอินเตอร์เน็ต และชำระที่ธนาคารใกล้บ้านได้

กิจการสามารถนำภาษีซื้อที่ลืมนำไปหักนั้น  มาหักกับภาษีขายได้ภายในระยะเวลา  6  เดือน นับจากเดือนที่ระบบในใบกำกับภาษี  และให้หมายเหตุไว้ที่ใบกำกับภาษีด้วยว่า  ถือเป็นภาษีซื้อเดือน…….


ขั้นตอนการจัดทำรายงานภาษีซื้อ

  1. เรียงเลขที่เอกสาร  ตามเลขที่ เดือนที่ได้รับต้นฉบับใบกำกับภาษี  มาจัดเรียงตามลำดับที่และเขียนไว้ที่มุมบนด้านขวามือให้ตรงกับรายงานภาษีซื้อ  เพื่อที่จะได้ค้นหาได้ง่าย
  2.  ทุกครั้งที่ได้รับต้นฉบับใบกำกับภาษี  ให้มาเก็บใส่แฟ้ม
  3.  นำสำเนาใบกำกับภาษีซื้อมาลงรายการภาษีซื้อ   จัดทำใบตรวจรับพัสดุ  และบันทึกในสมุดรายวันซื้อ
  4.  สิ้นเดือนนำมาสรุปรายงานภาษีซื้อ
  5.  สรุปรายงานภาษีซื้อ  และพิมพ์แยกประเภท

แผนก ใด เป็นผู้ จัด ทำ รายงานภาษีซื้อ

สรุปภาษีซื้อ ภาษีขาย   เพื่อกรอกแบบฟอร์ม  ภ.พ.30  นำส่งกรมสรรพากร

การคำนวณภาษีมูค่าเพิ่ม

ภาษีขาย  –  ภาษีซื้อ    =    ภาษีมูลค่าเพิ่มสุทธิ

ส่วนต่างที่เกิดขึ้น

ภาษีขาย  มากกว่า  ภาษีซื้อ        กิจการจะต้องนำส่งกรมสรรพากร

ภาษีซื้อ    มากกว่า  ภาษีขาย      คือภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีสิทธิ์ได้รับคืน หรือเครดิตในเดือนถัดไป

วิธีทำ

1.  กรอกแบบฟอร์ม  นำเสนอผู้บริหารลงนาม

2.  ถ่ายสำเนาแนบใบสำคัญจ่าย  และ แฟ้ม ภ.พ.30 (แฟ้มรายงานภาษีซื้อภาษีขาย)

3.  จัดทำเช็คจ่าย  และนำส่งก่อนวันที่ 15 ของเดือนถัดไป เช่น ภ.พ.30  เดือน มีนาคม 2556  นำส่ง 15  เมษายน 2556

แผนก ใด เป็นผู้ จัด ทำ รายงานภาษีซื้อ

 

 การบันทึกบัญชี

แผนก ใด เป็นผู้ จัด ทำ รายงานภาษีซื้อ

แผนก ใด เป็นผู้ จัด ทำ รายงานภาษีซื้อ

 

 

รายละเอียดเพิ่มเติมดูจากลิงค์นี้ค่ะ  http://www.isstep.com/%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B9/

เมื่อใดที่กิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จำเป็นต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) พร้อมกับแนบเอกสารที่ขาดไม่ได้คือ รายงานภาษีซื้อภาษีขาย และถ้าหากมีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ จะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

ทั้งนี้ วิธีการทำรายงานภาษีซื้อภาษีขาย สามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยการรวบรวมเก็บเอกสาร ใบกำกับภาษีซื้อตัวจริง และสำเนาใบกำกับภาษีขายในแต่ละเดือน นำมาทำรายงานภาษีซื้อภาษีขาย ส่งพร้อมกับเอกสาร ภ.พ.30 แก่สรรพากรภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน

 

รายงานภาษีซื้อภาษีขาย คืออะไร

รายงานภาษีซื้อภาษีขาย คือรายละเอียดภาษีซื้อและภาษีขายที่เกิดขึ้นในรอบเดือนนั้น ทำรายงานเพื่อส่งคู่กับเอกสาร ภ.พ.30 ซึ่งผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากจะมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีแล้ว ยังต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อภาษีขายด้วย ซึ่งสามารถอธิบายแยกย่อยได้ดังนี้

1.รายงานภาษีซื้อ เป็นรายงานที่กิจการจัดทำขึ้นเพื่อบันทึกรายละเอียดรายการภาษีซื้อ แสดงมูลค่าสินค้าหรือบริการและภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่น โดยรายงานภาษีซื้อต้องมีรายการและข้อความตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

ภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในเดือนใดให้บันทึกเป็นรายการภาษีซื้อในเดือนนั้น โดยพิจารณาจากวันที่ที่ปรากฏในใบกำกับภาษีที่ได้รับจากผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนอื่น แต่ถ้าหากภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในเดือนนั้นๆ ไม่ได้นำไปลงในรายงานภาษีของเดือนนั้น เนื่องจากมีเหตุจำเป็นตามที่อธิบดีกำหนด ให้มีสิทธิ์นำไปลงรายงานภาษีซื้อของเดือนหลังจากนั้นได้ แต่ต้องไม่เกิน 6 เดือน นับแต่เดือนถัดจากเดือนที่ออกใบกำกับภาษี

2.รายงานภาษีขาย เป็นรายงานที่กิจการจัดทำขึ้นเพื่อบันทึกรายละเอียดรายการภาษีขาย แสดงมูลค่าสินค้าหรือบริการและภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนได้ออกใบกำกับภาษีจากการขายสินค้าหรือให้บริการ โดยรายงานภาษีขายต้องมีรายการและข้อความตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด

ภาษีขายที่เกิดขึ้นในเดือนใดกิจการต้องบันทึกรายการตามหลักฐานสำเนาใบกำกับภาษีขายที่ออกให้ลูกค้าในเดือนนั้น โดยพิจารณาจากวันที่ที่ปรากฏในสำเนาใบกำกับภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนออกให้แก่ลูกค้า

ทั้งนี้ แบบของรายงานภาษีขายมีลักษณะคล้ายบัญชีแยกประเภทร้านจากการประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี และมีช่อง “จำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม” เพิ่มขึ้นมา

 

รายการที่ลงใน รายงานภาษีซื้อภาษีขาย มาจากไหนได้บ้าง

การลงบันทึกรายงานภาษีซื้อภาษีขาย ที่ใช้ประโยชน์ทางภาษีได้ จะต้องมาจากใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยการลงรายละเอียดในรายงานภาษีซื้อภาษีขายต้องเป็นภาษีซื้อและภาษีขายที่เกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุต่อไปนี้

 1.รายงานภาษีซื้อ จะสามารถลงรายงานภาษีซื้อได้เฉพาะรายการซื้อที่มีหลักฐานใบกำกับภาษี หรือใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ หรือใบเสร็จรับเงินอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งลงรายการเพิ่มและลดยอดภาษีซื้อที่เกิดขึ้นเนื่องจาก  

ลงรายการเพิ่มภาษีซื้อที่เกิดขึ้นเนื่องจาก  

– การซื้อหรือการนำเข้าซึ่งสินค้าหรือวัตถุดิบ

– การซื้อ หรือเช่าซื้อ หรือนำเข้าซึ่งทรัพย์สิน

– การรับฝากขายสินค้า

– การรับบริการหรือการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ

– การเพิ่มราคาสินค้าหรือบริการ

– ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำส่งตามแบบแสดงรายการ ภ.พ.36 เนื่องจากจ่ายบริการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในประเทศไทย หรือรับโอนสินค้าหรือการที่เคยได้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0

ลงรายการเพื่อลดภาษีซื้อให้ลดลงที่เกิดขึ้นเนื่องจาก  

– การส่งคืนสินค้าหรือยกเลิกสัญญาการให้บริการ

– การลดราคาสินค้าหรือค่าบริการที่ผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน

 2.รายการภาษีขาย จะต้องนำไปลงรายงานภาษีขายในเดือนที่มีรายการเกิดขึ้น เพิ่มสูงหรือลดลงที่เกิดขึ้นเนื่องจาก…

ลงรายการเพิ่มภาษีขายเกิดขึ้นเนื่องจาก

– การขายสินค้าหรือให้บริการในประเทศไทย (กรณีการส่งออกภาษีขาย = 0)

– การให้เช่าซื้อ

– การส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนเพื่อขาย (ฝากขาย)

– การนำสินค้าหรือบริการไปใช้เพื่อการอื่นใด ที่ไม่ใช่เพื่อการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

– หนี้สูญที่ได้รับคืน

– มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

– มีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการ ณ วันเลิกกิจการ แต่ไม่รวมถึงสินค้าคงเหลือ และทรัพย์สินของผู้ประกอบการที่ได้ควบรวมเข้าด้วยกัน หรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน

การลงรายการลดภาษีขายเกิดขึ้นเนื่องจาก

– การรับคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง ไม่ตรงตามตัวอย่างหรือที่เสนอขาย

– การลดราคาสินค้าหรือค่าบริการซึ่งผิดข้อกำหนดที่ตกลงกัน

– หนี้สูญที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย

รายละเอียดในรายงานภาษีซื้อภาษีขายต้องมีอะไรบ้าง

แผนก ใด เป็นผู้ จัด ทำ รายงานภาษีซื้อ

รูปแบบของรายงานภาษีซื้อภาษีขายที่สรรพากรกำหนด ต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบดังต่อไปนี้

1.รายงานภาษีซื้อ จำเป็นต้องมีรายละเอียดในรายงานดังนี้

– ชื่อที่แสดงว่าเป็นรายงานภาษีซื้อ

– เดือนภาษีและปีภาษี

– ชื่อสถานประกอบการ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี

– ที่อยู่ของสถานประกอบการตามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

– สำนักงานใหญ่หรือสาขาที่ยื่นรายงานภาษีซื้อ

– รายละเอียดของใบกำกับภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในเดือนภาษีนั้น ได้แก่ วัน-เดือน-ปี เลขที่ใบกำกับภาษี ชื่อผู้ขายสินค้า/ผู้ให้บริการ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขายสินค้า/ผู้ให้บริการ สำนักงานใหญ่/สาขาของผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ มูลค่าสินค้า/บริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม

2.รายงานภาษีขาย จำเป็นต้องมีรายละเอียดในรายงานดังนี้

– ชื่อที่แสดงว่าเป็นรายงานภาษีขาย

– เดือนภาษีและปีภาษี

– ชื่อสถานประกอบการ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี

– ที่อยู่ของสถานประกอบการตามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

– สำนักงานใหญ่หรือสาขาที่ยื่นรายงานภาษีขาย

– รายละเอียดของใบกำกับภาษีขายที่เกิดขึ้นในเดือนภาษีนั้น ได้แก่ วัน-เดือน-ปี เลขที่ใบกำกับภาษี ชื่อผู้ซื้อสินค้า/ผู้รับบริการ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อสินค้า/ผู้รับบริการ สำนักงานใหญ่/สาขาของผู้ขายสินค้าหรือผู้รับบริการ มูลค่าสินค้า/บริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม

และเมื่อครบกำหนดที่ต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้กิจการรวบรวมรายงานภาษีซื้อภาษีขาย พร้อมใบกำกับภาษีทั้งในส่วนของภาษีซื้อและภาษีขายแยกไว้เป็น 2 ส่วน จากนั้นสามารถคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและยื่นแบบ ภ.พ.30 พร้อมแนบรายงานภาษีซื้อภาษีขายเองได้

แต่ถ้าหากไม่มั่นใจว่าภาษีซื้อภาษีขายแบบไหนใช้ได้บ้าง อาจจะส่งให้สำนักงานบัญชีจัดการบัญชีให้ได้เช่นกัน  เพื่อให้รายงานภาษีซื้อภาษีขายเป็นไปอย่างถูกต้องที่สุด

PrevPreviousรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ไม่ต้องส่ง(สรรพากร) แต่ต้องทำ?

Next“บริษัทจำกัด – ห้างหุ้นส่วนจำกัด – ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” ต่างกัน! จดทะเบียนนิติบุคคล แบบไหนดีNext

แผนก ใด เป็นผู้ จัด ทำ รายงานภาษีซื้อ

OUR STORY

เรามีชื่อในการช่วยเหลือเจ้าของธุรกิจในเรื่องบัญชีและภาษีเพื่อให้เจ้าของธุรกิจมั่นใจว่าบัญชีและภาษีที่ทำออกมานั้นถูกต้องอีกทั้งเรายังให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจที่กำลังเติบโต ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจต่างๆ

ไม่ว่าจะเรื่องจำนวนคนหรือเวลาที่มีน้อยกว่าบริษัทระดับ Corporate หรือความรู้ในการบริหารจัดการภาษีซึ่งเราก็มีผู้ตรวจสอบบัญชี CPA คอยให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจทุกท่าน