เซอร์กิตเบรกเกอร์ ยี่ห้อไหนดี

เบรคเกอร์คุณภาพดี (เรียกสั้นๆแทนเซอร์กิตเบรกเกอร์)เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่ในการตัดวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติเมื่อเกิดความผิดปกติในระบบไฟฟ้า โดยทั่วไปเกิดจากโหลดเกิน(ใช้ไฟมากเกิน)หรือไฟฟ้าลัดวงจร เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสายไฟ มอเตอร์ Generator หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่ MCB, RCD, MCCB และ ACB เบรกเกอร์แต่ละประเภทจะมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประโยชน์ในการใช้งานคล้ายๆกับฟิวส์(Fuse) แตกต่างกันตรงที่เบรกเกอร์เมื่อมีการตัดวงจรแล้วสามารถสับสวิตซ์เพื่อใช้งานต่อได้ทันที เบรกเกอร์มีหลายแบบ ทั้งเบรกเกอร์ขนาดเล็กที่ใช้ป้องกันสำหรับวงจรที่มีกระแสไฟฟ้าต่ำหรือพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน จนถึงสวิตช์ขนาดใหญ่ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันวงจรไฟฟ้าแรงสูงที่จ่ายไฟให้ตัวเมือง

ประเภทของเบรกเกอร์

หากแบ่งตามพิกัดแรงดันไฟฟ้าจะแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ Low Voltage, Medium Voltage และ High Voltage เบรกเกอร์ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้กันในบ้านพักอาศัยคือ Low Voltage ได้แก่พวก MCB, MCCB และ ACB เบรกเกอร์เหล่านี้จะมีลักษณะที่แตกต่างกันตามการออกแบบ ทั้งขนาด รูปร่างที่ถูกออกแบบมาให้เข้ากับการใช้งานหลากหลายประเภท เราจะอธิบายถึงการใช้งานของ Low Voltageในบทความนี้

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ(Low Voltage Circuit Breakers) นิยมติดตั้งในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิทและตู้โหลดเซ็นเตอร์ ตัวอย่างเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ มีดังนี้ MCB, RCDs, MCCB และ ACB โดยในบ้านพักอาศัยจะใช้ประเภทMCBมากที่สุด

MCB(Miniature Circuit Breakers) หรือที่ชอบเรียกกันว่าเบรกเกอร์ลูกย่อยหรือเรียกบ้านๆว่าลูกสกิต มีขนาดเล็ก ใช้ในบ้านพักอาศัยที่มีการแสการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน100A วิธีการติดตั้งมี2แบบที่นิยมคือPlug-on(ติดตั้งง่ายแค่ดันตัวเบรคเกอร์เข้ากรอบที่เตรียมไว้) และ Din-rail(ใช้เครื่องมือช่างทั่วๆไปในการประกอบ) ขนาดที่ใช้มีแบบ 1,2,3,4 Pole(แกนสลับขึ้นลง) ใช้ได้ทั้งกระแสไฟฟ้าแบบ1 และ 3เฟส การใช้งานปกติจะติดตั้งในตู้โหลดเซ็นเตอร์หรือในแผงจ่ายไฟฟ้าที่อยู่ตามห้อง(Consumer unit)

RCDs(Residual Current Devices) คืออุปกรณ์เซฟตี้ที่ใช้สำหรับตัด/ป้องกันกันไฟรั่ว ไฟดูด มี3ประเภทตามความต้องการใช้งาน ได้แก่ RCBO(ป้องกันไฟดูดช๊อต), RCCB(ตัดไฟเมื่อเกิดการรั่วไหลของกระแส), ELCB(ป้องกันไฟดูด มักใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า มีปุ่มเทส)

MCCB(Moulded Case Circuit Breakers) คือเบรกเกอร์ที่ใช้ในการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า รวมถึงตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อมีไฟรั่วหรือลัดวงจร ใช้กับกระแสไฟตั้งแต่100-2,300A แรงดันไม่เกิน1,000โวลต์ นิยมใช้ในตู้ไฟฟ้า Local panel ในอาคารขนาดใหญ่

ACB(Air Circuit Breakers) เป็นเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในหมวดLow Voltage ทนกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดถึง6,300A สามารถเพิ่มอุปกรณ์เสริมต่างๆเข้าไปได้ตามความต้องการ นิยมใช้งานเป็นเมนเบรกเกอร์ในโรงงาน ต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่อง

อะไรคือค่าพิกัดกระแส kA ?

ค่า kA เป็นค่ากระแสที่บ่งบอกถึงความสามารถของเบรกเกอร์ที่สามารถทนได้ เมื่อมีการทำงานที่ผิดพลาด ซึ่งเบรกเกอร์สามารถทนได้เพียงเวลาสั้นๆเท่านั้น โดยทั่วไปเป็นเวลาที่ทำให้เบรกเกอร์ทริป ตัวอย่างเช่น ถ้าค่า 6 kA จะหมายถึงค่ากระแสที่เบรกเกอร์สามารถทนได้ 6000 แอทป์ ในระยะเวลาสั้นๆก่อนที่เบรกเกอร์จะทริป เบรกเกอร์

ทำไมค่าพิกัดกระแส kA ถึงมีความสำคัญมาก?

ในสภาวะการทำงานที่ผิดปกติหรือไฟฟ้าลัดวงจรนั้นจะทำให้มีกระแสไหลผ่านวงจรมากกว่าที่ได้ออกแบบไว้ หากวงจรที่ได้ออกแบบมานั้นกระแสสูงสุด 20A ถ้าเกิดกระแสลัดวงจรแล้วมันอาจจะไหลเป็นหลักร้อยจนถึงหลักพันแอมป์ก็ได้ ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้เบรกเกอร์ก็จะทริป  อย่างไรก็ตาม จะเกิดอะไรขึ้นถ้าในระหว่างเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้มีกระแสไหลผ่านวงจรมากกว่าค่า kA ของเบรกเกอร์?

ในกรณีนี้ ที่เจอบ่อยๆจะมี 2 ลักษณะการทำงานผิดพลาดของเบรกเกอร์ อย่างแรกที่จะเกิดขึ้นคือ หน้าคอนแทคของเบรกเกอร์จะหลอมละลายติดกัน ทำให้เบรกเกอร์ไม่ทริป ในกรณีนี้ดีที่สุดมันจะทำให้สายไฟที่เสียหาย แต่ถ้าเลวร้ายสุดก็จะเริ่มมีไฟไหม้ขึ้น อย่างที่สองที่จะเกิดขึ้นคือ เบรกเกอร์จะระเบิดเลย เนื่องจากความร้อนทีสูงมากๆภายในเบรกเกอร์นั้นทำให้ทองแดงระเหยและเปลี่ยนเป็นพลาสมาที่อันตราย ซึงกรณีนี้อันตรายมากสำหรับคนที่อยู่ใกล้บริเวณนั้น เช่นช่างเทคนิคที่ไปทำการ on เบรกเกอร์หลังจากที่มันทริป เบรกเกอร์

แล้วเราต้องเลือกเบรกเกอร์กี่ kA?

ค่ากระแสสูงสุดที่ไหลผ่านวงจรนั้นเป็นค่าที่มากจากขนาดของหม้อแปลงที่ใช้และขนาดของสายไฟที่มากจากหม้อแปลงสำหรับวงจรๆหนึ่ง ที่เรียกว่า Downstream short-circuit current หรือ หมายถึงค่ากิโลแอมป์ (kA) สูงสุดที่ต้องการสำหรับเมนเบรกเกอร์  ยกตัวอย่าง ถ้าใช้หม้อแปลงขนาด 500kVA มีค่าพิกัดกระแสลัดวงจร 35kA ที่ terminal ของมัน เดินสายไฟยาว 10 เมตร ขนาด 90 มิลิเมตร จากหม้อแปลงไปยังเมนเบรกเกอร์ ซึ่งค่ากระแสในสายไฟจะลดลงตามความยาวของสายที่มาจากหม้อแปลง หลังจากที่คำนวนมาแล้วจะได้ค่าพิกัดกระแสลัดวงจรที่ปลายสายประมาณ 26kA กรณีนี้ไม่สามารถใช้เบรกเกอร์ที่มีพิกัดกระแสลัดวงจร 20kA ในการติดตั้งได้ เบรคเกอร์คุณภาพดี

ข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุด

ข้อผิดพลาดที่มักเจอกันบ่อยๆสำหรับการติดตั้งเบรกเกอร์ขนาดใหญ่นั้นคือค่าพิกัดกระแส kA ของเซอรกิตเบรกเกอร์ไม่ได้ถูกพิจารณาตอนที่ออกแบบระบบไฟฟ้า  โดยจะเลือกเบรกเกอร์ที่ราคาถูกที่สุดและตรงกับกระแสใช้งานจริง  ซึ่งหลายครั้งที่เราพบว่าการเลือกแบบนี้ได้เกิดขึ้นจริงคือ การเลือกซื้อใช้เบรกเกอร์ขนาด 20kA ถูกนำมาใช้แทนในระบบไฟฟ้าที่ต้องมีค่าพิดกัดกระแสลัดวงจรต่ำสุด 26kA)

โดยทั้วไปหม้อแปลงขนาดใหญ่ถูกใช้เป็นแหล่งจ่ายพลังงานซึ่งมีขนาด 100kVA แต่จะไม่บ่อยที่จะเห็นหม้อแปลงขนาด 300-500kVA ซึ่งเมื่อเกิดการซ็อตเซอร์กิตที่ขาออกของหม้อแปลงเหล่านี้จะทำให้เกิดกระแสไหลผ่านวงจรจำนวนมากตั้งแต่ 20 kA หรือมากกว่า ซึ่งสิ่งที่น่ากลัวมีผู้ผลิตไม่น้อยต้องการขายเซอร์กิต้เบรกเกอร์ราคาถูก จึงลดค่าพิกัดกระแสลัดวงจรเหลือเพียง 3 kA ดังนั้นช่างเทคนิคหรือผู้ใช้งานที่ไม่เข้าใจส่วนนี้อาจเลือกเบรกเกอร์ผิดขนาดมาใช้ก็เป็นได้ ข้อควรระวัง ควรเลือกเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ต่อจากหม้อแปลงตัวแรกนั้นต้องมีขนาดกระแสลัดวงจรหรือ Icu มากกว่ากระแสลัดวงจรของหม้อแปลง

(รุ่นใหม่ วัดพลังงานได้) 2P WiFi Smart Circuit Breaker With Energy Monitoring (63A, 100A ใช้ได้ตั้งแต่ 0.1-100A ตั้งได้ในแอพ) เซอร์กิตเบรกเกอร์สั่งเปิดปิด ตั้งเวลาและวัดการใช้พลังงานได้ผ่านสมาร์ทโฟน รองรับ Google Home และ Amazon Alexa

ตู้คอนซูมเมอร์ยี่ห้อไหนดีที่สุด

10 อันดับ ตู้คอนซูมเมอร์ ยี่ห้อไหนดี รวมแบบ 4 ช่อง 6 ช่อง.
Schneider Electric ตู้คอนซูมเมอร์ รุ่น S9HCL110..
HACO ตู้คอนซูมเมอร์ รุ่น CFS16/50-MR8..
SAFE-T-CUT ตู้คอนซูมเมอร์ รุ่นพรีเมียร์.
ABB ตู้คอนซูมเมอร์ รุ่น SCP..
CCS ตู้คอนซูมเมอร์ รุ่น CCULS-08+8 ECO..

เบรกเกอร์แอร์ แบบไหนดี

ถ้าใช้สายไฟประเภท VAF 2×2.5/2.5 2.5 ตร.มม. ควรใช้ เบรกเกอร์ขนาดไม่เกิน 16 Amp. 4 ตร.มม. ควรใช้ เบรกเกอร์ขนาดไม่เกิน 25 Amp. 6 ตร.มม. ควรใช้ เบรกเกอร์ขนาดไม่เกิน 32 Amp.

AT กับ AF ต่างกันอย่างไร

– In, Amp Trip(AT) หรือ ค่าพิกัดกระแส เป็นค่ากระแสที่เบรกเกอร์เริ่มทำงาน (ค่ากระแสใช้งาน) มีหน่วย Amp. – Iu, Amp Frame(AF) หรือ ค่าพิกัดกระแสโครง เป็นค่าการทนกระแสต่อเนื่องของเบรกเกอร์ มีหน่วยเป็น Amp.

เซฟทีคัทต้องใช้ขนาดกี่แอมป์ดี

อุปกรณ์ตัดไฟรั่วจาก เซฟ-ที-คัท สมาร์ สามารถตัดการทำงานได้เร็วมาก ๆ คือไม่เกิน 0.04 วินาที ดังนั้นหากโดนดูดด้วยกระแสขนาด 30 มิลลิแอมป์ แล้วอุปกรณ์ตัดภายในแค่ 0.04 วินาทีก็ปลอดภัยครับ