หน่วยงานใดที่ดูแลรับผิดชอบในการจัดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน หน่วยงานใดเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรใดบ้างที่มีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์กรใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโลก มาตรการจูงใจด้านสิ่งแวดล้อม สามารถจะกระทำได้ด้วยวิธีการใดบ้าง องค์กรเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโลก องค์กรที่มีบทบาทในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน้าที่ หน่วยงานและองค์กรทางสิ่งแวดล้อม องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม มีอะไรบ้าง

หน่วยงานใดที่ดูแลรับผิดชอบในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

ประวัติความเป็นมา

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
MINISTRY OF NATURAL RESOURCES AND ENVIRONMENT

         

          ในหลายทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไปมาก ส่งผลทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง และยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพและวิถีการดำรงชีวิตของประชาชนเป็นวงกว้างและรุนแรง ขึ้นตามลำดับ

          ในขณะเดียวกัน หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็มีการดำเนินงานอย่าง ไม่เป็นเอกภาพและขาดการบูรณาการ ดังนั้น ในการปฏิรูประบบราชการโดยเฉพาะในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 หมวด 9 มาตรา 22 จึงได้ก่อตั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสงวน อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีส่วนราชการตามมาตรา 23 ดังต่อไปนี้

  • สำนักงานรัฐมนตรี
  • สำนักงานปลัดกระทรวง
  • กรมควบคุมมลพิษ
  • กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  • กรมทรัพยากรธรณี
  • กรมทรัพยากรน้ำ
  • กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
  • กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  • กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  • สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          และตามพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ส่วนที่ 8 มาตรา 57 ถึง มาตรา 70

          เพื่อการจัดการการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และส่วนราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากภารกิจที่ได้รับมอบหมาย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงได้กำหนดนโยบายการดำเนินงานไว้อย่างชัดเจน ที่จะดำเนินการให้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีความหลากหลายของประเทศ ได้อยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป รวมทั้งประชาชนได้มีการดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข ภายใต้คุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี

ความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของประชากรในโลกนี้ทุกคน รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เนื่องจากเราทุกคนล้วนใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นปัญหาที่เกิดกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงส่งผลกระทบมายังมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่บนโลก การแก้ไขปัญหาจึงต้องใช้ความร่วมมือกันในหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการสร้างความสำนึกรับผิดชอบร่วมกันในการดูแลรักษาคุณค่าของสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมนั้นกลับคืนสู่สภาพที่ดี ความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แบ่งได้ดังนี้

1. หน่วยงานทางสิ่งแวดล้อมของรัฐในประเทศไทย

หน่วยงานของรัฐที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษา ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ โดยแต่ละกระทรวงมีบทบาทสำคัญ ดังนี้

1.1 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะดำเนินนโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบการสงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดทำระเบียบ กฎเกณฑ์การเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ท้องถิ่น รวมถึงการป้องกัน รักษา สร้างกระบวนการเรียนรู้ รณรงค์และสร้างจิตสำนึกของประชาชนทุกฝ่าย ในการร่วมมือกัน

1.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินนโยบายในเรื่องการปรับโครงสร้างการเกษตร โครงการฟื้นฟูอนุรักษ์สถานที่ท่องเที่ยว โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมในเขตปฏิรูปที่ดิน จัดสรรที่ดินทำกินให้กับประชาชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อการเกษตร และจัดสรรแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค

1.3 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมที่ดิน ดำเนินการสำรวจที่ดิน จัดเก็บข้อมูล ดูแลรักษา วางนโยบายการจัดการที่ดินและการถือครองที่ดิน การสงวนหรือหวงห้ามที่ดินของรัฐเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน

องค์กรพัฒนาเอกชน (อพช.) หรือ NGO ได้แก่ มูลนิธิโลกสีเขียว สมาคมธิงค์เอิร์ธ คิดห่วงใยในผืนโลก มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร เป็นต้น ด้วยปัจจุบันสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ปัญหาทางสังคมมีความหลากหลายภาครัฐไม่อาจแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่กลุ่มบุคคลระดับชาวบ้านต้องรวมตัวกันเพื่อช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ หลักการสำคัญขององค์กรพัฒนาเอกชน คือประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐบาลในการพัฒนาสังคม สำหรับประเทศไทยรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้รัฐบาลต้องส่งเสริมและคุ้มครองให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อมทั้งในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น โดยมีบทบาทหน้าที่ดังนี้

2.1 บทบาททางตรง เช่น จัดอาสาเข้ามาดูแล อนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนปลูกจิตสำนึกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้แก่ประชาชน และช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยจากมลภาวะสิ่งแวดล้อม

2.2 บทบาททางอ้อม เช่น ทำงานร่วมกับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งขาติในลักษณะต่าง ๆ เช่น เสนอนโยบายสิ่งแวดล้อมของชาติ ร่วมพิจารณาแผนปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม และเสนอแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม

องค์กรสิ่งแวดล้อมที่มีเครือข่ายในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั่วโลกที่สำคัญ เช่น

3.1 กรีนพืช (Greenpeace) เป็นองค์กรสิ่งแวดล้อมระดับโลก ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 โดยกลุ่มนักกิจกรรมจากเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีสำนักงานประจำประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกกว่า 41 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย กิจกรรมหลักของกรีนพืช คือ หยุดภาวะโลกร้อน ปฏิเสธการตัดต่อพันธุกรรม และยุตินิวเคลียร์

3.2 มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า (World Wildlife Fin –WWF) เป็นองค์กรนานาชาติที่ดำเนินการด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ำจืด และทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งการปกป้องดูแลสายพันธุ์พืชและสัตว์

4. กฎหมายการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย

4.1 กฎหมายเกี่ยวกับป่าสงวนแห่งชาติ

ได้แก่ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีควบคุมรักษาพื้นที่ป่าสงวน ดังต่อไปนี้

1. ห้ามบุคคลเข้ายึด ครอบครอง ทำประโยชน์ อยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ เก็บหาของป่าในพื้นที่อันเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตลอดจนห้ามกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสื่อมแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่

2. ในกรณีที่ป่าสงวนแห่งชาติทั้งหมดหรือบางส่วนมีสภาพเป็นป่าไม้ร้างเก่าหรือทุ่งหญ้าหรือเป็นป่าไม่มีค่าเลย หรือมีไม้มีค่าที่มีลักษณะสมบูรณ์เหลือน้อยและป่านั้นยากที่จะกลับฟื้นตามธรรมชาติทั้งนี้โดยาภาพหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีให้ถือว่าป่าสงวนแห่งชาติในบริเวณดังกล่าวเป็นป่าเสื่อมโทรม

3. เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลรักษา หรือบำรุงป่าสงวนแห่งชาติ อธิบดีมีอำนาจสั่งการเป็นหนังสือให้พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้กระทำการเพื่อควบคุมดูแลรักษาหรือบำรุงรักษาป่าสงวนแห่งชาติได้

4. เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยทางวิชาการ อธิบดีกรมมีอำนาจอนุญาตเป็นหนังสือแก่กระทรวง ทบวง กรม หรือบุคคลให้สามารถกระทำการได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด โดยได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี

5. ในกรณีป่าสงวนแห่งชาติมีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม ให้อธิบดีโดยได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีมีอำนาจอนุญาตเป็นหนังสือให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดทำการบำรุงป่าหรือปลูกสร้างสวนป่าหรือไม้ยืนต้นในเขตป่าเสื่อมโทรมได้ภายในระยะเวลาและเงื่อนไขที่กำหนด แต่ในกรณีที่จะอนุญาตให้เกิน 2,000 ไร่ ต้องได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี

6. ผู้ใดยึดถือครอบครองที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผา ทำไม้ เก็บหาของป่าหรือทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมแก่ป่าสงวนแห่งชาติ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท

4.2 กฎหมายเกี่ยวกับการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า

ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 “สัตว์ป่า” หมายความว่า สัตว์ทุกชนิดไม่ว่าสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลงหรือแมง ซึ่งโดยสภาพธรรมชาติย่อมเกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำ และให้หมายความรวมถึงไข่ของสัตว์ป่าเหล่านั้นทุกชนิดด้วย แต่ไม่หมายความรวมถึงสัตว์พาหนะที่ได้จดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะแล้ว และสัตว์พาหนะที่ได้มาจากการสืบพันธุ์ของสัตว์พาหนะดังกล่าว ตัวอย่าง ช้าง ซึ่งชาวบ้านเลี้ยงไว้

1) สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีพระราชบัญญัติและตามกำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ปัจจุบัน มี 15 ชนิด ได้แก่ แมวลายหินอ่อน พะยูน เก้งหม้อ นกกระเรียน เลียงผา กวางผา ละองหรือละมั่ง สมัน กูปรี ควายป่า แรด กระซู่ สมเสร็จ นกแต้วแล้วท้องดำ และนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

2) สัตว์ป่าคุ้มครอง หมายถึง สัตว์ป่าที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเพื่อเป็นการป้องกันมิให้สัตว์ป่าบางชนิดต้องสูญพันธุ์ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 201 ชนิด นก 952 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 91 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 12 ชนิด ปลา 14 ชนิด แมลง 20 ชนิด และ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 12 ชนิด

4.3 กฎหมายเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ

พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ได้กำหนดไว้ว่า ที่ดินที่จะกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติต้องเป็นที่ดินที่ไม่ได้อยู่ในการครอบครองโดยบุคคลใด กล่าวคือ พื้นที่อุทยานแห่งชาติอาจเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ที่ราชพัสดุ หรือที่ป่าสงวน

การปฏิบัติในเขตอุทยานแห่งชาติที่สำคัญ มีดังนี้

1) ห้ามครอบครองที่ดิน รวมถึงก่อสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า

2) ห้ามนำสัตว์ออกจากอุทยานแห่งชาติ

3) ห้ามนำเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์หรือจับสัตว์ หรืออาวุธเข้าไป เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด

4) ห้ามเก็บ นำออกไป หรือทำให้เป็นอันตราย หรือทำให้เสื่อมสภาพแก่กล้วยไม้ น้ำผึ้ง ครั่ง ถ่านไม้ เปลือกไม้ หรือมูลค้างคาว

5) ห้ามเปลี่ยนแปลงทางน้ำ หรือทำให้ลำน้ำ ลำห้วย บึง ท่วมหรือแห้ง

4.4 กฎหมายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น ส่วนคุณภาพสิ่งแวดล้อม หมายถึง ดุลยภาพของธรรมชาติ ซึ่งได้แก่สัตว์ พืช และทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ และสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น โดยประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับในการร่วมมือกันส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชาติมีดังนี้

1) ได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารของทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ยกเว้นข้อมูลทางราชการที่ถือว่าเป็นความลับ

2) ได้รับชดเชยค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากรัฐ ในกรณีที่ได้รับความเสียหายจากอันตรายที่เกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษ จากกิจการหรือโครงงานมที่ราชการหรือรัฐวิสาหกิจริเริ่มจากสนับสนุนหรือดำเนินการ

3) มีสิทธิร้องเรียนกล่าวโทษผู้กระทำผิดที่ละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษหรือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

4) ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

5) ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยเคร่งครัด

5. การประสานความร่วมมือทางด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ

เนื่องจากปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่มีลักษณะข้ามพรมแดนและเป็นประโยชน์ร่วมกันของมวลมนุษยชาติ ดังนั้น ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาได้มีการออกกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นแนวทางในการร่วมมือแก้ไขปัญหาและพัฒนาสิ่งแวดล้อมของโลก ซึ่งประกอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนี้

5.1 อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่า และพืชป่า ที่ใกล้สูญพันธุ์(Convention on International Trade in Endangered Species of. Wild Fauna and Flora, 1973-CITES)

ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ จัดให้มีกระประชุมนานาชาติขึ้น ที่กรุงวอชิงต้น ดี.ซี. และร่างอนุสัญญาไซเตสขึ้น มีประเทศที่เข้าร่วมประชุมถึง 88 ประเทศและมีประเทศที่ลง นามรับรองและเห็นด้วยกับอนุสัญญาฉบับนี้ทันทีถึง 21 ประเทศ ประเทศไทยได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมในการประชุมครั้งนั้นด้วย แต่ได้ลงนามรับรองอนุสัญญาฉบับนี้ เมื่อปี พ.ศ.2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 เป้าหมายสำคัญของอนุสัญญาฉบับนี้คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าในโลก เพื่อประโยชน์ แห่งมวลมนุษยชาติ โดยเน้นทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือที่มีการคุกคาม ทำให้ประมาณลดลงจนอาจจะสูญพันธุ์ไป วิธีการของการอนุรักษ์ที่ได้กล่าวไว้ในอนุสัญญาไซเตสนั้น ทำโดยสร้างเครือข่ายขึ้นทั่วโลกเพื่อควบคุมการค้าระหว่างประเทศ ทั้งสัตว์ป่าพืชป่าและผลิตภัณฑ์ แต่ไซเตสจะไม่ควบคุมการค้าภายในประเทศสำหรับชนิดพันธุ์ท้องถิ่น

5.2 อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) ค.ศ. 1992

จากปัญหาแก๊สเรือนกระจกที่ส่งผลให้อุณหภูมิสูงขึ้น จึงได้มีการประชุมเนื้อหาแนวทางแก้ไขและป้องกันขึ้นใน พ.ศ. 2535 เรียกว่า “การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา” ที่เมืองรีอูดีจาเนรู ประเทศบราซิล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องชั้นบรรยากาศของโลก โดยรัฐบาลของรัฐสมาชิดจะต้องดูแลควบคุมให้การเกิดแก๊สเรือนกระจกในประเทศของตนอยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชั้นบรรยากาศของโลก นอกจากนี้ ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาครั้งนี้ก่อให้เกิดอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพอีกด้วย

5.3 อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention)

หรืออนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ได้ถูกกำหนดและตั้งชื่อตามชื่อสถานที่จัดให้มีการประชุมเพื่อรับรองอนุสัญญาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ณ เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน อนุสัญญาดังกล่าวเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาล ซึ่งกำหนดกรอบการทำงานสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอันเป็นการอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกน้ำ ต่อมาขอบเขตการดำเนินการของอนุสัญญาฯ ได้ขยายครอบคลุมกว้างขึ้นโดยเน้นการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาดในทุกๆ ด้าน ตลอดจนเพื่อยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำในโลก โดยมีพันธกิจที่สำคัญในการดำเนินงานระดับชาติโดยความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกภูมิภาคของโลก อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 และเพื่อให้เกิดความตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำ จึงได้กำหนดให้ทุกวันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก (World Wetlands Day)

สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาในวันที่ 13 พฤษภาคม 2541 พื้นที่ชุ่มน้ำแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการประกาศให้เข้าเป็นทำเนียบของอนุสัญญา คือ พรุควนขี้เสี้ยน เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง

เพื่อการป้องชั้นบรรยากาศโอโซน (The Vienna Convention for the Protection of the Ozone Layer) ในปี พ.ศ. 2524 โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme :UNEP) ได้จัดตั้งคณะทํางานดงานกฎหมายและวิชาการเพื่อวางโครงร่างสําหรับการปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซน โดยมีจุดประสงค์เพื่อใหเกิดความตกลงในรปสนธิสิญญาระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน เรียกว่าอนุสัญญาเวียนนาเพื่อการปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซน อนุสัญญาเวียนนาประกอบด้วยคําปฏิญาณในอันที่จะร่วมมือกันในการศึกษาค้นคว้า เฝ้าระวังและการแลกเปลี่ยนข้อมูลปริมาณการผลิตและการปล่อยสารทําลายชั้นบรรยากาศโอโซน รวมถึงการดําเนินการควบคุมตามอนุสัญญาที่จะกําหนดขึ้นในอนาคต ด้วย

แม้ว่าอนุสัญญาเวียนนาจะไม่ได้มีข้อกําหนดที่ต้องปฏิบัติเพื่อลดการผลิตและการใช้สารทําลายชั้นบรรยากาศโอโซน แต่อนุสัญญาเวียนนาก็จัดเป็นอนุสัญญาที่สําคัญในประวัติศาสตร์ฉบับหนึ่งที่ประเทศต่าง ๆ ยอมรับมาตรการ ป้องกันในการเจรจาระหว่างประเทศและเห็นพ้องกันในการที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมโลกก่อนที่จะมีผลการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์และเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงขึ้น โดยได้มีประเทศต่าง ๆ จํานวน 28 ประเทศร่วมกันให้สัตยาบันต่ชออนุสัญญาดังกล่าวครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528

5.5 พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)

เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่เชื่อมโยงกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งกำหนดให้ประเทศภาคีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายโดยมีผลผูกพันตามกฎหมายเนื่องจากประเทศพัฒนาแล้วเป็นสาเหตุสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณสูงสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นผลมาจากการทำอุตสาหกรรมกว่า 150 ปี พิธีสารเกียวโตจึงได้เพิ่มเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ภายใต้หลักการ “ความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างกัน” พิธีสารเกียวโตได้รับการลงนามรับรองที่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2540 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 ส่วนความตกลงมาร์ราเกชหรือรายละเอียดข้อบังคับในการปฏิบัติตามพิธีสารเกียวโตได้รับการลงนามรับรองในที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 7 (COP7) ที่เมืองมาร์ราเกช ประเทศโมรอกโก ในปี 2544 ระยะผูกพันช่วงแรกเริ่มขึ้นในปี 2551 และสิ้นสุดลงในปี 2555 ข้อตกลงแก้ไขพิธีสารเกียวโตได้รับการลงนามรับรองที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2555

5.6 อนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด(Basel Convention on the Control of Transboundary Movements of Hazardous Wastes and their Disposal)

เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของเสียอันตรายและการกำจัดปัญหาการลักลอบนำของเสียอันตรายไปทิ้ง หรือกำจัดทำลายในประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยมีประเทศต่าง ๆ ลงนามเข้าร่วมเป็นภาคีได้ ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2533 อนุสัญญาบาเซล มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2535 เพื่อกำหนดข้อตกลงระหว่างประเทศในการควบคุมการนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน พร้อมทั้งการจัดการของเสียอันตรายให้มีความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นการป้องกันการขนส่งที่ผิดกฎหมาย

5.7 พิธีสารมอนทรีออล (Montreal Convention)

ว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน คือสนธิสัญญาสากลที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อควบคุม ยับยั้ง และรณรงค์ให้ลดการผลิตและการใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน เพื่อรักษาชั้นบรรยากาศโอโซนที่เริ่มจะสูญสลายไปเนื่องจากสารเหล่านี้ โดยพิธีสารได้เปิดให้ประเทศต่างๆ ลงนามเป็นประเทศภาคีสมาชิกในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2530 (1987) และเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2532 (1989) เป็นต้นมา พิธีสารมอนทรีออลได้รับการยกย่องให้เป็นตัวอย่างการร่วมมือกันระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหาในระดับนานาชาติ

หน่วยงานใดที่ดูแลรับผิดชอบในการจัดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

การจัดการการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หน่วยงานใดเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (อังกฤษ: Ministry of Natural Resources and Environment) เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย มีหน้าที่เกี่ยวกับการสงวน อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ...

องค์กรใดบ้างที่มีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.มูลนิธิช่วยชีวิตสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย (The Wild Animal Rescue Foundation of Thailand) ... .
2. มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมป์ ... .
3. มูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ... .
4. มูลนิธิเพื่อนช้าง ... .
5. สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย.

องค์กรใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโลก

UN Environment. โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ เป็นหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมระดับนำของโลก มีหน้าที่กำหนดวาระระดับโลกด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการดำเนินงานของระบบสหประชาชาติที่สอดคล้องกับมิติด้านสิ่งแวดล้อมของการพัฒนาที่ยั่งยืน และยังทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมโลกอย่างแท้จริง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน