ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้อาณาจักรสุโขทัยอ่อนแอ คือข้อใด

ความเสื่อมของอาณาจักรสุโขทัย

ความเสื่อมอำนาจของสุโขทัย

                ความเสื่อมของอาณาจักรสุโขทัยเกิดขั้นเพราะความอ่อนแอของระบบการเมืองการปกครอง  แคว้นต่างๆ  ที่เคยอยู่ในอำนาจตั้งตนเป็นอิสระ  ส่งผลให้อาณาจักรหมดอำนาจลงไปในที่สุด

เมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  ประมาณ พ.ศ. 1841   อาณาจักรสุโขทัยก็เริ่มอ่อนแอลง   ความอ่อนแอหรือความเสื่อมของสุโขทัยนี้  น่าจะเกิดจากสาเหตุ  4  ประการ  คือ

  1. ความเหินห่างระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎร
  2. ความย่อหย่อนในด้านการทหาร
  3. การถูกตัดเส้นทางเศรษฐกิจ
  4. การแตกแยกภายใน

               1.  ความเหินห่างระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎร

                      เมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงแล้ว   ระบบการปกครองแบบบิดากับบุตร  ที่เรียกว่า  ระบบปิตุราชา  เริ่มลดความสำคัญลง  ทั้งนี้  เนื่องจากมีปัญหาความกระด้างกระเดื่องของเมืองเล็กเมืองน้อยที่ขึ้นอยู่กับอาณาจักรสุโขทัย  จึงเริ่มใช้วิธีการปกครองที่เป็นแบบแผนมากขึ้น  นำพระพุทธศาสนาและรบบธรรมราชา  มาเป็นเครื่องช่วยในการปกครอง  ฐานะของกษัตริย์เปลี่ยนจาก พ่อขุน  เป็น  พระยา  (พญา)     และต่อมาเป็น พระมหาธรรมราชา   มีความพยายามที่จะเพิ่มพูนพระราชอำนาจให้สูงส่งยิ่งขึ้น  ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎรจึงเหินห่างกัน   ความผูกพันฉันบิดากับบุตรที่มีอยู่เดิมจึงเสื่อมคลายลง  ความร่วมมือที่เคยมี่อย่างใกล้ชิด  และความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันถดถอยลงไปด้วย

             2. ความย่อหย่อนทางด้านการทหาร

                  รัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช   เป็นช่วงเวลาสร้างบ้านสร้างเมือง  บรรดาประชาราษฎรจึงผูกพันใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์  ทำให้ไพร่พลมีกำลังเข้มแข็งสามารถขยายอาณาจักรออกไปได้กว้างขวาง  ทั้งโดยการรบ  และโดยการสวามิภักดิ์ด้วยความยำเกรงแสนยานุภาพ  ครั้นเมื่อบ้านเมืองสงบราบคาบเป็นปกติสุข  ว่างเว้นจากศึกสงคราม  ประชาราษฎรก็หันมาสร้างสรรค์ชีวิตความเป็นอยู่ให้สุขสบายดียิ่งขึ้น   โดยเฉพาะด้านการศาสนานั้นนับว่าเจริญรุ่งเรืองมาก  เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงเลื่อมใสศรัทธา  และทรงสนับสนุนให้มีการสร้างวัดและศาสนสถานต่างๆ มากมาย  ส่งผลให้เกิดความงอกงามทางศิลปวัฒนธรรม  มีการแสดงการละเล่นต่างๆ  ที่สร้างความรื่นรมย์ให้แก่ชีวิตมากขึ้น  จนเป็นรากฐานวัฒนธรรมไทยมาจนปัจจุบันนี้   แต่การฝักใฝ่ในพระศาสนาและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างมากมายนี้ได้ทำให้ภาวะย่อหย่อนทางการทหารเกิดขึ้น   บรรดาประเทศราชและหัวเมืองต่างๆ  จึงถือโอกาสแข็งเมืองตั้เงตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อสุโขทัย  เช่น  ประเทศราชมอญทางตะวันตก  หัวเมืองทางภาคใต้ตลอดจนถึงแหลมมลายู  และแคว้เนต่างๆ  ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา   เช่น  แคว้นสุพรรณภูมิ ทางฝั่งตะวันตก   และแคว้นอโยธยาทางฝั่งตะวันออก  เป็นต้น    ภายหลังเมื่อพระเจ้าอู่ทองตั้งอาณาจักรอยุธยาขึ้น  สุโขทัยก็เสื่อมลงอย่างชัดเจน  จนในที่สุดต้องตกอยู่ในอำนาจของอยุธยา

          3.  การถูกตัดเส้นทางเศรษฐกิจ

ขณะที่สุโขทัยรุ่งเรืองในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงนั้น  เศรษฐกิจของสุโขทัยได้เจริญสูงสุดจนถึงขั้นมีการติดต่อค้าขายกับอาณาจักรจีนทางทะเล  สร้างความมั่นคั่งให้แก่สุโขทัยเป็นอย่างยิ่ง  เส้นทางลำเลียงสินค้าที่สุโขทัยใช้นั้นคือเส้นทางแม่น้ำ  โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยา  ครั้นเมื่อแคว้นต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งตนเป็นอิสระ  เส้นทางขนส่งสินค้าจึงถูกตัดขาดไปโดยปริยาย  การค้าขายของสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นเพียงการค้าโดยอาศัยเส้นทางบก  ซึ่งทำได้ไม่กว้างขวาง  และเมืองที่ทำการค้าด้วยก็เป็นเพียงเมืองเล็กๆ ทำให้เศรษฐกิจของสุโขทัยเสื่อมลง  การทำมาหากินของราษฎรเริ่มฝืดเคือง  เมื่อเศรษฐกิจอ่อนแอลงความอ่อนแอด้านอื่นๆ ก็ตามมา

         4.  การแตกแยกภายใน

                การแตกแยกภายในจากการแย่งชิงอำนาจระหว่างเชื้อพระวงศ์  เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สุโขทัยเสื่อมอำนาจลง  ปัญหาแย่งชิงอำนาจกันเองเกิดขึ้นครั้งแรกประมาณ  พ.ศ. 1890  พระยาลิไทยยกทัพจากเมืองศรีสัชนาลัยมาปราบจลาจลที่กรุงสุโขทัย  แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า  พระมหาธรรมราชาที่ 1   เป็นเวลาเดียวกับที่พระเจ้าอู่ทองตั้งกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ  และต่อมาอยะยามีอำนาจมากขึ้น  ทำให้สุโขทัยไม่ปลอดภัย  พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)  จึงต้องทรงย้ายเมืองหลวงจากสุโขทัยไปที่พิษณุโลกเพื่อให้พ้นจากการแย่งอำนาจของอยุธยา  แต่ไม่นานนัก  ใน พ.ศ.. 1921  อาณาจักรสุโขทัย  ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่พิษณุโลกก็ตกเป็นประเทศราชของอยุธยา  และเป็นประเทศราชอยู่นานถึง  10  ปี  จึงสามารถเป็นอิสระอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ. 1931

แม้อาณาจักรสุโขทัยจะเป็นอิสระได้อีกครั้งหนึ่ง  แต่การเมืองภายในราชสำนักก็มิได้ราบรื่น  มีการแก่งแย่งชิงอำนาจกันอีกจนเกิดจราจลในตอนปลายรัชกาลที่ 7  ทำให้พระมหาธรรมราชาที่ 3  (ไสลือไทย)  ต้องทรงใช้กำลังทัพเข้าปราบปรามและปราบดาภิเษกขึ้นครองเมืองพิษณุโลก  เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8  แห่งอาณาจักรสุโขทัย  เมื่อประมาณ พ.ศ. 1942

แต่การแตกแยกก็ยังไม่จบสิ้น  พระมหาธรรมราชาที่ 3  (ไสยลือไทย)  เสด็จสวรรคตโดยมิได้ตั้งรัชทายาท  ทำให้เกิดการแตกแยกในพระราชวงศ์อย่างรุนแรง  พระราชโอรสของพระองค์  คือ  พระยาบาลเมืองเป็นกษัตริย์ครองเมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสุโขทัย  ทรงพระนามว่า พระเจ้าสุริยวงศ์บรมปาลมหาธรรมาธิราช  เป็น พระมหาธรรมราชาที่ 4  (บรมปาล)  แห่งอาณาจักรสุโขทัย  และให้พระยารามครองเมืองสุโขทัย (ซึ่งเป็นเมืองเอก)  พร้อมกับทูลขอพระนางสาขา  พระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3  (ไสยลือไทย)  อภิเษกสมรสกับเจ้าสามพระยา  ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์  ภายหลังเจ้าสามพระยาเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา  ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2

เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 4  (บรมปาล)  สิ้นพระชนม์  สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2  จึงผนวกอาณาจักรสุโขทัยเข้าไว้ในอาณาจักรอยุธยา  โดยส่งพระราเมศวร  พระราชโอรสของพระองค์  ซึ่งประสูติโดยพระนางสาขา พระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3  (ไสยลือไทย)  ไปครองเมืองพิษณุโลกใน พ.ศ. 1981   อาณาจักรสุโขทัยจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา  นับเป็นการสิ้นสลายของอาณาจักรสุโขทัยแต่บัดนั้น

อ้างอิง : //www.kwc.ac.th/0e-book%20ThaiKingdom/10SuKoTi3.htm

ข้อใดที่สาเหตุสำคัญที่ทำให้อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง

ปัจจัยที่กำหนดความเสื่อมถอยของสุโขทัย คือ สภาพภูมิศาสตร์ และภัยคุกคามจากรัฐรอบข้าง โดยเฉพาะอยุธยา ปัจจัยที่กำหนดความเจริญของสุโขทัย คือ การรับสืบทอดภูมิปัญญาในด้านต่าง ๆ และภาวะผู้นำในการปรับตัวอาณาจักรเพื่อความอยู่รอด ขณะที่อาณาจักรคู่แข่ง คือ อยุธยา มีปัจจัยที่กำหนดความเจริญซึ่งซ้ำเติมปัจจัยความเสื่อมของสุโขทัยทุก ...

ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างความมั่นคงให้อาณาจักรสุโขทัยคืออะไร

ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย มี 2 ด้าน คือ 1. ปัจจัยภายใน ได้แก่ ๏ มีผู้นำที่เข้มแข็ง ในสมัยนั้นผู้นำคนไทยที่กล้าหาญมีสติปัญญาเฉียบแหลมและรอบคอบ 2 คน ซึ่งเป็นสหายกัน ได้แก่ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด และพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ได้ร่วมกันรวบรวมคนไทย และกำลังเข้าต่อสู้กับขอมจนสามารถขับไล่ขอมไปได้

ข้อใดคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาณาจักรสุโขทัยเป็นศูนย์กลางการค้า

ที่ตั้งของสุโขทัย สุโขทัยเป็นชุมชนที่มีลำน้ำไหลผ่านออกไปสู่ทะเลที่อ่าวไทยนอกจากนี้ยังเป็นจุดเชื่อมหัว เมืองทางตอนเหนือกับตอนใต้ได้สะดวก ทำให้สามารถเป็นศูนย์กลางการค้าทั้งทางบกและทางน้ำได้เป็นอย่างดี นโยบายของผู้ปกครองอาณาจักรสุโขทัย

ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อพัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัย

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการในสมัยสุโขทัย ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม - สภาพภูมิอากาศ สุโขทัยตั้งอยู่ท่ามกลางเทือกเขา ทำให้อากาศไม่ร้อนจนเกินไป นอกจากนี้ยังมีฝนตกชุกในฤดูมรสุม - ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า ของป่า และแร่ธาตุต่างๆ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน