สิ่งใดเป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้โชแปงสร้างสรรค์ผลงานเพลง *

ดูบทความกวีแห่งเปียโน "โชแปง"

กวีแห่งเปียโน "โชแปง"

กวีแห่งเปียโน

"โชแปง" (Chopin)

Story By ดวงพร เพชรสังกฤต

สิ่งใดเป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้โชแปงสร้างสรรค์ผลงานเพลง *

ใช่จะเคยเป็นแค่ดินแดนประวัติศาสตร์สงครามเท่านั้น แต่โปแลนด์ยังเป็นบ้านเกิดของศิลปินระดับโลกที่แม้เขาผู้นี้จะมีโอกาสรังสรรค์ผลงานด้วยพรสวรรค์ของตัวเองเพียงไม่นานเพราะจากโลกนี้ไปด้วยอายุยังน้อย แต่ผลงานเท่าที่มีทิ้งไว้ก็ไม่ได้ทำให้ใครลืมเขา ซึ่งถ้า “โชแปง” (Chopin) ได้ทราบว่าผลงานของเขายังคงได้รับความนิยมตราบเท่าวันนี้แม้เขาจะจากโลกนี้ไปนานเกือบ 170 ปีแล้วก็คงดีใจไม่น้อย
ใช่แล้ว เรากำลังจะชวนคุณผู้อ่านมาฟังเรื่องราวของโชแปงด้วยกัน


ในฐานะนักดนตรีโชแปงเป็นที่รู้จักของชาวโลกว่าเป็นนักเปียโนฝีมือดีคนหนึ่งที่ไต่เต้าขึ้นแท่นศิลปินระดับโลกในฉายา “กวีแห่งเปียโน” (Piano Poet) ด้วยพรสวรรค์ของ
ตัวเองล้วนๆ และส่องประกายพรสวรรค์ที่ว่านี้มาตั้งแต่เขาอายุ 6 ขวบ โดยมีส่วนสำคัญอยู่ที่การส่งเสริมจากพ่อชาวฝรั่งเศสและแม่ชาวโปแลนด์ท่ามกลางพี่น้องรวม 3 คนและโชแปงเป็นลูกชายคนกลางคนเดียวของครอบครัว มีพ่อแม่ช่วยกันสอนภาษาฝรั่งเศสและภาษาโปแลนด์ให้ลูกๆ ใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว

โชแปงเกิดที่เมืองเซลาโซวาโวลาทางภาคกลางของโปแลนด์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 1810 มีชื่อที่พ่อตั้งให้คือ “Fryderyk Franciszek Chopin” และชื่อภาษาฝรั่งเศสว่า “Frederic Francois Chopin” เขาเริ่มฉายแววศิลปินช่วงอายุ 6 ขวบเมื่อแม่เริ่มต้นเล่นเปียโนกล่อมลูกๆ แต่ทันทีที่เสียงเปียโนดังขึ้นเจ้าหนูโชแปงก็ร้องไห้ไม่หยุด ทำอย่างไรก็ไม่ยอมหยุดร้องจนเมื่อแม่อุ้มมานั่งตักเพื่อเล่นเปียโนไปด้วยกันเสียงร้องไห้ก็หยุดลง เปลี่ยนเป็นเด็กน้อยที่เฝ้ามองเครื่องดนตรีชนิดนี้อย่างรักใคร่หลงใหล สิ่งนี้ทำให้พ่อแม่เชื่อและมั่นใจว่าลูกชายคนนี้ต้องสนใจในเปียโนแน่นอน จึงเชิญชวน “Wojciech Zywny” มาเป็นครูสอนเปียโนให้กับโชแปงนับตั้งแต่วันนั้น


พรสวรรค์ยังคงทำหน้าที่ต่อไปโดยการผลักดันให้โชแปงสามารถแต่งเพลงแรกในชีวิต “Polonaise in G Mino” ได้เมื่ออายุ 8 ขวบและสามารถแสดงสดต่อหน้าผู้ชมมากมายได้ในวัย 9 ขวบ การเล่นดนตรีดูจะไปด้วยกัน
ได้ดีกับอุปนิสัยของโชแปงที่เรียบร้อย ใช้ชีวิตเรียบง่าย จิตใจดี อ่อนไหว รักธรรมชาติ และเพราะเป็นเด็กที่ไม่ได้มีสุขภาพแข็งแรงนักจึงไม่ค่อยเล่นผาดโผนแบบเด็กผู้ชายทั่วไปนัก


ความสามารถของโชแปงช่วงวัยรุ่นฉายชัดอีกครั้งในช่วงอายุ 15 ปีจากการบรรเลงเพลง “Rondeau for Piano, Opus 1” และเริ่มโด่งดังเป็นที่รู้จักจนใครๆ พากันเรียกเขาว่า “โมสาร์ทคนที่ 2” (Second Mozart) พ่อสานต่อความสามารถนี้ด้วยการส่งโชแปงเข้าเรียนโรงเรียนการดนตรีแห่งกรุงวอซอร์ (Warsaw Conservatory) มี Joseph Elsner เป็นครูสอนเปียโนผู้ถ่ายทอดทฤษฎีการดนตรีและการประพันธ์เพลงให้ตลอดการเรียนที่นี่ พรสวรรค์ผลักดันให้โชแปงประพันธ์เพลงออกมาอีกหลากหลาย และเลือดรักชาติก็สร้างให้เกิดเพลง “Polonaise” ที่สื่อถึงความรักโปแลนด์ที่มีอยู่ในหัวใจของโชแปงเสมอมา จนเมื่ออายุได้ 20 ปีโชแปงก็ก้าวสู่อาชีพนักดนตรีเต็มตัวและเริ่มต้นเดินสายแสดงดนตรีทั่วยุโรป


โชแปงชื่นชอบเป็นพิเศษกับผลงานเพลงของนักดนตรีรุ่นครู แต่ก็มีเพื่อนนักดนตรียุคเดียวกันหลายคนที่ต่อมาล้วนแต่เป็นนักดนตรีชื่อดังทั้งนั้น เช่น Vincenzo Bellini และ Franz Liszt นอกเหนือจากการเป็นนักดนตรีแล้ว การใช้ชีวิตในปารีส โชแปงยังแบ่งเวลาส่วนหนึ่งไปกับอาชีพครูสอนดนตรี โดยมีนักเรียนเป็นบรรดาลูกหลานเศรษฐีและขุนนางชั้นสูง ช่วงนั้นโชแปงได้รับการโจษจันถึงความสามารถด้านดนตรีอย่างมากเพราะเขาสามารถแต่งโน้ตดนตรีสอนนักเรียนกันสดๆ เดี๋ยวนั้นเลย


ด้านชีวิตรักว่ากันว่าโชแปงเป็นนักดนตรีที่มีเสน่ห์จนสาวๆ หลงใหลอยู่ตลอด ช่วงวัยรุ่นโชแปงเคยหลงรักนักแสดงอุปรากรคนหนึ่งเพียงแต่เพราะไม่กล้าบอกรักจึงประพันธ์เพลงแทนใจในชื่อ “Piano Concerto No.2 in F minor” แต่ท้ายที่สุดฝ่ายหญิงก็แต่งงานไปกับชายอื่น รายถัดมาเป็นสาวเยอรมันเพื่อนน้องสาวของเขาเอง ถึงขนาดโชแปงย้ายไปพักอยู่ที่บ้านของเธอนานหลายเดือนก่อนแยกย้ายกันในเวลาต่อมา


ส่วนความรักที่เกิดขึ้นหลังจากโชแปงโด่งดังแล้วก็คือกับ George Sand นักประพันธ์นวนิยายชาวฝรั่งเศสและมีอายุมากกว่าโชแปง 6 ปี เป็นความรักที่เกิดจากความประทับใจแรกของโชแปงที่มีต่อความเป็นคนเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวของฝ่ายหญิง เมื่อถูกตาต้องใจกันและกันปี 1837 ก็เป็นจุดเริ่มต้นชีวิตคู่ของคนทั้งสองกระทั่งมีลูกด้วยกัน ซึ่งแม้จะไม่ใช่ความรักที่ยืนยาวชั่วชีวิตแต่ก็เป็นที่จดจำและถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ชีวประวัติเรื่องดังและรักต่างวัยของโชแปงอย่าง “Chopin-Desire for Love” ที่เรารู้จักกันดี

สิ่งใดเป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้โชแปงสร้างสรรค์ผลงานเพลง *

ตลอดเวลาการเป็นนักดนตรีของโชแปงชายผู้รักชาติอย่างเขาแทบไม่เคยได้กลับโปแลนด์เลยจากการที่ถูกรัสเซียบุกเข้ายึด แต่ในระหว่างที่เกิดการต่อสู้เพื่อเรียกร้องอิสรภาพของเพื่อนร่วมชาติโชแปงที่อาศัยอยู่นอกประเทศก็พยายามเดินสายเล่นดนตรีเพื่อหารายได้ส่งไปช่วยคนในชาติอยู่ตลอดเวลา แต่โชคก็ไม่เข้าข้างเพราะโชแปงเริ่มมีสุขภาพอ่อนแอลงเรื่อยๆ จนป่วยเป็นวัณโรค จากนั้นก็พาให้เกิดปัญหาระหองระแหงภายในครอบครัวจนต้องยุติชีวิตคู่ลงในปี 1847 และมีเรี่ยวแรงแสดงเปียโนต่อหน้าผู้ชมเป็นครั้งสุดท้ายที่ปารีสเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 1848


โชแปงเสียชีวิตลงด้วยวัณโรคในวันที่ 17 ตุลาคม 1849 ด้วยวัยเพียง 39 ปีเท่านั้น ชีวิตไม่ยาวนานพอให้เขามีโอกาสได้กลับโปแลนด์แม้เพียงสักครั้ง ทำได้แค่ทิ้งผลงานเพลงไว้ให้เป็นที่จดจำ ก่อนจากไป
โชแปงบอกกับน้องสาวให้ช่วยพาหัวใจของเขากลับโปแลนด์ด้วยความรักในบ้านเกิดสุดหัวใจ ร่างของเขาถูกฝังที่สุสาน Pere Lachaise ในปารีสพร้อมดินจากโปแลนด์ที่โชแปงพกติดตัวอยู่ตลอดเวลา ท่ามกลางการบรรเลงเพลง “Requiem” ของโมสาร์ทซึ่งทุกคนจัดให้ตามที่โชแปงเคยขอไว้ก่อนเสียชีวิตนั่นเอง

21 กุมภาพันธ์ 2561

ผู้ชม 14946 ครั้ง