มิเตอร์ 15 แอมป์ใช้สายเมนทองแดงเบอร์อะไร

ขนาดของสายไฟฟ้าต้องเลือกให้เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าและปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้งาน และสอดคล้องกับขนาดของฟิวส์หรือสวิตช์อัตโนมัติ (เบรกเกอร์) ที่ใช้ สำหรับขนาดสายเมนและสายต่อหลักดินนั้นก็ต้องสอดคล้องกับขนาดของเมนสวิตช์และขนาดของเครื่องวัดฯ ด้วย ตามตารางต่อไปนี้

ขนาดสายไฟฟ้าตามขนาดของเมนสวิตช์

สารบัญ Show

  • ขนาดของสายไฟฟ้าต้องเลือกให้เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าและปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้งาน และสอดคล้องกับขนาดของฟิวส์หรือสวิตช์อัตโนมัติ (เบรกเกอร์) ที่ใช้ สำหรับขนาดสายเมนและสายต่อหลักดินนั้นก็ต้องสอดคล้องกับขนาดของเมนสวิตช์และขนาดของเครื่องวัดฯ ด้วย ตามตารางต่อไปนี้
  • หม้อไฟ 15 แอมป์ ใช้สายไฟทองแดงเบอร์อะไร
  • หม้อไฟ 15 แอมป์ ใช้สายกราวด์เบอร์อะไร
  • มิเตอร์ไฟฟ้า 15 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์
  • สายไฟเบอร์ 4 ทนกระแสได้กี่แอมป์

ขนาดสูงสุดของ
เมนสวิตช์(แอมแปร์)

ขนาดต่ำสุดของสายเมนและ
(สายต่อหลักดิน)** ตร.มม.

แรงดันไฟฟ้าของ
สายเมน(โวลต์)

หมายเหตุ
* สายต่อหลักดินขนาด 10 ตร.มม. ให้เดินในท่อ ส่วนสายเมนที่ใหญ่กว่า 500 ตร.มม. ให้ใช้สายต่อหลักดิน ขนาด 95 ตร.มม. เป็นอย่างน้อย
** สายเมนที่ใช้เดินในท่อฝังดินต้องไม่เล็กกว่า 10 ตร.มม.

Cr. //www.ebigthailand.com/article.php?title=meter

ไปทำงานที่ไหนก็มีแต่คนมาถาม มีแต่คนมาเถียง เรื่องการออกแบบระบบไฟฟ้า เพราะเราเรียนจบสาขาไฟฟ้ากำลัง พื้นฐานเบื้องต้นควรรู้ไว้คือขนาดสายไฟฟ้า ที่ทนกระแสได้เท่าไหร่ มีข้อมูลเก็บไว้ในเว็บไซต์เราเอง เปิดดูง่ายๆ 

หม้อไฟ 15 แอมป์ ใช้สายไฟทองแดงเบอร์อะไร

THW IEC01 สายเมน สายทองแดง สายเดี่ยว เบอร์16 สีดำ สำหรับมิเตอร์ 15แอมป์ 15(45)A อก. ของแท้ 100% 450/750 V 70°C SOLID AND STRANDED CONDUCTOR PVC INSULATED, SINGLE CORE. ฿480.00. (1)

หม้อไฟ 15 แอมป์ ใช้สายกราวด์เบอร์อะไร

มิเตอร์ ขนาด 15A ใช้ สายเมน อลูมิเนียม เบอร์ 35.

มิเตอร์ไฟฟ้า 15 แอมป์ ใช้เบรกเกอร์กี่แอมป์

กฟภ. (A) เดินสายลอยในอากาศ เดินสายร้อยท่อ PVC ติดผนัง ... การเลือกเมนเบรกเกอร์ สำหรับมิเตอร์ขนาดต่างๆ.

2   ป้องกันเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเกิดความเสียหายเนื่องจากฟ้าผ่าลงสายไฟฟ้าใกล้ๆหรือสายไฟในบ้าน แต่ต้องติดอุปกรณ์ดักจับความเสียหายจากฟ้าผ่าด้วยจึงจะใช้งานได้ เช่น วาริสเตอร์ MOV หรือเสิชอะเรสเตอร์ Gas discharge tube หรือบางทีเป็นฟิวส์ก็ช่วยได้(เบรกเกอร์ไม่ไวพอที่จะป้องกัน)  อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เจาะจงคือ แผ่นโซล่าเซลล์ อินเวอเตอร์ คอนเวอตเตอร์ พวกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับแปลงไฟหรือพวกสวิทช์อิเล็กทรอนิกส์ มอสเฟต เฟท เป็นต้น

** ขยายการรับประกันเป็น2ปีทั้งเวอชั่น16โปรแกรมและเวอชั่น20โปรแกรม แก่ลูกค้าที่ซื้อตั้งแต่วันที่ 13/2/60  วันที่ตามใบเสร็จรับเงิน ***

--ลูกค้าที่ซื้อไปในปี2560  เป็น เวอชั่นรุ่นเก่า 16โปรแกรม **ดูการตั้งค่าได้ที่นี่ครับ** --

-- 1 ลักษณะการทำงาน Feature

-- 2 คุณสมบัติ Specification

-- 3 คู่มือภาษาอังกฤษ สแกน     [?jpeg] หน้า1  [?jpeg] หน้า2

-- 4 วิธีการตั้งค่า Setting & Program 

-- 5 ตัวอย่างการต่อไฟใช้งาน Wiring example

1/1/61   update รุ่นใหม่ 20โปรแกรม ปี2561 (2018)  AHC15A ALION ตั้งแต่ปีผลิต 2017 เดือน12 มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

1.  สามารถโปรแกรมเพิ่มขึ้นเป็น20โปรแกรมในแต่ละโหมด โดยยังแยกหน่วยความจำโปรแกรมออกจากกันเป็นของใครของมัน และเมื่อเปลี่ยนโหมด ที่เราตั้งโปรแกรมไว้ก็ยังอยู่เหมือนเดิมอีกด้วย
       ซึ่งAHC15A Alion รุ่นเก่า ปี2560จะใช้หน่วยความจำเดียวกันและโปรแกรมได้เพียง 16โปรแกรมเท่านั้น

2. ปุ่มกด จะรู้สึกว่ามีความแข็งขึ้น กดง่าย ตอบสนองทันที เหมาะสำหรับงานตั้งเวลาในโหมดนับถอยหลัง 3C.count สามารถตั้งเวลาเครื่องจักรได้ทุกวัน

3. ยี่ห้อรีเลย์เป็น Sanyou (ของ Dongguan Sanyou Electrical Appliances Co. Ltd.) รุ่น SZ-S-148L ซึ่งได้รับมาตรฐาน UL TUV CQC ซึ่งใน UL ผ่านตามเอกสาร E190598 สามารถใช้กับโหลดมอเตอร์240Vacได้ประมาณ750วัตต์(1hp)ทดสอบผ่าน6000ครั้ง(*ไม่แนะนำให้ใช้-ควรต่อกับแม็กเนติกจะทนกว่ามาก) ซึ่งถ้าใช้งานโหลดฮีตเตอร์16Aจะใช้งานได้แสนครั้ง ซึ่งรีเลย์ยี่ห้อนี้ปักหลักขายในอเมริกา  ซึ่งเทียบเท่ายี่ห้อเดิม Songle รุ่น SMIH-48VDC ซึ่งได้รับมาตรฐาน UL TUV CCC แต่เอกสารรับรองULไม่เปิดเผย (ซึ่งบางล็อตก็ยังเป็น Songle)

4.เปลี่ยนระบบปรับค่าชดเชยนาฬิกาเดินช้าหรือเร็ว ปรับได้+-3วินาที/วัน ความละเอียด0.5วินาที แทนระบบเก่าที่ปรับเป็นวินาที/สัปดาห์ แต่ความแม่นยำบางครั้งดูจะลดลงกว่าระบบเก่า

5.(**สั่งทำพิเศษ)เปลี่ยนยี่ห้อคาปาซิเตอร์ภาคจ่ายไฟจากคาปาซิเตอร์จีน(สีแดงๆตัวเล็กๆ) เป็นยี่ห้อ VISHAY(เยอรมันเดิม) MKT X2 275Vac ซึ่งมีคุณภาพดีกว่าเดิมมาก ผ่านมาตรฐานUL(Ru) EN IEC ใช้ได้ทนทานมากกว่า5ปีขึ้นไป



   --------------------------------------------------------------------------

19/6/60 รุ่นเก่า16โปรแกรม ทางร้านได้ปรับเปลี่ยนจากเดิมที่ไม่มียี่ห้อมาเป็นยี่ห้อALION เนื่องจากปัญหาการประกอบชิ้นงานไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งผมได้ทยอยๆเปลี่ยนให้ลูกค้าเก่าที่เคยซื้อไปที่ไม่มียี่ห้อให้เป็นของยี่ห้อALION โดยทางร้านจะส่งไปรษณีย์พร้อมไทม์เมอร์ให้ฟรีโดยไม่คิดมูลค่าและการประกันยังอยู่เหมือนเดิมครับ  ส่วนลูกค้าท่านใดต้องการใช้ตัวเก่าอยู่ก็สามารถเก็บไว้ใช้เป็นสแปร์ได้ ซี่งมีข้อดีดังนี้

   1. ตัวคอนเน็กเตอร์หรือตัวเชื่อมสายไฟจะลงตัวเป๊ะใส่สายไฟง่ายและเมื่อขันออกจนสุดจะไม่มีปัญหาเคสประกอบเขย่งตัวออก  


  2 ภายในใช้รีเลย์48VDC ซึ่งจะทำให้กินกระแสไฟลดลงเล็กน้อยจาก 7VA เป็น 5VA  เมื่อใช้งานตามปรกติจะร้อนน้อยกว่านิดหน่อย บางชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกก็จะประกอบด้วยใช้เครื่องจักรและใช้แรงงานคนประกอบด้วย

  3 แผ่นปริ๊นในบริเวณรีเลย์จะเป็นแผ่นโลหะที่ตัดมาพอดีสำหรับเชื่อมขารีเลย์ จึงสามารถใช้งานไฟจำพวกโหลดฮีตเตอร์ได้ดี เช่นจาก 1000 วัตต์ สามารถใช้ได้ถึง2000 วัตต์ได้โดยไม่มีผลกระทบจากแผ่นปริ๊นไลท์ตะกั่ว

1. ลักษณะการทำงาน Feature

   ภาพด้านบนเป็นรูปรางดิน Din rail เป็นรางใส่อุปกรณ์ไฟฟ้าโรงงานที่ถอดประกอบได้ง่ายๆ ตามมาตรฐานเยอรมัน (DIN) EN 50022 เพียงแต่ต้องใช้น็อตยึดรางให้แน่น ขอขอบคุณภาพจาก CC0 by [?wiki]Ulfbastel , [?wiki]Markus Kuhn

  • ตั้งโปรแกรมล่วงหน้าใน 1 สัปดาห์ มีสวิทช์รีเลย์สั่งให้ภายนอกทำงาน 1 ช่อง 
  • เครื่องจะสั่ง สวิทช์(รีเลย์)ให้เปิดปิดไฟฟ้า ตามเวลาและตามวัน(จันทร์-อาทิตย์)  ที่ตั้งไว้

   ภาพด้านบนเป็นการแสดงฟังก์ชั่นการทำงานของAHC15A ให้ดูอย่างง่ายๆเป็นภาพการ์ตูน ภาพลิขสิทธิ์ CC-NC by pui108diystore.com

    ตั้งเวลา

  • โหมด 1A.on&off   เปิดและปิดตามช่วงเวลาได้ 20 ช่วงโปรแกรม(**แยกหน่วยความจำกับโหมด2)  โดยตั้งเป็นเวลา ชั่วโมง:นาที ที่ต้องการเปิด(ON) และ เวลาที่ต้องการหยุดทำงาน(OFF) ส่วนใหญ่จะตั้งกันเป็นคู่ ON&OFF

 เช่น [รดน้ำต้นไม้ 6:00- 6:05น. จ-ศ] /*/ [ตอนเย็น รด 18:00-18:15น. ทุกวัน]  รวมตั้งไป2โปรแกรม  ซึ่งตั้งได้ทั้งหมด 20 ครั้ง หรือ20ช่วงon&off   

  • โหมด 2B.pluse  เปิดทำงานเป็นจังหวะสั้นๆ ตรงเวลาที่ตั้งไว้ ได้ 20 โปรแกรม(**แยกหน่วยความจำกับโหมด1)  โดยตั้งจังหวะขนาด 1วินาที-59นาที.59วินาทีในตอนเริ่มเข้าโหมดได้เพียงครั้งเดียว(เช่น10วินาที) ที่เหลือเป็นการตั้งเวลาที่จะทำการยิงพัลส์หรือยิงจังหวะ ทำได้20 ครั้ง

เช่น [8โมงกริ่งดัง 10วินาที จ-เสา] /*/ [เที่ยง 10วิ] /*/ [5โมงเย็น10วิ]   ตั้งได้ = 20 ครั้ง

  • ปุ่ม MANUAL  ในโหมด1,2 สามารถกดสั่งขัดจังหวะให้ ON  // OFF // ON AUTO // AUTO OFF 

เช่น โหมด 1A.on&off ที่ตั้งไว้เดิมตามปรกติ(6:00- 6:05น. จ-ศ) แต่วันนี้มาเช้าก่อน6โมง ถ้าเรากด ON AUTO เครื่องจะสั่งรดน้ำทันทีก่อนเวลา 6โมง และหยุดตอน 6.05น.

หรือ ถ้าเราต้องการหยุดทำงานจนกว่าเราจะมากดให้ทำงานตามปรกติอีกครั้ง เราก็สั่งกดที่ OFF  เครื่องจะหยุดทำงานอย่างถาวร จนกว่าเราจะมากดสั่งให้เป็น AUTO OFF (ให้หยุดจนกว่าจะมีโปรแกรมอัติโนมัติที่เราตั้งไว้มาสั่งให้ทำงาน)

  • โหมด 3C.count down  เป็นโหมดพิเศษ กดปุ่มให้ทำงานทันทีและนับถอยหลังเพื่อหยุด ตั้งได้ 1วินาที - 99นาที.59วินาที เมื่อเข้าโหมดนี้ โหมด1A,2B โปรแกรมจะไม่หาย

เช่น ถ้าใช้เป็นแบบขัดจังหวะโหมด1A รดน้ำตอน6โมงไปแล้ว แต่ตอนนี้มันยังแห้งๆ อยากจะรดซ้ำอีก10นาที ก็เข้าโหมด3C.countdown กดปุ่มตั้งเวลาให้รดทันที เมื่อครบ10นาทีจะหยุด  **แต่ต้องไปเปลี่ยนกลับโหมด 1A.on&off เพื่อให้กลับไปทำงานอัตโนมัติ** 

  • มี ถ่านลิเธี่ยมอยู่ภายในทำให้เวลาและโปรแกรมที่ตั้งไว้ไม่หายเวลาไฟดับ อายุใช้งาน(ถ้าไฟดับตลอด จะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ภายใน ถ้าเสียบไฟตลอดจะไม่กินถ่าน) ประมาณ 3-4ปี
  • ถ้าเวลาไม่เที่ยงตรงเนื่องจากอุณหภูมิ เราสามารถแก้เวลาให้เที่ยงตรงขึ้นโดยใส่ค่าปรับความเพี้ยนเวลาได้เอง -3 ถึง +3 วินาที/วัน มีความละเอียดในการปรับอย่างน้อย0.5วินาที ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เครื่องอื่นๆไม่มี เมื่อปรับแก้แล้วเวลาที่คลาดเคลื่อนจะเหลือเพียง +-2 วินาที/สัปดาห์ ปีนึงจะมีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน2นาที แต่การขั้นตอนตั้งค่าจะยุ่งยากสักหน่อยซึ่งจะกล่าวในตอนท้ายๆ

2. คุณสมบัติ Specification

   ภาพแสดงขนาด dimension ของไทม์เมอร์ AHC15A หน่วยเป็นมิลลิเมตร ภาพมีลิขสิทธิ์ cc-nc by pui108diystore อนุญาตให้ดัดแปลงทำซ้ำได้ถ้าไม่ใช่เพื่อการค้า โดยต้องระบุแหล่งที่มา

  • ใช้กับไฟบ้าน: AC 220V 50/60 Hz
  • ช่วงโวลท์ใช้งานได้ : (AC 180V-250V)
  • Hysteresis (ค่าความเพี้ยนเวลาเมื่อทำงานนับซ้ำๆ) =< 2 วินาที/วัน (ที่ T=25C) แสดงว่าถ้าเจอตัวที่มีความเพี้ยนเวลามากๆเช่นช้าไป 2 วินาที/วัน บางงานอาจจะไม่เวิร์ก เช่นกระดิ่งเข้าเรียน ต้องมาปรับเวลากันทุกเดือน 
  • ตั้งเวลาได้ : 20 ช่วง A.ON&OFF /20ครั้ง B.pulse แยกกันต่างหาก
  • กำลังไฟฟ้า: 5.0 VA (max)
  • หน้าจอ  : LCD

   ภาพแสดง รายละเอียด ปุ่ม ไฟแสดง จุดขันสายไฟ จุดต่อไฟเข้า จุดต่อไฟออกไปใช้ จอ ฟังก์ชั่น ความหมายของตัวเลขและตัวอักษรบนจอ ตัวตั้งเวลา AHC15A ALION รุ่น20+20 โปรแกรม ภาพมีลิขสิทธิ์ cc-nc by pui108diystore อนุญาตให้ดัดแปลงทำซ้ำได้ถ้าไม่ใช่เพื่อการค้า โดยต้องระบุแหล่งที่มา

  • 1A.on&off ตั้งเวลา :   0:00 น. -23:59 นาฬิกา  :20ช่วงโปรแกรม
  • 2B.pluse  ตั้งเวลา  :   1วินาที - 59นาที.59วินาที :1ขนาด-20 โปรแกรม
  • 3C.count down    :   1วินาที - 99นาที.59วินาที
  • อายุใช้งานถ่านลิเธี่ยม : 3ปี  (ถ่าน CR2450 ,  3.0V 600mA)
  • อุณหภูมิใช้งาน : -10 ถึง 40C 
  • ความชื้นใช้งาน : 35-85 %RH
  • น้ำหนัก   : ประมาณ 150 กรัม 
  • สวิทช์รีเลย์ภายใน  : 1ช่องทำงาน หน้าสวิทช์เป็นชนิด AgSnO alloys สามารถสั่งเปิดปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ดังนี้

ในกระดาษคู่มือภาษาอังกฤษที่แถมจากผู้ผลิต แนะนำเรื่องการต่อโหลดโดยตรงกับรีเลย์16A เพื่อนำไปใช้งานว่า 

:-- Resistive Load : 16A max  

:-- Lagging Load : 10A max

:-- Lamp Load : 2000 W

:-- Service life , Machanically =  10,000,000

                     , Electrically   =       100,000


ซึ่งคู่มือแผ่นพับข้างบนเป็นการแนะนำแบบรวมๆว่าให้ใช้โหลดได้ตามสเป็กของผู้ผลิตอุปกรณ์ตั้งเวลา หลายครั้งเมื่อเรานำไปต่อใช้งานก็อยู่ในเกณฑ์ที่ตั้งไว้แต่มันใช้ได้ไม่กี่วันหรือไม่กี่เดือนมันก็เสียแล้วต่อติดบ้างไม่ติดบ้างหรือมีกลิ่นเหม็นไหม้ 

ส่วนใหญ่การชำรุดเสียหายของอุปกรณ์ตัวตั้งเวลาจะเสียหายในส่วนของสวิทรีเลย์ข้างใน เนื่องจากนำไปใช้ต่อกับอุปกรณ์อย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งผมจะกล่าวในภายหลังรวมถึงวิธีการคำนวนหาค่าที่ปลอดภัยในต่อใช้งาน 

ส่วนของผมขออนุญาตแปลเชิงตีไปก่อนความดังนี้ ควรต่อเครื่อง AHC15A กับโหลด(ต่อโดยตรงกับรีเลย์ในเครื่อง 16A) ดังนี้ ซึ่งไม่ได้บ่งบอกว่าทำงานได้กี่ครั้งกี่วัน 

 : 16A max 220VAC โหลดฮีตเตอร์**

 : 10A max 220VAC โหลดLagging หรือโหลดหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ที่บัลลาสต์ชนิดขดลวดทองแดง**  (จริงๆมอเตอร์ก็ถือว่าเป็นโหลดแล็กกิ้ง แต่ไม่แนะนำเลย เพราะกระแสไฟขนาด10แอมป์ที่ใช้กับมอเตอร์ นี่จริงๆแล้วรีเลย์ต้องสามารถขับแอร์ 9,000 BTUได้อย่างสบายซึ่งกินกระแสเพียง5-6แอมป์ แต่ความจริงมันไม่ใช่ การนำรีเลย์ที่อยู่ภายในตัวเล็กๆนี้ไปเปิดมอเตอร์ตั้งแต่200วัตต์ขึ้นไปหรือที่กินกระแสตั้งแต่2Aขึ้นไปจะไม่สามารถทำงานได้ดีตามปรกติที่ควรเป็น เป็นการใช้อย่างไม่ถูกต้องทำให้รีเลย์พังเร็วหรืออาจจะพังทันที) 

 : 2000 วัตต์ max 220VAC โหลดไฟส่องสว่าง สป็อตไลท์ หลอดไส้**  (ซึ่งจริงๆก็ไม่ควรใช้ถึง 2000 วัตต์ในหลอดไส้ ซึ่งในความเป็นจริงหลอดไส้มีกระแสกระชากขณะเริ่มทำงาน 10-15 เท่าของกระแสใช้งานปรกติ ที่ 2000วัตต์ 220V มีกระแสใช้งานปรกติอยู่ที่ 10แอมป์ กระแสกระชากตอนเริ่มเปิดจะมีค่าอย่างน้อย 100แอมป์ ทำให้รีเลย์ชำรุดอย่างรวดเร็ว)

 : ความทนของกลไกสวิทช์ 10 ล้านครั้ง

 : ความทนทานโหลดไฟฟ้า 100,000 ครั้ง** (เมื่อใช้ตามเกณท์ต่ำสุดที่ผู้ผลิตรีเลย์แนะนำ แต่เกณฑ์ที่แนะนำมันคืออะไร?? )

** ต้องอ่านส่วนแนะนำเพิ่มเติมที่เป็นบทความข้างล่าง(ยาวๆ)ต่อไปซึ่งจะแนะแนวทางแก้ปัญหาที่ทำให้สามารถต่อโหลดได้มากเท่าที่ต้องการใช้งาน

รีเลย์สวิทช์16Aภายในเครื่องตั้งเวลาทั่วๆไปที่ขายกัน มีข้อมูลหรือมาตรฐานอะไรที่บ่งบอกว่ามันจะใช้งานได้กี่ครั้ง?

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ รีเลย์ 16 แอมป์ทั่วไปในเครื่องตั้งเวลาที่ขายกันตามท้องตลาด ใน เช่นในเครื่องตั้งเวลา AHC15A ควรใช้งานโหลดสูงสุดได้กี่แอมป์และใช้งานได้กี่ครั้ง? เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนว่าตัวรีเลย์ในเครื่องจะใช้งานจริงๆได้มากสุดแค่ไหน และรีเลย์ที่ลงปริ๊นบางๆหรือมีการเชื่อมกับขาน็อตต่างๆจะสามารถใช้งานกับรีเลย์ตัวนั้นได้จริงหรือไม่ ก่อนจะเอาไปต่อใช้งาน

   ภาพแสดง บอร์ดภายในของ ไทม์เมอร์ ตัวตั้งเวลา AHC15A ประกอบด้วย รีเลย์ภายในขนาด16A250V ถ่านกันไฟดับCR2450 จุดขันน็อตต่อสายไฟ และบอร์ดคอนโทรลหรือCPU ภาพมีลิขสิทธิ์ cc-nc by pui108diystore อนุญาตให้ดัดแปลงทำซ้ำได้ถ้าไม่ใช่เพื่อการค้า โดยต้องระบุแหล่งที่มา

   ภาพแสดง รายละเอียด รีเลย์ภายในตัวตั้งเวลา AHC15A ระบุยี่ห้อ Song Chuan(จีน) รุ่น 793-P-1C-F   -datasheet[?]pdf- ไฟอินพุทสั่งงานคอยล์รีเลย์ 24VDC หน้าคอนแท็กหรือหน้าสวิทช์ทนได้ 16A 250VAC ภาพมีลิขสิทธิ์ cc-nc by pui108diystore อนุญาตให้ดัดแปลงทำซ้ำได้ถ้าไม่ใช่เพื่อการค้า โดยต้องระบุแหล่งที่มา

แม้รีเลย์จะระบุว่าเป็นรีเลย์ชนิดกำลังขับสูง หรือพาวเวอร์รีเลย์ ที่มีขนาด 16 แอมป์ มาลองสนใจแค่ด้าต้าชีทในรีเลย์ก่อนว่าผู้ผลิตรีเลย์ระบุอะไรให้ใช้กับอะไรได้บ้างและใช้ได้กี่ครั้ง?

อ่านต่อเรื่อง ......>>  รีเลย์กำลัง16A บนบอร์ด ควรต่อโหลดอย่างไร ใช้งานได้กี่ครั้ง แนะนำ เปรียบเทียบ คำนวน

ส่วนเนื้อหาอื่นๆคงหาอ่านได้ใน  วิธีการคำนวนอย่างละเอียด ความเป็นมาเป็นไป หาอ่านได้ที่>>  การเลือกสวิทช์ รีเลย์ คอนแทกเตอร์ หรือเบรกเกอร์ จาก กระแสไฟ inrush current และกระแสไฟอื่นแยกตามชนิดโหลด(กำลังเขียน)   

3. คู่มือภาษาอังกฤษ สแกน

4. วิธีการตั้งค่า Setting & Program

 คู่มือภาษาอังกฤษ เนื่องจากทางผู้ผลิตยังไม่อัพเดทคู่มือรุ่นใหม่20โปรแกรม คู่มือที่แถมในเครื่องยังเป็นเวอชั่นเก่าอยู่ แต่จะมีคู่มือภาษาไทยจากทางร้านเวอชั่น 20 โปรแกรมแนบไปให้ด้วยครับ

*** คู่มือภาษาอังกฤษ รุ่นเก่า 16 โปรแกรม

เนื่องจากเครื่องตั้งเวลา AHC15A ในส่วนของจอแอลซีดีและปุ่ม มีวิธีการใช้งานที่จำเป็นที่ต้องมีคู่มือในการใช้งาน ถ้าไม่มีคู่มือแล้วไม่ได้ใช้งานนานๆจะกดไม่ถูกซึ่งเป็นลักษณะด้านด้อย แต่ลักษณะด้านดีคือราคาไม่แพงครับเมื่อเทียบกับของมียี่ห้อโซนยุโรปอื่นๆ ซึ่งเมื่อซื้อเครื่องนี้โดยทั่วๆไปจะแถมคู่มือภาษาอังกฤษตามข้างบนอยู่แล้ว ซึ่งไม่น่าจะเป็นปัญหาสำหรับผู้มีสกิวช่างหรือผู้มีพื้นความรู้ของช่างและพออ่านภาษาอังกฤษออก

แต่ผมก็ได้จัดทำกระดาษคู่มือเฉพาะที่เป็นภาษาไทยเพิ่มเติมและแถมให้กับผู้ที่ซื้อไปใช้งานอีกด้วย ผู้ใช้งานทั่วไปไม่จำเป็นต้องมีความรู้เชิงช่างมากนักก็สามารถใช้งานได้(แต่การประกอบใช้งานต้องใช้พื้นฐานความรู้ทางช่างไฟฟ้าซึ่งผมจะกล่าวต่อไป) อ่านภาษาอังกฤษไม่ออกไม่เป็นไร มีคู่มือภาษาไทยแถมไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามควรหรือจำเป็นต้องรู้จักคำและภาษาอังกฤษบางคำและคำย่อบางคำด้วย ในส่วนนี้บนเว็บผมจะเขียนอธิบายอย่างละเอียดมากกว่าแผ่นคู่มือย่อๆ ด้วยสำนวนและรูปภาพของผมเอง ซึ่งเป็นลักษณะการประพันธ์และการวิจารณ์โดยไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของคู่มือภาษาอังกฤษที่แถมมาจากผู้ผลิต จึงขอสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย ไม่อนุญาตให้ลอกไปใช้งานในทางที่เกี่ยวกับการค้าใดๆทั้งสิ้น ส่วนรูปผมขออนุญาตลงลายน้ำเอาไว้ทุกรูปอาจจะดูรกๆหน่อยนะครับ

เครื่องตั้งเวลา AHC15A จะมีส่วนของจอและปุ่มอยู่บนบอร์ดควบคุมเล็กๆ เท่าที่ค้นหาดูไม่พบว่าใครเป็นผู้ผลิตชุดคอนโทรลในส่วนของบอร์ดจอและการโปรแกรม เพราะมีการสร้างคัดลอกแบบและใช้งานกันอย่างแพร่หลายเป็นเวลานานมากแล้วและเป็นที่นิยมในหมู่โรงงานที่สร้างเครื่องตั้งเวลากันในประเทศจีน(โรงงานห้องแถวก็สร้างได้) เพราะ บอร์ดจอนี้จริงๆมีขายแยกออกมาจากส่วนบอร์ดรีเลย์ด้วยซ้ำไปครับ ซึ่งAHC15A มีหลายโรงานและหลายสิบยี่ห้อ รวมถึงตั้งชื่อใหม่เป็น เป็นรุ่นอื่นแต่ใช้คอนโทรลเดียวกันเกือบทั้งหมด เช่น AHC15B THC15A หรืออื่นๆ ส่วนที่ผมขายอยู่ในหน้านี้เป็น AHC15A ยี่ห้อ ALION บางยี่ห้อจะสร้างบอร์ดกำลังหรือบอร์ดรีเลย์มาเฉพาะด้านมากมายเช่น ใช้กับไฟดีซี หรือภายในมีถ่านชาร์จแทนถ่านลิเธี่ยม ยี่ห้อรีเลย์ และอุปกรณ์ภายในส่วนใหญ่จะคล้ายๆกันแต่ไม่เหมือนกัน บางเจ้าทำบอร์ดรีเลย์มาอย่างดีราคาสูงตัดแผ่นโลหะมาบัดกรีเชื่อมแทนลายปริ๊นบนรีเลย์เพื่อให้ใช้งานในกระแสที่สูงขึ้นได้ดีกว่าบอร์ดทั่วไป บางเจ้าใช้ไฟจ่ายรีเลย์และรีเลย์ชนิด48Vdcก็มี อย่างไรก็ตามเท่าที่ดูๆแล้วส่วนใหญ่ใช้คอนโทรลบอร์ดในส่วนของจอตัวเดียวกัน ไม่ว่าคุณจะซื้อยี่ห้อไหนมาการตั้งค่าจะคล้ายๆกันแทบทั้งหมดครับ

ปุ่ม ลักษณะการทำงาน โหมดต่างๆและการเข้า

-- เนื่องจากหน้าจอมีเพียงเท่าที่เห็น การบอกว่าเราอยู่ในโหมดใดจะมีสัญลักษณ์บางอย่างให้จดจำว่าเรากำลังอยู่ในโหมดไหน การเข้าโหมดหรือเปลี่ยนโหมดหรือการเซตค่าแปลกๆจำเป็นต้องใช้ปุ่มสองปุ่มกดค้างพร้อมๆกันเป็นเวลา2-3วินาที ก่อนอื่นมารู้จักปุ่มกันก่อน

   ปุ่ม P , Program (โปรแกรม)  เกี่ยวกับการตั้งโปรแกรมต่างๆ

   ปุ่ม D* , Day (วัน) ,ตั้งค่าวันในสัปดาห์ จันทร์-อาทิตย์ ,ตั้งค่าปรับเวลาให้เที่ยง

^ ตัวอย่างการใช้ปุ่ม D+ เพื่อตั้งเวลาปัจจุบันให้ถูกต้อง จะเห็นว่ามีจุด ใต้ : แสดงว่าใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ในเครื่อง ถ้าต่อไฟแล้ว จุดจะหายไป

^ ตัวอย่างการใช้ปุ่ม D+ เพื่อตั้งว่าเราต้องการให้ทำงานวันไหนบ้าง ในโหมด 1A.on&off และโหมด 2B.pulse ในรูปแสดงว่าโปรแกรม1.on ให้ทำงานที่0:00 น. และกำลังเลือกว่าจะให้ทำวันไหนบ้าง ในกรณีที่มีเซทค่าตัวเลือกเช่น จ-ศ (MO-FR) เมื่อเซทค่าจะใช้หน่วยความจำไป1 ช่อง แต่ในกรณีต้องการให้ทำงานวัน จันทร์กับวันศุกร์ การโปรแกรมต้องใช้ถึง2หน่วยความจำ อย่างไรก็ตามถ้าเราโปรแกรมให้ทำงานเปิดปิดวันละสองครั้งเช้าเย็น แต่ละวันทำไม่เหมือนกันคนละเวลาจ.-อา ก็สามารถตั้งค่าได้ แต่ใช้หน่วยความจำไปถึง 14on-14off 

MO (Monday)      วันจันทร์
TU (Tuesday)      อังคาร
WE (Wednesday) พุธ
TH (Thuseday)    พฤหัส
FR (Friday)         ศุกร์
SA (Saturday)     เสาร์
SU (Sunday)       อาทิตย์

   ปุ่ม H* , Hour (ชั่วโมง) , ตั้งเวลาในหน่วยชั่วโมง หรือเลข2หลักด้านหน้า: (ซึ่งบางโหมดจะเป็นตั้งค่านับนาทีแต่เป็นเลขสองหลักด้านหน้า:)

 

^ตัวอย่างการใช้ปุ่ม H+ เพื่อตั้งค่าโปรแกรมให้เริ่มเวลาทำงานกี่โมง ในโหมด1A on&off หรือ 2B.pulse

   ปุ่ม M* , Minute (นาที) , ตั้งเวลาในหน่วยนาที หรือเลข2หลักด้านหลัง: (บางโหมดอาจเป็นการตั้งค่านับวินาทีแต่อยู่ด้านหลัง:)

   ปุ่ม นาฬิกา , เกี่ยวกับการตั้งเวลาปัจจุบันและในโปรแกรม  ,เสร็จสิ้นการตั้งค่า

ปุ่ม RESET, รีเซท(ล้างค่า) ใช้เปิดหน้าจอเมื่อเริ่มใช้งาน หรือกดเพื่อล้างค่าโปรแกรมทิ้ง เวลาปัจจุบันจะถูกล้างด้วย ,เครื่องนี้ไม่มีปุ่มล็อก ใครก็ตามที่กดรีเซทเป็นอันข้อมูลทั้งหมดจะถูกลบทิ้ง

ปุ่ม Manual , กดสั่งด้วยมือคน , สั่งขัดจังหวะทำงาน ให้ทำ ให้หยุดทำ ถาวร หรือชั่วคราว เมื่อกดจะทำงานเปิดปิดสวิทช์รีเลย์ภายในทันที ในกรณีที่นำไปควบคุมเครื่องจักรใหญ่ๆโปรดระวังผลกระทบจากการเปิดปิดอย่างรวดเร็วอาจเกิดอุบัติเหตุหรือทำให้เครื่องจักรชำรุดได้ 

กรณี ใช้ในโหมด 1A.on&off และ 2B.pulse เมื่อกดปุ่มจะมี4ลักษณะที่เกิดขึ้น และเมื่อกดในขณะที่เป็น AUTO OFF จะมีผลเรียงไปตามลำดับดังนี้ เมื่อกดก็จะวนไปเรื่อยๆ

  • (วนเริ่ม) AUTO OFF 
  • ON          --รีเลย์ทำงานอยู่ถาวร  ไม่มีการหยุดใดๆ
  • ON AUTO --สั่งให้รีเลย์ทำงานชั่วคราว จนกว่าจะมีโปรแกรมสั่งหยุด
  • OFF         --หยุดทำงานถาวร แม้มีโปรแกรมใดๆมาสั่งการก็ไม่ทำ
  • AUTO OFF --สั่งให้หยุดทำงานชั่วคราว จนกว่าจะมีโปรแกรมมาสั่งให้ทำงาน

        ในกรณีที่มีคำว่า AUTO ขึ้นโดยที่เราไม่ได้กดอะไร จะหมายถึงเป็นไปตามที่ตั้งโปรแกรมไว้ เครื่องจะตรวจดูว่ามีโปรแกรมและสั่งให้ทำงานตามปรกติ ก็ขึ้นคำว่า ON AUTO หรือหมดจากโปรแกรมก็ขึ้น AUTO OFF ได้ซึ่งต้องมีแค่สองค่านี้เท่านั้น มีค่าเป็นอย่างอื่นไม่ได้

การใช้มือกดปุ่ม Manual ในขณะที่มันทำงานอยู่ตามโปรแกรมที่เราตั้งไว้ เมื่อกดหยุดชั่วคราวAUTO OFF ก็หมายถึงการขัดจังหวะการทำงานปรกติของเครื่องให้ทำตามที่เราสั่งณ เวลานั้นๆ


หน้าโหมดต่างๆ จะมีวิธีการเข้าและการตั้งค่าแตกต่างออกไป หน้าหลักๆเมื่อเข้าไปแล้วจะมีหน้าตาหรือสัญลักษณ์ให้สังเกตได้แบ่งเป็น4หน้าดังรูป ข้างล่าง

 ---

ตั้งเครื่องครั้งแรก

     คำสั่งข้างล่างแต่ละการกดปุ่มสั่งแยกออกจากกัน สามารถกดสั่งตอนไหนก็ได้(ในหน้าออโต้)ให้ทำงานเปิดจอหรือเปิดเครื่องหรือรีเซทลบข้อมูลที่ตั้งไว้ทิ้งทั้งหมด , ตั้งเวลาปัจจุบัน  , ปรับโหมดนาฬิกาจาก24ชม. เป็นAM. PM.(นาฬิกาแบบฝรั่ง ใช้เวลาเที่ยงวันเป็นตัวผ่านจาก AM.->PM. และตอนเที่ยงคืน ก็ทำกลับกัน) สุดท้ายคือการปิดหน้าจอและลบข้อมูลหน่วยความจำทั้งหมดซึ่งการปิดเครื่องจะไม่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ในเครื่องเลย

// เปิดจอ-เริ่มใหม่   
 // ตั้งเวลาเครื่อง1 
 ?โมง2 
 ?นาที3
 ?จ.-อา.^ สามารถตั้งได้ตลอดเวลาในโหมด 1A,2B หน้าออโต้ ตั้งอันไหนก่อนก็ได้แยกอิสระออกจากกัน// 24h<>12AM,PM   
 5 วินาที// ปิดจอ-ลบทั้งหมด   
 3 วินาที

    -การเปลี่ยนค่า 24hr--AM.PM. หรือการปิดหน้าจอต้องอยู่ในโหมด1A.on.off ,2B.pulse ในหน้าออโต้จึงจะสามารถกดสั่งใช้งานได้

โหมด1A. on&off

        โหมด on-off คือโหมดการทำงานหลักที่สร้างมาสำหรับเครื่อง จึงไม่มีวิธีการเข้าโหมดนี้ มีแต่ต้องออกจากโหมดต่างๆทั้งหมด จึงจะเห็นหน้าโหมด ON-OFF สังเกตที่มุมซ้ายล่างจะต้องไม่มีตัวเลขหรือตัวอักษรใดๆ ถือว่าเป็นหน้าออโต้ของโหมดนี้ 

ในโหมดนี้ใช้ตั้งเวลาเปิดและปิดการทำงาน โดยกำหนดเป็นกี่โมง และวันไหนบ้างที่ต้องการเปิดหรือเริ่มต้นทำงาน และเวลาไหนบ้างที่ต้องการหยุด ตั้งได้ 20.on - 20.off มีหน่วยความจำโปรแกรมแยกออกจากโหมดอื่นๆไม่ซ้อนทับกัน

 ลองดูตารางด้านขวาสุด ลองตั้งการทำงาน เป็นรดน้ำต้นไม้ 7โมง หยุด 7โมง15นาที ทำทุกวันจันทร์-อาทิตย์ (ซึ่งตอนที่กำลังจะตั้งอยู่นี้ เป็นวันเสาร์เวลา6โมง59นาที)

 1.
ดู , กดเริ่มตั้งโปรแกรม 1.on
 2.
ตั้งเวลาเริ่มทำงาน กี่โมง กี่นาที วันไหนบ้าง ให้กดทีละปุ่ม
 3.
จำ , กดเริ่มตั้ง 1.off
 4.
ตั้งเวลาหยุดทำงาน off กี่นาฬิกา วันไหนบ้างที่จะให้หยุด
 5.ตั้ง 2.on,2.off ไป No.1.   ถ้า  จบการตั้ง ไป No.6.ตั้งโปรแกรมเพิ่ม ..20.on.off 6.
เสร็จสิ้น ,ออกแล้วไปหน้าAuto หน้าเวลาจริง

จะเห็นได้ว่าพอตั้งเสร็จเวลาตอนนี้คือ 7โมง2นาที เครื่องจะไม่ทำงานทันที เนื่องจากเราตั้งเวลาคร่อมเวลาจริงที่ผ่านไปแล้วเครื่องจึงไม่อ่านข้อมูลเก่า เพราะเวลาเริ่มทำงานคือ7โมง แต่พอเราตั้งเสร็จเป็นเวลา 7:02น. ซึ่งเลยเวลาเริ่มรดน้ำต้นไม้ของวันนี้แล้ว ต้องรอวันพรุ่งนี้ถึงจะทำงาน ทางแก้ไขคือ เรากดปุ่ม Manual ให้ทำงานเป็น ON AUTO เลย เครื่องจะหยุดเมื่อถีงเวลา 7โมง15นาที 

การตั้งเวลา 1.on -1.off จนถึง 20.on- 20.off ถ้าเป็นวันเดียวทั้งหมดควร ตั้งให้เป็นเวลาต่อเนื่องกันไปเป็นลำดับตั้งแต่เช้ามืดเวลา0นาฬิกา จนถึงก่อนเที่ยงคืน 23:59น. จะได้จำได้ง่าย แต่ยังไงก็ตามถ้าไม่ได้ตั้งคร่อมเวลาจริงมันก็ยังทำงานได้ถูกต้อง

**ถ้าต้องการลบบางโปรแกรมให้เข้าไปดูโปรแกรมนั้นก่อนกดP  จากนั้นกดปุ่มMANUALเพื่อล้างค่าทีละโปรแกรม การลบทิ้งเพื่อตั้งใหม่จะไม่มีปัญหา แต่การลบทิ้งไปเลยแต่โปรแกรมหลังๆยังทำงานอยู่ได้จะทำให้สับสนว่าเราตั้งที่หมายเลขโปรแกรมที่เท่าไหร่กันแน่

โหมด2B. pulse

       โหมด2B.pulse พัลส์ (pulse แปลว่าจังหวะสั้นๆ) เป็นโหมดย่อยของเครื่องตั้งเวลา ทำหน้าที่สั่งให้ทำงานเป็นจังหวะสั้นๆอัตโนมัติ ใช้เวลาตั้งแต่ 1 วินาที ถึง 59นาที59วิ  **ขนาดช่วงเวลาสั้นๆ(พัลส์)ดังกล่าวจะตั้งได้ทีเดียวและมีได้ค่าเดียวในตอนเข้าโหมด และที่เหลือคือการตั้งเวลาจริงๆ(?กี่โมง ?วันไหน)ที่จะให้พัลส์สั้นๆนั้นทำงาน(ยิงพัลส์) ตั้งเวลาได้ 1-20.on โปรแกรม ซึ่งหน่วยความจำโปรแกรมนี้แยกกันโหมด1A.on&off คือของใครของมัน หน้าออโต้ของโหมดนี้จะมีPกระพริบเป็นตัวบอกโหมด

ตัวอย่างคือ กริ่งโรงเรียน หรือการเติมอากาศเข้าปุ๋ยหมัก ปั๊มเติมน้ำเข้าบ่อจุลลินทรีย์ ที่อาศัยเวลาเปิดเข้าทำงานสั้นๆที่เท่ากันๆทุกครั้ง แล้วแต่เวลาที่ต้องการ ตัวอย่างในตารางทางขวามือคือกระดิ่งเข้าทำงานเวลา 8โมง ดัง 5วินาที เป็นต้น (เมื่อกำหนดขนาดพัลส์เป็น 5 วินาทีแล้ว ที่เวลาอื่นๆก็ต้องทำงาน 5 วินาทีเหมือนๆกันหมด ไม่สามารถตั้งเป็นหลายๆขนาดพัลส์ได้)

 1.
คำสั่ง กดเข้า จาก1A> , เข้าโหมด2B.พัลส์ หน้าจอ ตัวP จะยังไม่กระพริบ ต้องตั้งค่าให้ครบ NO.1-4 ก่อน
 2.
ตั้งขนาดพัลส์ >> 0-59 นาทีเช่น กระดิ่งดัง 0นาที 5วิ 3.
ตั้งขนาดพัลส์ >> 0-59วินาที
 4.
จำ ,สิ้นสุดการตั้งค่า ตัวP จะกระพริบตลอดเวลาถือว่าเข้าโหมดโดยสมบูรณ์แล้ว 
     No. 5-8 เป็นการตั้งเวลาเพื่อยิงพัลส์ ด้วยขนาดพัลส์(จังหวะ)ที่ตั้งไว้แล้ว 5.
ดู, กดเพื่อตั้งโปรแกรม 1.on เพื่อกำหนดเวลายิงจังหวะ เช่น 8โมงเช้า เที่ยง บ่าย15:45
 6.
ตั้งเวลาเริ่มทำงาน กี่โมง กี่นาที วันไหนบ้าง ให้กดทีละปุ่ม
 7.ตั้ง 2.on ไป No.5.   ถ้า  จบการตั้ง ไป No.6.ตั้งโปรแกรมเพิ่ม .2.on -20.on 8.
เสร็จสิ้น ,ออกแล้วไปหน้าออโต้ในหน้าเวลาจริงของโหมด2B.pulse

   ถ้าต้องการตั้งขนาดพัลส์ no.1-4ใหม่ ให้ออกจากโหมดก่อนแล้วเข้ามาใหม่ ตัวโปรแกรมเวลา1.on-18.on จะไม่หายไปไหน

 //
คำสั่ง ออก- ออกจากโหมด 2B.pulse กลับไปยังโหมด >1A.on&off  (ในกรณ๊ไม่ใช้โหมดนี้แล้ว จะกลับไปโหมด1A

- -

โหมด3C. count down

        โหมดนับถอยหลัง (3c.count down) เป็นโหมดย่อยแบบกดปุ่มสั่งด้วยมือ สั่งให้รีเลย์ทำงานทันที(on)และทำการนับถอยหลังค่าที่ตั้งเอาไว้เพื่อหยุดทำงาน สามารถตั้งค่าได้ 1วินาที - 99นาที59วินาที  สัญลักษณ์หน้าคือ d ดังข้างล่าง

โหมด3 นับถอยหลัง ตัวเลข 7:02 หมายถึงค่าที่ตั้งไว้ให้ทำงานแบบนับถอยหลัง นาน 7 นาที 2 วินาที

เป็นโหมดแมนน่วลเพิ่มเติมใช้สั่งงานเช่น ต้องการรดน้ำเพิ่มจากเดิมทันที 10นาที โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมเดิม เมื่อเข้าโหมดหรือออกจากโหมดโปรแกรมที่ตั้งไว้ในโหมดอื่นๆเช่น 1A.on&off หรือ 1B.pulse จะไม่หาย แต่เมื่อเข้าใช้งานโหมดนี้เสร็จถ้าต้องการให้ทำงานออโต้หรืออัตโนมัติเหมือนเดิมอย่าลืมออกจากโหมด count down ด้วยนะครับ

 1.
คำสั่ง ,กดเข้า จาก1A>เข้าโหมด3C.count down นับถอยหลัง  
 2.
ตั้งเวลานับ >> 0-99 นาที
 3.
ตั้งเวลานับ >> 0-59 วินาที
 4.
กดปุ่มให้ On ทำงานทันที ตัวเลขจะนับถอยหลังเพื่อหยุดทำงานจนเหลือ 0:00 แล้วจะกระพริบกลับเป็นค่า14:30อีกครั้ง 5.
ถ้าจะหยุดทำงานกลางคัน แล้วรีเซทค่าเวลานับให้เท่าเดิม
 6.ทำงานอีกครั้ง No.4.   ถ้า ตั้งค่านับใหม่ ไป No.2.

ถ้าต้องการออกจากโหมด ก็กดปุ่มเหมือนกับตอนที่เข้ามา

 //
คำสั่ง ออก- ออกจากโหมด 3C.count down กลับไปยังโหมด >1A.on&off  

- -

การตั้งค่าปรับเวลาชดเชยให้เที่ยงตรง

       เราสามารถใส่ค่าปรับเวลาหรือค่าชดเชยให้เวลาเที่ยงตรงขึ้น โดยมนุษย์ต้องเป็นผู้ใส่เข้าไปเอง สามารถชดเชยเวลาให้เร็วขึ้นหรือช้าลงได้ วันละ +3วินาที(ให้เครื่องเร็วขึ้น)  ถึงวันละ -3วินาที(ให้เครื่องช้าลง) โดยมีความละเอียดการปรับอยู่ที่0.5วินาที/วัน  โดยค่าชดเชยที่ใส่จะมีค่า(30, 25, 20, 15, 10, 05, 00, -05, -10, -15, -20, -25, -30) ซึ่งมีความหมายว่าเมื่อหารด้วยสิบจะมีค่าเป็นวินาที เช่น
    ใส่ค่า 30  (เอา30/10 หมายถึง) =   3  วินาที
    ใส่ค่า 05  (เอา05/10 หมายถึง) =  0.5 วินาที

เมื่อเข้าหน้าปรับค่าชดเชยความเพี้ยนของเวลาได้ จะสังเกตว่าข้างล่างมุมซ้ายจะมีคำว่า 1d  และก่อนวัดนาฬิกาว่าช้าหรือเร็วต้องใส่ค่า 1d 00 ก่อนเสมอเพื่อดูว่านาฬิกาเดินได้ตรงหรือไม่ มีค่าความคลาดเคลื่อนเท่าไหร่

เนื่องจากค่าความผิดพลาดของเวลาเครื่องAHC15Aเองไม่เกิน+-2วินาที/วัน โดยส่วนมากจะเกิดจากอุณหภูมิ ซึ่งเครื่องที่ขายตามท้องตลาดที่มีความคลาดเคลื่อนต่ำๆและมียี่ห้อดังๆและราคาสูงจะไม่สามารถปรับค่าอะไรได้เลยแต่มีค่าความผิดพลาดอยู่ที่ไม่เกิน+-1วินาที/วัน โดยส่วนใหญ่หรืออาจต่ำกว่าเล็กน้อย

การตั้งค่าปรับเวลาชดเชยให้เครื่องเที่ยงตรงขึ้น เป็นการปรับค่าที่มีประโยชน์มากซึ่งฟังก์ชั่นนี้ไม่ค่อยมีในเครื่องตั้งเวลาชนิดอื่นๆ แต่วิธีการปรับค่าไม่ใช่เพียงแต่ใส่ตัวเลขค่าปรับเวลาเท่านั้น แต่ต้องเข้าใจวิธีที่เครื่องใช้ค่าปรับเวลาที่ใส่เข้าไป รวมถึงการที่ไทมเมอร์ AHC15Aหน้าจอจะไม่มีตัวเลขใดๆที่แสดงเวลาเป็นวินาที จึงต้องใช้วิธีที่ต้องสังเกตค่าการนับเวลาในใจ รวมถึงความอดทนในการเก็บค่าข้อมูลคาดเคลื่อนของเวลาที่ต้องจดเอาไว้เป็นวินาทีอีกด้วย 

สิ่งแรกการปรับค่าเวลาใดๆก็ตามต้องมีค่าเวลาอ้างอิงที่มีค่าความคลาดเคลื่อนน้อย เช่น นาฬิกาที่อิงค่านาฬิกาอะตอม(Atomic clock) ซึ่งเป็นนาฬิกาที่สร้างขึ้นด้วยการจับค่าพลังงานการแผ่รังสีของอะตอม และมีการกระตุ้นย้อนเมื่อพลังงานตกลงเพื่อให้เกิดความถี่ที่แน่นอนและมีความคลาดเคลื่อนน้อยมาก เช่นตัวอย่างในวีดีโอข้างล่างอธิบายการคงเวลาของนาฬิกาอะตอม ซึ่งมีธาตุซีเซี่ยมแผ่รังสีออกมาและทำการจับพลังงานของรังสีดังกล่าว ถ้าพลังงานความถี่ของการสั่นมีค่าต่ำลงจะมีวิธีการกระตุ้นพลังงานแบบย้อนกลับ ทำให้ได้ค่าความถี่ของการสั่นเกือบเท่าเดิมและมีค่าคาดเคลื่อนไม่ถึง1วินาทีใน1หมื่นปี VDO Youtube-- How an atomic clock works, and its use in the global positioning system (GPS) -- CC by  engineerguy 

ซึ่งในทุกประเทศส่วนใหญ่จะมีนาฬิกาอะตอมมิกไว้เปรียบเทียบเวลาให้ตรงกัน เพื่อใช้งานต่างๆตั้งแต่ดาวเทียม เซิฟเวอร์เว็บไซต์ต่างๆ ไปจนเทียบเวลาต่างๆกับนาฬิกาข้อมือ หรือแม้แต่มือถือโดยเฉพาะแอนดรอยด์ที่จะเช็กและโหลดเวลาจากศูนย์ให้บริการข้อมูลเวลาอะตอมมิก  เราไม่สามารถใช้นาฬิกาข้อมือธรรมดาของเราที่ปรกติก็มีความคาดเคลื่อนสัปดาห์ละ+-1 ถึง+-2วินาที อยู่แล้ว แม้ว่าสัญญาณนาฬิกาที่ทำจากควอทช์จะค่อนข้างเที่ยงตรงแต่มันแปรผันตามอุณหภูมิจึงไม่สามารถบอกได้ว่านาฬิกาของเราคาดเคลื่อนไปเท่าไร 

วิธีการสังเกตและนับค่าว่า AHC15A มีค่าคลาดเคลื่อนต่อสัปดาห์เท่าไหร่?

1. ให้เข้าเว็บไซต์ที่มีการให้ค่านาฬิกาที่อิงค่านาฬิกาอะตอม เช่น time.is จากนั้นปรับค่าเวลาของไทม์เมอร์ AHC15A ให้ตรงใกล้เคียงที่สุด โดย เมื่อดูนาฬิกา

พบว่าตอนนี้เวลา 20:02นาที:28วินาที ให้เราตั้งเวลารอไว้ที่ 20:02 เมื่อเวลาที่ time.is ถึงค่า 20:02:59วินาที เรารีบกดตั้ง(AHC15A)เป็น 20:03น. ลองเช็กความเที่ยงตรงอีกครั้งว่าคาดเคลื่อนต่ำกว่า-1วินาที ถ้าไม่ได้ให้ทำอีกครั้ง 

2. เมื่อเวลาผ่านไป10วัน เช่นวันที่ตั้งค่าเดิมเป็นวันหนึ่งเวลา20:03น. พอผ่านไปอีก10วัน ที่เวลาเดิมคือ20:03น. เปิดหน้า time.is อีกครั้ง แล้วใช้วิธีการสังเกตด้วยการนับเวลาวินาที(ของAHC15A)ในใจว่าช้าหรือเร็วไปกี่วินาที ทำอีกครั้งจนได้ค่าสังเกตที่ใกล้เคียงและมีความแน่ใจพอ เช่น นับวินาทีพบว่าเร็วกว่า time.is 14 วินาทีพอดี หมายความว่า มีค่าคลาดเคลื่อนคือ AHC15A จะเร็วขึ้น 14วินาทีในทุกๆ 10วัน ( 1ปีจะเร็วขึ้นไป ราว 8นาที30วิ เดือนละราว43วินาที เอาไปตั้งกดออดเข้างานอะไรก็ลำบาก) ให้นำค่าเออเร่อนี้เช่น14มาหาร10วันซึ่งจะได้ค่าเป็น1.4วินาทีต่อวัน แต่ค่าปรับเวลาที่เราใส่ได้มีแค่-10(-1วิ/วัน) หรือ 15(-1.5วิ/วัน) ให้เราเลือกค่าที่ทำให้เวลาเดินได้ใกล้เคียงที่สุดในที่คือค่า -15(มีค่าให้นาฬิกาช้าลงอัตโนมัติ-1.5วินาที/วัน)

สมมติถ้านับและคำนวนแล้วเร็วกว่าtime.is 1วิ/วัน ให้ใส่ค่า-10เพื่อปรับเวลาให้ช้าลง แต่ ถ้าช้าไป0.5วิ/วันให้ใส่+05เพื่อปรับให้เร็วขึ้น0.5วิ/วัน

3. ถ้าเราต้องการใส่ค่าปรับเวลา ขอให้เข้าใจวิธีการหลักการปรับเวลาของเครื่องมีดังนี้  

ไทม์เมอร์ AHC15A จะทำการเพิ่มหรือลดวินาทีที่ผิดพลาดให้เที่ยงตรงขึ้น ในทุกๆวัน 0.5-3วินาที โดยอัตโนมัติ (ค่า30=3วินาที/วัน)

เมื่อใส่ค่าชดเชยแล้ว วันทั้งวันจะมีการปรับค่าอยู่2ครั้ง ครั้งนึงกินเวลา1-2ชม. โดยทำการปรับเวลาให้เร็วขึ้นหรือช้าลง ทำให้เวลาเดินไม่ตรงเนื่องจากมีบางครั้งอยู่ๆจะมีเวลาเร็วหรือช้าขึ้นมากถึง20วินาที ซึ่งจะไม่สามารถเอาเป็นค่าอ้างอิงเวลามาตรฐานกับ time.is ได้ เป็นการชดเชยค่าโดยรวมไม่ให้มากหรือน้อยกว่า20วินาที เมื่อผ่านช่วงปรับเวลาซึ่งจะเกิดขึ้นเวลาใดไม่รู้ หลังจากนั้นแล้วเวลาจะเดินตรงขึ้นเอง  

สมมติว่าเราวัดคำนวนแล้วว่า1วัน AHC15A เร็วไป1.4วินาที เราสามารถใส่ได้เพียง-15 ให้จำค่านี้เอาไว้ โดนขั้นตอนแรกสุดต้องให้ตั้งเวลาให้ตรงกับtime.is แล้วใส่ค่าชดเชยตามขั้นตอนข้างล่าง

 1.
ตั้งเวลาให้ตรงก่อน ด้วยการอิงค่านาฬิกาอะตอมมิก   2.
เข้าหน้าปรับค่าชดเชยเวลา   
 3.
ตั้งค่าปรับเป็น -30 ถึง +30 /วัน (-3ถึง3วิ/วัน) 
 4.
จำ แล้วออกจากหน้าปรับ แล้วเข้าหน้าออโต้เพื่อดูเวลาจริง

ด้วยวิธีการปรับค่าแบบนี้ ค่าคลาดเคลื่อนเวลาจะเหลือต่ำกว่า +-2 วินาที/สัปดาห์  ปีนึงจะคลาดเคลื่อนไม่เกิน2นาที

- - จบแล้วจ้า

5. ตัวอย่างการต่อไฟใช้งาน Wiring example

       เนื่องจากต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ไทม์เมอร์AHC15A นำไปต่อใช้งานไฟบ้าน220VAC ผู้ที่มีความชำนาญด้านช่างไฟฟ้ามาก่อนไม่มีปัญหา แต่ผู้ที่ไม่เคยต่อปลั๊กไฟ ต่อหลอดไฟใช้งาน ซึ่งเป็นพื้นฐานไฟฟ้าระดับมัธยมต้นมาก่อนจะน่าเป็นห่วงมาก อันตรายจากไฟฟ้าดูด ไฟช็อต ไฟเกิน ที่เป็นอันตรายต่อคนและทรัพย์สินจึงไม่แนะนำให้ทำงานประเภทนี้สำหรับผู้ที่ไม่เคยมีความรู้เรื่องช่างไฟในหัวมาก่อน

       แต่ถ้าต้องการจะเรียนรู้ โดยค่อยๆเรียนรู้ไปจากพื้นฐานจริงๆ ต้องรู้ไฟฟ้าพื้นฐานทั่วไปในบ้านให้เข้าใจก่อน และต้องเคยลงมือปฏิบัติงานทั้งต่อปลั๊ก ต่อหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ใช้งาน โดยต้องทำความเข้าใจถึงอุปกรณ์ตัดตอนไฟประเภทต่างๆ รวมถึงเข้าใจอันตรายและความรุนแรงจากไฟดูดก่อน จึงค่อยแนะนำให้มาสนใจงานประเภทนี้

   หาความรู้พื้นฐานไฟฟ้าบ้านก่อนนะครับที่ข้างล่างเลย

       อย่างไรก็ตามผมจะเขียน เรื่อง วงจรไฟของ AHC15Aแยกออกไปต่างหาก หนักไปทางบทความออกไปทางไฟฟ้าโรงงานแต่จะนำไปประยุกต์ใช้ในบ้านเรือนเกษตร ไร่ นา สวน ซึ่งจะเขียนให้ละเอียดและอธิบายวิธีการเดินสายไฟคอนโทรลอย่างถูกต้องปลอดภัย และสมความตั้งใจในการใช้งานประเภทต่างๆ เพียงแค่มีความรู้เรื่องไฟฟ้าพื้นฐานในบ้าน และรู้จักอุปกรณ์ตัดตอนไฟต่างๆ รู้จักรีเลย์ คอนแท็กเตอร์  ก็สามารถต่อวงจรไฟประเภทนี้ได้อย่างสบาย เพราะแต่ละที่แต่ละจุดความต้องการในงานจริงๆแตกต่างกันออกไปจึงไม่มีสูตรตายตัว

ต่อไปนี้เป็นแนวทางการต่อวงจรควบคุม กับ ไทม์เมอร์ AHC15A ซึ่งต้องเข้าใจวงจรภายในคือรีเลย์ว่ามีลักษณะสวิทช์อย่างไรจึงต่อใช้งานได้ถูกต้อง ซึ่งรีเลย์ในไทม์เมอร์ชนิดนี้เป็นแบบ SPDT single pole double throw ซึ่งมี1สวิทช์มีสองจังหวะการทำงาน ประกอบด้วยขาต่อ3ขา NO com NC ดังรูปครับ ซึ่งมันทำหน้าที่เหมือนสวิทช์ตัวนึงซึ่งเราจะต่อไฟ12Vหรือ24V หรือ220Vac เข้าที่ขาคอมได้ครับ ไม่จำกัดไฟเข้า220Vac เพราะสวิทช์รีเลย์จะถูกแยกขาดกับไฟเข้า220Vacที่ขา1และ2ของไทม์เมอร์  แต่ส่วนใหญ่เมื่อนำไปใช้งานจะต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้า220Vac

 

AHC15A wiring diagram , การต่อวงจรไฟ AHC15A --ลิขสิทธิ์ภาพถูกต้อง ท่านสามารถนำไปใช้งานได้ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับการค้า โดยต้องระบุว่า CC-NC by pui108diystore

ภาพการ์ตูนแสดงตัวอย่างการลากสายไฟ ไปยังตู้คอนโทรลขนาดเล็ก จาก LNG ตู้เมน ปลั๊ก --ลิขสิทธิ์ภาพถูกต้อง ท่านสามารถนำไปใช้งานได้ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับการค้า โดยต้องระบุว่า CC-NC by pui108diystore

ภาพการ์ตูนแสดงตัวอย่างการต่อไฟ วงจรไฟ ที่ตู้ไฟ อุปกรณ์ตั้งเวลา AHC15A สั่งจ่ายไฟ 220VAC โดยตรง จ่ายหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ หลอดไส้ และวาล์วสำหรับรดน้ำต้นไม้  --ลิขสิทธิ์ภาพถูกต้อง ท่านสามารถนำไปใช้งานได้ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับการค้า โดยต้องระบุว่า CC-NC by pui108diystore

ภาพการ์ตูนแสดงตัวอย่างการต่อไฟ วงจรไฟ ที่ตู้ไฟ อุปกรณ์ตั้งเวลา AHC15A สั่งจ่ายไฟโดยตรง จากหม้อแปลง 24VAC วาล์วจ่ายน้ำการเกษตร วาล์วรดน้ำต้นไม้ สไตล์ยุโรปและอเมริกา  --ลิขสิทธิ์ภาพถูกต้อง ท่านสามารถนำไปใช้งานได้ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับการค้า โดยต้องระบุว่า CC-NC by pui108diystore

ภาพการ์ตูนแสดงตัวอย่างการต่อไฟ วงจรไฟ ที่ตู้ไฟ อุปกรณ์ตั้งเวลา AHC15A สั่งจ่ายไฟสัญญาณ เพื่อสั่งผ่านรีเลย์ขับวาล์วรดน้ำต้นไม้ 24VAC และแม็กเนติกคอนแท็กเตอร์แอร์เพื่อขับปั๊มน้ำ 220VAC 1-3hp พร้อมๆกัน  --ลิขสิทธิ์ภาพถูกต้อง ท่านสามารถนำไปใช้งานได้ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับการค้า โดยต้องระบุว่า CC-NC by pui108diystore

  ในวงจรด้านบนถ้าต้องการนำไปขับมอเตอร์อย่างเดียวให้ตัดรีเลย์และหม้อแปลงทิ้งเลยครับและนำสายสัญญาณสั่งจาก AHC15Aที่เดิมต่อเข้าคอยล์รีเลย์ มาต่อตรงเข้าคอยล์ของแม็กเนติกคอนแท็กเตอร์เลยครับ พูดอย่างนี้ถ้าเข้าใจแสดงว่าไปต่อได้ครับ ถ้ายังต้องกับไปเรียนพื้นฐานไฟฟ้าโรงงานใหม่โดยเฉพาะรีเลย์ กับแม็กเนติกครับ

แล้วผมจะค่อยเขียนไปนะครับ ที่เว็บนี้แหละครับ

โดยหลักถ้ารู้จักอุปกรณ์รีเลย์และไทม์เมอร์รีเลย์ มีไทม์เมอร์ดิจิตอล AHC15A ตัวเดียวส่งสัญญาณไปสั่งไทม์เมอร์รีเลย์ ให้ทำงานรดน้ำต้นไม้เป็นโซนๆต่อๆกันไปได้ คือสั่งทำงานต่อๆกันไปได้ตั้งแต่ 2 โซน-10โซน 20โซนก็ทำได้ครับ หรือจะต่อโซนเพิ่มในภายหลังก็ได้ เพียงแต่ต้องเข้าใจอุปกรณ์เพิ่มเติมของ ไทม์เมอร์รีเลย์ และตัดสินกันที่ราคาเมื่อต่อเข้าไปแล้วราคาต่อโซนที่เพิ่มขึ้นรับได้หรือเปล่า เช่น400-500 บาทต่อโซน เพิ่ม 10 โซน ราคาอยู่ที่ 4-5พ้นบาท เรียกว่าการสั่งทำงานแบบซีรีย์ โดยใช้การสั่งงานครั้งแรกจากAHC15A ด้วยเวลาจริง ส่วน ไทม์เมอร์รีเลย์เป็นการสั่งงานแบบตั้งเวลาย่อยในแต่ละโซนครับ ไว้จะกล่าวถึงในบทความอื่นอีกที รวมถึงวงจรด้วยครับ 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน