งานด้านบัญชีเป็นงานด้านใดของสำนักงาน

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้

Show

คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

หน้าที่ของสำนักงานบัญชี บริษัททำบัญชี ที่รับจ้างทำบัญชี คืออะไร?

จ้างทำบัญชีคือทำอะไร?  บริการรับทำบัญชีควรต้องทำอะไรให้บ้าง? เป็นคำถามที่เจ้าของกิจการ / ผู้ประกอบการ หลายท่านสงสัย

วันนี้เราจะมาดูกันว่า บริการรับทำบัญชี คือทำอะไร....สำนักงานบัญชี / บริษัททำบัญชี ที่รับทำบัญชีนั้น มีหน้าที่ต้องทำงานอะไรให้บ้าง


บริการรับทำบัญชี ประกอบด้วยบริการดังต่อไปนี้

  1. สิ่งที่ต้องทำเพราะกฎหมายบังคับ
    • ยื่นแบบภาษีและประกันสังคมรายเดือน
    • ทำบัญชีและปิดงบการเงินประจำปี
    • ยื่นงบการเงินและภาษีประจำปี
  2. สิ่งที่กฎหมายไม่ได้บังคับ แต่ทำเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานของธุรกิจ
    • งานบัญชีบริหาร
    • งานให้คำปรึกษาด้านบัญชี-ภาษีอากร

อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่านี่เป็นเพียง “ตัวอย่าง” ของขอบเขตบริการรับทำบัญชีเท่านั้น!

ไม่ได้หมายความว่าทุกสัญญาการจ้างทำบัญชีจะต้องครอบคลุมทั้งหมดนี้ 

เพราะขอบเขตของแต่ละสัญญาจ้าง จะต้องขึ้นกับข้อตกลงระหว่างคู่สัญญานั้นๆ (ก็คือขึ้นกับข้อตกลงระหว่างผู้ประกอบการและสำนักงานบัญชี) ว่าต้องการขอบเขตงานมาก-น้อยเพียงใด เงื่อนไข และอัตราค่าจ้างเท่าใด

งานด้านบัญชีเป็นงานด้านใดของสำนักงาน

   

1. สิ่งที่ต้องทำเพราะกฎหมายบังคับ

1.1 ยื่นแบบภาษีและประกันสังคมรายเดือน

  • ยื่นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
    • ภ.ง.ด.1    หากมีการจ่ายเงินให้พนักงาน
    • ภ.ง.ด.3   หากมีการจ่ายเงินให้บุคคลธรรมดา
    • ภ.ง.ด.53  หากมีการจ่ายเงินให้นิติบุคคล
    • ภ.ง.ด.54  หากมีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ
  • ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • ภ.พ.30  พร้อมจัดทำรายงานภาษีซื้อ, รายงานภาษีขาย,  รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
    • ภ.พ.36  หากมีการจ่ายค่าบริการไปต่างประเทศ
  • ยื่นประกันสังคม
    • นำส่งเงินสมทบประกันสังคมรายเดือน
    • แจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่
    • แจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนหากลูกค้าลาออก

   

1.2 ทำบัญชีและปิดงบการเงินประจำปี

  • ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี เช่น ใบเสร็จรับเงิน, ใบกำกับภาษี เป็นต้น
  • จัดทำบัญชีรายวัน 5 เล่มตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ บัญชีเงินสด, บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร, บัญชีรายวันซื้อ, บัญชีรายวันขาย และบัญชีรายวันทั่วไป
  • จัดทำบัญชีแยกประเภทต่างๆ เช่น บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ เป็นต้น
  • จัดทำบัญชีสินค้า
  • จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน
  • ปิดบัญชีประจำปี จัดทำข้อมูลประกอบการปิดงบการเงิน เช่น สรุปรายการคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด, การกระทบยอดเงินฝากธนาคาร และบัญชีต่างๆ เป็นต้น
  • จัดทำงบการเงินประจำปี ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน, งบกำไรขาดทุน, งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น, และหมายเหตุประกอบงบการเงิน
  • ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของนิติบุคคล
  • ให้ข้อมูลและตอบคำถามผู้สอบบัญชี ในการตรวจสอบและรับรองงบการเงิน
       

1.3 ยื่นงบการเงินและภาษีประจำปี

  • ยื่นแบบภาษีภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51)
  • ยื่นแบบสรุปการจ่ายค่าจ้างและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายประจำปี (ภ.ง.ด.1ก)
  • ยื่นแบบสรุปรายการนำส่งเงินสมทบประกันสังคมประจำปี (กท.20)
  • นำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
  • นำส่งงบการเงินประจำปี (ส.บช.3)
  • ยื่นแบบภาษีภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นปี (ภ.ง.ด.50)
       

2. สิ่งที่กฎหมายไม่ได้บังคับ แต่ทำเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานของธุรกิจ

ข้อด้านล่างนี้ กฎหมายไม่ได้บังคับ แต่กิจการอาจเลือกจ้างสำนักงานบัญชีให้ทำงานเหล่านี้ให้ด้วยได้ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของกิจการ

2.1 งานบัญชีบริหาร

  • ปิดงบและรายงานผลการดำเนินงาน รายเดือน หรือ รายไตรมาส (ความถี่แล้วแต่ตกลง) แก่ผู้บริหาร/เจ้าของกิจการ
  • วิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขผลประกอบการ  เพื่อให้สามารถนำตัวเลขมาใช้ในการปรับกลยุทธ์ได้อย่างทันท่วงที
       

2.2 งานให้คำปรึกษาด้านบัญชี-ภาษีอากร  

  • วางระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายใน เช่น กำหนดรูปแบบเอกสารที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ กำหนดขั้นตอนระบบการทำงานและผังวงจรเอกสารภายใน เป็นต้น
  • การวางแผนภาษีทั้งภาษีนิติบุคคล และอาจครอบคลุมไปถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าของ
        

จ้างทำบัญชีมีข้อดีอย่างไร? ทำไมควรจ้างสำนักงานบัญชี?

ข้อดีของการจ้างสำนักงานบัญชี / บริษัททำบัญชี คือ

1. ราคาถูกกว่าการจ้างพนักงานประจำ

การจ้างสำนักงานบัญชี หรือจ้างบริษัททำบัญชี มีต้นทุนที่ต่ำกว่าการจ้างพนักงานประจำมากๆ เช่น ถ้าจ้างพนักงานบัญชีประจำ  พนักงาน ป.ตรี บัญชี 1 คน เริ่มต้นที่ 15,000บาท/เดือน ซึ่งเรทเงินเดือนนี้คือเรทเด็กจบใหม่ ที่ประสบการณ์ยังไม่มากนัก จึงอาจไม่สามารถรับมือกับประเด็นบัญชี-ภาษีที่ซับซ้อนของกิจการได้  (จากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนบอกได้เลยค่ะว่า โลกของตำราเรียนนั้น เล็กกว่าชีวิตจริงมากๆๆๆๆ)

  

2. ลดความผิดพลาดของการทำบัญชี ยื่นภาษี

สำนักงานบัญชีมีความเชี่ยวชาญ และเปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ด้านบัญชีและภาษี จึงลดความผิดพลาดของการทำบัญชี ยื่นภาษีได้ (อย่างไรก็ตาม ขึ้นกับปัจจัยที่คุณใช้ในการตัดสินใจเลือกจ้างคือ ความเชี่ยวชาญ/คุณภาพ หรือ ราคาถูกเป็นหลัก นะค้า)

  

3. ได้ที่ปรึกษาส่วนตัว

สำนักงานบัญชี ยังเป็นที่ปรึกษาให้แก่เจ้าของกิจการในประเด็นบัญชี-ภาษี ต่างๆได้ด้วย  การมีที่ปรึกษาวางแผนที่ดีจะช่วยคุณประหยัดภาษีได้

   

4. มีเวลาทุ่มเทกับธุรกิจได้เต็มที่

การจ้างสำนักงานบัญชีจะช่วยแบ่งเบาภาระของเจ้าของได้มาก เจ้าของกิจการไม่ต้องเสียเวลา ไม่ต้องปวดหัวกับเรื่องบัญชี-ภาษี  ทำให้เจ้าของมีเวลาไปโฟกัส ทุ่มเทกับการทำธุรกิจได้เต็มที่

     

ค่าทำบัญชี ควรจ้างที่เท่าไหร่?

จะเห็นได้ว่างานของการทำบัญชีนั้นไม่น้อยเลย และนี่เป็นเพียง overview กว้างๆเท่านั้น  รายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละงานยังมีอีกเยอะแยะมากมาย เพราะการทำบัญชีมีกฎหมายครอบอยู่ เช่น มาตรฐานบัญชี และประมวลรัษฎากร เป็นต้น  อีกทั้งแต่ละกิจการก็มีประเด็นและความซับซ้อนที่แตกต่างกันไป 

   
ดังนั้น หากได้รับใบเสนอราคาค่าทำบัญชีมาจากสำนักงานบัญชี  ไม่ควรเปรียบเทียบแค่ราคาเท่านั้น ขอให้พิจารณาราคาควบคู่ไปกับขอบเขตงาน (ราคาถูกกว่าอาจจะเกิดจากขอบเขตงานที่น้อยกว่าก็เป็นได้) รวมไปถึงความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ คุณภาพ และความน่าเชื่อถือของสำนักงานบัญชีที่คุณจะจ้างด้วยค่ะ

   

ควรเลือกสำนักงานบัญชีอย่างไร?

5 ปัจจัยเบื้องต้นในการเลือกสำนักงานบัญชี คือ

  1. มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย
  2. มีความรู้บัญชี-ภาษี-ธุรกิจ
  3. มีตัวตน หลักแหล่งชัดเจน
  4. ติดต่อได้ง่าย
  5. ตรงไปตรงมา

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

   

ทำไมต้องทำบัญชี?

คำตอบนี้สั้นๆง่ายๆ คือ เพราะกฎหมายบังคับว่า “ต้องทำ” 

พรบ.การบัญชี กำหนดให้นิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องจัดทำบัญชี และนำส่งงบการเงินเป็นประจำทุกปี  อีกทั้งยังต้องยื่นแบบและเสียภาษีต่างๆทั้งรายเดือนและรายปีตามที่ได้ระบุไว้ข้างต้นด้วย

  
การไม่ทำบัญชีและไม่จัดให้มีผู้ทำบัญชี  นิติบุคคลและกรรมการต้องระวังโทษปรับรวมสูงถึง 80,000บาท บวก รายวันอีกวันละ 2,000บาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง 

งานสำนักงานบัญชี มีอะไรบ้าง

จัดทำบัญชีแยกประเภทต่างๆ เช่น บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ จัดทำบัญชีสินค้า จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน ปิดบัญชีประจำปี จัดทำข้อมูลประกอบการปิดงบการเงิน เช่น สรุปรายการคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด การกระทบยอดเงินฝากธนาคาร และบัญชีต่างๆ ฯลฯ

สํานักงานบัญชี คืออะไร

สำนักงานบัญชีเป็นสำนักงานที่ประกอบด้วยผู้ทำบัญชีหลายคนช่วยกันทำงานร่วมกัน เพื่อให้บริการรับทำบัญชีให้แก่ลูกค้า โดยส่วนมากสำนักงานบัญชีจะดำเนินธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล เพื่อให้ดูมีความน่าเชื่อถือมากกว่าการดำเนินธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา

นักบัญชี มีหน้าที่อะไรบ้าง

โดยนักบัญชีจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ๆ ดังนี้ ทำบัญชีรายรับ บัญชีรายจ่าย ให้กับองค์กร ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารทางบัญชี บันทึกการจ่ายเงิน การรับเงิน และธุรกรรมทางการเงิน ทำงบดุล และรวบรวมรายงานการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด

นักบัญชี ทํางานที่ไหน

เรียนจบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง.
นักบัญชี เจ้าหน้าที่ทางการเงิน (Accountant).
ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี (Tax Specialist).
ผู้ตรวจสอบบัญชี (Auditor).
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA).
ที่ปรึกษาทางบัญชี.
ธุรกิจส่วนตัว.
คุณครู อาจารย์ หรือติวเตอร์ด้านบัญชี.