ภาษาซี ใช้ ตัวแปร ภาษา ชนิด ใด ในการแปล คํา สั่ง

  • การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี
การประกาศตัวแปร

โดย

จีระพงษ์ โพพันธุ์

-

4 สิงหาคม 2019

1

1450

รูปแบบในการประกาศตัวแปรในภาษา C

          การสร้าวตัวแปรขึ้นมาใช้งานจะเรียกว่า  การประกาศตัวแปร (Variable Declaration) โดยเขียนคำสั่งให้ถูกต้องตามแบบการประกาศตัวแปร แสดงดังนี้


type variable;

type:  ชนิดของตัวแปร

variable: ชื่อของตัวแปร  ซึ่งต้องตั้งให้ถูกต้องตามหลักของภาษา C


     การเขียนคำสั่งเพื่อประกาศตัวแปร  ส่วนใหญ่แล้วจะเขียนไว้ในส่วนหัวของโปรแกรมก่อนฟังก์ชัน main ซึ่งการเขียนไว้ในตำแหน่งดังกล่าว  จะทำให้ตัวแปรเหล่านั้นสามารถเรียกใช้จากที่ใดก็ได้ในโปรแกรม  ดัง

ตัวอย่าง


หลักการตั้งชื่อตัวแปร

          ในการประกาศสร้างตัวแปรต้องมีการกำหนดชื่อ ซึ่งชื่อนั้นไม่ใช่ว่าจะตั้งให้สื่อความหมายถึงข้อมูลที่เก็บอย่างเดียว  โดยไม่คำนึงถึงอย่างอื่น   เนื่องจากภาษา C มีข้อกำหนดในการตั้งชื่อตัวแปรเอาไว้ แล้วถ้าตั้งชื่อผิดหลักการเหล่านี้ โปรแกรมจะไม่สามารถทำงานได้ หลักการตั้งชื่อตัวแปรในภาษา C แสดงไว้ดังนี้

          1. ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A-Z หรือ a-z หรือเครื่องหมาย _(Underscore) เท่านั้น

          2. ภายในชื่อตัวแปรสามารถใช้ตัวอักษร A-Z หรือ a-z หรือตัวเลข0-9 หรือเครื่องหมาย _

          3. ภายในชื่อห้ามเว้นช่องว่าง หรือใช้สัญลักษณ์นอกเหนือจากข้อ 2

          4. ตัวอักษรเล็กหรือใหญ่มีความหมายแตกต่างกัน

          5. ห้ามตั้งชื่อซ้ำกับคำสงวน (Reserved Word) ดังนี้



ตัวแปรสำหรับข้อความ

          ในภาษา C ไม่มีการกำหนดชนิดของตัวแปรสำหรับข้อความโดยตรง แต่จะใช้การกำหนดชนิดของตัวแปรอักขระ (char) ร่วมกับการกำหนดขนาดแทน และจะเรียกตัวแปรสำหรับเก้บข้อความว่า ตัวแปรสตริง (string) รูปแบบการประกาศตัวแปรสตริงแสดงได้ดังนี้


char[n] variable;

n : ขนาดของข้อความ หรือจำนวนอักขระในข้อความ

variable : ชื่อตัวแปร


ตัวอย่าง

          Char[10] name; –> สร้างตัวแปรชื่อว่า name เพื่อเก็บข้อความที่มีความยาว 9 อักขระ (ที่เหลือ 9 อักขระเนื่องจากต้องเก็บที่ไว้ให้ตำแหน่งสุดท้ายคือ \0)

          วิธีการกำหนดข้อความให้ตรงกับตัวแปรที่สร้างขึ้นสามารถทำได้หลายแบบ โดยอาจจะกำหนดข้อความทั้งหมดไว้ภายในเครื่อง “ ”


ตัวอย่าง

          char[11] name = “jeeraphong”;

          หรือถ้าต้องการกำหนดแบบเป็นอักขระก็สามารถทำได้ โดยแต่ละอักขระจะต้องเขียนภายในเครื่องหมาย ‘ ’ มีคั่นระหว่างกลางด้วย , และตัวสุดท้ายต้องเป็น \0


ตัวอย่าง

          char[11] name = {‘j’,’e’,’e’,’r’,’a’,’p’,’h’,’o’,’n’,’g’,’\0’};

          ถ้าไม่กำหนดขนาดของตัวแปรที่จะสร้างขึ้น ตัวแปลภาษาซีจะกำหนดให้เอง โดยมีขนาดของตัวแปรเท่ากับจำนวนอักขระในข้อความและบวกตำแหน่งของ \0 อีก 1 ตำแหน่ง


ตัวอย่าง

          char[ ] name = “jeeraphong”; –> ตัวแปลภาษาจะกำหนดขนาดอักขระให้จำนวน 11 ตัว





อ้างอิง

Rungrote, “ตัวแปรในภาษาซี”, //sites.google.com/site/krurote/kar-kheiyn-porkaerm-phasa-si/ray-laxeiyd-menu-phasa-si/tawpaer-ni-phasa-si

สื่อวีดิทัศน์การสอน เรื่อง :: โครงสร้างของภาษาภาษาซี ::

 

———————————————————————————————————————————

โครงสร้างของภาษาภาษาซีแบ่งออกเป็น 4 ส่วนดังนี้

——————————————————————————————————————————

1. ส่วนหัวของโปรแกรม
        ส่วนหัวของโปรแกรมนี้เรียกว่า Preprocessing Directive ใช้ระบุเพื่อบอกให้คอมไพเลอร์กระทำการใด ๆ ก่อนการแปลผลโปรแกรมในที่นี่คำสั่ง #includeใช้บอกกับคอมไพเลอร์ให้นำเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุ
คือ stdio.h เข้าร่วมในการแปลโปรแกรมด้วย โดยการกำหนด Preprocessing Directives นี้จะต้องขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เสมอ
        คำสั่งที่ใช้ระบุให้คอมไพเลอร์นำเฮดเดอร์ไฟล์เข้าร่วมในการแปลโปรแกรมสามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ
        #include <ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์> คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุจากไดเรกทอรีที่ใช้ สำหรับเก็บเฮดเดอร์ไฟล์โดยเฉพาะ (ปกติคือไดเรกทอรีชื่อ include)
        #include “ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์” คอมไพเลอร์จะทำการค้นหาเฮดเดอร์ไฟล์ที่ระบุจากไดเร็คทอรีเดียวกันกับไฟล์ Source Code นั้น แต่ถ้าไม่พบก็จะไปค้นหาไดเร็คทอรีที่ใช้เก็บเฮดเดอร์ไฟล์โดยเฉพาะ

——————————————————————————————————————————

2. ส่วนของฟังก์ชันหลัก
        ฟังก์ชันที่กำหนดชึ้นมาชื่อฟังก์ชัน main() โดยทุกโปรแกรมจะต้องมีฟังก์ชัน main() ทำหน้าที่เป็นฟังก์ชันหลักในการทำงานในการประมวลผลโปรแกรมทุกครั้ง
        ฟังก์ชันหลักของภาษาซี คือ ฟังก์ชัน main() ซึ่งโปรแกรมภาษาซีทุกโปรแกรมจะต้องมีฟังก์ชันนี้อยู่ในโปรแกรมเสมอ จะเห็นได้จากชื่อฟังก์ชันคือ main แปลว่า “หลัก” ดังนั้น การเขียนโปรแกรมภาษาซีจึงขาดฟังก์ชันนี้ไปไม่ได้ โดยขอบเขตของฟังก์ชันจะถูกกำหนดด้วยเครื่องหมาย { และ } กล่าวคือ การทำงานของฟังก์ชันจะเริ่มต้นที่เครื่องหมาย { และจะสิ้นสุดที่เครื่องหมาย } ฟังก์ชัน main() สามารถเขียนในรูปแบบของ int main ก็ได้ มีความหมายเหมือนกัน คือ หมายความว่า ฟังก์ชัน main() จะไม่มีอาร์กิวเมนต์ (Argument) คือไม่มีการรับค่าใด ๆ เข้ามาประมวลผลภายในฟังก์ชัน และจะมีการคืนค่ากลับออกไปจากฟังก์ชันด้วย

main()    เทียบเท่ากับ    void main(void) ----> ไม่คืนค่าใด ๆ กลับออกไปจากฟังก์ชัน

        Argument    คือ  ตัวรับค่าเข้ามาในฟังก์ชัน
        Parameter   คือ  ค่าที่ส่งไปยังฟังก์ชันค่า Argument และ Parameter ต้องเป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน เช่น หากกำหนดให้ Argument เป็นข้อมูลชนิดตัวอักษรแล้วค่า Parameter ที่ส่งไปก็ต้องเป็นชนิดตัวอักษรด้วย

        ตัวอย่างที่ 1 argument และ parameter

#include
void show (char a) -----------> Argument รับตัวอักษร 'a' มาในฟังก์ชัน
{
        printf("%c",a) ;
}
void main(void) Parameter ส่งตัวอักษร 'a' ไปยังฟังก์ชัน show( )
{
        show('a') ;
}

——————————————————————————————————————————

3. ส่วนรายละเอียดของโปรแกรม
         เป็นส่วนของการเขียนคำสั่งต่าง ๆ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ในการเขียนคำสั่งจะเขียนภายในเครื่องหมายปีกกาเปิด { และเครื่องหมายปีกกาปิด } โดยปกติส่วนของการเขียนโปรแกรมจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ
          1) ส่วนของการประกาศตัวแปร คือ ส่วนที่ใช้ในการกำหนดตัวแปรที่จะใช้งานในการเขียนโปรแกรม
          2) ส่วนของคำสั่ง หรือ ฟังก์ชันต่าง ๆ คือ ส่วนที่ใช้ในการกำหนดตัวแปรที่จะใช้งานในการเขียนโปรแกรมพิมพ์ฟังก์ชันเสร็จแล้วจะต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมายเซมิโคลอน ; เสมอ

——————————————————————————————————————————

4. ส่วนของการเปิดโปรแกรมและปิดโปรแกรม
         ตามโครงสร้างของภาษาซีจะต้องมีการกำหนดจุดเริ่มต้นและจบโปรแกรม โดยในที่นี้ใช้เครื่องหมาย
ปีกกาเปิด { ในการระบุตำแหน่งการเริ่มต้นโปรแกรม และใช้เครื่องหมายปีกกาปิด } ในการระบุตำแหน่งการจบโปรแกรม

(แหล่งข้อมูล...  คู่มือเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C ฉบับสมบูรณ์ / อรพิน ประวัติบริสุทธิ์)
(แหล่งข้อมูล...  การเขียนโปรแกรมภาษา C / จีระพงษ์ โพพันธ์)

——————————————————————————————————————————

ซีใช้ตัวแปลภาษาชนิดใดในการแปลคำสั่ง

compile เป็นตัวแปลภาษารูปแบบหนึ่ง มีหน้าที่หลักคือการแปลภาษาโปรแกรมที่มนุษย์เขียนขึ้นไปเป็น ภาษาเครื่อง โดยคอมไพเลอร์ของภาษาซี คือ C Compiler ซึ่งหลักการที่คอมไพเลอร์ใช้ เรียกว่า คอมไพล์ (compile) โดยจะทำการอ่านโปรแกรมภาษาซีทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ แล้วทำการแปลผลทีเดียว

ภาษาซีใช้ตัวแปรชนิดใด

ในภาษา C ไม่มีการกำหนดชนิดของตัวแปรสำหรับข้อความโดยตรง แต่จะใช้การกำหนดชนิดของตัวแปร อักขระ (char) ร่วมกับการกำหนดขนาดแทน และจะเรียกตัวแปรสำหรับเก็บข้อความว่า ตัวแปรสตริง (string) รูปแบบการประกาศตัวแปรสตริงแสดงได้ดังนี้ char name[n] = "str"; name ชื่อของตัวแปร n ขนาดของข้อความ หรือจำนวนอักขระในข้อความ

ภาษาซีเหมาะสมสําหรับการเขียนโปรแกรมลักษณะแบบใด

ภาษาซี C จัดเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่นิยมใช้งาน ซึ่งภาษา c จัดเป็นภาษาระดับกลาง (Middle-Level Language) เหมาะกับการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง (Structured Programming) โดยมีคุณสมบัติโดดเด่นอย่างหนึ่งคือ มีความยืดหยุ่นสูง (Flexible Level) กล่าวคือ สามารถทำงานกับเครื่องมือต่างๆ สามารถปรับเปลี่ยนการเขียนโปรแกรมในรูป ...

Float คือ อะไร ในภาษาซี

ชนิดของข้อมูลในภาษาซี 2. ข้อมูลชนิดตัวเลขทศนิยม (Float) คือ เลขทศนิยมชนิดคงที่ หรืออาจจะเป็นทศนิยม แบบไม่รู้จบ หรืออาจจะเป็นเลขทศนิยมที่เขียนในรูป E (หรือ e) ยกก าลัง ตัวเลขทศนิยมเหล่านี้ สามารถน ามาใช้ในการค านวณได้ ตัวอย่างเลขทศนิยมนี้ได้แก่ 20.25, -0.60 , 58.96 , 5.40e04 เป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน