เชื้อเพลิงชนิดใดควรส่งเสริมในการใช้งาน

การกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

            จากการใช้พลังงานในแต่ละวัน  จะพบว่าในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ของทุกคนเกี่ยวกับการคมนาคมขนส่ง  ซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทั้งสิ้น  แต่ประเทศไทยแหล่งปิโตรเลียมไม่เพียงพอต่อความต้องการการใช้ในประเทศ  ปัจจุบันประเทศไทยจึงต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่า

ร้อยละ 80  ของความต้องการใช้ภายในประเทศ

ตารางที่ 4.4   โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 7 กันยายน 2557 (หน่วย : บาท/ลิตร)

เชื้อเพลิงชนิดใดควรส่งเสริมในการใช้งาน

ภาพที่ 4.4  น้ำมันขายปลีก

ที่มา : http://www.npc-se.co.th/read/npc  สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม  2558

เชื้อเพลิงในชีวิตประจำวัน

            เชื้อเพลิงที่นำมาใช้ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม  ซึ่งได้นำมาใช้ในกิจการต่างๆ  เช่น โรงงานอุสาหกรรม  การคมนาคม  ผละกระทบจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมีผลทำให้สภาพแวดล้อมในปัจจุบันเสื่อมโทรม

            เชื้อเพลิงที่ใช้ในแต่ละวัน  ได้แก่  น้ำมันเบนซินหรือแก๊สโซลีน (Gasoline) เป็นเชื้อเพลิงที่ระเหยง่าย ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นโดยกลั่นหรือตัดเอาส่วนที่เบาพอเหมาะจากส่วนต่างๆ ในกรรมวิธีการกลั่น แล้วเอามาผสมกันและปรุงแต่งด้วยสารเพิ่มคุณภาพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แนฟธา (Naphtha) lsomerate Remformant และสารเติมแต่ง (Additives) เช่น  MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) เอทานอล  เป็นต้น เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้เป็นเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์เบนซิน  ปัจจุบันน้ำมันเบนซินที่ใช้กับรถยนต์มี  2 ชนิด คือ มีเลขออกเทน 92  และ 95 แต่น้ำมันที่กลั่นได้จากโรงกลั่นมีเลขออกเทนเป็น 75 ดังนั้นจึงต้องมีการเติมสารเตตระเมทิลเลด (MTL) หรือ เตตระเอทิเลด (TEL) เพื่อให้มีการเผาไหม้ดีขึ้น  แต่สารที่เติมลงไปนี้เกิดเมื่อการเผาไหม้จะให้ไอของสารตะกั่วออกมาพร้อมกับไอเสียของเครื่องยนต์ปะปนอยู่ในอากาศซึ่งเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ถ้าสะสมอยู่ในร่างกายในปริมาณมากพอ

            ประเทศไทยมีการรณรงค์ลดปริมาณสารตะกั่วในน้ำมันเบนซินมาตั้งแต่ พ ศ. 2530 ปัจจุบันจึงได้มีการห้ามใช้สารเหล่านี้เติมลงในน้ำมัน  และได้เปลี่ยนมาเติม เมทิลเทอร์เชียร์ บิวทิลอีเทอร์ (MTBE) แทน และ เรียกว่า  น้ำมันไร้สารตะกั่ว  หรือยูแอลจี  (ULG:  unleader Gasoline)

            การกำหนดคุณภาพน้ำมัน

            เลขออกเทน (Octane  Number) ค่าตัวเลขที่แสดงเป็นร้อยโดยมวลของไอโซออกเทนใน ของผสมระหว่างไอโซออกเทนกับเฮปเทน  ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้

            เลขออกเทนเป็นตัวเลขที่ใช้บอกคุณภาพของน้ำมันเบนซินในรถยนต์โดยกำหนดประสิทธิภาพการเผาไหม้ของสารประกอบไอโซแบบบริสุทธิ์ มีเลขออกเทนเป็น 100  และให้

ประสิทธ์ภาพการเผาไหม้ของการประกอบนอร์มอลเฮปเทนบริสุทธิ์ มีเลขออกเทนเป็น 0

            น้ำมันเบนซิน ที่มีเลขออกเทนเป็น  70  คือ น้ำมันเบนซินที่มีสมบัตรการเผาไหม้เดียวกับเชื้อเพลิงที่มีไอโซออกเทนร้อยละ 70  และเฮปเทนร้อยละ  30  โดยมวล

            เลขซีเทน (Cetanenuumber)  ค่าตัวเลขที่แสดงเป็นร้อยละโดยมวลของซีเทนในของผสมระหว่าง    ซีเทน (C16H34) และแอลฟาเมทิลแนฟทาลีน (C11H10) ซึ่งเกิดการเผาไหม้หมดเป็นตัวเลขคุณภาพน้ำมันดีเซล  ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงดีเซลที่ใช้ในยานพาหนะ  รถบรรทุก  รถโดยสาร เรือบางประเภท และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่  โดยเลขซีเทนจะแสดงคุณภาพน้ำมันดีเซลที่มีประสิทธิภาพในการเผาไหม้เทียบกับปริมาณของซีเทนเป็นกรัม ที่ผสมอัลฟา (α) – เมทิลแนพทาลีนในน้ำมัน 100 กรัม

            น้ำมันดีเซลที่มีค่าซีเทน 100 หมายถึง  น้ำมันดีเซลที่มีคุณสมบัติในการเผาไหม้เช่นเดียวกับซีเทน ร้อยละ 100  และแอลฟาแนพทาลีนเท่ากับ 0

            น้ำมันดีเซลที่มีเลขซีเทน 100  คือ น้ำมันดีเซลที่คุณสมบัติการเผาไหม้เช่นเดียวกับซีเทน 100%  โดยมวล

            น้ำมันดีเซลที่มีเลขซีเทน 0  คือ น้ำมันดีเซลที่มีสมบัติการเผาไหม้เช่นเดียวกับแอลฟาแมทิลเนฟทาลีน 100% โดยมวล

            น้ำมันดีเซลที่มีเลขซีเทน 80 คือ คือน้ำมันที่มีคุณสมบัติเผาไหม้เช่นเดียวกับซีเทนร้อยละ 80

โดยมวล ในการผสมระหว่างซีเทนและแอลฟาเมทิลเเนฟทาลีน

การเลือกใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า

การเลือกใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า  จะต้องพิจารณาถึงศักยภาพ ของแหล่งเชื้อเพลิง ความมั่นคง ในการจัดหา ราคาของเชื้อเพลิง และปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ของเชื้อเพลิง รวมถึงประเภทของโรงไฟฟ้า ที่ต้องการในระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้ไฟฟ้า ในแต่ละช่วงเวลา ชนิดของเชื้อเพลิงที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)   ได้พิจารณาเพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้า ได้แก่ พลังน้ำน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ลิกไนต์ ถ่านหิน นิวเคลียร์ ออริมัลชั่น (Orimulsion) และการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ยังมีพลังงานทดแทน ได้แก่  พลังงานแสงอาทิตย์  พลังงานลม  และพลังงานความร้อน

ใต้พิภพ  เป็นต้น

นอกจากการพิจารณาชนิดของเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าแล้ว จะต้องพิจารณาประเภทของโรงไฟฟ้า ประกอบด้วย เพราะโรงไฟฟ้าแต่ละประเภท มีความเหมาะสม ในการผลิตไฟฟ้าตามความต้องการ ในแต่ละช่วงเวลาที่ต่างกัน และโรงไฟฟ้าแต่ละประเภทก็มีการใช้เชื้อเพลิงที่แตกต่างกันด้วยโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)  มีการเลือกใช้ประเภทโรงไฟฟ้า และชนิดของเชื้อเพลิงในแต่ละช่วงเวลา ดังนี้

1. โรงไฟฟ้าที่ผลิตพลังงานไฟฟ้า ตามความต้องการพื้นฐาน (Base Load Plant) เป็นโรงไฟฟ้าที่ต้องเดินเครื่องอยู่ ตลอดเวลา จึงเป็นโรงไฟฟ้า ที่ใช้เชื้อเพลิงราคาถูก เป็นลำดับแรก ได้แก่  โรงไฟฟ้าพลังความร้อน (Thermal) ซึ่งใช้น้ำมันเตาหรือถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Cycle) ซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง  และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

เชื้อเพลิงชนิดใดควรส่งเสริมในการใช้งาน

 

ภาพที่ 4.5  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ที่มา : http://www.nst.or.th/article/notes01/article010.htm  สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2558

            2. โรงไฟฟ้าที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าปานกลาง (Intermediate Plant) จะใช้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Cycle) ซึ่งใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงและหากก๊าซธรรมชาติไม่มี จะต้องใช้ดีเซลแทนในกรณีที่เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ซึ่งจะทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงสูงขึ้น

            3. โรงไฟฟ้าที่ผลิตพลังงานไฟฟ้า ช่วงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peaking Plant) มีลักษณะของการเดินเครื่อง เป็นช่วงเวลาที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุดเท่านั้น ได้แก่ โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ ซึ่งใช้น้ำมันดีเซล เป็นเชื้อเพลิง โรงไฟฟ้าพลังน้ำ และโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ

ลักษณะการใช้ไฟฟ้า ของผู้ใช้ไฟแต่ละประเภท จะมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา  ซึ่งจะเป็น ตัวกำหนดประเภทของโรงไฟฟ้า ที่จะเดินเครื่องให้มีความสอดคล้อง กับความต้องการไฟฟ้า ในแต่ละช่วงเวลา ในปัจจุบันลักษณะการใช้ไฟฟ้า ของระบบ แบ่งออกได้เป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ระหว่าง 9.00-22.00 น. และช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าต่ำสุด ระหว่าง 22.00-9.00 น. โดยผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ธุรกิจขนาดเล็ก  และธุรกิจเฉพาะอย่าง  เช่น โรงแรม  จะใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงหัวค่ำ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีลักษณะ การใช้ไฟฟ้าค่อนข้างสม่ำเสมอ ส่วนธุรกิจขนาดใหญ่ จะใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงบ่าย ดังนั้น ในช่วงเวลา ที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก็จำเป็นต้องเดินเครื่องโรงไฟฟ้า ทั้งที่เป็นโรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าตาม ความต้องการพื้นฐาน โรงไฟฟ้า ที่ผลิตไฟฟ้า ช่วงที่มีความต้องการปานกลาง และโรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้า ช่วงที่มีความต้องการสูงสุดไปพร้อมกัน

เชื้อเพลิงชนิดใดควรส่งเสริมในการใช้งาน

ภาพที่ 4.6  การผลิตไฟฟ้าจำแนกตามชนิดของเชื้อเพลิง

ที่มา : http://www.eppo.go.th/doc/doc-alterfuel.html  สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2558

ปัจจัยที่สำคัญในการเลือกเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า คือ ต้นทุนที่ต่ำ โดยต้นทุน จะประกอบด้วย ต้นทุนค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้า ต้นทุนในการดำเนินงาน และต้นทุนเชื้อเพลิง  ต้นทุนเชื้อเพลิงที่ถูกที่สุด ได้แก่  ลิกไนต์ รองลงมา ได้แก่  ก๊าซธรรมชาติ  น้ำมันเตา  และดีเซล  เป็นต้น