ข้อใด คือ คุณค่าและประโยชน์ของศาสนพิธี

“ฉันจะตั้งกองทุนการศึกษา ให้เอาเงินฉันไปใช้ ไปทำอย่างไรก็ได้ เป้าหมายคือให้โรงเรียนสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง” แล้วมอบหมายให้องคมนตรีที่ยังแข็งแรงอยู่ช่วยออกไปรีเสิร์ชหาโรงเรียนตัวอย่างเพื่อให้รู้ถึงปัญหา ที่สำคัญคือให้ทำเรื่องนี้อย่างเงียบๆ ไม่ต้องแจ้งผ่านทางหน่วยงานใดๆ ให้ไปอย่างผู้ใหญ่ใจดี ไปรถคันเดียว เพื่อที่จะได้ประหยัดเวลาและได้ข้อมูลที่แท้จริง...



หลังจากนั้นคณะองคมนตรีจึงสรรหาโรงเรียนเข้าโครงการ "โรงเรียนคุณธรรมจริยธรรม" ได้ประมาณ 155 โรงเรียนทั่วประเทศ จึงมีรับสั่งว่า ทรงมีเงินที่ประชาชนทูลเกล้าฯ ถวายมามาก อยากจะนำคืนให้กลับประชาชน แต่ขอให้ทำในสิ่งที่ประหยัด ใช้วัสดุในพื้นที่ แต่ให้คงทนแข็งแรง


ประการแรกที่โปรดฯ ให้ทำคือบ้านพักครู โดยให้เลือกบ้านพักครูที่แย่ที่สุดก่อนแล้วสร้างให้เขาใหม่ ประการที่ 2 คือปรับปรุงห้องน้ำครูและนักเรียน และประการต่อมาคือ ห้องเรียนที่ชำรุด หลังคารั่ว โต๊ะเรียน เก้าอี้ โดยให้มารับเงินที่พระองค์ไปใช้...

ท้ายที่สุดในหลวงรับสั่งให้เลือกเด็กโรงเรียนละ 2 คน ทรงอยากให้ส่งให้เขาเรียนจนจบเท่าที่จะเรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นปริญญาตรี-โท-เอก ก็แล้วแต่เขา แต่ขอให้นำความจากพระองค์ท่านไปบอกเด็กว่า มีพระราชประสงค์ที่จะเห็น "เด็กที่เรียนดีนั้นเป็นคนดีด้วย"


เช่นเดียวกันกับครู ทรงอยากให้ครูอยู่สบาย อยากอยู่ในโรงเรียนห่างไกล เพื่อที่เด็กๆ ในชนบทจะได้มีครูดีๆ สอนให้เป็นคนดี จึงมีรับสั่งให้คัดเลือกครูที่เก่ง ขยัน โดยจะพระราชทานเงินพิเศษหรือส่งเรียนต่อเพื่อให้มีความรู้เพิ่มเติม เพียงแต่ต้องสัญญาว่า อย่าทิ้งเด็ก อย่าทิ้งโรงเรียนที่ห่างไกลเหล่านั้น

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475

            วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 หลังจากที่รัชกาลที่ 7 ทรงครองราชย์ได้ 7 ปี คณะผู้ก่อการซึ่งเรียกตัวเองว่า “คณะราษฎร์” ประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน จำนวน 99 คน 

            ได้ทำการยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช หรือ “ราชาธิปไตย” มาเป็นระบบการปกครองแบบ “ประชาธิปไตย” 

            และได้อัญเชิญรัชกาลที่ 7 ขึ้นเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ นับได้ว่ารัชกาลที่ 7 ทรงเป็นกษัตริย์องค์แรกในระบอบประชาธิปไตย

การยึดอำนาจในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

            เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑ ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป

มูลเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475

            1.ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก หลังสงครามโลก รัฐบาลต้องการลดรายจ่ายโดยปลดข้าราชการบางส่วนออก ผู้ถูกปลดไม่พอใจ

            2.ผู้ที่ไปเรียนจากต่างประเทศเมื่อกลับมาแล้วต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศให้ทันสมัยเหมือนประเทศที่เจริญแล้ว

            3.ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงระหว่างข้าราชการและประชาชน จึงต้องการสิทธิเสมอภาคกัน 

            4.ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานชีวิตของราษฎรได้

ลักษณะการปกครองหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475

1.พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

2.รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ

3.อำนาจอธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทยและเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ

4.ประชาชนใช้อำนาจอธิปไตยผ่านทางรัฐสภา รัฐบาลและศาล

5.ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน

6.ประชาชนเลือกตัวแทนในการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า รัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี

7.ในการบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

- การปกครองส่วนกลาง แบ่งเป็น กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ

- การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งเป็น จังหวัด และอำเภอ

- การปกครองส่วนท้องถิ่นแบ่งเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และองคการบริหารส่วนตำบล

            การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยเป็นไปอย่างสงบไม่รุนแรงเหมือนบางประเทศอย่างไรก็ตามลักษณะการเมืองการปกครอง มิได้เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ อำนาจบางส่วนตกอยู่กับผู้นำทางการเมือง หรือผู้บริหารประเทศ มีการขัดแย้งกันในด้าน นโยบาย มีการแย่งชิงผลประโยชน์ เป็นเหตุให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหารขึ้นหลายครั้งระบบการปกครองของไทยจึงมีลักษณะ กลับไปกลับมาระหว่างประชาธิปไตยกับคณาธิปไตย (การปกครองโดยคณะปฏิวัติ)

ปฏิวัติ .....รัฐประหารและกบฏ ในประวัติศาสตร์ไทย

             บ้านเมืองไทยวุ่นวายและยุ่งเหยิง ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงมากขึ้น จากเหตุการณ์คืนวันที่ 22 กรกฎาคม 2550 ที่ต่างฝ่ายก็อ้าง "ความถูกต้อง" ของมุมมองฝ่ายตน 

          ในความขัดแย้งของอำนาจและผลประโยชน์ (ที่ไม่ใช่อุดมการณ์หรือความคิดเช่นในสมัยก่อน) ฝ่ายหนึ่งได้นำคำว่า " กบฏ " มาใช้อย่างมั่นใจ และดันนำมาใช้กับฝ่ายที่เป็นผู้รัฐประหาร และสามารถยึดครองการปกครองรัฐได้เป็นผลสำเร็จ

           คำว่า กบฏ หากจำไม่ผิด มันเป็นคำที่แสดงความหมายของ " ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากกลุ่มคนชนชั้นปกครองหรือรัฐเดิม แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการกระทำการใด ๆ  เพื่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่จุดมุ่งหมายของตน " 

         จึงให้นึกขำในใจว่า แท้จริงแล้วบ้านเมืองของเรายังขาดความรู้ความเข้าใจ ขนาดคำว่า "กบฏ" ยังนำมาใช้เป็นเครื่องมือเชิงจิตวิทยา เพื่อแสดงให้เห็นว่า  " พวกที่ล้มล้างการปกครองและปฏิวัติ รัฐประหารนั้น เป็นพวกกบฏ หรือ(กำลังจะ)พ่ายแพ้ต่อพวกของเขาที่เป็นผู้ปกครอง(เดิม) ของรัฐ " แสดงว่า รัฐบาลของประเทศไทยในวันนี้ เป็นกบฏในสายตาของพวกเขาด้วย

          ก็ให้ยิ่งงงมากไปกว่าเดิม เพราะคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่าเป็นสื่อ " PTV" นั้น ก็เป็นสื่อสารมวลชนเฉพาะกิจ ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับพรรคการเมืองที่เคยเป็นผู้ปกครองรัฐหรือรัฐบาลเสียงข้างมากในระบอบประชาธิปไตย กลับใช้คำเหล่านี้ได้อย่างเต็มปาก ทั้ง ๆ ที่คนทั้งหมดของกลุ่มผู้ชุมนุม ถือได้ว่า ไม่เคยเป็นรัฐบาล เพราะไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองใด(ตามที่กล่าวอ้างเองตลอดเวลา)

        การใช้คำว่า"กบฏ" ของกลุ่มผู้ชุมนุม PTV จึงเป็นการเข้าใจผิดมากไปหรือหรือเปล่า ? หรือเขาใช้คำเหล่านี้เพราะในความจริง เขาก็คือผู้เสียอำนาจรัฐ(และผลประโยชน์มหาศาล) และกำลังสารภาพว่าเป็นกลุ่มผู้ประท้วงเพื่อพรรคการเมืองที่เคยเป็นรัฐบาล เพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยที่เขาไม่รู้ตัวว่า "  ประชาชน" ผู้ได้เสพการสื่อสารทั้งสองด้าน มีความคิด และไม่ได้โง่ไปเสียทั้งหมด

         การวางยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่หลากหลายในการทำสงครามเพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้ามเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ แต่ยุทธวิธีที่หลากหลายนั้น มันได้ย้อนกลับและมีผลกระทบใน "ความจริง"

          ความจริงที่กำลังฟ้องให้เห็นว่า จุดมุ่งหมายหรือ "อุดมการณ์"ของการประท้วงที่กล่าวอ้างนั้น  มันได้มี  ปรากฎการณ์ขัดแย้งในตัวของมันเองตลอดเวลา  ความลักหลั่นเหล่านั้นกำลังกัดกร่อน "ความเชื่อมั่น" และ" ศรัทธา"  ของผู้รักประชาธิปไตยที่ไม่ต้องการอำนาจเผด็จการทหาร ให้เห็นความจริง ......มากขึ้นทุกขณะ

          เพื่อความไม่หลงประเด็นกับคำว่า "กบฏ" จนเกินไป ในฐานะของผู้สนใจในเรื่องราวของประวัติศาสตร์ ในแง่มุมของเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตของการแย่งชิงอำนาจระหว่างกลุ่มของมนุษย์ มาเล่าสู่กันฟัง ให้เห็นถึงคำว่า การปฏิวัติ รัฐประหารและกบฏนั้น เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใด  ซึ่งตัวอย่างในประวัติศาสตร์คงจะบอกได้ดีว่า อะไรคือกบฏ

            ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ในฐานะของรัฐ เป็นราชธานีของบรรพบุรุษที่กลายมาเป็นคนไทยในปัจจุบันสายหนึ่ง "การปฏิวัติครั้งแรก" เกิดขึ้นเพื่อการชิงอำนาจระหว่างกลุ่มขอมพระนครและกลุ่มขอม-ไท ขอมพระนครคือสมาดโขลญลำพง ขอม-ไท คือพ่อขุนศรีนาวนำถม ขอมพระนครเข้ายึดอำนาจจากเจ้านายท้องถิ่นคือพ่อขุนศรีนาวนำถม  หลังจากการสิ้นสลายของอำนาจในศูนย์กลางที่นครธมหลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

            ขอมพระนครครองอำนาจในสุโขทัยได้ระยะหนึ่ง จารึกวัดศรีชุมก็เขียนว่า พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง รวบรวมไพร่พลที่เมืองบางขลุงทางทิศใต้ของสุโขทัย และเข้ายึดอำนาจจากกษัตริย์สายขอมพระนครได้สำเร็จ

เป็นการปฏิวัติของคนเชื้อสายขอม - ไท - สยาม

            จึงถือว่า นี่คือเหตุการณ์ "ปฏิวัติ รัฐประหารครั้งแรก ของประวัติศาสตร์ชาติ" ส่วนสมาดโขลญลำพง ก็ยังไม่นับว่าเป็น " กบฏ"  เพราะสามารถทำการโค่นล้มสายพ่อขุนเจ้าเก่าแห่งสุโขทัยได้เช่นกัน

            ส่วนการกบฏครั้งแรกของประวัติศาสตร์ชาติ  เป็นเหตุการณ์ในจารึกหลักที่ 1 นั่นคือการกบฏของขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ที่ยกพลไกรเข้ามาหมายยึดอำนาจในรัฐสุโขทัยจากพ่อขุนรามราช (กำแหง)

           แล้วในสมัยกรุงศรีอยุธยาล่ะ การปฏิวัติ รัฐประหารและการกบฏ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อไหร่ ?

          การปฏิวัติครั้งแรกของกรุงศรีอยุธยา ก็เริ่มทันทีทันใดเมื่อพระเจ้าอู่ทองสวรรคต พระราเมศวรขึ้นครองราชย์ ก็ถูกขุนหลวงพะงั่ว เข้ายึดอำนาจรัฐและเนรเทศพระองค์ไปลพบุรี

             ด้วยหลักฐานพงศาวดารในช่วงยุคต้นของกรุงศรีอยุธยานั้น ไม่มีบันทึกและถูกทำลายไปมาก การกบฏครั้งแรกจึงต้องยกมาอยู่ในสมัยของพระเพทราชา เรียกว่า "กบฏธรรมเสถียร"  ซึ่งธรรมเสถียรมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับเจ้าฟ้าอภัยทศ พระอนุชาของพระนารายณ์  ธรรมเสถียรได้รวบรวมผู้คนจากเขตพระนครใหม่อย่างลพบุรี และสระบุรี เข้าตีกรุงศรีอยุธยาอย่างลับ ๆ แต่บังเอิญความแตก จึงพ่ายแพ้ในการช่วงชิงอำนาจ

           ข้ามเวลาอย่างรวดเร็ว ....มายังสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี 2475 การรัฐประหารครั้งแรกเกิดขึ้นในวันที่ 20 มิถุนายน 2476ยังไม่ทันฉลองครบปีของการยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์เลย.....

          ความขัดแย้ง อุดมการณ์ ความไม่พอในอำนาจและผลประโยชน์ นำไปสู่การรัฐประหาร "ครั้งแรก" ในระบอบประชาธิปไตย (แบบคณะราษฎร์ แบบบาง ๆ )  เป็นการปฏิวัติการเองภายในของเหล่าผู้ยึดอำนาจ โดยมีพันโทหลวงพิบูลสงครามเป็นหัวหน้า และผลักดันให้พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหน้าเสื่อ หน้าไฟ

      หลังจากนั้น 4 เดือน ความไม่ชัดเจนในอุดมการณ์ของผู้ยึดอำนาจ ได้นำไปสู่การก่อการ "กบฏ" ครั้งแรก ด้วยเพราะความวิตกกังวล ในความไม่ชัดเจนนั้น จะก่ออันตรายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และประเทศชาติ

          พลเอกพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหมในยุคก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นแกนหลักสำคัญในการก่อการ "ตักเตือน"  ด้วยกำลังทหารจากโคราชและหัวเมืองรอบนอก ไม่ให้คณะปฏิวัติตัวเองของคณะราษฎร์เดินนโยบายไปสู่ลัทธิ "คอมมิวนิสต์" อันจะเป็นภัยร้ายต่อสถาบันสูงสุดของชาติและประชาชน

          "กบฏบวรเดช" จึงถือเป็นกบฏครั้งแรกของประเทศสยาม หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมาได้ไม่นาน ซึ่งความพ่ายแพ้ของกบฏบวรเดช ในครั้งนั้น เป็นบทเรียนสำคัญของผู้ปกครองรัฐสยามในสมัยต่อมา ในความชัดเจนของนโยบายและอุดมการณ์ของรัฐบาล

         ผ่านมากว่า 75 ปี ของประชาธิปไตย ประเทศไทยของเราผ่านการ  " ปฏิวัติ รัฐประหาร" มาแล้ว 10 ครั้ง  (รวมทั้งล่าสุดด้วย) และผ่านการ  "กบฏ"มาถึง 12 ครั้ง

           หากยังไม่ชัดเจนทั้งยุทธศาสตร์ อุดมการณ์และเป้าหมายที่เป็นเอกภาพ และยังมีความพยายามใช้คำว่า "กบฏ" โดยละเลยถึงความหมาย ไม่สื่อสารให้ถูกต้องและใช้พร่ำเพรื่อ กับประชาชนทั่วไปผู้เป็นกลางโดยเนื้อแท้  

เหตุการณ์ในแผ่นดินเมื่อปี พ.ศ. 2475

การก่อตัวเมื่อปี พ.ศ. 2475 

            นักศึกษาไทยที่มาศึกษาที่ฝรั่งเศส  จำนวน 7 คน มีทั้งทหารและพลเรือน ได้นัดประชุมกันที่กรุงปารีส เพื่อกำหนดความมุ่งหมายของการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย  กติกาของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตลอดจนกำหนดบุคคลิกของผู้ที่จะมาร่วมคณะต่อไป  และได้กำหนดหลักการไว้ 3 ประการคือ 

            ประการแรก  ทำการเปลี่ยนการปกครองให้มีรากฐานประชาธิปไตย  โดยมีพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับประเทศอังกฤษ โดยงดเว้นการมีสาธารณรัฐโดยเด็ดขาด 

           ประการที่สอง  กำหนดยึดอำนาจด้วยการปฏิวัติ (COUP D' ETAT) ไม่ใช่การก่อการจลาจล งดเว้นการนองเลือด การทำทารุณกรรมใด ๆ และไม่ประหัตประหารกันเอง อย่างกบฏในฝรั่งเศส 

            ประการที่สาม  ร่วมมือกันทำการปกครองบริหารประเทศชาติด้วยความสุจริตใจ งดเว้นการแสวงหา และ สร้างสรรค์ความมั่นคงเป็นประโยชน์ส่วนตัว 

            ในการประชุมครั้งแรกนี้คณะผู้ริเริ่มเปลี่ยนแปลงการปกครอง ไม่ได้มีการพิจารณากำหนดลัทธิการเมืองประการใด มีความมุ่งหมายเพียงให้มีรัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตยเป็นจุดหมายปลายทาง 

            ในการประชุม ได้กำหนดหลักการเพื่อดำเนินการยึดอำนาจไว้ 3 ประการ คือ 

                    1. การหาความรู้พิจารณาการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศต่าง ๆ ในทางประวัติศาสตร์ เพื่อทราบความมุ่งหมาย แผนการดำเนินการ ความสำเร็จและเหตุการณ์แห่งความล้มเหลวและเหตุผล เพื่อประกอบการพิจารณาในการดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อไป 

                    2. กำหนดคุณสมบัติของบุคคล ที่จะมาร่วมคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งจะต้องมีความรู้ และวุฒิที่กว้างขวาง มีรากฐานการศึกษาเพียงพอ นอกจากนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มาร่วมด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ประกอบด้วยอคติ ความพยาบาท เคียดแค้น หรือมุ่งแสวงหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงการปกครองแต่ประการใด และทำงานเพื่อประโยชน์ประเทศชาติโดยสุจริตใจ กับทั้งจะต้องเป็นผู้ที่มีความประพฤติ และสภาพความเป็นอยู่ภายในครอบครัวเป็นหลักฐานที่พึงไว้วางใจได้ 

                3. ในเรื่องการกำหนดวิธีการที่จะหาเงินมาเป็นทุนในการดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งในระยะแรกก็อาศัยการเรี่ยไรเงินส่วนตัวกันเป็นสำคัญ ไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินมาก นอกจากนี้ก็วางแผนที่จะประกอบธุรกิจเพื่อหารายได้เป็นกอบเป็นกำต่อไป

การเริ่มปฏิบัติการในประเทศไทย

                 เมื่อคณะผู้ก่อตัวได้ทะยอยกันเดินทางกลับประเทศไทย เข้ารับราชการตามตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆ แล้ว ก็เริ่มดำเนินเรื่องการเมืองติดต่อกับเพื่อนร่วมคิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่ให้สัตย์ปฏิญาณกันมา ตั้งแต่อยู่ยุโรปต่อไป โดยติดต่อกับผู้ร่วมคิดจากปารีสและสวิทเซอร์แลนด์ รวม 15 คน ซึ่งแต่ละคนก็ได้ติดต่อกับผู้ที่รู้จัก และมีความประทับใจที่ไม่ดีในเรื่องต่าง ๆ ที่คนได้ประสบมาในรูปแบบต่าง ๆ สรุปแล้วผู้ริเริ่มฝ่ายพลเรือน 15 คน ยังไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร และดูซบเซาไป เนื่องจากห่างเหินกันไปนาน 

                ส่วนผู้ร่วมคิดฝ่ายทหารมีความเห็นว่า เหตุการณ์บ้านเมืองมันสุกงอมแล้ว ควรจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ และมีความพร้อมที่จะดำเนินการ เพราะได้เตรียมหาสมัครพรรคพวกกันอยู่ตลอดแม้ผู้ก่อการสายทหารบางคนจะไม่มีหัวในการเมือง แต่ก็เป็นผู้รักเพื่อนฝูงเป็นชีวิตจิตใจ เอาอะไรเอากันประกอบกับหลายคนมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญใช้เป็นกำลังได้

                 จากการประสานงานได้ทหารบก 34 คน ทหารเรือ 19 คน และฝ่ายพลเรือน 45 คน รวมทั้งสิ้น 98 คน ผู้ร่วมคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์ในการร่วมประชุมครั้งแรก 7 คน ผู้ที่มาสมัครตอนหลังอีก 9 คน 

                เมื่อได้ทบทวนผลการดำเนินงานที่ฝ่านมา รวม 3 ปี พบว่างานคืบหน้าไปช้า และซบเซาแต่ก็ยังมีความสนใจกันอยู่เป็นส่วนมาก สำหรับฝ่ายพลเรือนที่แตกแยกเป็นหลายสาย ก็ยังไม่มีความหมายที่จะเป็นกำลังแต่อย่างใด จึงได้มีการนัดประชุมผู้ใหญ่ฝ่ายทหาร รวม 5 คน มียศเป็นนายพันเอก มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา 3 คน ยศนายพันโท มีบรรดาศักดิ์เป็นพระ 1 คน  และยศนายพันตรี มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวง 1 คน  4 คนแรก เรียกกันในครั้งนั้นว่าสี่ทหารเสือ ในการประชุมได้พิจารณาสถานการณ์โดยทั่วไป กับแผนการที่จะยึดอำนาจ ซึ่งกำหนดไว้ตามสถานที่และโอกาสต่าง ๆ หลายประการซึ่งมีความเห็นแตกแยกกันอยู่

นอกจากได้ประมาณกำลังทหารบก ทางผู้ก่อการคนหนึ่งมีเพื่อนคู่คิดที่สำคัญยศนายพันโท ซึ่งอยู่ทางหน่วยที่หวังว่าจะได้กำลังด้านอาจารย์และนักเรียนนายร้อย สำหรับด้านทหารม้าและรถรบ ผู้เข้าประชุมยศนายพันตรีรับรองว่ามีความหวังมั่นคง เพราะมีนายทหารยศนายพันโทที่เคยสนิทสนมกัน ครั้งอยู่กรุงปารีสบังคับบัญชาหน่วยอยู่ ทางด้านทหารปืนใหญ่นายทหารผู้นี้ก็รับรองว่ามีเพื่อนฝูงที่ไว้วางใจได้ แต่ไม่ยอมบอกชื่อว่าเป็นใคร ทางด้านนายทหารยศนายพันโท ซึ่งคุมอยู่ทางโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ก็รับรองว่าจะได้นายทหารที่อาจารย์ และนักเรียน จากที่นี่เป็นส่วนมาก สำหรับนายทหารยศนายพันเอกผู้หนึ่ง ที่เข้าประชุม ยังรู้สึกข้องใจว่าไม่มีกำลังพอที่จะทำการใหญ่ให้สำเร็จได้จึงยังลังเลอยู่ แต่ก็รับรองว่าจะเตรียมการฝึกซ้อมการเคลื่อนไหวกำลังไว้พร้อม ถ้าหน่วยทหารม้าและรถถังนำขบวน เป็นทัพหน้าไปได้สำเร็จ ก็จะให้หน่วยทหารปืนใหญ่ซึ่งมีเพื่อนของตน ซึ่งสามารถหน่วยทหารปืนใหญ่ ติดตามแผนการให้จงได้ ส่วนผู้เข้าประชุมอีกคนหนึ่งยศนายพันเอก บอกว่าตนมีแต่ตัวคนเดียว แต่ก็จะเป็นกำลังช่วยวิ่งเต้นสั่งการในฐานะที่ดูแลเหล่าทหารปืนใหญ่อยู่

        สำหรับด้านทหารเรือ มีการติดต่อประสานงานกับนายทหารเรือยศนายนาวาตรี มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงเป็นหัวหน้าฝ่ายทหารเรือแต่ผู้เดียว ท่านผู้นี้เป็นอาจารย์อยู่โรงเรียนนายเรือ มีสมัครพรรคพวกเป็นผู้บังคับการเรืออยู่หลายลำ รวมทั้งกองพันพาหนะเรือ ซึ่งต่อมาเรียกว่าหน่วยนาวิกโยธิน 

        อีกประมาณเดือนเศษต่อมา ได้มีการประชุมครั้งใหญ่ที่วัดแคลาย จังหวัดนนทบุรี มีการเช่าเรือกลไฟลำใหญ่ จัดให้เฉพาะผู้ใหญ่ฝ่ายทหารเพื่อเดินทางไปยังวัดดังกล่าว ส่วนพวกพลเรือนต่างคนต่างไป โดยถือโอกาสไปทำการยิงนก  ส่วนทางทหารเรือได้ไปเรือส่วนตัว และขึ้นไปทำความรู้จักกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่   แล้วแยกกลับ

            ในเรื่องการปรับปรุงกองทัพ  มีความเห็นไม่ตรงกันคือ  ฝ่ายหนึ่งจะให้ยุบกองทัพ  กองพล  โดยให้หน่วยทหารต่าง ๆ ไปขึ้นกับผู้บังคับเหล่า  เลิกยศนายพล  และเลิกโรงเรียนเสนาธิการ  แต่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า  ควรจะละเว้นการใด ๆ  ที่จะทำให้กระทบกระเทือนจิตใจนายทหารในกองทัพ  การปรับปรุงจะต้องดำเนินการไปเป็นขั้น ๆ วางรากฐานการปกครองกองทัพให้มั่นคงเป็นสำคัญ ฝ่ายแรกซึ่งมีอาวุโสกว่าไม่พอใจ เห็นว่าฝ่ายหลังที่อ่อนอาวุโสกว่า ควรจะฟังแนวทางของตนเป็นหลัก  เมื่อตกลงกันไม่ได้ก็ตัดบทว่าให้ยุติกันเพียงนี้ก่อน  แล้วเลิกลากันไป  ฝ่ายอ่อนอาวุโสกว่ามีความหนักใจว่า  การเปลี่ยนแปลงการปกครองท่าจะไปไม่สำเร็จ  ถ้าพลาดพลั้งไปก็ต้องเข้าคุกเข้าตาราง  และโทษถึงประหารชีวิต ถ้าทำตามความคิดในการปรับปรุงกองทัพตามแนวทางของนายทหารอาวุโสก็จะเกิดความวุ่นวาย เพราะฉะนั้นเมื่อทำการปฏิวัติไม่สำเร็จก็ตาย ถ้าปฏิวัติสำเร็จก็จะเกิดความขัดแย้งต้องฆ่ากันอีก จึงเห็นว่าน่าจะยับยั้งการร่วมคิดกับผู้ที่มีแนวทางดังกล่าว ในเรื่องนี้ฝ่ายที่เป็นผู้ประสานงานเห็นว่า ได้มีการดำเนินการในเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นเวลานาน หากไม่ได้นายทหารอาวุโสผู้มีความเห็นตามแนวทางดังกล่าวก็จะสำเร็จได้ยาก เพราะจะได้กำลังจากท่านผู้นี้ทางด้านโรงเรียนนายร้อยและโรงเรียนเสนาธิการเป็นสำคัญ จึงได้มีการหาทางประนีประนอมกันต่อไป 

            ได้เกิดเหตุการณ์ที่เอื้อประโยชน์แก่คณะผู้ก่อการ ฯ เป็นอย่างมาก คือ นายพลเอก พระองค์เจ้าบวรเดช ฯ ที่ลาออกจากราชการทหารไป เพราะขัดแย้งกับจอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ที่ทรงให้ล้างคำสั่งเลื่อนยศเงินเดือนนายทหารในกองทัพบกเป็นจำนวนมาก พระองค์เจ้าบวรเดช ฯ จึงวางแผนการที่จะปรับปรุงการบริหารให้มีรัฐธรรมนูญขึ้น เป็นแนวคิดที่จะทำฎีกาขึ้นกราบบังคมทูล ขอพระมหากรุณาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ให้พระราชทานรัฐธรรนูญ และในการนี้จอมพลเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ ฯ และเจ้านายชั้นผู้ใหญ่บางพระองค์ ได้กราบบังคมทูลทัดทานไว้เรื่องก็จึงสงบเงียบไป

            เมื่อเรื่องราวต่าง ๆ เงียบสงบลงไป ฝ่ายผู้ก่อการที่มีความเห็นไปตรงไปตรงกันในเรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างและการจัดหน่วยทหารก็ได้มีการปรับแนวความคิดด้วยการลดหย่อนผ่อนเข้าหากัน คือแทนที่จะให้ยุบเลิกหน่วยบางระดับหน่วย และยุบเลิกยศนายพลเสียทั้งหมดก็เปลี่ยนเป็นยุบเลิกแต่กองทัพ คงหน่วยกองพลไว้ ส่วนนายพลก็จะลดจำนวนลงเหลือเพียง 5 คน  ส่วนการปรับปรุงโดยทั่วไป ก็จะได้ปรึกษากันด้วยดีต่อไป เป็นที่พอใจกันทั้งสองฝ่าย 

            อย่างไรก็ตามในการประชุมพบปะเพื่อปรับความเข้าใจดังกล่าว  ปรากฎว่าทางตำรวจกองพิเศษ ได้เริ่มระแคะระคายและเฝ้าตรวจดูอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ครั้นแล้ววันหนึ่ง ผู้บัญชาการตำรวจกองปราบยศนายพันตำรวจเอก มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาได้ปลอมตัวเป็นชาวนา สะกดรอยผู้ก่อการฝ่ายพลเรือน 2 คน จนได้ทราบเรื่องการคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นที่แน่ชัด ในที่สุดในต้นเดือนมิถุนายน นายพลตำรวจโทพระยาอธิกรณ์ประเทศกับผู้บังคับการตำรวจกองปราบ ได้ประมวลเรื่องของผู้ก่อการ ฯ ว่ากำลังคิดการใหญ่ และจะลงมือยึดอำนาจอย่างแน่นอน จึงได้ทำหมายจับผู้ก่อการ 5 คน เป็นนายทหาร 4 คน และพลเรือน 1 คน ไปกราบทูลจอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ ฯ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ให้ลงพระนามในหมายเพื่อจะทำการจับกุมต่อไป แต่เมื่อพระองค์ได้ทรงเห็นชื่อผู้ก่อการ ก็ทรงเห็นว่าบุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นเด็ก ๆ ไม่มีความหมาย บางคนพระองค์ก็ได้เคยรู้จักตั้งแต่เกิด และเมื่อเป็นนายทหารมหาดเล็กก็เคยรับใช้อยู่เสมอ ส่วนคนอื่น ๆ ก็ดูเป็นตำแหน่งที่ไม่มีความหมายประการใด ดังนั้นจึงทรงยับยั้งการออกหมายจับ มอบเรื่องให้พระยามานนวราชเสรี อธิบดีกรมอัยการ และพระยาอธิกรณ์ประเทศ อธิบดีกรมตำรวจไปพิจารณากันต่อไป 

            เมื่อความทราบถึงผู้ก่อการที่เป็นนายทหารชั้นอาวุโสสูง จึงได้มีการเรียกประชุมนายทหารชั้นผู้ใหญ่มาปรึกษาวางแผนการ และกำหนดวันลงมือ

การปฏิบัติยึดอำนาจการปกครอง 

            จากผลการประชุมวางแผนการ ได้ตกลงมอบหมายให้ นายทหาร 3 นาย ประกอบด้วย นายทหารยศนายพันเอก 1 นาย ยศ นายพันตรี 1 นาย และยศ นายนาวาตรี 1 นาย เป็นคณะบัญชาการโดยเด็ดขาด 

            คณะผู้ก่อการ ฯ ได้ถือโอกาสอันเหมาะแก่การทำการ ในขณะที่เศรษฐกิจ การเงิน การค้าของประเทศไทยกำลังทรุดโทรม ประชาชนเดือดร้อนในเรื่องการครองชีพ งบประมาณแผ่นดินก็ขาดแคลน ต้องดุลข้าราชการเป็นการใหญ่ (คำว่าดุลยภาพในครั้งนั้น เป็นการปรับจำนวนข้าราชการให้ลดลง โดยให้ออกจากราชการก่อนเกษียณอายุเป็นจำนวนมาก เพื่อลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลลงให้เกิดความสมดุลย์) นับเป็นโอกาสที่จะได้อาศัยมติมหาชนเป็นกำลังส่งเสริม 

            สำหรับการลงมือยึดอำนาจนั้นได้ถือโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ เสด็จแปรพระราชฐานไปหัวหิน เพื่อทอดพระเนตรการทดลองการยิงปืนใหญ่มีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ แม่ทัพ นายกอง ไปร่วมในการประลองอาวุธในครั้งนั้นด้วยเป็นส่วนมากแผนสายฟ้าแลบ

            แผนการรวบรวมกำลังกรมกองทหารต่าง ๆ เข้าที่ชุมพลที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ได้นั้นจัดเป็นแผนการฟ้าแลบ ทำการจู่โจมโดยกระทันหัน ไม่ให้มีเวลายับยั้งชั่งคิด ทั้งนี้โดยอาศัยกองพันรถรบกับทหารม้าเป็นทัพหน้า เคลื่อนกำลังโดยมีนายทหารยศนายพันตรี มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงเป็นหัวแรงที่สำคัญที่สุด และมีนายทหารยศนายร้อยอีก 3 นาย ซึ่งประจำหน่วยรถรบได้เตรียมซ้อมเครื่องยนต์คิดปืนกล และเติมน้ำมันไว้พร้อม พอเป่าแตรปลุก เป่าแตรเร่งเร็ว และเป็นเหตุสำคัญ ทหารที่ถูกปลุกก็ตาลีตาลานรีบแต่งกายมาเข้าประจำแถว มีนายทหารฝ่ายเสนาธิการ จำนวนมากเท่าที่บันทึกไว้ได้มี 5 คน ยศนายร้อยเอก และมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวง  ทุกคนเข้ามาช่วยเร่งรัดให้ ทหารรีบขึ้นรถเข้าประจำที่ ส่วนนายทหารยศนายพันเอกเหล่าทหารปืนใหญ่ ได้สั่งให้เปิดคลังอาวุธ จ่ายกระสุนจริง บรรดาผู้บังคับบัญชาชั้นผู้บังคับหมวด และผู้บังคับกองร้อยต่างก็ยืนงง มองดูการปฏิบัติอันวิปริตซึ่งไม่เคยพบ แต่เมื่อเห็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นครูบาอาจารย์ เข้ามาสั่งการก็ยอมจำนน พลอยสมทบเข้าประจำหน่วยในบังคับบัญชาของตนด้วยความสงบ ส่วนนายพันโทพระปฏิยุทธอริยั่น ผู้บังคับการกรม ได้มีผู้ก่อการจำนวนหนึ่งที่มีอาวุธพร้อมควบคุมตัวมิให้ลงจากบ้าน 

            ขบวนการปฏิบัตินำโดยกองพันรถถัง นำโดยนายทหารม้า ยศ นายพันตรี มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวง ติดตามด้วยกรมทหารปืนใหญ่ ในบังคับบัญชาของนายทหารปืนใหญ่ยศนายพันเอก มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา แล้วมีกองพันทหารช่าง โดยมีนายทหารช่างยศ นายร้อยเอก มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวง ปิดท้ายกำกับมา

            แผนการยึดอำนาจนั้น ไม่ได้มุ่งหวังใช้กำลังทหารเป็นพลังสู้รบ แต่มุ่งหมายเพื่อลวงให้หน่วยทหารต่าง ๆ ในพระนครมาชุมนุมกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เป็นการรวมกำลังกันมาควบคุมไว้ในที่จำกัด แล้วเรียกประชุมนายทหารที่เป็นผู้บังคับบัญชาของหน่วยทหารนั้น ๆ มารวมกัน โดยมีคณะนายทหารผู้ร่วมคิดในการก่อการ ฯ พกอาวุธครบครันล้อมกรอบอยู่โดยไม่ทราบจำนวน และไม่รู้ว่าใครเป็นใคร ครั้นเมื่อเข้ามาชุมนุมพร้อมเพรียงกันแล้ว นายทหารยศนายพันเอก มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาเป็นผู้อาวุโส เป็นหัวหน้านำการก่อการ ฯ โดย อ่านประกาศแถลงการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยเสียงอันดังหนักแน่นเด็ดขาด พอจบก็เปล่งเสียงไชโยดังกึกก้องสามครั้ง แล้วพาคณะนายทหารพร้อมด้วยกำลังหน่วยทหารทั้งสิ้น พังพระทวารประตูเข้ายึดพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นฐานทัพมีรถถังควบคุมกำกับ ตามมุมลานพระบรมรูปทรงม้าอย่างเข้มแข็ง กับมีหน่วยกองพันพาหนะของทหารเรือในบังคับบัญชา ของนายทหารเรือยศนายเรือโท ขยายแถวหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า จ่ายกระสุนจริงเตรียมพร้อม ที่จะปฏิบัติการได้ทันที นับว่าเป็นความสำเร็จในการก่อการ ฯ ในเบื้องต้น

            ในขั้นต่อไป ได้ออกจับกุมบุคคลสำคัญที่มีอำนาจสั่งการต่อต้านเป็นหลายสาย ท่านที่มีความสำคัญที่สุดคือ จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ ฯ ที่วังบางขุนพรหม โดยจัดรถถังและรถลำเลียงที่มีกำลังทหาร กำกับไปด้วย โดยมีนายทหารยศนายพันโท ยศนายพันตรี และยศนายนาวาตรี มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงทั้ง 3 คน เป็นกำลังสำคัญเข้ายึดวังบางขุนพรหม รถคันหน้าได้เข้ายึดสถานีตำรวจ ที่หน้าวังบางขุนพรหม ปลดอาวุธและควบคุมตัวไว้ ส่วนรถถังและรถลำเลียงอีก 1 คัน ได้มุ่งเข้าวังบางขุนพรหม โดยมีนายทหารยศนายร้อยโท มีบรรดาศักดิ์เป็นขุนเข้ากำกับกองรักษาการณ์ นายพลตำรวจโท พระยาอธิกรณ์ประกาศ อธิบดีกรมตำรวจได้เข้ามาสกัดกั้นชักปืนพกออกจะยิง นายทหารผู้นำกำลังเข้ามา แต่ถูกนายทหารเรือยศนายนาวาตรี ที่กล่าวแล้วตบปืนกระเด็นไป แล้วเข้าควบคุมตัวไว้  จากนั้นนายทหารผู้นำกำลังเข้ามา  ก็มุ่งไปที่ตำหนักท่าน้ำ  ซึ่งจอมพลสมเด็จกรมพระนครสวรรค์ ฯ  เตรียมเสด็จออกไปทางเรือ  พอดีเรือตอปิโดหาญทะเล  ซึ่งผู้ก่อการ ฯ ฝ่ายทหารเรือสั่งให้มา ลอยลำคอยควบคุมอยู่สั่งทหารเรือเตรียมยิง  ทำให้พระองค์ต้องยอมจำนน โดยนายทหารผู้นำกำลังเข้ามา ได้กราบทูลรับรองความปลอดภัย และเชิญเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอนันตสมาคม โดยไม่ยอมให้เปลี่ยนฉลองพระองค์ก่อน  ขบวนรถที่พาเสด็จไปได้แวะไปจับนายพลโท พระยาสีหราชฤทธิไกร  ที่บ้านริมวัดโพธิ์  แล้วจึงไปที่พระที่นั่งอนันตสมาคม 

            สำหรับนายพลตรี พระยาเสนาสงคราม ( ม.ร.ว. อี๋ นพวงศ์ )  ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์  บ้านอยู่ถนนนครชัยศรี  ได้ถูกนายทหารยศนายร้อยโท  มีบรรดาศักดิ์เป็นขุน  ยิงบาดเจ็บ  ไม่สามารถจะออกจากบ้านมาบัญชาการได้  โทรศัพท์ถูกตัดขาดการติดต่อ 

            ได้เชิญเสด็จ ฯ เจ้านางชั้นผู้ใหญ่ กักกันควบคุมตัวผู้บังคับการกรม  และบุคคลสำคัญในวงการทหารไว้  ที่กองรักษาการณ์ในพระที่นั่งอนันต์ ฯ

การเก็บอาวุธ และยึดโทรศัพท์กลาง

            ได้สั่งให้เก็บอาวุธกระสุนตามหน่วยทหารต่าง ๆ  และเข้าควบคุมคลังแสง เกือบจะมีการสู้รบกัน โดยนายพันตรี หลวงไกรชิงฤทธิ์  ( พุด  วินิจฉัยกุล )  ผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็ก ที่สะพานมัฆวาน ซึ่งได้จัดทหารหนึ่งกองร้อยขยายแถวเตรียมยิงต่อสู้  แต่เมื่อเห็นว่าหมดทางต่อสู้ จึงได้ถอนกำลังกลับเข้าที่ตั้งไป 

            การยึดสถานีโทรศัพท์กลางที่วัดเลียบ  ตอน  04.00 น.  เพื่อทำลายการติดต่อสื่อสาร  ผู้ก่อการ ฯ ฝ่ายพลเรือนจำนวน 6 คน เป็นผู้ปฏิบัติโดยมีกำลังฝ่ายทหารเรือให้ความคุ้มกัน  มีการวางแผนตรวจสอบสถานที่  และเตรียมการในรายละเอียดอย่างดี  ดังนั้นจึงใช้เวลาเพียง 15 นาทีก็สำเร็จเรียบร้อย  เมื่อทางตำรวจเข้ามาสอบถาม  ทางฝ่ายทหารเรือที่นำโดยนายทหารยศนายเรือเอกมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวง  ก็ประกาศว่า ได้เกิดกบฏขึ้นในพระนคร  ทางราชการทหารเรือ ได้มีคำสั่งให้มารักษาการณ์  แล้วได้จับกุมตำรวจเอาไว้ 

            ในด้าน อาวุธ และกระสุนนั้น  มีเจ้าของร้านปืนทั้งสองพี่น้อง ได้เป็นกำลังจัดหาอาวุธให้ผู้ก่อการ ฯ  ฝ่ายพลเรือนและพลพรรค

    ตั้งผู้รักษาการพระนคร        เมื่อคณะทหารได้ทำการยึดอำนาจ โดยใช้พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นฐานทัพ  ก็ได้แต่งตั้งคณะบุคคลคณะหนึ่ง เป็นผู้รักษาพระนคร คือ 

            นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา  นายพันเอกพระยาทรงสุรเดช  นายพันเอกพระยาฤทธิ์อัครเนย์ 

            แล้วได้ส่งโทรเลขไปกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ  ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน  ในเรื่องการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง  เพื่อขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ เป็นรากฐานในการปกครองประเทศ  โดยให้นายนาวาตรี หลวงศุภชลาศัย  นำเรือรบหลวงไปเชิญเสด็จ ฯ กลับพระนคร 

    ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ทางด้านการบริหารฝ่ายพลเรือน ได้เชิญเสด็จ ฯ เสนาบดี และเจ้ากระทรวงกับปลัดกระทรวงมาประชุมที่พระที่นั่งอนันตสมาคม โดยมีนายพันเอกพระยาพหลพยุหเสนา เป็นประธาน ได้ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบถึงความมุ่งหมายในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งคณะผู้ก่อการ ฯ คงตั้งมั่นในความจงรักภักดี และเทิดทูนพระมหากษัตริย์ กับจะเคารพต่อสัญญาที่รัฐบาลเดิม ได้มีข้อผูกพันกับต่างประเทศโดยครบถ้วน ขอให้เจ้ากระทรวงดำเนินการบริหารราชการประจำไปตามปกติ จนกว่าจะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ และโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งรัฐบาลขึ้นมาใหม่ ขอให้ช่วยกันรักษาความสงบให้บ้านเมืองอยู่ในสภาพปกติต่อไปด้วยดี กับได้เชิญหนังสือพิมพ์ทุกฉบับมาชี้แจงให้ดูและทราบเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากนี้ได้ทำหนังสือเวียนชี้แจงสถานการณ์ไปให้สถานทูตต่าง ๆ ทราบทั่วกัน นอกจากนี้คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารได้ขอพระมหากรุณาให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์ ฯ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ลงพระนามในคำประกาศ ขอให้ข้าราชการประชาชนตั้งอยู่ด้วยความสงบ

พระวิจารณ์ของพระราชวงศ์ผู้ใหญ่

             เมื่อพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ ถูกเชิญเสด็จไปประทับอยู่ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม พระองค์ได้ตรัสถามผู้ก่อการ ฯ คนหนึ่งซึ่งพระองค์รู้จักดีว่า ที่ยึดอำนาจนี้ต้องการอะไร ประสงค์อะไร แล้วจะดีกว่าที่เป็นอยู่เดิมหรือก็ได้รับคำตอบว่า อารยประเทศทั่วโลกก็มีปาเลียเม้นต์ทั่วไป ยกเว้นแต่อบิสซิเนีย พระองค์ได้ตรัสถามต่อไปว่า พวกผู้ก่อการซึ่งส่วนใหญ่อายุยังน้อย ส่วนใหญ่อยู่ในวัยประมาณสามสิบปีเศษเหล่านี้รู้จักคนไทยดีแล้วหรือ เพราะเขาเหล่านี้จะต้องเผชิญปัญหาเรื่องคน พระราชวงศ์จักรีได้ปกครองเมืองมา ๑๕๐ ปีแล้ว รู้ดีว่าคนไทยนี้ปกครองกันอย่างไร คณะผู้ก่อการ ฯ จะเข็นครกขึ้นเขาไหวหรือ ก็ได้รับคำตอบว่าการดำเนินการจะให้ราบรื่นไปทีเดียวคงไม่ได้ คงต้องมีการยึดอำนาจกันต่อไปอีกหลายยุค เรื่องคอนสติติวชั่นและปาเลียเมนต์ ก็จะเริ่มต้นกันสักวันหนึ่ง 

    ข้อความในในปลิว  ได้มีการออกใบปลิวของคณะผู้ก่อการ ฯ ซึ่งมีข้อความบางตอนที่รุนแรงอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวรรคสุดท้ายของประกาศยึดอำนาจมีความว่า 

            "จะได้นำประชาชนไปสู่ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐสุด ซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า 'ศรีอารยะ' นั้น ก็พึงบังเกิดแก่ราษฎรถ้วนหน้า"

การนำรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ

            ได้มีการนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราวขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย  ณ  วังสุโขทัย เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2475 ได้มีผู้เข้าเฝ้าเพื่อการนี้ 9 คน คือ นายพลเรือตรีพระยาศรยุทธเสนีย์ นายพันเอกพระยาทรงสุรเดช  นายพันเอกพระยาฤทธิอัครเนย์  นายพันโทพระประศาสน์พิทยายุทธ  นายพันตรีหลวงวีระโยธา หลวงประดิษฐ์มนูธรรม  นายร้อยโทจรูญ  ณ  บางช้าง  นายสงวน  ตุลารักษ์  นายร้อยโทประยูร  ภมรมนตรี 

            ได้โปรดเกล้า ฯ ให้หลวงประดิษฐ์ ฯ นำรัฐธรรมนูญขึ้นมาทูลเกล้า ฯ ถวายทรงรับสั่งถามว่า ได้อ่านรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาก่อนแล้วหรือยัง ก็ได้รับคำตอบว่ายังมิได้อ่าน เพราะมิใช่หน้าที่โดยเฉพาะ และได้กราบทูลต่อไปว่า ทางพระยาทรงสุรเดชได้ประชุมกำชับไว้มั่นคงแล้วว่า ให้ร่างรัฐธรรมนูญตามแบบอังกฤษ ซึ่งมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ จึงทรงรับสั่งว่าถูกต้องแล้ว ต้องการจะให้เป็นเช่นนั้นแต่เรื่องอะไรจึงต้องใช้คำแทนเสนาบดีว่า "คณะกรรมการราษฎร" ซึ่งเป็นแบบรัสเซีย 

            พระยาทรงสุรเดชได้กราบทูลขอพระราชทานสารภาพผิด และขอพระราชทานอภัยที่มิได้อ่านมาก่อน และขอถวายสัตย์ว่าจะไปร่างมาใหม่ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ ต่อมาในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 พระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้เป็นผู้นำรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายให้ทรงลงพระปรมาภิไธย  ณ  พระตำหนักจิตรลดา ฯ และในวันเดียวกันก็ได้มีประกาศวิทยุเป็นทางการทั่วประเทศ ที่ได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนชาวไทย 

            ต่อมาได้ประกาศตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรขึ้น 8 คน คือ 

                        4. นายพลเรือโทพระยาราชวังสัน 

                        8. นายพันตรีหลวงสินาดโยธารักษ์ 

            การร่างรัฐธรรมนูญใช้เวลา 2 เดือน 15 วัน เมื่อรวมเวลาตรวจเรื่องอีก 1 เดือน รวมเป็น 3 เดือนเศษ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้มีพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475

            ในวันที่คณะผู้ก่อการ ฯ ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ เพื่อขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 ได้ถือโอกาสทูลเกล้า ฯ ถวายพระราชกำหนดนิรโทษกรรม นับเป็นบทบัญญัติฉบับแรก ที่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ มีข้อความดังนี้ 

            " การกระทำของคณะราษฎรในครั้งนี้ หากจะเป็นการละเมิดกฎหมายใด ๆ ก็ดี ห้ามมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมาย 

            พระราชกำหนดนี้ได้ประกาศ  ณ  วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2475

            การก่อการ ฯ ครั้งนี้สำเร็จลงได้ด้วยการรู้จักใช้โอกาส วางแผนรัดกุม ปกปิด ฉับพลันเด็ดขาด 

            คณะผู้ก่อการ ฯ มีจุดหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญการปกครองประเทศ 

            คณะผู้ก่อการ ฯ มิได้ พิจารณากำหนดลัทธิเศรษฐกิจไว้แต่เริ่มแรกแต่ประการใด 

            คณะผู้ก่อการ ฯ ไม่ได้ทราบเรื่องการจัดตั้งคณะราษฎรมาก่อน และไม่ทราบเรื่องการขนานนามเสนาบดี ผู้บริหารประเทศเป็นกรรมการราษฎร แบบประเทศโซเวียตรัสเซีย 

            คณะผู้ก่อการ ฯ ได้เสนอให้นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นผู้นำ ในฐานะที่เป็นผู้อาวุโส และได้จัดตั้งผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร รวม 3 คน คือ นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นายพันเอกพระยาทรงสุรเดช และนายพันเอกพระยาฤทธิอัครเนย์

สภาผู้แทนราษฎรและคณะรัฐบาล 

                คณะผู้ก่อการ ฯ ได้พิจารณาด้วยบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นหัวหน้ารัฐบาล ได้มีการเสนอมหาอำมาตย์โทพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ซึ่งเคยเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา และเป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายเป็นประธานคณะราษฎร ซึ่งจะเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรต่อไป 

                ได้มีการเลือกสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง จำนวน 70 คน โดยได้แบ่งให้เป็นส่วนของผู้ก่อการ ฯ กึ่งจำนวน อีกกึ่งหนึ่งได้เลือกจากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่บรรดาศักดิ์เจ้าพระยา 3 คน ชั้นพระยา 22 คน ส่วนมากเป็นผู้พิพากษา ทหารบก และทหารเรือ กองทัพละ 3 คน ที่เหลือเป็นผู้ร่วมการกบฏ ร.ศ. 130 จำนวน 4 คน นักหนังสือพิมพ์กับพ่อค้าอีกจำนวนหนึ่ง 

            ได้เลือกมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี อดีตเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เป็นประธานสภา และนายพลตรีพระยาอินทรวิชิต เป็นรองประธานสภา 

            การคัดเลือกผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง มีปัญหาพอสมควร เพราะคณะผู้ก่อการ ฯ มี 98 คน ได้รับเลือกเพียง 30 คน สำหรับฝ่ายทหารได้กำหนดผู้ที่จะเป็นได้ในระดับยศนายพันตรี และนายนาวาตรีขึ้นไป

            ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ผู้ก่อการ ฯ  บางคนมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องการปรับปรุงกองทัพ แต่ในที่สุดก็ประนีประนอมกันได้ ต่อมาเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จ ก็เริ่มกลับไปดำเนินการตามแนวความคิดเดิมของตน โดยจะให้คงเหลือนายพลไว้ 2 นาย คือ ตำแหน่ง ปลัดทูลฉลอง (ปลัดกระทรวง)กลาโหม กับสมุหราชองครักษ์มีการตั้งกรรมการเลือกผู้บังคับบัญชา กับทั้งสั่งการโยกย้ายหน่วยทหารโดยฉับพลัน เกิดความวุ่นวายในกองทัพเป็นอย่างมาก เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ทั้งสองฝ่ายที่มีความเห็นไม่ตรงกันก็เป็นอริแก่กัน เกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มเป็นพวก และได้แผ่ขยายไปสู่พวกพลเรือนด้วย

            ในการนำร่างรัฐธรรมนูญเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร   ได้มีเรื่องโต้แย้งสำคัญอยู่หลายประการ   กล่าวคือ 

            ประการแรก  เกี่ยวกับบทบัญญัติที่ระบุให้เจ้านาย  และบรมวงศานุวงศ์อยู่เหนือการเมือง  โดยมีเจตจำนงที่จะมิให้เจ้านายมาพัวพัน  ต้องถูกโจมตีให้เสียศักดิ์ศรี  จึงควรให้อยู่เหนือการเมือง  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ  ทรงเห็นชอบด้วย  แต่มีพระราชปรารภว่าไม่ควรจะบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ  ให้เป็นการตัดสิทธิของเจ้านายที่เป็นพลเมืองไทยคนหนึ่ง  แต่จะทรงมีประกาศเป็นพระราชนิยม  ที่จะมิให้เจ้านายเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องการเมือง 

            ประการต่อมาคือ การใช้คำว่า  " กรรมการราษฎร "  แทนคำว่าเสนาบดี  ได้เป็นเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์กัน  โดยเฉพาะผู้ที่เป็นแกนสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญ   ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวง  คงยืนยันจะให้ใช้คำว่า  " กรรมการราษฎร "  ให้จงได้  มีผู้เสนอให้ใช้คำอื่นแทน เช่น   เลขาธิการว่าการกระทรวง เหมือนอย่างสหรัฐอเมริกา  บางท่านเสนอให้ใช้คำว่า  " ประศาสนกามาทย์   และมีท่านหนึ่งซึ่งเป็นนายทหารบก   เสนอให้ใช้คำว่า " รัฐมนตรี "  และมีผู้สนับสนุน  คำนี้เป็นคำโบราณที่แปลว่า ข้าราชการ  ผู้มีอำนาจในแผ่นดินซึ่งใช้กันทั่วไปในอินเดีย  มลายู  และชวา  และคำว่า  รัฐมนตรีนี้  เคยมีใช้กันมาในสมัย  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ  ที่เรียกว่า  สภารัฐมนตรี  มีข้าราชการพลเรือนอีกคนหนึ่ง   มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงได้ต่อว่าผู้ที่กล่าวว่า  กรรมการราษฎร  เป็นคำที่ใช้อยู่เฉพาะ  เป็นรัสเซียคอมมิวนิสต์  และบอกว่าเป็นเรื่องของคำ ๆ เดียว   ไม่เกี่ยวกับลัทธิ  ในที่สุดสภาผู้แทนราษฎรก็ลงมติให้ใช้คำว่า  " รัฐมนตรี   แทน " กรรมการราษฎร"  ด้วยคะแนนเสียง 28 ต่อ 7  งดออกเสียง 26

พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร

            ทางรัฐบาลได้กำหนดวันรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวรในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม 

            ในวันพระราชพิธีรับพระราชทานรัฐธรรมนูญ ได้จัดเป็นงานมโหฬาร ข้าราชการทั้งในและนอกราชการ ตลอดจนทูตานุทูต ได้เข้าเฝ้าประจำตำแหน่งอย่างครบครัน  สำหรับข้าราชการพลเรือน ได้ยกเลิกยศอำมาตย์ ดังนั้นเครื่องแบบที่เคยแต่งอย่างสง่างาม จึงเปลี่ยนมาเป็นเครื่องแบบชุดขาวติดแผงที่คอ 

            เมื่อได้ฤกษ์ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี ก็ได้นำรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ทรงลงพระปรมาภิไธย ในท่ามกลางมหาสมาคม  แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  มอบรัฐธรรมนูญให้แก่พระยามโนปกรณ์ ฯ

งานฉลองรัฐธรรมนูญครั้งแรก 

            งานพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ  ได้มีการหยุดราชการ 3 วัน  และจัดให้มีงานมหรสพที่ท้องสนามหลวง  และสวนลุมพินี  มีการประดับโคมไฟกันทั่วไปในพระนคร  ตลอดจนต่างจังหวัดด้วย 

            ในโอกาสนี้ได้ประพันธ์บทเพลงชาติขึ้น  โดยความริเริ่มของนายพันเอกพระยาทรงสุรเดช  เป็นการกระตุ้นเตือนให้คนไทย  สำนึกในชาติกำเนิดของตน 

            ในงานฉลองรัฐธรรมนูญได้มีเรื่องที่เนื่องมาจากการปกครองแบบใหม่อยู่หลายเรื่องด้วยกันคือ    นักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ  ได้หยุดเรียนมาชุมนุมประท้วงระเบียบการของโรงเรียน  จีนลากรถรับจ้างสไตร๊คหยุดงานประท้วงนายจ้างที่เอาเปรียบ  และไม่ปรับปรุงรถให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้   ลูกศิษย์วัดบางแห่งถือหลักสิทธิเสมอภาคกันไม่หุงข้าวให้พระฉัน  และมีเรื่องขบขันเกิดขึ้นในบางจังหวัด  เมื่อมีการฉลองรัฐธรรมนูญกันมโหฬาร  ก็เข้าใจว่าเป็นการสมโภชบุตรชายคนใหม่ของพระยาพหล  เป็นต้น 

พิพิธภัณฑ์รัฐสภาได้จัดตั้งขึ้นและเริ่มดำเนินการจัดแสดงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2517 เป็นหน่วยงานหนึ่งในศูนย์บริการเอกสารและค้นคว้า สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา โดยให้มีหน้าที่รวบรวมและเก็บรักษาเอกสารและวัสดุต่าง ๆ ที่เป็นประวัติศาสตร์ทางการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา จัดเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อประโยชน์ในการศึกษาถึงวิวัฒนาการการเมืองการปกครองของไทย ในเริ่มแรกพิพิธภัณฑ์รัฐสภามีสถานที่ทำการอยู่บริเวณเดียวกันกับห้องสมุดรัฐสภา ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชั้นล่างของตึกเอ (ปัจจุบันคืออาคารรัฐสภา 1)

 สถานที่ตั้งและการให้บริการ

ห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑ์รัฐสภา 

อาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 

เปิดให้บุคคลผู้สนใจทั่วไปเข้าชมในเวลาราชการ 

(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) 

ระหว่างเวลา 09.00-16.00 นาฬิกา

โทรศัพท์ 02 2442055-6, 02 2441059 

พ.ศ. 2519 ได้มีโครงการปรับปรุงห้องโถงชั้นล่างของพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นพิพิธภัณฑ์รัฐสภา ซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้สถานที่แล้ว แต่ยังมิได้ดำเนินการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ขึ้น เนื่องจากในช่วงนั้นต้องมีการซ่อมแซมปรับปรุงพระที่นั่งอนันตสมาคมซึ่งเกิดความชำรุด ทำให้การจัดแสดงระงับไว้ชั่วคราวก่อน ในปี พ.ศ. 2521 พิพิธภัณฑ์รัฐสภาได้รับอนุญาตให้ย้ายจาก ชั้นล่างตึกเอ มาเปิดทำการและจัดแสดงอยู่ที่ชั้น 5 ตึกบี (ปัจจุบันคืออาคารรัฐสภา 3) จนกว่าจะมีการ ซ่อมแซมปรับปรุงพระที่นั่งอนันตสมาคมเสร็จเรียบร้อย

พ.ศ. 2523 ได้มีการเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ อาคารรัฐสภา 1 พร้อมทั้งให้เปิดห้องใต้ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ให้มาจัดแสดง ใช้ชื่อว่า พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา และมอบหมายให้หน่วยงานพิพิธภัณฑ์รัฐสภา รับผิดชอบในการบริหารจัดการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พ.ศ. 2527 นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานรัฐสภาในขณะนั้น ได้มีดำริให้สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาดำเนินการปรับปรุงพระที่นั่งอนันตสมาคม เพื่อใช้เป็นห้องรับรองแขกระดับสูงของรัฐสภา พร้อมมีดำริให้ดำเนินการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์รัฐสภา ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมอีกครั้ง โดยมีการจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองและสิ่งของที่ระลึก ที่รัฐสภาได้รับมอบจากต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา

การดำเนินการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์รัฐสภา ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ได้ดำเนินการเพียงระยะเวลาหนึ่ง จึงได้ย้ายมาจัดแสดงรวมอยู่ในสถานที่เดียวกันกับการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อรองรับคณะผู้เข้าเยี่ยมชมรัฐสภา ได้แก่ คณะนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ทั้งสองแห่งในสถานที่เดียวกัน

ในปี พ.ศ. 2541 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. 2541 พร้อมมีการจัดตั้งสถาบันพระปกเกล้าขึ้น มีผลทำให้การจัดแสดงในส่วนของพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโอนไปอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งในระยะเวลาต่อมาจึงได้มีการส่งมอบสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ที่ได้จัดแสดงอยู่ ให้แก่สถาบันพระปกเกล้า เพื่อนำไปจัดแสดงใหม่ ณ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (อาคารกรมโยธาธิการเดิม) ถนนหลานหลวง เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ทำให้ห้องจัดแสดงใต้ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ว่างลง จึงได้ดำเนินการปรับพื้นที่ใหม่ ทำเป็นห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑ์รัฐสภาเป็นการถาวรตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์รัฐสภา อยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มงานพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพเมื่อวันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 เป็น พระราชโอรสพระองค์สุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ทรงเป็นเจ้าฟ้าพระอนุชาองค์สุดท้ายที่ร่วมพระบรมราชชนนีเดียวกันกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระเชษฐาตามลำดับ ดังนี้

สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)

สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

สมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา

สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย

สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา (พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7)

เมื่อมีพระชนมายุได้ 12 พรรษา ทรงได้รับพระราชทานพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนามว่า “ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ”

ในปีพุทธศักราช 2447 ได้เสด็จไปศึกษาวิชาสามัญที่วิทยาลัยอีตัน (Eton College) ประเทศอังกฤษ และทรงเข้าศึกษาต่อด้านวิชาการทหาร ณ โรงเรียนนายร้อยทหารบกที่เมืองวูวิช (Woolwich) ในปี พ.ศ. 2456

เมื่อเสด็จกลับเมืองไทยทรงเข้ารับราชการในกองทัพบก ณ กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ โดยได้รับพระราชทานเลื่อนยศนายทหารสูงขึ้นตามลำดับ ต่อมาได้เสด็จเข้าศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหาร Ecole de Guerre ประเทศฝรั่งเศส โดยทรงสำเร็จการศึกษาในปีพุทธศักราช 2467

ในปีพุทธศักราช 2460 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลาราชการเพื่อทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วเสด็จประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวรวิหาร

ขณะที่พระองค์ทรงผนวชอยู่นั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเห็นว่าพระองค์เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์สุดท้ายน่าจะมิได้ทรงดำรงตำแหน่งทางราชการที่สำคัญ ๆ เทียบเท่ากับสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอทั้งหลายเป็นแน่ แต่ถ้าหากทรงดำรงอยู่ในสมณเพศตลอดไปแล้ว ย่อมจะทรงมีโอกาสเป็นใหญ่ในบรรดาพระสงฆ์อย่างแน่นอน จึงทรงแนะนำว่าควรจะทรงผนวชอยู่ตลอดไป อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิเสธพระประสงค์นี้ โดยทูลตอบตามตรงว่าพระองค์ทรงมีความรักเสียแล้ว ประกอบกับเหตุผลอีกประการหนึ่ง คือ ข้อจำกัดทางด้านพระพลานามัยของพระองค์ที่ประชวรอยู่บ่อยครั้ง

เมื่อทรงลาผนวชแล้วในปีพุทธศักราช 2461 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี (พระธิดาในเสด็จในกรมสมเด็จฯ พระสวัสดิวัดนวิสิษฐ์ และหม่อมเจ้าหญิงอาภาพรรณี) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2461 ณ พระที่นั่งวโรภาสพิมาน พระราชวังบางประอิน

เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เนื่องจากพระองค์ยังมิทรงมีพระมเหสีและพระราชโอรส ดังนั้นจึงทรงออกพระราชกฤษฎีกาประกาศตั้งองค์รัชทายาท เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 โปรดเกล้าฯ ระบุให้ตำแหน่งรัชทายาทสืบทอดต่อกันในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอร่วมพระราชชนนีตามลำดับพระชนมายุ โดยเริ่มจากสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ จนกว่าพระองค์จะทรงมีพระราชโอรส แต่ในช่วงระยะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2463 - 2468 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จทิวงคตและสิ้นพระชนม์ไปตามลำดับคือ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จทิวงคตปี พ.ศ. 2463 สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย สิ้นพระชนม์ปี พ.ศ. 2466 และสมเด็จฯ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา สิ้นพระชนม์ปี พ.ศ. 2467 เหลือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น จึงนับได้ว่าทรงเป็นองค์รัชทายาทโดยอนุโลมและจากความตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราขึ้นต่อมาในปี พ.ศ. 2467 ก็มิได้มีข้อความประการใดที่จะเพิกถอนสิทธิในตำแหน่งองค์รัชทายาทที่ทรงดำรงอยู่

ดังนั้น นอกเหนือจากหน้าที่ราชการในทางทหารแล้ว พระองค์จึงยังต้องทรงศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีการปกครองบ้านเมืองและราชการแผ่นดินตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการเตรียมพระองค์ทางการปกครองในฐานะที่ทรงดำรงตำแหน่งองค์รัชทายาท และไม่เพียงแต่ทรงศึกษาราชการแผ่นดินเท่านั้น บางครั้งในทางปฏิบัติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็โปรดเกล้าฯ ให้พระองค์ทรงปฏิบัติราชการแทนพระองค์ในช่วงที่เสด็จพระราชดำเนินประทับอยู่นอกพระนคร ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำหน้าที่ในการสั่งหนังสือราชการแทนพระองค์และประทับเป็นประธานในที่ประชุมเสนาบดีสภาด้วย ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่แทนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ต่อมาจึงได้เลื่อนพระเกียรติขึ้นเป็น “ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ” และหลังจากได้ทรงรับสถาปนาเป็นกรมหลวงไม่ทันถึงเดือน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระองค์จึงได้รับอัญเชิญขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินในวันเดียวกันนั้นเอง และทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 การเริ่มปีพุทธศักราชใหม่ของไทยในสมัยนั้น คือเดือนเมษายน) ทรงมีพระปรมาภิไธยใหม่ว่า “ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ” ซึ่งขณะนั้นทรงมีพระชนมพรรษาเพียง 33 พรรษา พร้อมกับทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี พระวรชายา ขึ้นเป็น “ สมเด็จพระนาง เจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ” ด้วย

ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะเห็นประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในรัชกาลของพระองค์ ได้มีพระราชอุตสาหะให้มีการพัฒนาการเมืองอย่างมีขั้นตอนและสร้างสถาบันทางการเมืองขึ้น ในขณะที่สถาบันที่ทรงสร้างกำลังดำเนินการไปตามแนวทางนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เตรียมการร่างรัฐธรรมนูญ อันเป็นกฎหมายสูงสุดตามแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยไปพร้อมกัน แรกทีเดียวมีพระราชดำริว่าจะพระราชทานในวาระที่มีงานพระราชพิธีฉลองกรุงเทพมหานครครบรอบ 150 ปี ในปี พุทธศักราช 2475 แต่พระราชดำรินี้ต้องระงับไป เนื่องจากคณะอภิรัฐมนตรีสภายังไม่เห็นด้วยกับการพระราชทาน รัฐธรรมนูญ แต่ต่อจากนั้นอีก 2 เดือน ได้มีคณะบุคคลซึ่งเรียกตนเองว่า “ คณะราษฎร ” ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 และได้กราบบังคมทูลขอให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

ภายหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรขึ้น และเมื่อผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และได้มีพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

แม้ว่าพระองค์จะมีพระราชประสงค์ และจุดมุ่งหมายให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย คือการให้อำนาจปกครองตนเองแก่ประชาชนมากขึ้น แต่ทว่าพระองค์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับหลักการและการกระทำของคณะราษฎรหลายประการ ประกอบกับพระสุขภาพพลานามัยเกี่ยวกับสายพระเนตร จึงตัดสินพระทัยเสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศอังกฤษเพื่อทรงเข้ารับการผ่าตัดพระเนตร โดยเสด็จพระราชดำเนินพร้อมกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ออกจากพระนคร เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476

จากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เป็นสาเหตุให้พระองค์ทรงตัดสินพระราชหฤทัยสละราชสมบัติขณะประทับอยู่ ณ บ้านโนล แครนลี ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 และทรงประทับพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ณ ประเทศอังกฤษนั้นเอง โดยมิได้เสด็จนิวัติประเทศไทยอีกเลย จนกระทั่งเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ด้วยโรคพระหทัยวาย ขณะมีพระชนมายุ 48 พรรษา

ในปีพุทธศักราช 2492 คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้อัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีนาถ เสด็จกลับสู่ประเทศไทย และได้อัญเชิญพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐานยังหอพระบรมอัฐิ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เสมอด้วยพระบรมอัฐิสมเด็จพระบูรพมหากษัตราธิราชเจ้าในพระบรมราชจักรีวงศ์ สมพระเกียรติยศในฐานะพระมหากษัตริย์ทุกประการ

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ คณะรัฐมนตรี ได้กำหนดให้วันที่ 30 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของทุกปี เป็นวันพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2545

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เวลาย่ำรุ่ง ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 มีคณะบุคคลที่เรียกว่า " คณะราษฎร " ประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน โดยสายทหารบกมีนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นหัวหน้า สายทหารเรือ มีนายนาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) เป็นหัวหน้า และสายพลเรือนมีอำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐมนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันทำการยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ และพระมหากษัตริย์ อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

คณะราษฎรประกาศแถลงการณ์ฉบับแรก

ในวันนั้นเป็นวันที่คณะราษฎรได้วางแผนและนัดหมายกันไว้ ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ประกอบไปด้วยกำลังทหารบก ทหารเรือ และหน่วยรถถังพร้อมอาวุธ เมื่อถึงเวลานัดหมายเวลา 6 นาฬิกาตรง นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร ได้อ่านแถลงการณ์ประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎรฉบับแรกต่อหน้าแถวทหาร ความในประกาศตอนหนึ่ง คือหลัก 6 ประการ ที่คณะราษฎรได้วางไว้เป็นหลักและยึดเป็นนโยบายบริหารประเทศต่อมา มีดังนี้

จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในการเมือง ในทางศาล

ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง

จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก

จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

จะต้องให้ราษฎรได้สิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎร เช่นที่เป็นอยู่)

จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น

จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

การประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย คณะราษฎรโดยคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้มีการแต่งตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวขึ้น จำนวน 70 คน นับว่าประเทศไทยมีผู้แทนราษฎรเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และได้เริ่มมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ณ ห้องโถงชั้นบนของพระที่นั่งอนันตสมาคม

เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก

การประชุมในวันนั้น เริ่มเวลา 14. 00 นาฬิกา โดยใช้ห้องโถงชั้นบนของพระที่นั่ง อนันตสมาคมเป็นที่ประชุม มีการจัดโต๊ะเก้าอี้เป็นรูปครึ่งวงกลม ตั้งอยู่ในระดับเดียวกันเป็นการชั่วคราว

การประชุมในวันนั้น ยังไม่มีข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร จึงได้นำเอา ข้อบังคับการประชุมของสภากรรมการองคมนตรีเฉพาะที่ไม่ขัดกับพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 มาใช้ไปพลางก่อน

ผู้แทนราษฎรที่ได้รับแต่งตั้งชุดแรก จำนวน 70 คน ได้กล่าวคำปฏิญาณตนต่อที่ประชุม มีความว่า

“ ข้าพเจ้า (ออกนามผู้ปฏิญาณตน) ขอให้คำปฏิญาณว่าจะซื่อสัตย์ต่อคณะราษฎร และจะช่วยรักษาหลัก 6 ประการของคณะราษฎรไว้ให้มั่นคง

จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาลในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง

จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก

จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะพยายามหางานให้ราษฎรทำโดยเต็มความสามารถ จะร่างโครงการณ์เศรษฐกิจแห่งชาติไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน

จะต้องให้ราษฎรมีเสรีภาพ มีความเป็นอิสสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น

จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร ”

ความเป็นมาและแนวคิดในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ภายหลังคณะราษฎรได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นผลให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม โดยทรงเติมคำว่า “ ชั่วคราว ” ไว้ต่อท้าย ทั้งนี้ ได้มีพระราชกระแสรับสั่งแก่คณะราษฎรว่าให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินนั้นไปชั่วคราวก่อน แล้วจึงเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะอนุกรรมการร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นฉบับถาวรขึ้นใช้ต่อไป

ต่อมาวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมได้มีมติตั้งคณะอนุกรรมการร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินฉบับใหม่ จำนวน 7 คน ประกอบด้วย

ต่อมาภายหลังได้มีการตั้งเพิ่มเติมอีก 2 คน คือ

ในระหว่างที่คณะอนุกรรมการฯ กำลังร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินอยู่นั้น ได้มีการเชิญชวนให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินด้วย ในการนี้หม่อมเจ้าวรรณไวทยากรวรวรรณ ได้ทรงแสดงความคิดเห็นผ่านหนังสือพิมพ์ ให้เปลี่ยนชื่อเรียกพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินใหม่ โดยให้ใช้คำว่า “ รัฐธรรมนูญ ” แทน และคณะอนุกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว

ต่อมาเมื่อคณะอนุกรรมการฯ ได้ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว จึงได้เสนอสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ประธานคณะอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้ขอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรนำร่างรัฐธรรมนูญกลับไปพิจารณาภายในเวลา 10 วัน โดยจะมาประชุมกันอีกครั้ง เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 ถ้าสมาชิกคนใดมีข้อที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงประการใดให้เสนอเป็นญัตติมายังประธานสภาผู้แทนราษฎร 3 วัน ก่อนถึงวันประชุม แต่ได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางคนท้วงติงว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสำคัญยิ่ง การให้เวลาเพียง 10 วันนั้น เป็นระยะเวลาที่สั้นไป ควรผ่อนเวลาไปอีกสัก 1 สัปดาห์ เพื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะได้ตรึกตรองให้ดีเสียก่อนแล้วจึงมาประชุมกัน แต่พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ประธานอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวตอบว่า “ ได้นำร่างรัฐธรรมนูญนี้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายทอดพระเนตร์ ทรงมีรับสั่งว่าเป็นที่พอพระราชหฤทัย และได้ทรงแนะนำว่าการประกาศรัฐธรรมนูญนั้นเป็นของสำคัญยิ่งใหญ่ ควรจะมีพิธีรีตอง จึ่งโปรดเกล้าฯ ให้โหรหลวงหาฤกษ์ยาม ได้ 3 ฤกษ์ ฤกษ์ 1 ตกวันที่ 1 ธันวาคม ฤกษ์ 2 ตกวันที่ 10 ธันวาคม ฤกษ์ 3 ตกไปกลางเดือนมกราคม จึ่งได้คิดว่าสำหรับฤกษ์ 1 นั้น เวลากระชั้นเกินไปคงไม่ทัน จึงได้กำหนดไว้เป็นวันที่ 10 ธันวาคม คือฤกษ์ 2 ส่วนฤกษ์ 3 นั้น เวลานานไป ฉะนั้นจึ่งอยากรีบเร่งพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อให้ทันในวันที่ 10 ธันวาคม โดยหวังว่า จะแล้วเสร็จจากสภาภายในวันที่ 30 เดือนนี้ โดยเราจะประชุมกัน ตั้งแต่ 4 โมงเช้าเรื่อย ๆ ไปทุกวันจนกว่าจะเสร็จ เพื่อให้แล้วก่อนฤกษ์ 10 วัน โดยทรงเห็นว่ารัฐธรรมนูญนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิ์และเป็นของที่ควรจะขลัง เพราะฉะนั้นต้องการจะเขียนใส่สมุดไทย ซึ่งจะกินเวลาหลายวัน ฉะนั้น จึ่งใคร่รีบประชุมเสียให้เสร็จก่อนกำหนดดังกล่าวแล้ว ”

ต่อมาในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้เริ่มพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญภายหลังจากที่ได้ให้เวลาสมาชิกพิจารณาเป็นเวลา 10 วันแล้ว โดยที่ประชุมได้มีมติให้พิจารณาทีละมาตรา แล้วลงมติในแต่ละมาตรา รวม 68 มาตรา โดยสภาผู้แทนราษฎรใช้เวลาพิจารณาตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน จนถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน รวมทั้งสิ้น 5 วัน ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม

ต่อจากนั้น จึงได้นำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว นำไปเขียนลงในสมุดไทย รวม 3 ฉบับ และเมื่อได้ดำเนินการเสร็จแล้ว จึงได้นำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามฉบับสมุดไทยขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2547

นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ถ้าหากมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น และต้องผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติ และได้รับความเห็นชอบจากสภาแล้ว จะต้องนำร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้น ๆ มาเขียนลงในสมุดไทยก่อนที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ ซึ่งยึดถือปฏิบัติเป็นธรรมเนียมประเพณีที่สืบต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน

รัฐธรรมนูญที่มีการจารึกลงในสมุดไทย

นับแต่ประเทศไทยได้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่ปี 2475 จนถึงปัจจุบัน ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดมาแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ แต่รัฐธรรมนูญที่มีการจารึกหรือเขียนลงในสมุดไทยนั้น จะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านการร่างโดยกระบวนการนิติบัญญัติหรือผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาแล้วเท่านั้น ซึ่งมีจำนวน 10 ฉบับ คือ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550

ส่วนฉบับที่ประกาศใช้เป็นการชั่วคราว อันเนื่องมาจากการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินนั้นจะไม่มีการจารึกหรือเขียนลงในสมุดไทย ซึ่งมีจำนวน 8 ฉบับ คือ

พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490

ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502

ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519

ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520

ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549

หมุดเปลี่ยนแปลงการปกครอง (จำลอง)

ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการหล่อหมุดทองเหลืองเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และได้กระทำพิธีฝังหมุด เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 บริเวณลานพระราชวังดุสิต ณ เบื้องซ้ายของพระบรมรูปทรงม้า รัชกาลที่ 5 ซึ่งจุดที่ฝังหมุดนั้น เป็นจุดที่นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร ได้ยืนอ่านแถลงการณ์ประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งถือว่าเป็นจุดกำเนิดของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

หมุดนี้มีข้อความจารึกไว้ว่า

“ ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ ”

หลังจากประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย มีรัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จึงได้มีการตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวขึ้นจำนวน 70 คน และได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกในวันเดียวกัน ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม

ในการประชุมสภา และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่จึงได้เริ่มขึ้นนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ในการดำเนินงานดังกล่าวได้หลงเหลือเครื่องใช้สำนักงานบางชิ้นไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชม และสะท้อนให้ทราบถึงประวัติการดำเนินงานในบางช่วงเวลาของการประชุมสภาและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในอดีตอีกด้วย

ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกขึ้น เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ในการประชุมนั้นได้ใช้เจ้าหน้าที่จดชวเลขมาจดถ้อยคำในการประชุมสภา เพื่อนำมาทำรายงานการประชุมนับแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

หีบบัตรและบัตรเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ได้บัญญัติให้รัฐสภาเป็นแบบสองสภา ประกอบด้วย พฤฒสภาและสภาผู้แทน

พฤฒสภา ประกอบด้วยสมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้ง มีจำนวน 80 คน ในวาระเริ่มแรก ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่อยู่ในตำแหน่งในขณะนั้น เป็นผู้เลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกพฤฒสภา เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489

ในการเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภาครั้งนั้น สมาชิกที่เป็นผู้เลือกจะทำเครื่องหมาย เพื่อเลือกผู้สมัครสมาชิกพฤฒสภาลงในบัตรเลือกตั้ง เมื่อทำการเลือกเรียบร้อยแล้ว จะนำบัตรเลือกตั้งใส่ซองที่แจกให้ และนำมาหย่อนใส่หีบบัตรเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง

การออกเสียงลงคะแนน เป็นวิธีการลงมติของสมาชิกในที่ประชุม โดยใช้วิธีการออกเสียงลงคะแนนโดยเปิดเผยหรือลับตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุม เช่น

การยกมือขึ้น (พ้นศีรษะ) ยืนขึ้น เรียกชื่อสมาชิกเรียงลำดับอักษรให้ลงคะแนนเป็นรายบุคคล

การใช้บัตรสีลงคะแนนโดยผู้เห็นด้วยให้ใช้บัตรสีน้ำเงิน ผู้ไม่เห็นด้วยให้ใช้บัตรสีแดง ส่วนผู้ไม่ออกเสียงให้ใช้บัตรสีขาว

การลงเบี้ยสีโดยผู้เห็นด้วยให้ลงเบี้ยสีน้ำเงิน ผู้ไม่เห็นด้วยให้ลงเบี้ยสีแดง ส่วนผู้ไม่ออกเสียงให้ลงเบี้ยสีขาว

การเขียนเครื่องหมายลงบนแผ่นกระดาษ ผู้เห็นด้วยให้เขียนเครื่องหมายถูก (/ ) ผู้ไม่เห็นด้วยให้เขียนเครื่องหมายผิดหรือกากบาท (x) ส่วนผู้ที่ไม่ออกเสียงให้เขียนเครื่องหมายวงกลมหรือสูญ (0)

การใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนน

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารได้ การดำเนินงานและนโยบายการบริหารประเทศบางประการเป็นที่ขัดเคือง และไม่สอดคล้องกับแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จนนำไปสู่การตัดสินพระราชหฤทัยสละราชสมบัติของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2477 ขณะประทับพร้อมสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ที่ Knowle House เมือง Cranleigh มณฑล Surrey ประเทศอังกฤษ

ข้อความตอนหนึ่งในลายพระราชหัตถเลขาทรงสละราชสมบัติซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรง ตระหนักและเข้าพระทัยในคุณค่าและจิตวิญญาณของประชาธิปไตยอย่างแท้จริงว่า

“… ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดย สิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร …”

ลำดับเหตุการณ์ก่อนการปฏิวัติ (พ.ศ. 2469-2475)

กุมภาพันธ์ - คณะราษฎรได้ถูกจัดตั้ง และประชุมครั้งแรก ที่หอพัก Rue Du Somerard กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ผู้เข้าร่วมประชุมมี 7 คน คือ

ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี (นายทหารกองหนุน อดีตผู้บังคับหมวดทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์รัชกาลที่ 6)

ร.ท. แปลก ขีตตะสังคะ (นักศึกษาในโรงเรียนนายทหารปืนใหญ่ฝรั่งเศส)

ร.ต. ทัศนัย มิตรภักดี (นักศึกษาในโรงเรียนนายทหารม้าฝรั่งเศส)

นายตั้ว ลพานุกรม (นักศึกษาวิทยาศาสตร์ในสวิตเซอร์แลนด์)

หลวงสิริราชไมตรี (ผู้ช่วยสถานทูตสยามประจำกรุงปารีส)

นายแนบ พหลโยธิน (เนติบัณฑิตอังกฤษ)

นายปรีดี พนมยงค์ (ดุษฎีบัณฑิตกฎหมายฝ่ายนิติศาสตร์ ฝรั่งเศส)

การประชุมกินเวลานานถึง 5 วัน และลงมติให้นายปรีดีเป็นประธาน และหัวหน้าคณะราษฎร จนกว่าจะมีบุคคลที่เหมาะสมมาเป็นในกาลต่อไป[1][2]

12 มิถุนายน - คณะราษฎรได้วางแผนการที่บ้าน ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี เพื่อจะดำเนินการควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร

24 มิถุนายน - คณะราษฎรประกาศ เปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย ในการปฏิบัติการ มีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าคณะราษฎร

[แก้]ลำดับเหตุการณ์หลังการปฏิวัติ (พ.ศ. 2475-2503)

25 มิถุนายน - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพมหานคร โดยทางรถไฟ ถึงสถานีจิตรลดา เวลา 0.37 น. เข้าวันอาทิย์ที่ 26 มิถุนายน

26 มิถุนายน - เวลา 11.00 น. คณะราษฎรจำนวน 6 นาย ประกอบด้วย พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ พ.ต.หลวงวีระโยธิน หลวงประดิษฐ์มนูธรรม นายประยูร ภมรมนตรี นายจรูญ ณ บางช้าง นายสงวน ตุลารักษ์ และมีพล.ร.ต.พระศรยุทธเสนี เป็นผู้นำเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

27 มิถุนายน - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงพระปรมาภิไธยในธรรมนูญการปกครองประเทศ โดยทรงเพิ่มคำว่า "ชั่วคราว" ต่อท้ายธรรมนูญการปกครองประเทศ โดยมีนายปรีดี พนมยงค์เป็นผู้ร่าง[3]

28 มิถุนายน - สภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกตามธรรมนูญการปกครองประเทศชั่วคราว มีสมาชิก 70 คน โดยแต่งตั้งจากคณะราษฎร 31 คน และจากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในระบอบเดิม 39 คน ทำการเลือกพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธานกรรมการราษฎร เทียบเท่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย[4] เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกและมีนายปรีดี พนมยงค์เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรก[5]

25 สิงหาคม - คณะราษฎรโดย พระยานิติศาสตร์ไพศาล จดทะเบียนจัดตั้ง สมาคมคณะราษฎร ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นพรรคการเมืองแรกของไทย (เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีบัญญัติคำว่า "พรรคการเมือง") [6][7]

10 ธันวาคม - รัฐธรรมนูญฉบับถาวรผ่านการเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้บริหารชุดใหม่ในนามใหม่ คือ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจำนวน 20 นาย (โดยไม่ได้ใช้ชื่อตำแหน่งว่า ประธานคณะกรรมการราษฎร และ กรรมการราษฎร อีกต่อไป) คณะบริหารชุดใหม่มีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรี และมีรัฐมนตรีประจำกระทรวง 7 กระทรวง และรัฐมนตรีลอยอีก 13 คน[2]

15 มีนาคม - นายปรีดีเสนอ "เค้าโครงร่างเศรษฐกิจ" หรือที่เรียกกันว่า "สมุดปกเหลือง" เพื่อให้พิจารณาใช้เป็นหลักสำหรับนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ[8][9]

1 เมษายน - มีพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร และงดใช้รัฐธรรมนูญเกือบทุกมาตรา[10] (บางข้อมูลอธิบายว่าพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการยึดอำนาจตัวเอง เพื่อจัดตั้งคณะรัฐบาลใหม่[2])

2 เมษายน - พระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ถูกประกาศใช้ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี[11] เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง[2] (ในที่นี้ อาจหมายถึง คณะราษฎร เพราะนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นอยู่ตรงข้ามกับคณะราษฎร)

12 เมษายน - นายปรีดีถูกบังคับให้เดินทางออกนอกประเทศไปยังฝรั่งเศส เนื่องจากความเห็นของนายปรีดีถูกโจมตีว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ภายหลังการเสนอเค้าโครงร่างทางเศรษฐกิจ ที่เจ้าและขุนนางต้องเสียผลประโยชน์[12]

10 มิถุนายน - พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระประศาสน์พิทยายุทธ และพระยาฤทธิอัคเนย์ ผู้นำสายทหารของคณะราษฎรยื่นจดหมายลาออก[10]

20 มิถุนายน - พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาทำการยึดอำนาจพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี หลังจากการรัฐประหารได้มีการล้างมลทินให้หลวงประดิษฐมนูธรรม

29 กันยายน - นายปรีดี พนมยงค์เดินทางกลับสยาม และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

11 ตุลาคม - กบฏบวรเดช: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารนำกำลังทหารจากหัวเมืองภาคอีสานล้มล้างการปกครองของรัฐบาล เนื่องจากไม่พอใจที่นายถวัลย์ ฤทธิเดชฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในกรณีที่ที่พระองค์มีพระบรมราชวินิจฉัยคัดค้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ("สมุดปกเหลือง") โดยออกเป็นสมุดปกขาว แต่กระทำการไม่สำเร็จ

23 ตุลาคม - นายพันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) ถูกยิงเสียชีวิตโดยทหารจากกองพันทหารราบที่ 6 นำโดยพันตรีหลวงวีรวัฒน์โยธา

25 ตุลาคม - พระองค์เจ้าบวรเดช หัวหน้าคณะกบฏและพระชายา ทรงขึ้นเครื่องบินเดินทางหนีไปยังประเทศอินโดจีนฝรั่งเศส

7 พฤศจิกายน - ออกพระราชบัญญัติป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ อันเป็นเครื่องมือที่จะตอบโต้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล[2] (ในที่นี้ อาจหมายถึง ฝ่ายตรงข้ามกับคณะราษฎร)

16 ธันวาคม - พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาแบบ 2 ชั้น (1 ตุลาคม - 15 พฤษภาคม) [11]

25 ธันวาคม - หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณทรงเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาเรื่องที่นายปรีดี เป็นคอมมิวนิสต์ ได้ลงมติว่าตัวนายปรีดี มิได้เป็นคอมมิวนิสต์[2]

2 มีนาคม - พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ ขณะประทับรักษาพระเนตรอยู่ในประเทศอังกฤษ

2 มีนาคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 8 แห่งราชจักรีวงศ์ ขณะที่มีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา 5 เดือน 10 วัน ได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

13 กันยายน - รัฐบาลลาออก เพราะแพ้คะแนนเสียงในสภาเรื่องสัญญาการจำกัดยาง[11]

22 กันยายน - ตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[11]

14 ตุลาคม - เปิด อนุสาวรีย์ปราบกบฎ หรือ อนุสาวรีย์พิทักษ์ธรรมนูญ ที่บางเขน (ปัจจุบันเรียกเพียงว่า "อนุสาวรีย์หลักสี่") [13]

27 กรกฎาคม - พระยาพหลพลพยุหเสนาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากกรณีอื้อฉาวที่มีกระทู้ถามเรื่องการนำที่ดินของพระคลังข้างที่มาซื้อขายในราคาถูกเป็นพิเศษ เพื่อเป็นแสดงความบริสุทธิ์และแสดงให้เห็นถึงความไม่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายที่ดินดังกล่าว[2]

5 สิงหาคม - จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี รับสนองพระบรมราชโองการ แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่าด้วยนามประเทศ โดยให้เรียกชื่อประเทศว่า "ประเทศไทย" และเปลี่ยนคำว่า "สยาม" ให้เป็น "ไทย" แทน โดยเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงหลักการของ "ลัทธิชาติ-ชาตินิยม" ว่า "รัฐบาลเห็นควรถือเป็นรัฐนิยมให้ใช้ชื่อประเทศ ให้ต้องตามชื่อเชื้อชาติ และความนิยมของประชาชน"[14]

7 พฤศจิกายน - การเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 2 ในประวัติศาสตร์ไทย

18 กรกฎาคม - รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนาออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2481 เรื่อง "วันชาติ" กำหนดให้วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง[15][16]

1 สิงหาคม - ประกาศใช้วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ ลงในราชกิจจานุเบกษา[17]

11 กันยายน - พระยาพหลพลพยุหเสนา ยุบสภา เนื่องจากรัฐบาลแพ้คะแนนเสียงเรื่องการชี้แจงรายรับ-รายจ่ายที่รัฐบาลจัดทำเสนอ[2]

16 ธันวาคม - จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

8 ธันวาคม - สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย: กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่ประจวบคีรีขันธ์และอีกหลายจังหวัดในภาคกลางที่ติดอ่าวไทย

11 ธันวาคม - รัฐบาลไทยยอมยุติการต่อสู้กับกองกำลังญี่ปุ่น และประกาศทางวิทยุให้ทุกฝ่ายหยุดยิง

12 ธันวาคม - ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ไม่ยอมรับการประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นของรัฐบาลไทย และได้ประกาศขบวนการเสรีไทยขึ้นที่นั่น โดยต่อมาคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนหลายคน เช่น ปรีดี พนมยงค์ ทวี บุณยเกตุ ควง อภัยวงศ์ ได้แยกตัวออกมาร่วมกับขบวนการเสรีไทยในประเทศ เนื่องจากไม่อาจรับกับการกระทำของรัฐบาล

8 มิถุนายน - นายปรีดีได้ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อให้เป็นไปตามวิธีทางของรัฐธรรมนูญ หลังจากรัชกาลที่ 8 พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่รัฐสภาก็มีมติเป็นเอกฉันท์ให้กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง

24 กรกฎาคม - จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกกดดันให้ลงออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากนโยบาย ร่างพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ ที่ จอมพล ป. นำเสนอ[2]

1 สิงหาคม - พลโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง สภาผู้แทนราษฎรจึงได้ลงมติแต่งตั้งให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่เพียงผู้เดียว

24 สิงหาคม - จอมพล ป. พิบูลสงครามถูกปลดจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด[2]

16 สิงหาคม - ปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ออกประกาศสันติภาพในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ว่าการประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 เป็น "โมฆะ" ไม่ผูกพันประชาชนชาวไทย และประเทศไทยพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับสหประชาชาติในการสถาปนาสันติภาพในโลกนี้

20 สิงหาคม - รัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากเป็นรัฐบาลที่มีขึ้นในสมัยสงคราม[2]

1 กันยายน - นายทวี บุณยเกตุ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลรักษาการ โดยมีอายุเพียง 17 วัน โดยรัฐมนตรีในรัฐบาลส่วนใหญ่เป็นฝ่ายเสรีไทย[2]

17 กันยายน - ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชเดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา เพื่อมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และได้ดำเนินการเจราเอาทหารอังกฤษและข้อตกลงสัญญาบางประการกับประเทศอังกฤษ ภายหลังสงครามยุติ เนื่องจากอังกฤษไม่ยอมรับสถานภาพของประเทศไทยซึ่งเป็นพันธมิตรของญี่ปุ่น

27 กันยายน - รัฐบาลเสนอพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม ต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อใช้จัดการกับ จอมพล ป. พิบูลสงครามและคณะ[2]

15 ตุลาคม - ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ยุบสภา เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่

5 ธันวาคม - ปรีดี พนมยงค์ อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัติประเทศไทยเพื่อทรงบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองต่อไป

1 มกราคม - ม.ร.ว.เสนีย์ ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากเสร็จภารกิจเจรจากับประเทศอังกฤษ

6 มกราคม - มีการเลือกตั้งทั่วไป

31 มกราคม - พันตรีควง อภัยวงศ์ ได้รับเสียงสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งที่ 2 และจัดตั้งรัฐบาลต่อจาก ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

18 มีนาคม - นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะแพ้การลงมติในสภาผู้แทนราษฎร เรื่องร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายฯ[2]

24 มีนาคม - นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับเสียงสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี[2]

5 เมษายน - ม.ร.ว เสนีย์ ร่วมกับนายควง อภัยวงศ์ ดำเนินการจัดตั้งพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายควง เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ม.ร.ว.เสนีย์ เป็นรองหัวหน้าพรรค ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชที่ยุบพรรคก้าวหน้ามารวมเป็นเลขาธิการพรรค และนายชวลิต อภัยวงศ์เป็นรองเลขาธิการพรรค

9 พฤษภาคม - รัฐสภามีรัฐพิธีลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 3 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลพระราชทานให้นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ[11]

9 มิถุนายน - เหตุการณ์เสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล: นายปรีดีและคณะรัฐมนตรีได้ขอความเห็นชอบต่อสภาว่า ผู้ที่จะขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ควรได้แก่ สมเด็จพระอนุชา เมื่อสภามีมติเห็นชอบแล้ว นายปรีดีก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยเหตุผลว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงแต่งตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นได้สวรรคตเสียแล้ว

9 มิถุนายน - ศัตรูทางการเมืองของนายปรีดี ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มทหารที่สูญเสียอำนาจและพรรคการเมืองฝ่ายค้าน รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ สบโอกาสในการทำลายนายปรีดีทางการเมือง โดยการกระจายข่าวว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง" ซึ่งเป็นคำกล่าวอ้างที่ร้ายแรงมาก จนกลายเป็นกระแสข่าวลือ และนำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองทั้งหมดในเดือนพฤศจิกายน

5 สิงหาคม - การเลือกตั้งเพิ่มเติม

23 สิงหาคม - พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี[2]

19-26 พฤษภาคม - พรรคประชาธิปัตย์อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นานถึง 7 วัน 7 คืนติดต่อกัน จนถูกเรียกว่า มหกรรม 7 วัน การลงมติปรากฏว่า พล.ร.ต.ถวัลย์ ได้มติไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งต่ออย่างท่วมท้น แต่เนื่องจากกระแสกดดันอย่างมากทั้งในและนอกสภาผู้แทนราษฎร จึงต้องลาออกในวันรุ่งขึ้น แต่ก็กลับเข้ารับตำแหน่งอีกครั้งในวันถัดมา

8 พฤศจิกายน - พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และ น.อ.กาจ กาจสงคราม นำกำลังทหารยึดอำนาจจากปกครองจากรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (รับช่วงต่อจากนายปรีดี) โดยอ้างว่าไม่สามารถสะสางกรณีสวรรคตได้ และได้ทำการฉีกรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2489 ทิ้ง[18] จากเหตุการณ์รัฐประหารนี้ ทำให้นายปรีดี และหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ต้องหลบหนีออกนอกประเทศไปยังสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้นรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้ความสนับสนุนฝ่ายรัฐประหาร นายปรีดีจึงเดินทางไปจีนแทน[12] อนึ่ง กรณีสวรรคตยังส่งผลให้กลุ่มการเมืองฝ่ายนายปรีดีต้องพลอยหมดบทบาทจากเวทีการเมืองไทยภายหลังการรัฐประหารครั้งนี้ด้วย

9 พฤศจิกายน - ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (หรือที่รู้จักกันว่า "รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม") ในการรัฐประหารวันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ เป็นการเปิดศักราชใหม่ของการยึดอำนาจแล้วทำลายรัฐธรรมนูญเดิมเสีย[19]

10 พฤศจิกายน - นายควง อภัยวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกเป็นวาระที่ 3

6 มกราคม - การเลือกตั้งทั่วไป

29 มกราคม - พรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้งเป็นรัฐบาล และนายควง อภัยวงศ์ จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ หลังจากกำลังทหารทำการยึดอำนาจและได้มีกำหนดให้เลือกตั้ง

6 เมษายน - คณะทหารในกลุ่ม 4 คน นำโดย น.อ.กาจ กาจสงคราม ได้บีบบังคับให้นายควงลาออกและ แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีแทน ในการรัฐประหารครั้งนี้ได้พลิกโฉมหน้าการเมืองไทยไปโดยสิ้นเชิง เพราะอำนาจที่แท้จริงยังอยู่ที่คณะทหาร และที่สำคัญการรัฐประหารนี้เป็นการขจัดกลุ่มอำนาจเก่าของ นายปรีดี พนมยงค์ ให้สิ้นไปจากเวทีการเมือง ส่งผลให้นายปรีดี ต้องขอลี้ภัยการเมืองที่ต่างประเทศตราบจนเสียชีวิต

26 กุมภาพันธ์ - กบฏวังหลวง: นายปรีดีเดินทางกลับเข้าเมืองไทย และร่วมกับพรรคพวกกลุ่มหนึ่งพยายามยึดอำนาจคืน แต่ประสบความล้มเหลว นายปรีดีจึงต้องหนีกลับไปประเทศจีนอีกครั้ง[12]

4 มีนาคม - นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายถวิล อุดล และนายจำลอง ดาวเรือง สามใน "สี่เสืออีสาน" ถูกยิงคารถระหว่างเคลื่อนย้ายผู้ต้องหาโดยไม่มีตำรวจได้รับความบาดเจ็บสักคน[2] กลายเป็นที่มาของคดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรี พ.ศ. 2492

29 มิถุนายน - กบฏแมนฮัตตัน: เกิดการกบฎเมื่อทหารเรือกลุ่มหนึ่ง นำโดย น.อ.อานน บุญฑริกธาดา รน. และ น.ต.มนัส จารุภา รน. ทำการจี้ตัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม จากเรือแมนฮัตตัน ไปคุมขังไว้ที่เรือศรีอยุธยา

29 พฤศจิกายน - รัฐประหารเงียบ: จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำการยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง[19]

26 กุมภาพันธ์ - มีการเลือกตั้งทั่วไป พรรคประชาธิปัตย์ ฝ่ายค้านคว่ำบาตรการเลือกตั้ง จากเหตุที่ จอมพล ป. ทำการรัฐประหารตัวเอง

13 ธันวาคม - นายเตียง ศิริขันธ์ หนึ่งใน "สี่เสืออีสาน" ถูกฆ่ารัดคอและเผาศพทิ้งในสมัยรัฐบาลคณะรัฐประหาร

17 กุมภาพันธ์ - เฉลียว ปทุมรส ชิต สิงหเสนี และ บุศย์ ปัทมศริน ถูกประหารชีวิต จากข้อกล่าวหาว่ามีส่วนลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8[20]

26 กุมภาพันธ์ - รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม จัดการเลือกตั้งทั่วไป แต่ว่าเป็นการเลือกตั้งที่ร่ำลือว่าสกปรกที่สุด เต็มไปด้วยการโกงจากฝ่ายรัฐบาล ต้องนับคะแนนยาวนานถึง 7 วัน 7 คืน

16 กันยายน - คณะทหารที่นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ด้วยข้อกล่าวหาสำคัญคือ ฝ่ายรัฐบาลจัดการเลือกตั้งสกปรกจึงหมดความชอบธรรม[11]

21 กันยายน - คณะทหารที่ทำการยึดอำนาจ ได้แต่งตั้ง นายพจน์ สารสิน อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา และเลขาธิการซีโต้ มาเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราวราวสามเดือน เพื่อจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งใหม่ให้บริสุทธิ์ยุติธรรม[11]

1 มกราคม - พลโทถนอม กิตติขจร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นครั้งแรก

20 ตุลาคม - จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปฏิวัติ[18]

9 กุมภาพันธ์ - จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

21 พฤษภาคม - จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ลงนามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง "ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย" ยกเลิกวันชาติ 24 มิถุนายน แล้วกำหนดให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยแทน[15][21][16] และให้เปลี่ยนวันที่ 24 มิถุนายนไปเป็น "วันปลูกต้นไม้แห่งชาติ"[22]

8 มิถุนายน - รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศให้ยกเลิกการหยุดราชการในวันที่ 24 มิถุนายน เพราะไม่ได้เป็นวันชาติอีกต่อไปแล้ว[16]

ประวัติและความเป็นมาของวันรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ

วันรัฐธรรมนูญ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

1. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

2. หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ

3. อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

4. รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร

จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎร ทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ

ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

จนกระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบ สภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ ของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎร เลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรง อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่ พ.ศ. 2475 มาจนถึงปัจจุบันรัฐธรรมนูญไทยมีทั้งสิ้นประมาณ 25 ฉบับ แต่ถ้านับเฉพาะฉบับที่สำคัญจะมีเพียง 18 ฉบับดังนี้

ฉบับที่ 1. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช 2427 ประกาศใช้บังคับเมื่อ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 5 เดือน 13 วัน

ฉบับที่ 2. รัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ประกาศใช้บังคับเมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 13 ปี 5 เดือน

ฉบับที่ 3. รัฐธรรมนูญฉบับราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รวมอายุการประกาศและการบังคับใช้ 1 ปี 5 เดือน 28 วัน

ฉบับที่ 4. รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รวมอายุการประกาศใช้ 1 ปี 4 เดือน 14 วัน

ฉบับที่ 5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี 8 เดือน 6 วัน

ฉบับที่ 6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ประกาศและบังคับใช้ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2495 รวมอายุและประกาศบังคับใช้ 6 ปี 7 เดือน 12 วัน

ฉบับที่ 7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2502 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 9 ปี 4 เดือน 20 วัน

ฉบับที่ 8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 3 ปี 4 เดือน 20 วัน

ฉบับที่ 9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม 2515 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 9 เดือน 22 วัน

ฉบับที่ 10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2517 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี

ฉบับที่ 11. รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2519 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี

ฉบับที่ 12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 1 ปี 13 วัน

ฉบับที่ 13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2528)

ฉบับที่ 14. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

ฉบับที่ 15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

ฉบับที่ 16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

ฉบับที่ 17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 (ฉบับชั่วคราว)

ฉบับที่ 18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (รัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ)

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นอนุสรณ์ถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากเดิมแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นแบบประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ.2475 โดยสิ่งก่อสร้างที่เป็นองค์ประกอบของอนุสาวรีย์ มีความหมายตามสัญลักษณ์ต่าง ๆ ดังนี้

1. พาน รัฐธรรมนูญ มีความสูง 3 เมตร สื่อถึงอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ( อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ) ภายใต้รัฐธรรมนูญ

2. พระขรรค์ทั้ง 6 (ที่ติดอยู่ตรงฐานทรงกลมใต้พาน) หมายถึง หลัก 6 ประการ ที่เป็นนโยบายในความเสมอภาค เสรีภาพ เศรษฐกิจ การศึกษา และเอกราช

3. ปีก 4 โดยรอบอนุสาวรีย์ แต่ละปีกมีความสูง 24 เมตร สื่อถึงวันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือวันที่ 24 มิถุนายน 2475

4. ภาพนูนต่ำบนฐานทั้ง 4 ของปีก แสดงให้เห็นถึงภาพเหตุการณ์และความพร้อมเพรียงในการปฏิบัติการของคณะปฏิวัติ

5. ปืน ใหญ่จำนวน 75 กระบอก (ปากกระบอกปืนฝังลงดิน) โดยรอบฐานของอนุสาวรีย์ที่มีโซ่เหล็กร้อยไว้ หมายถึงปีที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (เลข 75 เป็นเลขท้ายสองหลักของปี พ.ศ.2475 ) ส่วนโซ่ที่ร้อยไว้ด้วยกัน หมายถึงความสามัคคีพร้อมเพรียงของคณะปฏิวัติ

คุณค่าและประโยชน์ของศาสนพิธีมีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของศาสนพิธี ศาสนพิธีที่ถูกต้องท าให้พิธีมีความเรียบร้อย งดงาม ย่อมเพิ่มพูนความศรัทธาของผู้ที่ได้พบเห็น เป็นเครื่องแสดงเกียรติยศของเจ้าภาพและผู้เข้าร่วมพิธี อีกทั้งยังเป็นการรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม ของชาติไว้

อะไรคือคุณค่าที่สําคัญที่สุดของศาสนพิธี

ศาสนพิธีต่าง ๆ ช่วยทำให้ความศรัทธาต่อพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนมีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเป็น สิ่งตอกย้ำใจให้ระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยได้อย่างดีเยี่ยมจึงเป็น ระเบียบแบบแผนอันดีงามที่ควรรักษาไว้คู่กับพระพุทธศาสนา ตลอดไป ในพระพุทธศาสนาแบ่งศาสนพิธีออกเป็น ๔ หมวด ใหญ่ๆ ดังนี้

ข้อใดเป็นบุญพิธี *

2. บุญพิธี หมายถึง พิธีทำบุญเนื่องด้วยประเพณีในครอบครัว ซึ่งเป็นประเพณีที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของคนทั่วไป 2.1 พิธีทำบุญในงานมงคล ได้แก่ การทำบุญในโอกาสต่างๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและญาติสนิทมิตรสหาย เช่น การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน เป็นต้น

งานบุญพิธี มีอะไรบ้าง

หมวดที่ ๒ บุญพิธี ๑. พิธีทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ ๒. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ๓. พิธีสวดพระพุทธมนต์ ๔. พิธีสวดพระอภิธรรม ๕. พิธีสวดมาติกา ๖. พิธีสวดแจง ๗. พิธีสวดถวายพรพระ ๘. พิธีอนุโมทนากรณีต่าง ๆ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน