ตำแหน่งผู้ปกครองหัวเมืองประเทศราชของรัตนโกสินทร์ตอนต้นทางด้านทิศใต้ ได้แก่ ตำแหน่งใด

15 ส.ค. 2563 02:22 | โดย ผู้ดูแลระบบ | อ่าน 3261 ครั้ง

ยุคอาณาจักร[แก้ไขต้นฉบับ]

จากประวัติศาสตร์เดิมราวพุทธศตวรรษที่ 7 พื้นที่ของอำเภอเบตงเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรลังกาสุกะ โดยมีอาณาเขตปกครองกว้างขวางครอบคลุมคาบสมุทรมลายูตอนล่างทั้งหมดโดยพัฒนามาจากเมืองท่าเล็ก ๆ ของชาวพื้นเมืองจนเติบโตเป็นรัฐและมีฐานะเป็นอาณาจักร จนกระทั่งสมัยพุทธศตวรรษที่ 14-15 อาณาจักรลังกาสุกะได้ตกอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรศรีวิชัย โดยเชื่อว่าอาณาจักรศรีวิชัยน่าจะมีอำนาจที่แผ่กว้างไพศาลมากในสมัยนั้น มีอาณาเขตครอบคลุมไปถึงช่องแคบมะละกา ชวา สุมาตรา แหลมมลายู และหัวเมืองต่างๆ ที่อยู่ภาคใต้ของประเทศไทยในปัจจุบัน[3]

ต่อมาต้นพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรศรีวิชัยที่เจริญรุ่งเรืองในบริเวณแหลมมลายูได้เสื่อมอำนาจลง และเกิดอาณาจักรใหม่ คือ อาณาจักรมัชฌาปาหิต (ชวา) ซึ่งมีอำนาจอยู่ในเกาะชวา หรืออินโดนีเซียนั้น ได้ขยายอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลเข้ามาครอบครองดินแดนสุมาตรา และบางส่วนของคาบสมุทรมลายูไป และทำให้ศรีวิชัยล่มสลายไปในที่สุด ประจวบกับในขณะนั้นอาณาจักรสุโขทัยได้ขยายอำนาจลงมายังเมืองไชยา เมืองตามพรลิงก์ และหัวเมืองมลายู และได้ผูกสัมพันธ์กับพระเจ้าศรีธรรมโศกราชโดยได้แต่งตั้งให้ดูแลหัวเมืองแหลมมลายู

เมื่ออาณาจักรสุโขทัยได้เสื่อมลง หัวเมืองมลายู ได้แก่ เมืองปัตตานี เมืองไทรบุรี เมืองกลันตัน และเมืองตรังกานู จึงเป็นประเทศราชต่ออาณาจักรอยุธยา โดยพื้นที่อำเภอเบตงเป็นส่วนหนึ่งของหัวเมืองปัตตานี ต่อมาเมื่ออาณาจักรอยุธยาอ่อนแอลง หัวเมืองมลายูทั้ง 4 จึงได้แข็งข้อ ตั้งตนเป็นรัฐอิสระตลอดมาจนกระทั่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) ทรงรวบรวมหัวเมืองมลายูกลับมาเป็นเมืองประเทศราช จนในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ได้เกิดความไม่สงบขึ้นบ่อยครั้ง จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาอภัยสงคราม และพระยาสงขลา ผู้กำกับดูแลหัวเมืองมลายู แบ่งเมืองปัตตานีออกเป็น 7 หัวเมือง และแต่งตั้งให้พระยาเมืองเป็นผู้ปกครองตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2359 เป็นต้นมา ได้แก่ เมืองปัตตานี เมืองยะหริ่ง เมืองสายบุรี เมืองหนองจิก เมืองระแงะ เมืองยะลา และเมืองรามัน ซึ่งพื้นที่ของอำเภอเบตงเดิมได้ขึ้นอยู่กับเมืองรามัน

ยุคปัจจุบัน[แก้ไขต้นฉบับ]

ที่ว่าการอำเภอเบตงหลังเก่า

ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์ โดยทรงปรับปรุงเปลี่ยนระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินใหม่ เรียกว่า "พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องถิ่น ร.ศ. 116" โดยได้นำมาใช้กับ 7 หัวเมืองภาคใต้ โดยเรียกว่า "ข้อบังคับสำหรับ ปกครอง 7 หัวเมือง ร.ศ. 120" มีการแบ่งการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล มีตำแหน่งพระยาเมือง (เจ้าเมือง) ปลัดเมือง, ยกกระบัตรเมือง, โดยทั้งหมดขึ้นตรงต่อข้าหลวง ซึ่งในภาคใต้แบ่งออกเป็น 4 มณฑล โดยเมืองปัตตานีขึ้นอยู่ในมณฑลนครศรีธรรมราช มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ดูแล อยู่ในปกครองของข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑล ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช 2449 ได้โปรดเกล้าฯ ให้แยกหัวเมืองที่ขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราชทั้ง 7 หัวเมือง มาตั้งเป็นมณฑลปัตตานี

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้มีการตราพระราชบัญญัติการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พุทธศักราช 2476 ขึ้น จึงได้ยุบเลิกมณฑลปัตตานี และได้แบ่งออกเป็นจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาสในปัจจุบัน

ในส่วนของอำเภอเบตงนั้นแรกเริ่มได้ตั้งขึ้นเป็นอำเภอชื่อว่า อำเภอยะรม (ตั้งอยู่ที่บ้านฮางุด หมูที่ 1 ตำบลเบตง) แบ่งการปกครองออกเป็น 6 ตำบล คือ ตำบลเบตง ตำบลยะรม ตำบลอิตำ ตำบลโกรเน ตำบลบาโลน และตำบลเซะ หรือโกร๊ะ

ต่อมาในปีพุทธศักราช 2442 จากผลการปักปันแดนระหว่างไทยกับสหพันธรัฐมลายู (อาณานิคมของอังกฤษ) เป็นเหตุให้ตำบลอิตำ ตำบลโกรเน ตำบลบาโลน และตำบลเซะ หรือโกร๊ะ รวม 4 ตำบล ถูกตัดออกจากอำเภยะรมไปรวมอยู่กับรัฐเปรักในสหพันธรัฐมลายู อำเภอยะรมจึงเหลือการปกครองอยู่เพียง 2 ตำบล คือ ตำบลเบตง และตำบลยะรม ต่อมาได้มีการจัดตั้งตำบลอัยเยอร์เวง และตำบลฮาลา ซึ่งจากหลักฐานปรากฏว่า มีตำบลอัยเยอร์เวงในปีพุทธศักราช 2462 และมีตำบลฮาลาในปี พุทธศักราช 2486

ต่อมาอีกในปีพุทธศักราช 2473 สมัยที่พระพิชิตบัญชาการเป็นนายอำเภอ ได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอจากบ้านฮางุส หมู่ที่ 1 ตำบลเบตง มาตั้งอยู่ที่บ้านกำปงมัสยิด หมู่ที่ 6 ตำบลเบตง พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อจาก "อำเภอยะรม" เป็น อำเภอเบตง (ที่ว่าการอำเภอหลังเก่าตั้งอยู่ใกล้กับสถานีตำรวจภูธรเบตงปัจจุบัน)

วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2476 เกิดการประท้วงนำโดยหัวหน้าคือ ลู่ เง็กซี่ เรียกร้องให้อำเภอเบตงรวมเข้ากับมลายูของอังกฤษ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ[4]

ในปีพุทธศักราช 2481 ได้ตั้งตำบลตาเนาะแมเราะ และในปีพุทธศักราช 2482 ได้ยุบตำบลฮาลาไปรวมกับตำบลอัยเยอร์เวง รวมทั้งได้ประกาศตั้งเทศบาลตำบลเบตงโดยครอบคลุมพื้นที่ตำบลเบตงทั้งหมด ต่อมาเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2527 กระทรวงมหาดไทยประกาศตั้งตำบลธารน้ำทิพย์ ทำให้อำเภอเบตงมีการปกครองรวม 5 ตำบล คือ ตำบลยะรม ตำบลอัยเยอร์เวง ตำบลตาเนาะแมเราะ และตำบลธารน้ำทิพย์จนถึงปัจจุบัน

ต่อมาได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภออีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 มาตั้งอยู่ที่ปัจจุบัน โดยมีนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานเปิดอาคารหลังใหม่ (นายอรัญ ศรีอรุโณทัย นายบัญชา ชื่นรังสิกุล นายนคร มนัสวานิช เป็นผู้บริจาคที่ดินก่อสร้างจำนวน 12 ไร่)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน