ความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรมมีอะไรบ้าง

ยุคนี้โลกเราไม่แปลกหน้ากับสังคมแห่งความหลากหลาย และสังคมพหุวัฒนธรรมอีกต่อไป เมื่อการย้ายถิ่นพัดพาผู้คนต่างชาติ ต่างเผ่าพันธุ์ ต่างวิถีชีวิต และต่างวิธีคิด มาอยู่รวมกัน ถ้อยคำที่พูดถึงความงดงามของความแตกต่าง และคุณค่าของความหลากหลาย เป็นเสียงที่ผู้คนได้ยิน ทักษะหนึ่งของคนยุคศตวรรษที่ 21 คือ ความเข้าใจในความต่างทางวัฒนธรรม และต่างกระบวนทัศน์

ประเทศไทยหยัดยืนอยู่ได้ด้วยผู้คนหลายเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม เรามีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 70 กลุ่ม ใช้ภาษาต่างๆ 5 ตระกูล (ไท ออสโตรเอเชียติก ออสโครเนเซียน จีน-ธิเบต และมั้ง-เมี่ยน) นานหลายศตวรรษแล้วที่ไทยเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม แม้บางช่วงบางตอนของประวัติศาสตร์ การนำนโยบายชาตินิยม และการกลืนกลายทางภาษาและวัฒนธรรมมาใช้ได้ลดทอนการเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมของไทยลง แต่ระบอบเสรีประชาธิปไตยและการเคารพสิทธิของมนุษยชนทำให้พัฒนาการการเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมของไทยเป็นสากลมากขึ้น เรามีกฎหมายคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ให้มีสิทธิดำรงชีวิตในสังคมตามวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต โดยไม่ถูกรบกวน เรามีแผนปฏิรูปประเทศด้านสังคมตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม พ.ศ. 2561-2564 ถือเป็นนโยบายสังคมพหุวัฒนธรรมในระดับชาติฉบับแรกๆ ของประเทศ 

จริงๆ แล้วแนวคิดพหุวัฒนธรรมซับซ้อนกว่าการมองเห็นการดำรงอยู่ของความหลากหลายหรือความแตกต่างในสังคม แต่มุ่งความคิดไปที่การถูกรวมเข้าไปในสังคมของทุกคน เข้าใจ เคารพ และรับรู้ถึงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันของคนในสังคม ตระหนักรู้ในความได้เปรียบและเสียเปรียบของการเป็นสมาชิกของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ที่ผูกติดอยู่กับลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่น เชื้อชาติ เพศ รสนิยมทางเพศ ศาสนา หรือสถานะทางสังคม ในโลกพหุวัฒนธรรม ผู้คนรับเอาความแตกต่างของคนอื่นเข้ามาในชีวิตของตัวเอง การมองสังคมพหุวัฒนธรรมที่ยึดโยงกับการศึกษาชาติพันธุ์ สิทธิ และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และความเป็นพลเมืองเท่านั้น จึงถูกวิจารณ์ว่าเป็นการมองในระดับผิวเผิน เพราะเพิกเฉยต่อความแตกต่างที่แท้จริงที่เกิดจากการไร้อำนาจ ความยากจน และความรุนแรง มีการเสนอแนวคิดพหุวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์ (Critical multicultural) ที่มุ่งวิเคราะห์โครงสร้างทางสังคมที่ไม่เป็นธรรม และสิ่งที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียม เช่น การเหยียดหยามทางเชื้อชาติ ความยากจนจากการถูกเลือกปฏิบัติ สังคมพหุวัฒนธรรมแนวนี้เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมต้องเริ่มจากการเข้าใจที่มาของอำนาจ และการใช้อำนาจ มองวัฒนธรรมว่าเป็นสิ่งที่ซับซ้อน เปลี่ยนแปลงได้ ภายใต้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียม 

ภาพ: //www.youtube.com/watch?v=7fAcmVBsQ2E

อีกแนวคิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เป็นแนวทางสนับสนุนการอยู่ร่วมกับความหลากหลายที่น่าสนใจ คือ แนวคิดพลเมืองแห่งโลก (Cosmopolitanism) ซึ่งให้ความสำคัญกับการยอมรับคุณค่าของคนที่ต่างไปจากตัวเอง และเชื่อว่าคุณค่านั้นสามารถทำให้เราเติบโตทางความคิด แนวคิดนี้ทำให้บุคคลที่มีความแตกต่างกันสามารถสร้างความสัมพันธ์กันได้บนพื้นฐานของความเคารพซึ่งกันและกัน ทำให้คนในสังคมเต็มใจและเปิดรับที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับ “คนอื่น” เรียนรู้ความหลากหลายข้ามวัฒนธรรมอย่างยินดี ไม่ตีกรอบโลกทัศน์ของตัวเองไว้กับความคิดที่ตายตัว ไม่ตัดสินว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรปกติ และอะไรเบี่ยงเบน เป็นสมาชิกของสังคมที่พร้อมเสมอกับการเปลี่ยนแปลง และปรับตัวเองไปสู่สิ่งที่ดีกว่า มีมุมมองกว้างไกล และหัวใจที่เปิดกว้าง

สำหรับสังคมไทยไม่ใช่เพียงแค่หลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ด้วยกันมาช้านาน แต่ไม่กี่สิบปีมานี้ สีสันของความหลากหลายยังถูกแต่งแต้มเพิ่มเติมด้วยกลุ่มแรงงานจากเพื่อนบ้านที่อยู่รายรอบ โดยเฉพาะเพื่อนบ้านจากเมียนมา ลาว และกัมพูชา สังคมพหุวัฒนธรรมของไทยผ่านคืนวันมาได้อย่างที่อาจเรียกได้ว่าปกติสุข แม้จะลุ่มๆ ดอนๆ พอเป็นความท้าทายบ้าง แต่ยังไกลห่างจากคำว่าขัดแย้งรุนแรงจนกลายเป็นสังคมที่ไม่น่าอยู่ อย่างไรก็ตาม เมืองไทยในวันหน้า ดูท่าว่าความแตกต่างหลากหลายจะเข้มข้นมากขึ้น คำถามคือ คนไทยซึมซับเแนวคิดแบบพหุวัฒนธรรมเชิงวิพากษ์ หรือก้าวไปจนถึงแนวคิดพลเมืองแห่งโลกมากน้อยเพียงใด

หลักฐานจากงานวิจัยที่มีอยู่เพียงไม่กี่เรื่อง พอจะชี้ให้เห็นว่า หนทางที่สังคมไทยจะไปถึงแนวคิดพลเมืองแห่งโลกยังคงอีกยาวไกล งานวิจัยที่ศึกษาความคิดเห็นของคนไทยต่อแรงงานต่างชาติ พบว่า คนไทยยังไม่เปิดใจรับแรงงานต่างชาติ เช่น กว่าครึ่งของกลุ่มตัวอย่างไม่เห็นด้วยที่จะให้แรงงานต่างชาติเข้ามาทำงาน เพราะกลัวการแย่งงานและทำให้ค่าแรงของคนไทยต่ำลง คนไทยส่วนใหญ่หวาดระแวงว่าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านไม่มีความซื่อสัตย์และไม่จงรักภักดีต่อนายจ้าง สองในห้าเห็นว่าแรงงานต่างชาติไม่ควรได้รับค่าจ้างเท่ากับแรงงานไทย ขณะที่ประมาณครึ่งหนึ่งมองว่าแรงงานต่างชาติไม่ควรได้รับสิทธิ์ตามกฎหมายแรงงานเท่ากับคนไทย ที่สำคัญ กลุ่มตัวอย่างสัดส่วนน้อยมากๆ ที่เห็นว่า แรงงานต่างชาติควรได้รับสิทธิด้านการศึกษา การทำงาน การพักอาศัย การใช้บริการสุขภาพ การเป็นเจ้าของรถยนต์หรือจักรยานยนต์ การซื้อบ้านและที่ดิน และเสรีภาพในการใช้ชีวิตได้เหมือนคนไทย 

ข้อมูลที่ได้สะท้อนความท้าทายที่สังคมไทยต้องก้าวผ่านและรับมือให้ได้ แต่นิสัยคนไทยที่มีทุนอยู่ที่ความใจดี ผ่อนคลาย และเป็นมิตร คล้ายเป็นฐานที่แข็งแรงยึดโยงผู้คนที่แตกต่างหลากหลายให้อยู่ร่วมกันได้มาตลอด แม้จะไม่เรียบรื่นแต่ไม่ขัดแย้งรุนแรงจนแตกร้าว การปลูกสร้างคนรุ่นใหม่ในสังคมไทยเพิ่มเติมจากความใจดีและผ่อนคลาย ให้มีหัวใจของความเป็นพลเมืองโลก หัวใจที่โอบรับความเป็นพหุวัฒนธรรมของผู้คนที่แตกต่างน่าจะเป็นสายทางที่มีความหวังว่าที่สุดแล้วเราจะไปได้ไกลกว่าที่เป็นอยู่นี้แน่นอน

สังคมพหุวัฒนธรรม คือ สังคมที่ผู้คนอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายและความแตกต่างอย่างกลมกลืนกัน...

Posted by ประชาสัมพันธ์จังหวัดกระบี่ on Tuesday, December 8, 2020

ความหลากหลายทางสังคมพหุวัฒนธรรม มีอะไรบ้าง

สังคมพหุวัฒนธรรม คือ สังคมที่ผู้คนอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายและความแตกต่างอย่างกลมกลืนกัน ซึ่งความแตกต่างนี้สามารถแบ่งได้หลากหลายประเภท ทั้งเชื้อชาติ ชาติพันธุ์, ศาสนา ความเชื่อ, ภาษา, วิถีการดำเนินชีวิต, และขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม จารีต และประเพณี ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ รับมอบภารกิจในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา ...

สังคมพหุวัฒนธรรมคืออะไร ตัวอย่าง

สังคมพหุวัฒนธรรม หมายถึง สังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เชื้อชาติศาสนา วิถีชีวิต ความคิดและวิถีปฏิบัติของกลุ่มชนในสังคมนั้นๆ เพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขสามัคคี และการเปิดรับ การไหลบ่าทางวัฒนธรรม

พหุวัฒนธรรม มีอะไรบ้าง

พหุวัฒนธรรม (MULTICULTURAL) คือ การอยู่รวมกลุ่มของคนที่มีความหลากหลายทางด้านต่างๆ เช่น ภาษา ศาสนา การแต่งกาย หรือสิ่งที่มีความหลาหลายมาผสมกลมกลืนกัน แต่อาจจะไม่กลมกลืนกันสักทีเดียว ซึ่งพหุวัฒนธรรมถูกนำมาเปรียบเทียบเป็นสิ่งต่างๆเพื่อให้เกิดภาพอย่างชัดเจน เช่น มีการเปรียบเทียบว่าเป็น พิซซ่า ที่มีการผสมโดยใช้ส่วนผสมต่างๆ ...

พหุวัฒนธรรม มีความสําคัญ อย่างไร

พหุวัฒนธรรมศึกษาเกิดขึ้นเพื่อต้องการให้ นักเรียนทราบถึงกลุ่มคน และได้คุ้นเคยกับความ คิดเกี่ยวกับความหลากหลายในสังคม ไม่ว่าจะเป็น วิถีชีวิต ภาษา ศาสนา วัฒนธรรมและมุมมองที่แตก ต่างกับของตนเอง โดยวัตถุประสงค์ของหลักสูตร พหุวัฒนธรรม คือ การสร้างความรู้สึกเชิงบวกที่มี ต่อ พหุวัฒนธรรม เพื่อให้นักเรียนแต่ละคนรู้สึกว่า เป็น ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน