เทคโนโลยีบล็อกเชนใช้งานเกี่ยวกับด้านใด

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

บล็อกเชน (Blockchain) นับว่าเป็นคำที่หลาย ๆ คนได้ยินกันมาในช่วงระยะเวลา 1 - 2 ปีแล้ว และปัจจุบันเริ่มมีการเอาไปใช้บ้างแล้วในหลายอุตสาหกรรม แต่ภาพจำส่วนใหญ่ยังจำว่ามันคือ คริปโตเคอเรนซี่

วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักว่า บล็อกเชน คืออะไร ทำไมภาพจำถึงเกิดขึ้นในคริปโตเคอเรนซี่ แล้ว คุณสมบัติของเทคโนโลยีนี้มีอะไร ประเทศไทยใช้แล้วกับอุตสาหกรรมใดบ้าง


บล็อกเชนคือ

บล็อกเชน คือ เทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยในการบันทึกและติดตามข้อมูลต่างๆ แบบสาธารณะหรือเปิดเผย โดยมีผู้ตรวจสอบข้อมูลนั้นๆ ได้หลายคน และข้อมูลต่างๆ ที่ถูกบันทึกบนบล็อกเชนจะไม่สามารถถูกแก้ไขได้


ภาพจำของคนเราในปัจจุบันจะมองว่า บล็อกเชน นั้น คือ บิทคอยน์ (Bitcoin) เพราะหลายๆ คนจะรู้จักคำว่า Bitcoin ก่อนที่จะรู้ว่า จริงๆ แล้วเบื้องหลังของเหรียญคริปโตเคอเรนซี่ชื่อดังตัวนี้มาจากเทคโนโลยีบล็อกเชน จึงไม่น่าแปลดใจที่ใครๆ ก็เรียก บล็อกเชน ว่า บิทคอยน์


โดย Bitcoin ถูกสร้างเพื่อให้เป็นสกุลเงินสากลที่ไม่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือเหล่าบรรดาธนาคารกลางใดๆ และเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตการเงินที่เคยเกิดขึ้นจากธนาคาร เพราะผู้สร้าง มองว่าธนาคารมีความล้มเหลว Bitcoin เป็นสกุลเงินแรกของโลกที่ถูกเรียกว่าคริปโตเคอเรนซี่ เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ถูกสร้างขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ มีเทคโนโลยีเบื้องหลังอย่าง บล็อกเชนเป็นตัวขับเคลื่อน


บล็อกเชนใช้ในหลายอุตสาหกรรม

Blockchain ไม่เพียงแค่ใช้ในการทำธุรกรรมทางการเพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมต่างๆ อย่างที่เห็นได้ชัดในปัจจุบันนี้แม้ว่าภาพที่ชัดเจนที่สุดจะเป็นเรื่องของการทำธุรกรรมทางการเงินก็ตาม แต่ในประเทศไทย บล็อกเชนถูกนำไปใช้ในหลายๆ อุตสาหกรรมบ้างแล้ว อาทิ อสังหาริมทรัพย์ หรือ แม้แต่วงการเกม อีสปอร์ต เป็นต้น


คุณสมบัติของบล็อกเชน

1 ติดตามและบันทึกข้อมูลได้

2 Blockchain สร้างความน่าเชื่อถือได้และไม่สามารถแก้ไขได้

3 การตัดตัวกลางทิ้งไปและลดค่าใช้จ่าย


เรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ต้องบอกว่า ณ ปัจจุบันมีหลายๆ หน่วยงานให้ความสนใจและเข้าไปศึกษา อย่าง กรณีเฟซบุ๊กเองที่เตรียมนำเทคโนโลยีตัวนี้มาใช้ในสกุลเงินดิจิทัลของตัวเอง โดยปัจจุบันได้เปิดตัวแล้วและเตรียมที่จะปล่อยออกมาอย่างเป็นทางการ หรือแม้แต่ทาง Apple Pay ที่ให้ความสนใจกับเทคโนโลยีนี้แต่ยังคงให้ความสำคัญที่ดูการใช้งานของผู้บริโภคเป็นหลัก


นอกจากนี้ในประเทศไทยเองก็มีการพูดถึงและหยิบยกมาใช้บ้าง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ อย่างโครงการของแสนสิริที่ดึงบล็อกเชนมาใช้ในการจ่ายไฟจากแผงโซล่าเซลล์ หรือ แม้แต่วงการกีฬาที่นำบล็อกเชนมาใช้เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในการระดมทุนและแก้ปัญหา พร้อมยังช่วยเปิดโอกาสให้แก่นักกีฬาหน้าใหม่ได้เดินตามความฝันและประสบความสำเร็จบนเส้นทางนักกีฬาอาชีพ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันให้อุตสาหกรรมกีฬาเติบโต หรือแม้แต่ภาคการเงินอย่างธนาคารในบ้านเราก็มีหลายๆ สถาบันที่นำเอาเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้าไปใช้แล้ว


นับว่าเป็นคลื่นเทคโนโลยีลูกใหม่ที่เกิดมาสักพักและได้รับการยอมรับในวงกว้าง และหลายภาคส่วนต่างให้ความสำคัญที่จะนำเอาเทคโนโลยีนี้เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมหรือชีวิตประจำวัน

เทคโนโลยี บล็อคเชน เป็นนวัตกรรมที่ฉลาด ที่รวมรวมเอา 3 เทคโนโลยีซึ่งมีมานานแล้วมาใช้งานร่วมกันอย่างแยบยล ซึ่งก่อการณ์โดยกลุ่มคนหรือบุคคลไม่ประสงค์จะเผยนามที่สร้างเหรียญบิทคอยน์ขึ้นมา เรียกว่าคนกลุ่มนี้ว่า ซาโตชิ นากาโมระ ปรากฎครั้งแรกในปี 2008 โดยใช้ เทคโนโลยี บล็อคเชน เป็นเครื่องมือบันทึกธุรกรรมของเงินดิจิตัล สกุลบิทคอยน์ จากความสำเร็จของเหรียญบิทคอยน์ ส่งผลให้ เทคโนโนโลยี บล็อคเชน เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและได้ถูกนำไปใช้ในหลายๆอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการเงินและธนาคาร

เทคโนโลยี บล๊อคเชน คืออะไร ?

บล๊อคเชน เป็นบัญชีดิจิตัลทีบันทึกธุรกรรมที่ไม่อาจช่อโกงได้ และไม่ได้บันทึกได้แค่ธุรกรรมการเงินเท่านั้นแต่บันทึกได้ทุกธุรกรรมที่มีมูลค่า: Don & Alex Tapscott

อย่างที่ทราบกันดีว่า เทคโนโลยี บล๊อคเชน เริ่มแรกถูกใช้เป็นบัญชีแยกประเภทแบบสาธารณะที่บันทึกธุรกรรมของเงินดิจิทัลสกุลบิทคอยน์ และในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในหลากหลายธุรกรรม ซึ่งจริงๆแล้ว เทคโนโลยี บล๊อคเชน เป็นบันทึกธุรกรรมต่างๆที่มีมูลค่า ด้วยหลักการใหม่ ที่นำเอา 3 เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วนำมาทำงานร่วมกัน ซึ่งแตกต่างจากวิธีดั้งเดิมที่ใช้กันอย่างหลากหลายในปัจจุบัน

เพื่อความเข้าใจการทำงานของบล็อคเชนยิ่งขึ้น จะยกตัวอย่างที่เราคุ้นเคยกันอยู่ เช่น การบันทึกเอกสารของ google doc หรือ google sheet หรือ wikipedia คือเมื่อเราต้องการให้ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถแก้ไข และบันทึกเอกสาร และสุดท้ายเผยแพร่ต่อทุกคนที่เกี่ยวข้องได้  ทั้งหมดนี้ล้วนต้องกระทำบนเซิร์ฟเวอร์กลางผู้คนถึงจะเข้าถึงเอกสารได้หลายๆคนพร้อมกัน ซึ่งมีเจ้าของเซิร์ฟเวอร์เป็นผู้กำหนดสิทธิ์ และรับรองสิทธิ์ของผู้เข้าถึงบัญชีหรือเอกสาร และอีกทั้งยังเป็นผู้รักษาความปลอดภัยของเซิฟเวอร์จากการแฮกของแฮกเกอร์ เหมือนกันกับการบันทึกทางธุรกรรมการเงินของธนาคารในปัจจุบันก็กระทำบนเซิร์ฟเวอร์กลางของธนาคารผู้เป็นเจ้าของบัญชี

แต่การบันทึกบัญชีหรือบันทึกธุรกรรมบน เทคโนโลยี บล็อคเชน มีความแตกต่างกันออกไป เมื่อเกิดการทำธุรกรรมขึ้นของสองฝ่าย คอมพิวเตอร์ที่เป็นเครือข่าย เพียร์ทูเพียร์ ( peer to peer network เป็นเครือข่ายที่ไม่ใช้เซิร์ฟเวอร์กลาง) ทั้งหมดจะช่วยกันบันทึกและตรวจสอบความถูกต้อง และสุดท้ายเผยแพร่ให้กับเครือข่ายทั้งหมดรับรู้ธุรกรรมที่เกิดขึ้น ไม่มีบุคคลใดสามารถควบคุมการทำธุรกรรมนี้ได้ ไม่มีบุคคลใดสามารถทำธุรกรรมปลอมขึ้นมาได้ เพราะใครก็ตามที่ต้องการปลอมต้องเปลี่ยนทั้งหมดทั้งเครือข่ายคอมพิวเตอร์นับล้านเครื่อง ซึ่งไม่มีใครมีคอมพิวเตอร์ที่มีพลังมากมายขนาดนั้น

เทคโนโลยีบล็อกเชนใช้งานเกี่ยวกับด้านใด
เทคโนโลยีบล็อกเชนใช้งานเกี่ยวกับด้านใด
Infographic บล็อคเชน ของเครือข่ายเงินดิจิทัล cr Blockgeeks

เทคโนโลยี บล็อคเชน ทำงานได้อย่างไร ?

จากที่ได้กล่าวถึงว่า เทคโนโลยี บล็อคเชน ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ก่อนแล้ว 3 อย่างหลักแล้วนำมาใช้ร่วมกันกลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่แสนสุดวิเศษ เทคโนโลยี 3 อย่างที่ว่านั่นคือ 1) Cryptographic keys (การเข้ารหัสลับ) 2) ระบบ เพียร์ ทู เพียร์ เนตเวิร์ค (peer to peer network หมายถึงเรื่องข่ายที่ไม่มีเซิร์ฟเวอร์กลาง) ใช้ในการบันทึก และเผยแพร่บัญชีการทำธุรกรรม  3) โปรแกรมในการให้แรงจูงใจกับเครือข่ายในการให้บริการเก็บรักษาข้อมูลและความปลอดภัย ต่อไปนี้เป็นการไล่เรียงการทำงานของระบบ เทคโนโลยี บล๊อคเชน

เทคโนโลยี การเข้ารหัส Cryptographic keys

เมื่อบุคคลหรือหน่วยงานต้องการทำธุรกรรมร่วมกัน แต่ละฝ่ายต้องมีรหัสลับ 2 ชุดด้วยกันคือ 1)รหัสลับส่วนตัว (Private Key) 2)รหัสสาธารณะ (Public key) วัตถุประสงค์ของ เทคโนโลยี บล๊อคเชน ที่นำเอาเทคโนโลยีการเข้ารหัสมาใช้เพื่อเป็นการสร้างข้อมูลประจำตัวในการอ้างอิงในระบบดิจิทัลที่มีความปลอดภัย โดยไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวในการยืนยันตัวเองว่าคุณเป็นใครมาจากไหน เพียงแค่การรวมตัวกันของรหัสลับส่วนตัวกับรหัสสาธารณะก็เกิดเป็นลายเซ็นต์ดิจิทัลขึ้นมาใช้ในการบ่งบอกเอกลักษณ์และตัวตนของผู้ที่จะทำธุรกรรมได้

ระบบเครือข่ายแบบกระจาย

ระบบเครือข่ายที่กระจายตัวแบบนี้มีความสำคัญต่อ เทคโนโลยี บล็อคเชน เมื่อเกิดการทำธุรกรรมขึ้นระหว่างสองฝ่าย แม้จะมีการยืนยันตัวตนโดยใช้รหัสส่วนตัวและรหัสสาธาณะแล้ว แต่เมื่อไม่มีใครรับรู้ว่าธุรกรรมก็เป็นที่สงสัยว่าธุรกรรมนั้นเกิดขึ้นหรือไม่ ดังนั้นจึงต้องมีเครือข่ายแบบกระจายเพื่อจะได้ช่วยยืนยันการทำธุรกรรม และช่วยเผยแพร่ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องในเครือข่าย การยืนยันธุรกรรมในแบบปัจจุบันอาจจะใช้เอกสารรูปถ่ายลายเซ็นต์ แต่การยืนยันและเผยแพร่ ของเทคโนโลยีนี้ใช้ รูปแบบทางคณิตศาสตร์

ในช่วงแรกๆขนาดของเครือข่ายมีความสำคัญอย่างมากในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยยิ่งปริมาณของเครือข่ายมากยิ่งมีความปลอดภัยสูง ยกตัวอย่าง บล็อคเชน ของเงินดิจิทัลสกุลบิทคอยน์ มีเครือข่ายมากมาย เมื่อหลายปีที่แล้ว บิทคอยน์มีกำลังของคอมพิวเตอร์เครือข่ายมากถึง 3,500,000 TH/s ซึ่งมากกว่าธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของโลก 10,000 แห่งรวมกันนับว่ามหาศาล ปัจจุบันนี้เครือข่ายของบิคอยน์มีกำลัง 17.6 ล้าน TH/s นับว่ามากมายมหาศาลเกินกว่าระบบคอมพิวเตอร์ใดๆจะเข้าแทรกแซงได้

การบันทึกข้อมูล

เมื่อมีธุรกรรมเกิดขึ้น เครือข่ายของ บล็อคเชน จะทำการรวบรวมข้อมูลใส่ไว้ในลิสต์รายการที่เรียกว่า บล็อค (ฺBlock) โดยข้อมูลในนั้นประกอบไปด้วย รหัสลับส่วนตัว รหัสสาธารณะ และข้อมูลแฮชบางส่วนของบล็อคที่ได้รับการยืนยันแล้วที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ และข้อมูลหรือข้อความของบล็อคนี้ที่ต้องการส่งหรือบันทึกไว้ รวมกันแล้วแฮชเป็นบล็อคใหม่ จากนั้นจะแจ้งให้คอมพิวเตอร์ทุก Node ที่อยู่ในเครือข่ายทราบ เพื่อที่จะช่วยกันยืนยันและบันทึกธุรกรรม เมื่อได้รับการยืนยันแล้ว บล็อคหรือลิสต์ข้อมูลที่แฮชแล้วนี้ จะถูกนำไปต่อเข้ากับบล็อคก่อนหน้านี้ เมื่อข้อมูลถูกต้องระบบก็จะรวมเข้าในเครือข่ายบล็อคเชน ข้อมูลของบล็อคอื่นๆก็จะมาต่อกันเรื่อยๆเป็นลูกโซ่  ถ้ามีใครสักคนหนึ่งพยายามจะทำบล็อคธุรกรรมปลอมเข้ามาแทนที่บล็อคที่ถูกบันทึกไว้แล้ว จะส่งผลกระทบต่อบล็อคอื่นๆต่อมา ซึ่งทำให้เกิดกลายเป็นบล็อคธุรกรรมปลอมด้วยกันทั้งหมด ดังนั้นบล็อคธุรกรรมปลอมนั้นจะถูกตัดทิ้ง และเข้ามาแทนที่ไม่ได้เพราะจะทำให้บล็อคธุรกรรมที่ตามมาปลอมหมด ดังนั้นการบันทึกธุรกรรมแบบบล็อคเชนจึงไม่สามาถแก้ไขและทำปลอมได้

โปรแกรมการให้แรงจูงใจในการยืนยันและบันทึกข้อมูลของเครือข่าย

แน่นอนว่าในการบันทึกธุรกรรมนี้ต้องอาศัย Node ต่างๆของเครือข่ายแบบ Peer to Peer ที่ยอมนำเอากำลังของคอมพิวเตอร์เข้ามาแชร์ในการตรวจสอบและบันทึกข้อมูลธุรกรรม  แน่นอนว่าต้องมีระบบตอบแทนหรือแรงจูงใจ ยกตัวอย่างเครือข่าย บล็อคเชน ของบิทคอยน์ ระบบเครือข่ายบิทคอยน์จะให้รางวัล 25 บิทคอยน์ในการแฮชแต่ละบล็อคสำเร็จ และอัพเดตไปในระบบ บล็อคเชน (บัญชีแยกประเภทถูกอัพเดต) และทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องได้รับทราบไปพร้อมๆกัน แต่ด้วยทั้งระบบของบิทคอยน์มีเหรียญบิทคอยน์เพียง 21 ล้านเหรียญเท่านั้น ถ้าใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันทำคงใช้เวลาเพียงนิดเดียวเหรียญคงหมดเกลี้ยง ดังนั้นระบบเครือข่ายของบิทคอยน์จึงต้องสร้างให้มีความยากขึ้นไปอีกเพื่อรักษาสมดุลย์ของเหรียญบิทคอยน์โดยให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทำงานชนิดหนึ่งเพิ่มเติมในเงื่อนไขที่ยาก เรียกว่างานนี้ว่า “Proof of Work” เมื่อทำสำเร็จจึงจะยอมรับว่า บล็อคที่สร้างมานั้นถูกต้องและนำไปต่อกันกับบล็อคก่อนหน้านี้ได้ ใครทำสำเร็จก็จะได้รับรางวัล เงื่อนไขนี้จะถูกปรับให้ยากขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะว่าบิทคอยน์เป็นรางวัลที่มีค่าสูงจึงทำให้มีเครือข่ายในระบบมาก เครือข่ายบล็อคเชนของบิทคอยน์จึงมีความปลอดภัยสูง

ชนิด จำนวน วิธีการตรวจสอบบันทึก จะมีวิธีแตกต่างกันไปในแต่ละเครือข่ายของบล็อคเชนนั้นๆ โดยขึ้นกับโปรโตคอลของบล็อคเชนที่ผู้สร้างเขียนขึ้นมาว่า คอมพิวเตอร์ของเนตเวิร์คต้องดำเนินการยืนยันด้วยวิธีอย่างไร และจะให้แรงจูงใจเป็นอะไรแบบไหนเท่าไร เพื่อให้เครือข่ายประสบความสำเร็จและมีผู้คนสละกำลังของคอมพิวเตอร์มาร่วมกันบันทึกและยืนยันธุรกรรมของเครือข่าย

เทคโนโลยี บล็อคเชน ใช้ทำอะไรได้บ้าง

เทคโนโลยี บล็อคเชน ไม่ได้มีใช้แต่เฉพาะในเรื่องของเหรียญดิจทัลเท่านั้น แต่ยังถูกประยุกต์ในทั้งในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องการเงิน และอุตสหกรรมที่อยู่นอกวงการการเงิน ซึ่งต่อไปนี้เป็นตัวอย่างเพียงเล็กน้อยของการนำเทคโนโลยี บล็อคเชน มาประยุกต์ใช้

การประยุกต์ใช้ เทคโนโลยี บล็อคเชน ในธุรกิจการเงิน
  • NASDAQ Private Equity: ในปี 2014  ตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ร่วมทุนกับ Sharespost และทำการจัดตั้งตลาด Pre-IPO ชื่อว่า NASDAQ Private Market ซึ่งนับว่าเป็นก้าวที่สำคัญอย่างมาก สำหรับพัฒนาการของตลาดหุ้น Pre-IPO (เป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทที่ยังไม่ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กล่าวคือเป็นตลาดซื้อขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์) ถ้าการดำเนินการซื้อขายด้วยวิธีเดิมๆจะทำได้อย่างช้าๆและไม่มีประสิทธิภาพ เพราะต้องมีการตรวจและยืนยันด้วยบุคคลที่สามหลายขึ้นตอน NASDAQ จึงได้ร่วมกับบริษัทสตาร์ทอัพ chain.com ทำการสร้างตลาดการซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์นอกตลาดบนแพลตฟอร์ม เทคโนโลยี บล็อคเชน ขึ้นมา ด้วยการทำสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) ทำให้การซื้อขายแลกเปลี่ยนรวดเร็ว ติดตามตรวจสอบได้ มีความปลอดภัยและทรงประสิทธิภาพ
  • Coinsetter เป็นตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยน บิทคอยน์ ในนิวยอร์ค ทำการซื้อขายบน บล็อคเชน แพลทฟอร์ม และทำการเคลียร์ธุรกรรมการซื้อขายได้ภายในเวลา T+10 นาที จากเดิมที่ต้องใช้เวลาถึง T+2 หรือ T+3 วัน
  • ธนาคารไทยพานิชย์ ประกาศตัวว่าเป็นเจ้าแรกของไทยที่โอนเงินระหว่างประเทศด้วย เทคโนโลยี บล็อคเชน บนเครือข่ายของ Ripple  ในระยะแรกของการให้บริการระบบต้นแบบจะรองรับการโอนเงินของลูกค้าบุคคลทั่วไปจากต้นทางประเทศญี่ปุ่นจากสกุลเงินเยน (JPY) มายังปลายทางบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารไทยพาณิชย์ที่ประเทศไทย ในสกุลเงินบาท (THB) ผ่านช่องทางสาขาและตู้เอทีเอ็มของ SBI Remit และที่ทำการไปรษณีย์ ประเทศญี่ปุ่นเข้ามายังบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์โดยตรง โดยหลังจากระบบตรวจสอบแล้ว เงินจะเข้าบัญชีโดยอัตโนมัติภายใน เวลา 20 นาทีต่อรายการเท่านั้น
  • การประกันสินทรัพย์ สินทรัพย์ประเภทที่มีลักษณะเฉพาะที่สามารถแยกแยะได้ชัดเจน ไม่สามารถทำเอกลักษณ์นั้นได้ง่าย และอีกทั้งไม่สามารถทำปลอมขึ้นมาได้ ก็สามารถขึ้นทะเบียนเก็บไว้ในระบบของ บล็อคเชนได้ ซึ่งมันสามารถยืนยันความเป็นเจ้าของ และบันทึกและตรวจการเปลี่ยนย้าย โอนถ่าย ธุรกรรมได้ สินทรัพย์พวกนี้อาจเป็นพวก อสังหริมทรัพย์ รถยนต์ เครื่องประดับ และสิ่งของมีค่าอื่นๆ
    • บริษัท Everledger เป็นบริษัทรับบันทึกบัญชีของเพชร ซึ่งทำการบันทึกคุณลักษณะของเพชรแต่ละเม็ดไว้ในบัญชีแยกประเภท ซึ่งในบัญชีนั้นก็จะบันทึกลักษณะเฉพาะตัวของเพชร เช่น น้ำหนัก ขนาด สี รอยแตก พร้อมด้วยประวัติการทำธุรกรรม ข้อมูลพวกนี้ถูกแฮชรวมกันไว้บนเครือข่าย เทคโนโลยี บล็อคเชน บริษัทนี้ให้บริการสำหรับบริษัทประกัน บริษัทกฎหมาย และเจ้าของผู้ครอบเพชรด้วย
เทคโนโลยีบล็อกเชนใช้งานเกี่ยวกับด้านใด
เทคโนโลยีบล็อกเชนใช้งานเกี่ยวกับด้านใด
การโอนเงินด้วย เทคโนโลยี บล็อคเชน
การประยุกต์ใช้ เทคโนโลยี บล็อคเชน นอกธุรกิจการเงิน
  • การรับรองเอกสาร Notary Public : การตรวจสอบและรับรองเอกสารสามารถทำได้ด้วย เทคโนโลยี บล็อคเชน เพื่อลดการรับรองเอกสารด้วยคนกลาง การรับรองเอกสารด้วย บล็อคเชน เทคโนโลยี นี้ สามารถช่วยพิสูจน์ ความเป็นเจ้าของ การมีอยู่จริง รับรองว่าเอกสารนี้เป็นของจริงที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข Stampery เป็นหนึ่งในบริษัทที่ให้การรับรองเอกสารด้วย เทคโนโลยี บล็อคเชน
  • ในวงการเพลง  ตั้งแต่เข้าสู่ยุคอินเตอร์เนตมานี้วงการเพลงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล โดยเฉพาะเมื่อมีการสตีมมิ่งผ่านอินเตอร์ ทำให้วงการเพลงเปลี่ยนแปลงไปทั้งผู้ฟัง ศิลปิน ผู้แต่งเพลง ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย การกำหนดค่าลิขสิทธิ์ต่างๆก็ทำได้ซับซ้อนขึ้นไปอีก ความซับซ้อนนี้ย่อมต้องการความโปร่งใส เทคโนโลยี บล็อคเชน จึงได้เข้ามามีบทบาทตรงนี้ บทบาทในการบันทึก รับรอง ความถูกต้องลิขสิทธิ์ว่าใครเป็นผู้แต่ง ศิลปิน ใครเป็นเจ้าของ และยังสามารถทำสัญญาแบบอัจฉริยะ (Smart Contract) เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ของลิขสิทธิ์เพลง ให้อย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และปลอดภัย
  • ใช้ในการพิสูจน์เอกสาร การตรวจสอบการคงอยู่ของเอกสาร และการครองครองเอกสาร ที่มีการลงนามแล้ว นับเป็นเรื่องสำคัญและมีผลทางกฎหมาย การดูแลและการพิสูจน์ในรูปแบบปัจจุบันที่ทำกันอยู่ จะจัดเก็บ ตรวจสอบความถูกต้อง และดูแลรักษา กระทำด้วยเจ้าหน้าที่หรือพนักงานส่วนกลาง ซึ่งการรักษาความปลอดภัยมักมีคำถามมากมาย โดยเฉพาะเอกสารเก่าๆมาก

เทคโนโลยี บล็อคเชน สามารถเข้ามาแก้ปัญหาแบบนี้ได้ โดยการใช้เครือข่ายของ บล็อคเชน ในการเก็บ ลายเซ็นต์ บันทึกเวลา ตรวจสอบความถูกต้อง และการคงอยู่ของเอกสาร และผู้ใช้ยังสามารถเรียกตรวจสอบความถูกต้องได้ตลอดเวลา

  • ใช้เป็นคลาวด์สำหรับเก็บข้อมูล การให้บริการเก็บเอกสารไว้บนคลาวด์ เช่น google drive, One drive, Dropbox ซึ่งเป็นบริการยอดนิยมในขณะนี้ แต่ลักษณะการเก็บเอกสารแบบนี้ก็ยังเป็นการรวมศูนย์โดยเจ้าของเซิร์ฟเวอร์เป็นผู้ควบคุมดูแล ทำให้มีความเคลือบแคลงใจ ในเรื่องความปลอดภัย การรักษาความลับ และความเป็นส่วนตัวของเอกสารที่ผู้รับบริการนำมาเก็บไว้

Storj คิดค้นการให้บริการการพื้นที่จัดเก็บไฟล์บนคลาวด์ โดยใช้ เทคโนโลยี บล็อคเชน บนเนตเวิร์คแบบ เพียร์ ทู เพียร์ โดยให้ผู้คนบนเครือข่ายสามารถส่งถ่ายไฟล์ แชร์ไฟล์ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการจัดเก็บและบริการของบุคคลที่สาม ซึ่งการบริการนี้เกิดขึ้นได้ด้วยการให้ผู้คนในเครือข่ายนำ แบนด์วิทอินเตอร์เนต และพื้นที่เก็บข้อมูลที่เหลือใช้ของตัวเองมาแบ่งปัน โดยมีผลตอบแทนเป็นบิทคอยน์เล็กๆน้อยๆ

  • ใช้กับ IoT (Internet of Things) กระแสของ IoT อินเตอร์เนต ออฟ ธิงส์ นับว่าแรงมากในช่วงนี้ แต่ส่วนมากแพลตฟอร์มของ IoT จะขึ้นเป็นแบบรวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลางซึ่งจะเป็นตัวควบคุมการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ แต่จะมีจุดอ่อนเมื่อเวลาอุปกรณ์จะสื่อสารกันเองโดยตรงก็ไม่สามารถทำได้ เทคโนโลยี บล็อคเชน ได้มาทำให้การสื่อสาร การถ่ายข้อมูล การรักษาความปลอดภัยบัญชีและข้อมูล ระหว่างอุปกรณ์สามารถทำได้โดยไม่ต้องผ่านการควบคุมของส่วนกลาง IBM และ ซัมซุง ได้ร่วมมือกันพัฒนา เครือข่าย บล็อคเชน เพื่องาน IoT โดยใช้องค์ประกอบพื้นฐานของบิทคอยน์มาเป็นส่วนในการออกแบบ เรียกว่าระบบนี้ว่า ADEPT (Autonomous
    Decentralized Peer To Peer Telemetry) โดยใช้โปรโตคอล 3 แบบ ได้แก่ BitTorrent (แชร์ไฟล์), Ethereum (SmartContracts) และ TeleHash (Peer-to-Peer Messaging) ในแพลตฟอร์ม

โดยสรุป บล็อคเชน เทคโนโลยี เป็นการบันทึกบัญชีแยกประเภทแบบสาธารณะ ที่มีความปลอดภัยในระดับสูง ไม่มีใครสามารถควบคุมหรือปลอมแปลงได้ ซึ่งเทคโนโลยี บล็อคเชน นี้จะประกอบไปด้วยเทคโนโลยี 3 อย่างเข้าด้วยกัน 1) การเข้ารหัสลับ 2) เครือข่ายแบบ เพียร์ ทู เพียร์ (เครือข่ายที่ไม่มีเซิร์ฟเวอร์กลาง) 3) โปรแกรม หรือ โปรโตคอล สำหรับการให้บริการของเครือข่าย เมื่อนำเอา 3 เทคโนโลยีนี้มารวมกันก็สามารถประยุกต์ใช้ได้หลายๆด้าน ตั้งแต่งานเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน ไปจนถึงเรื่องที่ไม่เกี่ยงข้องกับการเงิน เช่น อุตสาหกรรมเพลง IoT เป็นต้น