ตัวเลือกที่ใช้ในการเล่นเสียง แบบ automatically หมายถึงอะไร

ใส่รูปภาพลงในสไลด์ (Insert Picture)
การนำรูปภาพมาใช้งานในสไลด์อาจจะเป็นภาพประกอบเนื้อหานำเสนอ หรือนำมาวางตกแต่งเพื่อความสวยงาม สำหรับคำสั่งการแทรกรูปภาพลงในสไลด์จะมีหลายวิธี โดยจะแสดงวิธีหลัก ๆ ที่ใช้งานได้ง่ายและสะดวกดังนี้

คลิกลากภาพมาใส่สไลด์
การนำรูปภาพมาวางในสไลด์ได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องใช้คำสั่งใด สามารถทำได้ด้วยการคลิกลากไฟล์ภาพ จากโฟลเดอร์ที่เก็บภาพของระบบ Windows มาวางในสไลด์ โดยให้คุณเปิดหน้าต่างไฟล์เอาไว้ให้เห็นทั้ง PowerPoint และหน้าต่างไฟล์ภาพ จากนั้นก็คลิกลากรูปภาพข้ามหน้าต่างไปวางบนสไลด์ได้เลย

วางภาพแบบ Copy & Paste
การวางรูปภาพด้วยคำสั่ง Copy และ Past เป็นพื้นฐานที่เราใช้งานกันอย่างคุ้นเคย โดยที่คุณสามารถคลิกเลือกภาพแล้วใช้คำสั่ง Copy คัดลอกภาพไปไว้ที่คลิปบอร์ด จากนั้นก็ไปที่สไลด์แล้วใช้คำสั่ง Paste วางภาพ ก็สามารถนำภาพมาใช้ได้ หรือจะกดปุ่ม และ ก็ได้เช่นกัน


แทรกรูปภาพออนไลน์ (Online Pictures)
Online Pictures คือรูปภาพที่เห็บอยู่ในเว็บไซต์ Office.com มีภาพ Clip Art ที่ไมโครซอฟท์ได้เตรียมไว้ให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดมาใช้ในเอกสารได้ฟรี โดยคุณต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเอาไว้ก่อนจึงจะใช้คุณสมบัตินี้ได้

บันทึกรูปภาพ (Save as Picture)
รูปภาพ Online Picture ที่ดาวน์โหลดมาวางในสไลด์แล้วนั้น คุณสามารถบันทึกเก็บลงในเครื่อง เพื่อนำมาใช้ในครั้งต่อไปได้ โดยคลิกขวาที่รูปภาพ แล้วเลือกคำสั่ง บันทึกเป็นรูปภาพ ดังภาพ

ตัดขอบภาพ (Crop)
รูปภาพที่นำมาวางบนสไลด์นั้น หากมีส่วนเกินที่ไม่ต้องการใช้ ก็ตัดออกให้เหลือเฉพาะส่วนที่ต้องการนำเสนอได้ โดยใช้เครื่องมือ Crop (ครอบตัด) ได้ดังนี้
- หากต้องการใช้ภาพที่ตัดขอบออกมาใช้งานใหม่ก็คลิกปุ่ม Crop อีกครั้ง แล้วคลิกลากขยายขอบเขตภาพออกได้
- หรือคลิกขวาบนรูปภาพแล้วเลือกคำสั่ง Crop (ครอบตัด)


จัดรูปแบบรูปภาพ Format Picture
เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ หรือทำให้รูปภาพโดดเด่น คุณอาจตกแต่งภาพด้วยสไตล์ลักษณะต่างๆ จากกลุ่มของ เครื่องมือรูปภาพ (Format Picture) ด้วยคำสั่ง สไตล์รูปภาพ (Picture Styles) ซึ่งจะมีสไตล์แต่งภาพ สำเร็จรูปให้เรียกใช้หลายแบบ เช่น ใส่กรอบ, ตัดขอบ, ตัดภาพให้เป็นวงกลม, ทำเงาสะท้อน, ใส่เอฟเฟ็กต์ 3 มิติ หรือหมุนภาพในแนวต่างๆ เป็นต้น

ตัวอย่างสไตล์รูปภาพแบบต่างๆ

เพิ่มเอฟเฟ็กต์ แต่งภาพ (Picture Effects)
นอกเหนือจากสไตล์แต่งภาพในกลุ่ม สไตล์รูปภาพ (Picture Styles) คุณสามารถเพิ่มเอฟเฟ็กต์ แต่งภาพเพิ่มเติมเอฟเฟ็กต์ ในชุดต่างๆ มีดังนี้
Preset (ค่าที่ตั้งไว้) ชุดเอฟเฟ็กต์ สำเร็จรูป
Shadow (เงา) สร้างเงาภาพ
Reflection (การสะท้อน) สร้างเงาสะท้อน
Glow (เรืองแสง) ใส่สีเรืองแสงที่ขอบภาพ
Soft Edges (ขอบจาง) ทำขอบภาพให้เบลอ
Bevel (ยกนูน) ทำภาพให้นูนขึ้นหรือยุบลง
3-D Rotation (การหมุน 3 มิติ) หมุนภาพแบบ 3มิติ

แต่งเส้นขอบภาพ (Picture Border)
การเน้นรูปภาพให้โดดเด่นอีกแบบหนึ่งคือ การใส่เส้นขอบให้กับภาพโดยที่คุณสามารถเลือกสี และลวดลายให้กับเส้นขอบได้ จากคำสั่งในปุ่ม เส้นขอบรูป (Picture Border) และเลือกปรับแต่งแส้นขอบได้ดังนี้

ยกเลิกการใช้เอฟเฟ็กต์ (Reset Picture)
หลังจากใช้เอฟเฟ็กต์ แต่งภาพไปแล้วถ้า ถ้าต้องการยกเลิกเอฟเฟ็กต์ ทั้งหมดให้ภาพกลับไปเป็นภาพต้นฉบับเดิมโดยให้คลิกปุ่ม

ปรับสี ความคมชัด และใส่เอฟเฟ็กต์ แปลงภาพ
รูปภาพที่นำมาวางในสไลด์อาจเป็นภาพถ่ายของสินค้า บริการ หรือภาพที่จะใช้อธิบายเรื่องราวที่จะนำเสนอ ภาพบางภาพอาจจะไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร เช่นมืดเกินไป สว่างเกินไปหรือขาดความคมชัด คุณอาจใช้คำสั่ง ในการปรับแต่งภาพในด้านของแสง และสีของภาพเพิ่มเติม รวมถึงคำสั่งในการเปลี่ยนแปลงภาพถ่ายให้เป็นภาพวาด หรือภาพเขียน เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพได้ ซึ่งจะมีคำสั่งในกลุ่มของ Adjust ให้เลือกใช้งานดังนี้
Corrections (การแก้ไข) เลือกคำสั่งปรับแสงและความคมชัด เช่น ทำให้มืดลงหรือสว่างขึ้น
Color (สี) ปรับสีภาพหรือแปลงสีภาพให้เป็นโทนสีต่าง ๆ เช่น ภาพ 2 สี, โทนสีเดียวสีต่างๆ และภาพขาวดำ
Artistic Effects (เอฟเฟ็กต์ แนวศิลป์) เพื่อแปลงภาพให้เหมือนภาพวาดหรือภาพเขียน
Remove Background (เอาพื้นหลังออก) เพื่อทำให้ฉากหลังที่ไม่ต้องการให้โปร่งใส่ไม่มีสี

Corrections ปรับแสงและความคมชัดของภาพ
คำสั่ง Corrections จะใช้สำหรับนำมาปรับแสงของภาพให้สว่างขึ้นหรือมืดลงได้ และมีตัวเลือกให้ปรับภาพที่เบลอ ให้มีความคมชัดขึ้น โดยจะแยกคำสั่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้
Sharpen/Soften เลือกปรับภาพให้คมชัดขึ้นหรือนุ่มลง
Brightness/Contrast เลือกปรับความสว่างและความคมชัด

Color แก้ไขสี หรือเปลี่ยนสีภาพ
คุณสามารถใช้คำสั่งในกลุ่ม Color มาใช้ปรับสีรูปภาพให้สดใสขึ้น หรือปรับสีภาพให้เป็นโทนสีต่าง ๆ ได้ เช่นกัน ซึ่งจะมีคำสั่งปรับสีภาพดังนี้ Color Saturation เลือกความเข้มของสี Color Tone เลือกโทนสีภาพ เช่นโทนสีร้อน หรือโทนสีเย็น Recolor เปลี่ยนสภาพ เหมือนการย้อนสีภาพให้เป็นสีต่าง ๆ เช่น สีขาว ดำ สีฟ้า หรือทำเป็นสีซีเปียแบบภาพเก่า เป็นต้น

Artistic Effects ใส่เอฟเฟ็กต์ ภาพแนวศิลป์
การทำภาพให้ดูสวยแปลกตาและน่าสนใจอีกแบบหนึ่ง สามารถใช้คำสั่งในกลุ่ม Artistic Effects (เอฟเฟ็กต์ แนวศิลป์) เพื่อใส่เอฟเฟ็กต์ ให้กับภาพ ทำให้ภาพนั้นถูกเปลี่ยนจากภาพถ่ายปกติทั่วไปให้เป็นเหมือนภาพวาดด้วยสีน้ำมันหุ้มด้วยพลาสติก หรือภาพวาดบนพื้นซีเมนต์ เป็นต้น

ทำภาพให้โปร่งใส่ ด้วยการเอาสีพื้นหลังออก
รูปที่นำมาวางลงในสไลด์โดยพื้นฐานจะวางเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยม หรือตามรูปทรงสไตล์ที่เลือกใส่ แต่บางครั้งภาพที่นำมาวางอาจจะมีส่วนของภาพและพื้นที่วางในภาพ หากคุณต้องการให้แสดงเฉพาะพื้นที่ตามรูปร่าง ก็ใช้คำสั่งในกลุ่ม Remove Background (เอาพื้นหลังออก) เอาสีพื้นในส่วนที่เหลือออกเพื่อทำให้ภาพโปร่งใส่ดังนี้


โปรแกรม Power Point 2013 นั้นนอกจากจะทำงานนำเสนอทางด้านเนื้อหาแล้ว ยังสามารถทำงานนำเสนอที่เป็นอัลบั้มรูปภาพได้อีกด้วย ซึ่งอัลบั้มรูปของ Power Point 2013 จะเป็นงานนำเสนอที่สร้างเพื่อแสดงรูปภาพ หรือรูปถ่ายต่างๆ เช่น รูปถ่ายทางธุรกิจ หรือรูปถ่ายส่วนบุคคล และยังสามารถเพิ่มลักษณะพิเศษในการเปลี่ยนสไลด์ พื้นหลังที่มีสีสัน ชุดรูปแบบ และเค้าโครงเฉพาะ เป็นต้น ทำให้อัลบั้มรูปดูน่าสนใจยิ่งขึ้น และหลังจากที่รูปภาพอยู่ในอัลบั้มแล้ว ยังสามารถเพิ่มคำอธิบายภาพ ปรับเปลี่ยนลำดับและเค้าโครง เพิ่มกรอบรอบรูปภาพได้อีกด้วย โดยการสร้างงานนำเสนอนั้นจะยึดตามชุดของรูปภาพ และภาพแต่ละภาพจะถูกนำไปวางบนสไลด์ของชุดรูปภาพเอง ซึ่งการสร้างอัลบั้มรูปนั้นมีขั้นตอนดังนี้

การใส่ภาพลงในอัลบั้ม

เมื่อคลิกที่คำสั่ง สร้างอัลบั้มรูปแล้วจะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ของอัลบั้มรูปขึ้นมา ดังนี้

จากนั้นโปรแกรมจะให้เราทำการเลือกรูปภาพที่ถูกเก็บอยู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนี้

จากนั้นโปรแกรมจะนำรูปภาพที่เลือกมาใส่ไว้ในอัลบั้มของงานนำเสนอให้ ซึ่งเราสามารถปรับแต่งแก้ไขรูปภาพเพิ่มเติม ได้บางลักษณะ คือ การหมุนรูปภาพ ความคมชัด และแสงสว่างของรูปภาพ ดังนี้

จากข้างต้นเราได้ทำการใส่รูปภาพลงในอัลบั้มรูปแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการกำหนดเค้าโครง หรือรูปแบบของอัลบั้ม ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

เมื่อเลือกรูปแบบของรูปภาพแล้วถัดมาคือการกำหนดลักษณะของกรอบรูปภาพ ดังนี้

หัวข้อถัดมาคือการกำหนดชุดรูปแบบของอัลบั้มที่โปรแกรมมีมาให้ ดังนี้

จากนั้นโปรแกรมจะทำการเปิดชุดรูปแบบต่างๆที่มี ให้เราเลือก ดังนี้

เมื่อกำหนดค่าต่างๆเสร็จแล้ว ขั้นสุดท้ายก็คือการสร้างอัลบั้มรูปขึ้นมา โดย

เมื่อสร้างอัลบั้มเสร็จแล้วจะได้งานนำเสนอที่เป็นรูปภาพในมุมมองปกติ ดังนี้

การแก้ไขข้อความบนงานนำเสนอ
เมื่อเราสร้างอัลบั้มรูปขึ้นมาแล้ว หน้าแรกของอัลบั้มรูปจะมีข้อความเริ่มต้นมาให้ ซึ่งหากเราไม่ต้องการข้อความ ที่โปรแกรมสร้างให้ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

เมื่อทำการเปลี่ยนข้อความ เปลี่ยนลักษณะตัวอักษร และตำแหน่งของข้อความแล้วจะได้ ดังนี้

การแก้ไขอัลบั้มรูป
เมื่อสร้างอัลบั้มรูปเสร็จแล้ว อยากจะกลับไปแก้ไขหรือปรับแต่งส่วนต่างๆใหม่ สามารถทำได้ดังนี้

จากนั้นจะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ของการแก้ไขอัลบั้มรูปขึ้นมาให้ ซึ่งจะเหมือนกับตอนสร้างอัลบั้มรูปใหม่ในตอนแรก และให้ทำการเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆตามความพอใจ ดังนี้

เมื่อคลิกที่ปุ่มปรับปรุงแล้ว โปรแกรมก็จะเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆของอัลบั้มให้ตามที่เรากำหนด

การสร้างงานนำเสนอนั้นจะเลือกแทรกลงในสไลด์ได้ 3 แบบ คือ ไฟล์เสียงจากเครื่องใช้งาน แทรกไฟล์เสียงออนไลน์ และบันทึกเสียงลงไปโดยไฟล์เสียงที่แทรกนั้นอาจจะเป็นไฟล์เสียง (Sound) ทั่วไปนามสกุล .wav ไฟล์เสียงแบบ .mp3 เช่น เพลง (Music) เป็นต้น
การแทรกไฟล์เสียงจากแหล่งต่างๆ
ผู้เรียนสามารถเพิ่มเสียงจากแฟ้มในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ Microsoft Clip Organizer รวมทั้งบันทึกเสียงของผู้เรียนเองเพิ่มลงในงานนำเสนอหรือ ใช้เพลงจากซีดีก็ได้ ซึ่งรูปแบบของการแทรกเสียงได้แก่
แทรกไฟล์เสียงส่วนตัวลงสไลด์
การแทรกเสียงแบบนี้ เป็นแบบที่ผู้ใช้งานทั่วไปจะนิยมใช้กันมาก โดยเป็นการแทรกไฟล์เสียงที่มีอยู่ แล้วในเครื่องคอมพิวเตอร์ เข้ามาในสไลด์ของโปรแกรม PowerPoint ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

จากนั้นจะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ของการแทรกเสียงขึ้นมา เพื่อให้เลือกไฟล์เสียง ดังนี้

เมื่อคลิกที่ปุ่ม แทรก เพื่อแทรกเสียงแล้ว โปรแกรมจะแสดงไอคอน และแท็บบาร์ทางด้านล้าง

คลิกปุ่ม เพื่อทดสอบฟังเพลง หรือคลิกปุ่ม เพื่อหยุดไฟล์เสียงชั่วคราว
แท็บบาร์แสดงช่วงเวลาของไฟล์ สามารถใช้เมาส์เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ ต้องการฟัง
เพลง แล้วคลิกปุ่ม
กระโดดย้อนกลับไป 0.25 วินาที หรือ กระโดดไปที่ 0.25 วินาที แสดงช่วงเวลาในขณะเล่นเพลง
ควบคุมระดับความดังของไฟล์เสียงเมื่อคลิกที่ไอคอนแสดง เพื่อให้เลื่อนปรับระดับเสียง

แทรกไฟล์เสียงออนไลน์ (Online Audio)
Online Audio คือการนำไฟล์เสียงจาก Office.com Clip Art มาใช้ในงานนำเสนอ โดยที่คุณต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตก่อน แล้วคลิกปุ่ม เสียง > เสียงออนไลน์ เพื่อเลือกไฟล์เสียงที่จะใช้งานดังภาพ

แทรกไฟล์ อัดเสียงบรรยายลงในสไลด์
เนื้อหาของการสร้างงานพรีเซนเตชันอีกแบบหนึ่งที่มักใช้กันคือ การใส่เสียงบรรยายลงไปในสไลด์เพื่ออธิบายเนื้อเรื่อง ใช้เพื่อการนำเสนอแบบอัตโนมัติแบบไม่มีผู้ควบคุม หรือเวลาที่ต้องการฉายสไลด์โชว์ในงานต่าง ๆ โดยสามารถอัดเสียงลงไปในสไลด์แต่ละแผ่นเพื่อเล่าเรื่องแทนได้

การจัดการเสียงในสไลด์
เมื่อแทรกไฟล์เสียงเข้ามาจะแสดงแท็บเครื่องมือ AUDIO TOOLS (เครื่องมือเสียง) ขึ้นมาให้ปรับแต่งการแสดงของเสียง โดยหลัก ๆ จะอยู่ในแท็บ การเล่น ดังนี้

ซึ่งส่วนของคำสั่งที่ใช้ในการจัดการเสียงจะอยู่ในกลุ่มของ ตัวเลือกของเสียง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ระดับเสียงการนำเสนอสไลด์ ใช้สำหรับกำหนดระดับความดังของเสียงที่แทรกลงในสไลด์ โดยให้คลิกที่คำสั่ง จากนั้นจะปรากฏรายการของระดับเสียง ได้แก่ เบา , ปานกลาง , ดัง และปิดเสียง ดังนี้

ซ่อนระหว่างนำเสนอ คือ ให้ทำการซ่อนไอคอนของเสียง ซึ่งก็คือรูปลำโพง ในขณะที่ทำการแสดงสไลด์นั่นเอง โดยให้คลิกให้มีเครื่องหมายถูกด้านหน้าคำสั่ง ดังนี้

วนรอบจนกว่าจะสั่งหยุด คือ เมื่อทำการแสดงสไลด์แล้ว เสียงจะเล่นซ้ำไปเรื่อยจนกว่าจะ เปลี่ยนไปสไลด์ถัดไป โดยที่ให้คลิกให้มีเครื่องหมายถูกด้านหน้าคำสั่ง ดังนี้

จะมีปุ่มเครื่องมือเพื่อให้กำหนดค่าเกี่ยวกับเสียงได้แก่
คลิกเพื่อฟังเสียง หรือ คลิกเพื่อหยุดเล่นชั่วคราว
คลิกเพื่อแทรกบุ๊คมาร์ก หรือระบุตำแหน่งเอาไว้ เพื่อใช้อ้างอิงในการตัดต่อเสียง,
ลบตำแหน่งบุ๊คมาร์กที่สร้างขึ้น
คลิกเพื่อตัดต่อไฟล์เสียงให้สั้นลง
Fade Duration กำหนดค่าการลด-เพิ่มเสียง โดยคลิก เสียงเริ่ม
จากค่อยไปดัง คลิกปุ่ม เพื่อกำหนดเวลาการ Fade In,
เสียงเริ่มจากดังไปค่อย คลิกปุ่ม เพื่อกำหนดเวลาการ Fade Out
กำหนดการเริ่มเล่นไฟล์เสียง โดยปกติจะแสดงตัวเลือกเป็น Automatically เล่นทันทีเฉพาะสไลด์ที่แทรกเสียง, On Click คลิกเมาส์เสียงจึงจะทำงาน (เฉพาะสไลด์ที่แทรกเสียง), Play across slides เล่นเพลงแม้เปลี่ยนสไลด์
การใช้งาน Bookmark
เราสามารถแทรก Bookmark ลงไปยังตำแหน่งเวลาที่ต้องการบนไฟล์คลิปเสียงหรือคลิปวิดีโอ เพื่อเป็นตัวกำหนด ตำแหน่งเอาไว้ โดยตำแหน่งดังกล่าวอาจใช้งานตำแหน่งในการตัดทิ้ง เป็นต้น

ตัดไฟล์เสียงให้สั้นลง
คุณสามารถตัดไฟล์เสียงได้ เพื่อทำให้เวลาของเสียงสั้นลง โดยจะตัดได้จากต้นเสียงและท้ายเสียงดังนี้

ในปัจจุบันสื่อการบันทึกข้อมูลมีความสามารถสูง ทำให้คุณสามารถบันทึกข้อมูลและภาพเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะบันทึกเสียงหรือวีดีโอคลิป คุณสามารถนำข้อมูลมัลติมีเดียเข้ามาเสริมเพื่อเพิ่มความชัดเจนในการนำเสนอ เช่น ใส่เสียงประกอบ เสียงเพลง เสียงบรรยาย ไฟล์วีดีโอ หรือแทรกไฟล์มูฟวี่ จาก Flash เข้ามานำเสนอได้
ใน PowerPoint 2013 จะนำไฟล์เสียงและไฟล์วีดีโอมาใส่ลงในสไลด์ได้ด้วยขั้นตอนง่ายๆ และมีคำสั่งให้นำวีดีโอจาก YouTube มาวางในสไลด์ได้ด้วย นอกจากนี้ยังปรับแต่งการทำงานของข้อมูลประเภทนี้ ได้เหมือนจัดการภาพที่ผ่านมาไม่ว่าจะปรับสีใส่สไตล์ หรือตัดต่อภาพและเสียงได้ด้วย
การนำเสนองานบางเรื่องอาจจะมีไฟล์วีดีโอแสดงประกอบเนื้อหาอื่นๆ คุณสามารถแทรกไฟล์วีดีโอลงในสไลด์ และปรับแต่งได้ง่าย ๆ จากคำสั่ง Video (วีดีโอ) บนแท็บ Insert (แทรก) ดังนี้
Online Video (วีดีโอแบบออนไลน์) เลือกแทรกวีดีโอออนไลน์จากอินเตอร์เน็ต, YouTube และ Facebook ได้
Video on My PC (วีดีโอบนพีซีของฉัน) เลือกไฟล์วีดีโอที่เก็บไว้ในเครื่อง

การแทรกไฟล์วีดีโอ Video on My PC

จากนั้นจะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ของการแทรกภาพยนตร์ขึ้นมา เพื่อให้เลือกไฟล์วีดีโอ ดังนี้

ประเภทของไฟล์วีดีโอที่สามารถนำมาใช้งานบนสไลด์ได้ จะเป็นไฟล์วีดีโอเพื่อทุกประเภท เช่น .avi, .mov, .m4v, .wmx, .wm, .qt และอื่นๆ ซึ่งเป็นไฟล์วีดีโอที่มาจากการถ่ายจากมือถือ ,กล้องถ่ายภาพ หรือกล้องถ่ายวีดีโอทั่วไป

การแทรกไฟล์วีดีโอออนไลน์จาก YouTube
หากคุณต้องการแทรกไฟล์จากเว็บไซต์ดัง อย่าง YouTube ให้เลือกการแทรกวีดีโอแบบออนไลน์ (Online Video) ได้แต่ต้องเชื่อมอินเทอร์เน็ตขณะแทรก และในขณะที่เล่นในงานนำเสนอด้วยโดยจะเลือกแทรกได้ 2 แบบดังนี้

การแทรกไฟล์วีดีโอออนไลน์ One Drive
นอกจากการนำคลิปวีดีโอจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรามาวางบนสไลด์แล้ว เรายังสามารถนำคลิปวีดีโอ ที่เก็บไว้บนสื่อออนไลน์ต่าง ๆ เช่น OneDrive, Facebook และ YouTube มาวางบนสไลด์ได้อีกด้วย โดยการใส่คลิปวีดีโอออนไลน์ดังนี้


การจัดรูปแบบภาพและกรอบของวีดีโอ
ภาพวีดีโอสามารถจัดรูปแบบภาพได้ เช่น ปรับแสงให้สว่างหรือมืด, ปรับสีภาพให้เป็นโทนสีต่าง ๆ หรือจะเลือกปรับแต่งกรอบแสดงภาพด้วย Video Styles ให้มีเงา, การสะท้อน หรือหมุนแบบ 3 มิติเหมือนการจัดรูปแบบรูปภาพที่ผ่านมา โดยเลือกคำสั่งจากแท็บ FORMAT ของ VIDEO TOOLS ได้ดังนี้
เลือกสไตล์พื้นที่แสดงวีดีโอ (Video Styles)

เปลี่ยนพื้นที่แสดงภาพวีดีโอ (Video Shape)
พื้นที่การแสดงภาพวีดีโอปกติจะเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือพื้นที่รูปแบบสไตล์ที่คุณเลือก แต่คุณสามารถเลือก ให้แสดงให้รูปร่างหรือรูปทรงอื่นๆ ได้โดยเลือกจากปุ่ม รูปร่างวีดีโอ Video Shape ดังภาพ

เลือกสีเส้นขอบวีดีโอ (Video Border)
การเลือกเส้นขอบสำหรับพื้นที่การแสดงภาพได้ เพื่อเน้นการแสดงผลวีดีโอได้เด่นชัดขึ้นในการนำเสนอ เช่น ใส่ขอบให้หนาเหมือนขอบจอทีวี เป็นต้น โดยเลือกได้จากปุ่ม Video Border (เส้นขอบวีดีโอ) แล้วเลือกสี, ขนาดหรือลักษณะของเส้นได้เหมือนการจัดรูปแบบรูปภาพจากบทที่ผ่านมา

เลือกเอฟเฟ็กต์ วีดีโอ (Video Effects)
กรอบพื้นที่ของวีดีโอนอกจากกำหนดเส้นขอบได้แล้ว คุณสามารถใส่เอฟเฟ็กต์ ได้ เหมือนใส่เอฟเฟ็กต์ รูปภาพ เช่น ใส่เงา, เงา, สะท้อน, ยกนูน หรือหมุนกรอบให้แสดงแบบ 3 มิติได้ โดยคลิกปุ่ม Video Effects แล้วเลือกรูปแบบเอฟเฟ็กต์ ที่ต้องการได้

เปลี่ยนสีภาพวีดีโอ (Color)
การเปลี่ยนสีภาพวีดีโอคือ การปรับสีภาพให้เป็นโทนสีต่าง ๆ เหมือนการย้อมสีภาพให้ออกมาเป็นโทนสีตามความต้องการเช่น ต้องการให้เป็นภาพวีดีโอเก่า ๆ ก็เลือกเป็นสีขาวดำ หรือสีซีเปียน้ำตาลอ่อน ๆ ได้โดยคลิกเลือกจากปุ่ม Color (สี) แล้วคลิกเลือกสีที่ต้องการได้ หรือคลิกที่ More Variations เพื่อเลือกสีอื่นด้วยตนเอง


การยกเลิกการจัดรูปแบบวีดีโอ (Reset Video)
การจัดรูปแบบวีดีโอ เช่น ปรับสี ใส่กรอบ หรือใส่เอฟเฟ็กต์ หากไม่ต้องการใช้งานก็ยกเลิกออกได้ โดยคลิกปุ่ม Reset Design (ตั้งค่าการออกแบบใหม่) ซึ่งจะเลือกได้ 2 แบบ คือ
- Reset Design (ตั้งค่าการออกแบบใหม่) ยกเลิกรูปแบบทั้งหมดแล้วกลับไปใช้ค่าเริ่มต้นครั้งแรก
- Reset Design & Size (ตั้งค่าการออกแบบและขนาดใหม่) ยกเลิกรูปแบบและการปรับขนาดวีดีโอด้วย


ลบวีดีโอ (Delete Video)
ไฟล์วีดีโอที่ใส่ลงในสไลด์แล้ว หากไม่ต้องการใช้งานก็ลบออกไปได้เหมือนการลบรูปภาพทั่วไป โดยคลิกเลือกพื้นที่ของวีดีโอแล้วกดปุ่ม Delete ที่แป้นพิมพ์
การจัดการไฟล์วีดีโอในสไลด์
เมื่อแทรกวีดีโอลงในสไลด์ได้แล้ว ยังสามารถกำหนดรูปแบบการเล่นของวีดีโอขณะฉายสไลด์ เพื่อช่วยให้งานนำเสนอดูน่าสนใจยิ่งขึ้น ซึ่งมีวิธีการกำหนดดังนี้

ซึ่งส่วนของคำสั่งที่ใช้ในการจัดการเสียงจะอยู่ในกลุ่มของ ตัวเลือกของเสียง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. ระดับเสียงการนำเสนอสไลด์ ใช้สำหรับกำหนดระดับความดังของเสียงที่แทรกลงในสไลด์ โดยให้คลิกที่คำสั่ง จากนั้นจะปรากฏรายการของระดับเสียง ได้แก่ เบา , ปานกลาง , ดัง และ ปิดเสียง ดังนี้

2. ซ่อนขณะที่ไม่มีการแล่น คือ ซ่อนในที่ในขณะที่ไม่ได้เล่น

3. วนรอบจนกว่าจะสั่งหยุด คือ เมื่อทำการแสดงสไลด์แล้ว เสียงจะเล่นซ้ำไปเรื่อยจนกว่าจะ เปลี่ยนไปสไลด์ถัดไป โดยที่ให้คลิกให้มีเครื่องหมายถูกด้านหน้าคำสั่ง ดังนี้

3. วนรอบจนกว่าจะสั่งหยุด คือ เมื่อทำการแสดงสไลด์แล้ว เสียงจะเล่นซ้ำไปเรื่อยจนกว่าจะ เปลี่ยนไปสไลด์ถัดไป โดยที่ให้คลิกให้มีเครื่องหมายถูกด้านหน้าคำสั่ง ดังนี้

4. จะมีปุ่มเครื่องมือเพื่อให้กำหนดค่าเกี่ยวกับวิดีโอ ได้แก่

คลิกเพื่อดูวิดีโอ หรือ คลิกเพื่อหยุดเล่นชั่วคราว
คลิกเพื่อแทรกบุ๊คมาร์ก หรือระบุตำแหน่งเอาไว้เพื่อใช้อ้างอิงในการตัดต่อไฟล์วิดีโอ,
ลบตำแหน่งบุ๊คมาร์กที่สร้างขึ้น
คลิกเพื่อตัดต่อไฟล์วิดีโอให้สั้นลง
Fade Duration กำหนดค่าการลด-เพิ่มของการปรากฏของไฟล์วิดีโอ โดยคลิก วิดีโอเริ่มจะค่อยๆ ปรากฏขึ้น คลิกปุ่ม เพื่อกำหนดเวลาการ Fade In, วิดีโอเริ่มจะค่อยๆ หายไป คลิกปุ่ม เพื่อกำหนดเวลาการ Fade Out
กำหนดการเริ่มเล่นไฟล์วิดีโอ โดยปกติจะแสดงตัวเลือกเป็น อัตโนมัติ เล่นทันทีเฉพาะสไลด์ที่แทรกเสียง, เมื่อคลิก คลิกเมาส์เสียงจึงจะทำงาน (เฉพาะสไลด์ที่แทรกเสียง), Play across slides เล่นเพลงแม้เปลี่ยนสไลด์

ตัดวิดีโอให้สั้นลง (Trim Video)
หากไฟล์วีดีโอที่นำมาใช้นั้นมีความยาวมากเกินไปคุณอาจใช้คำสั่ง Trim Video (ตัดแต่งวีดีโอ) ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออกได้โดยจะตัดได้ที่ต้นไฟล์และท้ายไฟล์เท่านั้น เพื่อทำให้วีดีโอนั้นสั้นลงดังนี้

หากต้องการยกเลิกการตัดหรือกำหนเขอบเขตใหม่ให้คลิกปุ่ม Trim Video (ตัดแต่งวีดีโอ) อีกครั้งเพื่อปรับขอบเขตเวลาใหม่วีดีโอใหม่


 

คำสั่ง Rewind After Playing ที่ใช้ในการควบคุมเสียง หมายถึงอะไร

- กรอกลับหลังจากเล่นแล้ว (Rewind after Playing) การกำหนดเวลาเล่นเสียงประกอบสไลด์ เมื่อได้ทำความรู้จักกับปุ่มคำสั่งต่าง ๆ ในแถบเครื่องมือแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะมากำหนดเสียงที่อยู่ในสไลด์นั้น ว่าจะเล่นทันที หรือเล่นหลังจากที่ฉายสไลด์ไปแล้วกี่นาที และสามารถกำหนดระยะเวลาในการเล่นไฟล์เสียงนั้นได้อีกด้วยดังนี้

การกำหนดเสียงให้สไลด์ต้องเลือกคำสั่งใด

ในมุมมอง ปกติ ให้คลิกสไลด์ที่คุณต้องการเพิ่มเสียงลงไป บนแท็บ แทรก ในกลุ่ม สื่อ คลิกลูกศรภายใต้ เสียง ในรายการ ให้คลิก เสียงจากไฟล์ หรือ เสียงคลิปอาร์ต ระบุตำแหน่งและเลือกคลิปเสียงที่คุณต้องการ แล้วคลิก แทรก ไอคอนเสียงและตัวควบคุมจะปรากฏบนสไลด์

การนำเสียงมาใส่จะต้องใช้คำสั่งใด

1.เลือก Insert (แทรก) >> Movies and Sounds (ภาพยนตร์และเสียง) >> Sound from Clip Organizer (เสียงจาก Clip Organizer) 2.คลิกเลือกเสียง 3.คลิกเพื่อให้เล่นทันทีที่ฉายสไลด์ คลิกเพื่อให้เล่นเมื่อคลิกที่ไอคอนลำโพงเท่านั้น

เมนูคำสั่งใดที่ใช้สำหรับการใส่เสียงของสไลด์

วิธีการใส่เสียงเพลง,เสียงดนตรีใน PowerPoint ทุกสไลด์แบบต่อเนื่อง.
เริ่มจากสร้าง presentation (งานนำเสนอ) หรือเปิดไฟล์ที่ต้องการแทรกเพลง จากนั้นเลือกแท็บ Insert (แทรก) ใน Group Media คลิกที่เมนู Audio (เสียง) แล้วเลือก Audio on My PC.. ... .
เลือกไฟล์เพลงหรือเสียงดนตรี ตามที่ต้องการ จากนั้นคลิก Open..

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน