ต่ออายุบัตรประชาชนต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศเป็นเวลานาน โดยปกติแล้วจะต้องแจ้งย้ายชื่อออก
จากทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เข้าไปอยู่ในทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศ

สำนักทะเบียนแต่ละแห่งจะกำหนดให้มีทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับลงรายการของบุคคลที่
เดินทางไปต่างประเทศสำนักทะเบียนละ 1 แห่ง

[ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร 2535 ข้อ 87]  

ซึ่งผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านชั่วคราวดังกล่าว จะมีสิทธิขอทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศได้

อย่างไรก็ดี กระทรวงมหาดไทยได้อนุโลมให้ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร. 14)
ที่ยังไม่ได้โอนชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวสามารถต่ออายุบัตรฯ ในต่างประเทศได้ก่อน

แต่ขอให้ สอท./สกญ. แนบเอกสารที่เป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ถูกต้องตาม
พ.ร.บ. ทะเบียนราษฎรให้ผู้ร้องพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควรในภายหลัง เช่น
ผู้ยื่นขอทำบัตรอาจดำเนินการเองในการโอนชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราว
หรือมอบอำนาจให้ญาติพี่น้องที่อยู่ในประเทศไทยยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านชั่วคราว
สำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศได้

[ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 5) 2551 ข้อ 96/2]

กรณีหากยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้มอบอำนาจ
ขอโอนย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวแทน

"สำหรับผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง จะไม่สามารถขอทำบัตรประจำตัวประชาชนในต่างประเทศได้
ขอให้ติดต่อสำนักทะเบียนที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านกลาง
ไปเข้าทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับคนที่เดินทางไปต่างประเทศ โดยดำเนินการ
ด้วยตนเองหรือสามารถมอบอำนาจบุคคลอื่นดำเนินการแทน"

(กรณีที่ชื่อและนามสกุลของเอกสารการมีถิ่นที่อยู่ในสหรัฐฯ ไม่ตรงกับข้อมูลในบัตรประชาชน กรุณาแสดงหลักฐานเอกสารเพิ่มเติมซึ่งแสดงว่ามีการเปลี่ยนชื่อและนามสกุล อาทิ ทะเบียนสมรส หรือใบเปลี่ยนชื่อและนามสกุล)

บุคคลสัญชาติไทยที่มีถิ่นพำนักถาวรหรือพำนักระยะยาวในประเทศเยอรมนี ที่บัตรประจำตัวประชาชนหมดอายุ สามารถมายื่นขอต่ออายุบัตรประจำตัวประชาชน โดยการออกบัตรใหม่แทนบัตรที่หมดอายุ ได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต ตามเงื่อนไข ดังนี้

เงื่อนไข (ตามที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยกำหนด)

  1. ต้องไม่ใช่การทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก หากเป็นการทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก บุคคลนั้นจะต้องกลับไปทำที่ประเทศไทย เนื่องจากต้องมีการเก็บข้อมูลลายนิ้วมือและรูปถ่ายที่อำเภอหรือเขตที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  2. จะต้องเป็นการต่ออายุบัตรประจำตัวประชาชน หรือ เป็นการทำบัตรใหม่ในกรณีชำรุด สูญหาย หรือมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น เปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล หรือเปลี่ยนที่อยู่ (ซึ่งจะต้องดำเนินการเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าวในทะเบียนราษฎร์ที่ประเทศไทยก่อน)
  3. ผู้ยื่นคำร้องต้องเป็นบุคคลถือสัญชาติไทย อายุ 7 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์
  4. ผู้ยื่นคำร้องต้องมีเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักแล้ว
  5. ผู้ยื่นคำร้องต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านชั่วคราวสำหรับบุคคลที่เดินทางไปต่างประเทศ
  6. สำหรับผู้ยื่นคำร้องที่ยังคงมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านปกติ (ท.ร. 14) กรมการปกครองอนุโลมให้ยื่นคำร้องขอต่ออายุบัตรประจำตัวประชาชนได้ โดยสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง จะดำเนินการย้ายชื่อผู้ยื่นคำร้องนั้นจากทะเบียนปกติ (ท.ร. 14) ไปอยู่ทะเบียนบ้านชั่วคราวฯ ในภายหลัง
  7. ผู้ยื่นคำร้องต้องเป็นผู้ที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศเยอรมนีเท่านั้น

รายการเอกสารประกอบการยื่นคำร้องผู้ยื่นคำร้องต้องมายื่นคำร้องด้วยตัวเอง โดยยื่นเอกสารประกอบ ดังต่อไปนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชนใบเดิม พร้อมสำเนา
  • หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
  • ทะเบียนบ้านไทยฉบับปัจจุบัน
  • บัตรแสดงการมีสิทธิพำนักในเยอรมนี (Aufenthaltstitel) หรือใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนีที่แสดงที่อยู่ในปัจจุบัน (Meldebescheinigung)
  • หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ในกรณีที่มีการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล)
  • เจ้าหน้าที่อาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น เช่น ใบทะเบียนสมรส ใบหย่า เป็นต้น
  • ค่าธรรมเนียม 5 ยูโร

เวลาให้บริการบัตรประจำตัวประชาชน

จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการตามประกาศสถานกงสุลใหญ่ฯ) โดยจะต้องทำนัดหมายล่วงหน้ากับแผนกบัตรประชาชน

และอย่าลืมครับ  masii ขอทิ้งท้ายแบบเดิม ถ้าหากเราต้องการสินเชื่อส่วนบุคคล หรือต้องการสินเชื่อเงินสด หรือต้องการบัตรกดเงินสดมาใช้งาน ก็จำเป็นต้องใช้สำเนาบัตรประชาชนเพื่อเป็นเอกสารสำคัญครับ และสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อเปรียบเทียบสินเชื่อส่วนบุคคล ออนไลน์ สมัครบัตรเครดิต หรือสมัครสินเชื่อส่วนบุคคล สมัครบัตรกดเงินสด ได้ด้วยตัวเอง และสามารถแอด Line @ :@masii ครับมาสอบถามเพิ่มเติมได้เลย เรามีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการอยู่

1. ผู้ขอทำบัตรประจำตัวประชาชนจะต้องไม่เป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง
2. ผู้ขอทำบัตรประจำตัวประชาชนจะต้องมีข้อมูลในระบบฐานข้อมูลของกระทรวงมหาดไทยและข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องถูกต้องตรงกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร
3. สำหรับกรณีคนไทยที่ยังไม่เคยยื่นคำขอมีบัตร (กรณีมีบัตรครั้งแรก)ไม่สามารถยื่นขอทำบัตรในต่างประเทศได้ หากประสงค์จะทำบัตรจะต้องไปดำเนินการยื่นคำขอในประเทศไทยเท่านั้น โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลได้ที่ –> การมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก
4. ท่านไม่สามารถทำบัตรประชาชนใหม่ได้ หากบัตรใบเดิมยังมีอายุเหลือเกินกว่า 60 วัน (ยกเว้นกรณีบัตรหาย)

การทำบัตรประชาชน จะต้องมีคุณสมบัติคือ มีสัญชาติไทย ต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี และต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) 

- ทําบัตรประชาชนครั้งแรก ต้องเตรียมอะไรบ้าง
สำหรับการเริ่มทำบัตรประชาชนครั้งแรก ควรทำภายใน 60 วัน หากพ้นกำหนดจะเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท โดยต้องเตรียมหลักฐาน ดังนี้

  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • สูติบัตร หรือเอกสารอื่นๆ ที่หน่วยงานราชการออกให้เพื่อยืนยันตัวตน 
  • หากเปลี่ยนชื่อ ให้นำหลักฐานมาแสดงด้วย
  • หากบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว ให้นำหลักฐานประจำตัวคนต่างด้าวของบิดามารดามายืนยัน
  • หากไม่มีหลักฐานสำคัญ ให้นำบุคคลน่าเชื่อถืออย่างน้อย 2 คน ไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อให้การรับรอง

- หากบัตรประชาชนเดิมหมดอายุ ต้องทำอย่างไร
หากบัตรเดิมหมดอายุ ต้องไปยื่นคำขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันหมดอายุบนบัตร โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่หากพ้นกำหนด มีค่าปรับไม่เกิน 100 บาท โดยต้องใช้หลักฐานดังนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชนใบเดิม (ที่หมดอายุ)
  • หากบัตรประชาชนใบเดิมหมดอายุเป็นเวลานานแล้ว จะต้องให้เจ้าบ้าน หรือบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรองด้วย

- บัตรหายอย่าเพิ่งตกใจ ขอทำบัตรประชาชนใหม่ได้
ในกรณีที่บัตรประจำตัวประชาชนหาย เสียหาย หรือถูกทำลาย ไปติดต่อขอทำใหม่ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตเทศบาล ภายในเวลา 60 วันนับตั้งแต่วันที่บัตรหาย หากพ้นกำหนด ต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท โดยต้องใช้หลักฐาน ดังนี้

  • เอกสารที่มีรูปถ่าย ซึ่งออกให้โดยหน่วยงานราชการ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ หลักฐานการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง ฯลฯ
  • หากไม่มีหลักฐานข้อแรก ให้นำเจ้าบ้าน หรือบุคคลน่าเชื่อถือไปรับรองต่อเจ้าหน้าที่

ทําบัตรประชาชน ที่ไหนได้บ้าง?

การทำบัตรประชาชน สามารถไปติดต่อ ณ สถานที่ราชการ เช่น สำนักงานเขต, สำนักงานเทศบาล, สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, ที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ ปัจจุบันสามารถทําบัตรประชาชนนอกเขตได้แล้ว โดยยื่นขอทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ 

นอกจากนี้ ก็ยังมีจุดบริการด่วนมหานคร (BMA Express Service) ที่เปิดให้ไปติดต่อทำบัตรประชาชน ณ สถานีรถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพฯ (ยกเว้นกรณีบัตรหาย ไม่สามารถติดต่อทำที่ BTS ได้)

  • สถานีรถไฟฟ้าสยาม (หน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน)
    วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.30-19.00 น.
    วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.
  • สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต
    วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-20.00 น.
    วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.
  • สถานีรถไฟฟ้าพร้อมพงษ์
    วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-20.00 น.
    วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.
  • สถานีรถไฟฟ้าอุดมสุข
    วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น.
    วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-19.00 น.
  • สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่
    วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น.
    วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-19.00 น.

ภายในศูนย์การค้าต่างๆ ก็มีจุดบริการทําบัตรประชาชนในห้าง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนให้สามารถไปติดต่อได้ เช่น ศูนย์การค้าเกตเวย์เอกมัย, ห้างสรรพสินค้าแฟชั่นไอส์แลนด์, ห้างสรรพสินค้าซีคอนบางแค, ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางแค, ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการทำบัตรประชาชนในปัจจุบันมีความสะดวกรวดเร็วกว่าที่คิด หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำบัตรประชาชน สามารถติดต่อสอบถามสำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง Call Center 1548 หรือติดต่อที่สำนักงานเขต และที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ.

ต่อ บัตรประชาชน 2564 ใช้อะไรบ้าง

เอกสารต้องเตรียมในการทำบัตรประชาชนนั้นมีอะไรบ้าง ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ หลักฐานการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง

ต่ออายุบัตรประชาชน 2565 ใช้อะไรบ้าง

1. ให้ไปติดต่อแจ้งขอทำบัตรประชาชนใหม่ ณ สำนักงานเขต / ที่ว่าการอำเภอ / เทศบาล ภายใน 60 วัน (หากเกินเวลาที่กำหนด จะต้องเสียค่าปรับ 200 บาท) 2. เอกสารหลักฐาน ดังนี้ - สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) - เอกสารราชการที่มีรูปถ่ายของเจ้าของบัตร เช่น ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง เป็นต้น

การทำบัตรประชาชนครั้งแรกต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

สูติบัตรของเด็กที่จะทำบัตรประชาชน (ตัวจริงหรือถ่ายเอกสาร) ... .
ทะเบียนบ้านตัวจริงที่มีชื่อเด็ก เพื่อแสดงว่าเป็นผู้ที่มีชื่อในทะเบียนบ้านนั้น.
บัตรประชาชนตัวจริงของบิดา มารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมายของเด็ก.
หากเด็กหรือผู้ปกครองเคยเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ต้องนำใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลมาแสดงด้วย.

ทําบัตรประชาชนต้องใช้ทะเบียนบ้านตัวจริงไหม

ผู้ถือบัตรผู้ใดย้ายที่อยู่จะขอเปลี่ยนบัตรก็ได้ (ตามความสมัครใจ) หากไม่ขอเปลี่ยนบัตรก็สามารถใช้บัตรประจำตัวประชาชนนั้นได้ จนกว่าบัตรจะหมดอายุ หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง 1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14) 2 บัตรประจำตัวประชาชนเดิม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน