รับเป็นบุตรบุญธรรมต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

สำหรับคู่รักคู่ไหนที่จดทะเบียนแต่งงานกันมาก็นานแล้ว แต่ก็ยังไม่มีข่าวดีตั้งครรภ์สักที (วิธีตรวจสอบว่าท้องหรือไม่หรือประจำเดือนไม่มาเช็คความผิดปกติของร่างกาย) และพวกคุณเองก็อยากมีลูกมาก ๆ แต่ด้วยปัจจัยอะไรหลาย ๆ อย่างที่ทำให้คุณมีลูกยาก บางคนก็เลือกจะไปทำกิ๊ฟท์และเด็กหลอดแก้วแทน หรือบางคนก็เลือกที่จะรับบุตรบุญธรรมมาเป็นลูก ซึ่งที่เรามักเห็นกันบ่อย ๆ เลยในประเทศไทยหรือแม้แต่ต่างประเทศเองโดยคุณอาจจะเดินทางไปยังบ้านเด็กกำพร้าหรือสถานสงเคราะห์ต่าง ๆ แต่การมีบุตรบุญธรรมนั้น คุณจะต้องทำเรื่องให้ถูกต้องตามกฎหมายเสียก่อนนะคะ ไม่ใช่ว่าแค่เอาเด็กมาเลี้ยงก็เป็นอันเสร็จ แบบนั้นไม่ถูกต้องค่ะ และวันนี้เราจะมาบอกถึงขั้นตอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมกัน ว่ามีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ

รับเป็นบุตรบุญธรรมต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
รับเป็นบุตรบุญธรรมต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
รับเป็นบุตรบุญธรรมต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

เงื่อนไขการรับบุตรบุญธรรม

เงื่อนไขของผู้ที่รับบุตรบุญธรรม (ตัวคุณ)

    1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และที่สำคัญผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุแก่กว่าเด็กอย่างน้อย 15 ปี
    2. เป็นคนสัญชาติไทย ที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย
    3. ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน
    4. คุณจะต้องมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ รวมถึงสุขภาพทางใจด้วย
    5. ต้องเป็นผู้ที่ไม่ไร้ความสามารถ, ต้องไม่เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ, ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย,  ตามมาตรา 1587 แห่งประมวลกฎหมายทางแพ่งและพาณิชย์
    6. คุณจะต้องเป็นผู้ที่มีรายได้อยู่ในเกณฑ์ฐานะที่จะสามารถเลี้ยงดูเด็กให้มีคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีได้ หรือมีฐานะที่มั่นคง มีรายได้ที่แน่นอน และไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้
    7. คุณจะต้องมีเวลามากพอสำหรับการดูแลเอาใจใส่เด็ก
    8. คุณจะต้องไม่เคยเป็นผู้ต้องโทษหรือจำคุก จากการกระทำผิดอาญา เว้นแต่ว่าจะเป็นโทษประเภทกระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
    9. ต้องผ่านการทดลองเลี้ยงดูเด็กครบตามกำหนดแล้ว (อย่างน้อย 6 เดือน) ภายใต้การสังเกตกาณ์ของเจ้าหน้าที่
    10. เป็นครอบครัวที่อบอุ่น สมบูรณ์ และมีความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ดี
    11. มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง ถูกสุขลักษณะที่ควรจะเป็น มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่ห่างไกลชุมชนเกินไป
    12. ต้องไม่มีบุตรหรือมีเด็กในความอุปการะจำนวนมากเกินไป เพื่อที่คุณจะสามารถดูแลเด็กได้อย่างเต็มที่เต็มกำลัง




เงื่อนไขของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม (ตัวเด็ก)

    1. ผู้เป็นบุตรบุญธรรม หรือตัวเด็กเองจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และเด็กจะต้องมีความยินยอมอยากเป็นบุตรบุญธรรมด้วยตนเอง
    2. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่ยังเป็นผู้เยาว์จะต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองของเด็กก่อน
    3. หากผู้เป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรสจะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน
    4. กรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่นอยู่ แล้วจะมาเป็นบุตรบุญธรรมของคุณต่อในขณะเดียวกัน แบบนี้ไม่ได้ค่ะ ยกเว้นว่าเด็กเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของคุณ

ขั้นตอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์

โดยคุณจะต้องผ่านขั้นตอนของคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน ซึ่งมีดังต่อไปนี้

    • กรณีที่คุณมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครหรือต่างประเทศ คุณจะต้องไปยื่นคำขอพร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของผู้มี่มีอำนาจ ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมหรือกรมประชาสงเคราะห์
    • กรณีที่คุณมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างจังหวัด คุณจะต้องไปยื่นคำขอพร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของผู้มี่มีอำนาจ ณ ที่ว่าการอำเภอ, กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานประชาสงเคราะห์ประจำจังหวัดนั้น ๆ

เมื่อคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม อนุมัติให้ผ่านหรืออนุมัติให้คุณสามารถรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ ให้คุณนำหนังสือแจ้งคำอนุมัติที่ได้ ไปร้องขอการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ณ ที่ว่าการอำเภอ, กิ่งอำเภอ หรือเขตที่ไหนก็ได้

กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่บรรลุนิติภาวะแล้ว

คุณ (ผู้จะรับบุตรบุญธรรม) หรือตัวเด็ก (ผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม) สามารถดำเนินการ ณ ที่ว่าการอำเภอ, กิ่งอำเภอ หรือเขตที่ไหนก็ได้โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนของคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

หลักฐานหรือเอกสาร ที่จะ การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

  1. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้จะรับบุตรบุญธรรม (ถ้ามีคู่สมรสจะต้องใช้ทะเบียนบ้านของคู่สมรสด้วย) คนละ 1 ฉบับ
  2. สำเนาทะเบียนของตัวเด็กที่จะมาเป็นบุตรบุญธรรม และของพ่อแม่ที่แท้จริงของเด็ก คนละ 1 ฉบับ
  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จะรับบุตรบุญธรรม (และคู่สมรส) คนละ 1 ฉบับ
  4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของพ่อแม่ที่แท้จริงของเด็ก และของเด็ก (หากเด็กมีอายุ 7 ปีขึ้นไปต้องใช้บัตรประจำตัวประชาชนด้วย) คนละ 1 ฉบับ
  5. สำเนาทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่าของผู้จะรับบุตรบุญธรรม 1 ฉบับ
  6. สำเนาทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่าของพ่อแม่ที่แท้จริงของเด็ก ในกรณีที่พ่อแม่ที่แท้จริงของเด็กไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้ใช้เป็นทะเบียนรับรองบุตร 1 ฉบับ
  7. ใบรับรองแพทย์ของผู้จะรับบุตรบุญธรรม รวมถึงคู่สมรสของผู้จะรับบุตรบุญธรรมด้วย ว่ามีความพร้อมทั้งด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจหรือไม่ โดยจะเป็นผลการตรวจสภาพจิตตามกระบวนการทดสอบทางจิตวิทยา (ไม่เกิน 6 เดือน)
  8. ในกรณีที่คุณต้องการขอรับเด็กมาเลี้ยงจาก “กรมกิจการเด็กและเยาวชน” เนื่องจากคุณไม่สามารถมีลูกได้ คุณจะต้องนำหลักฐานทางการแพทย์หรือใบรับรองแพทย์มายืนยันด้วย
  9. ผลการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม
  10. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 2 นิ้วเท่านั้น คนละ 1 รูป ทั้งของผู้จะรับบุตรบุญธรรม (และคู่สมรส) ของเด็ก  และของพ่อแม่ที่แท้จริงของเด็ก (ของทุกคนที่เกี่ยวข้อง) โดยต้องถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน
  11. สูติบัตรของเด็กที่จะรับมาเป็นบุตรบุญธรรม
  12. สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี) 1 ฉบับ
  13. สำเนาใบมรณะบัตรในกรณีที่คู่สมรสของผู้จะรับบุตรบุญธรรมเสีย หรือของคู่สมรสของพ่อแม่ที่แท้จริงของเด็กเสีย 1 ฉบับ
  14. สำเนาผู้รับรอง 1 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน อย่างละ 1 ฉบับ
  15. เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งอาจจะแล้วแต่กรณีไป โดยรวมแล้ว 1-14 คือเอกสารที่ควรจะเตรียมไว้ให้เรียบร้อยค่ะ

หมายเหตุ

  • ให้นำเอกสารทุกอย่างแบบฉบับจริงมาแสดงด้วย ณ วันที่จะมอบเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ต่อเจ้าหน้าที่
  • พ่อแม่ที่แท้จริงของเด็กต้องมาลงนามแสดงความยินยอมที่จะมอบเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ต่อเจ้าหน้าที่ แม้ว่าทั้งคู่จะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก็ตาม ก็ต้องมาทั้งสองคนค่ะ ยกเว้นว่าเว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต หรือถูกถอนอำนาจปกครองเด็กไปแล้ว
  • กรณีเด็กมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ตัวเด็กจะต้องมาลงนามแสดงความยินยอมเป็นบุตรบุญธรรม ต่อเจ้าหน้าที่ด้วยตัวเอง
  • กรณีเด็กมีอายุ 12 ปีขึ้นไป เด็กสามารถเขียนระบุเหตุผลที่ต้องการ และยินยอมเป็นบุตรบุญธรรมได้




ยื่นคำร้องขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ได้ที่ไหน

  1. หากคุณมีภูมิลำเนาตามทะเบียนที่อยู่ในเขตกรุงเทพ ให้ยื่นคำร้อง ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรมกิจการเด็กและเยาวชน 255 ถนน ราชวิถี แขวง ทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 ณ ตึก 60 ปี กรมประชาสงเคราะห์ ชั้น 2 ภายในสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี
  2. หากคุณมีภูมิลำเนาตามทะเบียนที่อยู่ในต่างจังหวัด ให้ยื่นคำร้อง ณ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำจังหวัด

ผู้จะรับบุตรบุญธรรมจะต้องได้รับการทดลองเลี้ยงดูเด็กเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งจะอยู่ในการดูแลและสังเกตกาณ์ของเจ้าหน้าที่ แต่หากผู้จะรับบุตรบุญธรรมเป็นญาติกับตัวเด็กที่สายเลือกโดยตรง อาทิเช่น ปู่ย่า, ตายาย, ลุงป้า, น้าอา เป็นต้น การจะรับเป็นบุตรบุญธรรมได้นั้น จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจก่อนค่ะ

สิทธิตามกฎหมายของเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม

  1. ผู้ที่จะมาเป็นบิดาหรือมารดาบุญธรรมกับตัวบุตรบุญธรรมที่จะรับมาเลี้ยงจะต้องไม่ใช่สายเลือดเดียวกัน
  2. ต้องเกิดจากความยินยอมทั้งสองฝ่าย ระหว่างตัวผู้จะรับบุตรบุญธรรม และพ่อแม่ที่แท้จริงของเด็ก รวมถึงตัวเด็กที่เป็นบุตรบุญธรรมด้วย
  3. การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมนั้น ตามกฎหมายแล้วจะให้สิทธิคุ้มครองเด็ก ให้มีฐานะเหมือนเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้จะรับบุตรบุญธรรมโดยทันทีนับแต่วันที่จดทะเบียน  อาทิเช่น สามารถใช้นามสกุลของผู้จะรับบุตรบุญธรรมได้, ตัวเด็กมีสิทธิได้รับมรดก แต่สำหรับตัวผู้จะรับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิที่จะมารับมรดกเด็ก
  4. ตัวเด็กเองก็ยังไม่ได้สิทธิที่ควรได้หรือพึ่งมีตามกฎหมายจากครอบครัวเดิม อาทิเช่น เด็กยังสามารถได้รับมรดกจากพ่อแม่ที่แท้จริงได้ และพ่อแม่ที่แท้จริงก็ยังมีสิทธิมาหาหรือมาเยี่ยมเยี่ยนลูกได้ตามสมควร
  5. นอกจากนี้กฎหมายยังคุ้มครองเด็ก โดยที่ผู้จะรับบุตรบุญธรรมจะไม่สามารถเลิกรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม นอกจากจะได้รับความยินยอมจากพ่อแม่ที่แท้จริงของเด็กก่อน และพ่อแม่ที่แท้จริงของเด็กก็สามารถฟ้องให้เลิกรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ หากเกิดเหตุอันไม่ควร

หากคุณมีข้อสงสัยเพิ่มเต็มสามารถสอบถามรายละเอียดได้จาก กรมกิจการเด็กและเยาวชน หมายเลขโทรศัพท์ 0 2255 5850-7,0 2253 9116-7 (อัตโนมัติ) หมายเลขโทรสาร (FAX) : 0 2651 6483 หรือ E-mail : [email protected] หรือไปที่เว็บโซต์ dcy.go.th