การแต่งกายของคนไทยในอดีตมีลักษณะอย่างไร

"การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์"

การแต่งกายไทยในสมัยรัตนโกสินทร์นั้นแบ่งได้ตามสมัยในช่วงรัชกาลต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้ http://winne.ws/n10350

การแต่งกายของคนไทยในอดีตมีลักษณะอย่างไร

โดย S.duangchai

18 พ.ย. 2559 - 16.25 น. , แก้ไขเมื่อ 20 พ.ย. 2559 - 21.15 น.

ศิลปวัฒนธรรม

5.7 หมื่น ผู้เข้าชม

share

Tags :

การแต่งกายของคนไทยในอดีตมีลักษณะอย่างไร
แหล่งภาพจาก My.iD - Dek-D.com

การแต่งกายไทยในสมัยรัตนโกสินทร์นั้นแบ่งได้ตามสมัยในช่วงรัชกาลต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้

รัชกาลที่ 1-3 ระยะเวลา 69 ปี (พ.ศ. 2325-2394)

        การแต่งกายของผู้หญิง : ผู้หญิงจะนุ่งผ้าจีบ ห่มสไบเฉียง ตัดผมไว้ปีกประบ่า กันไรผมวงหน้าโค้ง หากเป็นชาวบ้านอาจนุ่งผ้าถุงหรือโจงกระเบน สวมเสื้อรัดรูปแขนกระบอก ห่มตะเบงมาน หรือผ้าแถบคาดรัดอก แล้วห่มสไบเฉียง

        การแต่งกายของผู้ชาย : ผู้ชายจะนุ่งผ้าม่วง โจงกระเบน สวมเสื้อนอกคอเปิด ผ่าอก กระดุม 5 เม็ด แขนยาว หากเป็นชาวบ้านจะไม่สวมเสื้อ

การแต่งกายของคนไทยในอดีตมีลักษณะอย่างไร

         การแต่งกายของชาววังและชาวบ้านจะไม่แตกต่างกันมาก จะมีแตกต่างกันก็ตรงส่วนของเนื้อผ้าที่สวมใส่ ซึ่งหากเป็นชาววังแล้วจะห่มผ้าไหมอย่างดี ทอเนื้อละเอียด เล่นลวดลาย สอดดิ้นเงิน-ทอง ส่วนชาวบ้านทั่วไปจะนุ่งผ้าพื้นเมือง หรือผ้าลายเนื้อเรียบ ๆ หากเป็นราษฎรทั่วไปที่มีอาชีพเกษตรกร ทำไร่ ทำนาแล้วจะนุ่งผ้าในลักษณะถกเขมร คือจะนุ่งเป็นโจงกระเบนแต่จะถกสั้นขึ้นมาเหนือเข่า เพื่อความสะดวก ไม่สวมเสื้อ หากอยู่บ้านจะนุ่งลอยชาย หรือโสร่งแล้วมีผ้าคาดพุง แต่ถ้าแต่งกายไปงานเทศกาลต่าง ๆ มักนุ่งโจงกระเบนด้วยผ้าแพรสีต่าง ๆ และห่มผ้าคล้องคอปล่อยชายทั้งสองยาวไว้ด้านหน้า การตัดผมของสตรีสาวจะตัดผมทรงดอกกระทุ่ม ปล่อยท้ายทอยยาวถึงบ่า หากเป็นผู้ใหญ่แล้วจะตัดผมปีกแบบโกนท้ายทอยสั้น 

การแต่งกายของคนไทยในอดีตมีลักษณะอย่างไร

สมัยรัชกาลที่ 4 ระยะเวลา 17 ปี (พ.ศ. 2394-2411)

เนื่องจากสมัยโบราณคนไทยไม่นิยมสวมเสื้อแม้แต่เวลาเข้าเผ้า ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงประกาศให้ข้าราชกาลสวมเสื้อเข้าเฝ้า และทรงสนับสนุนให้มีการศึกษาภาษาอังกฤษ จึงทำให้มีการรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา การแต่งกายของสตรีจึงมีการเปลี่ยนแปลงไป

การแต่งกายของผู้หญิง: ผู้หญิงจะนุ่งผ้าลายโจงกระเบน หรือนุ่งผ้าจีบ ใส่เสื้อแขนยาว ผ่าอก ปกคอตั้งเตี้ยๆ (เสื้อกระบอก) แล้วห่มผ้าแพรสไบจีบเฉียงทับบนเสื้อ ตัดผมไว้ปีกเช่นเดิม แต่ไม่ยาวประบ่า

การแต่งกายของผู้ชาย: ผู้ชายจะนุ่งผ้าม่วงแพรโจงกระเบน สวมเสื้อเปิดอกคอเปิด หรือเป็นเสื้อกระบอกแขนยาว เรื่องของทรงผมผู้ชายยังไว้ทรงมหาดไทยอยู่ ส่วนรัชกาลที่ 4 จะไม่ทรงไว้ทรงมหาดไทย 

การแต่งกายของคนไทยในอดีตมีลักษณะอย่างไร

สมัยรัชกาลที่ 5 ระยะเวลา 42 ปี (พ.ศ. 2411-2453)

ในสมัยรัชกาลที่ 5 นี้ ถือเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงการแต่งกายของคนไทย เนื่องจากรัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาสยุโรป และมีการนำแบบอย่างการแต่งกายของชาวยุโรปกลับมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย อีกทั้งในสมัยนี้ยังมีกำเนิดชุดชั้นในรุ่นแรกที่ดัดแปลงจากเสื้อพริ้นเซส ซึ่งต่อมาได้พัฒนาให้เป็นเสื้อชุดชั้นในที่เรียกว่า เสื้อคอกระเช้า ที่ยังคงเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันนี้

สมัยรัชกาลที่ 5 ตอนต้น

การแต่งกายของหญิง: ผู้หญิงจะนุ่งผ้าลายโจงกระเบน เสื้อกระบอก แขนยาว ผ่าอก ห่มผ้าแพร จีบตามขวาง สไบเฉียงทับบนเสื้ออีกชั้นหนึ่ง ถ้าอยู่บ้านจะห่มแต่สไบ ไม่สวมเสื้อ เมื่อมีงานพิธีจะนุ่งห่ม ผ้าตาด เลิกไว้ผมปี และหันมาไว้ผมยาวประบ่า

การแต่งกายของชาย: ผู้ชายจะนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบน สวมเสื้อราชประแตน สวมหมวกหางนกยูง ถือไม้เท้า และไว้ผมรองทรง หากไปงานพฺธีจะสวมถุงเท้าและรองเท้าด้วย การสวมเสื้อแพรสีจะสวมตามกระทรวงและหมวดต่างๆ ดังนี้

    - ชั้นเจ้านาย สวมเสื้อสีไพล

    - ชั้นขุนนางกระทรวงมหาดไทยสวมเสื้อแพรสีเขียวแก่

    - ชั้นขุนนางกระทรวงกะลาโหม สวมเสื้อแพรสีลูกหว้า

    - ชั้นขุนนางกรมท่า (กระทรวงต่างประเทศ) เสื้อแพรสีน้ำเงิน (สีกรมท่า)

    - ชั้นมหาดเล็ก สวมเสื้อแพรสีเหล็ก

    - พลเรือน สวมเสื้อปีก เป็นเสื้อคอปิด มีชายไม่ยาวมาก คาดเข็มขัดไว้นอกเสื้อ

การแต่งกายของคนไทยในอดีตมีลักษณะอย่างไร

สมัยรัชกาลที่ 5 ตอนกลาง

การแต่งกายของหญิง: ผู้หญิงจะนุ่งผ้าจีบไว้ชายพกแต่หากมีงานพิธีก็ยังคงให้นุ่งโจงกระเบนอยู่ สวมเสื้อแบบตะวันตกแขนยาว ต้นแขนพองแบบหมูแฮม ปกคอตั้ง มีผ้าแพรหรือผ้าห่มสไบเฉียงทับตัวเสื้ออีกที ไว้ผมยาวเสมอต้นคอ สตรีชาววังจะมีผ้าแพรชมพูปักดิ้น มีลวดลายตามยศพระราชทาน สวมรองเท้าบูตและถุงเท้า

การแต่งกายของชาย: การแต่งกายจะเหมือนสมัยต้นรัชกาล ฝ่ายพลเรือนจะมีเครื่องแบบเต็มยศ เป็นเสื้อแพรสีกรมท่า ปักทองที่คอและที่ข้อมือ เวลาปกติจะสวมเสื้อคอปิด ผูกผ้าพันคออย่างชาวตะวันตก นุ่งผ้าไหมสีน้ำเงินแก่ สวมหมวกเฮลเม็ท (Helmet) สวมถุงเท้าขาวและรองเท้าหนังสือดำ

การแต่งกายของคนไทยในอดีตมีลักษณะอย่างไร

สมัยรัชกาลที่ 5 ตอนปลาย

การแต่งกายของหญิง: ผู้หญิงจะนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแพรไหม ลูกไม้ ตัดแบบตะวันตก แขนยาว พองฟู เอวเสื้อเข้ารูป มีการคาดเข็มขัดหรือสายห้อยนาฬิกา มีสายสะพายผ้าแพร สวมถุงเท้ามีลวดลายและรองเท้าส้นสูงให้ไว้ผมทรงดอกกระทุ่ม และมักนิยมเครื่องประดับมุกสายสร้อยหลายชั้น

การแต่งกายของชาย: ผู้ชายจะนุ่งกางเกงแบบฝรั่งแทนโจงกระเบน สวมหมวกกะโล่ ข้าราชการจะแต่งเครื่องแบบเหมือนอารยประเทศ (แบบพระราชกำหนด)

การแต่งกายของคนไทยในอดีตมีลักษณะอย่างไร

สมัยรัชกาลที่ 6 ระยะเวลา 15 ปี (พ.ศ. 2453-2468)

การแต่งกายของหญิง: ผู้หญิงเริ่มมีการนุ่งผ้าซิ่นตามพระราชนิยม สวมเสื้อแพรโปร่งบาง หรือผ้าพิมพ์ดอก คอกว้างขึ้น หรือแขนเสื้อสั้นประมาณต้นแขน ไม่มีการสะพายแพร ส่วนทรงผมจะไว้ยาวเสมอต้นคอ ตัดเป็นลอน หรือเรียกว่า ผมบ๊อบ มีการดัดผมด้านหลังให้โค้งเข้าหาต้นคอเล็กน้อย นิยมคาดผมด้วยผ้าหรือไข่มุก

การแต่งกายของชาย: ผู้ชายยังคงนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบน สวมเสื้อราชประแตน แต่เริ่มมีการนุ่งกางเกงแบบชาวตะวันตกในภายหลัง แต่ประชาชนธรรมดาจะนุ่งกางเกงผ้าแพรของจีน สวมเสื้อคอกลมสีขาว (ผ้าบาง)

การแต่งกายของคนไทยในอดีตมีลักษณะอย่างไร

สมัยรัชกาลที่ 7 ระยะเวลา 9 ปี (พ.ศ. 2468-2477)

การแต่งกายของหญิง: ผู้หญิงเลิกนุ่งโจงกระเบน แต่จะนุ่งเป็นผ้าซิ่นแค่เข่า สวมเสื้อทรงกระบอก ไม่มีแขน ไว้ผมสั้นดัดลอน ซึ่งจะดัดลอนมากขึ้น

การแต่งกายของชาย: ผู้ชายจะนุ่งกางเกงเป็นสีต่างๆ แต่ข้าราชการจะผ้าม่วงหรือสีน้ำเงิน สวมเสื้อราชประแตน สวมรองเท้าและรองเท้า แต่ในปี 2475 มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ทำให้อารยธรรมตะวันตกมีอิทธพลต่อการแต่งกายของคนไทยมากขึ้น ผู้ชายจึงจะมีการนุ่งกางเกงขายาวแทนการนุ่งผ้าม่วง

แต่ถึงอย่างไร สามัญชนทั่วไปยังคงแต่งกายแบบเดิมคือ ผู้ชายสวมกางเกงแพรหรือกางเกงไทย สวมเสื้อธรรมดา ไม่สวมรองเท้า ส่วนผู้หญิงสวมเสื้อคอกระเช้าเก็บชายไว้ในผ้าซิ่นหรือโจงกระเบน เวลาออกนอกบ้านจึงแต่งกายสุภาพ

การแต่งกายของคนไทยในอดีตมีลักษณะอย่างไร

สมัยรัชกาลที่ 8 ระยะเวลา 12 ปี (พ.ศ. 2477-2489)

โดยสรุปแล้วในสมัยนี้จะมีการแต่งกายที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้น อีกทั่งยังเป็นยุครัฐนิยมซึ่งจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้กำหนดเครื่องแต่งกายออกเป็น 3 ประเภท

    1. ใช้ในที่ชุมชน

    2. ใช้ทำงาน

    3. ใช้ตามโอกาส

ผู้หญิงจะสวมเสื้อแบบไหนก็ได้ แต่ต้องคลุมไหล่ มีการนุ่งผ้าถุง แต่ต่อมาจะเริ่มนุ่งกระโปง หรือผ้าถุงสำเร็จสวมรองเท้า สวมหมวก และเลิกกินหมาก ส่วนผู้ชายจะสวมเสื้อมีแขน คอปิดหรือจะเปิดก็ได้

การแต่งกายของคนในอดีตมีลักษณะอย่างไร

การแต่งกาย ของคนชั้น สูงนุ่งซิ่นยก จีบหน้า ห่มตาด สวมเสื้อริ้วทอง (ทำด้วยผ้าไหม สลับด้วยเส้นทองแดง) ห่มสไบ ชาวบ้านท่อนบนคาดผ้าแถบหรือห่มสไบ นุ่งโจงกระเบนหรือ ผ้าถุง การห่มสไบมี 2 แบบ คือ ห่มคล้องคอตลบชายไปข้างหลังทั้ง 2 ข้าง กันบนเสื้อ ริ้วทอง และใช้เจียระบาด (ผ้าคาดพุง) คาดทับเสื้อปล่อยชายลงตรงด้านหน้า

คนไทยแต่งกายอย่างไร

ชุดไทยเดิม เป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติไทย มีประวัติความเป็นมาและเอกลักษณ์อันยาวนาน โดยสามารถแต่งกายได้ทุกเพศทุกวัย โดยผู้ชายจะสวมเสื้อราชปะแตนหรือเสื้อพระราชทาน นุ่งโจงกระเบน และสวมรองเท้า ส่วนการแต่งกายของผู้หญิงจะห่มสไบหรือสวมเสื้อปัด และนุ่งผ้าถุงหรือโจงกระเบน

คนไทยสมัยก่อนแต่งตัวยังไง

การแต่งกายได้เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย จึงไม่อาจกำหนดให้แน่นอนได้ แต่เข้าใจกันว่า ในสมัยสุโขทัย ผู้ชายนุ่งกางเกง และสวมเสื้อผ่าอกแขนสั้น ผู้หญิงนุ่งผ้าถุง และผ้าซิ่น ตามความนิยมของแต่ละท้องถิ่น ต่อมาในสมัยอยุธยา ผู้ชายก็ยังคงนุ่งกางเกง และบางครั้งก็นุ่งผ้าพื้นอย่างที่เรียกกันว่า นุ่งโจงกระเบน คือ ม้วนชายผ้านุ่งทั้งสองชาย ...

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้การแต่งกายของคนไทยในปัจจุบันแตกต่างไปจากอดีต

วิวัฒนาการเครื่องแต่งกายของไทยหนีไม่พ้นปัจจัยสำคัญเช่นกัน จากเหตุปัจจัยดังที่กล่าวมาซึ่งเริ่มนับแต่สภาพอากาศของบ้านเราที่อยู่ในเขตอากาศร้อน ประกอบกับการทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการเกษตรกรรม ทำให้การแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ทำจากใยฝ้ายช่วยระบายความร้อนได้ดีและแห้งง่าย มีความเหมาะสมกับวิถีชีวิตคนไทยมากกว่าอย่างอื่น