โหมดสีที่ใช้ทําภาพกราฟฟิกกับคอมพิวเตอร์ควรเป็นโหมดใด

สีในงานคอมพิวเตอร์กราฟิก

โดยทั่วไปสีในธรรมชาติและสีที่สร้างขึ้น จะมีรูปแบบการมองเห็นของสีที่แตกต่างกัน  ซึ่งรูปแบบการมองเห็นสี ที่ใช้ในงานด้านกราฟิกทั่วไปนั้นมีอยู่ด้วยกัน 4ระบบคือ
1. ระบบสีแบบ RGB ตามหลักการแสดงสีของเครื่องคอมพิวเตอร์
2. ระบบสีแบบ CMYK ตามหลักการแสดงสีของเครื่องพิมพ์
3. ระบบสีแบบ HSB ตามหลักการมองเห็นสีของสายตามนุษย์
4. ระบบสีแบบ Lab ตามมาตรฐานของ CIE ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ใดๆ

1. ระบบสีแบบ RGB

เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สีคือ แดง (Red), เขียว (Green) และ น้ำเงิน (Blue)  ในสัดส่วนความเข้มข้นที่แตกต่างกัน เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดสีต่างๆ บนจอคอมพิวเตอร์ได้มากถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นได้โดยปกติ และจุดที่สีทั้งสามสีรวมกันจะกลายเป็นสีขาว นิยมเรียกการผสมสีแบบนี้ว่าแบบ “Additive” หรือการผสมสีแบบบวก ซึ่งเป็นการผสมสีขั้นที่ 1 หรือถ้านำเอา Red Green Blue มาผสมครั้งละ 2 สี ก็จะทำให้เกิดสีใหม่ เช่น

Blue     +     Green     =     Cyan
Red     +     Blue       =     Magenta
Red     +     Green     =     Yellow

แสงสี RGB มักจะถูกใช้สำหรับการส่องสว่างทั้งบนจอทีวีและจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งสร้างจากการให้กำเนิดแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ทำให้สีดูสว่างกว่าความเป็นจริง

โหมดสีที่ใช้ทําภาพกราฟฟิกกับคอมพิวเตอร์ควรเป็นโหมดใด

อ้างอิง – ภาพ http://www.urlnextdoor.com
2. ระบบสีแบบ CMYK
เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษ ซึ่งประกอบด้วยสีพื้นฐาน คือ

สีฟ้า (Cyan), สีม่วงแดง (Magenta), สีเหลือง (Yellow), และเมื่อนำสีทั้ง 3 สีมาผสมกันจะเกิดสีเป็น สีดำ (Black)  แต่จะไม่ดำสนิทเนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์ โดยเรียกการผสมสีทั้ง 3 สีข้างต้นว่า “Subtractive Color”  หรือการผสมสีแบบลบ หลักการเกิดสีของระบบนี้คือ หมึกสีหนึ่งจะดูดกลืนสีจากสีหนึ่งแล้วสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่างๆ เช่น สีฟ้าดูดกลืนสีม่วงแล้วสะท้อนออกมาเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งจะสังเกตได้ว่าสีที่สะท้อนออกมาจะเป็นสีหลักของระบบ RGB การเกิดสีนี้ในระบบนี้จึงตรงข้ามกับการเกิดสีในระบบ RGB

3. ระบบสีแบบ HSB
เป็นระบบสีพื้นฐานในการมองเห็นสีด้วยสายตาของมนุษย์ ประกอบด้วยลักษณะของสี 3 ลักษณะ คือ

– Hue คือ สีต่างๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุเข้ามายังตาของเรา ทำให้เราสามารถมองเห็นวัตถุเป็นสีต่างๆ ได้ ซึ่งแต่ละสีจะแตกต่างกันตามความยาวของคลื่นแสงที่มากระทบวัตถุและสะท้อนกลับ ที่ตาของเรา Hue ถูกวัดโดยตำแหน่งการแสดงสีบน Standard Color Wheel ซึ่งถูกแทนด้วยองศา  0 ถึง 360 องศา แต่โดยทั่วๆ ไปแล้วมักจะเรียกการแสดงสีนั้นๆ เป็นชื่อของสีเลย เช่น สีแดง สีม่วง สีเหลือง
– Saturation คือ ความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนด Saturation ที่ 0 สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก ถ้าถูกวัดโดยตำแหน่งบน Standard Color Wheel ค่า Saturation จะเพิ่มขึ้นจากจุดกึ่งกลางจนถึงเส้นขอบ โดยค่าที่เส้นขอบจะมีสีที่ชัดเจนและอิ่มตัวที่สุด
– Brightness คือ ระดับความสว่างและความมืดของสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 ความสว่างจะน้อยซึ่งจะเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสว่างมากที่สุด ยิ่งมีค่า Brightness มากจะทำให้สีนั้นสว่างมากขึ้น

โหมดสีที่ใช้ทําภาพกราฟฟิกกับคอมพิวเตอร์ควรเป็นโหมดใด

อ้างอิง – ภาพ http://www.tomjewett.com

4. ระบบสีแบบ Lab
ระบบสีแบบ Lab เป็นค่าสีที่ถูกกำหนดขึ้นโดย CIE (Commission Internationale d’ Eclarirage) เพื่อให้เป็นสีมาตรฐานกลางของการวัดสีทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกสีใน RGB และ CMYK และใช้ได้กับสีที่เกิดจากอุปกรณ์ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนและอื่นๆ ส่วนประกอบของโหมดสีนี้ได้แก่

L หรือ Luminance เป็นการกำหนดความสว่างซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะกลายเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะกลายเป็นสีขาว
A เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง
B เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปสีเหลือง

โหมดสีที่ใช้ทําภาพกราฟฟิกกับคอมพิวเตอร์ควรเป็นโหมดใด

อ้างอิง – ภาพ http://ea.hamradio.si

ทฤษฎีสี
สี(COLOUR) หมายถึง ลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็นเป็นสีมีผลถึงจิตวิทยา คือมีอำนาจให้เกิดความเข้มของแสงที่อารมณ์และความรู้สึกได้ การที่ได้เห็นสีจากสายตาสายตาจะส่งความรู้สึกไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึก ต่างๆตามอิทธิพลของสี เช่น สดชื่น ร้อน ตื่นเต้น เศร้า สีมีความหมายอย่างมากเพราะศิลปินต้องการใช้สีเป็นสื่อสร้างความประทับใจในผล งานของศิลปะและสะท้อนความประทับใจนั้นให้บังเกิดแก่ผู้ดูมนุษย์เกี่ยวข้อง กับสีต่างๆ อยู่ตลอดเวลาเพราะทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวนั้นล้วนแต่มีสีสันแตกต่างกันมากมาย สีเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเพื่อประโยชน์กับตนเองและ ผู้สร้างงานจิตรกรรมเพราะ เรื่องราวองสีนั้นมีหลักวิชาเป็นวิทยาศาสตร์จึงควรทำความเข้าใจวิทยาศาสตร์ ของสีจะบรรลุผลสำเร็จในงานมากขึ้น ถ้าไม่เข้าใจเรื่องสีดีพอสมควร ถ้าได้ศึกษาเรื่องสีดีพอแล้ว งานศิลปะก็จะประสบความสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง

คำจำกัดความของสี 
1. แสงที่มีความถี่ของคลื่นในขนาดที่ตามนุษย์สามารถรับสัมผัสได้
2. แม่สีที่เป็นวัตถุ (PIGMENTARY PRIMARY) ประกอบด้วย แดง เหลือง น้ำเงิน
3. สีที่เกิดจากการผสมของแม่สี

คุณลักษณะของสี
สีแท้ (HUE) คือ สีที่ยังไม่ถูกสีอื่นเข้าผสม เป็นลักษณะของสีแท้ที่มีความสะอาดสดใส เช่น แดง เหลือง น้ำเงิน
สีอ่อนหรือสีจาง (TINT) ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีขาว เช่น สีเทา, สีชมพู
สีแก่ (SHADE) ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีดำ เช่น สีน้ำตาล

ประวัติความเป็นมาของสี 

มนุษย์เริ่มมีการใช้สีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีทั้งการเขียนสีลงบนผนังถ้ำ ผนังหิน บนพื้นผิวเครื่องปั้นดินเผา และที่อื่นๆภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ(ROCK PAINTING) เริ่ม ทำตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในทวีปยุโรป โดยคนก่อนสมัยประวัติศาสตร์ในสมัยหินเก่าตอนปลาย ภาพเขียนสีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้พบที่ประเทศฝรั่งเศษและประเทศสเปนในประเทศ ไทย กรมศิลปากรได้สำรวจพบภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์บนผนังถ้ำ และ เพิงหินในที่ต่างๆ จะมีอายุระหว่าง 1500-4000 ปี เป็นสมัยหินใหม่และยุคโลหะได้ค้นพบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2465 ครั้งแรกพบบนผนังถ้ำในอ่าวพังงา ต่อมาก็ค้นพบอีกซึ่งมีอยู่ทั่วไป เช่น จังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี เป็นต้นสีที่เขียนบนผนังถ้ำส่วนใหญ่เป็นสีแดง นอกนั้นจะมีสีส้ม สีเลือดหมู สีเหลือง สีน้ำตาล และสีดำสีบนเครื่องปั้นดินเผา ได้ค้นพบการเขียนลายครั้งแรกที่บ้านเชียงจังหวัดอุดรธานีเมื่อปี พ.ศ.2510 สีที่เขียนเป็นสีแดงเป็นรูปลายก้านขดจิตกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆสมัยสุโขทัย และอยุธยามีหลักฐานว่า ใช้สีในการเขียนภาพหลายสี แต่ก็อยู่ในวงจำกัดเพียง 4 สี คือ สีดำ สีขาว สีดินแดง และสีเหลืองในสมัยโบราณนั้น ช่างเขียนจะเอาวัตถุต่างๆในธรรมชาติมาใช้เป็นสีสำหรับเขียนภาพ เช่น ดินหรือหินขาวใช้ทำสีขาว สีดำก็เอามาจากเขม่าไฟ หรือจากตัวหมึกจีน เป็นชาติแรกที่พยายามค้นคว้าเรื่องสีธรรมชาติได้มากกว่าชาติอื่นๆ คือ ใช้หินนำมาบดเป็นสีต่างๆ สีเหลืองนำมาจากยางไม้ รงหรือรงทอง สีครามก็นำมาจากต้นไม้ส่วนใหญ่แล้วการค้นคว้าเรื่องสีก็เพื่อที่จะนำมาใช้ ย้อมผ้าต่างๆ ไม่นิยมเขียนภาพเพราะจีนมีคติในการเขียนภาพเพียงสีเดียว คือ สีดำโดยใช้หมึกจีนเขียน

สีสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. สีธรรมชาติ
2. สีที่มนุษย์สร้างขึ้น

สีธรรมชาติ เป็นสีที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ เช่น สีของแสงอาทิตย์ สีของท้องฟ้ายามเช้า เย็น สีของรุ้งกินน้ำ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ ตลอดจนสีของ ดอกไม้ ต้นไม้ พื้นดิน ท้องฟ้า น้ำทะเล
 สีที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือได้สังเคราะห์ขึ้น เช่น สีวิทยาศาสตร์ มนุษย์ได้ทดลองจากแสงต่างๆ เช่น ไฟฟ้า นำมาผสมโดยการทอแสงประสานกัน นำมาใช้ประโยชน์ในด้านการละคร การจัดฉากเวที โทรทัศน์ การตกแต่งสถานที่

โหมดสีพื้นฐาน

โหมดสี หรือ Color Mode คือโมเดลสีแบบต่างๆ ในโปรแกรมที่เราสามารถเลือกมาใช้ให้เหมาะสมกับ

รูปภาพที่จะนำไปใช้งาน โดยใน Photoshop เราสามารถเปลี่ยนรูปภาพที่นำมาตกแต่งให้ไปเป็นโหมดต่างๆ เพื่อความเหมาะสมในการใช้งานได้ตามที่ต้องการ

ดูได้อย่างไรว่าภาพอยู่ในโหมดไหน

โหมดสีของรูปภาพที่เลือกทำงานอยู่ จะถูกแสดงไว้ที่มุมซ้ายบนของกระดานวาดภาพ เช่น

เราสามารถเปลี่ยนโหมดสีไปตามที่ต้องการได้โดย คลิกเมนู Image > Mode และเลือกโหมดที่ต้องการ

ในที่นี้ต้องการนำไปใช้ในงานพิมพ์จึงเปลี่ยนให้เป็นโหมด CMYK

โหมดสีแบบต่างๆ และความเหมาะสมในการใช้งาน

โหมดสีจะมีอยู่ 8 แบบ โดยแต่ละแบบก็จะมีความเหมาะสมในการทำงานต่างกันไป คือ

โหมดสีที่ใช้ทําภาพกราฟฟิกกับคอมพิวเตอร์ควรเป็นโหมดใด

* โหมดสีแบบ Bitmap
จะเป็นโหมดสีที่มีเฉพาะสีขาวและสีดำ เหมาะที่จะใช้งานประเภทภาพวาดหรืองานที่เป็นลายเส้น

 ไม่ต้องการรายละเอัยดของสีอื่นๆ ภาพที่ได้จะมีความละเอียดน้อยมาก แต่ก็จะมีขนาดของ

ไฟล์ที่เล็กมากตามไปด้วย

โหมดสีที่ใช้ทําภาพกราฟฟิกกับคอมพิวเตอร์ควรเป็นโหมดใด

* โหมดสีแบบ Grayscale
เป็นโหมดสีที่มีการไล่เฉดสีของสีเทา จากเทาอ่อนไปจนถึงสีเทาแก่ได้ถึง 256 สี
ี ภาพที่ได้ในโหมดนี้เหมาะสำหรับการนำภาพที่ตกแต่งไปใช้งานกับ
เครื่องพิมพ์แบบ ขาว-ดำ ข้อดีของภาพในโหมด Grayscale คือ
จะได้ไฟล์ที่มีขนาดเล็กแต่ยังมีการไล่เฉดสีให้เห็นอยู่ในภาพ

โหมดสีที่ใช้ทําภาพกราฟฟิกกับคอมพิวเตอร์ควรเป็นโหมดใด

* โหมดสีแบบ Duotone

เป็นโหมดสีที่มีการกำหนดโทนสีที่จะใช้งานได้ตั้งแต่ 1-4 โทนสี จะคล้าย
กับรูปภาพในโหมด Grayscale แต่จะต่างกันตรงที่สามารถกำหนดโทนสี
ที่จะใช้งานในรูปภาพได้เอง

โหมดสีที่ใช้ทําภาพกราฟฟิกกับคอมพิวเตอร์ควรเป็นโหมดใด

* โหมดสีแบบ Indexed color
ภาพที่จะใช้โหมด Indexed color ส่วนใหญ่จะเป็นภาพที่แก้ไขเสร็จแล้ว
พร้อมจะนำไปใช้งาน มักจะใช้กับภาพที่จะใช้กับภาพที่จะนำขึ้นเว็บไซต์
โหมดสีแบบนี้มีข้อดีตรงที่สามารถกำหนดจำนวนสีที่จะใช้งานได้ด้วยตนเอง
ตั้งแต่ 1-256 สี และจะทำให้ไฟล์ภาพที่ได้มึขนาดเล็กหรือใหญ่ได้ตามความเหมาะสม
ข้อเสียของโหมดสีแบบ Indexed color มี Layer ในรูปภาพได้เพียง Layerเดียวและเพราะว่า

ใช้สีได้เพียง 256 สี ทำให้ไม่เหมาะจะนำไปใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการสีที่สมจริง เพราะจะทำให้

ภาพที่ได้ออกมาไม่ละเอียดเท่าที่ควร

 

โหมดสีที่ใช้ทําภาพกราฟฟิกกับคอมพิวเตอร์ควรเป็นโหมดใด

* โหมดสีแบบ RGB ( Red, Green, Blue) 
โหมดสีแบบ RGB เป็นโหมดสีแบบเดียวกับที่ใช้งานอยู่บนจอมอนิเตอร์

จะแบ่งออกเป็น 3 Channel สีคือ แดง เขียว และน้ำเงิน โดยที่ในแต่ละสีได้อีก

256 ลำดับทำให้สีที่ได้มีความละเอียดสมจริงมากพอสมควร

โหมดสีที่ใช้ทําภาพกราฟฟิกกับคอมพิวเตอร์ควรเป็นโหมดใด

* โหมดสีแบบ CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, Black)
เป็นโหมดสีที่แบ่งออกเป็น 4 Channel สีคือ ฟ้า,บานเย็น,เหลือง,และดำ

 ซึ่งสีทั้ง 4 ที่กล่าวมาจะเป็นสีแบบเดียวกับการพ่นหมึกเพื่อพิมพ์งานของ

เครื่องพิมพ์คุณภาพสูง
ดังนั้นโหมดสีแบบ CMYK จึงเหมาะที่จะใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการรายละเอียดสูง
เพราะจะให้สีที่สมจริงและมีความผิดเพี้ยนของสีน้อยที่สุด

โหมดสีที่ใช้ทําภาพกราฟฟิกกับคอมพิวเตอร์ควรเป็นโหมดใด

* โหมดสีแบบ Lab Color
เป็นโหมดสีที่ให้สีได้เหมือนจริงมากที่สุดโดยมีค่า L (Lighten)
แทนความสว่าง, ค่า a แทนสีเขียวถึงสีแดง และค่า b แทนสีน้ำเงิน
ถึงสีเหลือง นิยมใช้ในการบันทึกภาพเพื่อใช้งานข้ามระบบ เพราะภาพที่ได้จะไม่
ผิดเพี้ยน

โหมดสีที่ใช้ทําภาพกราฟฟิกกับคอมพิวเตอร์ควรเป็นโหมดใด

* โหมดสีแบบ Multichanel
เป็นโหมดที่ใช้เพื่อการพิมพ์ในกรณีพิเศษส่วนมากจะใช้สำหรับการพิมพ์
ในรูปแบบของ Scitex CT (Scitex Continuous Tone)
ซึ่งเป็นการพิมพ์งานที่ มีความละเอียดมากที่สุด การเปลี่ยนโหมดเป็น
Multichannel จากแต่ละโหมดจะให้ผลที่แตกต่างออกไป เข่น ถ้าเปลี่ยน
จากโหมด CMYK ก็จะได้ Channel ที่เป็นสีฟ้า,บานเย็น, เหลือง
และดำเท่านั้น จะไม่มี Channel รวมของทุกสีอยู่ด้วย หรือถ้าเปลี่ยนจาก RGB
ก็จะกลายเป็น Channel สี CMY หรือฟ้า,บานเย็น และสีเหลืองแทน
และถ้าเปลี่ยนจากโหมด Lab Color จะกลาย Alpha Channel ในระดับต่างๆทันที

แม่สี (PRIMARIES) 

สีต่างๆนั้นมีอยู่มากมายแหล่งกำเนิดของสีและวิธีการผสมของสีตลอดจนรู้สึก ที่มีต่อสีของมนุษย์แต่ละกลุ่มย่อมไม่เหมือนกัน สีต่างๆที่ปรากฎนั้นย่อมเกิดขึ้นจากแม่สีในลักษณะที่แตกต่างกันตามชนิดและ ประเภทของสีนั้น

แม่สี คือ สีที่นำมาผสมกันแล้วทำให้เกิดสีใหม่ ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสีเดิม
แม่สี มือยู่  2 ชนิด คือ
1. แม่สีของแสง เกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม มี 3 สี คือ สีแดง
สีเหลือง และสีน้ำเงิน อยู่ในรูปของแสงรังสี  ซึ่งเป็นพลังงานชนิดเดียวที่มีสี
คุณสมบัติของแสงสามารถนำมาใช้ ในการถ่ายภาพ ภาพโทรทัศน์ การจัดแสงสี
ในการแสดงต่าง ๆ เป็นต้น
2. แม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีที่ได้มาจากธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์โดยกระบวน
ทางเคมี มี 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน แม่สีวัตถุธาตุเป็นแม่สีที่นำมาใช้
งานกันอย่างกว้างขวาง ในวงการศิลปะ  วงการอุตสาหกรรม ฯลฯ
แม่สีวัตถุธาตุ เมื่อนำมาผสมกันตามหลักเกณฑ์ จะทำให้เกิด วงจรสี ซึ่งเป็นวงสี
ธรรมชาติ เกิดจากการผสมกันของแม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีหลักที่ใช้งานกันทั่วไป ใน
วงจรสี จะแสดงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
วงจรสี   ( Colour Circle)
 สีขั้นที่ 1 คือ แม่สี ได้แก่ สีแดง   สีเหลือง  สีน้ำเงิน

สีขั้นที่ 2 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้
เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่
สีแดง ผสมกับสีเหลือง  ได้สี ส้ม
สีแดง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีม่วง
สีเหลือง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีเขียว

 สีขั้นที่ 3 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่น ๆ
อีก 6  สี คือ
สีแดง ผสมกับสีส้ม  ได้สี ส้มแดง
สีแดง ผสมกับสีม่วง  ได้สีม่วงแดง
สีเหลือง ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวเหลือง
สีน้ำเงิน ผสมกับสีเขียว  ได้สีเขียวน้ำเงิน
สีน้ำเงิน ผสมกับสีม่วง  ได้สีม่วงน้ำเงิน
สีเหลือง ผสมกับสีส้ม ได้สีส้มเหลือง

 วรรณะของสี คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และ
สีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ

สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน หรือสีคู่ปฏิปักษ์ เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสี ตัดกันอย่าง
รุนแรง ในทางปฏิบัติไม่นิยมนำมาใช้ร่วมกัน เพราะจะทำให้แต่ละสีไม่สดใส
เท่าที่ควร  การนำสีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกัน อาจกระทำได้ดังนี้
1. มีพื้นที่ของสีหนึ่งมาก อีกสีหนึ่งน้อย
2. ผสมสีอื่นๆ ลงไปสีสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสี
3. ผสมสีตรงข้ามลงไปในสีทั้งสองสี

สีกลาง คือ สีที่เข้าได้กับสีทุกสี สีกลางในวงจรสี มี 2 สี คือ สีน้ำตาล กับ สีเทา
สีน้ำตาล เกิดจากสีตรงข้ามกันในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนที่เท่ากัน สีน้ำตาลมี
คุณสมบัติสำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่นแล้วจะทำให้สีนั้น ๆ เข้มขึ้นโดยไม่เปลี่ยน
แปลงค่าสี ถ้าผสมมาก ๆ เข้าก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล
สีเทา เกิดจากสีทุกสี ๆ สีในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนเท่ากัน สีเทา มีคุณสมบัติ
ที่สำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่น ๆ แล้วจะทำให้ มืด หม่น ใช้ในส่วนที่เป็นเงา ซึ่งมีน้ำหนัก
อ่อนแก่ในระดับต่าง ๆ ถ้าผสมมาก ๆ เข้าจะกลายเป็นสีเทา

แม่สีวัตถุธาตุ (PIGMENTARY RRIMARIES) 

แม่สีวัตถุธาตุนั้นหมายถึง “วัตถุที่มีสีอยู่ในตัว” สามานำมาระบาย ทา ย้อม และผสมได้เพราะมีเนื้อสีและสีเหมือนตัวเอง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แม่สีของช่างเขียนสีต่างๆจะเกิดขึ้นมาอีกมากมาย ด้วยการผสมของแม่สีซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 สีคือ
1. น้ำเงิน (PRUSSIAN BLUE)
2. แดง (CRIMSON LEKE)
3. เหลือง (GAMBOGE TINT)

สีแดง (CRIMSION  LAKE) สะท้อนรังสีของสีแดงออกมาแล้วดึงดูดเอาสีน้ำเงินกับสีเหลืองซึ่งต่างผสมกัน ในตัวแล้วกลายเป็นสีเขียว อันเป็นคู่สีของสีแดง
สีเหลือง (GAMBOGE YELLOW) สะท้อนรังสีของสีเหลืองออกมาแล้วดึงดูดเอาสีแดงกับสีน้ำเงินซึ่งผสมกัน ในตัวแล้วกลายเป็นสีม่วง อันเป็นคู่สีของสีเหลือง
สีน้ำเงิน (PRESSION BLUE) สะท้อนรังสีของสีน้ำเงินออกมาแล้วดึงดูดเอาสีแดงกับสีเหลืองเข้ามาแล้วผสม กันก็จะกลายเป็นสีส้ม ซึ่งเป็นคู่สีของสีน้ำเงิน

            สีกัรู้สึ

สี

ความหมาย-อารมณ์

Yellow-Green การเจ็บป่วย – ความอิจฉา – ขี้ขลาด – การแตกแยก
Yellow ความสุข – พลังงาน – ความเจริญ – การเรียนรู้ – การสร้าสรรค์
White ความบริสุทธิ์ – ความดี – ความดีพร้อม – ความเงียบสงบ – ความยุติธรรม
Red พลัง – อันตราย – สงคราม – อำนาจ
Purple ความหยั่งรู้ – ความทะเยอทะยาน – ความก้าวหน้า – คามสง่างาม – อำนาจ
Pink เป็นมิตร – ความรัก – ความโรแมนติก – ความเคารพ
Orange กำลัง – ความมีโชค – พลังชีวิต – การให้กำลังใจ – ความสุข
Light Yellow ปัญญา – ความฉลาด
Light Red ความรู้สึกดีใจ – เรื่องทางเพศรส – ความรู้สึกของความรัก
Light Purple เรื่องรักใคร่ – ความสงบ –
Light Green ความกลมกลืน – ความสงบ – สันติภาพ
Light Blue การหยั่งรู้ – โอกาส – ความเข้าใจ – ความอดทน – ความอ่อนโยน
Green ความอุดมสมบูรณ์ – การเติบโต – การกลับมาของมิตรภาพ
Gold สติปัญญา – ความร่ำรวย – ความสว่าง – ความสำเร็จ – โชคลาภ
Dark Yellow: การตักเตือน – การเจ็บป่วย – ความเสื่อม – ความอิจฉา
Dark Red ความโกรธ – ความรุนแรง – ความกล้าหาญ – กำลังใจ
Dark Purple ความสูงส่ง – ความปรารถนาอันแรงกล้า – ความหรูหรา
Dark Green ความทะเยอทะยาน – ความโลภ – ความริษยา
Dark Blue ความจริง – สัจธรรม – อำนาจ – ความรู้ – ความซื่อสัตย์ – การป้องกัน
Brown ความอดทน – ความมั่นคง
Blue สุขภาพ – ความเชื่อถือ – ไหวพริบ – จงรักภักดี – ความเลื่อมใส – ความถูกต้อง
Black ความลึกลับ – ความตาย – อำนาจ – พลัง – ความแรง – สิ่งชั่วร้าย – ความปราณีต
Aqua การป้องกัน – สุขภาพ

       การเลือกใช้สีกับงานกราฟฟิก

Step การเลือกสี

1. เราต้องเลือกโทนสีก่อนว่าต้องการโทนใด เช่นแดง เขียว เหลือง ฟ้า ม่วง หรืออะไรก็แล้วแต่

2.จากนั้นเราค่อยเลือกน้ำหนักสี เช่นความสว่้าง ความเข้มจางของสี

3.ถ้าต้องการเลือกสีให้ตัดกันสองสีให้ทำการ เลือกสีก่อนหลังจากนั้น OK แล้วกลับมาเลือกอีกครั้งสีที่เราเลือกครั้งแรกจะลงมาอยู่แถบสีด้านล่างแล้ว เราก็เลือกสีที่สองที่ ต้องการนำมาตัดกัน

หลักการนำมาใช้ในการออกแบบ

1.การเลือกสีโทนเดียวกันที่มีน้ำหนักและความสว่างของสีต่างกัน
โทนสีคงที่แต่ตำแหน่งน้ำหนักความสว่างของสีต่างกัน การเลือกในลักษณะนี้จะทำให้จะได้ความมีมิติให้แก่ วัตถุที่มี รูปร่างและรูปทรง และรวมถึงตัวอักษรไอค่อน ทำให้ เกิดมิติขึ้นมา

2.เลือกสีต่างโทนแต่น้ำหนักและความสว่างสีเท่ากัน
โทนสีต่างกัน และน้ำหนักความสว่างของสีคงที่ การเลือกในลักษณะนี้จะทำให้สีต่างโทนตัดกันได้อย่างลงตัว ทำให้ดูแล้วฉาบเรียบไม่ตะกุกตะกัก สบายตาดี
3.เลือกโทนสีที่ต่างกันน้ำหนักและความสว่างของสีไม่เท่ากัน
โทนสีจะไม่เหมือนกันและน้ำหนักความสว่างของสีก็ต่างกันจะทำให้ งานที่ออกมามีจุดเด่นจุดสะดุจตาที่ต่างกันไม่จำเจ ดูท้าทาย ดูซับซ้อน หาเอกลักษณ์ได้ง่าย โดยเน้นสีหลักและสีองค์ประกอบ สีที่ดูเข้มสว่างมากจะดูเด่น

4.เลือกกันหลายๆ กลุ่มและมารวมกันเป็นชิ้นงาน
โทนสีจะแยกออกเป็นกลุ่มๆ แล้วนำมาซ้อนกัน จะทำให้เกิดความหลากหลายในชิ้นงาน และสื่อความหมาย สร้างความสนใจในงานได้มาก แต่ควรกะน้ำหนักโทนสีร่วมพอดีๆ ดีมากกว่านั้นจะทำให้ลายตาดูยาก
คราวนี้มาดูเรื่องHue/Saturation กันบ้างดีกว่า

การใช้ Tool และคำสั่งใน Photoshop ในการปรับแต่งหรือเปลี่ยนแปลง น้ำหนักความสว่างของสี Photoshop มี Tool ในการปรับเปลี่ยนสีและน้ำหนักและความส่วางของสีได้ดั่งใจ คำสั่งที่นิยมใช้กันก็คือ

Hue/Sturation (Images –> Adjust –> Hue/Sturation)

Hue/Sturation จะช่วยให้สะดวกในการเลือกสีเปรียบเทียบสี จนเราพอใจ ไม่ว่าจะเป็นสีโทนเดียวหรือหลายๆ โทนสลับกัน สามารถปรับเปลี่ยนทั้งน้ำหนักและความวสว่างของสีได้

มาดูความหมายของแต่ละตัวกันบ้างว่าเอาไว้ใช้ทำอะไรบ้าง

Hue คือ การปรับเปลี่ยนโทนสี ที่เราเลือก

Saturation คือ ปรับน้ำหนักของสี หรือ ความ อิ่มตัวของสี

Lightness คือ ปรับความสว่างของสี

Colorize คือ ปรับสีแบบโทนเดียว ใช้กับงานที่ต้องการให้ออกมาสีโทนเดียว ถ้าต้องการหลายโทนก็ไม่ต้องเลือก