อายตนะภายนอก 6 ได้แก่อะไรบ้าง

          
อายตนะ ๖

(1)
อายตนะภายใน ๖ (อินทรีย์ ๖)
๑) ตา (จักษุ)  
๒) หู (โสตะ)  
๓) จมูก (ฆานะ)   
๔) ลิ้น (ชิวหา) 
๕) กาย (กายะ)
๖) ใจ (มโน)

(2)
อายตนะภายนอก ๖ (อารมณ์๖)
๑) รูป 
๒) เสียง
๓) กลิ่น
๔) รส
๕) สัมผัส (โผฏฐัพพะ)
๖) ธรรมารมณ์ 

(3)
อายตนะภายใน+ภายนอก ๖ เกิดผัสสะ

๑) ตา(จักษุ) กระทบ รูป เกิดผัสสะทางตา
๒) หู(โสตะ) กระทบ เสียง  เกิดผัสสะทางหู
๓) จมูก (ฆานะ) กระทบ กลิ่น  เกิดผัสสะทางจมูก
๔) ลิ้น (ชิวหา) กระทบ รส  เกิดผัสสะทางหู
๕) กาย กระทบ สัมผัส (โผฏฐัพพะ) เกิดผัสสะทางกาย
๖) มโน กระทบ ธรรมารมณ์ เกิดผัสสะทางใจ(มโน)

(4)
ผัสสะทำให้เกิด วิญญาณ (การรู้แจ้ง) ๖ช่องทาง (เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ)
๑) ตา + รูป เกิดผัสสะทางตา ..เกิดวิญญาณทางตา (การรับรู้ทางตา)
๒) หู + เสียง  เกิดผัสสะทางหู..เกิดวิญญาณทางหู (การรับรู้ทางหู)
๓) จมูก + กลิ่น  เกิดผัสสะทางจมูก..เกิดวิญญาณทางจมูก (การรับรู้ทางจมูก)
๔) ลิ้น  + รส  เกิดผัสสะทางหู ..เกิดวิญญาณทางลิ้น (การรับรู้ทางลิ้น)
๕) กาย + โผฏฐัพพะ เกิดผัสสะทางกาย.. เกิดวิญญาณทางกาย (การรับรู้ทางกาย)
๖) มโน + ธรรมารมณ์ เกิดผัสสะทางใจ(มโน)..เกิดวิญญาณทางใจ(การรับรู้ทางใจ)

(5)
ผัสสะ เป็นแดนเกิดของกรรม และเป็นแดนเกิดของภพ
เหตุเป็นแดนเกิดของกรรม คือ ผัสสะ ความดับแห่งกรรม คือ การดับแห่งผัสสะ
วิญญาณ ๖ อันได้แก่
๑) จักขุวิญญาณ (รู้แจ้งทางตา)
๒) โสตวิญญาณ (รู้แจ้งทางหู)
๓) ฆาน(ฆานะ)วิญญาณ (รู้แจ้งทางจมูก)
๔) ชิวหาวิญญาณ (รู้แจ้งทางลิ้น)
๕) กายวิญญาณ (รู้แจ้งทางสัมผัสทางกาย)
๖) มโนวิญญาณ (รู้แจ้งทางธรรมารมณ์)

(6)
องค์ประกอบของผัสสะ มี 3 สิ่งเสมอ
(ธรรมอันเป็นเหตุ ที่ทำให้เกิดเวทนา)

สัมผัส หรือ ผัสสะ มีหกอย่าง คือ
๑) จักขุสัมผัส หมายถึง การกระทบทางตา   คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ
๒) โสตสัมผัส หมายถึง การกระทบทางหู    คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ
๓) ฆานสัมผัส หมายถึง การกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ
๔) ชิวหาสัมผัส หมายถึง การกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ
๕) กายสัมผัส หมายถึง การกระทบทางกาย  คือ กาย+โผฏฐัพพะ+กายวิญญาณ
๖) มโนสัมผัส หมายถึง การกระทบทางใจ    คือ ใจ+ธรรมารมณ์ +มโนวิญญาณ

(7)
อายตนะ
 คือ จุดตั้งต้นของปฏิจจสมุปบาท

เมื่อจักษุ มีอยู่  สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อโสตะ มีอยู่  สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อฆานะ มีอยู่  สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อชิวหา มีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อกายะ มีอย่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อมโน มีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

(8)
เมื่ออายตนะไม่มี กระแสปฏิจจสมุปบาท ย่อมไม่เกิดขึ้น
เมื่อจักษุไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อโสตะไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อฆานะไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อชิวหาไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อกายะไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อมโนไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย 

(9)
ความเพลินในอายตนะ เท่ากับเพลินอยู่ในทุกข์

๑) ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ กับตา(จักษุ) ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปได้ จากทุกข์

๒) ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ กับหู(โสตะ) ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปได้ จากทุกข์

๓)ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่กับจมูก(ฆานะ) ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้น ไปได้จากทุกข์

๔)ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ กับลิ้น.(ชิวหา) ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปได้ จากทุกข์

๕)ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ กับกาย(กายะ) ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปได้ จากทุกข์

๖)ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ กับใจ (มนะ) ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปได้

อายตนะภายนอก 5 ได้แก่อะไรบ้าง ?

อายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ดู อายตนะภายใน อ้างอิง: มหาหัตถิปโทปมสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๔ ข้อที่ ๓๔๐-๓๔๖ หน้า ๒๔๕-๒๕๕

อายตนะ 6 ประกอบด้วยอะไรบ้าง

(๑) อายตนะ ๖ คืออายตนะภายในหรือรูปภายในของสฬายตนะ อันได้แก่ ๑. จักษุ (ตา) ๒. โสต (หู) ๓. ฆานะ (จมูก) ๔. ชิวหา (ลิ้น) ๕. กาย ๖. มนะ (ใจ)

ประตู ทั้ง 6 คืออะไร

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้ง 6 นี้เรียกอีกอย่างว่า อินทรีย์ 6 เพราะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนแต่ละอย่าง เช่น ตา เป็นเจ้าการในการเห็น เป็นต้น

อินทรีย์ 6 มีอะไรบ้าง

อินทรียสังวร หมายถึง สำรวมระวัง รักษาในอินทรีย์ทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยการมีสติระลึกรู้เท่าทันในเวลารับรู้อารมณ์ เมื่อมีการรับรู้อารมณ์ในปัจจุบัน อินทรียสังวร นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับพระภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ย่อมเป็นพื้นฐานเบื้องต้น สำหรับผู้ที่มีศรัทธาเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ย่อมเป็นบันไดในการ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน