สมรรถนะสําคัญของผู้เรียน มีอะไรบ้าง

เย็นวันหนึ่งระหว่างที่เรากำลังวิ่งอยู่ในสวน เราบังเอิญได้ยินคนพูดเรื่องสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน มันไม่คุ้นหูเลย เราไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อน ก็เลยต้องมาค้นหาความหมาย ก็เลยรู้ว่ามันเกี่ยวข้องกับการศึกษา เป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจ

สมรรถนะสําคัญของผู้เรียน

เป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการกำหนดให้สมรรถนะหรือความสามารถสำคัญ 5 ประการของผู้เรียน ดังนี้

  • ความสามารถในการสื่อสาร
  • ความสามารถในการคิด
  • ความสามารถในการแก้ปัญหา
  • ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
  • ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

ในปัจจุบัน เราไม่รู้ว่าความสามารถเหล่านี้มันสอนกันยังไง เนื้อหามันจะไปอยู่ในวิชาอะไรบ้าง ที่เรารู้คือเราไม่เคยได้เรียนเรื่องพวกนี้อย่างจริงจังเลย ไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก

ถ้าเราย้อนเวลากลับไปได้ ซึ่งมันคงเป็นไปไม่ได้หรอก ได้แต่สมมติเอา เราอยากให้มีคนสอนเรื่องความสามารถเหล่านี้ให้เราอย่างจริงจัง มันควรจะมีหลักสูตรการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี อาจจะต้องใช้ชื่อวิชาที่มันเฉพาะที่บ่งบอกถึงเป้าหมายของวิชา เพราะมันจะทำให้น่าเรียนมากขึ้น เช่น การสื่อสารจากใจ การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวคน การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนวิชาการแก้ปัญหาก็เหมือนกัน ต้องมีวิชา การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน การแก้ปัญหาวิกฤต

ถ้าเราเป็นเด็ก เราก็คงจะไม่รู้ความสำคัญของความสามารถทั้ง 5 อย่างนี้หรอก มันเป็นหน้าที่ผู้ใหญ่ที่ต้องคอยสอน ให้เราเข้าใจความสำคัญของมัน

เราแบ่งบทความออกเป็น 5 ตอน ตอนแรกจะเป็นเรื่องของการสื่อสาร การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวคน การสื่อสารจากใจ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสามารถในการสื่อสาร

เป็นความสามารถในการถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ รวมทั้งการเจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

การสื่อสารที่ดีจะช่วยให้เราแสดงออกถึงความต้องการและความรู้สึกของเราเพื่อทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี ทำให้เกิดความเข้าใจกัน เกิดความเห็นใจกัน ทำให้เราสามารถเติบโตไปด้วยกันได้

ทักษะการตั้งใจฟัง

Julian Treasure พูดไว้ใน TED Talks 5 ways to listen better ว่าการสื่อสารที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เราใช้เวลา 60% ไปกับการฟัง แต่เรารับฟังข้อมูลได้แค่ 25%

การฟังต่างจากการได้ยิน การฟังคือการตั้งใจ การเลือกที่จะได้ยินเสียง การดึงเอาเฉพาะเสียงที่เราต้องการ แล้วทำให้เสียงนั้นเกิดเป็นความหมาย การฟังเป็นทักษะที่เราเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาให้เป็นผู้ฟังที่ดีได้

สังคมทุกวันนี้เราต่างก็ต้องการเป็นที่สนใจของคนอื่นๆ สิ่งที่เราให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกเลยคือ พยายามดูดี คนที่หน้าตาดี คนที่แต่งตัวดี ก็จะเป็นที่สนใจของคนอื่นได้ง่ายๆ นอกจากนั้นเรายังชอบที่จะเป็นฝ่ายที่ถูกต้อง คิดถูก พูดถูก ทำถูก บางครั้งเราก็ทำให้คนอื่นเป็นฝ่ายผิด

การฟังเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าใจ การตั้งใจฟังมันจะทำให้เราเข้าใจได้ดีขึ้นเสมอ โลกนี้มันจะไม่น่าอยู่ถ้าคนไม่ฟังกัน หรือแต่ละประเทศไม่ตั้งใจฟังกัน

การฟังเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่ง การฟังไม่ใช่การรอให้อีกฝ่ายพูดจบ แต่เราต้องกระตือรือร้นที่จะฟัง ฟังอย่างตั้งใจและไม่ทำอย่างอื่น และเราสามารถตั้งใจฟังคนพูดได้เพียงคนเดียว

เทคนิคในการฝึกเป็นผู้ฟังที่ดีคือ

  • Receive ตั้งใจฟังและไม่ทำอย่างอื่น สบตาและมองหน้าคนพูดไม่ใช่มองโทรศัพท์ ระวังภาษากายและสนใจคนพูดอย่าหันไปมองทางอื่น
  • Appreciate ให้การตอบรับ การพยักหน้า ทำให้คนพูดรู้ว่าเรากำลังสนใจและตั้งใจฟัง
  • Summarize สรุป ทวนคำพูด ทำให้คนพูดรู้ว่าเราฟังเข้าใจ
  • Ask ถามรายละเอียด ในแง่มุมอื่นๆ ทำให้รู้ว่าเราสนใจเรื่องที่เค้าพูด

เราให้ความสำคัญกับการเขียนหรือการอ่านมากกว่าการพูดหรือการฟัง โดยเฉพาะการฟัง ซึ่งเป็นทักษะที่คนส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญ เราไม่รู้ ไม่ใส่ใจนิสัยการฟังของตัวเอง บางทีการที่เราไม่ตั้งใจฟังคนพูด มันก็ทำให้เป็นการเสียมารยาท

ดังนั้นเราจึงต้องฝึกทักษะการฟัง ทำให้การฟังเป็นกิจกรรมที่เราต้องมีสติและตั้งใจฟัง ไม่ใช่แค่การได้ยินเสียง แต่เราต้องเลือกฟังเสียงและทำให้มันเกิดความหมาย ทำให้เราเข้าใจ ทำให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้น

การพูดที่จะทำให้คนฟังเรา

หน้าตาเป็นสิ่งแรกที่เราให้ความสำคัญในการที่จะทำให้คนอื่นสนใจ แต่การพูดที่มีพลัง ก็ทำให้คนอื่นสนใจได้เช่นกัน ปัญหาคือหลายครั้งที่เราพูดแต่คนไม่ฟังเรา Julian Treasure พูดไว้ใน TED Talks How to speak so that people want to listen เค้าพูดถึงนิสัยที่ควรเลี่ยง ที่มันจะทำให้คนไม่อยากฟังเรา

  • Gossip พูดถึงคนอื่นในทางที่ไม่ดี
  • Judging ถ้ามีคนกำลังพูดตัดสินเรา เราก็ไม่อยากจะฟัง
  • Negativity มันยากที่จะต้องทนฟังคนที่คิดในแง่ลบ หรือบ่น
  • Excuses โทษคนอื่น ไม่เคยรับผิด
  • Exaggeration พูดเกินจริง
  • Lying การพูดโกหกทำให้คนไม่อยากฟัง
  • Dogmatism บ้าอำนาจ เอาความคิดตนเป็นหลัก

นอกจากนั้นเค้ายังมีคำแนะนำดีๆ ที่จะทำให้เราพูดได้มีพลัง ทำให้คนอยากฟังเรา

  • Honesty พูดชัดเจนตรงไปตรงมา
  • Authenticity พูดจากใจ เป็นตัวของตัวเอง
  • Integrity พูดแล้วทำ ทำให้คนเชื่อใจเรา
  • Love พูดดี หวังดีกับคนอื่น

มันเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องพูดในที่ๆ เหมาะสม ไม่มีเสียงรบกวน พูดได้มีพลัง พูดแล้วมีคนฟัง ฟังอย่างตั้งใจ เพราะมันจะทำให้คนมีสติและเข้าใจกัน ทำให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้น

การสื่อสารจากใจ

บางครั้งการสื่อสารในชีวิตประจำวันก็ทำให้เราเข้าใจผิด ทำให้เกิดความสับสน ทำให้ความสัมพันธ์แย่ลง การตัดสินคนอื่น การเปรียบเทียบ การพูดว่าใครสมควรได้หรือไม่ควรได้รับอะไร สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความแตกแยก ความร้าวฉาน และทำให้เกิดปัญหาการสื่อสาร

ในหนังสือ Nonviolent Communication ผู้เขียนได้พูดถึงการสื่อสารจากใจ หมายถึงการสื่อสารที่ช่วยให้เรามีสติและมีความเป็นคน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์อะไรก็ตาม การสื่อสารจากใจจะทำให้เราสามารถสื่อสารด้วยจิตสำนึกและทำให้เราเข้าใจการกระทำของเรามากขึ้น

บางครั้งเวลาเราพูดกับคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน เราอาจจะเผลอใช้คำที่ทำร้ายความรู้สึกของเค้า ถึงแม้ว่าเราอาจจะไม่ได้ตั้งใจก็ตาม บางครั้งเราก็ทำร้ายจิตใจคนอื่นโดยที่เราไม่รู้ตัว

การสื่อสารจากใจประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การสำรวจ ความรู้สึก ความต้องการ และการขอร้อง

เริ่มต้นจากการสำรวจว่ามันเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น และแสดงความรู้สึกของตัวเองให้คนอื่นรู้ถึงความต้องการของเรา ถ้าเราขอร้องให้คนอื่นช่วยทำบางอย่าง เราก็ควรจะบอกให้ชัดเจน ขอร้องในสิ่งที่เค้าทำให้เราได้ แต่อย่าขอให้เค้าเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

การเปิดเผยอย่างจริงใจผ่าน 4 ขั้นตอนนี้ จะทำให้เราสื่อสารได้อย่างเข้าใจและเห็นใจกันมากขึ้น และมันจะช่วยให้เราสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารกับคนในครอบครัว กับลูกค้า หรือคนในสังคม

เปิดเผยความต้องการของเราให้คนอื่นรู้ และในขณะเดียวกันก็รับฟังสิ่งที่คนอื่นต้องการ ด้วยความเข้าใจและเห็นใจ มองลึกลงไปให้เห็นสิ่งที่เค้าต้องการจริงๆ และหาทางแก้ไขความขัดแย้ง

พูดตรงแต่ยังคงสุภาพ

ในหนังสือ Talk Lean ผู้เขียนได้นำเสนอวิธีการพูดที่จะช่วยให้เราสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา ตรงประเด็น และยังคงความสุภาพเอาไว้ได้

เราต่างก็ชอบเวลาที่คนอื่นพูดชัดเจน พูดตรงไปตรงมากับเรา และพูดอย่างสุภาพ แต่น้อยคนที่จะทำได้ บางครั้งมันก็เป็นเรื่องยากที่จะพูดให้เข้าประเด็นโดยที่ไม่ทำร้ายความรู้สึกคนอื่นๆ ทำให้คนที่สุภาพหรือเกรงใจ มักจะไม่กล้าพูด ทำให้เสียโอกาส เพราะถ้าไม่พูดออกไปเราก็จะไม่ได้สิ่งที่เราต้องการ

การพูดความจริงที่มันไม่ทำร้ายความรู้สึกใครจะทำให้ทุกคนได้รับประโยชน์ การสื่อสารจากใจจะทำให้เราพูดได้อย่างตรงไปตรงมา ไม่มีการตัดสินใดๆ ฝึกแสดงความรู้สึกออกมา พยายามเข้าใจคนอื่นให้มากขึ้น มันจะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิด ที่มันจะทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกัน

รูปแบบการสื่อสาร

เราสามารถสื่อสารได้หลายรูปแบบ การเข้าใจในแต่ละรูปแบบจะช่วยให้เราเลือกใช้ได้เหมาะสม ช่วยให้เราส่งสารออกไปได้ดีที่สุด มันจะทำให้ผู้รับสารเข้าใจและทำตามสิ่งที่เราต้องการ

ในหนังสือ Communicate to Influence ผู้เขียนได้พูดถึงรูปแบบของการสื่อสารทั้ง 4 ที่ให้เราเลือกใช้ได้

  • การสื่อสารแบบ การแจ้งให้ทราบ การให้ข้อมูลที่สำคัญ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ โดยที่ไม่มีการบังคับ  หรือให้ทำตามคำสั่ง เป้าหมายของการสื่อสารแบบนี้คือเพื่อแจ้งให้ทราบเท่านั้น
  • การสื่อสารแบบ การชี้นำ การสื่อสารที่มาพร้อมกับคำสั่ง โดยมันจะมาจากผู้มีอำนาจสูงกว่า เช่น เจ้านายสั่งงานหรือเรียกใช้งานลูกน้อง
  • การสื่อสาร เพื่อการบันเทิง สารที่สื่อออกไปจะทำให้ผู้รับแสดงอารมณ์ ไม่ว่าจะทำให้เกิดเสียงหัวเราะหรือเรียกน้ำตา
  • การสื่อสาร เพื่อการโน้มน้าว หรือสร้างแรงบันดาลใจ สารที่สื่อออกไปจะทำให้กระทบกับอารมณ์ของผู้รับ ทำให้เกิดความทรงจำ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว เช่น การปราศรัยของนักการเมือง ปัจฉิมโอวาทของครูใหญ่

ไม่ว่าเราจะสื่อสารรูปแบบใด สิ่งสำคัญที่เราต้องจำขึ้นใจ เราต้องคำนึงถึง ผู้รับสาร สารที่เราจะสื่อ สภาพแวดล้อมหรือสถานที่ เราต้องดูความเหมาะสม เราต้องทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ที่มันตรงกับสารที่เราสื่อออกไป

ภาษากาย

ภาษากายอาจจะทำให้เราเข้าใจผิดได้ บางครั้งเราก็แสดงออกแตกต่างจากสิ่งที่กำลังคิด เพราะเราไม่สามารถปิดกั้นจิตใต้สำนึกเอาไว้ได้ บางครั้งเราอาจจะพูดและแสดงออกทางสีหน้าที่สวนทางกัน ทำให้คนอื่นไม่เข้าใจสิ่งที่เรากำลังสื่อสาร หรือบางคนที่นั่งมองเพดาน เราก็ไม่อาจจะตัดสินได้ว่าเค้ากำลังใช้ความคิด หรือเค้ากำลังเบื่อ ถ้าเราสงสัย เราก็ควรจะเอ่ยปากถาม

การใช้สายตา การสบสายตา เป็นสิ่งที่จะทำให้สื่อถึงความสนใจ ความเชื่อใจ และทำให้ผู้ฟังชอบ การสบสายตาผู้ฟังเพียงคนเดียวก็สามารถทำให้คนรอบข้างรู้สึกเช่นเดียวกันได้

อย่าลืมยิ้ม เพราะการยิ้มเป็นสิ่งที่เราทำได้ง่ายที่สุด และใช้ได้ผลดีเมื่อเราต้องการแสดงออกถึงความมั่นใจ และยังช่วยให้เราเก็บอาการประหม่าหรือความกังวลได้อีกด้วย

สร้างแรงบันดาลใจ

การสื่อสารสามารถทำให้คนตื่นและทำให้ชีวิตเปลี่ยนได้ การสร้างแรงบันดาลใจมันจะทำให้เรามองและเข้าใจตัวเองแตกต่างจากที่เคย มันทำให้เราเปิดใจยอมรับความเป็นไปได้ มันทำให้เรามีพลัง มีความหวัง และกระตุ้นให้เราลงมือทำ

การพูดเพื่อสร้างแรงบันดาลใจมักจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงหรือการตัดสินใจที่สำคัญ คนพูดมักจะมองเห็นความสามารถของเรา จากนั้นจึงพูดให้กำลังใจเรา กระตุ้นให้เราตัดสินใจลงมือทำด้วยความมุ่งมั่น การสร้างแรงบันดาลใจต่างจากการให้คำแนะนำหรือการสั่งสอน เป็นการกระตุ้นให้เราทำตามฝัน และใช้ศักยภาพของเราให้เต็มที่

การสร้างแรงบันดาลใจมี 3 ขั้นตอน เริ่มจากการทำให้ตื่นเต้นกับโอกาสและความเป็นไปได้ จากนั้นจึงกระตุ้นให้ลงมือทำ และสุดท้ายเราก็จะได้รับแรงบันดาลใจ และทำให้เกิดความรู้สึกในเชิงบวก

เราจะเห็นคุณค่าและความหมายของงานที่เราทำ ถ้าเราทำงานนั้นด้วยความสนุก ถ้าเราถนัดและทำงานนั้นได้ดี งานนั้นทำให้เกิดประโยชน์ทำให้เรารู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า งานนั้นทำให้เกิดความสำเร็จและทำให้เกิดความร่วมมือกัน

เราสามารถสื่อสารและสร้างแรงบันดาลใจ ให้คนค้นหาเหตุผลของการตื่นในทุกเช้า และเป็นแรงผลักดันให้ทำงานตลอดทั้งวัน และใช้ชีวิตที่มันสอดคล้องกับเป้าหมาย ชีวิตที่มีคุณค่า

ในหนังสือ Courage Goes to Work ผู้เขียนได้พูดถึงความกล้า 3 อย่าง ได้แก่ กล้าที่จะลองสิ่งใหม่ๆ สิ่งที่เราไม่คุ้นเคย กล้าที่จะไว้ใจคนอื่น และกล้าที่จะพูดความจริง ถ้าหากเราใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับคุณค่าของเรา เราก็จะมีความกล้ามากขึ้น

ทัศนคติแบบเติบโต

การเปิดกว้าง การเรียนรู้ การฝึกฝนอยู่เสมอ มันจะทำให้เกิดความมั่นใจได้ การสื่อสารที่ดี ไม่ใช่แค่การพูดชัดเจนและเข้าประเด็น เพราะภาพลักษณ์และการเลือกใช้คำที่ถูกต้อง จะสามารถทำให้เราโน้มน้าว เปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของผู้ฟังได้

การที่เราจะสื่อสารให้ได้ในระดับนี้ เราจะต้องเปิดกว้าง เรียนรู้ และมีทัศนคติแบบเติบโต เราต้องเชื่อว่า ตัวเราสามารถเก่งขึ้นได้อีก เราต้องเชื่อในศักยภาพการเรียนรู้ของตัวเอง อย่าคิดว่าเรามีขีดจำกัด

เราต้องลบล้างความคิดแบบเดิมๆ ความคิดที่คนอื่นปลูกฝังให้เราตั้งแต่เด็กๆ อย่าเชื่อว่าตัวเรามีขีดจำกัด อย่ากลัวว่าเราจะทำได้ไม่ดีพอ ไม่ต้องสนใจเรื่องพรสวรรค์ ขอให้เรามีทัศนคติที่ทำให้เรารู้จักความสามารถของเรา ปรับปรุงและเติบโตได้เรื่อยๆ

ความสามารถในการคิด

ในตอนต่อไปจะเป็นเรื่องความสามารถในการคิด ความสามารถในการคิดไม่ได้มีติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิด แต่เป็นความสามารถที่เราพัฒนาได้เรื่อยๆ หลายคนมักจะหลีกเลี่ยงการคิด มันเป็นธรรมชาติของเราทุกคน วิวัฒนาการมันทำให้สมองเราพยายามใช้พลังงานให้น้อยที่สุด อย่าให้ต้องเสียเวลาคิด ทำให้เราอยากทำอะไรเร็วๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เร็วๆ

สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนมีทั้งหมดกี่ข้ออะไรบ้าง

ในการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย สมรรถนะที่ 1 ความสามารถในการสื่อสาร สมรรถนะที่ 2 ความสามารถในการคิด สมรรถนะที่ 3 ความสามารถในการแก้ปัญหา สมรรถนะที่ 4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต สมรรถนะที่ 5 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

สมรรถนะสําคัญของผู้เรียน คืออะไร

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (Competencies of learners) หมายถึง คุณลักษณะที่เด็กทุกคนมีและใช้ได้อย่างเหมาะสม เพื่อผลักดันให้ผลการปฏิบัติงานบรรลุตาม เป้าหมาย ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้ได้แก่ ความรู้ ทักษะ บุคลิกภาพ แรงจูงใจทางสังคมลักษณะ นิสัยส่วนตัว ตลอดจนรูปแบบความคิดและวิธีการคิด ความรู้สึกและการกระทำ ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนตาม ...

สมรรถนะมีความจำเป็นอย่างไร

ความสำคัญของสมรรถนะ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความสามารถของบุคลากรในองค์กรอย่างมีระบบต่อเนื่องและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธะกิจ เป้าประสงค์ วัฒนธรรมองค์กร และยุทธศาสตร์ขององค์กร เป็นมาตรฐานการแสดงพฤติกรรมที่ดีในการทำงานของบุคลากร ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ

สมรรถนะ มีอะไรบ้าง

สมรรถนะหลัก มี๕ ด้าน ได้แก่ ๑. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ๒. การยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม ๓. ความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ๔. การบริการเป็นเลิศ ๕. การทางานเป็นทีม