การนําเสนอข้อมูลมีกี่วิธี อะไรบ้าง

ความหมายของการนำเสนอข้อมูล

       การนำเสนอข้อมูล หมายถึง กระบวนการ วิธีการการสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือ ความต้องการไปสู่ผู้รับสาร โดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่างๆ อันจะทำให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ

 จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ

  1. เพื่อให้ผู้รับสาร รับทราบความคิดเห็นหรือความต้องการ
  2. เพื่อให้ผู้รับสารพิจารณาเรื่องใดเรื่อง
  3. เพื่อให้ผู้รับสารได้รับความรู้จากข้อมูลที่นำเสนอ เช่น ในการฝึกอบรมหรือการสัมมนา ใช้ในการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานต่างๆ
  4. เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง

 ลักษณะของข้อมูลที่นำเสนอ

       ในการนำเสนอแต่ละครั้งนั้น สามารถนำข้อมูลที่มีลักษณะแตกต่างกันมาร่วมนำเสนอด้วยกันได้ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้นำเสนอ ข้อมูลที่จะนำเสนอแบ่งออกตามลักษณะของข้อมูล ได้แก่

  1. ข้อเท็จจริง หมายถึงข้อความที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เรื่องราวที่เป็นมาหรือเป็นอยู่ตามความจริง หรือสามารถตรวจสอบให้เป็นที่ประจักษ์ได้ว่าเป็นความจริง อาจเป็นความรู้ที่ได้จากการทดสอบหรือทดลองทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐาน ข้ออ้างอิงสำหรับกล่าวอ้างถึงในการพิสูจน์สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
  2. ข้อคิดเห็น เป็นความเห็นอันเกิดจากประเด็นหรือเรื่องราวที่ชวนให้คิด อาจเป็นความรู้สึก ความเชื่อถือหรือแนวคิดที่ผู้นำเสนอมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความเห็นของแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ข้อคิดเห็นต่างจากข้อเท็จจริง คือ ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องจริงที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่ข้อคิดเห็นอาจมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ฟังเป็นผู้ตัดสินใจว่าข้อคิดเห็นนั้นๆ น่ารับฟังหรือไม่ สมเหตุสมผลเพียงใด

  รูปแบบการนำเสนอ ที่นิยมใช้มี 3 วิธีการ คือ

    1. มีผู้นำเสนอและใช้เอกสารประกอบ(Handout) เป็นส่วนร่วมในการนำเสนอ

    2. มีผู้นำเสนอใช้วัสดุ-อุปกรณ์เครื่องฉายเป็นสื่อ และมีเอกสารประกอบเป็นส่วนร่วม

    3. จัดเป็น Display ในรูปของนิทรรศการ ที่ใช้ Post line เป็นเส้นนำทาง และ (อาจ) มี เอกสารประกอบ เป็นส่วนร่วม

องค์ประกอบของสื่อนำเสนอ

    หากจะแบ่งสื่อนำเสนอออกเป็นส่วนๆ  ควรประกอบด้วย  3 ส่วน คือ

  1. ส่วนนำเรื่อง Beginning
  2. ส่วนเนื้อหา Middle
  3. ส่วนท้ายเรื่อง End

โดยในการนำเสนอนั้น จะแบ่งทั้ง 3 ส่วน อัตราส่วน ส่วนนำเรื่องและส่วนท้ายเรื่อง รวมกัน 20-25% ส่วนเนื้อหา 75-80%

 แนะนำโปรแกรมนำเสนอข้อมูล

       ในปัจจุบันโปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนอ มีให้เลือกใช้งานกันหลายโปรแกรม ส่วนช่องทางการนำเสนอผลงานมี 2 ช่องทาง คือ แบบออฟไลน์ (offline) คือใช้โปรแกรมนำเสนองานหรือโปรแกรมสร้างงานนำเสนอที่สร้างไฟล์งานไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และช่องทางแบบออนไลน์ (online) คือใช้เว็บไซต์ในการนำเสนองานดังตัวอย่างโปรแกรมต่อไปนี้

    1.Microsoft PowerPoint (ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์)

    2.Macromedia Authorware เป็นโปรแกรมลักษณะ multimedia ที่ใช้สร้างบทเรียน CAI เพื่อช่วยในการเรียนการสอน

    3.Swish 2.0 หรือ Swish 3D เป็นโปรแกรม Multimediaที่ใช้สร้างไฟล์ .swf หรือ Flash ในการนำเสนอผลงาน SPECIAL Effect เกี่ยวกับภาพและตัวหนังสือ

    4.Adobe Acrobat เป็นโปรแกรมที่รองรับการใช้งานเอกสารที่เป็นไฟล์ PDF เพื่อใช้งานทางด้านเว็บไซต์

    5.Facebook เฟสบุ๊ค คือ บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต สามารถเขียนบทความ แชทคุยกันแบบสดๆ เล่นเกมส์และกิจกรรมอื่นๆ เป็นที่นิยมกันอย่างมาก

    6.Twitter.com ทวิตเตอร์เป็นเว็บไซต์ให้บริการบล็อก (Blog) เกี่ยวกับบทความ

  1. Instagram เป็นเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการแสดงรูปภาพ

    8.Wordpress.com เป็นโปรแกรมสำหรับทำบล็อก เป็นที่นิยมของบล็อกเกอร์ทั่วโลก รวมทั้งคนไทย

    9.Blogger.com Blog มาจากคำว่า Webblog: ”Webblog” หมายถึงเว็บไซต์ที่เจ้าของเว็บสามารถบันทึก บทความ รูปภาพ วีดีโอ ของตนเองลงบนเว็บไซต์ได้ทันที

หลักการออกแบบงานนำเสนอ

    1.ความเรียบง่าย : จัดทำสไลด์ให้ดูเรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น ใช้สีอ่อนเป็นพื้นหลัง เพื่อเวลาอ่านจะไม่รบกวนสายตา

    2.มีความคงตัว: เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนอสไลด์ซึ่งเป็นเนื้อหาในเรื่องเดียวกัน คือ ต้องมีความคงตัวในการออกแบบสไลด์

    3.ใช้ความสมดุล: การออกแบบส่วนประกอบของสไลด์ให้มีลักษณะสมดุลมีแบบแผน หรือ สมดุลไม่มีแบบแผนก็ได้

    4.มีแนวคิดเดียวในสไลด์แต่ละแผ่น: ข้อความและสภาพที่บรรจุในสไลด์แผ่นหนึ่งๆ ต้องเป็นเนื้อหาแต่ละแนวคิดเท่านั้น

    5.สร้างความกลมกลืน: ใช้แบบอักษรและภาพกราฟิกให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหาใช้แบบอักษรอ่านง่าย แล้ใช้สีที่ดูแล้วสบายตา

    6.แบบอักษร: ไม่ใช้อักษรมากกว่า 2 แบบในสไลด์เรื่องหนึ่ง โดยใช้แบบหนึ่งเป็นหัวข้อ และอีกแบบหนึ่งเป็นเนื้อหา

    7.เนื้อหา และจุดนำข้อความ: ข้อความในสไลด์ควรเป็นเฉพาะหัวข้อ หรือเนื้อหาสำคัญเท่านั้นและควรนำเสนอเป็นแต่ละย่อหน้า โดยอาจมีจุด       นำข้อความอยู่ข้างหน้าเพื่อแสดงให้ทราบถึงเนื้อหาแต่ละประเด็น

    8.เลือกใช้กราฟิกอย่างระมัดระวัง: การใช้กราฟิกอย่างเหมาะสมจะสามารถเพิ่มการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล

    9.ความคมชัดของภาพ : เนื่องจากความคมชัดของจอมอนิเตอร์มีเพียง 72-96 DPI เท่านั้นภาพกราฟิกที่นำเสอประกอบในเนื้อหาจึงไม่จำเป็นต้องใช้ภาพที่มีความคมชัดสูงมาก ควรใช้ภาพในรูปแบบ JPG ที่มีความคมชัดปานกลาง และขนาดไม่ใหญ่นัก ประมาณ 20-50 KB ควรทำการลดขนาดภาพก่อนเพื่อไม่ให้เปลืองเนื้อที่ในการเก็บบันทึก

อ้างอิง :  โครงการสารานุกรมไทยฯ . “โปรแกรมการนำเสนอข้อมูล (Graphic Presentation Program)”. //kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=25&chap=1&page=t25-1-infodetail04.html.

เว็บไซต์มุสลิมไทยโพสต์ . “ความหมายของการนำเสนอ (Presentation) ”. //info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=29&id=10762.

บัญชา โพธิพิทักษ์. “(บทสรุป) การนำเสนอคืออะไร”. //mediathailand.blogspot.com/2012/05/blog-post.html. 2012

การนำเสนอสารมีการนำเสนอทั้งหมดกี่วิธี

ลักษณะและรูปแบบการนำเสนอ รูปแบบการนำเสนอ(ที่นิยมใช้) มี 3 วิธีการ คือ 1. มีผู้นำเสนอและใช้เอกสารประกอบ(Handout) เป็นส่วนร่วมในการนำเสนอ 2. มีผู้นำเสนอใช้วัสดุ-อุปกรณ์เครื่องฉายเป็นสื่อ และมีเอกสารประกอบเป็นส่วนร่วม

การนําเสนอข้อมูลแบบใดที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด

๒. การนำเสนอด้วยกราฟเส้น (Line graph) เป็นแบบที่รู้จักกันดี และใช้กันมากที่สุดแบบหนึ่ง เหมาะสำหรับข้อมูล ที่อยู่ในรูปของอนุกรมเวลา เช่น ราคา ข้าวเปลือกในเดือนต่างๆ ปริมาณสินค้าส่งออกรายปี เป็นต้น

ข้อใดเป็นการนําเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน

2) การนำเสนอโดยมีแบบแผน (Formal presentation) เป็นการนำเสนอที่มีระเบียบแบบแผน และ กฎเกณฑ์ต่างๆ ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เป็นแบบอย่าง โดยนำเสนอเป็นรูปตาราง รูปภาพ หรือกราฟ ความมุ่ง หมายของการนำเสนอเหล่านี้ ก็เพื่อให้การนำเสนอง่ายและรัดกุมขึ้น ผู้อ่านสามารถหาข้อความที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว และช่วยให้การเปรียบเทียบได้ง่าย ...

องค์ประกอบของการนําเสนอมีอะไรบ้าง

 องค์ประกอบของการนำเสนอ(Presenting) เป็นศาสตร์(วิธีการ)ของการสื่อสาร(Communication) ภายใต้องค์ประกอบ 3 ส่วน โดยเป็นกระบวนการถ่ายทอดหรือการส่งผ่าน สาร (message) จากฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่าผู้ส่งสาร (sender) ไปสู่อีกฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่า ผู้รับสาร (receiver) โดยผ่านตัวกลาง (channel) หรือสื่อกลาง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน