การแต่งกายเหมาะสมกับกาลเทศะมีผลดีอย่างไร

หากเอ่ยถึง "รองเท้าแตะ" ใครหลายคนคงนึกถึงความชิลล์ สบายๆ สำหรับการแต่งกายในชีวิตประจำวันที่มีความเรียบง่าย ไม่ต้องการความเป็นทางการ แต่ถ้ามีคนมาถามสะกิดบอกคุณว่า รองเท้าแตะไม่สุภาพ ไม่เหมาะกับกาลเทศะ คุณก็คงมองด้วยความขุ่นเคืองกับผู้ที่มาสะกิดแบบนั้น ทั้งที่คุณมั่นใจแล้วว่าสถานที่แบบไหน ที่เหมาะสมกับการแต่งกายและสวมรองเท้าประเภทไหน

ในประเทศไทยเอง เมื่อเร็วๆนี้ยังมีเคยมีดราม่าในโลกโซเชี่ยล ที่มี "ยูทูปเบอร์คนหนึ่ง" อยากจะถีบหน้าคนที่ใส่รองเท้าแตะไปดินห้างฯ จริงๆ จนเกิดการโต้เถียงกันไปมา จนมีการตั้งคำถามว่า แล้วอะไรคือ "มาตรฐานของความไม่สุภาพ" หรือ "ไม่ถูกกาลเทศะ" จากการสวมรองเท้าแตะ? เพราะถ้าค้นหากฎหมาย หรือ พระราชบัญญัติ ซึ่งใช้บังคับให้ผู้คนในสังคมเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายร่วมกัน เพื่อความเรียบร้อยและเท่าเทียมกัน ก็ไม่มีกฎหมายฉบับใดเขียนเจาะจงไปถึงว่า ผู้คนในสังคมต้องสวมรองเท้าประเภทใดในสถานที่แบบไหน แต่เมื่อย้อนไปในอดีตเมื่อปี พ.ศ. 2482-2485 ช่วงที่ "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้พยายามกำหนดวินัยทางสังคมและสร้างความเป็นไทยที่เป็นแบบเดียวกันผ่านสิ่งที่เรียกว่า "รัฐนิยม" หลายฉบับ ถึงแม้ประกาศหลายๆ ฉบับอาจถูกลืมไปบ้างและไม่ได้ถูกเขียนไว้เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับ แต่บรรทัดฐานของสังคมที่เกิดจากนโยบายชาตินิยมเหล่านั้นยังคงหลงเหลือมาจนถึงทุกวันนี้  มุมมองของการแต่งกายที่ถูกยอมรับว่า "สุภาพเรียบร้อย" ล้วนแต่ได้รับอิทธิพลมาจาก "รัฐนิยมฉบับที่ 10" ประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2484 เช่น ต้องสวมเสื้อชั้นนอก ชายสวมกางเกงขายาว หญิงสวมกระโปรงหรือผ้าถุง และสวมรองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อ

ทั้งนี้ หากพิจารณาสิ่งที่เรียกว่า "กฎ" หรือ "ระเบียบ" หรือ "ข้อบังคับ" ที่ใช้บังคับในสังคมเฉพาะกลุ่ม อย่างเช่น "การแต่งกายในมหาวิทยาลัย" ซึ่งแต่ละสถาบันมีกฎระเบียบให้นักศึกษาแต่งกายตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย อาทิ กำหนดให้ใส่แต่รองเท้าผ้าใบสีพื้น หรือ รองเท้าคัทชู ที่ปิดส่วนเท้าและรัดส้น อย่างเคร่งครัด เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการสอบในบางหน่วยงานมีการออกกฎ ข้อบังคับในการแต่งกายให้เหมาะสม ซึ่งหนึ่งนั้นกำหนดห้ามสวมรองเท้าแตะ เข้าห้องสอบ แต่นั่นก็หมายถึงการห้ามสวมเสื้อยืด กางเกงยีนส์ กางเกงขาสั้น กระโปรงสั้นเหนือเข่าด้วยเช่นกัน

ทีนี้ไปดูมุมมองเหล่านี้จากคนรุ่นใหม่บ้าง กับรองเท้าแตะ หรือ รองเท้าแซนเดิลยี่ห้อ Birkenstock  รองเท้าแตะสัญชาติเยอรมันที่มีราคาตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น ที่มีผลวิจัยจากคุณชัชวาล เกษมรุ่ง นักศึกษาวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ทราบถึงปัจจัยในการตัดสินใจซื้อและสวมใส่รองเท้ายี่ห้อนี้ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ คือ

1. เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพเท้า

เพราะพื้นรองเท้าสามารถปรับสภาพให้เข้ากับเท้าของผู้สวมใส่ และ คุณสมบัติของรองเท้าที่มีสายคาด 1-2 สาย ปกปิดเท้าของผู้สวมใส่ คุณสมบัติเหล่านี้ก่อให้ประโยชน์ในแง่ความสบายในการสวมใส่และลดโอกาสที่เกิดอุบัติเหตุกับเท้าเช่นข้อเท้าพลิกหรือโรคตาปลา ประโยชน์เหล่านี้สำคัญกับผู้ใช้ เพราะพวกเขาให้ความสำคัญกับคุณค่าบางอย่างเช่น "สุขภาพที่ดีคือความมั่งคั่ง"

2. เกี่ยวข้องกับความชีค (chic) ลุคที่สวยเท่ ดูดีแบบไม่ต้องพยายาม

สีรองเท้ายี่ห้อนี้มีความเรียบง่าย สื่อถึงความมินิมอลในความรู้สึกของผู้ใช้ คุณสมบัติอันนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ในแง่การใช้งานที่หลากหลาย กลายเป็นรองเท้าอเนกประสงค์ที่ใส่ได้ในหลากหลายโอกาส ผู้ใช้สามารถแต่งตัวลุคธรรมดา ๆ สวมใส่รองเท้าและออกจากบ้านได้เลย โดยไม่ต้องกังวลว่าเสื้อผ้าและรองเท้า จะแมทช์กันหรือไม่ ความอเนกประสงค์นี้สำคัญกับผู้ใช้เพราะทำให้ชีวิตของพวกเขาสะดวกสบายขึ้นปราศจากความกังวลในการใช้ชีวิต  เป็นเหตุผลว่าทำไมรองเท้าคู่ละหลายพันบาทนั้นจึงคุ้มค่าในสายตาของผู้ใช้

3. เกี่ยวข้องกับปัจจัยความสุภาพ

Birkenstock ถูกมองว่าเป็นรองเท้าที่มีความสุภาพระดับหนึ่ง เพราะมันไม่ได้ถูกเทียบเคียงกับรองเท้าผ้าใบที่หุ้มส่วนเท้าทั้งหมด แต่ถูกเทียบกับรองเท้าแตะหูหนีบทั้งหลายในตลาด กล่าวคือ คุณสมบัติที่มีสายคาดปกปิดส่วนเท้ามากกว่ารองเท้าแตะทั่วไปเป็น 'เครื่องมือ' ที่ทำให้กายแต่งกายของพวกเขาดูสุภาพมากขึ้น ภาพลักษณ์ที่สุภาพมากขึ้นนั้นสำคัญกับพวกเขา เพราะพวกเขาไม่อยากจะถูกมองว่าไม่มีกาลเทศะ และอาจโดนผู้อื่นติเตียนว่าไม่มีมารยาทในสังคม

ดังนั้น Birkenstock อาจจะถูกนับได้ว่า เป็นเครื่องหมายและคำนิยามของคำการแต่งกายแบบสุภาพในมุมมองของคนของรุ่นใหม่ก็เป็นได้

มีมุมมองทางการตลาดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้

"เซธ โกดิน" หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด ได้อุปมาถึงตัวอย่างทางด้านการตลาดในหนังสือ This is Marketing ที่ใกล้เคียงกับทฤษฎี Means-End Approach เขากล่าวว่า ลูกค้าไม่ได้อยากจะซื้อหัวเจาะสว่าน ลูกค้าต้องการรูเอาไว้แขวนชั้นวางของต่างหาก และความสำคัญของการแขวนชั้นนั้น อาจจะเป็นการการชื่นชมยอมรับจากบุคคลรอบข้างว่า เขานั้นสามารถทำงานช่าง เช่นแขวนชั้นได้ด้วยตัวเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก รศ. ดร. วินัย วงศ์สุรวัฒน์ อาจารย์ประจำ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดลและคุณชัชวาล เกษมรุ่ง นักศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

ดังนั้นหัวเจาะสว่านเป็นเพียงเครื่องมือที่นำไปสู่สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการอย่างแท้จริง นั่นคือรูที่ใช้แขวนชั้น และการยอมรับจากบุคคลรอบข้าง ทฤษฎีข้างต้น อาจนำมาประยุกต์ใช้กับการเลือกซื้อเสื้อผ้า-เครื่องแต่งกายได้

สรุปแล้ว ไม่มีข้อสรุปกับคำว่า "มาตรฐานความสุภาพ" ไม่ได้มีหลักการ-เหตุผลที่ตายตัว" แต่เป็นเรื่องของดุลยพินิจ วิจารณญาณส่วนตัว ที่มีกฎระเบียบ ข้อบังคับ ขีดเขียนไว้ให้ปฏิบัติตามในหน่วยงาน สังคมเฉพาะกลุ่มที่ กำหนดให้ผู้คนต้องเคารพกฎนี้ร่วมกัน

บทความงาน > การทำงาน > เทคนิคการทำงาน > การแต่งกาย : เครื่องมือสร้างงาน สร้างมิตร

การแต่งกาย : เครื่องมือสร้างงาน สร้างมิตร

  • 2 September 2014

การแต่งกายเหมาะสมกับกาลเทศะมีผลดีอย่างไร
การแต่งกายเหมาะสมกับกาลเทศะมีผลดีอย่างไร
การแต่งกายเหมาะสมกับกาลเทศะมีผลดีอย่างไร
การแต่งกายเหมาะสมกับกาลเทศะมีผลดีอย่างไร
การแต่งกายเหมาะสมกับกาลเทศะมีผลดีอย่างไร
การแต่งกายเหมาะสมกับกาลเทศะมีผลดีอย่างไร
การแต่งกายเหมาะสมกับกาลเทศะมีผลดีอย่างไร

          การแต่งกาย จัดเป็นภาษาทางวัตถุ (object language) ประเภทหนึ่งที่ใช้สื่อสารระหว่างกัน การแต่งกายของบุคคลจะถูกแปลความ ประเมิน และตัดสิน โดยดูจากเสื้อผ้า ทรงผม รองเท้า และเครื่องประดับที่สวมใส่

          ผลการตัดสินอาจเป็นความพึงพอใจ ความรู้สึกยอมรับนับถือ ความรู้สึกให้เกียรติต่อผู้อื่น หากบุคคลนั้นแต่งกายเหมาะสม หรือในทางตรงกันข้าม อาจเกิดความรู้สึกไม่พอใจ รู้สึกดูถูก และรู้สึกไม่ต้องการสนทนาด้วย หากการแต่งกายของบุคคลนั้นไม่เป็นไปตามความคาดหวัง

การแต่งกายเป็น “เปลือกนอก” ของบุคคล ที่ถูกตีความและวัดคุณค่ามากที่สุด

          ความรู้สึกต่อการแต่งกายจะค่อนข้างรุนแรงในกลุ่มคนที่ชอบประเมินคนจากลักษณะภายนอก แม้ว่าในความเป็นจริง เราไม่ควรตัดสินคนจากสภาพที่เห็นภายนอก และการแต่งกายเป็นเสรีภาพเฉพาะบุคคล แต่การอยู่ร่วมกันในสังคมย่อมต้องมีกรอบ “ความเหมาะสม” บางประการที่กำหนดขึ้น เป็นเหมือนข้อตกลงที่ยอมรับร่วมกัน และคาดหวังว่าคนในกลุ่มจะปฏิบัติตาม เช่น ในสถานที่ทำงาน ในงานเลี้ยงที่เป็นพิธีการ ในการประชุมผู้บริหาร ในการพบปะลูกค้า ในงานเลี้ยงสังสรรค์ และในงานสังคมประเภทต่างๆ เป็นต้น

          ในงานเหล่านี้ย่อมมีการคาดหวังให้ผู้เข้าร่วมแต่งกายให้เหมาะสม ถูกต้องตามกาลเทศะ จากประสบการณ์การทำงานและการพบปะผู้คนที่หลากหลายมากว่า 30 ปี ผมได้ข้อสรุปความหมายของการแต่งกาย ซึ่งมีความหมายมากกว่าการนำเครื่องนุ่งห่มมาปกปิดร่างกาย และมีคุณค่ามากกว่าการทำหน้าที่เป็นเครื่องแสดงฐานะ หรือแสดงสไตล์ แสดงตัวตนของบุคคลนั้น ความหมายการแต่งกายของผม คือ “เครื่องมือสร้างงานและสร้างมิตรภาพ”

การแต่งกาย…เครื่องมือสร้างงาน

          หากเราต้องการประสบความสำเร็จในการทำงาน เราต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการแต่งกาย เพราะสองสิ่งนี้เชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก

เราต้องแต่งกาย “ให้เหมาะสม” เพื่อให้ได้งาน

          ผู้ให้คำปรึกษาด้านการแต่งกายรายหนึ่ง ให้คำแนะนำว่า หากต้องการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้งาน ควรไปสำรวจดูก่อนว่า คนในหน่วยงานนั้นแต่งกายกันอย่างไร และอีกรายหนึ่งกล่าวว่า ผู้สมัครงานที่แต่งตัวสวยเหมือนนางแบบ จะถูกสัมภาษณ์นาน แต่มักไม่ค่อยได้งาน
ไม่เพียงแต่การสมัครงาน แต่การพบปะพูดคุยกับลูกค้าครั้งแรกก็เช่นเดียวกัน การแต่งกายเป็นตัวชี้วัดประการหนึ่ง ที่บ่งบอกว่าเราจะ “ได้งาน” หรือไม่ เพราะในการพบกันเป็นครั้งแรก เราย่อมไม่รู้จักนิสัยใจคอ จึงต้องประเมินจากรูปลักษณ์ที่ปรากฏภายนอก ดังนั้น การแต่งกายที่เหมาะสมจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความประทับใจครั้งแรก นอกเหนือจากปัจจัยอื่นๆ และที่สำคัญ การแต่งกายที่เหมาะสมจะช่วยให้เรามั่นใจในตนเอง และความมั่นใจในตนเองจะช่วยให้เราเกิดความกล้าในการพูดคุยโต้ตอบ และเกิดความสนิทสนมตามมาอย่างเป็นธรรมชาติ

เราต้องแต่งกาย “ให้เหมาะสม” เพื่อคนทำงาน

          ผมคิดว่าชุดที่พนักงานสวมใส่ ควรเป็นชุดที่เอื้อต่อการทำงานมากที่สุด การแต่งกายขององค์กรหลายแห่ง โดยเฉพาะในโรงงานหรือสำนักงานที่มีพนักงานจำนวนมาก และลักษณะงานเป็นงานประจำ มักนิยมให้พนักงานแต่งเครื่องแบบที่เหมือนๆ กัน โดยให้คุณค่าความเป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นสำคัญ ซึ่งผมคิดว่า ความเป็นระเบียบเรียบร้อยนั้นเป็นสิ่งดี แต่สำหรับงานบางลักษณะ หรือบางองค์กรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ให้คุณค่าในการใช้ความคิด ต้องการให้พนักงานเกิดความคิดสร้างสรรค์ การให้เสรีภาพในการแต่งกาย อาจเป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่าการบังคับให้ใส่แบบฟอร์มในรูปแบบเดียวกันทุกคน เพราะผู้บริหารตระหนักว่า เสรีภาพในการแต่งกายจะเอื้อต่อการมีเสรีภาพทางความคิดด้วย ผู้บริหารที่ใส่สูทมาทำงานทุกวัน อาจไม่ช่วยสร้างทีมงานที่มีพลังได้มากเท่ากับผู้บริหารที่แต่งตัวไม่ต่างจาก พนักงานคนอื่นๆ และร่วมทำงานเป็น “เพื่อนร่วมทีม” เดียวกัน

เราต้องแต่งกาย “ให้เหมาะสม” เพื่อทำงาน

          เดือนตุลาคมของปีที่ผ่านมา มีข่าวเล็กๆ จากประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศที่จัดว่าให้เสรีภาพด้านการแต่งกายมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ในข่าวรายงานว่า ปัจจุบัน มีหน่วยงานหลายแห่งเริ่มทนไม่ได้กับการแต่งกายของพนักงาน และตัดสินใจออกระเบียบควบคุมการแต่งกายมากขึ้น เนื่องจากพนักงานแต่งกายโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสม และความพึงพอใจของลูกค้า นายจ้างรายหนึ่งกล่าวว่า เธอทนไม่ได้ที่เห็นพนักงานใส่เสื้อรัดรูปเอวลอย แถมเจาะสะดือตามสมัยนิยม จนต้องบอกให้กลับไปแต่งตัวใหม่ให้เหมาะสม

          ผมคิดว่า เราสามารถให้เสรีภาพการแต่งกายแก่พนักงาน โดยให้คำนึงถึงภาพลักษณ์ขององค์กรและลูกค้าเป็นสำคัญ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจหมายถึงอนาคตของทุกคนที่ทำงานอยู่ว่าจะไปได้ไกลเพียงใด เช่น พนักงานขายที่ใส่เสื้อเก่า กางเกงสกปรก รองเท้าไม่ได้ขัด อาจสร้างความรู้สึกให้คนสงสารเวทนา แต่ไม่ได้ช่วยให้ลูกค้าเชื่อถือและไว้วางใจ ความสะอาดและความเรียบร้อยเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า เราจัดการดูแลตนเองได้ดีมากน้อยเพียงไร ถ้าเราจัดการดูแลตัวเองได้ดี ย่อมได้รับการตีความจากลูกค้าว่า เราย่อมดูแลรับผิดชอบงานได้เป็นอย่างดี เป็นต้น

          นอกจากนี้ การแต่งกายต้องคำนึงถึงเพื่อนร่วมงานด้วย เช่น พนักงานที่แต่งกายสวยเด่น เสื้อผ้ามีสีสันสะดุดตาเกินไป อาจทำให้เพื่อนพนักงานไม่มีสมาธิในการทำงาน พนักงานที่ไม่ดูแลตนเองเลย อาจสร้างความอึดอัดใจ รำคาญใจให้กับผู้ร่วมงาน เป็นต้น

การแต่งกาย…เครื่องมือสร้างมิตรภาพ

          การแต่งกายที่เหมาะสมนอกจากช่วย “สร้างงาน” ให้เราแล้ว ยังเป็นเครื่องมือช่วย “สร้างมิตรภาพ” ให้เราได้เป็นอย่างดีแอนดรูว์ แมตทิวส์ กล่าวไว้ในหนังสือ Making Friends ว่า “ถ้าเราอยากได้เพื่อน หรือรักษาเพื่อนไว้ จงใช้สติไตร่ตรองในการแต่งตัว” คำกล่าวนั้น ผมเห็นว่าไม่เกินจริง เพราะเวลาที่เราต้องออกงาน พบปะผู้คน เราควรใส่ชุดที่เอื้อต่อการสร้างมิตรภาพ

          เราควรตระหนักว่าการแต่งกายนั้น เชื่อมโยงกับมิตรภาพอย่างแนบแน่น คนบางคนยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง แต่งกายโดยยึดความพึงพอใจของตนเองเป็นหลัก ไม่เคยคิดถึงกลุ่มที่ตนไปปฏิสัมพันธ์ด้วย อาจทำให้ต้องเสียเพื่อน เสียมิตรภาพไปโดยไม่รู้ตัว เช่น ยึดติดสไตล์การแต่งตัวของตนเองจนไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้จัดงาน หรือมีเป้าหมายในการแต่งกายเพื่อมาอวดว่า ตนเองมีฐานะดีกว่าคนอื่นๆ อาจเสียเพื่อนไปหลังจากวันนั้น เป็นต้น

          การแต่งกายของผมสำหรับไปงานต่างๆ จะสนับสนุนการสร้างมิตรภาพด้วยเป็นหลัก สิ่งแรกที่คำนึงถึงคือ “การเอาใจเขามาใส่ใจเรา” โดยพิจารณาว่า งานนั้นคาดหวังให้ผู้เข้าร่วมงานแต่งชุดแบบใด ถ้างานนั้นเรียกร้องความสุภาพ ความเป็นสากล ผมมักเลือกใส่สูท ใส่ชุดที่สุภาพเรียบร้อย ถ้างานนั้นเรียกร้องความเป็นไทย หรือต้องการให้ผู้เข้าร่วมงานใส่ชุดประจำชาติ ชุดประจำท้องถิ่น ผมจะไม่รีรอเลยที่จะแต่งกายเช่นนั้น แม้ว่าในบางชุด เมื่อผมใส่แล้วยังอดขำตนเองไม่ได้ เพราะเป็นชุดท้องถิ่นที่ใส่แล้วดูแปลกๆ ไม่ค่อยเหมาะกับผมสักเท่าไร

          ถ้าเราสามารถเลือกเครื่องแต่งกายที่สร้างความสบายใจให้แก่ทั้งสองฝ่าย คือ เอาใจเจ้าภาพด้วยและเราสบายใจด้วยจะดีที่สุด เช่น สีของเสื้อผ้า ควรเป็นสีที่เราชอบ และคนรอบข้างมองเห็นแล้วเกิดความรู้สึกสบายตา ไม่สร้างมลพิษทางสายตา ส่วนเนื้อผ้า ควรเลือกที่เราใส่แล้วสบาย เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ ช่วยให้เราไม่อึดอัด มีความคิดปลอดโปร่ง และมีความสุขมากขึ้น เป็นต้น

การแต่งกายเหมาะสมกับกาลเทศะมีผลดีอย่างไร
          หากเราสามารถแต่งกายตอบสนองความคาดหวังของผู้อื่นได้ ย่อมเท่ากับเป็นการหยิบยื่นมิตรภาพด้วยการให้เกียรติ และแสดงออกถึงความต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม การร่วมงานย่อมเป็นไปด้วยความราบรื่น เราจะมีความสุขตลอดงานเมื่อพบปะสายตาที่หยิบยื่นมิตรภาพให้ และเรารู้ว่ามิตรภาพนั้นจะดำรงอยู่สืบต่อไป

          อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผมจะใช้การแต่งกายเป็นเครื่องมือสร้างงาน สร้างมิตรภาพ แต่ในวิถีชีวิตส่วนตัวยามว่าง ผมเลือกที่จะใส่ชุดลำลอง ในสไตล์และสีสันที่ตนเองชอบมากที่สุด ช่วยให้ผมเกิดความรู้สึกสบายๆ ปลดปล่อยจากกรอบ กฎเกณฑ์ทางสังคม เป็นการแต่งกายที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวเราจริงๆ ซึ่งจะเชยหรือทันสมัย ย่อมพบเห็นกันได้ในวันเหล่านี้

ที่มา : ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
สมาชิกที่ปรึกษาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

การแต่งกายเหมาะสมกับกาลเทศะมีผลดีอย่างไร

คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

 

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แต่งกายให้ประทับใจตั้งแต่วันแรกของการทำงาน

แต่งกายอย่างไรในวันสัมภาษณ์งาน

การแต่งกายทำงาน  การแต่งกายไปทำงาน  แต่งกายไปทำงาน  แต่งตัวไปทำงาน

บทความยอดนิยม

Can Be Term Paper Writing Services worth the Price?

Students have many choices available to them when they’re...

การแต่งกายเหมาะสมกับกาลเทศะมีผลดีอย่างไร

10 เช็คลิสต์เคลียร์งานก่อนหยุดยาว

ช่วงปลายปีถือเป็นถือช่วงเวลาแห่งความสุขที่ทุกคนรอคอยอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเดือนธันวาคม ที่ถือเป็นเดือนที่มีวันหยุดนักขัตฤ...

การแต่งกายเหมาะสมกับกาลเทศะมีผลดีอย่างไร

ตำแหน่ง Data Engineer คืออะไร? ต้องทำอะไรบ้าง

ยุคที่สายงานด้าน Tech เติบโตอย่างรุ่งเรืองแบบก้าวกระโดด จะเห็นได้ว่ามีชื่อตำแหน่งงานใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเกิด...

การแต่งกายถูกกาลเทศะมีผลดีอย่างไร

การแต่งกายให้เหมาะสม การแต่งกายให้เหมาะสมกับเพศ วัย เวลา สถานที่ จะช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพได้อีกทางหนึ่ง การพรางส่วนด้อยเน้นส่วนดี บุคคลทุกคนจะมีจุดเด่นและจุดด้อยของร่างกาย เช่นบางคนหน้าสวยแต่ขาไม่สวย จึงต้องพยามทำให้ดึงความสนใจให้คนอื่นมองที่จุดเด่น จนกระทั่งลืมมองที่จุดด้อย หรือใช้เสื้อผ้าช่วยพรางส่วนด้อยของร่างกาย

นักเรียนจะแต่งกายให้เหมาะสมอย่างไร

การแต่งกายถูกต้องตามกาลเทศะ การแต่งกายนอกจากจะสะอาดและมีความสุภาพเรียบร้อยแล้ว ควรให้เหมาะสมกับสมัยนิยมและให้เหมาะกับสถานที่ที่จะไปด้วย การแต่งกายที่ผิดสมัยนิยมนั้นหากสะอาดและสุภาพเรียบร้อยก็ไม่น่าจะมีอะไรเสียหายมาก แต่คนอาจมองว่าเชยเท่านั้น ดังนั้นการแต่งกายให้ถูกกาลเทศะนั้นเป็นเรื่องสำคัญ จึงควรระวังแต่งกายให้ถูก ...

การแต่งกายตามกาลเทศะหมายถึงอะไร

คำว่ากาลเทศะ หมายถึง เวลาและสถานที่ หรือการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นการเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม การแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะหรือโอกาสต่าง ๆ นั้น เป็นเรื่องที่เราควรศึกษาและนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ เพราะแน่นอนว่าคนเรานั้นจะมีโอกาสหรือวาระสำคัญ ให้ต้องแต่งกายอยู่เสมอ ดังนั้นเราควรทราบรายละเอียดของการแต่งกายให้ถูก ...

การแต่งกายที่ดีคืออะไร

การแต่งกายให้เหมาะสมกับโอกาส และกาลเทศะเป็นการให้เกียรติตนเอง และผู้อื่น ช่วยให้เกิดความมั่นใจในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ แต่ไม่ว่าจะเป็นโอกาสใดก็ตาม ผู้แต่งควรมีพื้นฐานที่ความสุภาพเรียบร้อย ในการแต่งกายเป็นหลัก ซึ่งหมายถึงทั้งหมดตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ดังนั้นผู้สวมใส่จึงควรพิจารณาว่าตนเองจะไปทำอะไร ที่ไหน อ