สิทธิมนุษยชนในสังคมไทย มีอะไรบ้าง

29 มีนาคม 2022

สิทธิมนุษยชนในสังคมไทย มีอะไรบ้าง

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

การจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ การคุกคามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และการดำเนินคดีอาญาประชาชนในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่คุกคามสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลระบุในรายงานประจำปี

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเปิดตัวรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำปี 2021 พร้อมกันทั่วโลกในวันนี้ (29 มี.ค.) โดยรายงานฉบับนี้ได้รวบรวมสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งไทย

  • พ.ร.บ. เอ็นจีโอ : ร่างกฎหมายที่ถูกมองว่าจำกัดสิทธิภาคประชาสังคม
  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยรัฐบาลไทยยังคงใช้ กม. ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นเครื่องมือในการปราบปรามผู้เห็นต่างทางการเมือง
  • โฉมใหม่ "กฎหมายคุมสื่อ" ทำไมสมาคมนักข่าว-สภาการสื่อมวลชน ถึงพอใจร่าง พ.ร.บ. จริยธรรมสื่อ ที่ ครม. เห็นชอบ
  • ขบวนเสด็จ: ศาลให้ประกันตัวกลุ่ม “ทะลุวัง” คดี ม. 112 ทำโพลขบวนเสด็จ

นายเอร์วิน วาน เดอ บอร์ก รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก ของแอมเนสตี้ฯ กล่าวถึงภาพรวมของสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนระดับโลกในช่วงปี 2564 ว่ามีประเด็นปัญหาที่สำคัญคือ

โควิด-19: ผลกระทบจากการระบาดใหญ่รุนแรงขึ้นเพราะผู้นำทางการเมืองและบรรษัทยักษ์ใหญ่ยังคงเห็นผลกำไรและอำนาจของตนสำคัญกว่าประชาชน รัฐบาลไม่รักษาคำมั่นสัญญาที่จะฟื้นฟูคุณภาพชีวิตหลังการระบาดใหญ่ทำให้ความไม่เท่าเทียมหยั่งรากลึกมากขึ้น บริษัทยาขนาดใหญ่จะได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐหลายพันล้านเหรียญ แต่ยังคงให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของตัวเองมากกว่าความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชน

โลกร้อน: การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 หรือ COP26 ปี 2564 ไม่ประสบผลสำเร็จ รัฐต่าง ๆ ไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับพันธกิจที่จะรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มเกินกว่า 1.5 องศา ซึ่งจะส่งผลให้ประชากรโลกกว่าครึ่งพันล้านคน ที่ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศซีกโลกฝ่ายใต้

ที่มาของภาพ, แอมเนสตี้ ประเทศไทย

คำบรรยายภาพ,

เอร์วิน วาน เดอ บอร์ก รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

ความขัดแย้งและความรุนแรง: คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติไม่สามารถแก้ไขปัญหาความทารุณโหดร้ายในเมียนมา การละเมิดสิทธิมนุษยชนในอัฟกานิสถาน และอาชญากรรมสงครามในซีเรียได้ และการขาดความรับผิดของรัฐมหาอำนาจเป็นสาเหตุสนับสนุนให้เกิดการรุกรานของรัสเซียในยูเครน

การปราบปรามความเห็นต่าง: รัฐบาลใช้เครื่องมือและยุทธวิธีเพื่อปราบปรามความเห็นต่างอย่างกว้างขวางและรุนแรงมากขึ้น นักปกป้องสิทธิมนุษยชน เอ็นจีโอ องค์กรสื่อและผู้นำฝ่ายค้าน ต่างตกเป็นเป้าหมายการควบคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย การทรมานและการบังคับให้สูญหาย มีอย่างน้อย 67 ประเทศที่ประกาศใช้กฎหมายใหม่ในปี 2564 เพื่อจำกัดสิทธิในเสรีภาพการแสดงออก การชุมนุมโดยสงบและการสมาคม

8 ประเด็นสิทธิมนุษยชนในไทย

ในส่วนของประเทศไทย ประเด็นสิทธิมนุษยชนในรอบปี 2564 ที่แอมเนสตี้ฯ หยิบยกมาบันทึกในรายงานฉบับนี้ ได้แก่

  • กระสุนจริงยิงใส่ผู้ชุมนุม: แอมเนสตี้ฯ ระบุว่าในปี 2564 มีการชุมนุมเกิดขึ้นกว่า 1,500 ครั้ง เพื่อเรียกร้องให้มีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยุบสภา ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ปล่อยตัวแกนนำผู้ชุมนุม ปรับปรุงการมาตรการรับมือโควิด-19 ระหว่างการชุมนุมในกรุงเทพฯ เมื่อเดือน ส.ค. 2564 มีเยาวชนชายอายุ 15 ปี ถูกยิงบริเวณลำคอจนเป็นอัมพาตและต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลนาน 3 เดือนก่อนจะเสียชีวิต และมีเยาวชนอีก 2 คน อายุ 14 และ 16 ปี ได้รับบาดเจ็บจากกระสุนปืนเช่นกัน แม้ตำรวจปฏิเสธมาตลอดว่าไม่ได้ใช้กระสุนจริงในการสลายการชุมนุม แต่แอมเนสตี้ฯ ระบุในรายงานว่า "เจ้าหน้าที่มีการใช้กระสุนจริงยิงใส่ผู้ชุมนุมบริเวณสถานีตำรวจในพื้นที่กรุงเทพฯ"
  • จับ-ขัง แกนนำ "ราษฎร" : ช่วงปี 2564 มีผู้ถูกดำเนินคดีทางแพ่งและอาญาจากการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างน้อย 1,460 คน และแกนนำผู้ชุมนุม เช่น พริษฐ์ ชิวารักษ์ อานนท์ นำภา ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และภาณุพงศ์ จาดนอก อาจต้องเผชิญโทษจำคุกตลอดชีวิตหากศาลเห็นว่ามีความผิด หลายคนถูกควบคุมตัวโดยพลการและไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างพิจารณาคดี

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ "เพนกวิน" แกนนำกลุ่ม "ราษฎร" ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2565 พริษฐ์ นักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ ถูกคุมขังอยู่นานกว่า 7 เดือน กว่าที่ศาลมีคำสั่งให้ประกันตัวชั่วคราวเพื่อให้เขาได้กลับไปศึกษาต่อ

  • คดี "อัญชัญ" และเผาพระบรมฉายาลักษณ์: ทางการไทยกลับมาใช้กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์อย่างกว้างขวางอีกครั้ง แอมเนสตี้ฯ รายงานว่าระหว่างเดือน ม.ค.-พ.ย. มีผู้ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ไม่ต่ำกว่า 116 คน ในจำนวนนี้เป็นเยาวชน 3 คน รวมทั้งวัยรุ่นหญิงอายุ 14 และ 15 ที่ถูกดำเนินดดีจากการเผาพระบรมฉายาลักษณ์ นอกจากนี้ศาลยังตัดสินจำคุก 87 ปี อดีตข้าราชการหญิงที่รู้จักกันในชื่อ "อัญชัญ" จากการแชร์คลิปเสียงในโซเชียลมีเดีย แต่ศาลลดโทษให้กึ่งหนึ่งเพราะจำเลยรับสารภาพ

  • คดีผู้กำกับโจ้: นายจิระพงศ์ ธนะพัฒน์ เสียชีวิตภายในสถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์จากการถูกทรมานโดยกลุ่มตำรวจ นำโดย พ.ต.อ. ธิติสรรค์ อุทธนผล ผู้กำกับ สภ.เมืองนครสวรรค์ มีหลักฐานจากกล้องวงจรปิดแสดงให้เห็นภาพตำรวจใช้ถุงพลาสติกสีดำคลุมศีรษะนายจิระพงศ์เพื่อทรมานระหว่างถูกซักถามเกี่ยวกับเรื่องยาเสพติด จนนายจิระพงศ์ขาดอากาศหายใจและเสียชีวิต เหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2564

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

พ.ต.อ. ธิติสรรค์ อุทธนผล หรือ "ผู้กำกับโจ้" ถูกควบคุมตัวมาที่กองบังคับการปราบปรามเมื่อ 26 ส.ค. 2564

  • ร่าง พ.ร.บ.อุ้มหาย: เดือน ก.ย. 2564 รัฐสภาให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการทำให้บุคคลสูญหาย ซึ่งนับว่าเป็นความก้าวหน้าด้านสิทธิมนุษยชนในไทย แต่แอมเนสตี้ฯ ยังเห็นว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เช่น ไม่ครอบคลุมการทรมานและการบังคับให้สูญหายโดยความรู้เห็นเป็นใจของรัฐ

  • ส่งกลับนักข่าวเมียนมา-ผลักดันชาวกะเหรี่ยง: แอมเนสตี้ฯ รายงานว่า ภายหลังการทำรัฐประหารในเมียนมาเมื่อ 1 ก.พ. 2564 ผู้สื่อข่าว 3 คนที่หลบหนีเข้ามาไทยถูกทางการไทยจับกุมในข้อหาลักลอบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย นอกจากนี้ยังผลักดันชาวกะเหรี่ยงนับพันคนที่หลบหนีการทิ้งระเบิดทางอากาศของกองทัพเมียนมาให้ข้ามฝั่งกลับประเทศ

  • โควิดในเรือนจำ: ความแออัดละขาดสุขอนามัยในเรือนจำ ทำให้มีผู้ต้องขังติดเชื้อโควิด-19 มากถึงกว่า 87,000 คน และเสียชีวิตอย่างน้อย 185 คน

  • สิทธิการทำแท้ง: รัฐสภาเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยการยุติการตั้งครรภ์ ส่งผลให้การทำแท้งในกรณีที่อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ถูกกฎหมาย และยังมีการลดโทษจำคุกผู้หญิงที่ยุติการตั้งครรภ์ภายหลังอายุครรภ์ครบไตรมาสแรก แต่การทำแท้งหลังอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ยังคงเป็นความผิดอาญา

สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย มีอะไรบ้าง

เนื้อหา.
3.1 การค้ามนุษย์.
3.2 สิทธิทางการเมือง.
3.3 เสรีภาพสื่อ.
3.4 การใช้กำลังเกินกว่าเหตุของกำลังความมั่นคง.
3.5 สิทธิของผู้ต้องหา.
3.6 สิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ.
3.7 การปฏิบัติต่อทหารเกณฑ์.

สิทธิในสังคม มีอะไรบ้าง

4. สิทธิทางสังคม ได้แก่ สิทธิในการได้รับการศึกษา สิทธิในการได้รับหลักประกันสุขภาพ สิทธิในการ สมรส การเลือกคู่ครอง 5. สิทธิทางวัฒนธรรม ได้แก่ สิทธิในการแต่งกายตามวัฒนธรรม การปฏิบัติตามประเพณีวัฒนธรรม ในท้องถิ่น ความเชื่อทางศาสนา การแสดงศิลปะและวัฒนธรรม บันเทิงโดยไม่มีใครบังคับ 1.

สิทธิมนุษยชน มีเรื่องอะไรบ้าง

สิทธิเด่น ๆ ที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สิทธิต่อชีวิต เสรีภาพและความปลอดภัยของบุคคล การศึกษา เสรีภาพทาง ความคิด มโนธรรมและศาสนา เสรีภาพแห่งความคิดเห็น การแสดงออก การมีงานท า การ แสวงหาและได้รับการลี้ภัย ในประเทศอื่น (เป็นต้น)

สิ่งใดที่ถือว่าเป็นหลักการขั้นพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

หลักสิทธิมนุษยชนพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้แก่ มาตรา 4 บัญญัติว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของ บุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง มาตรา 26 บัญญัติว่า การใช้อํานาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคํานึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้