วันที่เจ็ดถือเป็นวันเกิด

วันตรุษจีน

เป็นที่รู้กันดีว่า วันตรุษจีน คือวันปีใหม่ของชาวจีน คนไทยจะติดเป็นความเคยชินว่า วันสิ้นปีหรือวันที่ 31 ธ.ค. แต่ชาวจีนจะนิยมทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่ พอถึงช่วงเทศกาลตรุษจีน จะมีการหยุดงาน หยุดกิจการร้านค้า เพื่อทำพิธีไหว้เจ้าที่ ต้องไหว้ 2 วันซ้อน ซึ่งมีไหว้กลางดึก ซึ่งในช่วงตรุษจีนนี้ ยังถือโอกาสไปเยี่ยมคารวะผู้ใหญ่ญาติมิตรที่เคารพนับถือ และเที่ยวพักผ่อน ซึ่งมีสำนวนของวันตรุษจีน ว่า "วันจ่าย วันไหว้ วันถือ"

ความหมายของวันตรุษจีน

ตรุษจีน เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เพราะชาวจีนถือว่า วันตรุษจีน คือวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินจีน เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ดังนั้นชาวจีนจึงให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้เป็นอย่างยิ่ง และมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนขนาดใหญ่ของคนเชื้อสายจีน ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็จะมีพิธีเฉลิมฉลองแตกต่างกันไป

ตรุษจีนในประเทศไทย

ชาวไทยเชื้อสายจีนจะยึดถือและประเพณีปฏิบัติ คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว วันจ่าย คือวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้ รวมถึงเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ มาไหว้เจ้าที่ ซึ่งจะไปซื้อก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้าน เพื่อหยุดพักผ่อนยาว แต่ละครอบครัวก็จะทำความสะอาดบ้านเรือน อย่างสะอาดสะอ้านสดใส ร้านค้าห้างสรรพสินค้าต่างก็เติมไปด้วยผู้คนมาจับจ่ายใช้สอย ซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้แก่เด็กๆ ซื้อของขวัญให้แก่ญาติสนิทมิตรสหาย ในตลาดก็มีผู้คนไปเดินซื้อผัก ซื้อปลา ซื้อเนื้อสัตว์ ซื้อเป็ดไก่ เด็กๆต่างมีความสุขมาก และสวมเสื้อใหม่ โดยเฉพาะสีแดง หรือชุดกี่เพ้าเพื่อรับกับเทศกาลตรุษจีน และละเล่นพลุประทัดอย่างรื่นเริง

ตรุษจีนต่างประเทศ

ตรุษจีนถูกมองว่าเป็นวันหยุดสำคัญสำหรับชาวจีนเพราะตำนานและประเพณี ตรุษจีนมีการเฉลิมฉลองกันในหลายประเทศไม่ว่าจะเป็นประเทศ จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเก๊า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และ ไทย รวมทั้งเกาหลี (โซลนาล) ภูฏาน และเวียดนาม ซึ่งเทศกาลตรุษจีนถือเป็นงานเฉลิมฉลองที่ยาวที่สุดและสำคัญที่สุด จุดกำเนิดของตรุษจีนนั้นมีประวัติหลายศตวรรษและมีความสำคัญและดินแดนซึ่งมีประชากรจีนอาศัยอยู่มาก รวมทั้งในชุมชนชาวจีนที่อื่น

ประเพณีตรุษจีนทุกครอบครัวจะทำความสะอาดบ้าน เพื่อปัดกวาดโชคร้ายด้วยหวังว่าจะเปิดทางให้โชคดีเข้ามา มีการประดับหน้าต่างและประตูด้วยกระดาษตัดสีแดงเพื่อให้เกิดความ "โชคดี , มีความสุข",ความมั่งคั่ง" และ ชีวิตยืนยาว" ธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่นเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองตรุษจีนนั้น ประชาชนจะเทเงินของตนเพื่อซื้อของขวัญ ของประดับตกแต่ง วัสดุ อาหารและเครื่องนุ่งห่ม

ประวัติวันตรุษจีน

สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของตรุษจีน คือ อั่งเปา หรือ ซองใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย หรือเรียกว่า แต๊ะเอีย ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็ก ๆ ซึ่งจะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว

เชื่อกันว่าประเพณีนี้มีมานานกว่าสี่พันปีแล้ว และเป็นประเพณีที่ถูกจัดขึ้นเพื่อฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิก่อนหน้านั้นไม่ได้เรียกว่าเทศกาลตรุษจีน แต่มีชื่อเรียกต่างกันตามยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็น "ซุ่ย" ซึ่งหมายถึงการโคจรครบหนึ่งรอบของดาวจูปิเตอร์ ต่อมาก็เปลี่ยนชื่อมาเป็นคำว่า เทศกาล "เหนียน" หมายถึงการเก็บเกี่ยวได้ผลอุดมสมบูรณ์ และยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันชุงเจ๋" ซึ่งหมายถึงเทศกาลดูใบไม้ผลิ โดยการกำหนดวันตรุษจีนนั้น ตามประเพณีเทศกาลตรุษจีนจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้ายตามปฏิทินจันทรคติของจีน และถือว่าคืนวันที่ 30 เดือน 12 เป็นวันส่งท้ายปีเก่า

ผู้คนจะเริ่มซื้อข้าวของต่างๆ เพื่อประดับตกแต่งบ้านเรือน และเตรียมทำความสะอาดครั้งใหญ่ ตั้งแต่ชั้นบนลงชั้นล่าง เนื่องจากมีความเชื่อว่าจะเป็นการปัดกวาดสิ่งที่ไม่ดีออกไป ภายในบ้าน ทั้งประตู หน้าต่าง จะประดับประดาไปด้วยสีแดง และกระดาษสีแดงที่มีคำอวยพรให้อายุยืน ร่ำรวย อยู่ดีมีสุข ฯลฯซึ่งเป็นการเตรียมงานเพื่อการเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนโดยจะเริ่มขึ้นตั้งแต่หนึ่งเดือนก่อนวันตรุษจีน

ปฏิทินวันตรุษจีน

วันตรุษจีน พ.ศ.2556 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 / วันจีน 1 (初一) เดือน 1 (正月小) ปีมะเส็ง (蛇)

วันตรุษจีน พ.ศ.2557 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ.2557 / วันจีน 1 (初一) เดือน 1 (正月小) ปีมะเส็ง (蛇)

วันตรุษจีน พ.ศ.2558 ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 / วันจีน 1 (初一) เดือน 1 (正月小) ปีมะแม (羊)

วันตรุษจีน พ.ศ.2559 ตรงกับ วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 / วันจีน 1 (初一) เดือน 1 (正月小) ปีวอก (猴)

วันตรุษจีน พ.ศ.2560 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ.2560 / วันจีน 1 (初一) เดือน 1 (正月小) ปีวอก (猴)

วันตรุษจีน พ.ศ.2561 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 / วันจีน 1 (初一) เดือน 1 (正月小) ปีจอ (狗)

วันตรุษจีน พ.ศ.2562 ตรงกับ วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 / วันจีน 1 (初一) เดือน 1 (正月小) ปีกุน (猪)

วันตรุษจีน พ.ศ.2563 ตรงกับ วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2563 / วันจีน 1 (初一) เดือน 1 (正月小) ปีกุน (猪)

วันตรุษจีน พ.ศ.2564 ตรงกับ วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 / วันจีน 1 (初一) เดือน 1 (正月小) ปีฉลู (牛)

วันตรุษจีน พ.ศ.2565 ตรงกับ วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 / วันจีน 1 (初一) เดือน 1 (正月小) ปีฉลู (牛)

วันตรุษจีน พ.ศ.2566 ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ.2566 / วันจีน 1 (初一) เดือน 1 (正月小) ปีขาล (虎)

กิจกรรมที่ต้องทำวันตรุษจีน

วันแรกของปี จะเริ่มต้นเมื่อหลังเที่ยงคืนของ "วันซาจั๊บ" ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของปี เรียกอีกอย่างว่า "วันถือ" เพราะถือเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ ทุกคนจะพูดแต่สิ่งดีๆ สิ่งที่เป็นมงคลซึ่งกิจกรรมที่คนจีนจะต้องกระทำในเทศกาลตรุษจีนจะเริ่มตั้งแต่ "วันจ่าย" ซึ่งเป็นวันจ่ายตลาดเตรียมข้าวของสำหรับไหว้ในวันรุ่งขึ้น รวมทั้งเป็นวันจ่ายโบนัสให้ลูกจ้าง


ไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ

หลังจากไหว้เจ้าในบ้าน ช่วงเช้าคือ "ตีจูเอี๊ย" ไหว้บรรพบุรุษแล้ว ในตอนเที่ยงจึงไหว้ผีไม่มีญาติ ซึ่งของไหว้จะมีทั้งของคาว-หวาน รวมทั้งเป็ด-ไก่ มากหรือน้อยแล้วแต่ฐานะของผู้ไหว้ และมีเครื่องกระป๋อง ข้าวสาร เกลือ เมื่อไหว้เสร็จจะจุดประทัด จากนั้นจะโปรยข้าวสารผสมเกลือ ขับไล่สิ่งที่ไม่ดีให้หมดไป


รวมญาติกินเกี๊ยว

ทุกคนจะเดินทางมาร่วมโต๊ะกินเกี๊ยว ที่มีลักษณะเหมือนกับ "เงิน" ของจีน มีความหมายว่า ให้มั่งมีเงินทองในวันซาจั๊บ ซึ่งเป็นมื้ออสุดท้ายก่อนขึ้นปีใหม่ ถือเป็นวันรวมญาติอีกวันก่อนตรุษจีน ส่วนในวันชิวอิก คนจีนจะกินเจมื้อแรกของปี เชื่อกันว่าจะได้บุญเหมือนกับกินเจตลอดทั้งปี


ทำพิธีรับ "ไช่ซิงเอี้ย"

เทพเจ้าแห่งโชคลาภ หรือ "ไช่ซิงเอี้ย" เป็นเทพพิทักษ์ทรัพย์ส่วนใหญ่จะทำพิธีระหว่างหลังเที่ยงคืนของวันซาจั๊บจนถึงก่อนตี 1


ห้ามปัดกวาด

ก่อนตรุษจีน จะมีการทำความสะอาดบ้าน ปัดกวาดหยากไย่ครั้งใหญ่เพราะเมื่อถึงวันปีใหม่จะไม่กวาดบ้านจนถึงวันชิวสี่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวันแรกของการเริ่มต้นทำงาน เพราะถือว่าจะกวาดเอาสิ่งที่เป็นมงคลทิ้งไป


คำอวยพรปีใหม่

คำอวยพรที่เขียนจะประกอบด้วยตัวอักษร 7 ตัว ส่วนใหญ่จะอวยพรให้ทำมาค้าขึ้น ให้มั่งมีเงินทอง ติดตามสองข้างประตูบ้าน และติดภาพเด็กผู้หญิง-เด็กผู้ชาย ที่เรียกว่า "หนี่อ่วย" ซึ่งเป็นภาพมงคลของจีน


ใส่เสื้อผ้าใหม่สีสันสดใส

จะเห็นได้ชัดเลยว่า วันตรุษจีน ชาวไทยเชื้อสายจีน ต่างพากันสวมเสื้อสีแดงซึ่งผู้หญิงส่วนใหญ่ จะเป็นชุดกี่เพ้า หรือเสื้อที่เป็นรูปมังกร ซึ่งในปัจจุบันจะมีการดีไซน์สไตล์แฟชั่นในวันตรุษจีนแบบใหม่ๆ ออกมามากมาย

นอกจากนี้ยังมีพิธีไหว้เจ้าเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต และการมอบอั่งเปา ที่ผู้ใหญ่มอบให้ผู้น้อย และพิธีอื่นๆ ซึ่งแต่ละบ้านอาจทำไม่เหมือนกัน

ข้อห้ามในวันตรุษจีน

เพราะวันตรุษจีน ที่ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีน และชาวไทยเชื้อสายจีน คงจะตื่นเต้นกันไม่น้อย เพราะเป็นช่วงที่จะได้พบกับญาติที่ไม่เจอหน้ากันมานาน วันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนทั้งที ที่มีทั้งกิจกรรม คือสิ่งที่ต้องทำ และสิ่งที่ไม่ควรทำ ที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติและข้อห้ามที่สืบทอดต่อกันมาในช่วงตรุษจีน


ห้ามทำความสะอาดบ้าน

การทำความสะอาดบ้าน จะทำกันหนึ่งก่อนวันตรุษจีน เพื่อที่จะให้บ้านสะอาดรับปีใหม่ และใช้บ้านในการต้อนรับแขกที่จะมาเยี่ยมเยียน ในวันตรุษจีน รวมถึงการทิ้งขยะจะเป็นการกวาดเอาโชคลาภ เงินทอง ออกไปจากบ้าน ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวจีน แต่หากจำเป็นจะต้องทำความสะอาดบ้าน ทำได้เพียงกวาดเศษฝุ่นไปไว้ที่มุมบ้าน แล้วค่อยเอาเศษฝุ่นนั้นไปทิ้งในวันต่อไป


ห้ามสระผม

บางคนก็จะไม่สระผม 3 วันหลังจากวันตรุษจีน เนื่องจากคำว่า ผม เป็นคำพ้องเสียงและพ้องรูปกับคำว่า มั่งคั่ง ชาวจีนจึงไม่นิยมสระผมหรือตัดผมกันในวันตรุษจีน การสระหรือตัดผมในวันตรุษจีน จึงเหมือนกับการนำความมั่งคั่งออกไป

ห้ามพูดคำหยาบ

การพูดสิ่งที่ไม่ดีในวันนี้ จะนำความโชคร้ายมาให้ตลอดทั้งปี ซึ่งในวันตรุษจีน คนจีนจะงดพูดคำหยาบและสิ่งที่ไม่ดี รวมไปถึงการพูดถึงความตายหรือผี รวมถึงการที่ไม่พูดถึงเลข 4 เนื่องจากเลข 4 ในภาษาจีน ออกเสียงคล้ายกับคำว่า ตาย


ห้ามซักผ้าในวันตรุษจีน

คนจีนเชื่อว่า การซักผ้าในวันตรุษจีนจึงเปรียบเสมือนการลบหลู่เทพเจ้าแห่งน้ำเกิดในวันตรุษจีน ส่วนเสื้อผ้าที่เป็นสีขาวดำ เป็นสัญลักษณ์ของความตาย หมายถึงลางร้าย คนจีนจึงมักสวมเสื้อผ้าสีแดง เพราะเป็นสีที่จะนำความโชคดีมาให้


ห้ามให้ยืมสิ่งของ

การให้ยืมเงินในวันนี้จะทำให้ทั้งปีมีคนเข้ามาขอยืมเงินตลอด รวมไปถึง หากใครที่ติดเงินใครไว้ ก็ควรที่จะคืนเงินก่อนวันตรุษจีน และการที่ไม่ให้ยืมสิ่งของต่าง ๆ นอกเหนือไปจากเงินเพราะเชื่อกันว่า หากติดเงินใครในวันตรุษจีนแล้ว คน ๆ นั้นก็จะมีหนี้สินตลอดปีไม่จบไม่สิ้น

นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามอีกมากมาย ที่ยึดถือกันมา จนถึงรุ่นลูก รุ่นหลานสืบต่อไป ไม่ว่าจะเป็น ห้ามทำของแตก ,ห้ามซื้อรองเท้าใหม่, ห้ามร้องไห้ , ห้ามใช้ของมีคม , ห้ามเข้าไปในห้องนอนคนอื่น ฯลฯ ซึ่งแต่ละบ้าน อาจจะมีวิธีปฏิบิติข้อห้ามหรือกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป

แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมวันตรุษจีน

ถือได้ว่า เทศกาลตรุษจีนเป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ของชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวจีนทั่วโลก ซึ่งจะมีการไหว้ 3 สิ่ง คือ 1.ไหว้พระไหว้เจ้าต่างๆ ในบ้านเรา ไหว้ทีกง ในฐานะผู้สร้างสรรพสิ่ง ไหว้ปึงเท้าในฐานะผู้คุ้มครอง ไหว้ตี่จู่เอี๊ยในฐานะเจ้าที่ของบ้าน รวมถึงพระพุทธบนหิ้ง ศาลพระภูมิเจ้าที่ตั้งแต่เช้า ไหว้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ และไหว้ผีไม่มีญาติ ตกค่ำคืนสิ้นปีจึงไปไหว้พระวัดที่วัด เจ้าที่ศาล


ไหว้เจ้า

แม้ฟังดูทั้งพระและเจ้า ที่ไหว้มีมากมายเหลือเกิน แต่คนจีนมีเจ้าและมีพระที่นับถือเยอะมาก เช่น เทพโชคลาภ เทพคุ้มครอง เทพการศึกษา เทพการค้า ฯ สิ่งสำคัญคือนี้เป็นวิธีการสอนคนให้รู้จักความกตัญญู ความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ทนงตน


ของไหว้เจ้า

ของไหว้จะมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับ ฐานะของแต่ละบ้าน บางคน ใช้กับข้าว 8 อย่าง หรือ10 อย่างหรือตามขนาดและจำนวนสมาชิกของครอบครัว การไหว้ตามประเพณีที่ต้องจัด เนื้อสัตว์ 3 ชนิด ผลไม้ 3 อย่าง ฯลฯ เป็นสิ่งดีจากคนโบราณ ซึ่งเป็นผลไม้ชื่อมงคล รวมถึงการตั้งใจไหว้ด้วยจิตใจที่ดีย่อมเป็นมงคลเช่นกัน


จัดงานที่เยาวราช

การงานตรุษจีนเยาวราชไชน่าในแต่ละปีที่ผ่านมามีผู้คนไปร่วมงานกันอย่างคับคั่งและมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีเหล่านี้ของคนรุ่นลูก รุ่นหลาน ต่อไป ซึ่งที่เยาวราช ก็จะมีกิจกรรมทุกปี มีทั้งแบบแจกฟรี และจำหน่าย แต่ที่คนไปเยอะที่สุดก็เห็นจะเป็นการไว้พระที่วัดเล่งเน่ยยี่ ที่มีเหล่าเทพเจ้าของชาวจีน ซึ่งในวันตรุษจีน จะเต็มไปด้วยผู้คนมากมาย

การจัดไหว้ตรุษจีนนั้นขึ้นอยู่กับฐานะ และการรับสืบทอดของแต่ละที่เห็นว่าพ่อแม่ทำมาอย่างไร ก็แนะนำว่าให้ทำไปตามท่าน ถ้าเราไม่รู้ไม่ต้องทำก็ไม่ผิด แม้บางอย่างมันต้องสูญหายไปบ้างมันเป็นสัจจะธรรม กับลูกหลานชาวจีนสมัยนี้ เรื่องการไว้เจ้าในวันตรุษจีน หลายบ้านที่ไม่เคร่ง ส่วนใหญ่จะไม่บังคับ เพียงทำหน้าที่ให้ความเข้าใจ เมื่อเขาถามเรื่องเหล่านี้ ก็ต้องมีคำตอบให้ การมีเหตุผลที่ทำให้เกิดมุมสะท้อนให้เด็กรุ่นใหม่ได้เห็นความสำคัญ ของวันตรุษจีน หากมีความเข้าใจ ก็คงจะคิดจะสืบสานต่อไปกันเอง