เหตุผลของการเลือกจันทบุรีเป็นฐานทัพกอบกู้เอกราช ครั้งที่ 2

��ѹ����Ք �����Ҩ��繨ѧ��Ѵ��������觷����Ҥ���ѹ�͡�ͧ�¡��� ����������¤�����ҷ������ըش�֧�ٴ㨹ѡ��ͧ�������ʶҹ����ͧ����ǵ�������ҵ����ҧ���� ���� ���͹�ӵ���ҹ�� �����ͧ�ѹ���ѧ�ջ���ѵ���ʵ������ǹҹ ������ʹ���㹵���ͧ����������

������Ҷ֧�ѹ����� ���ͧ����ѡ����������稾����ҵҡ�Թ����Ҫ ������ѭ�ѡɳ�ͧ���ͧ�ѹ�� �˵ط���Ǩѹ��������ҧ�����觹���� ���ͧ�ҡ���稾����ҵҡ�Թ�������ͧ�ѹ���繰ҹ���ѧ�Ӥѭ㹡�áͺ����͡�Ҫ�������¡�ا�����ظ�Ҥ��駷�� 2 �ҡ��ҹ�����Ό�ŧ�ͧǧ���Һ�� �礧�¿ѧ�ŧ ���ҵҡ� �����������ŧ����ٴ�֧����ѵ���ʵ��ѧ���������蹡ѹ

��ѡú ��͹ѡú �ѡ�����觡�ا���� �ս�ҷѾ�ͧ�� ���������������Ӥѭ �׹���ѹ�����Ѻ��� �ˡŧ�ǧ���� �����͡�Һ��ا���� ���ҵ����ͧ�ѹ��
��ִ���ͧ�ѹ����� �繪�������ҵҡ �ժ�������ҧ� ����ҽҧ���ᵡ�
��ҡ��ظ�� �����ͧ�ѹ����� �ҡ�ا������ �¨֧���͡�Ҫ�
�ҡ�ҧ��ǹ��ŧ ��ҵҡ �ͧ���Һ�� ���׹§ ���ҡ�� ����оѹ��

�����觹��֧������͹����ʴ������١�ѹ�����ҧ�����ҵҡ�Ѻ������ͧ�ѹ�� ��觷ء��ѹ���ժ�����ͧ�ѹ�� ��йѡ��ͧ������Թ�ҧ���ѡ���дǧ����ԭ�ҳ�ͧ��ҹ���ͤ����������������ҧ������ͧ �ѧࡵ��ҡ���蹸ٻ ��Ф�ѹ��¹���ͺ���������ҧ

�����觷���дش�ҹѡ��ͧ����ǡ��� ��ŷç���������� ���ҧ�����Թ��͹ ��ѧ�����ٻ��������ʹ���� �����վ�к���ٻ���稾����ҵҡ�Թ����Ҫ��зѺ��觷ç���ͧ ��ʶһѵ¡��������§�����ҧ���

�ҡ�оٴ�֧��Ҿ�ҡ�Ȣͧ�����Ѻ��Ҥ�͹��ҧ����ط��� ������ʺ�·����� �Ҩ�����������ҡ����Өѹ����ի��������ӷ��Ҵ��ҹ��ҧ���ͧ������ ������������������ ���ͧ��蹪�������ͧ�ѹ������¡ѹ�ѡ���������¹����������Ҵ��������ӡ�ҧ���ͧ�������·���������
�ʹ���ͧ������ͧ�ѹ���鹤�����������������ͧ����˹�ͧ͢����Өѹ����� �ѹ�����觻���ѵ���ʵ�����Ӥѭ ��������������ǡ�����§�ѹ����ö�Թ�������ҧ��Թ�� �����Ҩ������ҡ�ҧ�ѧ��Ѵ��ѧ��ҫ����ʶһѵ¡���Ẻ������� ����ͧ�Ѻ������稾����ҵҡ�Թ����Ҫ �����ҧ���������Ѫ��ŷ�� 6 �����ѧ������ʶ͹���ѧ�͡�ҡ�ѹ�����

���ͨ����Ѵ�ʶ����ͧ �ѹ���Ѵ�����������ظ�ҵ͹���·�����ҧ�٧�ҡ��鹶��������� ��ͧ�Թ��鹺ѹ�� ���ͪ��շѺ��ѧ��Żкһǹ����ѧ����ҡ����ٻ��ҧ����ç������� ����ҡ�������Ѵ�������蹴��µ�����˭�

��ǹ�ʶ���觷���Ѵ����л��ʹ�Թ���� ������ʶ�����������§����鹡����蹵��˧�ҹ�Ǵ������ѧ����������ѹ��������� �ʶ�ѧ��������ʶ�ͧ��Ǥҷ��ԡ ����ʶһѵ¡���Ẻ⡸ԡ������ٻẺ���Ѳ�Ң���Ҩҡ�ҧ�͹�˹�ͧ͢������� ˹�ҵ�ҧ�� ��дѺ��Ш��շ�����ٻ�ѡ�ح��ҧ� �������©���ͺ����ʶ� ��¨���Ҩ����繩ҡ�觧ҹ��Ф������

�ʹ����ա���ҧ˹�觢ͧ���ͧ�ѹ����ͧ¡������ʧ���º����Զժ��Ե���º���¢ͧ��餹����� ��੾�����ҹ������������� �������ǡ�������Ҵ��ҧ ����dz����آ��Ժ�� �����ҹ�����ǧ ����պ�ҹ���͹���ѡɳ���ͧ�ǵԴ�ѹ ������ء���ҹ������ �Դ�Ѻ��������Ѵ㹡�ا෾� ���ҧ����ԧ

���ҹ�����ҹ�� ���ժ�Ǩչ��Ъ�ǭǹ������������ҧ˹��� �����ǹ�˭�Ѻ�����ʹҤ��ʵ�ԡ�¤ҷ��ԡ ��ҹ���͹����ǡ��������ء������»� ��С�����ҧ��ҹ���͹�ͧ�ҡ�����͡�ѡɳ�ͧ�����������ѡɳФ���¤�֧�ѹ ��蹤�� ���Ҥ�ä͹��յ �ի�����е��� �ҹ˹�ҵ�ҧ��дѺ��©���������ѡ ��ѧ���ا���¡�����ͧ���� ��§���š�ҹ�Ҫ���ԧ�

�͡�ҡ��ùѺ�����ʹҤ��ʵ����� ������ҧ��ҹ�¼�������蹹����ѹ��ɰҹ��Ҥ����Ѻ�Է�Ծ��Ҩҡ�ҵԵ��ѹ���蹡ѹ ���ͧ�ҡ������Ѫ��ŷ�� 5 �������������ִ��ͧ�ǹ������ ������ҧ�Է���˹�ʹԹᴹ��觫��������⢧�ͧ�� �֧�Դ�óվԾҷ������¡�ѹ��� �˵ء�ó� �.�.112 ��� ������ǡѹ�����������蹢�����¡��ͧ�����¡�Թᴹ��觫��������⢧ ��������Թ��һ�Ѻ�ӹǹ 2 ��ҹ��ѧ�� ������ִ���ͧ�ѹ���������繻�Сѹ�����ҧ �.�.2436-2447 ������»�ԺѵԵ���ѭ������ ������ʨ֧����͹�����͡� ������ǡ�Ѻ�Ժ�շ�����ͧ�ѹ�쵡�����������û���ͧ�ͧ������� �֧������š㨷�������ͧ�ѹ������Ѻ�Է�ԾŨҡ�ҵԴѧ������ҡ���������Թ

�Ҫվ�ͧ��餹��ҹ�����ҷ���Թ�� ���к�ҹ���ѡ�Ф�Ң���������� �����ҹ������� ��ҹ����� ��ҹ�Ѵ�� ��ҹ��Ӫҡ�� ��ҹ�Ѵ����� ����繡Ԩ������㹤�ͺ�����������Ҽ���������ҹ�����ҧ����˧�

��駹���ѧ�������֧ �Ҫվ������ù�¾��·��ӡѹ������ͺ�ء��ҹ�ҹ�����Ժ�� �������繢ͧ�������Թ��һ�ШӨѧ��Ѵ�ѹ���������� ���㹪�ǧ�ء�� ����� �ҷԵ�����յ�Ҵ��������Թ���͡���͡ѹ���ҧ�֡�ѡ ��੾�����ҧ��觺���dz����ѭ��շ�����������ҧ�ҡ��ҹ����ҡ�ѡ

�������Ѻ�����ʹء�Ѻ����Ѻ��зҹ �����ᶺ����������� ��Т����� �ʪҵԴ��ҡ���������͡����ѹ���� ��駡����������ҳ ����»���Ҵ��ӡз���ҹ�ѹ �������º�ҡ���ͷ��������ʹ����� �����ԧ����ǹ �繵�

�ҡ�÷������������ͧ�ѹ��������ҡ����¹����ҡ�Ȩҡ��÷�ͧ����֡�Ҹ����ҵ��ͧ������¹���Թ������ͪ�蹪� ����������Ҿʹյ�ͧ���ͧ�ѹ��ٺ�ҧ��д������� ���з�������ҡ���Ҥ���һ���ѵ���ʵ���ԧ�

***********************
��ä�շ�ͧ����ǹ����¹�������͸ѹ�Ҥ� 2545 ���·���¡�÷�ͧ����������´�·��������Ҿ��Сͺ ��������͡�͹����ջѭ�ҫ��͡��ͧ�����ٻ �������¤Դ�ҡ�͹��ҡ���Թ�ҧ����ҹ���ѹ���դس����ҡ��������Ҽ�ҹ���...

  • หน้าแรก
  • ประวัติความเป็นมา
  • ปรัชญา/วิสัยทัศน์/พันธกิจ
  • โครงสร้าง
  • หน้าที่
  • บุคลากร
  • ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
  • แผนพัฒนาบุคลากร
  • แผนปฏิบัติราชการ/งบประมาณ
  • แผนยุทธศาสตร์
  • แผนปฎิบัติงาน
  • สถาบันการศึกษา 3D
  • ภาพกิจกรรมสำนักฯ
  • ภาพผู้เข้าเยี่ยมชมวังฯ
  • ประกันคุณภาพ
  • ศิลปวัฒนธรรมสาร
  • เมืองจันท์น่ารู้
  • วังสวนบ้านแก้ว
  • คู่มือ/แนวปฏิบัติการ
  • หน่วยอนุรักษ์
  • กระดานข่าว
  • เว็บไซต์ลิงค์
  • สำหรับผู้ดูแลระบบข่าว
  • สำหรับผู้ดูแลระบบภาพกิจกรรม
  • สถาที่ตั้ง/ติดต่อ
  • รำไพฯ

Untitled Document Untitled Document

QR Code

Untitled Document
Untitled Document

ย้อนรอยเมืองจันทร์

ถอดรหัส

กกและเสื่อจันทบูร

บุรุษเผาพลอย

อาหารพื้นเมือง

ชาติพันธ์

ประเพณีความเชื่อ

ผลไม้เมืองจันท์

วัฒนธรรมพื้นบ้าน

สมุนไพร

"ย้อนรอย" เมืองจันทบุรี

อาคารถนนสุขาภิบาล บริเวณบ้านท่าหลวง ปี 2447

ตลิ่งสูงชันของแม่น้ำจันทบุรี บางดอนในฤดูแล้ง

บ้านเรือนริมแม่น้ำจันทบุรี บริเวณบ้านลุ่ม (ท่าหลวง) ปี 2440


สมเด็จพระจุลจอมเกล้า เสด็จประทับเรือพระที่นั่งลำเล็ก
เพื่อเข้าคลองบางกะจะ เมือปี 2419

        เมืองจันทบุรีมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบันได้ผ่านกาลเวลามาหลายพันปี ตลอดเวลาที่ผ่านมามีทั้งเรื่องที่น่าตื่นเต้น ตกใจ และน่าดีใจ ถ้าเปรียบกับ นวนิยายก็เป็นนวนิยายที่เต็มไปด้วยสีสัน หลากหลายรส บทความนี้ จะพาท่านย้อนรอยเกี่ยวกับที่ตั้งของเมืองจันทบุรี ตั้งแต่มีการค้นพบหลักฐานมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
       
 ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองจันทบุรีเท่าที่ค้นพบหลักฐานจัดอยู่ในยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 2,000 - 3,000 ปี ทั้งนี้ได้มีการค้นพบหลักฐานใน 3 บริเวณ คือ อำเภอมะขาม เขาวง อำเภอท่าใหม่ และบ้านคลองบอน อำเภอโป่งน้ำร้อน ที่อำเภอมะขามค้นพบเครื่องมือหินขัด และเครื่องปั้นดินเผา บริเวณที่พบที่บ้านคลองบอนเป็นที่ราบเชิงเขา ซึ่งเป็นชุมชนค่อนข้างใหญ่ มีแหล่งน้ำและร่องน้ำที่อุดมสมบูรณ์ บริเวณใกล้เคียงพบถ้ำจำนวนมาก ชาวบ้านบริเวณนั้นพบขวานหินขัด เศษภาชนะดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ประเภทหินวางเรี่ยราดอยู่ในถ้ำ สันนิษฐานว่าบริเวณดังกล่าวแต่เดิมคงเป็นที่อยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมาได้อพยพมาอยู่ที่ราบ ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณที่ราบพบลำธาร แอ่งน้ำตามแนวร่องน้ำพบหินกรวด และมีร่องรอยหินที่มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์เลือกมากระเทาะทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น ขวานหินขัด กำไลหิน เครื่องมือหินสำหรับขุดดิน นอกจากนี้บนพื้นที่ราบพบเศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบกระจายอยู่ทั่วไป
       
ยุคประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองจันทบุรีเท่าที่ค้นพบหลักฐาน อยู่ในช่วงประมาณ พุทธศตวรรษที่ 12 คือ ปลายสมัยฟูนันได้ค้นพบเมืองโบราณเก่าแก่ที่ได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียมากว่า พันปีแล้ว ชาวบ้านเรียกว่าเมืองเพนียดบ้าง เมืองนางกาไวบ้าง ที่ตั้งเมืองโบราณกินบริเวณบ้านเพนียด บ้านสระบาป ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง ตั้งอยู่บนที่ราบลอนลูกคลื่น ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ 1 กิโลเมตร ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร ในบริเวณดังกล่าวได้พบโบราณสถาน โบราณวัตถุที่เป็นสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และเศษภาชนะดินเผาจำนวนมาก หลักฐานดังกล่าวมีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ถึงพุทธศตวรรษที่ 18 ซึ่งจัดเป็นศิลปะศาลาปริวัติ จนถึงยุคบายน
       
 จากหลักฐานดังกล่าวข้างต้น สันนิษฐานว่าพวกฟูนันหรือขอมได้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน สร้างบ้านเรือน และศาสนสถานในเมืองจันทบุรี ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา เป็นพวกที่เดินทางเข้ามาทางเรือ นับถือศาสนาฮินดู พวกนี้อาศัยอยู่ตามที่ราบแนวคลองนารายณ์ และคลองสระบาป เป็นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่ระหว่างแม่น้ำจันทบุรีและเวฬุ สามารถติดต่อกับชุมชนอื่นได้สะดวก และสามารถออกทะเลได้ ฉะนั้นชุมชนดังกล่าวนอกจากจะมีชาวพื้นเมือง คือ พวกชองแล้ว คงมีคนชาติอื่นเข้ามาอาศัยด้วย เช่น อินเดีย พ่อค้าชาวฟูนัน เจนละ ขอม เนื่องจากร่องรอยโบราณ วัตถุที่พบเป็นลักษณะผสมผสาน ระหว่างวัฒนธรรมพื้นเมืองและวัฒนธรรมที่ได้รับจากอินเดีย ในสมัยที่ขอมเรืองอำนาจ เมืองจันทบุรีอาจจะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของขอมเรื่อยมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏคือ การสร้างเพนียดไว้คล้องช้าง หรือขังช้าง การปรับเปลี่ยนศาสนสถานสมัยก่อนเมืองพระนคร ในเขตวัดทองทั่วให้เป็นปราสาท และศาสนสถานขอมสมัยเมืองพระนครมีทับหลัง และเสากรอบประตูแปดเหลี่ยมตลอดจนรูปเคารพ เช่น เทวรูปขอม ศิลาจารึกสมัยเมืองพระนคร ที่เมืองเพนียดที่สรรเสริญกษัตริย์แห่งกัมพูชา และการออกระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับชนชาติต่าง ๆ นับตั้งแต่สามัญชน ขุนนาง เจ้านาย นักบวชพราหมณ์ ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับศาสนสถาน พิจารณาจากที่ตั้งเมืองเพนียด คงเป็นเมืองท่าค้าขายทางทะเลที่สำคัญ เป็นเมืองท่าและรับซื้อสินค้าของป่าที่มาจากแผ่นดินทางตะวันออก แถบเทือกเขาบรรทัด ในขณะเดียวกันเป็นเมืองท่าที่นำ สินค้าจากเมืองไกลเข้าสู่แผ่นดินตอนในด้วย โดยเห็นได้จากร่องรอยเส้นทางโบราณจากจังหวัดจันทบุรีไปยังอำเภออรัญประเทศ เข้าสู่กัมพูชาทางตะวันออก เข้าสู่จังหวัดปราจีนบุรีทางทิศเหนือบริเวณดังกล่าวได้พบปราสาทหินแบบเขมร และจารึกตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา นอกจากนี้ในเขตบ้านสะพานหก ตำบล ทับช้าง กิ่งอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ได้พบแหล่งฝังศพ มีไห ถ้วยชามจีนสมัยราชวงศ์หยวน อิฐเป็นจำนวนมากฝังอยู่ ภายในมีไห มีหอกเหล็ก เครื่องประดับสำริด ลูกปัดแก้ว เครื่องถ้วยชามเหล่านี้คงจะนำมาจากเมืองเพนียด การเป็นเมืองท่าที่สำคัญทางการค้าคงจะทำให้ร่ำรวยจนสามารถสร้างศาสนสถานใหญ่โตได้ เมืองเพนียดนอกจากเป็นเมืองท่าที่สำคัญแล้วคงเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาควบคู่กันไป หรือเป็นเมืองของบรรพบุรุษที่ลูกหลานจะต้องเคารพบูชาให้ความสำคัญเพราะหลักฐานที่ปรากฏจะเป็นศิลปกรรมที่มีฝีมือสูง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของจันทบุรีในอดีต จากหลักฐานที่ปรากฏ ชุมชนเหล่านี้คงจะอยู่ใต้อิทธิพลขอมเรื่อยมาจนกระทั่งถึงพุทธศตวรรษที่ 18 เนื่องจากศิลปแบบบายนเป็นศิลปะขอมรุ่นสุดท้ายที่ปรากฎในเมืองจันทบุรี ภายหลังจากนี้เชื่อว่าเมืองจันทบุรีคงจะเป็นศิลปะรุ่นสุดท้ายที่ปรากฏในเมืองจันทบุรี ภายหลังจากนี้เชื่อว่าเมืองจันทบุรี คงจะเป็นอิสระจากอิทธิพลของขอม เมืองจันทบุรีเมื่อเป็นอิสระแล้ว ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าขึ้นอยู่กับสุโขทัยหรือไม่ ในสมัยอยุธยาอาณาจักรไทยทางฝ่ายใต้ ซึ่งมีราชธานีอยู่ที่เมืองสุพรรณบุรี (เมืองอู่ทอง) เข้ายึดเมืองจันทบุรีไว้ได้ เมืองจันทบุรีจึงถูกรวบรวมเข้ากับอยุธยาเรื่อยมา ทั้งนี้ปรากฏหลักฐานเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ. 1893 ทรงประกาศว่ากรุงศรีอยุธยามีประเทศราช 16 หัวเมือง ซึ่งมีเมืองจันทบุรีอยู่ด้วยเมืองหนึ่ง
      
 เมืองจันทบุรีในสมัยอยุธยาเป็นเมืองขึ้นกับกรมท่าชั้นนอก เป็นเมืองที่มีความสำคัญทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ดังปรากฏหลักฐานดังนี้
       
ความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ จดหมายเหตุของบาทหลวงเดอ ชัว ซีย์ รายงานว่าเมืองจันทบุรีเป็นเมืองท่าสำคัญทางชายทะเลตะวันออก มีสินค้าที่สำคัญ คือ พริกไทยและของป่าต่าง ๆ มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศจีน ลาว กัมพูชา และเกาะต่าง ๆ สมบูรณ์ไปด้วยงาช้าง ข้าว พริกไทย ครั่ง ยาสูบ หนังสัตว์ ฝ้าย การบูร ขี้ผึ้ง ดีบุก ไม้มีค่า ไข่มุก เพชรพลอย
      
 ความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์ เป็นเมืองที่คอยควบคุมเขมร ดังปรากฏในพระราช-พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศว่า ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกกองทัพไปตีเขมรพระองค์ทรงให้กองทัพเมืองจันทบูรคุมเรือ 150 ลำ ไปตีเขมร ปรากฏว่าเขมรถูกตีแตกยับเยิน ได้กวาดต้อนผู้คนลงมาถึง 30,000 คน ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199 - 2231) เขมรเกิดจลาจล ทั้งไทยและญวนต่างเข้ามาแทรกแซง นับตั้งแต่นั้นมาเขมรกลายเป็นดินแดนกันชนระหว่างไทยกับญวนเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองจันทบุรีกลายเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ในการส่งข่าว เหตุการณ์ในเขมรและญวนให้ทางส่วนกลางทราบและเป็นเมืองหน้าด่านทางตะวันออกที่คอยป้องกัน การรุกรานของเขมรและญวน ดังนั้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สันนิษฐานว่าทรงให้สร้างกำแพงเมืองป้อมคูเมืองหอรบตามแบบตะวันตกที่บ้านลุ่ม ปัจจุบันยังคงมีหลักฐานหลงเหลืออยู่บริเวณค่ายตากสิน ที่ตั้งของตัวเมืองจันทบุรีแห่งที่ 2 สันนิษฐานว่าน่าจะย้ายจากเมืองเพนียด ตั้งแต่ขอมหมดอำนาจในพุทธศตวรรษที่ 18 มาตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านหัววัง ตำบลพุงทะลาย (ปัจจุบันคือตำบลจันทนิมิต)ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจันทบุรี ทั้งนี้คงจะเป็นเพราะเมืองเดิมมีภูเขา และแม่น้ำกระหนาบอยู่ไม่สามารถขยายเมืองให้ใหญ่ได้และคงจะเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ เดิมตัวเมืองคงจะตั้งใกล้ทะเลลึก เรือเดินทะเลเข้าจอดได้สะดวก ต่อมาฝั่งทะเลขยายตัวออกไป การเดินเรือไปยังตัวเมืองคงไม่สะดวกจึงจำเป็นต้องย้ายจากทะเลไปหาที่ตั้งใหม่ บริเวณตัวเมืองที่บ้านหัววัง ได้พบหลักฐานที่เป็นชุมชนเก่าแก่ มีร่องรอยศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ค้นพบใบเสมาหลายชิ้น และยังมีแนวคันดินที่ปรากฏร่องรอยให้เห็น ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวได้มีราษฎรเข้าไปสร้างบ้านเรือนอาศัยหมดแล้ว ที่ตั้งของเมืองจันทบุรีแห่งที่ 3 สันนิษฐานว่าย้ายจากหัววัง ตำบลพุงทะลายมายังบ้านลุ่มฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรีประมาณพุทธศตวรรษที่ 23 ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2133 - 2148) ดังที่นิโคลัส เจอร์แวส (Nicolas Gervis) ผู้เขียนเรื่องเมืองไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวถึงจันทบูร (Chanou Moeung Hang) ผู้มีฉายาว่าพระองค์ดำ ซึ่งเป็นผู้สร้างพิษณุโลกได้เป็นผู้ก่อตั้งเมืองนี้บนฝั่งแม่น้ำสายหนึ่ง ซึ่งมีชื่ออย่างเดียวกัน จันทบูรเป็นเมืองชายแดนของเขมร อยู่ห่างจากฝั่งทะเล เป็นระยะทางวันหนึ่งเต็ม ๆ  สาเหตุการย้ายจากบ้านหัววัง ตำบลพุงทะลายมายังบ้านลุ่ม คงจะเนื่องจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเล็งเห็นความสำคัญของเมืองจันทบุรีทางยุทธศาสตร์ ดังปรากฏหลักฐานการสำรวจของ พีรพน พิสณุพงศ์ ระบุว่า ที่เดิมเป็นที่ราบ ค่อนข้างลุ่ม มีน้ำท่วมขัง เมืองมีความคับแคบ ส่วนที่ใหม่เป็นที่ราบลาดสูงชัน เหมาะในการเป็นที่อาศัยและป้องกันเมือง เนื่องจากอยู่ห่างจากแม่น้ำจันทบุรีประมาณ 500 เมตร โดยมีหล่มคั่นอยู่ทางทิศตะวันออก ส่วนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวเมืองเป็นคลองท่าสิงห์ และคลองท่าช้าง ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำจันทบุรี ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองที่เป็นหล่มป่าชายเลน น้ำเค็ม ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตก 1 กิโลเมตร มีคลองน้ำใสไหลจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองผ่านป่าชายเลนน้ำเค็มไปออกแม่น้ำจันทบุรีทางทิศใต้ลักษณะของภูมิศาสตร์ทางบ้านลุ่มดังกล่าว จึงเหมาะที่จะเป็นที่อยู่อาศัย และการป้องกันเมือง สำหรับเมืองจันทบุรีที่บ้านลุ่มนี้ตั้งเป็นที่ทำการของเจ้าเมืองมาจนกระทั่งถึง พ.ศ.2378 ในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองจันทบุรีสมัยกรุงธนบุรีเป็นเมืองที่มีความสำคัญ ในฐานะที่เป็นฐานสำคัญในการ กอบกู้เอกราชจากพม่า การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเลือกเมืองจันทบุรีเป็นแหล่งพักฟื้น รวบรวมพล เสบียงอาหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ เพื่อกอบกู้เอกราช มีเหตุผลหลายประการคือ
     
1. ด้านยุทธศาสตร์ เนื่องจากที่ตั้งของเมืองจันทบุรีเป็นเมืองสำคัญ ชายทะเลตะวันออกที่สามารถติดต่อกับเมืองอื่น ๆ ได้สะดวก เช่น หัวเมืองปักษ์ใต้ เขมร ถ้ามีปัญหาในการทำสงครามสามารถหลบหนีได้ง่าย
     
2. ด้านเศรษฐกิจ เมืองจันทบุรีเป็นเมืองท่าที่สำคัญ และเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ ฉะนั้นจึงสามารถรวบรวมเสบียงอาหารได้ง่าย ประกอบกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเคยเสด็จมา ค้าขาย ฉะนั้นจึงมีความชำนาญในเส้นทางดังกล่าว และพระองค์คงมีมิตรที่เป็นพ่อค้า ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการรวบรวมพลเพื่อกอบกู้เอกราช
     
3. ด้านเชื้อชาติ เนื่องจากเมืองจันทบุรีมีชาวจีนแต้จิ๋วจำนวนมาก ซึ่งเป็นเชื้อชาติเดียวกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทำให้พระองค์ได้รับความช่วยเหลือจากกลุ่มชนเหล่านี้ ในการกอบกู้ เอกราช
       
ในระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาตกอยู่ในวงล้อมของพม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยศในขณะนั้นคือพระยาวชิรปราการ ได้รวบรวมสมัครพรรคพวกได้ประมาณ 500 คน ยกออกจากกรุงศรีอยุธยาทางด้านตะวันออกในวันเสาร์เดือนยี่ ขึ้น 6 ค่ำ ปีจอ พ.ศ.2309 มุ่งไปทางเมืองนครนายก เมืองปราจีนบุรี เมืองฉะเชิงเทรา เมืองชลบุรี และเมืองระยอง หลังจากที่ตีเมืองระยองได้แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ตั้งตนเป็นรัฐอิสระ ในขณะนั้นเนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น ได้มีหนังสือบอกมาให้พระยาจันทบุรียอมอ่อนน้อม ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ทำให้พระยาจันทบุรี แข็งข้อต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเพราะมีกำลังเหนือกว่า และได้รับการสนับสนุนจากกรมการเมืองระยอง พระยาจันทบุรี ได้หาทางกำจัดสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยนิมนต์พระสงฆ์ 4 รูป นำเสด็จสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจากเมืองระยอง พระองค์ได้เดินทัพเข้าจันทบุรี โดยทางบกใช้เวลา 5 วัน ถึงบ้านพลอยแหวน ตำบลบางกะจะ ซึ่งเป็นที่ตั้งชุมชนของชาวจีนที่มีขนาดใหญ่ พระองค์ได้ทราบข่าวว่า พระยาจันทบุรีมีความประสงค์ร้ายต่อพระองค์ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีตอนหนึ่งว่า
       
 ฝ่ายพระยาจันทบุรี จึงให้หลวงปลัดกับขุนหมื่นมีชื่อ ออกมานำทัพเป็นอุบายให้ กองทัพหลวงเลี้ยวไปทางใต้ตัวเมือง จะให้ข้ามน้ำไปฟากตะวันออกแล้วจะยกพลทหารออกโจมตีเมื่อข้ามน้ำ ครั้นทรงทราบจึงให้นายบุญมี มหาดเล็กขึ้นม้าควบไปห้ามทหารกองหน้ามิให้ไปตามหลวงปลัดนำนั้นให้กลับข้างขวางตรงเข้าประตูท่าช้าง เสด็จประทับพลตำบลวัดแก้ว ริมเมืองจันทบุรี จึงให้พลทหารตั้งกองทัพรอบพระวิหารวัดแก้ว ซึ่งเสด็จประทับอยู่นั้น"
       จากข้อความในพระราชพงศาวดารข้างต้น กองทัพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อหยุดตั้งทัพที่บ้านพลอยแหวน ตำบลบางกะจะแล้ว ได้ยกทัพมายังตัวเมืองทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ ตามอุบายของพระยาจันทบุรีจะเข้าโจมตีเมื่อกองทัพข้ามน้ำไปฟากตะวันออก คงจะหมายถึงข้ามแม่น้ำจันทบุรีไปทางตะวันออก แต่พระองค์ทรงทราบอุบายเสียก่อน จึงให้นายบุญมี มหาดเล็กไปห้ามมิให้ทหารกองหน้าเดินตามหลวงปลัดกลับตรงเข้าประตูท่าช้าง ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือ ได้ประทับพลที่ตำบลวัดแก้ว ริมเมืองจันทบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ยื่นคำขาดให้พระยาจันทบุรีออกมาเจรจากันนอกตัวเมือง แต่ พระยาจันทบุรีไม่ยอมออกมา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตระหนักว่ากองทัพของพระองค์อยู่ในที่คับขันเพราะอาจถูกข้าศึกโจมตีได้ พระองค์จึงตรัสสั่งทหารให้หุงอาหารรับประทานที่เหลือให้เททิ้ง พร้อมทั้งให้ทำลายหม้อข้าวหม้อแกงหมด พร้อมทั้งแจ้งแก่ทหารว่าในคืนนี้จะเข้าโจมตีเมืองจันทบุรี ไปหาข้าวกิน ในเมือง ถ้าตีไม่ได้ก็ให้ตายเสียด้วยกัน พระองค์โปรดให้ยกทัพบ่ายหน้าเข้าทางตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วจัดทหารไทยจีนลอบเข้าไปประจำอยู่ทุกด้าน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถยึดเมืองจันทบุรีได้สำเร็จ โดยเข้าตีเมืองจันทบุรีทางประตูท่าช้าง ทางทิศเหนือ ในคืนวันอาทิตย์ เดือน 7 ปีกุน พ.ศ.2310 ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาได้ 2 เดือน เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยึดเมืองจันทบุรีได้แล้ว ได้เข้ายึดเมืองตราดสามารถ ควบคุมชาวจีนที่เป็นเจ้าของเรือสำเภาได้ตลอดแนวทะเล และมีอำนาจเหนือริมฝั่งทะเลตะวันออกได้ทั้งหมด จากนั้นพระองค์ได้ต่อเรือรบ และรวบรวมอาวุธ เสบียงอาหาร พอถึงเดือน 11 ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยา ได้ 6 เดือน ทรงยกพลด้วยเรือรบ 100 ลำ กำลังพลไทยจีน 5,000 คน ออกจากเมืองจันทบุรีล่องไปตามลำน้ำจันทบุรีไปออกปากอ่าว และเลียบฝั่งทะเลเข้าปากน้ำเจ้าพระยา ตีค่ายพม่าที่กรุงธนบุรี หลังจากนั้นทรงยกกองทัพไปตีพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้นที่พระนครศรีอยุธยา สามารถขับไล่พม่าออกจาก กรุงศรีอยุธยา ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา 7 เดือน เมืองจันทบุรีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การปกครองขึ้นกับกรมท่า ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ 1 ของพระยาทิพากรวงศ์ว่า  ยังคงเป็นเมืองขึ้นกรมท่าอีก 8 เมือง คือ เมืองนนทบุรี1 เมืองสมุทรปราการ1 เมืองสาครบุรี1 เมืองชลบุรี1 เมืองบางละมุง1 เมืองระยอง1 เมืองจันทบุรี1 เมืองตราด1" เมืองจันทบุรีขึ้นกับกรมท่าจนกระทั่ง พ.ศ.2441 จึงโอนไปขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย
       จากการที่เมืองจันทบุรีมีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์ในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว จึงทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายเมืองจากบ้านลุ่มมาอยู่ที่บ้านเนินวง ใน พ.ศ.2378 เพื่อตั้งรับศึกญวน ซึ่งจัดเป็นที่ตั้งเมืองจันทบุรีเเห่งที่ 4 ทั้งนี้เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาความสัมพันธ์กับญวน อันเกิดจากการแย่งชิงดินแดนลาวและเขมร ประกอบกับในปี พ.ศ.2377 ไทยได้ยกกองทัพไปตีญวนและยึดเมืองไซ่ง่อนได้ จึงทรงเกรงว่าญวนจะเข้ามาตีกรุงเทพฯ เนื่องจากที่ตั้งของเมืองจันทบุรีมีความสำคัญในการสกัดกั้นญวน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาพระคลัง ออกมาสร้างกำแพงเมืองจันทบุรี พระยาพระคลังเห็นว่าเมืองเก่านั้นตั้งอยู่ลึกเข้าไปหลังหมู่บ้านราษฎร ถ้ามีข้าศึกมาทางน้ำก็จะถึงหมู่บ้านราษฎรก่อน จะไม่สามารถป้องกันได้ จึงได้รื้อป้อมกำแพงเมืองเก่าเสีย แล้วมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านเนินวงซึ่งตั้งอยู่บนที่สูง มีทำเลเหมาะในการตั้งฐานทัพไว้รับศึกญวน อยู่ระหว่างบางกะจะกับเมืองเก่า พร้อมกันนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้จมื่นราชามาตย์ต่อมาคือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ รับไปดำเนินการก่อสร้างป้อมและซ่อมแซมป้อม โดยจมื่นราชามาตย์ได้ให้พระยาอภัยพิพิธ (ต่อมาเป็นเจ้าเมืองตราด) เป็นแม่กองสร้างป้อมที่แหลมด่านปากน้ำ 1 ป้อม คือ ป้อมไพรีพินาศ จมื่นราชามาตย์ได้ซ่อมแซมป้อมที่แหลมสิงห์ คือป้อมพิฆาตปัจจามิตร ป้อมดังกล่าวสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เนื่องจากสมัยนี้มีการติดต่อกับชาว ตะวันตก มีการค้าขายมาก และเมืองจันทบุรีเป็นเมืองที่มีความสำคัญทั้งทางด้านการค้าและยุทธศาสตร์ ด้วยเหตุผลดังกล่าวสมเด็จพระนารายณ์มหาราชคงจะโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมขึ้น เพื่อเป็นจุดควบคุมการเข้าออกของเรือต่าง ๆ ที่เข้าออกเมืองจันทบุรี ป้อมนี้คงจะใช้งานมาตลอดจนกระทั่งเมื่อฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรี จึงได้สร้างตึกแดงทับลงป้อมพิฆาตปัจจามิตร สำหรับป้อมไพรีพินาศและป้อมพิฆาตปัจจามิตร มีดินดำและปืน เมื่อพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองจันทบุรี ทรงเห็นว่าป้อมดังกล่าวไม่ได้ใช้งานและดูทรุดโทรม จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ขนปืนไปไว้ในเมือง ภายหลังที่สร้างเมืองใหม่ที่บ้านเนินวง เรียบร้อยแล้ว ทางราชการได้อพยพราษฎรจากเมืองเก่ามาอยู่ ปรากฏว่าราษฎรส่วนมากไม่เต็มใจอยู่เนื่องจากเมืองใหม่อยู่บนที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 30 เมตร และอยู่ห่างจากคลองน้ำใสซึ่งเป็นคลองที่แยกมาจากแม่น้ำจันทบุรีไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร ทำให้ราษฎรไม่ได้รับความสะดวกในเรื่องน้ำที่จะบริโภค ปัญหาดังกล่าวทำให้ราษฎรส่วนใหญ่ยังคงอยู่ที่เมืองเก่า ส่วนผู้ที่อยู่บ้านเนินวงส่วนใหญ่จะเป็นข้าราชการ กรมการเมือง เจ้าเมือง ปัจจุบันบริเวณ ดังกล่าวเรียกว่า " บ้านทำเนียบ"

        
เนื่องจากราษฎรไม่เต็มใจที่จะไปอยู่ที่บ้านเนินวง เนื่องจากปัญหาขาดแคลนน้ำประกอบกับสงครามระหว่างไทยกับญวนได้สงบลง เมื่อญวนตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ราษฎรเลือกอยู่ได้ตามความสมัครใจ ยกเว้นจวนเจ้าเมืองยังคงอยู่บ้านเนินวง จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้ย้ายตัวเมืองกลับไปตั้งที่บ้านลุ่มตามเดิม ดังปรากฏหลักฐานที่ว่าราชการเมือง (ปัจจุบันคือสำนักงานป่าไม้จังหวัด) ที่ว่าราชการมณฑล(ปัจจุบันคือที่ทำการของมหาวิทยาลัยบูรพา) ศูนย์กลางของชุมชนเมืองได้ขยายจากบ้านลุ่มไปตาม ริมแม่น้ำจันทบุรี คือตลาดท่าหลวง หลังจากนั้นชุมชนได้ขยายตัวไปทางทิศใต้ของตลาดท่าหลวง บริเวณ ดังกล่าวจัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจของเมืองจันทบุรีในปัจจุบัน

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงดำเนินการกอบกู้เอกราชอย่างไร

6 พ.ย พ.ศ. 2310 เมื่อเจ้าตากยกทัพเข้าตียึดเมืองธนบุรีและปราบนายทองอินได้แล้ว จึงได้เคลื่อนทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยาเข้าตียึดค่ายโพธิ์สามต้น นำทัพรบพุ่งปราบพม่าจนราบคาบ โดยสามารถกอบกู้เอกราชได้สำเร็จภายในเวลา 7 เดือน นับตั้งแต่ที่เสียกรุงเมื่อปี พ.ศ. 2310 หลังจากนั้น พระองค์ได้ยกทัพกลับมาที่ธนบุรี ตั้งเมืองราชธานีใหม่ ณ ...

ข้อใดคือเหตุผลอันดับสุดท้ายที่พระเจ้าตากตัดสินใจเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่แทนกรุงศรีอยุธยา

1) การตั้งเมืองหลวงใหม่อยู่ที่ธนบุรีไม่ห่างไกลจากอยุธยา การอยู่ที่เมืองธนบุรีก็เหมือนมีอำนาจอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ฐานะย่อมไม่ต่างกัน 2) กรุงธนบุรีตั้งอยู่บริเวณที่มีลำน้ำลึกใกล้ทะเล แม้ว่าข้าศึกจะยกทัพมาทางบกหากไม่มีทัพเรือเป็นกำลังด้วยแล้ว ก็ยากที่จะมาตีเมืองธนบุรี 3) เมืองธนบุรีเป็นเมืองป้อมปราการและเป็นเมืองขนาดย่อม ...

เหตุผลที่พระยาตาก (สิน) ตัดสินใจย้ายที่ตั้งราชธานีใหม่ภายหลังจากกู้เอกราชได้แล้วเป็นเพราะอะไร

สำหรับเหตุที่ทรงเลือกที่นี่ เพราะกรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะสมกับกำลังป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ โดยตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และยังสะดวกในการควบคุมการลำเลียงอาวุธและเสบียงต่างๆ ไปตามหัวเมืองหรือจากหัวเมืองเข้ามาช่วย เมื่อเกิดศึกสงคราม

เพราะเหตุใดสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงไม่ทรงเลือกเอากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธาน

๑.กรุงศรีอยุธยาชำรุดเสียหายมากจนไม่สามารถจะบูรณะปฏิสังขรณืให้ดีเหมือนเดิมได้ กำลังรี้พลของพระองค์มีน้อยจึงไม่สามารถรักษากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ได้ ๒.ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาทำให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย ๓.ข้าศึกรู้เส้นทางการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาดี

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน