การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทย

พระพุทธศาสนาในประเทศไทย เริ่มนับถือแบบหินยานลัทธิลังกาวงศ์อย่างจริงจังนั้นตกอยู่ในรัชสมัยของ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อพุทธศักราช ๑๘๒๐ เป็นต้นมา กล่าวคือ เมื่อพ่อขุนได้ขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ได้ทรงสดับกิตติศัพท์ พระสงฆ์ที่ไปศึกษาที่ประเทศลังกา กลับมาสั่งสอนอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช มีความรอบรู้พระธรรมวินัยและมีวัตรปฏิบัติน่าเลื่อมใส จึงได้อาราธนาจากเมืองนครศรีธรรมราช ขึ้นมาตั้งสำนักและเผยแพร่คำสอนณ กรุงสุโขทัย เรียกชื่อ ตามแหล่งที่มาว่า ลังกาวงศ์   พระสงฆ์ในลัทธิลังกาวงศ์ที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช อาราธนาจากเมืองนครศรีธรรมราช
มาตั้งสำนักในกรุงสุโขทัยนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเลื่อมใสศรัทธาอย่างแรงกล้ามาก และโดยที่พระสงฆ์คณะนี้ ชอบความวิเวกจึงโปรดให้อยู่ ณ วัดอรัญญิก นอกเมือง และพระองค์ ได้เสด็จไปนมัสการท่านเป็นประจำทุกวันกลางเดือนและสิ้นเดือน ดังมีความในศิลาจารึกว่า

“วันเดือนดับ วันเดือนเต็ม ท่านแต่งช้างเผือก กระพัดลยาง เทียนย่อมงาทอง ขวาชื่อรุจาศรี พ่อขุนรามขึ้นขี่ไปนบพระอรัญญิกแล้วกลับมา”
เมื่อกล่าวถึงพระพุทธศาสนาแบบหินยานลัทธิลังกาวงศ์ เข้ามาสู่สยามประเทศ ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเลื่อมใสศรัทธา โปรดให้ถือเป็นแบบอย่างที่ดีงามและเจริญรุ่งเรืองสืบมาเป็นศาสนาประจำชาติไทยจนถึงทุกวันนี้แล้ว ก็ถือโอกาสกล่าวถึงประวัติของลัทธินี้ ตามที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ในตำนานพระพุทธเจดีย์ดังกล่าวไว้ในที่นี้ด้วยดังนี้

“ลัทธิลังกาวงศ์เกิดขึ้นครั้งพระเจ้าปรักกมพาหุมหาราช ฟื้นพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป ด้วยทำสังคายนาพระไตรปิฎกเป็นต้น เมื่อราว พ.ศ. ๑๗๐๐ แต่นั้นลัทธิลังกาวงศ์รุ่งเรืองเลื่องลือเกียรติคุณมาถึงประเทศเหล่านี้ มีพระสงฆ์ไทย พม่า มอญ เขมรไปศึกษา และศรัทธาบวชเป็นภิกษุลังกาวงศ์ แล้วพาลัทธินั้นมาประดิษฐานในประเทศของตน ดังกล่าวแล้วในที่อื่น

ในที่นี้จะแสดงข้อวินิจฉัยในเรื่องลัทธิลังกาวงศ์เพิ่มเติม เพื่อให้เห็นว่า ผิดกับลัทธิอื่นด้วยเหตุอย่างไร คือ ลัทธิลังกาวงศ์เกิดขึ้นในสมัยเมื่อการถือพระพุทธศาสนาในอินเดียเสื่อมสิ้นแล้ว   ยังนับถือกันอยู่แต่ในประเทศอื่น และถือแตกต่างกันเป็นลัทธิมหายานบ้าง เป็นลัทธิหินยานบ้าง  มิได้มีการศึกษาติดต่อกับอินเดียเหมือนแต่ก่อน ต่างสั่งสอนกันตามความรู้ความสามารถของศาสนาจารย์ในประเทศนั้นๆ ด้วยอาศัยคัมภีร์พระไตรปิฎกอย่าง ๑ กับตำราอาจารย์อย่าง ๑  เป็นหลักของพระศาสนาด้วยกันทุกประเทศ ส่วนพระไตรปิฎกนั้น ชาวธิเบต จีน และญี่ปุ่น ซึ่งถือลัทธิมหายาน เอาไปแปลเป็นภาษาของตน ไม่ศึกษาฉบับมคธ หรือสันสกฤตซึ่งเกิดขึ้นในอินเดีย แต่ประเทศลังกา พม่า มอญ ถือลัทธิหินยาน ยังคงศึกษาพระไตรปิฎกภาษามคธ ฝ่ายประเทศเขมรถือลัทธิมหายาน แต่ศึกษาพระไตรปิฎกภาษาสันสกฤต ซึ่งได้มาจากอินเดีย ส่วนประเทศสยามนี้ (ว่าตามสังเกตโบราณวัตถุมีปรากฏอยู่) อยู่ในระหว่างประเทศมอญกับเขมรเดิมถือลัทธิหินยาน แล้วนับถือลัทธิมหายานไปตามเขมร พระไตรปิฎกที่ศึกษาก็เห็นจะมีในประเทศสยาม ทั้งภาษามคธและสันสกฤต แต่พระไตรปิฎกที่มีอยู่ในประเทศพม่า มอญ ไทย  เขมร ในสมัยนั้นจะเป็นภาษามคธหรือสันสกฤตก็ตาม คงบกพร่องคลาดเคลื่อนกัน ตามธรรมดาของหนังสือซึ่งอาศัยแต่คัดเขียนและยังมีเหตุร้ายกว่านั้น คือเป็นภาษาซึ่งชาวเมืองไม่เข้าใจ การศึกษาจึงต้องอาศัยตำราอาจารย์ คือคำอธิบายบอกเล่าของครูบาอาจารย์เป็นสำคัญ

พระไตรปิฎกในสมัยนั้น เห็นจะมีบริบูรณ์อยู่แต่ในลังกาทวีป เพราะหนังสือพระไตรปิฎกเกิดขึ้นในเมืองลังกา และพระพุทธโฆษาจารย์ ได้ทำสังคายนาไว้ด้วยอีกชั้นหนึ่ง ดังปรากฏในตำนานสังคายนา ครั้นพระเจ้าปรักกรมพาหุมหาราชฟื้นพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป เช่นให้ทำสังคายนาพระไตรปิฎกแล้ว ทำนุบำรุงพระสงฆ์ให้นิยมเล่าเรียนภาษามคธจนเชี่ยวชาญ อ่านพระไตรปิฎกได้เองโดยมาก พระสงฆ์ลังกาในครั้งนั้น ก็ย่อมทรงพระธรรมวินัย และรอบรู้พุทธวจนะพิเศษกว่าพระสงฆ์ประเทศอื่นๆ ด้วยประการฉะนี้ ที่พระสงฆ์ไทย มอญ พม่า เขมร พากันไปศึกษาพระศาสนาในลังกาทวีปครั้งนั้น คือต้องไปเรียนภาษามคธจนรอบรู้แตกฉานด้วยหาไม่ก็ไม่สามารถอ่านพระไตรปิฎก จนล่วงรู้พระธรรมวินัยโดยลำพังตนเองได้ เพราะฉะนั้นจึงปรากฏในตำนานว่าออกไปศึกษาอยู่องค์ละหลาย ๆ ปี จนอาจนำความรู้ภาษามคธมาสอนในประเทศของตน และการเรียนภาษามคธจึงถือว่าเป็นสำคัญในสังฆมณฑลสืบมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ นับว่าเป็นประโยชน์อันเกิดขึ้น แต่รับลัทธิศาสนาลังกาวงศ์มาคราวนั้น”

เมื่อสรุปเรื่องพุทธศาสนากับคนไทย โดยเฉพาะชนเผ่าไทยในสุวรรณภูมิหรือในสยามประเทศนี้แล้ว ปรากฏว่าคนไทยเรารับนับถือพระพุทธศาสนามาทั้ง ๒ นิกาย คือทั้งมหายาน และหินยาน ก่อนสมัยสุโขทัยดูจะนับถือปะปนกันทั้ง ๒ นิกาย แถมมีศาสนาพราหมณ์ เข้ามาระคนด้วย ที่เป็นดังนี้ เพราะชนชาติไทยได้ร่วมสังคมกับชนชาติขอม ซึ่งเป็นใหญ่อยู่ในภูมิภาคนี้มาก่อน และแม้สมัยไทยสถาปนาราชอาณาจักรไทยเอกราชขึ้น ณ กรุงสุโขทัยแล้วก็ตาม

ในยุคต้นๆ ของสมัยนั้นก็ยังมีการนับถือพุทธปะปนกันอยู่ ๒ นิกายเช่นกัน ทั้งนี้รวมทั้งอาณาจักรลานนาไทย ซึ่งเป็นอาณาจักรอิสระของไทยตอนเหนืออาณาจักรหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในยุคเดียวกับอาณาจักรสุโขทัย และเป็นพันธมิตรสนิทสนมกับอาณาจักรสุโขทัย ก็มีลักษณะเช่นนั้นเหมือนกันดังจะกล่าวรายละเอียดบางประการในตอนต่อ ๆ ไป

การ เผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา เข้า สู่ ประเทศไทย เมื่อใด

พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทย เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๖ สมัยเดียวกันกับประเทศลังกา ด้วยการส่ง พระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ ๙ สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศ รวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ไม่น้อยกว่า ๗ ...

พระพุทธศาสนาที่เผยแผ่เข้ามาสู่ประเทศไทยมีกี่นิกาย

❖การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศไทยมีทั้งนิกายเถรวาทและ นิกายมหายาน สืบต่อมาเป็นล าดับตั้งแต่สมัยสุโขทัย ล้านนา อยุธยา ธนบุรี จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์

ใครเป็นผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย

พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่สุวรรณภูมิ (มอญ เมียนมาร์ ละว้า มลายู ขอม) และเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเมื่อปี พ.ศ. 236 โดยพระโสณเถระและพระอุตตรเถระ หลังจากได้รับพระพุทธศาสนาเถรวาทมาตั้งแต่ยุคพระเจ้าอโศกมหาราช ก็ได้รักษาสืบทอดเรื่อยมาจนกระทั่งถึงยุคของอาณาจักรทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 – 13 ซึ่งมีศูนย์กลาง ...

พระพุทธศาสนามีการเผยแผ่ด้วยวิธีการใด

วิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธองค์ในสมัยพุทธกาล ที่ข้าพเจ้าสังเกตุได้ มีดังนี้ ๑.รุกเข้าเมืองใหญ่คือแคว้นมคธ โดยปราบชฎิล ๓ พี่น้อง ให้มาเป็นสาวก แล้วจึงธรรมยาตราเข้าเมือง ๒.ให้พระสงฆ์ที่รู้ธรรมวินัยแล้ว จาริกไปทุกทิศทาง เพื่อประกาศคำสอน ๓.ปราบคนสำคัญที่มีอุปนิสัยในเหตุการณ์สำคัญ ๆ