ผลกระทบที่เกิดจากการย้ายถิ่นฐาน

ผลกระทบของการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ ดังนี้

       ผลกระทบต่อประเทศต้นทาง  หรือ  ประเทศที่มีการย้ายถิ่นออก

     -  ประเทศต้นทางมีอุปทานแรงงาน  โดยเฉพาะที่ไร้ฝีมือ  ลดลง  ส่งผลให้ช่วยลดปัญหาการ
ว่างงานและทำให้ค่าจ้างแรงงานในประเทศมีระดับสูงขึ้น
     -  แรงงานอพยพเคลื่อนย้ายจะส่งรายได้ส่วนหนึ่งกลับประเทศ  บ้านเกิดหรือประเทศต้นทาง ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว  และเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม
     -  หากแรงงานที่อพยพเคลื่อนย้ายเป็นแรงงานประเทศมีฝีมือหรือทักษะระดับสูงและขาดแคลน
อยู่ในประเทศนั้นก็จะเกิด  “ปัญหาสมองไหล”  ซึ่งเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ของประเทศ
ต้นทางและโอกาสที่จะได้ใช้ประโยชน์จากแรงงานที่มีทักษะสูงมาใช้ในการพัฒนา ประเทศแต่
ขณะเดียวกันก็ได้รับ เงินส่งกลับจากแรงงานที่มีทักษะสูงกลับประเทศต้นทางจำนวนมากเช่นกัน

Show

    

ผลกระทบที่เกิดจากการย้ายถิ่นฐาน

       ผลกระทบต่อประเทศปลายทาง หรือประเทศที่มีการรับแรงงานเข้า

      -  การอพยพของแรงงานที่ไร้ฝีมือ  หรือไม่มีความเชี่ยวชาญ  จะส่งผลให้อัตราค่าจ้างแรงงานที่
แท้จริงของแรงงานประเภทนี้ลดลงหรือไม่เพิ่มขึ้น  ซึ่งนับเป็นประโยชน์ต่อการผลิตในประเทศ ปลาย
ทางที่ขาดแคลนแรงงานประเภทนี้อยู่
      -  การอพยพของแรงงานไร้ฝีมือจำนวนมากกว่าให้ประเทศผู้รับแรงงาน  ต้องประสบปัญหาต้นทุน
ทางสังคมที่เพิ่มขึ้น  ผ่านโครงการสังคมต่างๆ  อาทิ  การศึกษา การสาธารณสุข  เป็นต้น  รวมทั้งมี
ผลกระทบต่อปัญหาสภาพแวดล้อมและสังคมที่เกิดขึ้นจากการกระทำของแรงงานต่างชาติเหล่านี้

 

ผลกระทบที่เกิดจากการย้ายถิ่นฐาน

คาดว่าช่วงกลางเดือน เม.ย. ปีหน้า อินเดียจะมีจำนวนประชากรแซงหน้าจีน กลายเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก

ชาติยักษ์ใหญ่ในทวีปเอเชียทั้งสองชาติแต่ละแห่งมีประชากรมากกว่า 1.4 พันล้านคน และตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ผ่านมา ประชากรจีนและอินเดียคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 3 ของประชากรทั้งโลก

ประชากรจีนน่าจะหดตัวลงในปีหน้า ส่วนปีที่แล้วมีคนเกิดในจีน 10.6 ล้านคน มากกว่าจำนวนคนตายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เป็นเพราะอัตราเจริญพันธุ์ที่ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่อัตราเจริญพันธุ์ของอินเดียก็ลดลงอย่างมากในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา จากเดิมในปี 1950 ผู้หญิง 1 คนให้กำเนิดลูก 5.7 คน ลดลงมาอยู่ที่ 2 คนในปัจจุบัน แต่อัตราการลดลงได้ช้าลง

การที่อินเดียมีจำนวนประชากรแซงหน้าจีนกลายเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก มีความหมายอย่างไร

จีนมีจำนวนประชากรลดลงเร็วกว่าอินเดีย

จีนลดอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรลงได้ราวครึ่งหนึ่งจาก 2% ในปี 1973 ลงมาอยู่ที่ 1.1% ในปี 1983

นักประชากรศาสตร์ระบุว่า การทำเรื่องนี้ได้เป็นเพราะจีนไม่คำนึงถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนจากการรณรงค์ 2 เรื่องที่ส่งเสริมให้มีลูกเพียงคนเดียวและแต่งงานช้าลง มีลูกทิ้งช่วงกันนานขึ้นและมีลูกน้อยลง ในชนบทที่มีคนยากจนและไร้การศึกษาจำนวนมาก

Advertisement

ผลกระทบที่เกิดจากการย้ายถิ่นฐาน
Getty Imagesมาตรการควบคุมประชากรหลายอย่างได้รับการสนับสนุนในอินเดีย

 

อินเดียมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วเกือบ 2% ต่อปี ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่แล้ว เมื่อเวลาผ่านไป อัตราการตายลดต่ำลง อายุคาดเฉลี่ยเพิ่มขึ้น และรายได้สูงขึ้น คนจำนวนมากโดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเมืองต่าง ๆ เข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาดและระบบระบายน้ำทิ้งที่ทันสมัยมากขึ้น “แต่กระนั้น อัตราการเกิดก็ยังสูงอยู่” ทิม ไดสัน นักประชากรศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน กล่าว

อินเดียได้เริ่มโครงการวางแผนครอบครัวในปี 1952 และออกนโยบายประชากรแห่งชาติเป็นครั้งแรกในปี 1976 เท่านั้น ซึ่งเป็นช่วงที่จีนกำลังพยายามลดอัตราการเกิดลง

แต่การบังคับคนยากจนหลายล้านคนให้ทำหมันในโครงการวางแผนครอบครัวในช่วงที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉินในอินเดียในปี 1975 ซึ่งมีการระงับสิทธิเสรีภาพของพลเมืองหลายอย่าง ได้นำไปสู่การต่อต้านการวางแผนครอบครัว “แนวโน้มการลดลงของการเจริญพันธุ์คงจะเร็วกว่านี้ในอินเดีย ถ้าไม่มีการประกาศใช้ภาวะฉุกเฉิน และถ้านักการเมืองทำงานเชิงรุกมากกว่านี้ นอกจากนี้ยังส่งผลให้รัฐบาลในเวลาต่อ ๆ มาก ระมัดระวังมากขึ้นเมื่อต้องทำเรื่องวางแผนครอบครัว” ศาสตราจารย์ไดสัน กล่าว

ประเทศและดินแดนในเอเชียตะวันออกหลายชาติอย่าง เกาหลี, มาเลเซีย, ไต้หวัน และไทย ซึ่งได้ออกโครงการเกี่ยวกับประชากรช้ากว่าอินเดียมาก ประสบความสำเร็จในการลดระดับการเจริญพันธุ์ลง, ลดอัตราการตายของแม่และทารก, เพิ่มรายได้ และทำให้การพัฒนามนุษย์ดีขึ้นได้เร็วกว่าอินเดีย

แต่อินเดียก็ยังไม่เคยเผชิญกับการระเบิดทางประชากร

อินเดียมีประชากรเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 พันล้านคนนับตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี 1947 และคาดว่า ประชากรของอินเดียจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปอีก 40 ปี แต่อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรค่อย ๆ ลดลงมานานหลายสิบปีแล้ว และอินเดียก็พยายามที่จะเลี่ยงการเผชิญกับ “ภัยพิบัติทางประชากรศาสตร์” ที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น

ดังนั้นบรรดานักประชากรศาสตร์จึงบอกว่า การที่อินเดียมีประชากรมากกว่าจีน จึงไม่ใช่เรื่องน่ากังวลอีกต่อไป

ผลกระทบที่เกิดจากการย้ายถิ่นฐาน
Getty Imagesอินเดียทำโครงการวางแผนครอบครัวในปี 1952

 

การเพิ่มขึ้นของรายได้ การเข้าถึงการศึกษาและสาธารณสุขมากขึ้น ได้ช่วยให้ผู้หญิงอินเดียมีลูกน้อยลงกว่าเมื่อก่อน อัตราเจริญพันธุ์ได้ลดต่ำลงกว่าระดับทดแทน ซึ่งอยู่ที่ การให้กำเนิดทารก 2 คนต่อผู้หญิง 1 คน ใน 17 รัฐและดินแดนที่รัฐบาลกลางบริหารจากทั้งหมด 22 แห่ง (ระดับทดแทนคือระดับที่การเกิดใหม่เพียงพอในการรักษาจำนวนประชากรให้คงที่)

การลดลงของอัตราการเกิดในตอนใต้ของอินเดียเร็วกว่าทางตอนเหนือซึ่งมีประชากรมากกว่า “น่าเสียดายที่อินเดียส่วนมากไม่เหมือนกับทางใต้” ศาสตราจารย์ไดสัน กล่าว “การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วในหลายพื้นที่ทางเหนือของอินเดียได้กดมาตรการความเป็นอยู่ให้ต่ำลง”

อย่างไรก็ตาม การแซงหน้าจีนอาจมีความสำคัญ

ยกตัวอย่าง อาจจะทำให้ข้อกล่าวอ้างของอินเดียในการเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีน้ำหนักมากขึ้น โดยมีสมาชิกถาวร 5 ชาติรวมถึงจีนด้วย

อินเดียเป็นสมาชิกก่อตั้งของสหประชาชาติ และยืนกรานมาโดยตลอดว่า การได้ที่นั่งถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติของอินเดียเป็นเรื่องยุติธรรม “ผมคิดว่า คุณมีข้อกล่าวอ้างบางอย่าง [การเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุด] ในทุกเรื่อง” จอห์น วิลมอธ ผู้อำนวยการแผนกประชากรของสำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติกล่าว

เคเอส เจมส์ จากสถาบันระหว่างประเทศด้านวิทยาศาสตร์ประชากร ที่ตั้งอยู่ในนครมุมไบ กล่าวว่า รูปแบบการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์ของอินเดียมีความสำคัญเช่นกัน

ผลกระทบที่เกิดจากการย้ายถิ่นฐาน
Reutersคาดว่า อินเดียจะมีจำนวนประชากรมากที่สุด 1.6-1.8 พันล้านคน ในช่วงปี 2060

 

เจมส์กล่าวว่า แม้ว่าจะมีข้อด้อยหลายอย่าง อินเดียสมควรได้รับการยกย่องในการจัดการ “การเปลี่ยนผ่านทางประชากรศาสตร์อย่างมีคุณภาพ” ด้วยการใช้การวางแผนครอบครัวในประเทศประชาธิปไตยที่มีทั้งคนยากจนและไร้การศึกษา “ประเทศส่วนใหญ่ทำเช่นนี้หลังจากที่พัฒนาการอ่านออกเขียนได้และมาตรการความเป็นอยู่ของประชาชนแล้ว”

ข่าวดีมากกว่านั้นคือ 1 ใน 5 ของประชาชนที่อายุต่ำกว่า 25 ปี ในโลกนี้ มาจากอินเดีย และ 47% ของชาวอินเดียมีอายุต่ำกว่า 25 ปี ชาวอินเดีย 2 ใน 3 เกิดหลังจากอินเดียเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ศรุต ราชาโกพาลัน นักเศรษฐศาสตร์ระบุในรายงานชิ้นใหม่ว่า คนอินเดียรุ่นใหม่กลุ่มนี้มีลักษณะพิเศษบางอย่าง คนอินเดียรุ่นใหม่ยุคนี้จะเป็นแหล่งแรงงานและผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในเศรษฐกิจ และชาวอินเดียจะเป็นแหล่งรวมคนที่มีความสามารถระดับโลกมากที่สุด

  • โลกมีประชากร 8 พันล้านคนแล้ว ใครคือเด็กคนที่ 5, 6 และ 7 พันล้าน
  • อัตราเจริญพันธุ์ลดลงทั่วโลก นักวิจัยคาด 23 ประเทศรวมไทย ประชากรจะหายไปครึ่งหนึ่งในปี 2100
  • หญิงอินเดียเล่าประสบการณ์ถูกสามีจุดไฟเผาทั้งเป็น

แต่ก็มีความท้าทายหลายอย่างเช่นกัน

อินเดียต้องสร้างงานให้เพียงพอต่อประชากรวัยทำงานที่อายุยังน้อย แต่ข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังเศรษฐกิจอินเดีย (CMIE) ระบุว่า มีประชากรวัยทำงานของอินเดียเพียง 40% เท่านั้นที่ต้องการทำงานหรืออยากจะทำงาน

มีผู้หญิงต้องการทำงานเพิ่มมากขึ้น เพราะว่าพวกเธอใช้เวลาในช่วงวัยทำงานในการให้กำเนิดลูกและดูแลลูกน้อยลง แต่ข้อมูลจาก CMIE พบว่า มีผู้หญิงวัยทำงานเพียง 10% เท่านั้นที่ได้เข้าร่วมในตลาดแรงงานในเดือน ต.ค. ขณะที่ในจีนอยู่ที่ 69%

นอกจากนี้ก็มีการโยกย้ายถิ่นฐาน โดยมีชาวอินเดียราว 200 ล้านคนได้อพยพย้ายถิ่นภายในประเทศระหว่างรัฐและเขตต่าง ๆ จำนวนผู้โยกย้ายถิ่นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นคนวัยทำงานที่เดินทางออกจากหมู่บ้านเข้าไปอยู่ในเมืองเพื่อหางานทำ “เมืองของเราจะขยายตัว ขณะที่การโยกย้ายถิ่นฐานจะสูงขึ้น เพราะการขาดแคลนงานและค่าจ้างที่ต่ำในชนบท พวกเขาจะสามารถให้มาตรฐานความเป็นอยู่ที่สมเหตุสมผลแก่ผู้อพยพได้ไหม ไม่เช่นนั้น เราก็จะลงเอยด้วยการมีสลัมและโรคภัยเพิ่มมากขึ้น” เอส ไอรูดายา ราชัน ผู้เชี่ยวชาญด้านการอพยพที่สถาบันโยกย้ายถิ่นฐานและการพัฒนาระหว่างประเทศในรัฐเกรละ กล่าว

ผลกระทบที่เกิดจากการย้ายถิ่นฐาน
Getty Imagesมากกว่า 10% ของชาวอินเดีย อายุมากกว่า 60 ปี

 

เหล่านักประชากรศาสตร์กล่าวว่า อินเดียยังจำเป็นต้องยุติการแต่งงานในวัยเด็ก ป้องกันการแต่งงานเร็วและลงทะเบียนการเกิดและการตายอย่างเหมาะสม อัตราส่วนเพศเมื่อแรกเกิดที่บิดเบือนซึ่งทำให้มีเด็กชายเกิดมากกว่าเด็กหญิง ยังเป็นเรื่องน่ากังวล โดยมีการกล่าวโจมตีทางการเมืองว่า ดูเหมือน “การควบคุมประชากร” จะพุ่งเป้าไปที่ชาวมุสลิม ชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย แต่ในความเป็นจริง ศูนย์วิจัยพิว (Pew Research Center) ระบุว่า “ช่องว่างในการให้กำเนิดลูกระหว่างกลุ่มศาสนาต่าง ๆ ลดน้อยลงมากกว่าที่เคยเป็น”

ประชากรสูงวัยของอินเดีย

บรรดานักประชากรศาสตร์ระบุว่า แทบไม่มีคนใส่ใจเรื่องประชากรสูงวัยของอินเดีย

ในปี 1947 อายุมัธยฐานของอินเดียคือ 21 ปี โดยมีประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีเพียงแค่ 5% ส่วนปัจจุบันอายุมัธยฐานคือมากกว่า 28 ปี และมีชาวอินเดียที่อายุเกิน 60 ปี มากกว่า 10% รัฐทางใต้ของอินเดียอย่างเกรละ และทมิฬนาฑู รักษาระดับทดแทนได้ตั้งแต่อย่างน้อย 20 ปีก่อน

“ขณะที่ประชากรวัยทำงานลดลง การสนับสนุนประชากรสูงอายุจะกลายเป็นภาระเพิ่มขึ้นต่อทรัพยากรของรัฐบาล” รูกมินิ เอส ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Whole Numbers and Half Truths: What Data Can and Cannot Tell Us About Modern India (อาจแปลเป็นไทยได้ว่า ตัวเลขทั้งหมดและความจริงเพียงครึ่งเดียว : สิ่งที่ข้อมูลบอกเราได้และไม่ได้เกี่ยวกับอินเดียยุคใหม่”

“จะต้องสร้างโครงสร้างครอบครัวขึ้นใหม่ และผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวจะกลายเป็นความกังวลเพิ่มขึ้น” เธอกล่าว

การย้ายถิ่นฐานเกิดจากอะไร

ในอดีต ประเทศไทยมีการย้ายถิ่นฐานจากชนบทสู่เมือง เพราะปัญหาสภาพทาง เกษตรกรรม มีการขาดแคลนน้ำ ดินฟ้า อากาศไม่เอื้ออำานวยต่อการเพาะปลูก มีปัญหาความ บกพร่องของตลาด ราคาพืชผลไม่ดี เกิดภาระหนี้สินในภาคเกษตรกรรม ทำาให้ต้องกู้เงินมา ลงทุน ปัญหาการครอบครองที่ดินทำากินที่มีปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับจำานวนประชากร และ ปัญหาที่ดิน ...

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการย้ายถิ่นของประชากรมีอะไรบ้าง

ปัจจัยผลักดันการเคลื่อนย้ายถิ่น ฐาน 1. เศรษฐกิจ 2. สังคม 3. วัฒนธรรม 4. การเมือง

การย้ายถิ่นส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงประชากรอย่างไร

3) การย้ายถิ่น คือ การย้ายที่อยู่จากที่แห่งหนึ่งไปอีกที่หนึ่ง การย้ายถิ่นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประชากร คือ ถิ่นที่มีประชากรย้ายออกไป จำนวนประชากรจะลดลง และถิ่นที่มีประชากรย้ายเข้ามา จำนวนประชากรจะมากขึ้น

การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือส่งผลดีอย่างไร

การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีจะส่งผลดีที่เห็นได้ชัดต่อตลาดแรงงาน กล่าวคือ ตลาดแรงงาน จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจทั่วโลกในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะผนวกเข้าหา กัน แรงงานในแต่ละประเทศจะมีโอกาสเลือกท างานในสถานที่หรือในประเทศที่มีโอกาสที่เขาจะ สามารถแสดงศักยภาพได้สูงสุด และก่อให้เกิดรายได้ที่สูงขึ้นตามไปด้วย ...