นายจ้าง ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งพนักงานตรวจแรงงาน

ลูกจ้าง ไม่ได้รับเงินตามสิทธิ ทำไงดีนะ? ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างทดลองงาน...

Posted by รู้ทันกฎหมาย on Saturday, July 4, 2015

                                ��Ůա�Ἱ�����ç�ҹ��Ǩ�ӹǹ��Ъ����֡������  ����稨�ԧ�ѧ�����  ����·�� 2 ����繾�ѡ�ҹ��Ǩ�ç�ҹ�դ���觾�ѡ�ҹ��Ǩ�ç�ҹ������ҹ���ʴԡ����Ф�����ͧ�ç�ҹ��鹷�� 2 ��� 58/2547 ��� ŧ�ѹ��� 27 ���Ҥ� 2547 ���⨷����¤�Ҩ�ҧ�����ҧ�ѹ��� 16 �ѹ�Ҥ� 2546 �֧�ѹ��� 10 ���Ҥ� 2547 ���Թ 9,150 �ҷ ��Ш��¤�Ҫ��������¡��Ҥ�Ҩ�ҧ�ѵ���ش����˹������Ỵ�Ժ�ѹ ���Թ 66,000 �ҷ ��������ع�� �ª�� �١��ҧ�����ͧ����ҹ�¨��� �êҵ�� �Եԡ� 6 � �ѡ�ҡ��㹵��˹觼���ӹ�¡�á�����ҹ���ʴԡ����Ф�����ͧ�ç�ҹ��鹷�� 2 ����˹ѧ����觤���觢ͧ��ѡ�ҹ��Ǩ�ç�ҹŧ�ѹ��� 29 ���Ҥ� 2547 �֧⨷��ҧ��ɳ���ͺ�Ѻ ��ҡ���� ��»ѭ�Ҿ�ѡ�ҹ�١��ҧ�ͧ⨷��Ἱ��ѡ������ �����˹�ҷ���Ѻ�͡��õ�ҧ� ������Ҩҡ�ؤ����¹͡������ŧ�����ͪ����㺵ͺ�Ѻ�ҧ��ɳ��� ������ѹ��� 17 ��Ȩԡ�¹ 2547 ���һ���ҳ 11 ���ԡ� ���˹ѧ����觤�������㺵ͺ�Ѻ�͡������� �.12 ��� �.13 ����ջѭ���ԹԨ��µ���ط�ó�ͧ⨷�����á��� ⨷�����ӹҨ��ͧ������� ������ ��»ѭ�����١��ҧ�ͧ⨷��Ἱ��ѡ��������˹�ҷ���Ѻ�͡��õ�ҧ � �֧�������ҹ�»ѭ���繵��᷹�ͧ⨷���»����µ�������š���������оҳԪ�� �ҵ�� 797 ��ä�ͧ ������������ҹ�»ѭ��ŧ�����ͪ����㺵ͺ�Ѻ�ҧ��ɳ��� ������ѹ��� 17 ��Ȩԡ�¹ 2547 �֧�ѧ�����⨷�����Ѻ��Һ����觢ͧ����·�� 2 �ªͺ���¡��������� ������稨�ԧ�пѧ����� ������ü��Ѵ��âͧ⨷���ҷ�Һ����觢ͧ����·�� 2 ���µ��ͧ��ѹ��� 19 ��Ȩԡ�¹ 2547 ���� ���ͧ������⨷���Һ����觢ͧ����·�� 2 �Ѻ������ѹ��� 17 ��Ȩԡ�¹ 2547 ���� �����⨷�������㹤���觢ͧ����·�� 2 �������Ҫ�ѭ�ѵԤ�����ͧ�ç�ҹ �.�.2541 �ҵ�� 125 ��ä˹�� �к����⨷��Ӥ������������Ϳ�ͧ�ԡ�͹����觵��������� 30 �ѹ �Ѻ���ѹ��Һ����觤���ѹ��� 17 ��Ȩԡ�¹ 2547 �ѧ��� ⨷��֧��ͧ����蹿�ͧ�ԡ�͹����������ѹ��� 17 �ѹ�Ҥ� 2547 ����ͻ�ҡ����⨷��������蹿�ͧ�����ԡ�͹�������ѹ��� 20 �ѹ�Ҥ� 2547 �֧�������Թ���ҡ�˹� 30 �ѹ �������Ҫ�ѭ�ѵԤ�����ͧ�ç�ҹ �.�.2551 �ҵ�� 125 ��ä˹�� �����⨷������ͧ�ԡ�͹��������� 30 �ѹ ����觢ͧ����·�� 2 �֧�繷���ش �������Ҫ�ѭ�ѵԤ�����ͧ�ç�ҹ �.�.2541 �ҵ�� 125 ��ä�ͧ ⨷��֧������ӹҨ��ͧ��չ�� �������ç�ҹ��ҧ�Ծҡ���ҹ����Ůա���繾�ͧ���� �ط�ó�ͧ⨷��ѧ����� ��ը֧���ӵ�ͧ�ԹԨ�����Ҥ���觢ͧ����·�� 2 �ͺ���¡������������ ������ӵ�ͧ�ԹԨ������ ⨷�����Է�Ԣ��ԡ�͹����觢ͧ��ѡ�ҹ��Ǩ�ç�ҹ������ҹ���ʴԡ����Ф�����ͧ�ç�ҹ��鹷�� 2 ��� 58/2547 ���ŧ�ѹ��� 27 ���Ҥ� 2547 ������������������Ť������¹�ŧ�

สวัสดีคะคุณทนายพร
   เรื่องนู่มีอยุ่ว่านุ่ได้ยื่นคำร้องไปกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน และทางพนักงานตรวจแรวงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงิน. ภายใน30วันคะ. แต่ตอนนี้เลยเวลามาแล้วค่ะ. นุ่เองสอบถามทางกรมสวัสดิการ. เค้าบอกว่ายังตอบระยะเวลาไม่ได้ค่ะ. ว่าเมื่อไหร่เรื่องของนู้จะถูกนำไปสู่ศาลแรงงาน. ขอสอบถามดังนี้ค่ะ
1. เครสของนู่นี่จะใช้เวลาอีกประมานเท่าไหร่คะ. คำสั่งจ่ายครบไปเมื่อวันที่26 มิถุนายน2563
2.ทางพนักงานบอกว่าต้องรอส่งเรื่องต่อให้. นิติกร. นิติกร. คือใครหรอค่ะ. คือนุ่ไม่รุ้อะไรเลยหนะคะ
3.นู่ไม่สามารถนำคำร้องนี่ไปยื่นต่อศาลด้วยตนเองได้หรอค่ะ. ทางพนักงานแจ้งว่า. นุ้เลือกที่จะสิทธิกับทางกรมแล้ว. ต้องใช้อย่างใดอย่างนึง

ขอความเมตตาคุณทนายพรด้วยนะคะ. นุ่อยากทราบคร่าวๆเกี่ยวดีเวลา ตอนนี้นุ่ไปยืมเงินคนอื่น. มาจ่ายค่าเทอมลูกมหาวิทยาลับไปแล้วคะ. จะได้ประมานการเวลาถูกค่ะ
ขอบพระคุนอีกครั้งนะ

ฐิติมา. เดชสุภา

          ��Ůա�Ἱ�����ç�ҹ�ԹԨ������ ⨷�����ӹҨ��ͧ�ԡ�͹����觾�ѡ�ҹ��Ǩ�ç�ҹ��� 2/2549 ŧ�ѹ��� 15 �չҤ� 2549 �ͧ����·�� 2 ����͡�������Ҫ�ѭ�ѵԤ�����ͧ�ç�ҹ �.�.2541 �ҵ�� 124 ������ҧ�Թ���֧��˹����µ������觹�鹵������ç�ҹ�Ҥ 1 ������� ������ ����ҵ�� 125 ��ä��� �ѭ�ѵ�����¨�ҧ���Ӥ��������ŵ�ͧ�ҧ�Թ�����ŵ���ӹǹ���֧��˹����µ������觾�ѡ�ҹ��Ǩ�ç�ҹ�֧�п�ͧ����� ����ҧ�Թ����ҵ�� 125 ��ä��� �繺��ѭ�ѵԷ��ѧ�Ѻ�����˹�ҷ��ͧ��¨�ҧ����繽��¹Ӥ��������ŵ�ͧ��Ժѵ���������繡�ÿ�ͧ�ԡ�͹����觾�ѡ�ҹ��Ǩ�ç�ҹ�ªͺ���¡����� ��������˹�ҷ���ͧ���������͹����¨�ҧ����繽��¹Ӥ����������ҧ�Թ�ѧ����� �����⨷�����繹�¨�ҧ��ͧ�ԡ�͹����觾�ѡ�ҹ��Ǩ�ç�ҹ����͡����ҵ�� 124 �ͧ����·�� 2 ������ҧ�Թ���֧��˹����µ������觹���������ҡ��������ç�ҹ�Ҥ 1 ���ӹҨ�������Ҫ�ѭ�ѵԨѴ�������ç�ҹ����ԸվԨ�óҤ���ç�ҹ �.�.2522 �ҵ�� 26 �������������ҧ�Թ���⨷�� �繡����軯ԺѵԵ���ҵ�� 125 ��ä��� ⨷��֧��ͧ��յ����������

อธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การนําคดีไปสู่ศาล
-
-การนําคดีไปสู่ศาล มาตรา 125
-
 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125
 -
 *การนําคดีไปสู่ศาล มาตรา 125
 -
           มาตรา 125 เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคําสั่งตามมาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้าง ลูกจ้าง
 หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่พอใจคําสั่งนั้น ให้ นําคดีไปสู่ศาลได้ภายในสาม
 สิบวันนับแต่วันทราบคําสั่ง
           ในกรณีที่นายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ ความตาย ไม่นําคดีไป
 สู่ศาลภายในกําหนด ให้คําสั่งนั้นเป็นที่สุด
           ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนําคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวางเงินต่อศาล ตามจํานวนที่ถึง
 กําหนดจ่ายตามคําสั่งนั้น จึงจะฟ้องคดีได้
           เมื่อคดีถึงที่สุดและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินจํานวนใดให้แก่ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรม
 ของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย ให้ศาลมีอํานาจจ่ายเงินที่นาย จ้างวางไว้ต่อศาลให้แก่ลูกจ้างหรือทายาท
 โดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย หรือกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรณีที่ได้จ่ายเงินตามมาตรา
 134 ได้แล้วแต่กรณี
 -
           ข้อสังเกต
           1. เป็นกรณีที่พนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งตามมาตรา 124 เช่น
                     - มีคําสั่งเห็นว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง
 แรงงานฯ
                     - มีคําสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินให้ลูกจ้าง เป็นต้น
           2. นายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทของลูกจ้างไม่เห็นด้วยกับคําสั่งของพนักงาน ตรวจแรงงาน
           3. การนําคดีไปสู่ศาลแยกเป็น
           ก. ลูกจ้างหรือทายาทให้ฟ้องศาลภายใน 30 วันนับแต่ทราบคําสั่ง
           ข. นายจ้างเป็นผู้ฟ้องคดี
                     - ต้องฟ้องภายใน 30 วันนับแต่ทราบคําสั่ง
                     - ต้องวางเงินต่อศาล ตามจํานวนที่พนักงานตรวจแรงงานสั่งให้จ่าย แก่ลูกจ้าง
           4. ผลของการไม่นําคดีมาฟ้องต่อศาลภายในกําหนด 30 วันนับแต่ทราบ คําสั่งให้คําสั่งนั้น
 เป็นที่สุด
           5. ศาลมีอํานาจในการนําเงินที่นายจ้างวางต่อศาล จ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือ ทายาท กรณีคดีถึง
 ที่สุดและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่าย
 -
 - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10406/2550 ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจําเลยค้างจ่ายค่าจ้าง
 และค่าทํางานในวันหยุดแก่โจทก์ โจทก์จึงร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานกลุ่มสวัสดิการ และคุ้มครอง
 แรงงานพื้นที่ 8 พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วมีคําสั่งให้ จําเลยจ่ายค่าจ้างและค่าทํา
 งานในวันหยุดแก่โจทก์และได้ส่งคําสั่งให้จําเลยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 143
 วรรคหนึ่ง จําเลยได้รับทราบคําสั่งเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2548 แล้ว จําเลยไม่นําคดีไปสู่ศาลแรงงานภายใน
 สามสิบวันนับแต่วันทราบ คําสั่ง คําสั่งดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 125 วรรคสอง จําเลยมีหน้าที่
 ต้องจ่ายเงิน ตามคําสั่งพนักงานตรวจแรงงานให้โจทก์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบคําสั่งตาม มาตรา
 124 วรรคสาม โดยไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ตามคําให้การซึ่งยุติไปแล้วในชั้นพนักงาน ตรวจแรงงานมา
 กล่าวอ้างในชั้นที่โจทก์ฟ้องต่อศาลแรงงานกลางขอให้บังคับจําเลยจ่าย เงินตามคําสั่งพนักงานตรวจแรง
 งานอีก
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5371/2549 วัตถุประสงค์ของการวางเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง
 แรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสาม ก็เพื่อเป็นหลักประกันว่าเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว และนายจ้างมี
 หน้าที่ต้องจ่ายเงินลูกจ้างหรือทายาทโดยชอบธรรมของลูกจ้างที่ถึงแก่ ความตายจะได้รับเงินจํานวนที่มี
 สิทธินั้น เงินที่นายจ้างนําไปวางจึงยังไม่ตกเป็นของ ลูกจ้าง ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์
 ซึ่งเป็นนายจ้างในส่วนที่เกี่ยวกับ พนักงานตรวจแรงงานจําเลยที่ 1 แต่ศาลแรงงานกลางก็พิพากษาให้จํา
 เลยที่ 2 ชําระเงิน ที่จําเลยที่ 2 ยักยอกไป จําเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษาของโจทก์
 ในหนี้เงินที่จําเลยที่ 2 ยักยอกไป โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาย่อมมีสิทธิ ที่จะบังคับคดีแก่
 ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์ยื่น คําร้องขอให้ศาลแรงงานกลาง
 งดการจ่ายเงินที่โจทก์ได้วางศาลไว้ก่อนฟ้องคดีตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา
 125 วรรคสาม เป็นกรณีที่โจทก์ ร้องขอก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะมีคําสั่งให้จ่ายเงินที่โจทก์วางไว้ดัง
 กล่าวให้แก่ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรง
 งาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสี่ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์และเพื่อบังคับตาม คําพิพากษาที่
 จําเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษาของโจทก์ อันเป็นการร้องขอตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรง
 งานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 58 ซึ่งโจทก์สามารถกระทําได้และกรณีสมควรมี
 คําสั่งคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์เพื่อบังคับ ตามคําพิพากษาต่อไป
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2192/2548 โจทก์ฟ้องว่าพนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งที่ 31/2545 สั่ง
 ให้จําเลยชําระค่าจ้างและเงินประกันแก่โจทก์ พ้นกําหนดระยะเวลาตามที่กฎหมาย บัญญัติแล้ว จําเลย
 ไม่นําคดีไปสู่ศาลและไม่ปฏิบัติตามคําสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ขอให้บังคับจําเลยปฏิบัติตามคําสั่ง
 พนักงานตรวจแรงงานที่ 31/2545 การที่จําเลย ไม่นําคดีไปสู่ศาลทําให้คําสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็น
 ที่สุดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 วรรคสอง ซึ่งจําเลยต้องปฏิบัติตามคําสั่งพนักงานตรวจ
 แรงงานนั้น ไม่มีสิทธิ นําคดีในเรื่องเดียวกันนี้ไปสู่ศาลอีก ตามคําฟ้องจึงเป็นกรณีโจทก์ฟ้องขอบังคับ
 ให้จําเลย ปฏิบัติตามคําสั่งพนักงานตรวจแรงงานอันเป็นที่สุดแล้ว ไม่เกี่ยวกับเรื่องโจทก์ยักยอก ทรัพย์จํา
 เลย ที่จําเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์ยักยอกทรัพย์ของจําเลย โจทก์ต้องชดใช้ราคา ทรัพย์ที่ยักยอกโดยจําเลยขอ
 นําเงินตามจํานวนที่พนักงานตรวจแรงงานสั่งให้จําเลย ชําระมาหักกับราคาทรัพย์แล้วให้โจทก์ชําระ
 ส่วนที่เหลือ จึงไม่เกี่ยวกับคําฟ้องเดิมของ โจทก์
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6076-6077/25449 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจําเลยจ่ายเงินต่าง ๆ ตาม คํา
 สั่งพนักงานตรวจแรงงาน คดีมีประเด็นข้อพิพาทแต่เพียงว่า คําสั่งพนักงานตรวจ แรงงานเป็นที่สุดหรือ
 ไม่ และจําเลยได้จ่ายเงินตามฟ้องให้โจทก์แล้วหรือไม่เท่านั้น ปัญหา ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจําเลยหรือไม่
 เป็นกรณีที่จําเลยจะต้องโต้แย้งให้เป็นประเด็นไว้ใน ชั้นสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงาน และหาก
 พนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งอย่างใด แล้ว จําเลยไม่พอใจ จําเลยย่อมมีสิทธินําคดีไปสู่ศาลแรงงานได้
 ภายใน 30 วัน นับแต่ วันทราบคําสั่ง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง หาก
 ไม่นําคดีไปสู่ศาลภายในกําหนด คําสั่งนั้นเป็นที่สุดตามมาตรา 125 วรรคสอง เมื่อ จําเลยมิได้ใช้สิทธินํา
 คดีสู่ศาลแรงงานตามบทบัญญัติดังกล่าว คําสั่งพนักงานตรวจ แรงงานดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด จําเลยจึง
 หามีสิทธิที่จะยกประเด็นเรื่องความเป็นนายจ้าง ลูกจ้างกันซึ่งยุติไปแล้วในชั้นพนักงานตรวจแรงงาน
 มากล่าวอ้างในชั้นที่โจทก์มาฟ้องต่อ ศาลแรงงานกลางขอให้บังคับจําเลยจ่ายเงินตามคําสั่งพนักงาน
 ตรวจแรงงานไม่ ที่ศาล แรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นนี้มาว่าโจทก็ไม่ได้เป็นลูกจ้างจําเลยจึงไม่ชอบ
 ปัญหา ดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้ อุทธรณ์ ศาล
 ฎีกาก็มีอํานาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาล
 แรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2548 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125
 กําหนดว่า ในกรณีที่นายจ้างไม่พอใจคําสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งให้นายจ้าง จ่ายเงินให้แก่
 ลูกจ้าง และนายจ้างประสงค์จะนําคดีไปสู่ศาลแรงงานเพื่อขอให้เพิกถอน คําสั่งนั้น นายจ้างจะต้องวาง
 เงินตามจํานวนที่นายจ้างประสงค์จะโต้แย้งต่อศาล ซึ่งอาจ เป็นจํานวนทั้งหมดตามคําสั่งของพนักงาน
 ตรวจแรงงาน หรือเพียงบางส่วนก็ได้ และใน กรณีที่เป็นการโต้แย้งคําสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน
 เพียงบางส่วน นายจ้างจะต้อง ชําระเงินส่วนที่ไม่ติดใจโต้แย้งแก่ลูกจ้างเสียก่อน นายจ้างจึงจะมี
 อํานาจฟ้อง
           จําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งให้โจทก์จ่ายเงินให้แก่ฐ กับ พวกรวม 43 คน
 ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์รวม 6,505,487 บาท โจทก์เพียงแต่อ้างว่าโจทก์ ควรจ่ายเงินให้แก่ ฐ กับพวก
 เพียง 497,801 บาท เท่านั้น แต่ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ชําระเงินจํานวนดังกล่าวให้แก่ ฐ. กับพวก ฉะนั้น
 หากโจทก์ต้องการนําคดีไปสู่ศาลแรงงาน เพื่อขอให้เพิกถอนคําสั่งของจําเลยที่ 2 โจทก์ต้องวางเงิน
 จํานวน 6,505,487 บาท ต่อ ศาลแรงงานกลางก่อน โจทก์จึงจะมีอํานาจฟ้อง มิใช่วางเงินจํานวน 497,801
 บาท ตาม ที่โจทก์อ้าง
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2547 ความใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 วรรคสอง
 ที่บัญญัติว่าในกรณีที่นายจ้างหรือลูกจ้างไม่นําคดีไปสู่ศาลภายในกําหนดให้คําสั่งนั้นเป็น ที่สุด ต่อเนื่อง
 มาจากความในวรรคหนึ่งที่ว่า เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งตาม มาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้าง หรือ
 ลูกจ้าง ไม่พอใจคําสั่งนั้น ให้นําคดีไปสู่ศาลได้ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคําสั่ง ซึ่งเป็นการเปิด
 โอกาสหรือให้สิทธิแก่นายจ้างหรือลูกจ้างที่ ไม่เห็นชอบด้วยกับคําสั่งนําคดีไปฟ้องศาลเพื่อให้ตรวจสอบ
 คําสั่งดังกล่าวอีกชั้นหนึ่ง แต่หากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่ประสงค์จะใช้สิทธิดังกล่าว แสดงว่านายจ้าง
 หรือลูกจ้างไม่มีข้อโต้แย้งคําสั่งดังกล่าว ความในวรรคสองจึงบัญญัติให้เป็นที่สุด ซึ่งหมายถึงเป็น ที่สุด
 สําหรับนายจ้างหรือลูกจ้างด้วย มิใช่เป็นที่สุดเฉพาะในทางบริหาร
           เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยคําสั่งของพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด จําเลยที่ 1 มีหน้าที่
 ต้องปฏิบัติตาม จะโต้แย้งหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้อีกไม่ได้ กรณีมิใช่เรื่อง การนําบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.
 จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคสอง มาตัดสิทธิในการต่อสู้คดีของจําเลย
 ที่ 1 จึงเป็นการบังคับใช้หรือตีความ กฎหมายโดยชอบแล้ว
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6288-6383/2546 บริษัทจําเลยมีคําสั่งให้ลูกจ้างรวมถึงโจทก์ทั้ง
 เก้าสิบหก หยุดงานโดยจ่ายค่าจ้างสําหรับวันที่ไม่มาทํางานร้อยละห้าสิบของค่าจ้างปกติ ต่อมาตัวแทน
 โจทก์ทั้งเก้าสิบหกได้ร้องเรียนเกี่ยวกับการออกคําสั่งดังกล่าวต่อพนักงาน ตรวจแรงงาน พนักงาน
 ตรวจแรงงานสอบสวนแล้วมีคําสั่งให้จําเลยจ่ายค่าจ้างเต็มจํานวน แก่ลูกจ้างที่ให้หยุดงานชั่วคราว
 จําเลยทราบคําสั่งดังกล่าวแล้วไม่ได้ฟ้องขอเพิกถอน คําสั่งพนักงานตรวจแรงงานภายในสามสิบวัน
 นับแต่วันทราบคําสั่ง แต่จําเลยได้อุทธรณ์ คําสั่งพนักงานตรวจแรงงานซึ่งเป็นคําสั่งทางปกครองต่อ
 ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร และผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครมีคําสั่งไม่เห็นด้วยกับการพิจารณา
 ของพนักงาน ตรวจแรงงาน การดําเนินการดังกล่าวของจําเลยผู้เป็นนายจ้างหาชอบด้วย พ.ร.บ.
 คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 ไม่ เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้นายจ้างซึ่ง ไม่พอใจคําสั่ง
 ของพนักงานตรวจแรงงานจะต้องนําคดีไปสู่ศาลแรงงาน เมื่อจําเลยมิได้ นําคดีไปสู่ศาลแรงงานกลาง
 เพื่อฟ้องขอให้เพิกถอนคําสั่งภายในสามสิบวันนับแต่วัน ทราบคําสั่ง คําสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน
 ย่อมเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 แสดงให้เห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ได้กําหนดวิธี
 ปฏิบัติราชการทางปกครองไว้ โดยเฉพาะ และมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม ทั้งมีมาตรฐานใน
 การปฏิบัติ ราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กําหนดใน พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 3
 กรณีดังกล่าวจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 จําเลยต้อง ปฏิบัติตามคําสั่งของ
 พนักงานตรวจแรงงาน โดยต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทั้งเก้าสิบหก
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2544 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 กําหนด
 ให้นายจ้างที่ไม่พอใจคําสั่งพนักงานตรวจแรงงานสามารถนําคดีไปสู่ศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วัน
 ทราบคําสั่ง โดยนายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจํานวนที่ถึงกําหนด จ่ายตามคําสั่งพนักงานตรวจแรง
 งานจึงจะฟ้องคดีได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นกรรมการ ผู้มีอํานาจทําการแทนบริษัทนายจ้าง ซึ่งถือว่าเป็น
 นายจ้างไม่พอใจคําสั่งของจําเลยซึ่ง เป็นพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งตามมาตรา 124 แล้วเป็นฝ่ายนําคดี
 มาฟ้องจําเลยเพื่อ ขอให้เพิกถอนคําสั่งดังกล่าว ก็จะต้องนําเงินที่ถึงกําหนดจ่ายตามคําสั่งของจําเลยมา
 วางศาล แต่โจทก์ไม่นําเงินมาวางต่อศาลแรงงานภายในเวลาที่ศาลแรงงานกําหนด โจทก์จึงไม่มี
 อํานาจฟ้อง
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7964/2543 เมื่อคดีถึงที่สุดและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินจํานวนใด
 ให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง แรงงานฯ มาตรา
 125 วรรคสี่ บัญญัติให้ศาลมีอํานาจจ่ายเงินที่นายจ้างวางไว้ต่อศาล ให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรม
 ของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายได้ มิได้จํากัดว่าคดี จะต้องถึงที่สุดด้วยคําพิพากษาของศาลเท่านั้น ดังนี้
 แม้โจทก์ขาดนัดพิจารณาและศาล แรงงานมีคําสั่งให้จําหน่ายคดีจากสารบบความ แต่เมื่อคดีถึงที่สุด
 และโจทก์มีหน้าที่ต้อง จ่ายเงินดังกล่าว ศาลแรงงานจึงมีอํานาจจ่ายเงินที่โจทก์นํามาวางไว้ให้แก่จําเลย
 ซึ่งเป็นลูกจ้างได้
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3811/2542 ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125
 วรรคหนึ่ง กําหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคําสั่งพนักงานตรวจแรงงานนําคดีไปสู่ศาล ภายใน 30 วัน
 นับแต่วันทราบคําสั่ง โดยมาตรา 125 วรรคสาม กําหนดให้นายจ้างที่นํา คดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาล
 ตามจํานวนที่ถึงกําหนดจ่ายตามคําสั่งพนักงานตรวจ แรงงาน จึงจะฟ้องคดีได้
           ส่วนการวางเงินตามคําสั่งพนักงานตรวจแรงงาน จะต้องให้สอดคล้องกับ ความไม่พอใจ
 คําสั่งดังกล่าวด้วย โดยนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้งคําสั่งพนักงานตรวจ แรงงานเท่าใด ก็วางเงินที่ตน
 โต้แย้งไม่จําต้องวางเต็มจํานวนตามคําสั่งพนักงานตรวจ แรงงานเสมอไป ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่พอใจหรือ
 โต้แย้งคําสั่งจําเลยแต่เพียงค่าชดเชยและ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจํานวน 369,000 บาท
 โจทก์จึงวางเงินเฉพาะจํานวน ดังกล่าวได้
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3810/2542 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 วรรคหนึ่ง กําหนด
 ให้นายจ้างที่ไม่พอใจคําสั่งพนักงานตรวจแรงงานนําคดีไปสู่ศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่ วันทราบคําสั่ง
 โดยมาตรา 125 วรรคสาม กําหนดให้นายจ้างที่นําคดีไปสู่ศาลต้องวาง เงินต่อศาลตามจํานวนที่ถึงกําหน
 ดจ่ายตามคําสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงจะฟ้องคดีได้ ส่วนการวางเงินตามคําสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
 จะต้องให้สอดคล้องกับความไม่พอใจ คําสั่งดังกล่าวด้วย โดยนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้งคําสั่ง
 พนักงานตรวจแรงงานเท่าใด ก็วางเงินที่ตนโต้แย้ง ไม่จําต้องวางเต็มจํานวนตามคําสั่งพนักงานตรวจ
 แรงงานเสมอไป เมื่อโจทก์ไม่พอใจหรือโต้แย้งคําสั่งจําเลยทั้งสองแต่เพียงค่าชดเชยและสินจ้างแทนการ
 บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินจํานวน 120,000 บาท โจทก์จึงวางเงินเฉพาะจํานวนดังกล่าว ได้และศาล
 แรงงานกลางชอบที่จะสั่งรับคําฟ้องของโจทก์ไว้
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2542 แม้ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรค
 สาม จะกําหนดให้นายจ้างที่ประสงค์จะฟ้องเพิกถอนคําสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ตามมาตรา 124 ต้อง
 นําเงินมาวางต่อศาลตามจํานวนที่ถึงกําหนดจ่ายตามคําสั่งพนัก งานตรวจแรงงานพร้อมกับคําฟ้องก็ตาม
 แต่ก็ไม่ห้ามนายจ้างที่จะยื่นคําร้องขอให้ศาล แรงงานขยายระยะเวลาวางเงินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาล แรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องพร้อมกับ
 ยื่นคําร้อง ขอขยายระยะเวลาวางเงินบางส่วนต่อศาล ศาลแรงงานกลางจะต้องมีคําสั่งคําร้องขอ
 ดังกล่าวก่อนที่จะพิจารณาสั่งคําฟ้อง การที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาสั่งคําฟ้องโดย ไม่พิจารณาสั่ง
 คําร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินก่อนเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติ แห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา
 ตามมาตรา 243 (2) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6552/2542 ลูกจ้างได้ยื่นคําร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.
 คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 และพนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งให้นายจ้าง จ่ายค่าชดเชยตาม
 มาตรา 124 เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคําสั่งตามมาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้างไม่พอใจคําสั่งนั้น ให้
 นําคดีไปสู่ศาลได้ภายในกําหนด ให้คําสั่งนั้นเป็นที่สุด ตามมาตรา 125 ดังนี้ เมื่อจําเลยผู้เป็นนายจ้างไม่
 นําคดีมาสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่ วันทราบคําสั่งซึ่งวินิจฉัยว่าจําเลยเลิกจ้างและสั่งให้จําเลยจ่ายค่าชด
 เชยให้แก่โจทก์ คําสั่ง ดังกล่าวจึงถึงที่สุด จําเลยจะดําเนินการในศาลแรงงานในปัญหาดังกล่าวซึ่งรวม
 ตลอด ถึงการให้การต่อสู้อีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดี แรงงาน
 พ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคท้าย เมื่อโจทก์นําคดีมาฟ้องเพื่อขอให้จําเลยปฏิบัติ ตามคําสั่งของพนักงาน
 ตรวจแรงงาน จําเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้คดีว่าคําสั่งของพนักงาน ตรวจแรงงานดังกล่าวอันเป็นการโต้แย้ง
 คําสั่งอันถึงที่สุดแล้วได้
 -