บอกเหตุผลที่คนส่วนใหญ่ในสังคมไทยนับถือพระพุทธศาสนาประมาณร้อยละ 95

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

<div style="border:solid transparent;position:absolute;width:100px;line-height:0;

ศาสนาในประเทศไทย (สำมะโน พ.ศ. 2561)[1][2]

  พุทธ (รวมทั้งศาสนาพื้นเมืองของไทยและจีน) (93.46%)

  อื่น ๆ (0.03%)

ศาสนาในประเทศไทย เป็นศาสนาผสม[3][4]

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมให้ทางราชการรับรองศาสนาในประเทศไทยไว้ 5 ศาสนา[5] ดังนี้ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์

ศาสนิกชน[แก้]

จากสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2543[6] พ.ศ. 2551[7] พ.ศ. 2554[8] และ พ.ศ. 2557[9][10] โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในประเทศไทยมีผู้นับถือศาสนา ดังนี้

ศาสนาพ.ศ. 2543พ.ศ. 2551พ.ศ. 2554พ.ศ. 2557พ.ศ. 2558พ.ศ. 2561
ศาสนาพุทธ 57,157,751 (93.83%) 93.9% 61,746,429 (94.6%) 94.6% 63,620,298 (94.50%) 63,299,192 (93.46%)
ศาสนาอิสลาม 2,777,542 (4.56%) 5.2% 3,259,340 (4.6%) 4.2% 2,892,311 (4.29%) 3,639,233 (5.37%)
ศาสนาคริสต์ 486,840 (0.8%) 0.7% 789,376 (0.7%) 1.1% 787,589 (1.17%) 767,624 (1.13%)
ศาสนาฮินดู 52,631 (0.086%) 0.2% 182,694 (0.1%) ไม่มีข้อมูล 22,110 (0.03%) 12,195 (0.018%)
ศาสนาซิกข์ 11,124 (0.02%) ไม่มีข้อมูล 716 (0.001%)
ลัทธิขงจื๊อ 6,925 (0.011%) ไม่มีข้อมูล 1,030 (0.001%) 2,009 (0.002%)
ศาสนาอื่น ๆ 48,156 (0.079%) 70,742 (0.11%) 1,583 (0.002%)
ไม่มีศาสนา 164,396 (0.27%) ไม่มีข้อมูล 2,925 (0.005%) ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล 2,082 (0.003%)
ไม่ทราบศาสนา 222,200 (0.36%) ไม่มีข้อมูล 3,820 (<0.1%) ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล 4,085 (0.006%)

ร้อยละของประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป จำแนกตามศาสนา และภาค พ.ศ. 2557[11][12]

ศาสนากรุงเทพมหานครภาคกลางภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคใต้ทั่วราชอาณาจักร
ศาสนาพุทธ 95.3% 97.2% 96.6% 99.4% 75.3% 94.6%
ศาสนาอิสลาม 2.9% 1.9% 0.1% 0.1% 24.5% 4.2%
ศาสนาคริสต์ 1.6% 0.9% 2.7% 0.5% 0.2% 1.1%
ศาสนาอื่น ๆ 0.2% - 0.6% - - 0.1%

อย่างไรก็ตามการสำรวจขององค์การพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และกลุ่มศาสนา ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010)[13] บ่งชี้ว่าประเทศไทยมีผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทประมาณ 85-95% ศาสนาอิสลามประมาณ 5-10% และศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาคริสต์ ลัทธิขงจื๊อ ศาสนาฮินดู ศาสนายูดาห์ ศาสนาซิกข์ ลัทธิเต๋า และไม่มีศาสนา รวมกันประมาณ 5% สำหรับผู้ที่ไม่มีศาสนากรมการศาสนาประมาณการว่ามีน้อยกว่า 1% ของประชากรทั้งประเทศ[14]

ศาสนาและภาครัฐ[แก้]

นับแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา ฝ่ายอาณาจักรมีความสัมพันธ์กับฝ่ายศาสนจักรอย่างแน่นแฟ้น พระมหากษัตริย์ไทยและพระราชนิกุลทรงเป็นพุทธมามกะและหลายพระองค์ทรวงผนวชเป็นภิกษุ จึงมีการอุดหนุนค้ำจุนกันระหว่างสถาบันทั้งสองเรื่อยมา ในปัจจุบันกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่กำกับดูแลและรับรองกลุ่มศาสนาซึ่งรับรองเพียงห้าศาสนาหลักเท่านั้น และไม่รับรองกลุ่มศาสนาใดเพิ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา[14] กลุ่มศาสนาที่ได้รับการรับรองมีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนและสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษี ส่วนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ดูแลพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ทั้งสองหน่วยงานรับงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อใช้ในกิจการทางศาสนารวมกันกว่าสี่พันล้านบาทต่อปี[ต้องการอ้างอิง]

กระทรวงมหาดไทยเคยเก็บข้อมูลศาสนาและหมู่เลือดของคนไทยและพิมพ์ลงในบัตรประจำตัวประชาชน[15] แต่ปัจจุบันเลิกแล้ว[16] และศาสนาถือเป็นหนึ่งในข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร[17] ในใบสมัครงาน ใบสมัครเข้าเรียนในสถานศึกษา[18] หรือประวัติคนไข้ในโรงพยาบาล ในปัจจุบันนักเรียนในโรงเรียนรัฐที่นับถือศาสนาอื่นไม่ต้องสวดมนต์ไหว้พระหลังเคารพธงชาติทุกวัน[19] และวิชาพระพุทธศาสนาไม่ได้เป็นวิชาบังคับในหลักสูตรของโรงเรียนรัฐบาลทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาอีกต่อไป เนื่องด้วยนักวิชาการให้ความเห็นว่าเป็นความเชื่อส่วนบุคคลและขัดต่อหลักเสรีภาพในการนับถือศาสนา

กฎหมาย[แก้]

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 รวมถึงรัฐธรรมนูญไทยฉบับก่อนหน้ารับรองเสรีภาพในการถือศาสนาของประชาชน[20] แต่บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก[21] และกำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐชัดเจนว่ารัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนาในมาตรา 79[22] แม้ว่าจะมีการเรียกร้องให้บัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวแต่ในที่สุดมาตรานี้มีความเพียงว่า "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน" นอกจากรัฐธรรมนูญแล้วศาสนาในประเทศไทยยังได้รับการคุ้มครองโดย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งห้ามการกล่าวหมิ่นประมาทพุทธศาสนารวมถึงพระสงฆ์ และคุ้มครองศาสนสถานและศาสนพิธีของศาสนาอื่น ๆ ตามลำดับ[14]

ในทางปฏิบัติ[แก้]

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

อิทธิพลของศาสนาและความเชื่อในประเทศไทยสะท้อนออกมาในหลากหลายรูปแบบ อาทิ ตราแผ่นดินหรือตราประจำหน่วยงานที่มักเป็นเทพเจ้าในศาสนพราหมณ์-ฮินดู การใช้ปีพุทธศักราช (แต่ยึดปฏิทินสุริยคติตามระบบเกรโกเรียน) การใส่ภาพวัดในพุทธศาสนาลงในเหรียญกษาปณ์และธนบัตร การตั้งศาลพระภูมิในหน่วยงานราชการ การบูชาพระรัตนตรัยก่อนเริ่มพิธีการ การกำหนดวันสำคัญในศาสนาพุทธเป็นวันหยุดราชการ รวมถึงรัฐพิธีที่เป็นความเชื่อทางศาสนาที่มีมาแต่โบราณ เช่น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย

ศาสนาพุทธ[แก้]

ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยเป็นพุทธศาสนิกชนนิกายเถรวาท ซึ่งในปัจจุบันศาสนาพุทธในประเทศไทยได้ผสมผสานเข้ากับความเชื่อพื้นบ้าน อย่างเช่น การตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ การถือฤกษ์ นอกจากนี้จำนวนประชากรชาวไทย-จีนขนาดใหญ่ที่อพยพเข้ามาในประเทศก็นับถือทั้งศาสนาพุทธและประเพณีดั้งเดิม[23] วัดพุทธในประเทศมีเอกลักษณ์ที่เจดีย์สีทองสูง และสถาปัตยกรรมพุทธในประเทศไทยคล้ายคลึงกับในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กัมพูชาและลาว ซึ่งมีภูมิหลังทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ร่วมกัน

ศาสนาอิสลาม[แก้]

ชาวมุสลิมเป็นประชากรขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในประเทศไทย[23][14] ในบริเวณสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ตลอดจนบางส่วนของจังหวัดสงขลาและชุมพร มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ประกอบด้วยทั้งผู้ที่มีเชื้อสายไทยและมลายู คนส่วนใหญ่เชื่อกันว่าประชากรชาวมุสลิมส่วนใหญ่ของประเทศอาศัยอยู่มากที่สุดบริเวณนี้

อย่างไรก็ตามการวิจัยของกระทรวงการต่างประเทศ ชี้ว่า ชาวไทยมุสลิมเพียงร้อยละ 18 อาศัยอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ ส่วนที่เหลือได้อาศัยอยู่กระจายกันไปทั่วประเทศ โดยมีอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครมากที่สุด และตลอดภาคใต้ของประเทศ ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ใน พ.ศ. 2548 ชาวมุสลิมในภาคใต้ของประเทศคิดเป็นประชากรร้อยละ 30.4 ของประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ ในขณะที่มุสลิมในส่วนอื่นของประเทศกลับมีน้อยกว่าร้อยละ 3[ต้องการอ้างอิง]

ประชากรมุสลิมของไทยมีความหลากหลายและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยมีกลุ่มเชื้อชาติอพยพเข้ามาจากจีน ปากีสถาน กัมพูชา บังกลาเทศ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เช่นเดียวกับชาวไทย ขณะที่มุสลิมในประเทศไทยราวสองในสามมีเชื้อสายมลายู

ศาสนาฮินดู[แก้]

ศาสนาซิกข์[แก้]

ศาสนาคริสต์[แก้]

ศาสนาคริสต์มีประวัติศาสตร์ยาวนานในประเทศไทย ถูกนำเข้ามาเผยแผ่โดยมิชชันนารียุโรปตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยา ประมาณคริสต์ทศวรรษ 1550 (พ.ศ. 2093) ศาสนาคริสต์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถาบันสังคม การศึกษา สาธารณสุข และเทคโนโลยี[24]

ปัจจุบันประเทศไทย มีองค์กรคริสตจักรที่กรมการศาสนารับรองอยู่ 5 องค์กร ได้แก่ สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย สภาคริสตจักรในประเทศไทย สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย มูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ และมูลนิธิคริสตจักรวันเสาร์แห่งประเทศไทย คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทั่วทุกจังหวัดในประเทศไทย มีจำนวนคริสต์ศาสนิกชนรวมกันราว 820,000 คน (อันดับที่ 3 ในประเทศไทย) ศาสนสถานรวมกันราว 5,500 แห่งทั่วประเทศ ประกอบด้วย 2 นิกาย ได้แก่ โปรเตสแตนต์ และโรมันคาทอลิก ส่วนนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ปกครองโดยมูลนิธิชาวคริสต์ศาสนิกชนดั้งเดิมออร์โธด็อกซ์ในประเทศไทย

ศาสนายูดาห์[แก้]

ลัทธิอนุตตรธรรม[แก้]

ลัทธิอนุตตรธรรมเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกราว พ.ศ. 2492[25] จากอาจารย์ในลัทธิที่ลี้ภัยจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนเข้ามาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ และได้ตั้งสถานธรรมแห่งแรกขึ้นในประเทศไทยช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 ต่อมามีลัทธิอนุตตรธรรมหลายสายเข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทยมากขึ้น ในปัจจุบันสายที่ใหญ่ที่สุดคือสายฟาอี ซึ่งประกอบด้วยหลายสายย่อย ที่สำคัญเช่น สายฟาอีฉงเต๋อซึ่งตั้งสถานธรรมแรกในปี พ.ศ. 2521 สายฟาอีหลิงอิ่นในปี พ.ศ. 2523 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสายเป่ากวงเจี้ยนเต๋อที่ตั้งสถานธรรมเทียนเป่าในปี พ.ศ. 2533

แม้ประชากรไทยส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ แต่มีพุทธศาสนิกชนชาวไทยจำนวนมากเข้าเป็นสมาชิกลัทธิอนุตตรธรรมเพราะเข้าใจผิดว่าเป็นพุทธศาสนานิกายมหายานรูปแบบหนึ่ง จากข้อมูลของ World I-Kuan Tao Headquarters ที่เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2548 ระบุว่าลัทธิอนุตตรธรรมมีสมาชิกราว 1,000,000 คนในประเทศไทย ในจำนวนนี้มีพระราชวงศ์และข้าราชการระดับสูงรวมอยู่ด้วย[25]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Population by religion, region and area, 2018". NSO. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.
  2. "Population by religion, region and area, 2015" (PDF). NSO. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2017.
  3. รู้ไหม? คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธไม่แท้ แต่เป็นพุทธที่มี ‘ผี’ และ ‘พราหมณ์’ ผสมอยู่, BrandThink, 4 กุมภาพันธ์ 2021, สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2022
  4. ผี พราหมณ์ พุทธ : ‘ศาสนาไทย’ ในศาสนา ‘ผี-พราหมณ์-พุทธ’ / คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง, มติชนสุดสัปดาห์, 28 กรกฎาคม 2021, สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2022
  5. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
  6. ประชากรจำแนกตามศาสนา หมวดอายุ เพศ และเขตการปกครอง Archived 2013-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2543, สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  7. [1], สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2551, สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  8. ร้อยละของประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป เกี่ยวกับการนับถือศาสนาในประเทศไทย (ในหน้า6-8 สารสถิติ ปีที่ 23 ต.ค.-ธ.ค.2555 สำนักงานสถิติแห่งชาติ)[ลิงก์เสีย], สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2554, สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  9. [2][ลิงก์เสีย], สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2557, สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  10. [3], แผนภูมิ 4.1 ร้อยละของประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป จำแนกตามศาสนา และภาค พ.ศ. 2557, สำนักงานสถิติแห่งชาติ
  11. [4][ลิงก์เสีย], สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2557, สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  12. [5], แผนภูมิ 4.1 ร้อยละของประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไป จำแนกตามศาสนา และภาค พ.ศ. 2557, สำนักงานสถิติแห่งชาติ
  13. [6] Section I. Religious Demography, THAILAND, สืบค้น 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
  14. ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 "International Religious Freedom Report, Thailand". US Department of State. 2549.
  15. กฎกระทรวงฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน
  16. ถาม-ตอบเรื่องบัตรประชาชน[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  17. พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 4
  18. ใบสมัครมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปีการศึกษา 2555
  19. [[:s:ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ_ว่าด้วยการสวดมนต์ไหว้พระของนักเรียน_พ.ศ._๒๕๐๓|]] ที่ วิกิซอร์ซ
  20. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 3 มาตรา 37
  21. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 9
  22. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 5 มาตรา 79
  23. ↑ 23.0 23.1 "CIA World Factbook: Thailand". Central Intelligence Agency. 8 February 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-29. สืบค้นเมื่อ 1 March 2011.
  24. Catholic Encyclopedia Article
  25. ↑ 25.0 25.1 Joseph J. F. Chen. I-kuan Tao. Bloomington, Indiana : Authorhouse, ค.ศ. 2005. 191 หน้า. ISBN 1-4184-9516-6หน้า 84-90

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน