แผนการ สอน เรื่อง อริยสัจ 4 ม. 1

6.3.1  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป และวิเคราะห์หลักธรรมในกรอบอริยสัจ 4  เชื่อมั่นต่อผลของการทำความดี ความชั่ว  วิเคราะห์สถานการณ์ที่ต้องเผชิญและตัดสินใจเลือกดำเนินการหรือปฏิบัติตนได้อย่างมีเหตุผลถูกต้องตามหลักธรรม จริยธรรมสามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างสมานฉันท์ พร้อมทั้งตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของค่านิยม จริยธรรม ที่เป็นตัวกำหนดความเชื่อและพฤติกรรมที่แตกต่างกันของศาสนิกชน

ส 1.1 ม. 1/2 วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือที่มีต่อสภาพแวดล้อม ในสังคมไทย รวมทั้งการพัฒนาตนและครอบครัว

ส 1.1 ม. 1/5 อธิบายพุทธคุณ และข้อธรรมสำคัญในกรอบอริยสัจ 4 หรือหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด เห็นคุณค่าและนำไปพัฒนา แก้ปัญหาของตนเองและครอบครัว

ส 1.1 ม. 1/8 วิเคราะห์และปฏิบัติตนตาม หลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือในการดำรงชีวิตแบบพอเพียงและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

1. สาระสำคัญ

กรรม คือ การกระทำ ในทางธรรมหมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา การกระทำ ที่ปราศจากเจตนาไม่จัดเป็นกรรม แต่จะเรียกว่ากิริยา ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่มีผลทางจริยธรรม

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

2.1 เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกความหมายและประเภทของกรรมได้ (K)

2.2 เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกผลของการกระทำในลักษณะกรรมได้ (K)

2.3 เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าความสำคัญ และปฏิบัติตนตามหลักกรรมได้ (P และ A)


3. สาระการเรียนรู้

3.1 ความรู้ (K-Knowledge)

3.1.1 ความหมายและประเภทของกรรม

3.1.2 ผลของการกระทำในลักษณะกรรม

3.2 กระบวนการ (P-Process)

3.2.1 การค้นคว้าความรู้จากเอกสารและใบความรู้

3.2.2 การอภิปรายระดมสมองภายในกลุ่ม

3.2.3 การสร้างข้อสรุปเป็นองค์ความรู้

3.3 คุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ (A-Attitude)

3.3.1 รักในการเรียนรู้และกระตือรือร้นในการทำงาน

3.3.2 เห็นคุณค่าความสำคัญ และปฏิบัติตนตามหลักกรรม

4. กิจกรรมการเรียนรู้

ก่อนเริ่มกิจกรรมการเรียนรู้ ให้นักเรียนทุกคนทำแบบทดสอบก่อนเรียน

4.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

4.1.1 แบ่งนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 7 คน โดยให้นักเรียนจับสลากอักษรภาษาอังกฤษ ได้แก่ A B C D E และ F คนที่จับได้อักษรใดก็ให้ทำท่าแสดงตัวอักษรนั้น โดยห้ามส่งเสียง เมื่อเห็นคนที่คิดว่าจับได้กลุ่มเดียวกัน ก็ให้รวมกลุ่มกัน

4.1.2 นักเรียนเล่นเกม ทายภาพปริศนา โดยให้นักเรียนนั่งตามกลุ่ม จากนั้นครูจะติดชิ้นส่วนของรูปบนกระดาน แล้วให้สมาชิกกลุ่มปรึกษากันว่าเป็นรูปอะไร ถ้ากลุ่มใดถูกชนะ แต่ถ้าไม่มีกลุ่มใดตอบถูก ครูก็จะติดชิ้นส่วนจนกว่าจะมีกลุ่มตอบถูก

4.1.3 ครูเฉลยภาพ (พ่อค้าหาบเร่กำลังย่างหมูขายให้ลูกค้า) จากนั้นให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มช่วยกันตอบคำถาม ดังต่อไปนี้

-ภาพคนเหล่านั้นคือใคร

-กำลังทำอะไร

-ทำเพราะอะไร

-ทำแล้วได้ผลอย่างไร

4.1.4 ครูเชื่อมโยงรูปภาพการกระทำเข้าสู่เรื่อง กรรม โดยชี้ให้เห็นว่า กรรม คือ การกระทำ เช่นเดียวกับพ่อค้าหาบเร่ที่กำลังย่างหมูขายให้ลูกค้าซึ่งกำลังรอคอยหมูปิ้งอยู่นี้ ที่เรากำลังจะได้เรียนต่อไป

4.2 ขั้นสอน

4.2.1 ขั้นทุกข์ (การศึกษาปัญหา)

(1) สมาชิกกลุ่มแบ่งหน้าที่กันเป็นประธาน รองประธาน กรรมการ และเลขานุการ

(2) ครูติดภาพตลาดน้ำบนกระดาน

(3) แต่ละกลุ่มช่วยกันอภิปรายในหัวข้อต่อไปนี้

- คนเหล่านั้นกำลังทำอะไร (แม่ค้ากำลังขายของในตลาดน้ำ)

- ผลที่คนเหล่านั้นได้รับจากการกระทำคืออะไร (การทำมาหากิน)

- พฤติกรรมนี้เป็นสิ่งพึงประสงค์หรือไม่ ก่อให้เกิดปัญหาอย่างไร (เป็นสิ่งพึงประสงค์ เพราะเป็นการทำมาหากินเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัว)

4.2.2 ขั้นสมุทัย (การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา)

(1) สมาชิกกลุ่มช่วยกันพิจารณาแยกแยะสาเหตุของปัญหา โดยการอภิปราย ในประเด็นต่อไปนี้

- อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้คนในภาพต้องการทำอย่างนั้น

- ผู้ที่กระทำการดังกล่าวมีการแสดงออกอย่างไร

(2) นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่พบ และสรุปผล

4.2.3 ขั้นนิโรธ (การเลือกแนวทางปฏิบัติเพื่อหาสาเหตุของปัญหา)

ครูและนักเรียนทำกิจกรรมดังนี้

(1) ครูแจกใบความรู้ เรื่อง กรรม ให้แต่ละกลุ่ม

(2) นักเรียนตอบคำถาม

- กรรม มีความหมายอย่างไร

- ผลของกรรม มีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม

(3) นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์บุคคลในภาพคนใดคนหนึ่ง โดยเลือกตามความพอใจ ด้วยหลักกรรม

4.2.4 ขั้นมรรค (การสรุปผลและกำหนดแนวทางปฏิบัติ)

(1) สมาชิกกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์เปรียบเทียบแนวทางการแก้ปัญหาที่เก็บรวบรวมข้อมูลไว้แล้วนั้น เพื่อเลือกแนวทางที่กลุ่มเห็นว่าดีที่สุดและร่วมกันกำหนดแนวทางปฏิบัติในการแก้ปัญหา เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย

(2) แต่ละกลุ่มนำเสนอผลการอภิปราย

4.3 ขั้นสรุป

4.3.1 สมาชิกกลุ่มร่วมกันทำใบงาน

4.3.2 ครูให้นักเรียนติดผลงานกลุ่มแต่ละกลุ่มที่บอร์ดเพื่อเผยแพร่การนำหลักธรรมเรื่อง กรรม มาใช้ในชีวิตประจำวัน

4.4 ขั้นวัดผล

นักเรียนทำแบบทดสอบย่อยประจำแผนการจัดการเรียนรู้

5. สื่อ อุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้

5.1 สลากตัวอักษร

5.2 เกมภาพปริศนา

5.3 ภาพตลาดน้ำ

5.4 ใบความรู้

5.5 ใบงาน

5.6 แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน

6. การวัดผลและประเมินผล

6.1 วิธีการวัดผล

6.1.1 การเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน

6.1.2 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

6.1.3 การทำแบบทดสอบหลังเรียนประจำแผนการจัดการเรียนรู้

6.2 เครื่องมือการวัดผล

6.2.1 แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้

6.2.2 แบบบันทึกผลคะแนนการสอบหลังเรียน

6.3 เกณฑ์การประเมินผล

6.3.1 การสังเกตพฤติกรรมนักเรียน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

6.3.2 ประเมินผลแบบทดสอบหลังเรียน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

7. ข้อเสนอแนะ

ให้นักเรียนศึกษารายละเอียดของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่อง กรรม เพิ่มเติมจาก ตำราในห้องสมุด และเว็บไซต์ในระบบอินเทอร์เน็ต เช่น