การอภิปรายแบบซิมโพเซียม ตัวอย่าง

หน่วยท่ี 2 รูปแบบของการสมั มนา

สาระสาํ คญั
รูปแบบของการสัมมนาน้นั มีความหลากหลาย ดังนัน้ ผจู้ ดั การสัมมนาหรือผสู้ อนวชิ าการสัมมนา สามารถ

ท่จี ะเลือกใชร้ ูปแบบใดรปู แบบหนึ่งหรือหลาย ๆ รูปแบบรวมกนั เพือ่ นาํ มาประยุกตใ์ ช้ไดต้ าม ความเหมาะสม และ
ตรงกับจุดมุ่งหมายของการจัดสัมมนาหรือการสอนสัมมนาในครั้งนั้น ๆ แต่จะ ต้องคํานึงถึงความสอดคล้องกับ
หวั ขอ้ เรือ่ ง เวลา สถานที่ ตลอดจนผทู้ ี่เกยี่ วข้องกับการสมั มนาทุก ๆ ฝ่าย โดยเฉพาะการทราบข้อมูลเกี่ยวกับ เพศ
อายุ อาชีพ และพื้นฐานความรู้ ของผู้เข้าร่วมสัมมนา ทุกคน ซึ่งจําเป็นต้องใช้เป็นองค์ประกอบที่สําคัญในการจัด
สมั มนาแตล่ ะคร้งั กจ็ ะทาํ ใหก้ ารจดั สมั มนา บรรลวุ ตั ถปุ ระสงค์ไดเ้ ป็นอยา่ งดี
องคป์ ระกอบท่เี ก่ียวข้องกบั การจดั รูปแบบการสมั มนา

กระบวนการต่าง ๆ ที่นํามาใช้ในการจัดสัมมนา ควรมีหลายรูปแบบและหลายลักษณะ เช่น การนํา
รูปแบบของการประชุมและอภิปรายตา่ ง ๆ มาประยุกต์ใช้สาํ หรับการจดั สมั มนา ซงึ่ การนํารูปแบบของการประชุม
และอภิปรายลักษณะใดลักษณะหน่งึ มาใชใ้ นการจดั สมั มนานนั้ ควรคาํ นงึ ถงึ องคป์ ระกอบตา่ ง ๆ ดงั น้ี

1. ขนาดของกลมุ่ ผูเ้ ขา้ รว่ มสัมมนา อาจแบ่งเป็นกลมุ่ ขนาดเลก็ ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ได้แลว้ แต่ ความ
เหมาะสม กลุ่มขนาดเล็กประกอบด้วยจํานวนสมาชิกตั้งแต่ 5 - 50 คน กลุ่มขนาดกลางประกอบด้วย จํานวน
สมาชิกตง้ั แต่ 51 - 100 คน และกลมุ่ ขนาดใหญป่ ระกอบด้วยสมาชิกตั้งแต่ 101 คนขน้ึ ไป

2. หัวข้อเรื่องและจุดมุ่งหมายของการจัดสัมมนามีความสําคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการนํารูปแบบและวิธีการ
จัดสัมมนาประยุกต์ ตลอดทั้งยังมีความสําคัญต่อการเลือกและเชิญวิทยากร และการจัดเตรียมกําหนดการก็ จะ
ได้รับผลกระทบเช่นกัน ถ้าหัวข้อเรื่องและจุดมุ่งหมายของการจัดสัมมนา มีความยุ่งยากและสลับซั บซ้อน
ระยะเวลาของการจดั สัมมนาอาจจดั ได้ภายใน 1 ถึง 5 วัน หรอื มากกวา่ นั้น

3. สื่อกลางและสถานที่สําหรับจัดสัมมนา ควรมีความพร้อมในทุก ๆ ด้านโดยคํานึงถึงขนาดและความจุ
ของสถานที่ ตลอดจนเครื่องอํานวยความสะดวกต่าง ๆ และความสะดวกของการคมนาคม การติดต่อสื่อสาร
นอกจากสงิ่ ต่าง ๆ ทก่ี ล่าวมาแล้ว ภายในอาคารสถานท่ีใชจ้ ัดสัมมนาควรประกอบดว้ ยโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ อย่าง
พร้อมมูล อาทิ เครื่องฉายสไลด์ โอเวอร์เฮด และโปรเจคเตอร์ เป็นต้น แต่ถ้าเป็นการจัดสัมมนาที่มี ความสําคัญ
ระดับชาติ หรือระดับประเทศที่มีผู้สนใจอย่างมาก ระบบโทรทัศน์วงจรปิด อาจถูกนํามาใช้ประกอบ การสัมมนา
หรือแมแ้ ตอ่ ปุ กรณ์โทรพิมพ์ เป็นต้น
การเลือกใชร้ ูปแบบและเทคนิคในการจดั สัมมนา

รูปแบบและเทคนิคที่ถูกต้องและเหมาะสม มีความสําคัญอย่างยิ่งในการเรียนรู้ของสมาชิกที่เข้าร่วม
สัมมนา ชนิดและรูปแบบของการจัดอภิปรายและประชุม ที่สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในการจัดสัมมนา มีหลาย
รูปแบบ ดังน้ี

1. การอภิปรายแบบคณะ
เทคนิคการสัมมนาแบบคณะ เป็นเทคนิคการฝึกอบรมที่ใช้ได้ดีวิธีหนึ่ง การอภิปรายแบบคณะเป็นการ

อภิปรายตามหัวข้อที่กําหนด จากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวนประมาณ 3 – 8 คนโดยผู้อภิปรายแต่ละคน เสนอ
ขอ้ มูล ความรู้ ขอ้ เท็จจริงและความคิดเหน็ ของตนแก่ผู้ฟัง การอภปิ รายแบบคณะ มีวัตถปุ ระสงคท์ ี่จะให้ ผู้เข้าร่วม

สมั มนา ไดร้ ับความรู้ความคดิ เหน็ ที่แตกต่างกันหลายแงห่ ลายมุมในเร่ืองเดยี วกัน เพ่ือใหผ้ ้เู ข้ารับการ สัมมนาได้รับ
ความรู้และประสบการณ์กว้างขวางยิ่งขึ้น ดังนั้น วิทยากรจะต้องเป็นผู้มีความรู้และมีประสบการณ์ ในเรื่องนั้น ๆ
เป็นอย่างดีเยย่ี ม

วธิ ดี าํ เนนิ การ
1) พิธีกรดําเนินการตามกําหนดการ โดยเชิญประธานกล่าวเปิดการสัมมนา หลังจากนั้น พิธีกรจะ

แนะนาํ หวั ขอ้ ทจี่ ะดําเนินการสมั มนาตลอดท้งั ผรู้ ่วมอภปิ รายแตล่ ะคน จากน้นั จงึ เริม่ การอภปิ ราย
2) ควรเปิดโอกาสให้ผู้อภิปรายแต่ละคนเสนอความคิดเห็นของตนอย่างอิสระ หลังจากนั้น พิธีกรอาจ

จัดช่วงเวลา สําหรับแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้อภิปรายด้วยกันเอง โดยทางพิธีกรจะเป็นผู้ประสานงาน
หรือเปน็ ผูส้ รุปในบางตอน

3) การจัดสถานท่ี ควรจัดเวทียกพ้ืนและมีโต๊ะสําหรบั วางเอกสารและวัสดุตา่ ง ๆ ให้แก่ผ้อู ภปิ ราย และมี
ไมโครโฟนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ผู้ฟังสามารถฟังได้อย่างชัดเจน การจัดรูปแบบของการอภิปราย อาจ จัดลักษณะ
แถวเด่ยี วหนา้ กระดานหรือจะจัดรูปโค้งเลก็ น้อยก็ได้

ขอ้ ดี
1) ผู้ฟังได้รับความรู้ ความคดิ เหน็ ตา่ ง ๆ อยา่ งกวา้ งขวาง
2) บรรยากาศในการพูดเป็นกนั เอง
3) ประกอบดว้ ยวทิ ยากรหรือผู้อภปิ รายหลายคน สามารถดึงดดู ความสนใจจากผูฟ้ ังไดม้ ากขน้ึ
4) เปดิ โอกาสใหผ้ ู้ฟัง มีส่วนร่วมในการซักถามผู้อภิปรายในช่วงทา้ ยของรายการ วิธนี ี้จะช่วยกระตุ้น ให้

ผูฟ้ ังเกิดความสนใจ ได้รับความรแู้ ละข้อเท็จจริงมากข้ึน
ขอ้ จํากดั
1) ในระยะเวลาทก่ี าํ หนด ผอู้ ภปิ รายอาจไม่สามารถเสนอความคิดเหน็ หรอื ตอบปัญหาไดอ้ ย่างเต็มที่
2) พิธีกรที่ขาดประสบการณ์ อาจสรุปการอภิปรายได้ไม่ถูกต้องและสมบูรณ์ ทําให้การอภิปรายไม่ได้

ผลเท่าท่คี วร
3) ผฟู้ ังมสี ่วนรว่ มในกิจกรรมนอ้ ยเกินไป อาจทําให้การอภิปรายขาดรสชาติ
4) ผู้อภิปรายบางคนอาจพูดมากเกินไป หรืออาจพูดนอกประเด็นซึ่งจะทําให้การอภิปรายไม่ได้

ประโยชน์ เทา่ ทีค่ วร
2. การอภิปรายแบบซิมโพเซียม

การอภิปรายแบบนี้เหมาะสมที่จะนํามาใช้ในการประชุมทางวิชาการ การจัดอภิปรายแบบซิมโพเซียม
ประกอบด้วยผูเ้ ช่ียวชาญหรือวิทยากร 2 - 6 คน มลี กั ษณะเป็นทางการมาก ผู้อภิปรายมกี ารเตรียมตวั ล่วง หน้ามา
เป็นอย่างดี โดยผู้อภิปรายแต่ละคนจะเตรียมความรู้เฉพาะตอนใดตอนหนึ่งตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย การ
บรรยายจะไม่ก้าวก่ายหรือซ้ำซ้อนกับหัวข้อของวิทยากรท่านอื่น วิทยากรแต่ละท่านจะเสนอความคิดเห็น ของ
ตนเองให้ตรงเปา้ หมายใหม้ ากที่สดุ โดยใช้เวลาประมาณทา่ นละ 10 - 15 นาที

วิธดี าํ เนนิ การ
1) พธิ ีกรเชิญประธานเปิดการอภิปราย และพิธีกรแนะนาํ หัวข้อเร่อื งทีจ่ ะบรรยายแนะนําวิทยากร แต่ละ

คน เพื่อให้ผู้ฟงั ทราบพน้ื ฐานและภมู ิหลงั ของผูบ้ รรยาย
2) เริ่มการบรรยายโดยพิธีกรหรือประธาน เป็นผู้ประสานเชื่อมโยงการบรรยายของวิทยากรแต่ละคน

อาจสรุปในบางตอนทีม่ ีเนื้อหาสาระประทับใจเป็นพิเศษและคอยประสานงานใหก้ ารบรรยายดําเนินไปตาม หัวข้อ
เรื่อง และวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ในบางกรณีอาจมีเลขานุการเพิ่มอีก 1 คน เพื่อช่วยเตรียมการและ ประสานงาน
ทางด้านตา่ ง ๆ ในอนั ท่ีจะทําให้ประธานเกิดความคล่องตัว ในการเตรยี มการและดําเนินงานมากขึ้น

3) การจัดที่นั่งสําหรับผู้บรรยาย ควรจัดให้สูงกว่าผู้ฟัง เพื่อผู้ฟังจะได้มองเห็นผู้บรรยายได้อย่างชัดเจน
และควรจดั เตรยี มส่ือการบรรยายชนิดตา่ ง ๆ อาทิเชน่ ไมโครโฟน โอเวอร์เฮด จอภาพและโปรเจคเตอร์ เป็นตน้ ใน
กรณีทว่ี ิทยากรต้องการใชป้ ระกอบคาํ บรรยาย ก็สามารถหยบิ ใชง้ านไดท้ ันที
เม่ือผูเ้ ชยี วชาญหรือวิทยากรแต่ละคนบรรยายจบ ควรเปดิ โอกาสใหผ้ ู้ฟังได้มโี อกาสซักถาม แสดง ขอ้ คดิ เห็นต่าง ๆ
โดยพธิ ีกรหรือประธานเป็นผดู้ ําเนินการประสานงาน

ขอ้ ดี
1) ผู้บรรยายหรือวิทยากรมีโอกาสได้เสนอเอกสารและข้อเท็จจริงใหม่ ๆ และสามารถวิเคราะห์

เปรยี บเทยี บข้อมลู ในแงม่ ุมต่าง ๆ อนั จะเป็นประโยชนแ์ ก่ผู้ฟังมากย่ิงขน้ึ
2) ผู้ฟังมีโอกาสได้ฟังข้อคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้บรรยายหลาย ๆ ท่าน ทําให้ได้รับความรู้

กว้างขวางขึน้
3) ลักษณะของการบรรยายแต่ละตอนจะสั้นและกะทัดรัด ซึ่งทําให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย ไม่ทําให้เกิดความ

เบื่อหน่าย
4) สามารถลดความขัดแย้งระหว่างผู้บรรยาย หรอื วิทยากรด้วยกันเองได้อยา่ งมาก

ข้อจํากดั
1) ผเู้ ช่ียวชาญหรือวทิ ยากรแตล่ ะคน อาจบรรยายคนละทรรศนะ ซงึ่ ทาํ ให้ผลของการสัมมนาไม่เป็น ไป

ตามเปา้ หมายท่ตี ้ังไว้ เลขานกุ ารหรอื ผู้เชิญวิทยากรควรช้ีแจง เพ่ือทาํ ความเขา้ ใจกับวิทยากรให้เข้าใจอย่าง ชัดแจ้ง
ในสว่ นความรบั ผิดชอบของวิทยากรแตล่ ะทา่ น ให้เรียบรอ้ ยเสยี กอ่ นในตอนแรกของการตดิ ต่อ ประสานงาน

2) ผฟู้ ังอาจเกดิ ความเบือ่ หน่ายในการฟงั คาํ อภปิ รายได้ เพราะมสี ่วนร่วมในการแสดงความคดิ เห็นน้อย
3. การอภปิ รายแบบระดมสมอง

ซึ่งจะเป็นการอภิปราย ที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมการอภิปรายเกิดความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น ดังนั้น เมื่อ
ถึงตอนการดําเนนิ การท่ี สาํ คญั จะต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนได้แสดงความคิดเห็น และมีเสรภี าพในการแสดง
ความคิดเหน็ อยา่ งกวา้ งขวาง ทั้งน้เี พอื่ เป็นการระดมพลังสมองของแต่ละคนในการท่ีแก้ปัญหานนั้ ๆ โดยปราศจาก
การ สกัดกั้นทางความคิด ใครจะพูดก่อนพูดหลังได้ตามโอกาส สําหรับในช่วงแรกนี้ จะไม่มีการวิเคราะห์ วิจารณ์
หรือตีความคิดเหน็ ขอ้ เสนอแนะตา่ งๆ ของสมาชกิ โดยเดด็ ขาด แต่จะปล่อยให้สมาชิกทุกคนได้แสดงความ คิดเห็น
เป็นเวลานานพอสมควร ซึ่งตลอดเวลาเลขานุการจะต้องจดบันทึกไว้ทั้งหมด โดยทําการบันทึกลงบน กระดานดํา

หรือไวท์บอร์ด หรือกระดาษชาร์ต เพื่อให้สมาชิกทุกคนได้เห็นร่วมกัน และรับทราบจะดีกว่าการ บันทึกลงในสมุด
ของเลขานกุ าร เพราะสมาชกิ ทา่ นอืน่ ๆ จะไมส่ ามารถจดจาํ ไดห้ มด

วิธีดาํ เนนิ การ
1. ประธานเสนอหัวขอ้ หรอื ปัญหาให้ท่ปี ระชมุ รบั ทราบ
2. ประธานอธิบายความมงุ่ หมายและสาระสําคัญของหัวข้อประชุมให้สมาชิกทราบ และตลอดทั้งความ

คาดหวังที่จะไดร้ ับจากการประชุม
3. กําหนดระยะเวลาในการแสดงความคิดเหน็ ตามความเหมาะสม
4. เปิดโอกาสใหส้ มาชกิ แสดงความคดิ เหน็ อย่างอิสรเสรี
5. สรุปประเมินค่าความสําคัญข้อเสนอแนะ หรือความคิดเห็นในอันที่จะนําไปประยุกต์ใช้ในการแก้

ปัญหาต่าง ๆ
6. ประธานควรจดั และควบคมุ ให้จํานวนสมาชิกของกลุม่ มีจํานวนทีเ่ หมาะสม คือประมาณ 8 - 20 คน
7. การจัดสถานท่ีสามารถจัดไดห้ ลายรปู แบบ แตค่ วรจดั ทน่ี งั่ ท่สี ามารถเอ้อื อํานวยให้
8. สมาชิกทุกคนสามารถมองเห็นหน้ากันได้ และสามารถได้ยินข้อเสนอแนะ หรือความคิดเห็นได้อย่าง

ชดั เจน
ขอ้ ดี
1) เปดิ โอกาสใหผ้ ู้อภปิ รายทกุ คนไดแ้ สดงความคิดเห็นอยา่ งอิสระ
2) เป็นการระดมความคดิ เหน็ ท่ีมาจากคนส่วนใหญ่
3) ขอ้ คิดเห็นหรอื ข้อเสนอแนะของทุกคน จะได้รบั การจดั ลาํ ดับความสาํ คญั กอ่ นหลงั
ข้อจาํ กดั
1) ความคิดเห็นอาจจะกระจายกวา้ งมากเกนิ ไป ทําให้เสยี เวลา
2) อาจมกี ารวิพากวิจารณค์ วามคิดเห็นของเพื่อนสมาชกิ เกิดขึน้ ได้

4. การอภิปรายแบบเสียงกระซบิ
เปน็ การประชมุ ที่เปิดโอกาสให้สมาชิก ซึง่ ประกอบด้วย ประธาน เลขานกุ าร และสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม

ได้แสดงความคิดเห็นในระยะเวลาสั้น ๆ โดยแบ่งสมาชิกที่ เข้าประชุมออกเป็นกลุ่มย่อยประมาณกลุ่มละ 6 คน
เพอื่ อภปิ รายปัญหาตา่ ง ๆ ท่ถี ูกกําหนดข้นึ โดยใช้เวลา ในการประชมุ กลุ่มละประมาณ 6 นาที สาเหตุทีก่ ําหนดให้มี
สมาชิกน้อย เพราะต้องการให้สมาชิกทุกคนมี ส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นโดยไม่ต้องหยุด อย่างไม่กระดาก
อายและปราศจากการวิจารณ์ หรือตดั สินว่าความคิดน้ันถูกหรอื ผดิ

วธิ ีดําเนินการ
1) ผู้อภิปรายแนะนําหลักการในการประชุมกลุ่มย่อย การแบ่งกลุ่มและให้แต่ละกลุ่มนําหัวข้อไป

พิจารณา อภปิ รายและสรปุ ผลของการอภปิ ราย
2) สมาชกิ ของแต่ละกลุม่ เลือกประธานและเลขานุการ สําหรับการดาํ เนนิ การอภิปราย
3) ประธานนําการอภิปรายในแต่ละกลุ่ม โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกของกลุ่มได้มีโอกาสแสดง ความ

คิดเหน็ อย่างกว้างขวาง เลขานกุ ารเป็นผู้บันทกึ ผลการอภปิ ราย

4) ประธานหรือเลขานุการ หรือตัวแทนกลุ่มสรุป และนําความคิดหรือผลการอภิปรายของแต่ละกลุ่ม
เสนอตอ่ ที่ประชุมใหญ่ในช่วงของการเสนอผลการประชุม

ข้อดี
1) สมาชิกทุกคนมโี อกาสได้แสดงความคดิ เหน็ ตลอดเวลา
2) ใช้เวลาในการอภปิ รายน้อย และไดข้ อ้ สรปุ รวดเร็ว
3) ไดร้ บั ฟงั การแสดงความคิดเห็นจากหลาย ๆ กลมุ่ เมื่อมีการสรปุ รวมกลุ่มใหญ่

ข้อจํากดั
1) ถ้าในห้องมีกลุ่มย่อยหลายกลุ่มประชุมหรืออภิปรายพร้อม ๆ กันอาจทําให้เกิดเสียงดังรบกวนกันได้

ดังน้นั ควรจดั ให้แตล่ ะกลุ่มอยู่หา่ งกนั พอสมควร
2) ระยะเวลาในการอภปิ รายของแตล่ ะกลมุ่ มีจํากดั ซ่งึ อาจจะน้อยเกนิ ไป
3) การอภิปรายของแต่ละกลมุ่ อาจตอ้ งยืดหยนุ่ ในเร่ืองของเวลา โดยขนึ้ อย่กู บั หวั ขอ้ ทีไ่ ด้รับ

5. การอภิปรายแบบบทบาทสมมุติ
ผู้เข้าประชุมได้มีโอกาสแสดงบทบาทสมมุติ ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งเหมือนในสภาพความ เป็น

จริง โดยเน้นลักษณะของปัญหาที่ต้องเผชิญและขบวนการแก้ปัญหาในลักษณะต่าง ๆ ผู้จัดประชุมเป็น ผู้กําหนด
โครงเร่อื งให้คร่าว ๆ และใหผ้ เู้ ข้ารว่ มประชุมแสดงความรู้สึกออกมาตามบทบาทสมมตุ ิท่ีไดร้ ับ เป็น การเปิดโอกาส
ให้สมาชิกได้มีโอกาสสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ และได้มีโอกาสพัฒนาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ของตนเองให้ดี
ยงิ่ ข้ึน

วิธีดาํ เนนิ การ
1) ประธานและเลขานุการต้องทราบและเข้าใจปัญหาอย่างชัดเจน โดยประธาน และเลขานุการเป็น

ผ้ทู าํ หนา้ ทีป่ ระสานงานอย่างใกล้ชิดระหวา่ งสมาชิกท่เี ขา้ รว่ มประชุม
2) ประธานอาจเป็นผู้เลือกผู้แทนให้แสดงแต่ละบทบาทที่สมมุติขึ้น ซึ่งอาจใช้วิธีการจับฉลากก็ได้ แต่

ควรพยายามหลีกเล่ียงการอาสาสมัครของสมาชิกในการแสดงบทบาท การเลือกตัวบุคคลไม่ควรบอกให้ สมาชิก
ทราบลว่ งหนา้ ควรให้สมาชกิ มเี วลาเตรียมตวั เพยี งเล็กน้อยเทา่ นัน้

3) ประธานควรเปิดโอกาสให้สมาชิกแสดงบทบาทของตน จนกว่าสมาชิกมีความพอใจในบทบาทที่ตน
แสดงจึงควรหยดุ การแสดง

4) ประธานเป็นผู้ดําเนินการอภิปรายหลังจากการแสดงจบ โดยการอภิปรายควรจะเน้นผลที่ได้รับจาก
การแสดงในแต่ละบทบาทเปน็ สําคัญ

ข้อดี
1) การอภปิ รายแบบน้ีสามารถเพิ่มและเรง่ เรา้ ความสนใจผู้เข้ารบั การอบรมไดด้ ี
2) ช่วยใหผ้ ้เู ขา้ รบั การอบรมเขา้ ใจและสามารถนําประสบการณไ์ ปประยุกต์ใชใ้ นชีวติ ประจาํ วันได้
3) บรรยากาศของการดําเนินการมีลักษณะเป็นกันเอง และสร้างความร่วมมือในกลุ่มได้เป็นอย่างดี

ขอ้ จํากดั
1) ถ้าผเู้ ขา้ อบรมขาดคณุ สมบัติหรอื ความสามารถในการแสดง จะทําใหก้ ารอภิปรายน้ไี มไ่ ด้ผลเต็มที่

2) ผู้แสดงและผู้ดู อาจไม่สามารถนําแนวการแก้ปญั หาไปปรับใช้ในชวี ิตจริงได้ เพราะผู้แสดงขาดความ
เขา้ ใจอย่างถ่องแท้
6. การอภปิ รายแบบตอบกลับ

การประชุมแบบ ตอบกลับ ควรใช้กับกลุ่มสมาชิกประมาณ 8 -15 คน โดยจัดที่นั่งเป็นรูปวงกลม การ
ประชุมเร่มิ โดยประธาน กล่มุ เปดิ การประชมุ จากน้นั ประธานจะเป็นผ้เู สนอปัญหาเพอ่ื ใหส้ มาชิกแสดงความคิดเห็น
การแสดงความ คดิ เห็นจะเรยี งลาํ ดบั ที่ละคน โดยเรมิ่ จากคนแรกที่อยดู่ า้ นขวามือขอเงประธานและคนขวามือต่อ ๆ
ไปตาม ลําดับ กลุ่มสมาชกิ ของการอภิปรายแบบตอบกลับ จะประกอบด้วยประธาน เลขานุการและสมาชิก

วธิ ดี าํ เนินการ
1) ประธานกลา่ วเปดิ การประชุมและเสนอปัญหาให้ทีป่ ระชุมรบั ทราบและนอภิปราย
2) สมาชิกด้านขวามือของประธานเป็นผู้อภิปรายต่อ เมื่ออภิปรายจบแล้วสมาชิกคนถัดไปอภิปราย

แสดง ความคิดเห็นของตนเอง และการอภิปรายดําเนินการต่อเนื่องเรยี งไปทางขวามอื ตามลําดับจนครบ ไม่มีการ
ข้าม สมาชกิ ท่านใดท่านหนึ่ง

3) ถ้าหัวข้อเรื่องประเด็นหนึ่งยังหาข้อยุติไม่ได้ หรือสมาชิกยังต้องการอภิปรายต่อที่ประชุมจะเปิดการ
เวียนอภิปรายจนกว่าจะหาข้อมูลเพือ่ ยตุ ิได้

4) การจดั รปู แบบของการอภิปรายจะจัดลักษณะใดก็ได้ โดยเลขานกุ ารควรนัง่ ดา้ นซ้ายมือของประธาน
5) เลขานกุ ารเป็นผ้บู นั ทกึ ข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะของสมาชิกทุกท่าน
ขอ้ ดี
1) สมาชิกทุกคนมีโอกาสไดแ้ สดงความคิดเหน็ ของตนอยา่ งทั่วถึง
2) ส่งเสริมให้สมาชกิ ท่ีขาดความเช่อื มั่นในตวั เอง หรอื กระดากอายไดม้ ีโอกาสแสดงความคดิ เห็น
ขอ้ จาํ กัด
1) มีความเปน็ พธิ ีการมากเกินไป ซ่งึ อาจทาํ ใหเ้ กดิ ข้อเสนอแนะอยูใ่ นวงจาํ กัด เปน็ ไปไดอ้ ยู่แล้ว
2) สมาชิกท่ีไม่มีข้อเสนอแนะหรือข้อคิดเห็น จะเกิดความอึดอัดหรือบางคร้ังหมดอารมณ์เอาเลยทีเดียว
7. การอภปิ รายแบบโต๊ะกลม
การจัดรูปแบบของการอภปิ รายแบบโต๊ะกลม ควรจดั ให้สมาชิกทุกคนเห็นหน้ากันได้อย่างชัดเจน เป็นการ
ประชุมที่มีความเป็นกันเองมาก ประธานจะทําหน้าที่ดําเนินการประชุม เลขานุการเป็นผู้จดบันทึกการ ประชุม
สมาชิกท่านใดต้องการแสดงความคิดเห็น สามารถยกมือเพื่อขอพูด การประชุมแบบนี้ต่างกับแบบ ตอบกลับ) คือ
สมาชิกไม่ต้องแสดงความคิดเห็นเรียงลําดับจากขวามือไปซ้ายมือ และ การแสดงความคิดเห็น สามารถแสดงออก
ได้อยา่ งกวา้ งขวาง และใชเ้ วลาไดต้ ามท่ีสมาชกิ แตล่ ะคนต้องการ
วิธดี ําเนินการ
1) ประธานกล่าวเปิดการประชมุ และเสนอปัญหาใหท้ ่ีประชมุ รบั ทราบและนาํ อภิปราย
2) สมาชิกท่านใดตอ้ งการแสดงความคิดเหน็ ก็ใหย้ กมอื ขึน้ เพ่ือขอพูด โดยไมต่ อ้ งเรยี งตามลาํ ดับทาง ซา้ ย
หรือทางขวามือ

3) ถ้าหัวข้อเรื่องประเด็นหนึ่งยังหาข้อยุติไม่ได้ หรือสมาชิกยังต้องการอภิปรายต่อที่ประชุมจะเปิดการ
อภิปรายจนกว่าจะหาขอ้ มลู ยุตไิ ด้ โดยไมไ่ ด้กําหนดเวลา

4) ประธานตอ้ งพยายามกระตนุ้ ให้ทกุ คนได้แสดงความคิดเห็น และชว่ ยสรปุ หาข้อยุติให้ได้
5) เลขานุการ เป็นผู้บันทึกข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะของสมาชิกทุกท่าน และสรุปผลการประชุม เพ่ือ
นาํ เสนอท่านประธานและสมาชกิ
ขอ้ ดี
1) ใช้เวลานอ้ ยในการจัดการประชมุ เนอ่ื งจากสมาชกิ บางคนอาจไมแ่ สดงความคดิ เห็น
2) มีบรรยากาศแห่งความเป็นกันเอง ทําให้ผลที่ได้รับจากการประชุมมีความถูกต้องเหมาะสมและได้
รบั ผลดี
ขอ้ จาํ กัด
1) สมาชิกท่ขี าดความเช่อื มน่ั ในตนเอง จะไมก่ ล้าแสดงความคิดเหน็ และมกั นั่งฟังเฉย ๆ
2) อาจไดข้ อ้ คดิ เหน็ หรือข้อเสนอแนะในวงแคบเกนิ ไป
3) สมาชกิ บางคน อาจใช้เวลาในการอภิปรายนานเกนิ ไป
8. การอภิปรายแบบถาม - ตอบ
เป็นการอภิปรายหรือสนทนาของกลุ่มที่ประกอบด้วยสมาชิกเพียง 2 คน คนหนึ่งทําหน้าที่เป็นผู้ชักถาม
หรือพธิ กี ร อีกคนหนงึ่ เป็นผู้เช่ียวชาญ หรือวิทยากรทําหนา้ ท่ีตอบปัญหาเปน็ การอภปิ รายทมี่ พี ธิ ีการน้อยและเป็น
กันเองที่สุด เหมาะที่จะนํามาใช้จัดรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ หรือการสัมภาษณ์ผู้รู้ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา
สําหรับการอภิปรายแบบนี้ผู้ดําเนินการอภิปรายอาจเปิดโอกาสให้สมาชิกที่เข้าพังมีโอกาสซักถามข้อสงสัยใน
ประเดน็ ตา่ ง ๆ จากผูเ้ ช่ียวชาญในช่วงสดุ ท้ายของการอภิปรายได้ ถ้าหากประเดน็ น้นั ๆ ยังไมก่ ระจ่างตอ่ ผู้ฟัง
9. การอภิปรายแบบฟอรัม
ประกอบด้วยผู้ดําเนินการอภิปรายและผู้อภิปราย โดยผู้อภิปรายหรือผู้ที่ได้รับเชิญมาบรรยายในเรื่อง นั้น
ๆ จะประกอบด้วยผู้อภิปรายคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ถ้ามีผู้อภิปรายคนเดียวเมื่อบรรยายจบก็จะเปิด โอกาสให้
ผู้ฟังซกั ถามปญั หาไดต้ ามเวลาที่จัดไว้ การอภิปรายแบบ Forum เหมาะทจ่ี ะนาํ มาใชใ้ นการอภิปราย หรอื เสนอแนะ
ปัญหาของบ้านเมือง เช่น การประชมุ ระดับหมบู่ ้าน ระดับอาํ เภอ หรอื ระดับจังหวัด หรอื แม้แต่ การรณรงค์หาเสียง
เลือกต้งั ทางการเมอื ง คาํ ว่า Forum มีความหมายพิเศษเฉพาะดังนี้
1. การที่ผู้ฟังมีส่วนร่วมในการซักถามปัญหาหลังการอภิปราย หรือปาฐกถา ซึ่งรูปแบบของการจัด
ขน้ึ อยูก่ บั ชนิดของการประชมุ
2. การอภิปรายที่ผู้ฟังมีส่วนร่วมด้วยตั้งแต่เริ่มการประชุมเรียกว่า การอภิปรายแบบ นี้มีผู้อภิปรายคน
เดยี ว เมอื่ ผูบ้ รรยายจบแลว้ ผ้ฟู ังจะต้งั คาํ ถาม หรอื แสดงความคิดเห็น เชน่ การรายงานตัว ของผู้เข้ารับตําแหน่งงาน
ใหม่กับผบู้ ังคบั บญั ชา เปน็ ตน้
3. การอภปิ ราย ณ ที่สาธารณะทจี่ ดั ขึ้นเปน็ ประจํา เพอ่ื แกป้ ญั หาสว่ นรวม เช่น การรณรงค์หาเสียงของ
ผ้สู มคั รสมาชกิ สภาผู้แทนราษฎร เปน็ ตน้

การประชุมแบบ Forum ควรมีผู้ดําเนินการอภิปรายที่มีความรู้ ความสามารถและเข้าใจถึงปัญหาอย่าง
ลกึ ซง่ึ เป็นผูด้ ําเนินการอภปิ ราย เพื่อจะได้บรรลุวัตถุประสงคส์ ูงสุด
10. การอภิปรายแบบกลุม่

การอภิปรายแบบนี้ จะใช้วิธีการโดยมีผู้นําอภิปรายเพียงคนเดียว ดําเนินการอภิปรายกับสมาชิกเอง
ทั้งหมด หรือจะใช้วิธีการแบ่งกลุ่มสมาชิกออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 5 - 8 คน ก็ได้ โดยให้แต่ละกลุ่มเลือกประธาน และ
เลขานุการ เพื่อดําเนินรายการกันเอง ซึ่งจะเหมาะกับเรื่องใหญ่ที่มีหัวข้อย่อยที่ต้องการแก้ปัญหาในหลาย ๆ เรื่อง
ได้ อาจจะกาํ หนดหวั ข้อเรอื่ งทเี่ ป็นเรอ่ื งเดยี วกนั หรือหลาย ๆ หัวข้อเร่ือง แล้วให้แต่ละกลุม่ เลอื กก็ได้

วิธีดาํ เนนิ การ
1) แบง่ กลุ่มสมาชกิ ออกเปน็ กล่มุ ๆ ละ 5 – 8 คน โดยเลือกประธานและเลขานกุ ารทุกกลุ่ม
2) กาํ หนดหวั ขอ้ เร่อื งเหมือนกันทุกกลุม่ หรือกลุ่มละหวั ขอ้ เรอื่ งก็ได้
3) ควรจัดท่นี ่ังแบบโต๊ะกลมหรอื โต๊ะเหล่ียม จะไดเ้ หน็ หน้าตากนั ไดท้ กุ คน
4) ควรจดั สถานทใ่ี ห้อยใู่ นบริเวณทีส่ ามารถตดิ ตามได้ง่ายและทว่ั ถงึ ทุกกลุ่ม
5) แตล่ ะกลมุ่ ควรดาํ เนินการอภิปรายให้จบภายในเวลาทกี่ ําหนด
6) เลขานกุ ารเป็นผบู้ ันทึกการอภปิ ราย
7) ตวั แทนกลมุ่ ออกไปนําเสนอผลงาน ในท่ปี ระชมุ ใหญ่
8) ผนู้ าํ อภปิ รายสรุปรายงานผลของแต่ละกลุม่

ข้อดี
1) ทุกคนมีโอกาสแสดงความคดิ เหน็
2) ได้รับความรแู้ ละประสบการณห์ ลากหลายจากแตล่ ะกลมุ่
3) เหมาะกบั การจัดการเรียนการสอนในชน้ั เรียน ประหยดั เวลา
4) มีขอ้ เสนอแนะและแนวทาง ให้เลือกนาํ ไปใช้ไดห้ ลายทาง

ข้อจาํ กดั
1) อาจมีเสยี งดังรบกวนกัน เพราะมีหลายกล่มุ และอยภู่ ายในบรเิ วณเดยี วกนั
2) ไมเ่ หมาะกบั การนาํ ไปใช้กับกลมุ่ สมาชิกท่ีมจี าํ นวนเกนิ กว่านี้
3) ต้องมีเวลาเพียงพอ เพอ่ื ให้สมาชกิ แตล่ ะกลมุ่ ได้นําเสนอผลงาน

11. การอภิปรายแบบปจุ ฉาวสิ ัชนา
เป็นการอภิปราย โดยมีผู้ดําเนินรายการ 1 คน และผู้ร่วมอภิปรายจํานวนไม่เกิน 4 คน ซึ่งผู้ดําเนิน

รายการ จะเป็นผู้ป้อนคําถามไปยังผู้ร่วมอภิปรายได้ตอบคําถาม ให้ความรู้ ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ในลักษณะ ที่
เป็นการพดู คุยกันอย่างเปน็ กันเอง ไมม่ ีรปู แบบเหมอื นกับการอภิปรายแบบอ่ืน ๆ เหมาะสําหรับกับการจัด รายการ
วิทยุ และโทรทัศน์ เช่น การรายงานเหตุการณ์สําคัญ หรือการแถลงข่าว เป็นต้น โดยเปิดโอกาสให้ ผู้ฟังหรือผู้ชม
รายการทางบ้าน มสี ่วนร่วมในการซักถามหรอื แสดงข้อคดิ เห็นได้

วิธีดําเนินการ
1) มีผู้ดําเนนิ รายการ 1 คนและผู้ร่วมอภปิ รายจาํ นวนไม่เกนิ 4 คน
2) ผรู้ ว่ มอภิปรายคอยตอบคําถามจากการซกั ถามของผู้ดําเนนิ รายการ
3) เปิดโอกาสให้ผูฟ้ ังและผูช้ มทางบ้าน ร่วมการซกั ถามและแสดงความคดิ เหน็ ได้
4) ดําเนนิ รายการทางวิทยหุ รือโทรทศั น์ โดยเชิญผูร้ ่วมอภปิ รายมารว่ มออกรายการ
5) การอภิปรายเปดิ กวา้ ง ไม่ยดึ รูปแบบใดรูปแบบหนงึ่

ข้อดี
1) ผู้ฟังและผชู้ มทางบ้าน รว่ มการซักถามและแสดงความคิดเหน็ ได้
2) การดาํ เนนิ รายการเป็นแบบกันเอง ไมม่ รี ปู แบบตายตัว
3) เปน็ การนาํ เสนอที่รวดเร็ว ทันกบั สถานการณ์

ข้อจํากัด
1) การควบคมุ ข้อซกั ถามจากผรู้ ่วมรายการ และผูร้ ่วมอภิปราย ค่อนขา้ งจะยุ่งยาก
2) ใชค้ ่าใช้จ่ายสูง
3) การแสดงความคิดเหน็ ของผูร้ ว่ มอภิปราย อาจจะมคี วามขัดแยง้ กัน

12. การประชุมแบบรว่ มโครงการ
ใช้ในการประชุมตกลงทางธุรกิจ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การระหว่างประเทศ เพื่อให้หน่วยงานตั้งแต่ 2

หน่วยงาน สามารถร่วมมือกันทําโครงการใหญ่ ๆ โดยโครงการเหล่านี้ต้องใช้กําลังคน กําลังทรัพย์ ตลอดจน
เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ค่อนข้างสูง จึงจําเป็นที่องค์การหรือหน่วยงานอย่างน้อย 2 หน่วยงานขึ้นไปร่วมมือกัน
ดาํ เนินการ มิฉะน้นั จะไม่สามารถทําโครงการนน้ั ๆ ให้สําเร็จลุล่วงไปได้

จดุ มุง่ หมายของการประชุมอภปิ รายแบบร่วมโครงการนัน้ เพ่ือแบ่งงานใหห้ นว่ ยงานย่อยทรี่ ับผิดชอบ ส่วน
หนึ่งส่วนใดของงานในโครงการใหญ่ รับไปเตรียมการและดําเนินการ ซึ่งลักษณะการประชุมอภิปรายแบบ ร่วม
โครงการจะประกอบด้วย ผู้เข้าร่วมอภิปรายไม่เกินหน่วยงานละ 3 คน จาก 2 - 5 หน่วยงาน โดยตัวแทน ของแต่
ละหนว่ ยงานต้องมีการเตรยี มตัวอย่างดีย่งิ ในหัวข้อทจ่ี ะตกลงกนั และสมาชิกของแต่ละหน่วยงานจะ ต้องทราบขีด
ความสามารถ กฎระเบียบในหน่วยงานของตนเป็นอย่างดี เพื่อให้งานทั้งหมดของโครงการใหญ่ สําเร็จลุล่วงตาม
เป้าหมายและกาํ หนดการทตี่ ั้งไว้ การประชมุ อาจจะมหี ลายชว่ งต่อเนอ่ื งกัน ขนึ้ อยกู่ บั ความสลบั ซับซอ้ นและยุ่งยาก
ของงาน และโครงการนัน้ ๆ
13. การประชมุ แบบรบั ช่วง

นิยมใช้ในการประชุมตกลงของหน่วยงานภาคเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เป็นการ
ประชุมตกลงระหว่างหน่วยงานที่มีความประสงค์จะรับดําเนินงานในโครงการย่อยจากเจ้าของโครงการใหญ่ เพ่ือ
ใหง้ านท้ังหมดของโครงการใหญส่ าํ เรจ็ ลลุ ่วงตามกําหนดท่ีต้งั ไว้ การประชุมอภปิ รายแบบรับชว่ ง จะกระทําระหว่าง
ฝ่ายผู้รับผิดของโครงการใหญ่และฝ่ายผู้รับผิดชอบโครงการย่อย โดยตัวแทนของแต่ละฝ่ายจะมีมากน้อยเพียง ใด
ขึน้ อย่กู ับความยุ่งยากสลับซบั ซ้อนของงานในแตล่ ะโครงการ ตวั แทนแต่ละฝา่ ยจะต้องเตรยี มการล่วงหน้า มาอย่าง

ดียิ่งในเรือ่ งของเงื่อนไข รายละเอียดต่าง ๆ ที่ฝ่ายตนรบั ได้ และรับไม่ได้ จุดมุ่งหมายของการประชุม เพื่อหาข้อยตุ ิ
ในข้อตกลงและเงอื่ นไขต่าง ๆ ท่ีทกุ ฝ่ายสามารถรับได้
14. การประชมุ แบบคอนเวนชนั

เป็นการจัดประชุมใหญ่ที่มีสมาชิกเข้าร่วมฟังเป็นจํานวนมาก โดยมีหัวข้อเรื่องหรือเนื้อหาสาระที่จัดการ
ประชมุ จะมลี กั ษณะกวา้ งขวาง และประกอบด้วยหวั ขอ้ เรอ่ื งย่อย ๆ แตกแขนงออกเป็นหลายชนดิ หลายสาขา โดยผู้
เข้าฟงั สามารถเลือกเข้าฟังได้ตามความสนใจ และความต้องการของตนเอง การประชมุ ชนดิ น้อี าจใช้เวลา ประมาณ
2 - 7 วันโดยกิจกรรมหรือการประชุมจะประกอบไปด้วยการจัดประชุมแบบต่าง ๆ อาทิ การอภิปราย สาธารณะ
การอภปิ รายเป็นคณะ การอภปิ รายกลมุ่ ขนาดต่าง ๆ เปน็ ต้น

กระบวนการจัดประชุมแบบคอนเวนชั้น ประกอบด้วยประธาน รองประธานคณะกรรมการวางแผนและ
เตรยี มการ คณะกรรมการจดั การประชุม คณะอนกุ รรมการฝ่ายตา่ ง ๆ ผู้ทําการอภิปรายและ ผู้เข้ารับฟัง

ประโยชน์ที่ได้รับจากการประชุมเชิงวิชาการ เพ่ือสํารวจปัญหาต่าง ๆ หาข้อยุติ ตลอดจนเสนอแนะหรือ
รายงานผลการศึกษาค้นคว้า และวิจัยใหม่ ๆ การจัดประชุมแบบคอนเวนชัน จึงเหมาะกับการนําไปใช้จัดการ
ประชุมของพรรคการเมือง หรือการจัดประชุมทางวิชาการ ประจําปีเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถแยกแยะและ ยก
ปญั หาได้หลายประเด็นหลายหัวข้อ รวมทั้งมคี วามเหมาะสมกับการประชมุ ที่มีสมาชิกเปน็ กลุ่มใหญ่อีกด้วย
15. การประชุมทางวิชาการ

เป็นการจัดให้มีการประชุมหรืออบรมทางวิชาการด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ หรือแบ่งตามสาขาวิชาใด
วิชาหนึ่ง เพื่อเป็นการให้ความรู้และประสบการณ์แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา โดยการแลกเปลี่ยนความรู้ ให้ข้อ แนะนํา
เสนอแนวทางแกไ้ ข เสนอผลงานวิจยั และผลการศกึ ษาค้นคว้าทางวชิ าการใหม่ ๆ เป็นตน้ สว่ นใหญ่ มักจะจัดขึ้นใน
สถาบันทางการศกึ ษา หรอื หนว่ ยงานที่เกย่ี วขอ้ งกับการจดั การศึกษา
16. การประชมุ เชงิ ปฏบิ ตั กิ าร

เป็นการประชุมที่ประกอบด้วยจํานวนสมาชิกเข้าร่วมฟังขนาดกลาง หรืออาจมีสมาชิกเข้าร่วมประมาณ
30 - 100 คน ก็ย่อมกระทําได้ การประชุมแบบนี้ความยืดหยุ่นสูง อาจแบ่งสมาชิกเป็นกลุ่มย่อยประมาณ 1 - 5
กลมุ่ ซ่งึ จาํ นวนกลุ่มขน้ึ อยูก่ ับเนือ้ เร่ือง ความพร้อมและจาํ นวนวทิ ยากร อาจจัดการประชุมในระยะเวลา สัน้ ๆ เช่น
ครง่ึ วัน 1 – 3 วนั หรือ 1 - 2 สัปดาห์ ก็ได้ โดยท่ัว ๆ ไป จะไมน่ ยิ มจัดการประชมุ เชิงปฏบิ ัตกิ าร เกนิ กวา่ 2 สปั ดาห์
เพราะจะทาํ ใหเ้ กิดการเบ่ือหน่ายขึน้ ได้ ทั้งวิทยากร และผเู้ ขา้ รบั การประชุม

ตามปกติการประชุมเชิงปฏิบัติการ จะประกอบด้วยการบรรยายทางทฤษฎีและการนําทฤษฎีทดลอง
ปฏิบัติ ตลอดจนแก้ไขปรับปรุงเพื่อหาข้อสรุปและนําความรูท้ ี่ได้รับจากภาคทฤษฎี และจากการทดลองปฏิบัติ ไป
ใช้ใหเ้ ป็นประโยชนใ์ นโอกาสตอ่ ไป

ประโยชน์ท่ีได้รับการประชมุ เชิงปฏบิ ตั กิ าร เป็นการสํารวจปญั หาค้นคว้าวิธีการและขบวนการแก้ปัญหาที่
ดี และสามารถปฏิบัติได้ ทั้งเป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็น
การเผยแพร่ความรู้และวิทยากรใหม่ ๆ ขบวนการจัดการประชุม จะประกอบด้วยผู้ประสานงาน คณะกรรมการ
ฝ่ายต่าง ๆ วิทยากรและผู้เขา้ รับการประชุม


การอภิปรายแบบซิมโพเซียม เป็นอย่างไร

การอภิปรายแบบซิมโพเซียม เป็น การสัมนาในบรรยากาศอภิปรายแบบเป็นทางการวิทยากรเป็นผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อเหล่านั้น มีวิทยากรได้หลายคนและแต่ละคนจะพูดในหัวข้อของตนไม่ก้าวก่ายหัวข้อที่ผู้อื่นพูดพูดตรงประเด็นชัดเจน ทำความเข้าใจแก่ผู้ฟังมากที่สุด

การอภิปรายทั่วไป (Forum) เป็นอย่างไร *

การอภิปรายทั่วไป เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนที่เป็นสมาชิกของที่ประชุมที่สนใจปัญหาเดียวกันแสดงความคิดเห็นได้ มี 2 ลักษณะ คือ 1. ทำในหมู่สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมเท่านั้น แต่เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นได้ 2. การอภิปรายทั่วไปมักเริ่มต้นให้มีวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายที่กำหนดบุคคลไว้แล้ว พูดอภิปรายเสนอความคิดจนครบทุกคนก่อน ...

Symposium เป็นการประชุมที่มีลักษณะแบบใด

การชุมนุมปาฐกถาหรือการประชุมทางวิชาการ (symposium) เปนการบรรยายแบบมีวิทยากรหรือผูเชี่ยวชาญประมาณ ๒ – ๖ คน และบรรยายใหฟงทีละคน การชุมนุมปาฐกถามีลักษณะคลาย การอภิปรายเปนคณะ แตเนนหัวขอวิชาเปนสําคัญ มีพิธีกรเปนผูดําเนินการ อภิปรายและสรุปการบรรยาย เมื่อเสร็จสิ้นการบรรยายจะเปดโอกาสให ผูฟงซักถามปญหาตางๆ ได

รูปแบบของการจัดสัมมนามีอะไรบ้าง

รูปแบบของการประชุมมีดังนี้ การอภิปราย (Discussion) การประชุมปรึกษาหารือ (Conference) การประชุมระดับหัวหน้า (Convention) การประชุมแบบซินดิเคต (Syndicate) การประชุมสัมมนา (Seminar) การประชุมทางไกล (Tele Conference) การอภิปรายแบบมีส่วนร่วม (Forum) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)