คลินิก รัก สุขภาพ สุร นารี

การบริการของคลินิกสุขภาพจิต

งานด้านสุขภาพจิตของศูนย์ปฏิบัติการทางการแพทย์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีการบริการตรวจรักษาและให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยทั่วไป วัยรุ่นและเด็ก ที่มีปัญหาสุขภาพจิตในหลายด้าน เช่นด้านอารมณ์ ปัญหาการนอน ปัญหาเกี่ยวกับการปรับตัวในสภาวะต่างๆ ปัญหาบุคลิกภาพหรือพฤติกรรม เป็นต้น ตลอดจนให้คำแนะนำกับผู้ปกครองในเรื่องแนวทางการอบรมเลี้ยงดูลูกช่วงวัยต่างๆให้ถูกต้องและเหมาะสม

ท่านสามารถมารับคำปรึกษาหรือตรวจรักษาจากคลินิกสุขภาพจิตได้หากท่านหรือผู้ใกล้ชิดมีปัญหาดังต่อไปนี้
– มีปัญหาการนอนเช่น นอนหลับยาก นอนหลับๆตื่นๆ หรือตื่นกลางดึกแล้วหลับต่อไม่ได้
– มีภาวะเครียดอันเนื่องจากสถานการณ์ต่างๆ เช่น เปลี่ยนงานใหม่ ปัญหาความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด มีการสูญเสียของบุคคลอันเป็นที่รัก ฯลฯ
– เบื่ออาหารหรือกินเยอะกว่าปกติ ที่พบร่วมกับมีภาวะเครียด
– มีอารมณ์หมองเศร้า หดหู่ ไม่สดชื่นร่าเริง เป็นส่วนใหญ่ของวันหรือเป็นทั้งวัน เกือบทุกวัน
– เหนื่อยหน่าย ท้อแท้ เป็นส่วนใหญ่ของวันหรือเป็นทั้งวัน เกือบทุกวัน
– อ่อนเพลีย ไม่มีแรงทั้งร่างกายและจิตใจเป็นส่วนใหญ่ของวันหรือเป็นทั้งวัน เกือบทุกวัน
– เศร้าโศก เสียใจรุนแรง มีความคิดฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเองโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง
– มีความวิตกกังวล ไม่สบายใจ
– ความจำหรือสมาธิในการทำงานลดลง
– กลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ
– ย้ำคิดย้ำทำอยู่เสมอ
– มีอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง หรืออาการคล้ายชักกระตุก อาการชา อาการคล้ายอัมพาต แต่เมื่อพบแพทย์ทางกายและตรวจประเมินทางร่างกายอย่างละเอียดแล้วไม่พบสาเหตุที่ชัดเจนทางกาย
– มีอาการหูแว่ว เห็นภาพแปลกๆ
– มีความคิดแบบหลงผิด หวาดระแวง
– พฤติกรรมก้าวร้าว เพ้อคลั่ง เอะอะอาละวาด พูดเพ้อเจ้อ
– ติดสุรา หรือสารเสพติดอื่นๆ
– ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านความจำ หลงลืมง่าย อารมณ์หงุดหงิด หรือซึมเศร้า ฯลฯ
– พฤติกรรมเก็บตัว แยกตัว
– ปัญหาด้านความรัก
– ปัญหาชีวิตคู่
– ปัญหาครอบครัว
– ปัญหาบุคลิกภาพ
– ปัญหาเรื่องการปรับตัว
– ปัญหาในการจัดการอารมณ์
– การติดสารเสพติด สุรา บุหรี่

กลุ่มโรคและอาการที่แพทย์ให้บริการตรวจรักษา
– โรคอารมณ์ซึมเศร้า (Depressive disorder)
– โรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder) และโรคอารมณ์แปรปรวนอื่นๆ
– โรควิตกกังวล (Anxiety disorder)
– โรคแพนิค (Panic disorder)
– โรคย้ำคิดย้ำทำ ( Obsessive-Compulsive disorder)
– โรคกลัว (Phobic disorder หรือ Phobia)
– ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (Personality disorder)
– โรคจิตเภท (Schizophrenia) และโรคจิตอื่นๆ
– โรคความจำเสื่อม/โรคสมองเสื่อม
– โรคเกี่ยวกับการนอน (Sleep disorders)

ท่านสามารถพาบุตรหลานมารับคำปรึกษาหรือตรวจรักษาจากคลินิกสุขภาพจิตได้ หากบุตรหลานของท่านมีปัญหาดังต่อไปนี้
– มีความประพฤติไม่สมวัย
– มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ที่ทำจนติดเป็นนิสัย เช่นดูดนิ้ว กัดเล็บ ถอนผม ปัสสาวะรดที่นอน
– ถูกเพื่อนแกล้งหรือมีพฤติกรรมแกล้งเพื่อน
– มีความประพฤติไม่เหมาะสม เช่น เกเร พูดปด ลักขโมย หนีโรงเรียน
– พูดช้าหรือสื่อสารได้น้อยกว่าเด็กวัยเดียวกัน
– ติดอ่าง
– เด็กที่มีปัญหาการเรียน เรียนหนังสือไม่ได้ เรียนไม่ดีหรือเรียนแย่ลง
– อ่านเขียนไม่คล่องหรืออ่านเขียนไม่ออก
– เรียนรู้ช้า
– เด็กสมาธิสั้น วอกแวกง่าย อยู่ไม่นิ่ง
– เป็นเด็กเจ้าอารมณ์ โกรธง่าย ลงมือ ลงเท้า
– มีความประพฤติแบบแปลกๆแบบโรคจิต โรคประสาท เช่น หวาดกลัว ไม่เข้ากับ เพื่อนฝูง นั่งฝัน เหม่อ ซึมเศร้า กระสับ-กระส่าย อยู่ไม่สุข
– ร้องไห้ช่วงเช้าก่อนไปโรงเรียน กลัวการแยกจาก
– มีปัญหาการนอนเช่น นอนหลับยาก นอนหลับๆตื่นๆ ตื่นกลางดึกแล้วหลับต่อไม่ได้ นอนละเมอ
– เบื่ออาหารหรือกินเยอะกว่าปกติ ร่วมกับมีภาวะเครียด
– ภาวะการกินผิดปกติแบบต่างๆเช่นปฏิเสธการกิน กินจุแล้วมีพฤติกรรมล้วงคอหรือใช้ยาระบายเพราะต้องการควบคุมน้ำหนัก
– อ่อนเพลีย ไม่มีแรงทั้งร่างกายและจิตใจเป็นส่วนใหญ่หรือเป็นทั้งวัน เกือบทุกวัน
– เหนื่อยหน่าย ท้อแท้ เป็นส่วนใหญ่หรือเป็นทั้งวัน เกือบทุกวัน
– มีอารมณ์หมองเศร้า หดหู่ ไม่สดชื่นร่าเริง เป็นส่วนใหญ่หรือเป็นทั้งวัน เกือบทุกวัน
– เศร้าโศก เสียใจรุนแรง มีความคิดฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเองโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง
– มีความวิตกกังวล ไม่สบายใจ
– ความจำหรือสมาธิในการเรียนลดลง
– กลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ
– ย้ำคิดย้ำทำอยู่เสมอ
– มีอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง หรืออาการคล้ายชักกระตุก อาการชา อาการคล้ายอัมพาต แต่เมื่อพบแพทย์ทางกายและตรวจประเมินทางร่างกายอย่างละเอียดแล้วไม่พบสาเหตุที่ชัดเจนทางกาย
– มีหูแว่ว เห็นภาพแปลกๆ
– หลงผิด หวาดระแวง
– เพ้อคลั่ง เอะอะอาละวาด พูดเพ้อเจ้อ
– มีอุปนิสัยเปลี่ยนแปลง เช่น หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว ภายหลังจากเจ็บป่วยเป็นโรคทางสมอง เช่น อาการชักและหลังจากป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
– พ่อแม่ผู้ปกครองไม่รู้หรือไม่แน่ใจในการรับมือกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในครอบครัว
– ต้องการมีความรู้อย่างถูกต้องในประเด็นต่างๆเช่น
“เลี้ยงลูกอย่างไร ให้สุขใจทั้งครอบครัว”
แนวทางการอบรมเลี้ยงลูกในแต่ละช่วงวัย ควรมาพบเพื่อรับแนะนำไว้ล่วงหน้า เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับแต่ละช่วงวัยที่กำลังจะมาถึงของลูก
การฝึกวินัยด้วยเทคนิกที่เหมาะสมตามวัย

การที่พ่อแม่ผู้ปกครองมีความรู้อยู่ก่อนแล้วนั้น
จะช่วยให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆของลูก
สามารถแยกแยะได้ว่าพฤติกรรมใดเป็นการเปลี่ยนแปลงตามปกติของวัยนั้นๆ
หรือเป็นปัญหาที่ควรรีบแก้ไข
เพราะถ้ารู้ว่าเป็นแค่การเปลี่ยนแปลงตามปกติของวัย
และรู้วิธีตอบสนองพฤติกรรมของลูกอย่างถูกต้อง
ก็จะไม่เกิดการเพาะบ่มเมล็ดพันธุ์ความโกรธ หงุดหงิด ก้าวร้าวหรือต่อต้านเอาแต่ใจให้กับลูก
เมื่อเวลาผ่านไปสู่ช่วงวัยใหม่ พฤติกรรมเหล่านั้นจะหายไป
ถูกแทนที่ด้วยพฤติกรรมที่ดีหรือที่เป็นไปในทางสร้างสรร
และใช้ชีวิตในช่วงวัยต่างๆอย่างมั่นคงแข็งแรงต่อไป

ขั้นตอนการมารับบริการที่คลินิกสุขภาพจิต ศูนย์ปฏิบัติการทางการแพทย์
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
1.      ผู้ที่ยังไม่มีแฟ้มประวัติของโรงพยาบาลต้องทำแฟ้มประวัติก่อน โดยติดต่อที่เคาท์เตอร์ทะเบียน ผู้ป่วย
2.      ตรวจวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก และรอพบแพทย์
3.      โดยทั่วไปการพบแพทย์ครั้งแรก(ผู้ป่วยใหม่) จะใช้เวลาประมาณ 45-50 นาที พบแพทย์ครั้งต่อไปเพื่อติดตามผลการรักษา(ผู้ป่วยเก่า) จะใช้เวลา ประมาณ 30- 50นาที
4.      กรณีผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น
การตรวจรักษาต้องใช้เวลามากเพราะต้องคุยกับทั้งเด็กและผู้ปกครอง การพบแพทย์ครั้งแรก(ผู้ป่วยใหม่)และการพบแพทย์ครั้งต่อไปเพื่อติดตามผลการรักษา(ผู้ป่วยเก่า) จะใช้เวลาใกล้เคียงกันคือ ประมาณ 45-50 นาที
บิดา มารดาหรือผู้ใกล้ชิดที่เลี้ยงดูเด็ก ควรมาให้ประวัติเกี่ยวกับปัญหาหรือการเจ็บป่วยครั้งนี้ ตลอดจนประวัติการเจริญเติบโตของเด็กและรายละเอียดของการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงปัจจุบันโดยละเอียด
6.      กรณีต้องการเปลี่ยนสถานรักษาพยาบาลจากที่อื่นมารักษาต่อยังศูนย์ปฏิบัติการทางการแพทย์
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ควรนำบันทึกสรุปผลการรักษาจากสถานรักษาพยาบาลเดิมมาด้วย เพื่อความต่อเนื่องในการรักษา
7.      รับบัตรนัดหลังพบแพทย์

เพื่อให้การรักษาได้ผลสูงสุด ท่านควรปฏิบัติดังนี้
1.      มารับการตรวจรักษาตามที่แพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ
2.      รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
3.      สำหรับผู้ป่วยที่มารับการรักษาแล้วมีอาการผิดปกติมากขึ้นก่อนถึงวันนัด สามารถโทรติดต่อทำนัดหมายใหม่ให้เร็วขึ้นได้

   ***กรุณาโทรนัดหมายและยืนยันวันออกตรวจของแพทย์กับพยาบาลก่อนรับการตรวจทุกครั้ง

ติดต่อสอบถามข้อมูลโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โทร 044-376555