ธุรกิจ startup ในไทยที่ประสบความสําเร็จ

Advertisement

หลังจาก ‘แฟลช เอ็กซ์เพรส’ ก้าวข้ามเส้นที่ยังไม่เคยมีสตาร์ทอัพใดในประเทศไทยทำได้มาก่อน อย่างการระดมทุนเพิ่มมูลค่ากิจการทะลุ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จนกลายเป็น ‘ยูนิคอร์น’ ตัวแรกของประเทศไทย

หลายคนก็เริ่มสงสัยว่า นอกจากแฟลชฯ แล้ว ยังมีสตาร์ทอัพไหนอีกบ้างที่กำลังนับถอยหลัง สร้างการเติบโตเพื่อมุ่งสู่ ‘ยูนิคอร์น’

⚫️ Bitkub

บริษัทเทรดเหรียญดิจิทัลที่ก่อตั้งในปี 2561 โดย ‘ท็อป’ หรือ ‘จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา’ ที่ตอนนี้กลายเป็นบริษัทซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอันดันหนึ่งของประเทศไทย โดยมีฐานผู้ใช้งานมากกว่า 1 ล้านบัญชี และครองส่วนแบ่งในตลาดเทรดเหรียญดิจิทัลสูงสุดในไทยตอนนี้

⚫️ SYNQA

บริษัทผู้ให้บริการแพลตฟอร์มชำระเงินออนไลน์ (Payment Gateway) ที่ก่อตั้งในปี 2560 โดย จุน ฮาเซกาวา และอิศราดร หะริณสุต เดิมใช้ชื่อ Omise Holding ก่อนเปลี่ยนมาเป็นชื่อปัจจุบัน เป็นบริษัทแม่ของ Omise และ OMG Network
ปัจจุบัน Omise มีฐานลูกค้ามากกว่า 5,000 ราย ใน 5 ประเทศ ตั้งแต่ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น

⚫️ Finnomena

บริษัทนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน หรือให้บริการลงทุนใน ‘กองทุนรวม’ นั่นเอง โดยโดดเด่นด้านความเป็นกลางในการลงทุน เนื่องจากไม่มีสังกัดในบริษัทหลักทรัพย์ ก่อตั้งโดย เจษฎา สุขทิศ ในปี 2558 ปัจจุบัน มีเม็ดเงินในการให้คำปรึกษาด้านการลงทุนมาแล้วกว่า 10,000 ล้านบาท

⚫️ Ookbee

บริษัทผู้ให้บริการอีบุ๊กและสิ่งพิมพ์ดิจิทัล ที่มี ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ เป็นผู้ก่อตั้งขึ้นในปี 2553 โดยถือเป็น
สตาร์ทอัพเจ้าแรกๆ ในเมืองไทยที่เข้ามาจับธุรกิจอีบุ๊กและประสบความสำเร็จ โดย Ookbee สามารถก้าวขึ้นเป็นเจ้าตลาดและขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง

⚫️ Band Protocol

บริษัทผู้พัฒนาบล็อกเชนด้าน Cross-chain Data Oracle อันดับหนึ่งของเมืองไทย ทำหน้าที่นำข้อมูลจากโลกจริงเข้าสู่ระบบบล็อกเชน โดยบริษัทฯ ก่อตั้งขึ้นในปี 2560 โดย สรวิศ ศรีนวกุล และจดทะเบียนในสิงคโปร์

⚫️ LINEMAN Wongnai

บริษัทผู้ให้บริการด้านเดลิเวอรี่และรีวิวอาหารที่เกิดจากการควบรวมกิจการครั้งสำคัญในปี 2563 ที่ผ่านมา ระหว่าง Wongnai แพลตฟอร์มรีวิวร้านอาหารฐานผู้ใช้ 10 ล้านรายต่อเดือน และ LINEMAN แพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ที่มีฐานร้านอาหาร 4 แสนร้านทั่วประเทศ โดยปัจจุบันมี ยอด ชินสุภัคกุล ผู้ก่อตั้งวงในเป็นผู้กำหนดทิศทางหลัก

ทั้ง 6 บริษัทต่างมีแนวทางในการบริหารงานและสร้างการเติบโตที่แตกต่างกัน บางบริษัทก็มีการระดมทุนอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่บางบริษัทให้ความสำคัญกับการเติบโตจากรายได้อื่นๆ

แต่ก็ล้วนมุ่งหน้าสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ ‘ยูนิคอร์น’ ส่วนที่ว่าใครจะไปถึงหรือใครจะร่วงหล่นลงกลางทางได้นั้นยากจะตอบ เพราะมีโอกาสเป็นไปได้ทั้งคู่

podcast

กำลังโหลดบทความถัดไป...

ปัจจุบันหลายภาคส่วนพากันสนับสนุนให้ผู้ประกอบการทำธุรกิจ Startup เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสโลก แต่จากสถิติของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กลับพบว่า ผู้ประกอบการชาวไทยที่ประสบความสำเร็จมีจำนวนไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? ดร.ศศิรินทร์ สายะสนธิ หัวหน้าภาควิชาการสร้างเจ้าของธุรกิจ (หลักสูตรภาษาไทย) คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารกิจการ จะมาไขความลับดังนี้

1. ขาดความเข้าใจด้านการตลาดและลูกค้าอย่างแท้จริง

Startup ต้องอาศัยองค์ประกอบด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่จึงมักมีความมั่นใจและใส่ใจในเรื่องดังกล่าวเกินไป กระทั่งละเลยหรือลืมมองรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อย่างรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดขึ้น 

แต่เมื่อผ่านประสบการณ์ความล้มเหลวมาแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจเหล่านี้จะเห็นโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นในการทำธุรกิจครั้งต่อไป โดยนำประสบการณ์ที่ผิดพลาดมาปรับปรุงธุรกิจครั้งใหม่นั่นเอง

2. เป็นคนดีของสังคมโลกเกินไป

ทุกหน่วยงานสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจ Startup คิดค้นนวัตกรรม ห้ามเหมือนใคร ทำให้พวกเขาไม่กล้าจะลอกเลียนรูปแบบธุรกิจที่มีอยู่ก่อนแล้ว ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงสามารถดูตัวอย่างธุรกิจที่มีอยู่แล้วและนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ 

ถ้าสังเกตจะพบว่า ธุรกิจ Stratup ที่ประสบความสำเร็จหลายๆ รายมีรูปแบบไม่ค่อยต่างกันนัก เช่น Alibaba ที่มีความคล้ายคลึงกับ eBay หรือ Grab Taxi ที่พัฒนารูปแบบมาจาก Uber

3. นโยบายรัฐที่ผิดพลาด

รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนเป็น Startup โดยอิงกระแสโลกและยกตัวอย่างความสำเร็จของธุรกิจเพียงไม่กี่ราย ทั้งๆ ที่อัตราการประสบความสำเร็จนั้นยากยิ่งกว่าถูกลอตเตอรี่ นั่นแสดงให้เห็นว่านโยบายอาจไม่เหมาะสมกับบริบทของไทยหรือขาดการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่า

จริงๆ แล้วประเทศไทยควรสร้างผู้ประกอบการลักษณะใดกันแน่ หนึ่งในตัวอย่างนโยบายที่ผิดพลาดคือ การทุ่มเงินหลายพันล้านเพื่อสร้างผู้ประกอบธุรกิจ Startup ผ่านมหาวิทยาลัยบางแห่ง โดยที่คณาจารย์ส่วนใหญ่ไม่เคยสร้างธุรกิจมาก่อน 

นอกจากนี้รัฐบาลยังสนับสนุนให้สร้างและเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการ แต่กลับไม่คำนึงถึงการสร้างคนซื้อไปพร้อมๆ กัน ทำให้มีคนขายมากกว่าคนซื้อ รัฐบาลจึงควรสนับสนุนให้มีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้นทั้งจากภายในและต่างประเทศ

4. ขาดการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากลูกค้า

ผู้ประกอบธุรกิจ Startup ที่ล้มหายไป ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง โดยในระยะแรกอาจจำหน่ายสินค้าหรือบริการได้เพราะความแปลกใหม่ ทว่าเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะก็เริ่มขายไม่ออก ลูกค้าไม่ซื้อซ้ำ หรือไม่สามารถสร้างลูกค้ารายใหม่ๆ ได้ เมื่อประสบปัญหาด้านเงินทุนหมุนเวียนก็จำเป็นต้องเลิกกิจการไป ดังนั้นหากสามารถหาวิธีมัดใจลูกค้าอย่างต่อเนื่องได้ กิจการก็จะอยู่รอด

5. ใช้เงินสูงเกินไปในการเริ่มต้นธุรกิจ

ผู้ประกอบธุรกิจมักลงทุนตามอารมณ์หรือวาดฝันอย่างสวยหรูมากเกินไปเพราะคิดว่าเงินเหล่านั้นคือการลงทุน สักพักก็จะได้กำไรคืนกลับมา โดยลืมไปว่าการใช้เงินมากเกินในการเริ่มต้นธุรกิจหมายถึงต้นทุนที่สูงมากขึ้น โอกาสในการได้ทุนคืนก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เช่น นำเงินไปสร้างสำนักงานที่สวยหรูหรือซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพงเกินความจำเป็น

6. Startup มีวงจรชีวิตที่ค่อนข้างสั้น

Startup เป็นธุรกิจที่อิงกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นอย่างมาก ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มักมาไวและไปไว อันส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของความนิยมอย่างรวดเร็ว เช่น เกม Pokemon GO ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงแรก แต่ปัจจุบันแทบไม่มีใครให้ความสนใจ จึงจะเห็นได้ว่าธุรกิจประเภทนี้มีการเติบโตที่รวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันอายุขัยของธุรกิจก็สั้นด้วยเช่นกัน การปรับตัวที่รวดเร็วให้ทันกระแสสังคมจึงเป็นเรื่องท้าทายความสามารถของผู้ประกอบธุรกิจ Startup เป็นอย่างยิ่ง

7. พฤติกรรมการบริโภคของคนไทยยังไม่สอดคล้องกับธุรกิจ Startup

ข้อนี้ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะลูกค้าจะเข้าถึงสินค้าและบริการของธุรกิจ Startup ได้นั้นต้องอาศัยเทคโนโลยีและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อาทิ สมาร์ทโฟน ฯลฯ ทำให้กลุ่มลูกค้าแคบลง จริงอยู่ว่าการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในประเทศไทยแพร่หลายขึ้นมาก แต่ก็ยังถือว่าเป็นการใช้งานเฉพาะกลุ่มอยู่ดี พฤติกรรมดังกล่าวจึงยังไม่ค่อยเอื้อกับธุรกิจ Startup เท่าที่ควรถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆ

แม้การทำธุรกิจ Startup ในเมืองไทยอาจไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างไรก็ตามถ้าได้ศึกษาและผ่านกระบวนการบ่มเพาะการสร้างเจ้าของธุรกิจอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับบริบทของประเทศโดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์จริงในการทำธุรกิจ โอกาสในการประสบความสำเร็จก็ยังพอมองเห็นว่าอยู่ไม่ไกลเกินคว้า

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน