สถิติโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย 2563

หลักการและเหตุผล
โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชากรทั่วโลก มีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 7.5 ล้านคน มีผู้ป่วยด้วยโรคนี้เกือบ 1 พันล้านคนทั่วโลก คาดว่าในปี 2568 จะมีความชุกของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 1.56 พันล้านคน สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย โรคความดันโลหิตสูงยังคงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญเช่นกัน เห็นได้จากความชุกของโรคในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป มีการเพิ่มขึ้นจาก 10 ล้านคนในปี 2552 เป็น 13 ล้านคนในปี 2557 และเกือบครึ่งหนึ่งไม่ทราบว่าตนเองกำลังเผชิญกับภาวะของโรคความดันโลหิตสูง จำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเกือบ 4 ล้านคนในปี 2556 เป็นเกือบ 6 ล้านคนในปี 2561 จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับจำนวนผู้ป่วย จำนวนจาก 5,186 คนในปี 2556 เป็น 8,525 คน ในปี 2563 มีการประเมินค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นพบว่า ประเทศไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากถึงเกือบ 80,000 ล้านบาทต่อปีต่อจำนวนผู้ป่วยประมาณการ 10 ล้านคน
โรคความดันโลหิตสูง มีสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มี ปริมาณโซเดียมสูง (เช่น ปลาร้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และเครื่องดื่มเกลือแร่ เป็นต้น) การสูบบุหรี่ การขาดออกกำลังกาย การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ การมีภาวะอ้วน การมีภาวะเครียดสะสม การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประกอบกับ อายุที่มากขึ้น รวมถึงการมีพ่อ แม่ หรือญาติพี่น้องสายตรงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้มีโอกาส ต่อการเกิดโรคนี้มากขึ้น หากมีภาวะความดันโลหิตสูง เป็นระยะเวลานานแล้วไม่ได้รับการรักษา จะแสดงอาการปวดศีรษะ ใจสั่น ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย วิงเวียน สับสน หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ หากมีภาวะความดันโลหิตสูงแล้วไม่สามารถควบคุมระดับความดันได้ เป็นเวลานาน จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ หลอดเลือดแดงในตาเสื่อม อาจทำให้มีเลือดออกที่จอตา ทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัว หรือตาบอดได้ โรคหลอดเลือดหัวใจ เกิดจากหัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ผนังหัวใจหนาตัว และถ้าไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดหัวใจโต และหัวใจวายในที่สุด โรคหลอดเลือดสมอง เกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบ ตัน หรือแตก ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคไตเรื้อรัง เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอ ทำให้เกิดไตวาย ได้อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้
โครงการสมาร์ทดิสเพนซารีภายใต้สมาคมผู้ประกอบการร้านยารวมใจไทย (ชมรมร้านยายยาแห่งประเทศไทย) ได้เล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้ ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่มักพบได้ในชุมชน รวมถึงร้านยาจัดว่า เป็นสถานบริการปฐมภูมิ ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยในชุมชนทั่วประเทศมากที่สุด มีโอกาสพบเจอจากการคัดกรองโรคที่ผู้ป่วยเดินมาปรึกษาด้วยโรคอื่นๆ จำนวนมาก จึงมีแนวคิดในการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงให้กับเภสัชกรร้านยาเพื่อสามารถดูแลสุขภาพ ติดตามการใช้ยา และส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลให้กับผู้ป่วยในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง ใช้ยาได้ถูกต้องตรงตามแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน บนพื้นฐานของการปฏิบัติงานจริงที่พบได้บ่อยในหน้าร้านยา ทำให้เภสัชกรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมั่นใจ และสามารถให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานต่างๆ ตามโครงการที่สภาเภสัชกรรมได้ดำเนินงานไว้ โดยสื่อสารกับสมาชิกผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊คและยูทูป ตามนโยบาย New Normal เพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อ COVID-19ในปัจจุบัน

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในวันที่ 17 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันความดันโลหิตสูงโลก โดยปี 2565 นี้ สมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลก กำหนดประเด็นการรณรงค์ คือ “วัดความดันอย่างไร สูงเกินไปคุมให้ดี ช่วยยืดชีวีให้ยืนยาว” โดยกระทรวงสาธารณสุข มุ่งเน้นการวัดความดันโลหิตที่ถูกต้องและส่งเสริมการคัดกรองโดยสร้างความตระหนักในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชากร โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบว่า ในกลุ่มประชากรอายุ 30-79 ปี มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเกือบ 1,300 พันล้านคน และมักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้นแต่สามารถตรวจวินิจฉัยได้ และยังพบว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยง ที่ก่อให้เกิดโรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

สำหรับประเทศไทยมีแนวโน้มพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจสุขภาพประชากรไทยในปี 2562-2563 พบว่าประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นโรคความดันโลหิตสูง 13 ล้านคน และในจำนวนนี้มีมากถึง 7 ล้านคน ไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง หากผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานและไม่ได้รับการดูแลรักษา ความรุนแรงของโรคจะเพิ่มมากขึ้น อาจแสดงอาการต่างๆ ได้แก่ ปวดศีรษะ ใจสั่น ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย วิงเวียน สับสน หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ

หากได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มต้นและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต พร้อมติดตามวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ จะสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดียิ่งขึ้น และจะลดภาวะแทรกซ้อน ที่รุนแรงได้เป็นอย่างดี

ประชาชนสามารถปฏิบัติตน เพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ โดยใช้หลัก 3อ. 2ส. คือ อ.1 อาหาร ควรเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้ไม่หวานจัด อ.2 ออกกำลังกายสม่ำเสมอวันละ 30 นาที อ.3 ทำจิตใจให้สงบเพื่อจัดการความเครียด ส.1 คือไม่สูบบุหรี่ ส.2 คือไม่ดื่มสุรา

 นายแพทย์โอภาส กล่าวอีกว่า กระทรวงสาธารณสุขมีแผนจะสนับสนุนให้มีเครื่องวัดความดันโลหิตในพื้นที่สาธารณะ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการวัดความดันโลหิตมากขึ้น สร้างความตระหนักและสร้างการรับรู้ต่อสุขภาพของตนเอง มุ่งเน้นให้ประชาชนวัดความดันโลหิตอย่างถูกวิธีและทราบระดับความดันโลหิตของตนเอง โดยเลขบนตัวไม่ควรเกิน 140 มม.ปรอท และเลขตัวล่างไม่ควรเกิน 90 มม.ปรอท เพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ใช้หลัก 3อ. 2ส. ดังนี้