โซ ล่า เซลล์ ลดหย่อนภาษี 2565

BOI สำหรับโซล่าเซลล์ เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้ผู้ติดตั้งได้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือ ภาษีนำเข้าอุปกรณ์ติดตั้ง ซึ่งโดยปกติแล้วจะทำได้ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ

Show

รูปแบบที่ 1 การจัดตั้งบริษัทซื้อ-ขายไฟฟ้า โดยจะต้องจัดตั้งบริษัทผลิตไฟฟ้าเพื่อขายไฟฟ้าให้กับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน หรือ บริษัทอื่นๆ โดยรูปแบบนี้จะมีการได้สิทธิเรื่อง การยกเว้นภาษีอากรขาเข้าเครื่องจักร หรือ อุปกรณ์ และ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปอีก 8 ปี ตัวอย่างเช่น จัดตั้งนิติบุคล ก มาขายไฟให้นิติบุคคล ข โดยที่ทั้งสองนิติบุคคลมีการซื้อขายไฟกัน คนที่ลงทุนกาติดตั้งโซล่าเซลล์จะได้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และ ยกเว้นภาษีอากรขาเข้าเครื่องจักร การแยกเป็นสองบริษัท หรือ นิติบุคคลนั้น เพราะการซื้อขายไฟฟ้า จะทำให้เกิดรายได้ซึ่งกำไรจากการผลิตไฟฟ้านั้นจะได้สิทธิยกเว้นภาษี นอกจากนี้อาจจะมีเงื่อนไขอื่นๆ เช่น ต้องมีการจัดทำมาตราฐานดำเนินงาน เป็นต้น

รูปแบบที่ 2 รูปแบบกิจการลงทุนโซล่าเซลล์เพื่อลดค่าไฟฟ้าของตัวเอง รูปแบบนี้เพิ่งออกมาล่าสุด โดยบริษัทที่ในกลุ่มที่ BOI ให้การสนับสนุนลงทุนทำโซล่าเซลล์เองเพื่อลดค่าไฟฟ้า โดยมีสิทธิประโยชน์คือ การลดภาษีเงินได้ของกิจการนั้นโดยที่ไม่ต้องตั้งนิติบุคคลใหม่ให้มีการซื้อขาย โดยจำนวนเงินที่สามารถลดภาษีนั้นคำควณได้จาก 50% ของเงินลงทุน และเอามาลดภาษีได้ภายในเวลาภายใน 3ปี นอกจากนี้ยังสามารถลดภาษีนำเข้า และ VAT เป็น 0% อีกด้วย โดยรูปแบบที่ 2 นี้เหมาะกับกิจการขนาดเล็ก ทำการติดตั้งโซล่าเซลล์ไม่มาก ถ้าเราไปตั้งนิติบุคคลใหม่มีการซื้อขายระหว่างกันก็จะมีความยุ่งยาก อันนี้อยู่ในกิจการเดิมอยู่แล้วแค่ติดตั้งโซล่าเซลล์ แล้วเอาเงินลงทุนของโครงการนี้มาลดภาษีใน statement เดิมของกิจการได้

การขอ BOI สำหรับโซล่าเซลล์ ทำอย่างไร

ทำได้ง่ายๆ โดยการติดต่อ BOI โดยตรง เดี๋ยวนี้ BOI สามารถขอแบบยื่นออนไลน์ได้ แต่ประเภทที่สอง กรอกแบบฟอร์มแล้วไปยื่นด้วยตัวเอง เมื่อยื่นเสร็จจะไปเข้าลิสแล้วทางเจ้าหน้าที่ BOI จะติดต่อมาให้เราไปชี้แจงโครงการเพื่อเตรียมประกอบการอนุมัติโครงการโดยบอร์ด BOI เรามีหน้าที่เข้าไปชี้แจงกับเจ้าหน้าที่ ว่ากิจการดั้งเดิมของเราเป็นกิจการอะไร BOI ให้การสนับสนุนหรือเปล่า แล้วเราติดตั้งโซล่าเซลล์เท่าไหร่ แล้วจะขอสิทธิประโยชน์อะไร หลังจากชี้แจงแล้ว เจ้าหน้าที่จะรับเรื่องแล้วไปเข้าที่ประชุมของบอร์ด BOI ซึ่งทางเจ้าของกิจการต้องเข้าไปชี้แจงเรื่องกิจการของตัวเอง แต่ NextE จะเข้าไปช่วยสนับสนุนให้ข้อมูลเรื่องโซลล่าเซลล์ โดยสามารถเข้าไปดูในรายละเอียดอื่นๆได้จาก https://www.nexte.co.th/business-industrial-solar-solution/

แล้วจะใช้เวลาเท่าไหร่

ถ้าเป็นกิจการเล็กใช้เวลาประมาณ 2 เดือน เพราะชุดเล็กจะประชุมกันทุกอาทิตย์ และ กิจการขนาดใหญ่อาจจะนานกว่านี้

โซ ล่า เซลล์ ลดหย่อนภาษี 2565

วิธีปฎิบัติในการขอส่งเสริมการลงทุนของ BOI

กิจการไหนสามารถขอสิทธิของ BOI สำหรับโซล่าเซลล์ได้บ้าง

กิจการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนของ BOI สำหรับการติดตั้งโซล่าเซลล์ นั้นมีด้วยกัน 8 กลุ่มกิจการดังนี้

  1. เกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร
  2. แร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐาน
  3. อุตสาหกรรมเบา
  4.  ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง
  5. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  6. เคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระดาษ
  7. กิจการบริการและสาธารณูปโภค
  8. การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

รูปแบบการขอ BOI สำหรับโซล่าเซลล์

หัวข้อ การจัดตั้งบริษัทซื้อ-ขายไฟฟ้า กิจการลงทุนโซล่าเซลล์เพื่อลดค่าไฟฟ้า
สิทธิภาษีเงินได้ 8 ปี 50% ของเงินลงทุน ลดหย่อนได้ใน3 ปี
สิทธิภาษีนำเข้า อากรขาเข้า 10% + vat 7% อากรขาเข้า 10% + vat 7%
กิจการ เหมาะกับขนาดใหญ่ หรือ กิจการด้านประหยัดพลังงาน ขนาดเล็กที่สนับสนุนโดย BOI ทั้ง 8 กลุ่มกิจการ
เวลา 2 เดือน 2 เดือน

Ref:

คู่มือส่งเสริมการลงทุนปี 2562

Post Views: 15,560

มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ หนึ่งในมาตรการพิเศษของบีโอไอ (ฺBOI) เพื่อยกระดับกระบวนการทำงานในภาคการผลิต-บริการ 5 ด้าน รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษี 3 ปี สัดส่วน 50% ของเงินลงทุนในการปรับปรุง ยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร ยื่นขอรับการส่งเสริมได้ถึงวันทำการสุดท้ายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565

ภายใต้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจชะลอตัวลง และการผลิตสำหรับหลายๆ อุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่บริษัทสามารถใช้โอกาสในครั้งนี้มาปรับปรุงพัฒนาระบบต่างๆ ของกิจการที่ดำเนินการอยู่ให้ดีขึ้น ภายใต้มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ได้

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ (BOI) ออกมาตรการพิเศษเพื่อยกระดับกระบวนการทำงานต่าง ๆ ในภาคการผลิตและภาคบริการ รวมถึงการสร้างความพร้อมในการนำระบบดิจิทัลมาใช้ในอุตสาหกรรมและบริการ เช่น การนำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มาใช้ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการผลิต การดำเนินการให้ได้มาซึ่งมาตรฐานการรับรองต่าง ๆ เพื่อความยั่งยืนในระดับสากล เช่น ISO, GMP, FSC เป็นต้น นับเป็นมาตรการพิเศษของบีโอไอที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ

  • บีโอไอ ออกสิทธิประโยชน์ "ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต" ยกเว้นภาษี 50% นาน 3 ปี
  • ชมคลิป หนุนโรงงานใช้ "เทคโนโลยีดิจิทัล" ปรับปรุงการผลิต
  • BOI หนุนผู้ประกอบการ ใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติไทยปรับปรุงการผลิต ยกเว้นภาษี 100% เป็นเวลา 3 ปี

มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 5 มาตรการย่อย ดังนี้

มาตรการที่ 1 ด้านการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในโรงงาน

มาตรการที่ 2 ด้านการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เช่น การนำเครื่องจักร ระบบอัตโนมัติ หรือหุ่นยนต์มาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรที่นำระบบอัตโนมัติมาใช้ในสายการผลิตเดิม

มาตรการที่ 3 ด้านการวิจัยและพัฒนา หรือออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ เช่น การวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ หรือปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ทั้งในด้านการประหยัดการใช้วัตถุดิบ และพนักงานด้วยการออกแบบทางวิศวกรรม
 
มาตรการที่ 4 ด้านการยกระดับไปสู่มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนในระดับสากลเช่น การจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร (ISO 22000) ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน (ISO 14061) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งมาตรฐานสำคัญในการสร้างมาตรฐานในระดับสากล เพื่อช่วยให้สินค้าสามารถจำหน่ายในตลาดโลกได้ บีโอไอจึงอยากส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยขอรับการส่งเสริมฯ ในมาตรการดังกล่าวให้มากขึ้น

มาตรการที่ 5 ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ยกระดับกระบวนการทำงาน โดยไม่จำเป็นต้องมีการลงทุนเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ เช่น การนำซอฟต์แวร์เข้ามาบริหารจัดการทรัพยากรของกิจการยกเว้นประเภทกิจการที่ต้องใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอยู่แล้ว เช่น กิจการพัฒนาซอฟต์แวร์ Cloud Service และ Data Center เป็นต้น
 
ทั้งนี้ การขอรับส่งเสริมตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ในช่วงครึ่งปีแรกมีจำนวน 83 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 12,270 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงาน พลังงานทดแทน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รองลงมา คือ การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการลงทุนวิจัยและพัฒนาหรือออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ตามลำดับ

  • ภาวะการลงทุน 2564 ครึ่งปีแรก โครงการพลังงานไฟฟ้าบูม ดันยอดขอรับส่งเสริมฯ ทะลุ 3.8 แสนล้าน โต 158%
  • มติบอร์ด BOI 30 มิ.ย. 2564 ดึงลงทุนนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง อิเล็กทรอนิกส์-บรรจุภัณฑ์-ดิจิทัล
  • ภาวะการลงทุนปี 2564 ไตรมาสแรกมียอดขอรับส่งเสริมกว่า 1.2 แสนล้าน การแพทย์-อิเล็กทรอนิกส์โต รับเศรษฐกิจฟื้นหลังโควิด

มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ เป็นมาตรการที่เปิดกว้างสำหรับกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนและไม่ได้รับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ เพียงเป็นประเภทกิจใน 400 กว่าประเภท ที่บีโอไอให้การส่งเสริมฯ ก็สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมฯ ได้ ทั้งนี้ บีโอไอกำหนดขนาดการลงทุนในการปรับปรุงไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท/โครงการ หรือ 500,000 บาท/โครงการ สำหรับเอสเอ็มอี (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) โดยผู้ที่ได้รับการส่งเสริมฯ จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี สัดส่วน 50% ของเงินลงทุนในการปรับปรุงและยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร นอกจากนี้ มาตรการนี้สามารถยื่นขอซ้ำมาตรการย่อย 5 ด้านได้ และยื่นขอรับการส่งเสริมได้ถึงวันทำการสุดท้ายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565


มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ เป็นอีกหนึ่งมาตรการสำคัญในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริการให้กับกิจการของตนเอง ในช่วงที่การผลิตลดลงหรือหรือหยุดชะงักได้ และยังได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลจากบีโอไอ ทำให้ผู้ประกอบการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับมาตรฐานสินค้าที่ผลิตสู่สากล เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันให้ไปต่อได้

อ่านเพิ่มเติม: ถอดโมเดลฝ่าวิกฤตโควิด-19 ด้วยมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต บีโอไอ

#มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต boi #มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล #มาตรการบีโอไอ รับมือผลกระทบโควิด-19 #สิทธิประโยชน์ boi 2564 #สิทธิประโยชน์ boi มีอะไรบ้าง #boi คืออะไร #BOI Thiland #มาตรการส่งเสริมการลงทุน บีโอไอ

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

  • เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
  • บทเรียน 'หมิงตี้ เคมีคอล' สู่มาตรการป้องกันไฟไหม้โรงงาน ระยะสั้น-ยาว
  • เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
  • ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
  • กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
  • นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
  • แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
  • อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ไทย ปี 2564
  • ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
  • อุตสาหกรรม 4.0 การผลิตแห่งอนาคต

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH