แผงโซล่าเซลล์ กระแสออกน้อย

โดยปกติแล้วการต่อแผงโซล่าเซลล์เข้าด้วยกันนั้น จะต้องรู้ก่อนว่าขนาดของระบบที่เราออกแบบมาจะใช้งานที่แรงดันไฟฟ้าเท่าไรให้สอดคล้องกับกำลังไฟฟ้าที่จะใช้งาน(แนะนำการเลือกใช้งานแรงดันระบบ) โดยทั่วไปแล้วจะใช้ที่แรงดัน 12 , 24, 48และ 120 โวลท์เป็นหลัก ดังนั้นการต่อแผงโซล่าเซลล์จะต้องเลือก เครื่องควบคุมการชาร์จ แบตเตอรี่ และโหลดให้มีความสอดคล้องร่วมกันด้วย

การต่อแผงโซล่าเซลล์มีอยู่สองแบบด้วยกัน

1.) การต่อแบบอนุกรม – คือนำขั้วบวกของโซล่าเซลล์แผงหนึ่งมาต่อกับขั้วลบอีกแผงหนึ่งไปเรื่อยๆ จนได้แรงดันตามระบบที่ออกแบบไว้ การต่อแบบอนุกรมนี้จะทำให้แรงดันไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแต่กระแสในระบบจะเท่าเดิม ตัวอย่าง ถ้ามีโซล่าเซลล์แรงดัน 12 โวลท์ กระแส 2.5 แอปม์*2แผง มาต่ออนุกรมกันจะได้แรงดันรวมอยู่ที่ 24 โวลท์และกระแสรวม 2.5แอมป์

แผงโซล่าเซลล์ กระแสออกน้อย

2.) การต่อแบบขนาน – คือนำขั้วบวกของโซล่าเซลล์แผงหนึ่งไปต่อกับขั้วบวกของโซล่าเซลล์อีกแผงหนึ่ง และนำขั้วลบแผงหนึ่งไปต่อกับขั้วลบอีกแผงหนึ่ง การต่อแบบนี้จะทำให้กระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นแต่แรงดันเท่าเดิม ตัวอย่างถ้ามีแผงโซล่าเซลล์ตามสเปคข้างบน 2 แผงนำมาต่อแบบขนานจะได้แรงดันรวมของระบบ 12 โวลท์และกระแสไฟฟ้ารวม 5 แอมป์(2.5แอมป์*2)

แผงโซล่าเซลล์ กระแสออกน้อย

สังเกตุว่าการต่อแผงโซล่าเซลล์ทั้งสองแบบนี้ จะได้ค่าของกำลังไฟฟ้าออกมาเท่ากันคือ (24V*2.5A) หรือ (12V*5A) = 60 วัตต์(ตัวอย่างแผงที่ยกมา โซล่าเซลล์หนึ่งแผงจะมีกำลังไฟฟ้า 30 วัตต์)ตามสูตรพื้นฐานไฟฟ้าง่ายๆคือ P=V*I โดย P=กำลังไฟฟ้า(วัตต์), V=แรงดันไฟฟ้า(โวลท์) , I=กระแสไฟฟ้า(แอมป์)

ถ้าระบบที่เราจะนำแผงโซล่าเซลล์ไปต่อเป็นแบบแยกเดี่ยวที่ต่อตรงเข้ากับแบตเตอรี่และโหลดกระแสตรงเลย เราจะต้องต่อแผงโซล่าเซลล์ให้มีแรงดันรวมที่ผลิตออกมาจากแผงมากกว่าแรงดันของแบตเตอรี่ประมาณ1.4-1.5เท่า โซล่าเซลล์ถึงจะชาร์จประจุเข้า เช่นแบตเตอรี่มีแรงดันไฟฟ้า 12 โวลท์ จะต้องมีแรงดันจากแผงโซล่าเซลล์ประมาณ 16.8-18โวลท์(Vmp)

แต่ถ้าระบบที่เราออกแบบเป็นแบบต่อร่วมกับเครื่องควบคุมการชาร์จ ให้เราต่อแผงโซล่าเซลล์ให้มีแรงดันใกล้เคียงกับสเปคของตัวเครื่องควบคุมการชาร์จได้เลย

เมื่อรู้วิธีการต่อแผงโซล่าแล้ว การเลือกแรงดันระบบก็ถือเป็นอีกสิ่งที่ต้องรู้เพื่อจะทำให้ระบบทำงานอย่างมีประสิทธิภาพไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก

ข้อควรระวัง

การต่อแผงโซล่าเซลล์แบบอนุกรมควรระวังอย่าให้มีเงามาตกกระทบบดบังแสงที่จะส่งไปยังแผงโซล่าเซลล์ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมทั้งหมดของระบบลดลงหรือถึงขั้นไฟฟ้าไม่สามารถผลิตขึ้นได้ เปรียบเหมือนกับท่อน้ำที่ถูกตัดระหว่างทางทำให้ไม่สามารถส่งน้ำไปยังปลายทางได้ ทั้งนี้สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการต่อบายพาสไดโอดขนานกับแผงหรือการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้หลีกเลี่ยงเงาที่จะตกกระทบลงบนแผง

นอกจากนี้ การต่อแผงโซล่าเซลล์ในระบบเข้าด้วยกัน จะต้องเลือกแผงโซล่าเซลล์และอุปกรณ์โดยรวมให้มีขนาดเหมาะสม มิฉะนั้นแล้วจะทำให้อุปกรณ์ระบบเกิดความเสียหายหรือผลิตไฟฟ้าได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆเพิ่มเติมตามมาอีกมากมาย

การออกแบบระบบตาม คู่มือการออกแบบ ติดตั้งและใช้งานระบบโซล่าเซลล์ ที่ดีจะสามารถป้องกันปัญหาที่กล่าวมาและทำให้เราผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขี้น

เชื่อว่าหลายๆท่านอาจประสบปัญหาหลังการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เมื่อใช้งานไปสักพัก ไฟในเซลล์อาจไม่ติดหรือตัวแผงไม่ทำงาน ซึ่งบางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นก็อาจไม่ได้มาจากตัวแผงไฟ วันนี้เราจะมาบอกเล่าสาเหตุหลักๆ เจ้าปัญหากัน

แผงโซล่าเซลล์ กระแสออกน้อย
  1. การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่ไม่ถูกวิธี สิ่งสำคัญของการใช้งานไฟโซล่าเซลล์นั้น ตัวแผงจะต้องได้รับแสงแดดจากแสงอาทิตย์โดยตรงแบบที่ไม่มีร่มเงามาบัง โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 5-8 ชั่วโมง จึงจะสามารถทำการชาร์จแบตเตอรี่ภายในได้อย่างเต็มที่ หากจุดที่ผู้ใช้ติดตั้งอยู่ไม่สามารถรับแดดได้เต็ม วิธีการแก้ไขควรต้องทำการเคลื่อนย้ายจุดในการติดตั้ง
  2. สภาพอากาศ อาจจะเป็นในช่วงฤดูฝน หรือพายุเข้า ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ท้องฟ้าปิด มีเมฆมาบังแดด ทำให้ตัวแผงโซล่าเซลล์ไม่สามารถรับพลังงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้เกิดการผลิตพลังงานไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้งาน
  3. แผงโซล่าเซลล์มีสิ่งสกปรกติดอยู่ อาจจะมีฝุ่นไปเกาะอยู่ตามแผงจำนวนมากทำให้เกิดการบดบังที่จะรับพลังงานจากแสงแดด ดังนั้นควรเช็ดทำความสะอาดแผงเดือนละ 1 ครั้ง
  4. แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ เนื่องจากไฟที่ผลิตจากแผงโซล่าเซลล์นั้น จะต้องใช้แหล่งพลังงานแบตเตอรี่เป็นแหล่งที่เก็บพลังงาน ที่จะนำมาใช้ในช่วงตอนกลางคืน หากตัวแบตเตอรี่นั้นเสื่อมสภาพไม่สามารถทำการกักเก็บไฟ หรือชาร์จไฟได้ ก็จะเป็นสาเหตุหลักทำให้ไฟโซล่าเซลล์นั้นไม่สามารถใช้งานได้
  5. อุปกรณ์หรือระบบภายในเกิดความเสียหาย โดยปกติแล้วแผงโซล่าเซลล์จะมีอายุการใช้งาน 10 ปีขึ้นไป หากเกิดปัญหาก่อนอาจเป็นไปได้ว่าอุปกรณ์หรือระบบบางส่วนเกิดการเสียหาย เช่น อาจโดนของแข็งตกกระแทกทำให้กระทบต่อระบบภายใน หรือการชาร์จหลอด LED อาจจะขาด กรณีควรให้ผู้ที่ชำนาญเข้ามาซ่อมแซม

ดังนั้นเราควรหมั่นตรวจเช็คและดูแลรักษา เพื่อยืดอายุการใช้งานของแผงโซล่าเซลล์ให้คุ้มค่ามากที่สุด และควรศึกษาก่อนทำการติดตั้ง