การ สังคมสงเคราะห์ กลุ่มชน


 �Ţ���¡HV45 �539 2549 ISBN9789745719637 (pbk.) ISBN9745719633 (pbk.) ����������ѡɳ� ��ʶԵ��� ��������ͧ�ѧ��ʧ������������ / �����ѡɳ� ��ʶԵ��� �����ѡɳ���ا෾� : �ӹѡ���������Է����¸�����ʵ��, 2549. �ٻ����214 ˹�� ; 26 ��. �������ͧ�ѡ�ѧ��ʧ������ �������ͧ�ѧ��ʧ������������ ��úѭ��úѭ�س�ѧ�������͡�Թ �س����ö�աԨ���������Ѻ���䫵��� ���ͧ��͡�Թ��͹ ::�ӴѺ����������Ţ���¡/������ʶҹ���ʶҹ�1.
การ สังคมสงเคราะห์ กลุ่มชน

˹ѧ��ͷ����HV45 �539 2549
  Barcode: 30100100082508���˹ѧ��ͷ���������
 
การ สังคมสงเคราะห์ กลุ่มชน
�����
��¡�������§
    �������ͧ [�ѡ�ѧ��ʧ������]
�ѧ����¶١��������


 Copyright 2022. All Rights Reserved.

เนื่องจากนักสังคมสงเคราะห์ มีหน้าที่ให้การสงเคราะห์แก่ผู้รับบริการแก้ไขปัญหาสังคมและพัฒนาสังคม จึงมีวิธีการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุถึงปรัชญาที่ว่า ช่วยให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ ด้วยวิธีทำงานกับเขามิใช่ทำงานเพื่อเขา วิธีการดังกล่าว มีดังต่อไปนี้

1. การสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย เป็นการทำงานระดับบุคคล เป็นการทำงานกับผู้มีปัญหา เป็นรายบุคคล ปัญหาดังกล่าวอาจจะเป็นปัญหาที่ครอบครัว ปัญหาด้านการเงิน ปัญหาด้านสุขภาพและอื่นๆ ทั้งนี้ โดยการที่นักสังคมสงเคราะห์จะต้องม่งให้ผู้ใช้บริการเข้าใจถึงปัญหาของตนเองเพื่อที่จะได้แก้ไขปัยหาด้วยตนเองได้ โดยนักสังคมสงเคราะห์มีหน้าที่แค่ชี้แนวทางให้

2. การสังคมสงเคราะห์กลุ่มชน การทำงานระดับกลุ่ม เป็นวิธีการและกระบวนการที่นักสังคมสงเคราะห์นำผู้ใช่บริการที่มีปัญหาเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกับมารวมกลุ่มกันเพื่อที่จะได้ง่ายแก่การช้วยเหลือและเพื่อที่จะได้เข้าใจและผู้ใช้บริการจะได้รู้สึกว่าเขาไม่ได้มีปัญหาแบบนั้นคนดียว หรือเรียกอีออย่างว่า "เพื่อนช่วยเพือน" ให้ความช่วยเหลือสมาชิกกลุ่ม องค์การต่างๆ แต่ละคน ให้สมาชิกมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น มีประสบการณ์ในการพัฒนาที่ดี โดยนักสังคมสงเคราะห์ให้ความช่วยเหลือสมาชิกแต่ละคนในการพัฒนาบุคลิกลักษณ เพื่อการพัฒนาสังคม โดยใช้ปฏิกิริยาโต้ตอบภายในกลุ่มเป็นเครื่องมือ

3. การจัดระเบียบ และการพัฒนาชุมชน เรียกว่า การทำงานระดับชุมชน เป็นการทำงานกับชุมชน เพื่อการแก้ไข ป้องกันปัญหา ความเดือดร้อน ซึ่งกระทบกระเทือนถึงสวัสดิภาพ และความปลอดภัยของคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาชีพ การศึกษา สุขภาพอนามัยและอื่นๆ โดยนักสังคมสงเคราะห์ จะใช้วิธีการกระตุ้นให้คนในชุมชนมองเห็นปัญหา สาเหตุของปัญหา และร่วมมือร่วมแรงกันวางแผน และดำเนินการป้องกัน และแก้ไข ซึ่งอาศัยทรัพยากรต่างๆ ในชุมชน อันได้แก่ คน วัสดุอุปกรณ์ ทุนทรัพย์ แรงงาน หน่วยงานต่างๆ เป็นต้น นอกจากนั้น ถ้านักสังคมสงเคราะห์พบว่า ชุมชนขาดบริการ หรือมีบริการไม่เพียงพอ นักสังคมสงเคราะห์ก็จะหาทางส่งเสริม หรือสนับสนุนให้คนในชุมชนนั้นร่วมกัน จัดการทรัพยากรภายนอกเข้าไปเพิ่มเติม

4. การวิจัยทางสังคมสงเคราะห์ คือ การที่นักสังคมสงเคราะห์ศึกษาสภาพต่างๆ ในสังคม เพื่อประกอบการพิจารณาการวางนโยบาย แผนงาน และโครงการต่างๆ อันช่วยบรรเทา หรือขจัดปัญหา ทางสังคม ผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ การบริหารองค์การ จะช่วยในการแก้ไข และปรับปรุง หรือริเริ่มบริการ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน

5.การบริหารงานสังคมสงเคราะห์ เป็นการบริหารองค์การทางสังคมสงเคราะห์ ให้มีประสิทธิภาพสูง โดยรวมถึงการวางนโยบาย แผนงาน และโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาบุคลากรขององค์การให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ นอกจากนั้น ยังรวมถึงความสามารถ ในการประสานงาน ร่วมมือกันทำงานกับนักวิชาชีพอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

จะได้เห็นได้ว่าการทำงานของนักสังคมสงเคราะห์มีหลายวิธีการแต่ละวิธีการก้สอดแทรกกระบวนการทางสังคมสงเคราะห์ทั้งหมด และทุกวิธีการมุ้งเน้นให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ใช่ศักยภาพของตนเองในการแก้ไขปัญหาก่อน ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้ย่างเป้นปกติสุข

‘เครือข่าย ngo ด้านเด็กและเยาวชน’ ร่วมเสนอแนวทางการจัดสวัสดิการเพื่อ ‘เด็กกลุ่มเสี่ยง’ เห็นพ้อง ‘ต้องแก้ที่ครอบครัว’ มุ่งให้สถานสงเคราะห์เป็นทางเลือกสุดท้าย หวังแก้ปมเด็กตกค้างจำนวนมากในสถานสงเคราะห์ สืบเนื่องจากกรณีบ้านพักเด็กครูยุ่นที่เกิดขึ้นเมื่อเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา

การ สังคมสงเคราะห์ กลุ่มชน

18 ธ.ค. 65 เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. เวลา 9.30-16.00 น. ที่โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง กรุงเทพฯ มีกิจกรรมสานเสวนาแลกเปลี่ยนระหว่างองค์กรภาคประชาสังคม เรื่อง ‘สถานรองรับเด็กสำหรับกลุ่มเด็กที่เข้าไม่ถึงโอกาสและมีความเปราะบางพิเศษกับรูปแบบการปกป้องคุ้มครองที่เหมาะสมตามสถานการณ์จริงในสังคมไทย’ เพื่อทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อรัฐบาลไทยเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการคุ้มครองเด็กตามหลักการด้านมนุษยธรรม สิทธิมนุษยชนและกฎหมายคุ้มครองเด็กในประเทศไทย

แนวคิดและทิศทางสถานรองรับ 'เด็กกลุ่มเสี่ยง'

9.30 น. สุรพงษ์ กองจันทึก รองประธานมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (Labour Protection Network: LPN) และที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “แนวคิดและทิศทางของสถานรองรับเด็ก สำหรับกลุ่มเด็กที่เข้าไม่ถึงโอกาส มีความเปราะบางพิเศษ กับรูปแบบการปกป้องคุ้มครองที่เหมาะสมตามสถานการณ์จริงในสังคมไทย” 

การ สังคมสงเคราะห์ กลุ่มชน

สุรพงษ์ กองจันทึก รองประธานมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน

“สถานสงเคราะห์ทั้งหมดต้องมีหน้าที่ให้เด็กได้รับการศึกษาถึงชั้น ม.6 หรืออายุ 18 ปี เด็กจะไม่มีการไปทำงาน ช่วยงานบ้านได้ ฝึกอาชีพได้ แต่ทำงานจะไม่มี” สุรพงษ์กล่าว

รองประธานมูลนิธิ LPN กล่าวถึง หลักคิดในการดูแลเด็กที่เชื่อมโยงกับบทบาทของสถานสงเคราะห์ ระบุว่าเด็กต้องได้รับการดูแลจากครอบครัว เพราะครอบครัวเป็นระบบสังคมที่สำคัญที่สุดกับเด็ก ซึ่งครอบครัวในที่นี้อาจไม่ได้หมายถึงเฉพาะพ่อกับแม่เสมอไป ดังที่เราจะเห็นว่าสังคมทุกวันนี้มีการเปลี่ยนรูปแบบครอบครัวไปจำนวนมาก แต่ถ้าเกิดว่าเด็กไม่ได้อยู่กับครอบครัวเขาทำยังไง ก็ต้องทำให้ครอบครัวเขามีความพร้อมที่จะทำให้เด็กอยู่กับครอบครัวได้ด้วย ฉะนั้นการที่เรามีสถานสงเคราะห์ เราแยกเด็กออกมา สถานสงเคราะห์ต้องเป็นครอบครัวให้พวกเขา แต่ศักยภาพของสถานสงเคราะห์ในการดูแลเด็กกลุ่มเปราะบางตามหลักมนุษยธรรมนั้นมีมากน้อยเพียงใด

จากนั้น สุรพงษ์ ขยายความถึง เด็กกลุ่มเปราะบางที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ที่ต้องการการดูแลที่มีลักษณะพิเศษตามไปด้วย ระบุว่าเด็กที่จะมาอยู่นอกครอบครัวมี 2 กลุ่ม คือ เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์และเด็กที่พึงได้รับการคุ้มครอง ซึ่งเด็กกลุ่มเหล่านี้เป็นกลุ่มเปราะบางที่ประสบกับปัญหา ที่เราไม่สามารถปล่อยให้เขาอยู่กับครอบครัวหรืออยู่กับคนที่ดูแลเขาต่อไปได้ กล่าวคือ เด็กกลุ่มนี้ล้วนแต่เป็นเด็กพิเศษทั้งไม่มีสัญชาติ ไม่มีเอกสารการแจ้งเกิด ไม่มีพ่อแม่ หรือมีแต่ครอบครัวแตกแยก หรือเด็กที่ร่างกายมีโรคหลายโรคที่ไม่พร้อมเหมือนเด็กคนอื่น รวมทั้งเด็กที่เป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ ทั้งหมดนี้ทำให้การดูแลยิ่งต้องมีลักษณะพิเศษแต่ที่ผ่านมาก็ยังทำเรื่องนี้ได้ไม่เต็มที่นัก และสถานสงเคราะห์ไม่สามารถทำเรื่องนี้ได้เพียงลำพัง แต่ต้องช่วยกันทั้งสังคม

การ สังคมสงเคราะห์ กลุ่มชน

(เรียงจากซ้าย) ปฏิมา - สมภพ - ศิริพงษ์ - ชาล๊อต - สุรพงษ์ - มินตรา - ทีน่า - ทานตะวัน

รองประธานมูลนิธิ LPN กล่าวถึง ช่องว่างทางนโยบายในการคืนเด็กสู่ครอบครัวที่ทำให้เกิดปัญหาเด็กตกค้างจำนวนมากในสถานสงเคราะห์ โดยกฎหมายคุ้มครองเด็กระบุไว้ชัดเจนว่าให้แก้ปัญหาแบบเอาเด็กเป็นศูนย์กลาง หากครอบครัวไม่มีความพร้อมจะดูแลเด็กก็จำเป็นที่จะต้องแยกเด็กออกมา แล้วหลังจากนั้นก็จะมี 2 แนวทาง คือการเอาเด็กไปดูแล-คุ้มครอง-พัฒนา และการไปแก้ปัญหาที่ครอบครัวของเด็กเพื่อที่จะส่งเด็กกลับคืนสู่ครอบครัว แต่ปัญหาของสถานสงเคราะห์ที่ผ่านมาก็คือ เน้นไปทำงานในเรื่องของเด็กพอสมควร แต่การทำงานกับครอบครัวยังน้อยเกินไป เมื่อครอบครัวไม่พร้อมต่อเด็ก ก็ทำให้ยังคงมีเด็กตกค้างอยู่ที่สถานสงเคราะห์จำนวนไม่น้อย กระบวนการคืนเด็กสู่ครอบครัวจึงยังคงเป็นปัญหาอยู่

“ทุกวันนี้เราไม่ได้เอาเด็กเป็นศูนย์กลาง แต่ยังเอาสถานสงเคราะห์เป็นศูนย์กลางอยู่” สุรพงษ์กล่าว

รองประธานมูลนิธิ LPN กล่าวว่า อยากฝากสถานสงเคราะห์ให้เห็นเด็กเป็นครอบครัว เลี้ยงเขาตามหลักมนุษยธรรม สิ่งนี้จะนำไปสู่การพัฒนา และการพัฒนาของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน เด็กในสถานสงเคราะห์ส่วนใหญ่เป็นเด็กพิเศษทั้งนั้น เราไม่มีกระบวนการจัดการเด็กพิเศษพวกนี้อย่างไรกันเลย ซึ่งลำพังสถานสงเคราะห์ทำคนเดียวไม่ได้อยู่แล้ว แต่สังคมทั้งหมดจะมาร่วมดูแลเด็กในฐานะที่เขาเป็นอนาคตของเรา  

การ สังคมสงเคราะห์ กลุ่มชน

10.00 น. วงเสวนา ถอดบทเรียนการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก จากผู้มีประสบการณ์ตรงในสถานสงเคราะห์ ได้แก่ ดร.สมภพ จันทราภา ผู้ก่อตั้งและผอ.ศูนย์พัฒนาการศึกษาเพื่อลูกหญิงและชุมชนลุ่มน้ำโขง ศิริพงษ์ กรุธไทย มูลนิธิวัดสระแก้ว ชาล๊อด ตัวแทนจากโครงการบ้านแม่น้ำ และ ทีน่า-มินตรา-ทานตะวัน 3 ตัวแทนเยาวชนจากมูลนิธิ LPN ดำเนินรายการโดย ปฏิมา ตั้งปรัชญากูล ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ LPN

มินตรา เป็นหนึ่งในเยาวชนเกือบ 30 ชีวิตจากบ้าน LPN เล่าว่า ตนมาจากครอบครัวที่มีปัญหา ได้เข้ามาอยู่ที่บ้านแห่งนี้เป็นเวลา 5 ปีแล้ว ตอนแรกที่ได้มาเจอพี่สต๊าฟ LPN ในบ้านก็ยังไม่ค่อยเข้าใจภาษาไทยเท่าไหร่ ปรับตัวยากมาก แต่พออยู่ไปสักพักก็มีการตั้งกฎกันว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างไร บวกกับมีช่วงที่ครูอ้อน (ปฏิมา ตั้งปรัชญากูล) ครูใหญ่ (สมพงค์ สระแก้ว ผอ.มูลนิธิ LPN) ไม่ค่อยอยู่บ้าน เพราะไปช่วยเหลือลูกเรือประมงที่ติดอยู่ที่น่านน้ำต่างประเทศ ทำให้ตนต้องอยู่บ้านกับน้องๆ และดูแลกันเอง 

“ใช้เวลาปรับตัว 3 ปี ตื่นเช้ามาเก็บที่นอน ช่วยกันทำความสะอาด ตอนนี้สามารถดูแลน้องๆ ที่เข้ามาใหม่ได้ ตอนนี้หนูเหมือนเป็นพี่คนหนึ่งในบ้าน สามารถสอนน้องในสิ่งที่เราเคยผ่านมา” มินตราบอก

ทานตะวัน เยาวชนจากบ้าน LPN เช่นกัน เล่าว่า แม่ตนฝากให้เข้ามาอยู่ที่นี่ เพราะครอบครัวไม่มีทุนทรัพย์ส่งให้เรียนหนังสือ อยู่ที่นี่อยากเรียนอะไรก็ได้เรียน ตอนนี้ตนเรียนอยู่ ปวช. ปี 3 แล้ว ก่อนที่มาอยู่ที่นี่ เคยอยู่ที่สถานสงเคราะห์แห่งหนึ่งมาก่อนและเคยถูกทำร้ายร่างกายในลักษณะคล้ายๆ กับในข่าวที่เคยเป็นกระแสก่อนหน้า 

จากนั้น เล่าเพิ่มเติมเกี่ยวกับชีวิตที่บ้าน LPN ที่สอนให้มองไปข้างหน้า บอกว่า ช่วงที่มาอยู่แรกๆ ก็ไม่รู้ว่าชีวิตตนเองจะเป็นอย่างไร เพราะความเคยชินจากกิจวัตรในบ้านหลังเดิม คือกินข้าวสามมื้อแล้วก็นอนวนลูปไป แต่ที่นี่มีกิจกรรมอบรมกันภายในบ้าน ที่มักจะให้เด็กๆ คิดเรื่องอนาคตให้มากขึ้น และคิดว่าถ้าเราไม่ได้อยู่ที่นี่แล้วอยากจะทำอะไรต่อ สอนการจัดลำดับความสำคัญของชีวิต ตนเป็นพี่โตสุดในบ้าน มีหน้าที่ดูแลและเป็นที่ปรึกษาให้กับน้องๆ กระบวนการอยู่ร่วมกันเหล่านี้ทำให้รู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่า รู้ตนเองว่าอยากจะทำอะไรในอนาคต

“เรามาจากครอบครัวแรงงาน แต่เรามีโอกาสพัฒนาตัวเอง ไม่เหมือนคนรุ่นพ่อแม่เราที่ได้ตังค์ค่าแรงวันละ 300 แล้วชีวิตก็จบไป” ทานตะวันบอก

สำหรับข้อเสนอแนะมินตราและทานตะวัน เห็นสอดคล้องกันว่า การเพิ่มกิจกรรมเสริมทักษะชีวิต-โอกาสฝึกอาชีพจะช่วยให้พวกเขาสามารถอยู่รอดได้ในสังคม ส่วนพี่สตาฟ หรือ บุคลากรที่ดูแลเด็กควรทำความเข้าใจให้เด็กมากกว่านี้ ไม่ใช้คำพูดบั่นทอนและตีตราเด็ก เพราะคำพูดเพียงไม่กี่คำสามารถฝังอยู่ในใจได้เด็กนานกว่าที่คิด 

การ สังคมสงเคราะห์ กลุ่มชน

3 ตัวแทนเยาวชนจากมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN)

ชาล๊อด ตัวแทนจากโครงการบ้านแม่น้ำ อายุ 29 เล่าชีวิตการเรียนในฐานะเด็กซึ่งไม่มีสัญชาติไทย บอกว่า ตนอาศัยอยู่ที่บ้านแม่น้ำมา 15 ปี และได้เข้าเรียนอนุบาล 2 ตอนอายุ 14 ปี ซึ่งตอนนั้นยังพูดภาษาไทยไม่ได้เลย แต่การเป็นเด็กบัตรรหัส 0 เป็นเด็กโข่งในโรงเรียนไม่ได้เป็นปมด้อยแต่อย่างใด จากนั้นให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรม หลักสูตรเสริมทักษะ และบุคลาการในสถานสงเคราะห์ โดยมองว่าหากมูลนิธิยังไม่มีกิจกรรมมากพอ เด็กก็จะไปสนใจเรื่องที่นอกเหนือกว่าที่ควรจะเป็น ควรต้องหากิจกรรมที่เด็กสนใจเพื่อทำให้พวกเขาได้เรียนรู้อย่างแท้จริง 

สำหรับ ศิริพงษ์ กรุธไทย รองผอ.รร.วัดสระแก้ว เล่าว่า ตนเป็นเด็กวัดที่นี่มาก่อน เข้ามาอยู่ตั้งแต่ 10 ขวบ เรียนจบก็เป็นครูต่อ ทำให้เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของเด็กๆ เป็นอย่างดี วัดสระแก้วเป็นสถานสงเคราะห์เด็กยากจน ปัจจุบันมีเด็กประมาณ 900 คน ส่วนมากเป็นเด็กชนเผ่าที่เดินทางมาจาก จ.ตาก เพื่อมาเรียนหนังสือ ส่วนกิจกรรมนอกห้องเรียนคือ ลิเก คนทั่วไปคงรู้จักกันดีอยู่แล้วเพราะรร.วัดสระแก้วคือสถานที่แจ้งเกิดของ ไชยา มิตรชัย พระเอกลิเกชื่อดัง ส่วนชีวิตของเด็กวัดสระแก้ว มีการเรียกครูลิเกมาฝึกให้เด็กวัด มีหลายคณะมาก ตนเป็นลิเกรุ่นที่หนึ่ง หาเงินไปด้วย ส่งเสียตัวเองเรียน วัดสระแก้วอยู่ได้เพราะแรงศรัทธาของคนที่มาทำบุญ แม้ว่าที่นี่จะเป็นสถานสงเคราะห์ที่มีชื่อเสียง แต่ช่วงโควิดที่ผ่านมาก็ค่อนข้างลำบาก แต่ก็สามารถประคองให้ผ่านมาได้

รองผอ.รร.วัดสระแก้ว ให้ข้อเสนอว่า สถานสงเคราะห์แต่ละแห่งควรตั้งเป้าว่าอยากให้เด็กที่ออกไปแล้วมีชีวิตแบบใด ควรเน้นให้การศึกษาเพราะการศึกษาจะทำให้เด็กหลุดจากวงจรแก้ความยากจน 

ทำงานกับ 'เด็กกลุ่มเสี่ยง'

ควรเน้น 'ป้องกัน' มากกว่า 'ตั้งรับ'

ทางด้าน สมภพ จันทราภา ผู้ก่อตั้งและผอ.ศูนย์พัฒนาการศึกษาเพื่อลูกหญิงและชุมชนลุ่มน้ำโขงเล่าว่า ตนเคยเป็นเด็กข้างถนนมาก่อนเพราะครอบครัวแตกแยก วันหนึ่งอาสาสมัครต่างประเทศมาพบเข้าและนำตนไปดูแล ได้เรียนหนังสือ และตัดสินใจตั้งมูลนิธิเองเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น

สมภพ กล่าวว่า ควรทำงานด้วยยุทธศาสตร์ป้องกัน (Prevention) มากกว่าตั้งรับ (Protection) เด็กกลุ่มเสี่ยงควรได้รับการป้องกันก่อน เพราะชีวิตคนเราหากก้าวพลาดไปแล้วจะถอยหลังกลับมายาก พร้อมเล่าว่า เคยทำวิจัยเกี่ยวกับเด็กในธุรกิจบริการทางเพศ ไปเก็บข้อมูลที่ชายแดนก็พบกับชาวเขา คนข้ามถิ่นจากเมียนมา ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ใหญ่และกระจัดกระจายตามชายแดน เด็กเล็กๆ ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เมื่อโตขึ้นมาเป็นเยาวชนก็เข้าสู่ธุรกิจบริการทางเพศ และอาจกลายเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในที่สุด 

“ภาครัฐเขาก็พยายามจะมาช่วย กรมประชาสงเคราะห์เอาคนมาสอนตัดเย็บ แต่ก็…เสื้อตัวละ 10 บาท แต่ว่าขายบริการครั้งหนึ่งได้เป็นหมื่น” สมภพ กล่าวถึง มาตรการการช่วยเหลือจากภาครัฐที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง

การ สังคมสงเคราะห์ กลุ่มชน

สมภพ จันทราภา - ศิริพงษ์ กรุธไทย

ผอ.ศูนย์พัฒนาการศึกษาเพื่อลูกหญิงและชุมชนลุ่มน้ำโขง เล่าถึงวิธีการจัดสวัสดิการเพื่อดูแลเด็กกลุ่มเสี่ยง การทำให้พวกเขาเข้าถึงศึกษาเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่ใช่คำตอบ 

“ปัญหาคือไม่ใช่ว่าเจอเด็กปุ๊บแล้วไปให้เด็กเข้าโรงเรียน เด็กเหล่านี้เป็นเด็กที่ไม่มีใครอยากรับ เพราะมันร้าย ก็ต้องยอมรับว่าเด็กบางคนก็ร้ายจริง ลักเล็กขโมยน้อย ก้าวร้าว โกหก รับมาก็ลำบาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเงื่อนไขที่ทำให้เด็กมีความเสี่ยง แต่ผมมีหลักคิดแบบนี้ เมื่อเจอเด็กผิดปกติ จะต้องมีสิ่งปกติที่ไม่ปกติ มันมีสิ่งที่ไม่ปกติเกิดขึ้นกับเด็กก่อน”  

“ถ้าเราเจอเด็กทำผิด เราต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเขาอยู่ในภาวะจำยอม หรือมีอีกอันคือ ถ้าเจอเด็กไม่ปรากฏสัญชาติ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นเด็กสัญชาติเรา จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นเด็กสัญชาติอื่น ไม่ใช่ไปจับเขาก่อน แต่ควรดูแลเขาก่อน ซึ่งสอดคล้องกับนิติปรัชญา” สมภพกล่าว

สำหรับข้อเสนอแนะ สมภพมองว่า สถานสงเคราะห์ไม่ควรเป็นผู้หาประโยชน์จากเด็กเสียเอง แนะคนทำงานควรทบทวนแนวคิด “ไม่เลือกปฏิบัติต่อเด็ก” ที่มีใช้อย่างพร่ำเพรื่อเกินไป คนทำงานด้านนี้ควรทบทวนแนวคิดตัวเอง เราอาจต้องเลือกปฏิบัติในแง่ของการดูแลเด็กกลุ่มเสี่ยงเป็นพิเศษเสียด้วยซ้ำ

การ สังคมสงเคราะห์ กลุ่มชน

10.50 น. กิจกรรมสานเสวนาถึงแนวทางการสร้างระบบสวัสดิการที่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน มีผู้เข้าร่วมเสวนาทั้งจากภาครัฐ ประชาสังคม และนักวิชาการด้านเด็ก ได้แก่ สมพงค์ สระแก้ว ผอ.มูลนิธิ LPN ผศ.ดร.สมบัติ ตาปัญญา ประธานกรรมการมูลนิธิสานติวัฒนธรรม อรนุชา มงคลรัตนชาติ ตัวแทนจากกองส่งเสริมการพัฒนาและสวัสดิการเด็ก เยาวชน และครอบครัว ทัศนา บรรณสาร ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลฟื้นฟูผู้เสียหาย เชษฐา มั่นคง ผอ.มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้กำกับภาพยนตร์ นลินี เชื้อวณิชชากร กุมารแพทย์พัฒนาการและพฤติกรรม และ เกริกพล บัวทอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคูบางหลวง

ให้ 'สถานสงเคราะห์' เป็นทางเลือกสุดท้าย

การ สังคมสงเคราะห์ กลุ่มชน

อรนุชา มงคลรัตนชาติ

อรนุชากล่าวว่า ภารกิจที่สำคัญที่สุดของกรมกิจการเด็กและเยาวชน คือจะทำยังไงให้ระบบนิเวศของเด็ก หรือ ครอบครัวเดิมสามารถดูแลเด็กได้ ให้สถานสงเคราะห์เป็นทางเลือกสุดท้าย ส่วนคนที่เข้ามาแล้วก็พยายามดูแลเต็มที่ ทั้งเรื่องของปัจจัยสี่และการเสริมทักษะเพื่อช่วยเด็กๆ ที่มีต้นทุนชีวิตจำกัดได้พิชิตฝันได้เช่นกัน แต่ในเรื่องของความอบอุ่นอาจจะยังทำได้ไม่เต็มที่ ด้วยมีจำนวนเด็กกว่า 5,000 ชีวิตในการดูแลของ กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พ.ม.) 

ทางด้านตัวแทนภาคประชาสังคม เชษฐา มั่นคง ผอ.มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก กล่าวถึง ความสำคัญของ ‘ฐานการคุ้มครองทางสังคม’ (Social Protection Floor) ระบุ ถ้ารัฐยังไม่มีนโยบายสนับสนุนการเกิดในอนาคต โครงสร้างประชากรจะเริ่มเอียง เพราะคนมีลูกน้อยลง ฉะนั้นประชากรในอนาคตมีแนวโน้มจะเป็นเด็กที่เกิดจากกลุ่มแม่วัยใส และกลุ่มเด็กใน 3 จว.ชายแดนใต้ 

จากนั้น เชษฐา กล่าวถึง สวัสดิการเด็กเล็กที่ยังไม่ถ้วนหน้า ระบุกลุ่มเด็ก 0-6 ปียังคงตกหล่น ชี้สวัสดิการต้องเริ่มจากครรภ์มารดา  เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดู เด็กทุกคนที่เกิดบนผืนแผ่นดินไทย ต้องได้ 3,000 ต่อเดือน ไม่ใช่เฉพาะเด็กที่มีสัญชาติไทย 

“เข้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 ขวบ 6 เดือน แต่มีช่องว่างก็คือช่วงก่อนหน้านั้นที่เด็กจะต้องอยู่กับย่า ยาย หรือศูนย์ในชุมชนที่อาจจะไม่ได้รับมาตรฐาน แต่คือพ่อแม่ก็ยอมจ่ายเงิน ตอบโจทย์เวลาของพ่อแม่ เพราะศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในโรงงานไม่ปลอดภัย ส่วนพ่อแม่ก็ลามาเลี้ยงลูกเองไม่ได้” เชษฐากล่าว

ส่วนข้อเสนอแนะ เชษฐา เห็นสอดคล้องกับ อรนุชา เรื่องการให้สถานสงเคราะห์ให้เป็นทางเลือกสุดท้ายของเด็ก ควรเน้นสร้างกลไกชุมชนเข้มแข็ง สนับสนุนกลไกเฝ้าระวังความรุนแรงในชุมชนเพื่อไม่ให้เด็กหลุดออกจากระบบ 

การ สังคมสงเคราะห์ กลุ่มชน

เชษฐา มั่นคง

ทางด้าน เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้กำกับภาพยนตร์ ให้มุมมองเกี่ยวกับทัศนคติที่คนทำงานมีต่อเด็กระบุ คนที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนมักจะมองเด็กเป็นปัญหามากกว่ามองปัญหาที่พวกเขาเผชิญอยู่ ซึ่งอาจทำให้การช่วยเหลือกลายเป็นทำร้ายเด็กอย่างไม่ตั้งใจ

“เราถึงเพิ่งจะมาพูดเรื่องสุขภาพจิต เรื่องสิทธิเด็ก ให้เด็กออกมาปกป้องสิทธิของตัวเอง เราไม่เคยถามเด็ก ไม่มีกระบวนการสำรวจความต้องการของเด็กในฐานะผู้ใช้บริการหรือในฐานะลูกค้า เป็นเหตุให้เราเรียกเขาว่ากลุ่มเปราะบาง เราไม่เคยถามว่าเขาอยากให้เราเรียกว่าอะไร” เปรมปพัทธกล่าว

นอกจากนี้ เปรมปพัทธ ยังพูดถึง ความล้าหลัง-ขาดการตรวจสอบกันเองของเครือข่ายคนทำงานดูแลเด็ก ส่งผลเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างนโยบาย

“องค์กรด้านเด็กในประเทศไทยเกิดขึ้นในช่วงใกล้ๆ กัน คือในช่วงปี พ.ศ. 2525 แปลว่า เด็กที่เขาเลี้ยงดูในวันนั้น ตอนนี้อายุ 40 ปี องค์กรเหล่านี้จำนวนมากก็ทำงานในภาคีเครือข่าย มองในแง่ดี ก็ดีในแง่ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แต่ในแง่ข้อเสียก็อย่างที่เราเห็นในข่าวล่าสุด ไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์กัน ไม่กล้าตรวจสอบกัน แล้วพอกีดกันคนนอกออกไป เอาแต่ภาคีเครือข่ายของตัวเอง ก็เหมือนมือถือที่ไม่ได้อัปเดตเวอร์ชัน พอไม่ได้อัปเดตเวอร์ชันทำงานไปนานๆ เครื่องแฮงค์ ยังใช้เวอร์ชันเดิมที่เราใช้เลี้ยงดูเด็กเมื่อ 40 ปีที่แล้วมาเลี้ยงดูเด็กในวันนี้”  เปรมปพัทธกล่าว   

สำหรับข้อเสนอแนะ เปรมปพัทธ เห็นด้วยกับการมีระบบร้องเรียน และกระบวนการคืนความยุติธรรมย้อนหลังให้กับเด็กที่ถูกละเมิด รวมถึงกลไกการตรวจสอบที่คนภายนอกเครือข่ายสามารถมีส่วนร่วมได้ และหากเป็นไปได้ ตนอยากเห็นหน่วยการดูแลเด็กที่มองปัญหาแบบองค์รวม 

การ สังคมสงเคราะห์ กลุ่มชน

เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์ - พญ.นลินี เชื้อวณิชชากร

คนไข้เลือกหมอได้ แต่เด็กเลือกคนดูแลไม่ได้ 

สำหรับมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมเด็ก พญ.นลินี เชื้อวณิชชากร กล่าวว่า การปกป้องคุ้มครองเด็กที่ดีคือการสร้างผู้ใหญ่ให้รู้วิธีรับมือเด็ก การเลี้ยงเด็กคือทักษะ ฉะนั้นเราจะทำอย่างไรให้ผู้ใหญ่ที่อยู่กับเด็กมีทักษะรับมือกับเด็กได้อย่างสงบนิ่ง และผู้ใหญ่บางคนที่อารณมณ์ไม่คงที่นั่นแปลว่าเขาต้องการการเยียวยาความเป็นเด็กในตัวเองเช่นกัน

“เราไม่ต้องมองเด็กในแง่ร้าย และก็ไม่ต้องมองในแง่บวก 100% แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเด็กไม่ดี เด็กเขาเพิ่งเกิดมาบางทีเขาก็ต้องทำอะไรตามใจตัวเอง มีคำหนึ่งที่ได้อ่านและก็รู้สึกสนุกในหนังสือที่ตัวเองแปล เขาบอกว่า เราอย่าไปคิดว่าเด็กคือผู้ใหญ่ตัวน้อย พอเราคิดว่าเด็กคือผู้ใหญ่ตัวน้อยเราก็จะใช้เหตุผล เขาบอกว่าเด็กไม่ได้ใช้เหตุผล เด็กใช้อารมณ์” พญ.นลินีกล่าว

ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมเด็ก กล่าวถึง วิธีการดูแลเด็กที่อยากให้ผู้ดูแลเด็กได้ทบทวนตนเอง ระบุ การเลี้ยงแบบเข้มงวดเกินไปเพราะกลัวลูกเดินผิดทาง หรือปล่อยตามใจเกินไปเพราะกลัวลูกเครียดล้วนแต่ไม่ส่งผลดีต่อเด็ก บางทีผู้ดูแลเด็กในสถานสงเคราะห์ก็ไม่รู้จริงๆ ว่าต้องสอนเด็กอย่างไรนอกจากการตี เพราะพวกเขาก็ถูกเลี้ยงมาด้วยวิธีแบบนั้น

“หลายคนเวลาเลี้ยงลูก ไม่รีพีทก็รีแพร์ รีพีทคือใช้เทคนิคที่ตัวเองถูกเลี้ยงมา ถึงแม้จะตั้งมั่นว่าฉันมีลูกจะไม่ทำแบบที่แม่เลี้ยงฉันมา แต่พอลูกกวนอารมณ์ ใครมีลูกก็จะรู้ ลูกเราไม่ได้ดีตลอดเวลา มีบางช่วงที่เขาอาจจะงอแง บางช่วงที่เขาจะท้าทาย บางช่วงที่เขาจะทำอะไรที่ทำให้เรารู้สึกว่าฉันจะไม่ไหวแล้ว หลายคนก็จะงัดสิ่งที่ตัวเองเคยถูกปฏิบัติมา ปรี๊ดใส่ลูก ตีลูก เพราะฉะนั้นเวลาที่คุณหมอเจอแบบนี้ คุณหมอก็จะบอกพ่อแม่ว่า เฮ้ยเรากำลัง รีพีทหรือเปล่า” พญ.นลินีกล่าว

สำหรับ ข้อเสนอการสร้างระบบสวัสดิการ  พญ.นลินีกล่าวถึงประโยคยอดฮิตอย่างคำว่า “มีลูกเมื่อพร้อม” โดยมองว่าต่อให้ปัจเจกพร้อมอย่างไรเด็กแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ทางแก้อาจจะต้องเป็นหาระบบซัพพอร์ตทักษะให้พ่อแม่ ตนอยากนำเสนอในที่นี้ว่า การเลี้ยงเด็กเป็นทักษะ และถ้าพ่อแม่ต้องไปรับการปรึกษาบ้างก็ไม่ใช่เรื่องผิด หรือถ้าเป็นในรูปแบบของการอบรม ราชการควรต้องเปลี่ยนวิธีคิด จัดอบรมที่โรงแรมใหญ่ๆ คนมากันเยอะ แต่คนเยอะไม่เท่ากับดีเสมอไป ถ้าทำวงเล็กแต่ทำแบบดาวกระจายอาจดีกว่าก็ได้ รวมทั้งระเบียบการเบิกของราชการที่ทำให้พี่เลี้ยงที่ดูแลเด็กโดยตรงไม่สามารถเข้าอบรมตามโรงแรมได้ 

กลุ่มในงานสังคมสงเคราะห์ มีอะไรบ้าง

กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์.
การตรวจวินิจฉัยทางสังคมสงเคราะห์ (Social Assessment and Diagnosis) ... .
บริการด้านสังคมสงเคราะห์ ... .
โปรแกรมพัฒนาทักษะพื้นฐานการทำงานแก่ผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา ... .
คลินิกครอบครัวบำบัดสำหรับผู้บกพร่องด้านพัฒนาการและสติปัญญาผู้ป่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น และครอบครัว (Family Therapy).

ประเภทของการสังคมสงเคราะห์มีกี่ประเภท

จัดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. นักสังคมสงเคราะห์อาชีพ 2. นักสังคมสงเคราะห์อาสาสมัคร (ซึ่งจะอาสาเข้ามาทำงานในช่วงภาวะวิกฤติ) หน้าที่ของนักสังคมสงเคราะห์ที่ทำหน้าที่สังคมสงเคราะห์วิชาชีพ เป็นการช่วยเหลือและเป็นการใช้สามัญสำนึกในการช่วยเหลือโดยมีหน้าที่หลัก ดังนี้

สังคมสงเคราะห์ชุมชนคืออะไร

สังคมสงเคราะห์ชุมชนเป็นงานที่ต้องทำความเข้าใจพลวัตของอำนาจและความสัมพันธ์ทางสังคมที่ครอบคลุมสัมพันธภาพ ระหว่างโครงสร้างที่หลากหลายและชุมชนที่มีความแตกต่าง เป็นงานสร้างความยุติธรรมในสังคมผ่านการเปลี่ยนแปลง โครงสร้าง เช่น หากเป็นประเด็นความยากจน นักสังคมสงเคราะห์ชุมชนจะปฏิบัติงานด้วยมุมมองของชุมชน โดยอาจเน้นที่ เศรษฐกิจ ...

จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการสังคมสงเคราะห์กลุ่มชนคือข้อใด

๑. เพื่อการสงเคราะห์ผู้ประสบปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อน ที่ช่วยตนเองไม่ได้ ให้สามารถช่วยตนเองได้ การให้การสงเคราะห์นี้ รวมความถึงการบรรเทา และแก้ไขปัญหา การป้องกัน และขจัดปัญหา การฟื้นฟู และปรับสภาพของบุคคล ครอบครัว กลุ่ม และชุมชน