ประกันสังคม หักจากฐาน เงินเดือน หรือ ราย ได้ รวม

ค่าจ้างในความหมายของประกันสังคม

12 Nov, 2020 / By pnaaccount

ค่าจ้างตามประกันสังคม

ค่าจ้างตามความหมายของประกันสังคม คือ เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลา หรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้ในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใด หรือโดยวิธีใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร

องค์ประกอบของค่าจ้าง

  1. เป็นตัวเงิน
  2. นายจ้างเป็นผู้จ่ายให้แก่ลูกจ้าง
  3. เพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างในวันและเวลาทำงานปกติ นอกจากนี้ยังหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างในวันหยุด และวันลา ที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย

ดังนั้น เงินใดก็ตามที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้าง หากเป็นตามองค์ประกอบดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่านายจ้างจะเรียกชื่ออย่างไร กำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใด หรือโดยวิธีใดก็ตามย่อมเป็นค่าจ้างทั้งสิ้น

ข้อสังเกตเงินที่ไม่ใช่ค่าจ้าง

  1. เงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้าง เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร ไม่ถือเป็นการตอบแทนการทำงาน
  2. เงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อจูงใจให้ลูกจ้างทำงานให้มากขึ้น ทำงานให้ดี หรือจ่ายให้ตอนออกจากงาน เช่น เบี้ยขยัน เงินโบนัส เงินบำเหน็จ เงินสะสม เงินชดเชย แม้จะมีเป็นการจ่ายประจำก็ไม่ถือว่าเป็นการตอบแทนการทำงาน

ค่าตอบแทนที่เป็นค่าจ้าง 
  • เงินเดือน
  • ค่าครองชีพ
  • ค่าเข้ากะ
  • ค่าจ้างรายวัน
  • เงินประจำตำแหน่ง
  • ค่าแรง
  
ค่าตอบแทนที่ไม่เป็นค่าจ้าง
  • ค่าล่วงเวลา
  • โบนัส, ค่ารักษาพยาบาล
  • เบี้ยขยัน, ค่าคอมมิชชั่น*
  • เบี้ยประชุม, บิลมาเบิกค่าน้ำมัน
  • ค่าจ้างทำของ
  • เงินรางวัล, ค่าอาหาร, ค่าเช่าบ้าน

เพิ่มเติม

*ค่าคอมมิชชั่น จะนำมารวมคำนวณประกันสังคมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับลักษณะการจ่าย

- ค่าคอมมิชชั่นที่ต้องนำมารวมคำนวณประกันสังคม ต้องเป็นค่าคอมมิชชั่นที่เกิดจากการขายสินค้าต่อชิ้น คำนวณตามจำนวนชิ้นที่ขายได้ ขายได้น้อยก็ได้ค่าคอมมิชชั่นน้อย ขายได้มากก็ได้ค่าคอมมิชชั่นมาก

- ค่าคอมมิชชั่นที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณประกันสังคม ต้องเป็นค่าคอมมิชชั่นที่กำหนดจากเป้าหรือยอด เช่น ถ้าขายได้ครบ 100 ชิ้นจะได้รับค่าคอมมิชชั่น 1,000 บาท หรือ ถ้าขายได้ถึงเป้าที่กำหนด เช่น กำหนดเป้าการขายไว้ 100,000 บาท จะได้ค่าคอมมิชชั่นจากส่วนที่เกิน 100,000 บาท เป็นต้น


Service Announcement

ธนาคารวางแผนเพื่อยกระดับ และเพิ่มประสิทธิภาพระบบเพื่อให้บริการที่ดียิ่งขึ้น จึงของดให้บริการผ่านช่องทางต่างๆ เป็นการชั่วคราว ในช่วงเวลาดังต่อไปนี้
วันเสาร์ที่ 22 ต.ค. 65 เวลา 21.00 น. ถึง วันอาทิตย์ที่ 23 ต.ค. 65 เวลา 12.00 น.
และ วันเสาร์ที่ 5 พ.ย. 65 เวลา 23.00 น. ถึง 6 พ.ย. 65 เวลา 13.30 น.
ขอความกรุณาลูกค้าทุกท่าน วางแผนการทำธุรกรรมล่วงหน้า

ขออภัยในความไม่สะดวกครั้งนี้
สามารถดูรายละเอียดได้ทาง www.krungsri.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ Krungsri Call Center โทร.1572

Krungsri service channels will be temporarily unavailable due to our scheduled system upgrade for enhanced customer service.
From Saturday, 22nd October 2022 at 21:00 hrs. to Sunday, 23rd October at 12:00 hrs.
And from Saturday, 5th November 2022 at 23:00 hrs. to Sunday, 6th November 2022 at 13:30 hrs.
Please plan your financial transactions ahead of time to avoid any interruptions.

We sincerely apologize for any inconvenience caused.
For more information, visit www.krungsri.com
or contact Krungsri Call Center 1572


เผยแพร่ 22 ก.ย. 2564 ,13:58น.




การคำนวนเงินสมทบที่ต้องนำส่งเข้าประกันสังคม ทำให้เรารู้ได้ว่าเดือนนี้ต้องถูกบริษัทหักเงินเท่าไหร่ และไม่ผิดพลาดหรือถูกหักเกินไป

จากกรณีที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบลดยอดเงิน จ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 33 และ มาตรา 39 ต่ออีก 3 เดือน เพื่อเป็นมาตรการเยียวยาโควิด ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด - 19 โดยปรับลดเงินสมทบผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39 ทั่วประเทศ เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ ก.ย.  - พ.ย. 2564  ซึ่งในการคำนวณหักเงินสมทบทั้ง 2 มาตรา มีอัตราการหักเปอร์เซ็นต์ไม่เท่ากัน 

ช่วย ม.33 ม.39 นายจ้าง ทั่วประเทศ "ครม." ไฟเขียว ลดเงินสมทบผู้ประกันตน 3 เดือน

เคาะแล้ว! ลดเงินสมทบผู้ประกันตน ม. 33 - นายจ้าง - ม.39 อีก 3 เดือน

ประกันสังคม หักจากฐาน เงินเดือน หรือ ราย ได้ รวม

การคำนวณ การนำส่งเงินสมทบผู้ประกันตนในมาตรา 33 นั้น ในส่วนนายจ้าง ลูกจ้าง ตามกฎหมายประกันสังคมนั้นให้คำนวณเงินเดือน + รายได้อื่นๆ ที่นายจ้างไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขไว้ในระเบียบของผู้ว่าจ้างหรือสถานประกอบการ เช่น เงินค่าครองชีพ  นายจ้างจ่ายให้เดือนละ 1,000 บาทต่อเดือน  โดยจ่ายให้ทุกคนไม่ว่าจะลาป่วยในเดือนนั้นๆ หรือไม่  เงินค่าครองชีพจะต้องนำมารวมกับเงินเดือนเพื่อหักนำส่งเงินสมทบ 5%

ส่วนเงินสวัสดิการอื่นๆ ที่นายจ้างหรือสถานประกอบการมีการตั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขไว้กับลูกจ้าง เช่น ค่าคอมมิชชั่น มีการตั้งยอดขายให้กับพนักงานถ้าทำยอดขายได้ 20,000 บาทต่อเดือน จะได้รับค่าคอมมิชชั่น 5% เงินส่วนนี้จะไม่นำมารวมคำนวณเงินสมทบ 5% เพราะไม่ถือเป็นค่าจ้าง (ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่กำหนดไว้) ยกตัวอย่าง

เงินเดือน   8,000 บาท (เงินเดือน) x 5% (เงินหักเข้าประกันสังคม) = 400 บาท  ที่ต้องหักเข้าประกันสังคม 
เงินเดือน 15,000 บาท (เงินเดือน) x 5% (เงินหักเข้าประกันสังคม) = 750 บาท ที่ต้องหักเข้าประกันสังคม 

และเมื่อปรับลดตามประกาศ ครม. 
เงินเดือน   8,000 บาท (เงินเดือน) x 2.5% (เงินหักเข้าประกันสังคม)  ทำให้เงินคงเหลือที่ถูกหักเข้าประกันสังคม  200 บาท
เงินเดือน 15,000 บาท (เงินเดือน) x 2.5% (เงินหักเข้าประกันสังคม)  ทำให้เงินคงเหลือที่ถูกหักเข้าประกันสังคม  375 บาท 

ส่วนผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ผู้ที่เคยทำงานในบริษัท หรืออยู่ในมาตรา 33 มาก่อน แต่ว่างงาน หรือลาออกไม่เกิน 6 เดือน และเคยส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือนขึ้นไป แต่ยังอยากได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมอยู่ รัฐบาลกำหนดให้ส่งเงินสมทบ 9% โดยใช้ฐานเงินเดือนในการคำนวญเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาท เท่ากันทุกคน จึงทำให้ช่วงปกติจะต้องส่งเงินสมทบ 

เงินเดือน 4,800 บาท (ฐานเงินที่ใช้คำนวณ) x 9% (เงินหักเข้าประกันสังคม)  =  432 บาท

และตามประกาศ ครม. ให้หลักลดเหลือ 4.9%
เงินเดือน 4,800 บาท (ฐานเงินที่ใช้คำนวณ) x 4.9% (เงินหักเข้าประกันสังคม)  ทำให้เงินคงเหลือที่ถูกหักเข้าประกันสังคม  235 บาท

เตือนภัย! มิจฉาชีพแอบอ้าง “ไปรษณีย์ไทย” ส่งข้อความชวนโหลดแอปฯ หลอกขโมยข้อมูล

เงินเยียวยารอบ 2 ม.40 เข้าพร้อมเพย์ 22 -23 ก.ย.เช็กสิทธิ www.sso.go.th 3.95 ล้านคน รับ 5,000 บาท

อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline

รายได้อะไรบ้างที่ต้องหักประกันสังคม

พนักงานจะถูกหักจากเงินเดือน 5% + เจ้าของธุรกิจจ่ายสมทบ 5% + รัฐบาลร่วมจ่ายสมทบ 2.75% (แต่ในบางเดือนทางประกันสังคมจะมีการออกมาตรการลดค่าครองชีพให้กับนายจ้าง เพื่อช่วยให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบประกันสังคมน้อยลง เช่น ช่วงเดือน พ.ค. – ก.ค. 2565 ปรับลดเหลือ 1% เป็นต้น)

ประกันสังคมรวมโอทีไหม

เงินโอที เอาไปคิดประกันสังคมไหม? คำตอบคือ ไม่ เพราะแม้เงินโอที จะต้องเสียภาษี แต่จะไม่ถูกนำไปคิดรวมกับเงินเดือน แล้วหักเปอร์เซ็นต์เป็นประกันสังคม เนื่องจาก การหักเงินสมทบ เข้ากองทุนประกันสังคมของพนักงาน จะหักจากรายได้สุทธิของเงินเดือนที่พนักงานได้รับเท่านั้น ซึ่งจะไม่รวมถึง เงินล่วงเวลา หรือค่าโอที (OT) นั่นเอง

เงินเพิ่มประกันสังคม คิดยังไง

– ชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2% – ชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5% – ชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10% – ชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20%

ค่าตําแหน่ง หักประกันสังคมไหม

ดังนั้น หากพิจารณาตามแนวประกันสังคม ถือว่า เงินที่จ่ายให้ลูกจ้างไม่ว่าจะเป็น ค่าตำแหน่ง ค่าภาษา ค่าวิชาชีพ ค่าประสบการณ์ หากจ่ายเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน ชัดเจน จ่ายประจำทุกเดือน เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน ตามแนวประกันสัม ถือว่าเป็นค่าจ้างครับ