คํา ขวัญ เกี่ยว กับ การ ประหยัด พลังงาน

ปัญหา และความจำเป็นในด้านพลังงาน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมลพิษ ได้รับความสนใจมากขึ้นในเวทีการค้าโลก กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเงื่อนไขหนึ่งของประเทศคู่ค้าสำคัญๆ ภาคอุตสาหกรรมไทยจึงต้องปรับตัวสู่การเป็นผู้ผลิตสินค้าเชิงนิเวศเศรษฐกิจ เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน จึงต้องพัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัว และผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เซลล์แสงอาทิตย์

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศทั่วโลกประสบปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นไม่หยุดยั้ง การนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในรูปของพลังงานแสงอาทิตย์ จึงเป็นทางเลือกหนึ่ง โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีแสงแดดจัด

ตลาดด้านพลังงานแสงอาทิตย์ของโลกมีอัตรา เติบโต 30-40% ต่อปี คาดว่าในปี พ.ศ. 2553 ความต้องการแผงโซลาร์เซลล์ของโลกจะเพิ่มเป็น 1,450 เมกะวัตต์/ปี จาก 1,256 เมกะวัตต์/ปี ในปี พ.ศ. 2547 ทั้งนี้เพราะทั่วโลกมีมาตรการด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น 

โครงการวิจัยและพัฒนากระจกเคลือบขั้วโปร่งแสงนำไฟฟ้า 

โครงการนี้เป็นโครงการวิจัยเทคโนโลยีการ ผลิตวัสดุและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องใน อุตสาหกรรมการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าแผ่นฐานรองกระจกเค ลือบขั้ว SNO2 เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำกว่าเซลล์แสงอาทิตย์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ สามารถพัฒนาต้นแบบกระจก ZnO ขนาด 30 x 40 ซม. ที่มีคุณภาพเทียบเท่ากระจกที่ใช้ในปัจจุบัน ปรับปรุงคุณภาพฟิล์มที่มีความต้านทานต่ำ และจดสิทธิบัตร โครงสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางประสิทธิภาพสูง

โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบสายการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดไฮบริด    

โครงการนี้เป็นการทำวิจัยเพื่อพัฒนา เทคโนโลยีต้นแบบสายการผลิตเซลล์แสงอาทิต ย์ชนิดไฮบริดที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในด้านต่างๆ สำหรับประเทศไทย การวิจัยต่อยอดเทคโนโลยีจากเซลล์ขนาดเล็กที่ทำได้ในปัจจุบัน ด้วยการสร้างเครื่องจักรบางส่วนเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดไฮบริดต้นทุนต่ำภายในประเทศได้ ผลผลิตที่ได้จากการดำเนินโครงการปี พ.ศ.2549 คือ โครงการสามารถติดตั้งต้นแบบสายการผลิตเซลล์ฯชนิดไฮบริด 3 MW

โครงการวิจัยและพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดไฮบริด        

โครงการดำเนินการวิจัย เพิ่มประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดไฮบริดบนกระจก TCO (Transparent Conductive Oxide) เพื่อลดต้นทุนของระบบเซลล์แสงอาทิตย์ โดยวิจัยและพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดไฮบริดที่เป็นเซลล์ซ้อนระหว่างอะมอร์ ฟัสซิลิคอน กับ ผลึกซิลิคอนแบบฟิล์มบางให้มีประสิทธิภาพเกินกว่าร้อยละ 10 (ขนาดพื้นที่เซลล์ 3 ตารางเซ็นติเมตร) ผลการดำเนินโครงการสามารถสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 3 ตร.ซม. ประสิทธิภาพร้อยละ 15.7 ซึ่งจะทำการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้นในเฟสต่อไป

โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสารอินทรีย์ 

โครงการนี้มีเป้าหมายอยู่ที่การพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสารอินทรีย์ ในรูปต้นแบบแผงเซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูง และมีความเหมาะสมในการใช้งานในแถบภูมิประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น โดยใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นในประเทศ อาทิ เทคโนโลยีการขึ้นรูปฟิล์มพรุน เทคโนโลยี Metallization และเทคโนโลยีการประกอบแผงเซลล์ เป็นต้น มีความเหมาะสมในการใช้เป็นส่วนประกอบของอาคาร (BIPV) เช่น Facade, ผนัง, หน้าต่าง, หลังคา โครงการนี้ได้ทำงานวิจัยร่วมกับเครือข่ายภายใน สวทช. และเครือข่ายมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ผลการดำเนิน สามารถพัฒนาประสิทธิภาพของเซลล์ชนิดสีย้อมไวแสงได้ร้อยละ 7.5 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายปี พ.ศ.2549 ที่กำหนดประสิทธิภาพของเซลล์ชนิดสีย้อมไวแสงไว้ร้อยละ 5

โครงการวิจัยและพัฒนาระบบปรับอากาศด้วยพลังงานแสงอาทิตย์           

โครงการนี้จะดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาประยุกต์ใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าและน้ำ ร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้งานร่วมกับระบบปรับอากาศ ศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ระบบฯ มีต้นทุนอุปกรณ์และวัสดุที่ต่ำลง เพื่อให้ระยะเวลาการคุ้มทุนของระบบเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งพัฒนาระบบให้สามารถใช้งานได้กับรูปแบบการนำความร้อนไปใช้งานที่หลากห ลาย โดยจะทำการติดตั้งระบบเพื่อวัดประสิทธิภาพ และประเมินพลังงานที่สามารถลดได้ ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาจะถูกนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาระบ บดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นต่อไป

ผลการดำเนินงานปี พ.ศ. 2549 ได้ต้นแบบระบบปรับอากาศด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งดำเนินการติดตั้งระบบและทดสอบการทำงานของระบบฯ ณ อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระบบที่โรงพยาบาลจุฬาฯ ปัจจุบัน ได้เริ่มเปิดใช้งานแล้ว นอกจากนี้ยังมีบทความแสดงผลงานในการประชุมนานาชาติ 2 ครั้ง และยื่นขอจดสิทธิบัตร 1 เรื่อง

โครงการศึกษามาตรฐานเซลล์แสงอาทิตย์ในเขตร้อนชื้น (NEDO)

โครงการมาตรฐานร้อนชื้นเป็นโครงการความร่วมมือในด้านการวิจัยระหว่าง สวทช. กับ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมขั้นสูงแห่งชาติ (AIST) และ Institute of Research and Innovation (IRI) และเครือข่ายร่วมวิจัยพัฒนาอื่นๆ ได้แก่ Fuji Electric Systems Co., Ltd, Kaneka Corporation, Kyocera Corporation, Mitsubishi Heavy Industries Co., Ltd.etc. เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้พลังงานของประเทศกำลังพัฒนาในเอเช ียตะวันออกเฉียงใต้ และการกระตุ้นความนิยมในการนำแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้า ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดมาตรฐานของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่กำหนดขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอากาศของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งหาวิธีการประเมินเซลล์แสงอาทิตย์ให้ได้มาตรฐาน

ผลการดำเนินงาน สามารถติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และเครื่องมือเพื่อตรวจวัด ประสิทธิภาพของแผงเซลล์ฯ เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างเก็บข้อมูลจากระบบที่ติดตั้ง และลงนาม MOU ว่าด้วยข้อตกลงระหว่าง IRI กับ สวทช. เพื่อดำเนินการทำวิจัยร่วมกันในเฟสที่สอง ซึ่งจะเป็นการประเมินเซลล์แสงอาทิตย์แต่ละชนิด และจัดทำร่างมาตรฐานเซลล์แสงอาทิตย์ในเขตร้อนชื้น 

ชีวมวลและพลังงานชีวภาพ 

โปรแกรม นี้จัดทำเพื่อส่งเสริมให้มีการศึกษาและการวิจัยเพื่อหาพลังงานทดแทน หรือ พลังงานทางเลือกที่สามารถผลิตใช้ได้เองโดยใช้วัตถุดิบที่มีในประเทศ ทำให้ประเทศเพิ่มการใช้ชีวมวลมากขึ้น ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงปิโตรเลียมและลดการสูญเสียเงินตราของประเทศ รวมทั้งเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตและรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น จากการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในการลดมลภาวะทางอากาศ

ภาพรวม ปี พ.ศ.2549 โปรแกรมชีวมวลและพลังงานชีวภาพ ได้สนับสนุนโครงการวิจัยจำนวน 10 โครงการ เป็นโครงการใหม่ 2 โครงการ โครงการต่อเนื่อง 2 โครงการ และ มีโครงการที่ดำเนินการจบสิ้น 6 โครงการ มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ 1 เรื่อง กิจกรรมหลักของโปรแกรม มีดังนี้

การผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียโรงงานอุตสาหกรรม ขยะ และของเสียจากฟาร์มปศุสัตว์ 

โครงการ นี้เป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีการย่อยสลายแบบ ไม่ใช้อากาศของน้ำทิ้งโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร ให้รับภาระบรรทุกสารอินทรีย์ได้ 10 กิโลกรัม ซีโอดี/ลบ.ม./วัน ที่ระยะเวลากัก เก็บของเหลว 2 วัน ได้ต้นแบบห้องปฏิบัติการ 1 ต้นแบบ คือ แบบจำลองทางจลน์พลศาสตร์ในกระบวนการหมักแบบไร้อากาศและผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบบำบัดและผลิตก๊าซชีวภาพให้มีประสิทธิภาพ สูงขึ้น 

นอก จากนี้ ไบโอเทคยังได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียและผลิตพลังงานก๊าซชีวภาพ โดยในการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียแบบตรึงฟิล์มจุลินทรีย์ไม่ใช้อากาศซึ่งเป็น ระบบปิด ใช้พลังงานในการบำบัดต่ำไม่มีปัญหาเรื่องกลิ่น มีประสิทฺธิภาพสูง ลดปริมาณสารเคมีที่ใช้ และลดพื้นที่ที่ใช้ในการบำบัดจากเดิมมากกว่าครึ่ง จากการเดินระบบปัจจุบันพบว่า สามารถผลิตก๊าซชีวภาพทดแทนการใช้น้ำมันเตาได้ 100% ของกระบวนการผลิต ช่วยให้โรงงานประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้ประมาณ 120,000 บาท/วัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 24 ล้านบาท/ปี (น้ำมันเตาราคา 14 บาท/ลิตร)

การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการขยายถังปฏิกรณ์เพื่อการผลิตก๊าซชีวภาพ 

โครงการ นี้อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการขยายขนาดถังปฏิกรณ์ในระบบ บำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ โดยใช้ทฤษฎีการคำนวณพลศาสตร์การไหล เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพมากขึ้นและผลิตก๊าซชีวภาพได้เพิ่มขึ้น และขยายผลไปสู่การใช้งานในระดับอุตสาหกรรม

การพัฒนาเทคโนโลยีระบบบำบัดน้ำเสียชนิดไร้อากาศแบบลูกผสม เพื่อใช้งานในระดับอุตสาหกรรม

นัก วิจัยได้พัฒนาต้นแบบอุสาหกรรม 1 ต้นแบบ คือ ถังปฏิกรณ์แบบลูกผสม ซึ่งทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถผลิตกาซชีวภาพได้ 0.5 ลบ.ม./กก และได้ก๊าซมีเธนร้อยละ 60ประสิทธิภาพ การบำบัดสารอินทรีย์และแขวนลอยเท่ากับร้อยละ 80 และร้อยละ 64 สรุปได้ว่าถังปฏิกรณ์แบบลูกผสมมีประสิทธิภาพสูง เหมาะสำหรับผลิตก๊าซชีวภาพและบำบัดน้ำเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ขณะนี้ได้ติดตั้งและทดสอบระบบสาธิตที่โรงงานทักษิณอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม 

ความร่วมมือระหว่างไบโอเทคกับสถาบันการศึกษาและภาคเอกชนในโปรแกรมชีวมวล

  • ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บริษัท สุราษฎร์กรีนอีเนอร์จี และโรงงานทักษิณอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ ให้กับโรงงานทักษิณอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ในเบื้องต้นได้ดำเนินการติดตั้งและทดสอบระบบสาธิตระดับโรงงานต้นแบบที่โรง งาน และคาดว่าจะก่อสร้างระบบระดับอุตสาหกรรมภายในปี พ.ศ.2550

  • ให้คำปรึกษา ปรับปรุงระบบ และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มหลายแห่ง ซึ่งในเบื้องต้นได้ประสานงานกับ บริษัท ท่าชนะอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด และบริษัท ยูนิวานิช จำกัด ในการปรับปรุงระบบเดิมที่มีอยู่ รวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพในโรงงานสกัดน้ำมัน ปาล์มต่อไป

การพัฒนาเทคโนโลยีการย่อยสลายแบบไร้อากาศจาก Solid Waste ประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยสลายยากในขยะชุมชนและของเสียจากฟาร์มปศุสัตว์

ร่วมวิจัยกับน้ำฝนฟาร์ม (โค) และบริษัท เบทาโกร ในการบำบัดของเสียเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ เบื้องต้นจะดำเนินการทดสอบระบบบำบัดของเสียในระดับโรงงานต้นแบบที่น้ำฝน ฟาร์ม แล้วจึงดำเนิน งานในระดับอุตสาหกรรมต่อไป ส่วนบริษัท เบทาโกร ต้องทำการศึกษาวิจัยการจัดการของเสียมายังระบบผลิตก๊าซชีวภาพเสียก่อน เนื่องจากลักษณะฟาร์มเป็นแบบเก่า เพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการจัดการลำเลียงของเสียจากโรงเรือนสู่ระบบ บำบัด และจึงก่อสร้างระบบบำบัดเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพต่อไป

การกำหนดมาตรฐานการใช้น้ำและพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง

ไบโอเทค ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลการใช้น้ำและพลังงานในโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง ในระยะที่ 2 จำนวน 4 โรงงาน ได้แก่ โรงงานชลเจริญ โรงงานชัยภูมิพืชผล โรงงานสีมาอินเตอร์โปรดักส์ และโรงงานแป้งมันตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ เพื่อใช้ในการกำหนดมาตรฐานการใช้น้ำและพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมแป้งมัน สำปะหลัง

ส่วนที่อยู่ระหว่างการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลผลสำรวจการใช้น้ำและพลังงาน ในโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังในระยะที่ 1 จำนวน 5 โรงงาน ได้แก่ โรงงานของกลุ่มบริษัท KSL บริษัทมาลีสามพราน บริษัท ท่าชนะอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม น้ำฝนฟาร์ม (โค) และฟาร์มเลี้ยงสุกรเครือบริษัทเบทาโกร 

ถ่ายทอดเทคโนโลยีและการผลิตก๊าซชีวภาพ

การจัดตั้งโรงงานต้นแบบระบบบำบัดน้ำเสียชนิดไร้อากาศแบบลูกผสมในระดับอุตสาหกรรม

ไบโอเทคได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบบำบัดน้ำเสียให้กับโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง 4 โรงงาน แลให้คำปรึกษาในด้านต่างๆ ได้แก่

  • การออกแบบ/ปรับปรุง/ศึกษาความเป็นไปได้ของระบบบำบัดน้ำเสีย

  • การดำเนินงานที่ปรึกษาเลือกบริษัทสำหรับติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย

  • การศึกษาความเป็นไปได้ในการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบไร้อากาศประสิทธิภาพสูง

พลังงานทางเลือก(Alternative Energy)

เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นพลังงานที่สำคัญที่สุด เพราะมีการนำมาใช้มากถึงร้อยละ 80 ของเชื้อเพลิงทั้งหมด ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 20 เป็นพลังงานทดแทนร้อยละ 14 และพลังงานนิวเคลียร์ร้อยละ 6

ปัจจุบันพลังงานฟอสซิลมีราคาสูงขึ้น ประเทศไทยจึงหันมาสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาพลังงานที่นำเข้าจากต่างประเทศ และลดปัญหามลภาวะทางอากาศ น้ำ รวมถึง green house effect

ผลงานเด่นของโปรแกรมพลังงานทางเลือก ได้แก่

  • หน่วยเยื่อแผ่นและขั้วไฟฟ้าสำหรับ PEMFC (ต้นแบบพร้อมใช้)

  • การเคลือบแพลตินัมบนเยื่อแผ่นแลกเปลี่ยนโปรตอนด้วยการพอกพูนโดยไม่ใช้ไฟฟ้า (ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการ)

  • ภาวะการเตรียมหน่วยเยื่อแผ่นและขั้วไฟฟ้า (ต้นแบบที่ต้องพัฒนาต่อ)

  • โครงการ พัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงแบบออกไซด์ของแข็งเพื่อเป็นเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้า (Planar SOFC) มีจุดเด่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเซลล์เชื้อเพลิงชนิดออกไซด์ของแข็งทำงานที่อุณหภูมิสูง (600-800°C) สามารถใช้เชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอนได้หลากหลาย เช่น เอทานอล ที่ผลิตได้ในประเทศจากผลิตผลทางการเกษตร นอกจากนี้ SOFC ชนิดแผ่น มีค่าความหนาแน่นพลังงานสูงกว่าแบบท่อ จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนา SOFC ซึ่งครอบคลุมงานวิจัยทุกด้านของเซลล์เชื้อเพลิง SOFC แบบแผ่น 

การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม 

การดำรงชีวิตปัจจุบัน ล้วนเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานทั้งสิ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ดังนั้นการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม จึงมีความสำคัญ ที่ต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนทางเทคโนโลยีจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรการวิจัยของประเทศ 

ในปีที่ผ่านมา โปรแกรมสามารถผลิตต้นแบบ ได้ 6 ต้นแบบ นักวิจัยผลิตบทความตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ 3 บทความ ได้รับสิทธิบัตร 1 บัตร งานวิจัยและพัฒนาชิ้นเด่น ได้แก่ การผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์จากขวดพลาสติก PET ใช้แล้ว และการนำพลาสติกใช้แล้วมาแปรรูปให้เป็นไม้เทียม (artificial wood) ในการก่อสร้าง 

การจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ

การจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ กลุ่มงานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี ในการประเมินคุณค่า การใช้ประโยชน์ และผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรชีวภาพ และเพื่อให้ได้สารเคมีจากทรัพยากรชีวภาพ ที่จะนำไปสู่สารตั้งต้นในการพัฒนายารักษาโรคที่สำคัญของประเทศ อาทิ มาลาเรีย วัณโรค รวมไปถึงเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรชีวภาพไทยทั้งพืช จุลินทรีย์ ซึ่งจะนำไปสู่การอนุรักษ์และจัดการระบบนิเวศอย่างยั่งยืน และให้ได้สารชีวภัณฑ์และเอนไซม์จากจุลินทรีย์สำหรับอุตสาหกรรมชีวภาพ 

ในปีที่ผ่านมา โปรแกรมมีการดำเนินการวิจัยในโครงการต่อเนื่อง 31 โครงการ และโครงการใหม่ 10 โครงการ มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ 134 เรื่อง ผลงานตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและเอกสารวิชาการอื่นๆ รวม 72 เรื่อง ได้รับสิทธิบัตร 4 เรื่อง และอนุสิทธิบัตร 11 เรื่อง

ด้านทรัพยากรชีวภาพ

  • ค้นพบ Diaryl Heptanoid ที่แสดงฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง) จากว่านชักมดลูก และจดสิทธิบัตรแล้วเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2549

  • นำ วิธี Sulforhodamine B colorimetric assay เพื่อใช้วัดปริมาณเซลล์ มาประยุกต์ใช้ในการทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดจากธรรมชาติและสารสังเคราะห์ต ่อเซลล์ โดยได้ปรับปรุงวิธีการดังกล่าวให้ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายน้อยลง ลดความเสี่ยงต่อผู้ปฏิบัติงานและลดของเสียที่เป็นอันตราย ใช้ตรวจหาสารตัวอย่างได้ในปริมาณมาก ราคาถูก เหมาะกับห้องปฏิบัติการทั่วไปที่มีเครื่องมือระดับพื้นฐาน ซึ่งผลงานดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature Protocols ฉบับวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2549 

  • ค้นพบ Hirsutellones จากราที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อวัณโรค และจดสิทธิบัตรที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2548

  • พัฒนา วิธีการสกัดที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และให้ได้สารสกัดที่ความเข้มข้นสูง และมีองค์ประกอบสม่ำเสมอ เพื่อให้เอกชนได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพดีไปใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ โดยร่วมมือกับกรมพัฒนาแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ในการจัดตั้งโรงงานต้นแบบ เพื่อสกัดสารจากสมุนไพร เพื่อการวิจัยและให้บริการแก่ภาคเอกชน ทั้งนี้การสกัดสารด้วยของไหลคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นเทคนิคที่กำลังได้รับความสนใจจากภาคเอกชนในการปรับปรุงผลผลิตด้านปริมาณ และคุณภาพของสารสกัด เนื่องจากเป็นตัวสกัดที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งของไหลคาร์บอนไดออกไซด์นำกลับมาใช้ใหม่ได้เกือบทั้งหมด วิธีดังกล่าวใช้ได้กับสารที่ระเหยได้ง่าย และเป็นเทคนิคที่เอื้อประโยชน์กับการสกัดน้ำมันและสารหอมระเหยจากพืช เนื่องจากสามารถปรับเปลี่ยนสภาวะที่ใช้ในการสกัดได้ ดังนั้นจึงสามารถแยกเอาสารที่ต้องการบางชนิดออกมาได้ นักวิจัยห้องปฏิบัติการทรัพยากรชีวภาพ หน่วยปฏิบัติการวิจัยกลางไบโอเทคร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่ บริษัทอุตสาหกรรมเครื่องหอมไทย-จีน จำกัด และ บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ในการศึกษาวิจัยการสกัดสารจากสมุนไพร เช่น มะกรูด และ ขมิ้นชัน ด้วยของไหลคาร์บอนไดออกไซด์ และสารสกัดที่ได้มีความสะอาดมากกว่า