ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ สงกรานต์

ประเพณีสงกรานต์

ประเพณีสงกรานต์

 วันสงกรานต์ เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณคู่กับ วันตรุษ จึงเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ สงกรานต์

ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ สงกรานต์

ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ สงกรานต์

ปีใหม่ไทย

ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ สงกรานต์

ความหมายของสงกรานต์

คำว่า “สงกรานต์” เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง “การเคลื่อนย้าย” เป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือ การเคลื่อนขึ้นปีใหม่ ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

อีกทั้ง สงกรานต์ ยังเป็น วัฒนธรรมร่วม ของทั้งประเทศไทย กัมพูชา ลาว เมียนมา ชนกลุ่มน้อยชาวไทในเวียดนาม มณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกา และทางตะวันออกของประเทศอินเดียค่ะ โดยมีการสันนิษฐานว่า เป็นประเพณีที่ได้รับอิทธิพลมาจาก เทศกาลโฮลี ของประเทศอินเดียนั่นเอง ซึ่งปกติแล้ว เทศกาลโฮลี จะจัดขึ้นทุกปีในช่วงเดือนมีนาคม โดยจะสาดผงสีใส่กันอย่างสนุกสนาน

สงกรานต์ภาคต่าง ๆ

ภาคกลาง

  • วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์
  • วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเนา
  • วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า วันเถลิงศก คือ วันเริ่มจุลศักราชใหม่

ภาคเหนือ ล้านนา

  • วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันสังขารล่อง หมายถึงอายุสิ้นไปอีกปี
  • วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า “วันเน่า” เป็นวันห้ามพูดจาหยาบคาย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ไม่เจริญ
  • วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า วันพญาวัน คือ วันเปลี่ยนศกใหม่

ภาคใต้

  • วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันเจ้าเมืองเก่า หรือ วันส่งเจ้าเมืองเก่า เพราะมีความเชื่อว่าเทวดารักษาบ้านเมืองกลับไปชุมนุมกันบนสวรรค์
  • วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันว่าง คือวันที่ปราศจากเทวดาที่รักษาเมือง โดยทุกคนจะไปทำบุญที่วัด
  • วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า วันรับเจ้าเมืองใหม่ คือวันรับเทวดาองค์ใหม่ที่ได้รับมอบหมายให้มาดูแลเมืองแทนองค์เดิม

ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ สงกรานต์

พิธีสงกรานต์

ประเพณีสงกรานต์ดั้งเดิม จะมีพิธีสงกรานต์ที่ปฏิบัติกันในครอบครัว โดยจะมีการใช้น้ำเป็นองค์ประกอบหลักในพิธี เนื่องจาก การคำนวณทางดาราศาสตร์ที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อน จึงใช้น้ำมารดให้แก่กันเพื่อความสดชื่นในหน้าร้อนนั่นเอง โดยหลักๆ แล้ว จะมีพิธีสงกรานต์ คือ

  1. การสรงน้ำพระ ทั้งที่บ้าน และที่วัด เพื่อความเป็นสิริมงคล รวมถึงการทำบุญตักบาตรไหว้พระ
  2. การรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน
  3. การรดน้ำผู้ใหญ่ เป็นการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์
  4. การดำหัว เป็นพิธีสงกรานต์ทางภาคเหนือ โดยจะคล้ายกับการรดน้ำผู้ใหญ่ในภาคกลาง เป็นการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่
  5. การขนทรายเข้าวัด มีความเชื่อว่า เพื่อคามเป็นมงคล ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองมากมายเหมือนเม็ดทรายที่ขนเข้าวัด และอีกความเชื่อก็คือ การนำทรายที่ติดเท้าออกวัด เป็นบาป จึงขนทรายเข้าวัดเพื่อไม่ให้เป็นบาปนั่นเอง

ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ สงกรานต์

ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ สงกรานต์

ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ สงกรานต์

ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ สงกรานต์

ตำนานนางสงกรานต์

ตำนานเกี่ยวกับนางสงกรานต์นั้น ได้มีปรากฏในศิลาจารึกที่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ วัดโพธิ์ ท่าเตียน โดยย่อว่า เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดในแต่ละปี ก็จะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้นๆ

ธรรมบาลกุมาร เป็นเทพบุตรที่พระอินทร์ประทานให้ลงไปเกิดในครรภ์ภรรยาเศรษฐี เมื่อโตขึ้นก็ได้เรียนรู้ภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เพียง 7 ขวบ จึงได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่างๆ แก่คนทั้งหลาย จนวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ โดยถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสียเอง โดยธรรมบาลกุมารได้ขอตอบคำถามใน 7 วัน

      เมื่อถึงเวลา ท้าวกบิลพรหม ก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม ทำให้ท้าวกบิลพรหมแพ้ในการตอบคำถามครั้งนี้ และก่อนจะตัดเศียร ท้าวกบิลพรหม ได้เรียก ธิดาทั้ง 7 องค์ ซึ่งเป็นนางฟ้า ให้เอาพานมารองรับ เนื่องจากเศียรของท้าวกบิลพรหมเป็นที่รวมแห่งความไม่ดีทั้งปวง ถ้าวางไว้บนแผ่นดินไฟจะไหม้โลก ถ้าโยนขึ้นไปบนอากาศฝนจะแล้ง ถ้าทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง

     ธิดาทั้ง 7 จึงมีหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันดูแลเศียรของท้าวกบิลพรหม และในทุกๆ ปี ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม แห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ จึงเป็นที่มาของ นางสงกรานต์ โดยแต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์นั่นเอง

 

ชื่อของ นางสงกรานต์ ทั้ง 7 วัน

เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดในแต่ละปี ก็จะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้นๆ โดยนางสงกรานต์มีชื่อดังนี้

  • ทุงษเทวี นางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์
  • โคราดเทวี นางสงกรานต์ประจำวันจันทร์
  • รากษสเทวี นางสงกรานต์ประจำวันอังคาร
  • มัณฑาเทวี นางสงกรานต์ประจำวันพุธ
  • กิริณีเทวี นางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี
  • กิมิทาเทวี นางสงกรานต์ประจำวันศุกร์
  • มโหทรเทวี นางสงกรานต์ประจำวันเสาร์

สงกรานต์เป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทย  ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน จนกลายเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่ฝังลึกในวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เล็งเห็นถึงความสำคัญ ในการจัดกิจกรรมเพื่อย้อนรอยวิถีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการละเล่นกีฬาพื้นบ้าน รวมไปถึงวัฒนธรรมในเรื่องของอาหารการกิน  การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนรายรอบ  การให้ความสำคัญในเรื่องของพิธีการรดน้ำขอพรผู้ใหญ่เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล และเกิดความร่มเย็น  และการสืบสานประเพณีอันดีงาม อันเป็นมรดกล้ำค่าของไทย อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์จึงร่วมกับศูนย์บริการวิชาการและชุมชนรายรอบมหาวิทยาลัยจัดกิจกรรม “วลัยลักษณ์ สงกรานต์สืบสานประเพณี” ขึ้นเป็นประจำทุก ๆ ปี เพื่อร่วมสืบสานประเพณีอันดีงามเนื่องในวันสงกรานต์ที่แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนรายรอบผ่านงานกิจกรรมสัมพันธ์ดังกล่าว  อีกทั้งเป็นการ      ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอันเป็นมรดกล้ำค่าของไทยให้คงอยู่คู่คนไทยตลอดไป