ขอลดดอกเบี้ยบ้าน ธอส 2565 เอกสาร

หมายเหตุ : นิยามคำว่า “อาคาร” หมายถึง บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ และอาคารพาณิชย์เพื่อที่อยู่อาศัย ยกเว้นบ้านเช่าและแฟลต 

Show

วงเงิน

  • วงเงินให้กู้สูงสุดไม่เกิน 3,000,000 บาท ต่อรายต่อหลักประกัน

ระยะเวลาผ่อน

  • ไม่น้อยกว่า 3 ปี และไม่เกิน 40 ปี และอายุผู้กู้รวมกับจำนวนปีที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี ยกเว้นข้าราชการตุลาการ อัยการ หรืออื่น ๆ ที่มีอายุเกษียณมากกว่า 60 ปี ให้ใช้อายุของผู้กู้เมื่อรวมกับระยะเวลาที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 75 ปี

อัตราดอกเบี้ย / ค่าธรรมเนียม

อัตราดอกเบี้ย

(1) วัตถุประสงค์เพื่อที่อยู่อาศัย/ชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA) 

ปีอัตราดอกเบี้ยปีที่ 1= MRR-3.15% ต่อปี ปีที่ 2= MRR-2.15% ต่อปี ปีที่ 3= MRR-1.40% ต่อปี ปีที่ 4 จนถึงตลอดอายุสัญญา- กรณีลูกค้าสวัสดิการ= MRR-1.00% ต่อปี - กรณีลูกค้ารายย่อย= MRR-0.75% ต่อปี

(2) วัตถุประสงค์เพื่อซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกฯ 

ปีอัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 จนถึงตลอดอายุสัญญา= MRR

อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) 
- กรณีลูกค้าสวัสดิการ     = 4.72%
- กรณีรายย่อย              = 4.85%
- กรณีซื้ออุปกรณ์ฯ         = 6.15% 

หมายเหตุ :

  1. MRR ตามประกาศธนาคาร
  2. อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา (Effective Interest Rate) EIR
    อัตราดอกเบี้ยที่แท้ที่ระบุเป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย โดยคำนวณจากสมมติฐานวงเงินกู้ 1 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 20 ปี ผ่อนชำระตามเงินงวดของผลิตภัณฑ์

ค่าธรรมเนียม

  • ค่าธรรมเนียมให้เรียกเก็บตามระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อของธนาคาร

คุณสมบัติ / เอกสารที่ใช้สมัคร

คุณสมบัติ

  • เป็นประชาชนทั่วไปที่มีรายได้ (Gross) ไม่เกิน 35,000 บาทต่อเดือน
  • เป็นประชาชนทั่วไปที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 เป็นต้นไป (สัญญาที่ 2 เป็นต้นไป)

เอกสาร

เอกสารส่วนบุคคล

  • บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ
  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • ทะเบียนสมรส / ใบหย่า / ใบมรณะบัตร (ถ้ามี)
  • ใบเปลี่ยนชื่อ - สกุล (ถ้ามี)

เอกสารทางการเงิน

  • หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการ / หนังสือรับรองเงินเดือน
  • สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
  • สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน

เอกสารหลักประกัน

  • สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย / สัญญาวางมัดจำ / สัญญาเช่าซื้อการเคหะและหนังสือรับรองยอดคงเหลือ (กรณีซื้อ)
  • หลักฐานการเป็นเจ้าของบ้าน เช่น สำเนาใบคำขอ เลขหมายบ้าน 
  • สำเนาสัญญาซื้อขายฉบับสำนักงานที่ดิน (ทด.13 หรือ อ.ช.23)
  • สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับกรมที่ดิน
  • สำเนาโฉนดที่ดิน / น.ส.3ก. / หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) ทุกหน้า  
  • ใบอนุญาตปลูกสร้าง / ต่อเติม
  • แบบแปลน
  • ใบประมาณการปลูกสร้าง / สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง
  • อื่นๆ (ถ้ามี)

หมายเหตุ ** ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการขอเอกสารต่าง ๆ ของผู้กู้เพิ่มเติม เพื่อใช้ประกอบพิจารณาการให้สินเชื่อของธนาคาร ** 

เป็นการย้ายสินเชื่อบ้านจากสถาบันการเงินเดิม ไปยังสถาบันการเงินแห่งใหม่ เพื่อให้ได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้านที่ถูกลง โดยยอดสินเชื่อใหม่จะช่วยให้สามารถผ่อนบ้านหมดได้ไวขึ้นและใช้เงินในการผ่อนชำระลดลงด้วย

ในขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน จะต้องเตรียมความพร้อมให้ดีเหมือนกับตอนขอสินเชื่อบ้านครั้งแรก ทั้งเรื่องเอกสารและเรื่องเครดิตทางการเงิน เพื่อให้การขอรีไฟแนนซ์ได้รับการอนุมัติที่รวดเร็ว

สำหรับเจ้าของบ้านที่อยู่ในระหว่างการผ่อนบ้านอยู่ และกำลังตัดสินใจยื่นรีไฟแนนซ์บ้าน เพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยบ้านที่ถูกลง พร้อมขยายระยะเวลาในการผ่อนบ้านให้สบายยิ่งขึ้น มาดูกันว่าในการยื่นขอรีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. มีขั้นตอนและการเตรียมความพร้อมอย่างไร ทำไมคุณถึงควรรีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส.

หัวข้อหลัก

  • สินเชื่อเพื่อรีไฟแนนซ์บ้านโดยเฉพาะจาก ธอส. 
  • ขั้นตอนยื่นรีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. ให้การขอสินเชื่อราบรื่น
    • 1. ขั้นตอนก่อนเตรียมยื่นขอรีไฟแนนซ์
    • 2. ขั้นตอนการยื่นเอกสารดำเนินการ
    • 3. ขั้นตอนหลังจากการอนุมัติสินเชื่อรีไฟแนนซ์
  • รีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. 

สินเชื่อเพื่อรีไฟแนนซ์บ้านโดยเฉพาะจาก ธอส. 

การยื่นรีไฟแนนซ์กับ ธอส. มีโครงการสินเชื่อบ้านสุขสันต์ ที่ช่วยให้การผ่อนบ้านที่มีค่าใช้จ่ายหนัก ให้กลายเป็นเรื่องเบาสบายกระเป๋าได้ ด้วยการยืดระยะเวลาผ่อนชำระได้สูงสุดถึง 40 ปี พร้อมอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงกว่าเดิมตั้งแต่ปีแรก ไปจนถึงสิ้นสุดสัญญาอยู่ที่ 4.71% (สำหรับกลุ่มลูกค้ารายย่อย) และ 4.35% (สำหรับกลุ่มลูกค้าสวัสดิการ)

ขอลดดอกเบี้ยบ้าน ธอส 2565 เอกสาร

โดยวัตถุประสงค์ของโครงการสินเชื่อ ได้แก่

  • ไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมอาคาร ไม่ว่าจะเป็น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ เพื่อที่อยู่อาศัย และคอนโด จากสถาบันการเงินอื่น
  • ไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมอาคาร จากสถาบันการเงินอื่น พร้อมปลูกสร้าง ขยาย ต่อเติม ซ่อมแซมอาคาร
  • ไถ่ถอนจำนองที่ดินเปล่า จากสถาบันการเงินอื่น พร้อมปลูกสร้างอาคาร
  • ชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA) พร้อมกับการขอกู้ในวัตถุประสงค์หลักของผลิตภัณฑ์สินเชื่อนี้

ขั้นตอนยื่นรีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. ให้การขอสินเชื่อราบรื่น

ขอลดดอกเบี้ยบ้าน ธอส 2565 เอกสาร

สำหรับผู้ขอสินเชื่อที่ต้องการให้การขอรีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. ผ่านได้ง่าย จะต้องให้ความสำคัญกับเตรียมความพร้อม ที่คล้ายกับการขอสินเชื่อในครั้งแรกทั้งในเรื่องเอกสาร เครดิตทางการเงิน ค่าใช้จ่าย และส่วนอื่นๆ ตามที่ทางธนาคารกำหนดให้ครบถ้วน เพื่อให้การอนุมัติสินเชื่อสำหรับรีไฟแนนซ์ที่สะดวกและรวดเร็ว

โดยขั้นตอนในการขอรีไฟแนนซ์กับ ธอส. แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้

1. ขั้นตอนก่อนเตรียมยื่นขอรีไฟแนนซ์

1.1 ตรวจสอบเงื่อนไขการยื่นรีไฟแนนซ์จากสถาบันการเงินเดิม

ก่อนที่จะตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้าน สิ่งแรกที่ต้องตรวจสอบให้ดีก่อนคือ สัญญาเงินกู้ซื้อบ้านกับสถาบันการเงินเดิม ว่ามีเงื่อนไขในการรีไฟแนนซ์เป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งบางแห่งอาจกำหนดระยะเวลาสั้นๆ ตั้งแต่ 1-3 ปี หรือบางแห่งอาจยาวไปถึง 5-6 ปี จึงจะสามารถขอรีไฟแนนซ์บ้านกับสถาบันการเงินแห่งใหม่ได้ 

แล้วสามารถยื่นรีไฟแนนซ์บ้านก่อนครบกำหนดได้หรือไม่?

คำตอบคือ สามารถทำได้ แต่ทางสถาบันการเงินเดิม จะมีการเรียกค่าธรรมเนียมจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด อยู่ที่ประมาณ 2-3% ของยอดหนี้คงเหลือ เช่น ยอดหนี้คงเหลือ 2 ล้านบาท คิด 3% ก็จะถูกเรียกเก็บที่ประมาณ 9 หมื่นบาท เป็นต้น 

ซึ่งยอดค่าธรรมเนียมไถ่ถอนสินเชื่อ ก็ถือว่าค่อนข้างสูงและอาจไม่คุ้มค่าในการขอรีไฟแนนซ์ได้ ดังนั้น ผู้กู้จึงต้องพิจารณาเรื่องความคุ้มค่าให้ดีก่อนตัดสินใจดำเนินการ

1.2 ตรวจสอบเครดิตทางการเงิน

ในการยื่นรีไฟแนนซ์ ทางธนาคารจะมีการตรวจสอบเครดิตทางการเงินของผู้กู้ใหม่ทั้งหมด เหมือนตอนที่ยื่นขอสินเชื่อบ้านครั้งแรก ถ้าหากมีการเตรียมเครดิตทางการเงินที่ดี มีสภาพคล่องทางการเงินดี และไม่มียอดหนี้ในระบบเกินกว่ารายได้ตามที่ธนาคารกำหนด การยื่นขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารก็จะได้รับการอนุมัติได้ง่ายขึ้น

ในทางกลับกัน ถ้าในช่วงที่มีการขอรีไฟแนนซ์ ผู้กู้มีสภาพคล่องทางการเงินที่ไม่ดีเหมือนตอนยื่นกู้บ้านครั้งแรก มีรายได้เข้ามาไม่สม่ำเสมอ มียอดค้างชำระหนี้ในระบบเยอะ ชำระยอดหนี้ไม่ต่อเนื่อง ไปจนถึงติดแบล็คลิสต์ การพิจารณารีไฟแนนซ์บ้านก็อาจจะไม่ได้รับการอนุมัติ

ดังนั้น หากตรวจสอบแล้วว่าเครดิตทางการเงินในช่วงที่กำลังจะยื่นขอรีไฟแนนซ์ยังไม่ดี ให้คุณทำการจัดการยอดหนี้คงค้างให้แล้วเสร็จก่อน หรือพยายามลดยอดหนี้ให้ได้มากที่สุด ก่อนที่จะดำเนินการยื่นขอรีไฟแนนซ์ 

2. ขั้นตอนการยื่นเอกสารดำเนินการ

เมื่อตรวจสอบแล้วว่าคุณสามารถยื่นขอรีไฟแนนซ์ได้โดยที่ไม่เสียค่าปรับ ขั้นตอนต่อไปเป็นการเตรียมเอกสาร และค่าใช้จ่ายในการยื่นรีไฟแนนซ์กับ ธอส. ให้พร้อม โดยแบ่งออกเป็น

2.1 เตรียมเอกสารในการขอรีไฟแนนซ์บ้าน

การเตรียมเอกสารในการรีไฟแนนซ์บ้าน จะเหมือนกับตอนขอสินเชื่อบ้านครั้งแรก โดยจะต้องเตรียมให้ครบถ้วน เพื่อให้การดำเนินการอนุมัติสินเชื่อทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

โดยเอกสารที่ต้องเตรียมแบ่งออกเป็น 3 หมวดหมู่ ได้แก่

  1. เอกสารส่วนบุคคล
  • บัตรประจำตัวประชาชน / ข้าราชการ
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาทะเบียนสมรส / ใบหย่า / ใบมรณะบัตร (ถ้ามี)
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี)
  1. เอกสารทางการเงิน

สำหรับพนักงานประจำ 

  • หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการ / หนังสือรับรองเงินเดือน
  • สลิปเงินเดือน หรือหลักฐานการรับเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
  • สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน

สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ

  • สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน / หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมเอกสารฉบับจริง)
  • สำเนาทะเบียนการค้า / ทะเบียนบริษัท / ห้างหุ้นส่วน
  • หลักฐานการเสียภาษีเงินได้
  • รูปถ่ายกิจการ / สำเนาใบประกอบวิชาชีพ
  1. เอกสารหลักประกัน
  • หลักฐานการเป็นเจ้าของบ้าน เช่น สำเนาใบคำขอเลขหมายบ้าน เป็นต้น
  • สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับกรมที่ดิน
  • สำเนาโฉนดที่ดิน / น.ส.3ก. / หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) ทุกหน้า  
  • ใบเสร็จประวัติการผ่อนชำระย้อนหลัง 12 เดือน  
  • สำเนาสัญญากู้เงิน / สัญญาจำนอง

เมื่อเตรียมเอกสารครบแล้ว สามารถติดต่อ ธอส. สาขาใกล้บ้าน เพื่อดำเนินการขอรีไฟแนนซ์บ้านได้เลย

2.2 เงื่อนไขของผู้ขอรีไฟแนนซ์บ้าน

รีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. เปิดให้บริการกับลูกค้าในทุกสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น พนักงานประจำบริษัทเอกชน ข้าราชการ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่กำลังอยู่ระหว่างผ่อนบ้านกับสถาบันการเงินอื่น สามารถยื่นขอรีไฟแนนซ์บ้านมายัง ธอส. ได้ เพียงรักษาประวัติการผ่อนชำระที่ดีกับสถาบันการเงินเดิมไม่น้อยกว่า 12 เดือน และไม่ค้างชำระหนี้ตามที่ธนาคารกำหนด

2.3 การเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับการขอรีไฟแนนซ์

ในการขอรีไฟแนนซ์มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ต้องเตรียม ดังนี้

  1. ค่าประเมินหลักประกัน 
  • วงเงินขอกู้เกิน 3 ล้าน 3,100 บาท
  • วงเงินขอกู้ 5 แสน – 3 ล้าน 2,800 บาท
  • วงเงินขอกู้ไม่เกิน 5 แสน 1,900 บาท
  1. ค่าจดจำนอง ค่าธรรมเนียมร้อยละ 1 ของวงเงินกู้
  2. ค่าโอนกรรมสิทธิ์ ร้อยละ 2.5 ของราคาประเมิน

และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าทำประกันอัคคีภัย ค่าทำประกันวงเงินคุ้มครองสินเชื่อ เป็นต้น สำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ อาจมีการปรับเปลี่ยนขึ้นอยู่กับโปรโมชันตามที่ทางธนาคารกำหนด

3. ขั้นตอนหลังจากการอนุมัติสินเชื่อรีไฟแนนซ์

หลังจากที่ทางธนาคารอนุมัติสินเชื่อแล้ว จะมีขั้นตอนในการดำเนินการเรื่องสัญญา และการจัดการกับเรื่องประกัน MRTA (ในกรณีที่ผู้กู้ทำประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินแห่งเดิมเอาไว้)

3.1 นัดวันไถ่ถอนและทำสัญญาสินเชื่อใหม่

เมื่อสินเชื่อรีไฟแนนซ์ได้รับการอนุมัติจากธนาคารแล้ว เจ้าหน้าที่จะให้ผู้กู้ติดต่อไปยังสถาบันการเงินเดิมเพื่อสอบถามยอดกู้คงเหลือรวมดอกเบี้ย และขอไถ่ถอนจำนองบ้าน

จากนั้นให้ทำการนัดเจ้าหน้าที่ธนาคาร ธอส. และเจ้าหน้าที่สถาบันการเงินเดิมไปพบกัน ณ กรมที่ดิน เพื่อทำสัญญาไถ่ถอนสินเชื่อเดิม โอนกรรมสิทธิ์ พร้อมทำสัญญาสินเชื่อใหม่

3.2 จัดการกับประกัน MRTA

กรณีที่ผู้กู้ทำประกัน MRTA หรือค่าเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อกับสถาบันการเงินแห่งเดิมเอาไว้ สามารถจัดการกับกรมธรรม์ประกันได้ด้วยการเปลี่ยนชื่อผู้รับผลประโยชน์ใหม่ ให้เป็นธนาคารที่ขอรีไฟแนนซ์ จะช่วยให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำประกันใหม่ 

หรือสามารถขอเวนคืนกรมธรรม์ฉบับเดิม แล้วเอาส่วนต่างที่ได้ มาทำประกันใหม่ MRTA ฉบับใหม่กับธนาคารที่ยื่นขอรีไฟแนนซ์ ก็ได้เช่นเดียวกัน

รีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. 

ธอส. มีผลิตภัณฑ์สินเชื่อสำหรับการขอรีไฟแนนซ์บ้านโดยเฉพาะ ที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำและเลือกยืดระยะเวลาผ่อนได้สูงถึง 40 ปี ช่วยให้ลูกค้าประหยัดค่าผ่อนชำระบ้านได้แบบสบายกระเป๋า และยังผ่อนบ้านให้หมดไวยิ่งขึ้น

หากสนใจขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจาก ธอส. สามารถทำการกรอกข้อมูล เพื่อขอคำแนะนำด้านสินเชื่อ และให้เจ้าหน้าที่ธนาคารติดต่อกลับ >>> ได้ที่นี่

เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ที่คอยให้คำแนะนำ พร้อมเปรียบเทียบและหยิบยื่นข้อเสนอด้านสินเชื่อที่ดีที่สุดให้กับคุณ ติดต่อเราได้ที่

ขอลดดอกเบี้ยบ้าน ธอส ทําอย่างไร

สำเนาบัตรประชาชน (ของผู้กู้ทุกคน).
สำเนาทะเบียนบ้าน (ของผู้กู้ทุกคน).
สำเนาทะเบียนสมรสในกรณีสมรสจดทะเบียน(ของผู้กู้ทุกคน).
สำเนาสัญญากู้เงินทุกฉบับ,สำเนาบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงินทุกฉบับ.
สลิปเงินเดือนล่าสุด (ถ่ายสำเนาได้) (ของผู้กู้ทุกคน).
กรณีขอใช้สิทธิสวัสดิการต้องมีใบผ่านสิทธิของหน่วยงาน.

ปรับลดดอกเบี้ยบ้านใช้เอกสารอะไรบ้าง

2. ขอลดดอกเบี้ยบ้าน (Retention).
สัญญาเงินกู้.
สำเนาทะเบียนบ้าน.
สำเนาบัตรประชาชน.

ยื่นเรื่องไถ่ถอน ธ อ ส. ใช้เอกสารอะไรบ้าง

– สำเนาหนังสือสัญญากู้เงิน และสำเนาสัญญาจำนองกับสถาบันการเงินเดิม (กรณีไถ่ถอนจำนองย้ายฯ) – ใบเสร็จการผ่อนชำระ หรือบัญชีหมุนเวียน ย้อนหลัง 1 หรือ 2 ปี (กรณีไถ่ถอนจำนองย้ายฯ) – หลักฐานการเป็นเจ้าของอาคาร – สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับกรมที่ดิน

ขอลดดอกเบี้ยบ้านทำตอนไหน

ขั้นตอนในการขอลดดอกเบี้ยบ้าน จริงๆ แล้ว สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงติดต่อทำเรื่องกับธนาคารเดิมโดยดูก่อนว่า ประวัติการชำระหนี้ของเราใกล้ครบ 3 ปี แล้วหรือยัง โดยธนาคารส่วนใหญ่จะอนุมัติการขอลดดอกเบี้ยให้เฉพาะลูกหนี้ชั้นดีเท่านั้น คือ ลูกหนี้ที่ชำระหนี้ตรงเวลา ไม่ผิดนัด อย่างน้อย 24 เดือน และต้องไม่อยู่ในระหว่างประนอมหนี้