สถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนาในไทย

          การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาเป็นรูปแบบการท่องเที่­ยวที่มุ่งหวังให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ อันส่งผลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและจิตใจเป็นสำคัญ และยังเป็นการจูงใจในการแสวงบุญในมิติทางศาสนาและความเชื่อ วัดในพื้นที่ฝั่งธนบุรีมีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่และมีความสวยงาม ตลอดจนคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัดบางแห่งมีความเหมาะสมจากสภาพแวดล้อม ทำเลตั้งอยู่ริมคลองและความศักดิ์สิทธิ์ของครูอาจารย์ตั้งแต่อดีต แต่หลาย ๆ วัด ยังไม่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากนัก เช่น วัดกำแพงบางจาก วัดท่าพระ วัดสังข์กระจายวรวิหาร วัดโพธินิมิตสถิตมหาสีมาราม วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร วัดทองศาลางาม วัดวรามาตยภัณฑสาราราม (วัดขุนจันทร์) และวัดนาคปรก ซึ่งเป็นวัดที่มีศักยภาพด้านการเป็นแหล่งท่องเที่ยว ดังนั้นการจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในพื้นที่ของวัดดังกล่าวทั้ง 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัย และด้านการสนับสนุน ถือเป็นการส่งเสริมให้แต่ละวัดมีศักยภาพและเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณี วัฒนธรรมในพื้นที่และที่สำคัญคือเป็นแนวทางการปรับปรุง พัฒนา และประชาสัมพันธ์วัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาต่อไปในอนาคต

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนาในไทย

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้ชม 120

[16.0204176, 99.1177535, ท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมสลกบาตร]

บทนำ
         เมืองไทยนั้นได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองพุทธ โดดเด่นในเรื่องของศาสนาและวัฒนธรรม มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามานานหลายร้อยปี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย “วัด” ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยให้เข้าไปกราบไหว้ ถือศีล หรือปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และสั่งสอนให้เป็นคนดี ไม่ว่าจะไปที่ไหน ทำอะไร ชีวิตประจำวันจะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอยู่เสมอ และทุกครั้งที่ออกเดินทาง สถานที่แรกที่มักไปเพื่อเอาฤกษ์เอาชัยก็คือ “วัด” ที่อยู่ในท้องถิ่นนั้น
         การท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมหรือการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ กลายเป็นการท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศในขณะนี้ โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษ กับวัด แหล่งโบราณสถาน และสถานที่ปฏิบัติธรรม เนื่องจากวัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมสืบเนื่องมาเป็นเวลาช้านานแล้ว มีคุณค่าต่อจิตใจและมีความศักดิ์สิทธ์และงดงามเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวไทย วัดจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทหนึ่ง คือเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทที่มนุษย์สร้างขึ้น แต่มีความแตกต่างจากแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้นประเภทอื่นเนื่องจากมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และสังคม รวมถึงความผูกพันทางจิตใจต่อชนรุ่นหลัง (กระทรวงวัฒนธรรม, 2557, ออนไลน์)
         ตำบลสลกบาตร ถือเป็นสถานที่ทางผ่านหรือจุดพักรถของนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเหนือและใต้ หากสามารถดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในชุมชนได้ จะทำให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้จึงได้แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมที่น่าสนใจและโดดเด่น ได้แก่ วัดหงษ์ทอง (หลวงพ่อจุล) วัดสิงคาราม และ วัดสลกบาตร สำาหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มุ่งหวังที่จะได้รับความเพลิดเพลินและได้บุญกุศลไปพร้อมกัน 

วัดสิงคาราม
         วัดสิงคารามหรือวัดสิงห์ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองสลกบาตร มีองค์พระเก่าที่ชาวบ้านเรียก “หลวงปู่สิงห์” สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในวัดมีโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวบ้านตำบลสลกบาตรกันมาช้านานถือว่าเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ของตำบลสลกบาตร
         วัดสิงคาราม เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดกำแพงเพชร โดยเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2521 ในหลวงรัชกาลที่ 10 สมัยทรงอิสริยยศเป็นสยามกุฏราชกุมาร ทรงเสร็จเป็นองค์ประธานตัดหวายลูกนิมิต ซึ่งทำให้ชาวสลกบาตรภูมิใจ และยังช่วยกันทำนุบำรุงวัดสืบกันมา
         ปัจจุบันได้มีการบูรณะวิหารหลวงปู่สิงห์ โบราณสถาน และโบราณวัตถุอื่นๆ ขึ้นมาอย่างสวยงามเพื่อให้ประชาชนชาวสลกบาตรหรือผู้ที่ผ่านมาไว้แวะมาสักการบูชาและขอพร
         วิหารหลวงหลวงปู่สิงห์ (หลวงปู่เจ้าวัด) ทำฝ้าเพด้านด้วยไม้สักทอง รั้วแกะสลักประจำปีเกิด 12 ราศี ลวดลายภายในวิหารมีความประณีตและสวยงาม
         นอกจากนี้ภายในวัดยังมีโบราณสถาน โบราณวัตถุ และสิ่งศักดิ์สิทธ์อื่นๆ ได้แก่ พระบรมสารีริกธาตุ อุโบสถ ต้นตะเคียนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือ ฯลฯ

วัดหงษ์ทอง (หลวงพ่อจุล)
         วัดหงษ์ทอง (หลวงพ่อจุล) เป็นวัดที่ชาวบ้านสลกบาตรให้ความเลื่อมใสศรัทธาและได้รับการกล่าวถึงในเรื่องของวัตถุมงคลเป็นอย่างมาก เนื่องจาก “พระวชิรสารโสภณ” หรือ “หลวงพ่อจุล อิสสรญาโณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดหงษ์ทอง และยังเป็นอดีตเจ้าคณะอำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร เป็นพระเถระที่ชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธามาช้านาน สร้างโรงเรียนวชิรสารโสภณและสนับสนุนโรงเรียนสลกบาตรมาเป็นเวลานาน
         หลวงพ่อปฏิบัติในพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด มีคุณูปการแก่พระศาสนาอเนกประการ อบรมสั่งสอนญาติมิตรและสาธุชนทั่วไปให้ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างดีตลอดมา
         โดยถือเป็นอัจฉริยะตั้งอยู่ในฐานะอภิปูชนียบุคคลสมเป็นที่เคารพนับถือและรักใคร่แก่ศิษยานุศิษย์ ญาติมิตรและสาธุชนทั่วไป เมื่ออายุมาก สังขารร่วงโรย หลวงพ่อจุลมีอาการอาพาธเป็นเบาหวานและโรคปอด หลวงพ่อมรณภาพ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2512 สิริอายุได้ 74 ปี พรรษาที่ 51
         หลังจากหลวงพ่อได้มรณภาพ คณะศิษยานุศิษย์ที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาร่วมกันจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้น มีอยู่หลายรุ่น ซึ่งเป็นที่นิยมของบรรดานักสะสมพระเครื่องวัตถุมงคลคือ “เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุลรุ่นแรก วัดหงษ์ทอง กำแพงเพชร พ.ศ. 2499” จัดสร้างขึ้นวาระที่คณะศิษย์ชาวเมืองกำแพงเพชรสร้างเป็นที่ระลึกถวายไว้แจกเป็นที่ระลึก ลักษณะเป็นเหรียญรูปสี่เหลี่ยม มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงกะไหล่ทองด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อจุลนั่งขัดสมาธิเต็มองค์หันหน้าตรง ใต้รูปเหมือน เขียนคำว่า “ที่ระลึกในงานถวายของขวัญพระครูวิกรมวชิรสาร วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2499” ด้านหลังเหรียญตรงเป็นตรงกลางเป็นอักขระยันต์ เหรียญหลวงพ่อจุล เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านแคล้วคลาดปลอดภัย ปัจจุบันเหรียญรุ่นดังกล่าวเริ่มหายาก ส่วนใหญ่ถูกตามเก็บเข้ากรุ
         ชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างรูปหล่อหลวงพ่อจุล เพื่อระลึกถึงท่านและถือเป็นที่พึ่งทางใจเพื่อให้ชาวบ้านสลกบาตรและผู้ที่ผ่านมาเข้ามากราบไหว้ขอพร
         บรรยากาศภายในวัดหงษ์ทอง (หลวงพ่อจุล) ร่มรื่น สงบ มีโบราณสถาน โบราณวัตถุต่างๆ รอบวัด นอกจากกิจกรรมทางศาสนา วัดยังมีบ่อปลาไว้ให้อาหารปลา รวมถึงได้สร้างศาลาทรงไทยพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเพื่อเป็นแหล่งศึกษาให้กับชาวบ้านและบุคลลที่มาเยี่ยมชม

วัดสลกบาตร
         วัดสลกบาตร เป็นวัดป่าที่รักษารูปแบบการถือศีลแบบพระธุดง เดิมใช้ชื่อว่า “สำนักพุทธรักษา” สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2524 นำโดยพระมหาแก้วพุทธรกขิโต ชาวบ้านได้นิมนต์ท่านมาพำนักอยู่จำพรรษา เนื่องจากเป็นป่าธรรมชาติเหมาะแก่การเจริญสมณธรรม
         ซึ่งต่อมาคุณจอยและคุณจันทร์ เรืองศรีจันทร์ และครอบครัว ได้ยกที่ดินจำนวน 6 ไร่ เพื่อใช้สร้างวัดใช้ชื่อว่าสำนักสงฆ์พุทธรักษา และมีการพัฒนาต่อเนื่องมาเป็นลำดับ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ 2528 ได้ประกาศตั้งวัดใช้ชื่อว่าวัด “สลกบาตร” โดยมีพระครูวชิรประภากร เป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาสในขณะนั้น
         ชาวบ้านสลกบาตร นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปนิยมใช้วัดสลกบาตรเป็นสถานที่สำหรับถือศีล เข้าค่ายธรรมะ ปฏิบัติธรรม และจัดกิจกรรมทางศาสนา
         วัดสลกบาตร เป็นวัดป่าที่รักษารูปแบบการถือศีลแบบพระธุดงค์ ซึ่งชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “วัดป่าสลกบาตร” วัดสลกบาตรได้จัดให้มีการบวชชีพราหมณ์บ่อยครั้งและได้สร้างองค์พระขนาดใหญ่ คือ “หลวงพ่อทันใจ” ซึ่งชาวสลกบาตรร่วมแรงร่วมใจกันสร้างเสร็จภายในวันเดียวเพื่อให้ประชาชนชาวสลกบาตรหรือผู้ที่ผ่านไปมาได้แวะสักการะบูชาขอพร

บทสรุป
         แหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมของตำบลสลกบาตร สะท้อนถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรมชุมชน ของคนในพื้นที่นั้นๆ การสืบสานพระพุทธศาสนาตลอดจนศิลปวัฒนธรรมอันดีงามให้อยู่คู่ชาติไทย เมื่อวัดเป็นสถานที่ช่วยบ่มเพาะปลูกจิตสำนึกให้คนเป็นคนดี ดังนั้นคนในชุมชนจึงจำเป็นต้องช่วยกันสนับสนุนกิจของวัดทั้งทางกาย ทางใจ และกำลังทรัพย์ให้มีคุณค่าต่อจิตใจ มีความศักดิ์สิทธิ์และงดงามเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาต่อไป

คำสำคัญ : ท่องเที่ยว, ศาสนาและวัฒนธรรม, สลกบาตร

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=ท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมสลกบาตร

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรมสลกบาตร. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2106&code_db=610002&code_type=06

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงศาสนาในไทย

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2106&code_db=610002&code_type=06

การท่องเที่ยวเชิงศาสนา มีที่ไหนบ้าง

10 สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธ ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก.
โบโรบูดูร์ (Borobudur) ... .
พุกาม (Bagan) ... .
พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง, (Shwedagon Pagoda) ... .
พุทธคยา (Mahabodhi Temple) ... .
เจดีย์โพธินาถ (Boudhanath) ... .
วัดโทได (Todaiji Temple) ... .
วัดโจคัง (Jokhang Temple) ... .
พระธาตุหลวง (Pha That Luang).

ศาสนสถานมีอะไรบ้าง

ศาสนสถานในพระพุทธศาสนา เป็น สถานที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา มี องค์ประกอบ คือ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ สถูป พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ และกุฏิ หรือ สิ่งก่อสร้างอื่นที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เป็นที่พักอาศัยของพระภิกษุ สามเณร เป็น ศูนย์กลางสังคมของพุทธศาสนิกชน และเป็น สถานที่ประกอบกิจกรรมประเพณีใน พระพุทธศาสนา เป็นอนุสรณ์ให้ ...

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามีอะไรบ้าง

ศาสนาพุทธมีหลักธรรมคำสอนที่พุทธศาสนิกชนยึดถือ และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต หลาย ประการ ได้แก่ อริยสัจ 4 ทิศ 6 ธรรมคุณ 6 สัปปุริสธรรม 7 อิทธิบาท 4 อบายมุข 6 เป็นต้น อริยสัจ 4. คือ ความจริงสุดยอดซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้และ ได้ แสดงต่อจาก โอวาทปาติโมกข์ ความจริงสุดยอดอันประเสริฐ มี 4 ประการ ได้แก่

สถานที่สําคัญมีอะไรบ้าง

10 สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยที่คนไทยต้องรู้.
วัดร่องขุน เชียงราย.
ดอยอินทนนท์ เชียงใหม่.
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย.
ปราสาทหินพิมาย นครราชสีมา.
ปราสาทหินพนมรุ้ง บุรีรัมย์.
สามพันโบก อุบลราชธานี.
พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ.
วัดพระแก้ว กรุงเทพฯ.